22 พฤศจิกายน 2567, 23:16:10
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ณ วันนี้ "ขวัญ-เรียม" คู่รักอมตะ"แผลเก่า" แห่ง"คลองแสนแสบ" จะมีชีวิตรอดมั้ยนี่??  (อ่าน 159711 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #75 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:20:35 »

โครงการที่ภูเก็ต : ยังมีชาวซีมะโด่งอีกท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง


เพื่อนผมเอง "พิง ยิ่งยง" RCU69  ... รีครูทมาช่วยกันทำงาน โดยให้พิง ไปบริหาร Site งานในฐานะ Site Manager   ปิ๊งๆ


ช่วยกับ เซฟ เกาะภูเก็ตให้ยังคงความเป็นไข่มุกแห่งทะเลอันดามัน  ^_^
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #76 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:33:25 »



ปี 41 ...

จากการที่เมืองปทุมธานีมีความเจริญรุดหน้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำประปา ซึ่งเป็นหัวใจของการอุปโภคบริโภคของชาวเมือง ดังนั้นการประปาภูมิภาคจึงได้ริเริ่มโครงการร่วมกับภาคเอกชน (Privatization Project) ในการผลิตน้ำประปาเพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้งานของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีและอาณาบริเวณใกล้เคียง โดยทั้งนี้ บีเจที วอเตอร์ มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติและความไว้วางใจให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ โดยได้รับมอบหมายให้ทำการผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังภูมิภาคต่างๆในจังหวัดปทุมธานี ธรรมศาสตร์ และรังสิต เพื่อนำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภคต่อไป
      บันทึกการเข้า
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788

« ตอบ #77 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 13:27:49 »

อ้างถึง
ข้อความของ Preecha2510 เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2553, 22:39:15
อ้างถึง
ข้อความของ Intania๑๖ เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2553, 15:14:45

"อกพี่กลัดหนอง พี่หมองดั่งคลองแสนแสบ
เจ็บจำดังหนามยอกแปลบ แปลบ แสบแสนจะทน
โอ้ว่ากังหัน ทุกวันมันพัดสะบัดวน
อยากจะรู้จิตคน จะหมุนกี่หนต่อวัน..."





ณ วันนี้ "ไอ้ขวัญ-อีเรียม" คู่รักอมตะ "แผลเก่า" แห่ง "คลองแสนแสบ" จะมีชีวิตรอดมั้ยนี่? 

คนรุ่นเก่า อย่างพี่แก้ว พี่สิน พี่แอ๊ะ พี่ป๋อง พี่ตะวัน พี่เปี๊ยก พี่เจี๊ยบ พี่โด่ง พี่เหยง หมอเสียด ฯลฯ อาจจะมีโอกาสไปชมภาพยนตร์ เรื่อง "แผลเก่า" ที่ทำเงินมากที่สุดในสมัยนั้น ออกฉายครั้งแรก เดือน ธค. 2520 ที่โรงภาพยนตร์อินทรา ย่านประตูน้ำ นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี นันทนา เงากระจ่าง เป็นภาพยนตร์ ฟิล์มขนาด 80 มม. ก่อนหน้านี้ เป็นภาพยนตร์เพียง 16 มม.

"แผลเก่า" ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ เป็นจำนวนถึง 7 ครั้งด้วยกัน เพลง "แสนแสบ" เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ ที่โด่งดังเรามาลองทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง



<a href="http://www.youtube.com/watch?v=pKx_QfhaAcw" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=pKx_QfhaAcw</a>


“ไอ้ขวัญ-อีเรียม” คู่รักแห่งทุ่งบางกะปิ ที่มีบทโรแมนติกว่ายน้ำเล่นกอดกันในคลองแสนแสบ  ทำให้ชื่อเสียงของคลองนี้ โด่งดังเป็นที่สุด

เรามาทำความรู้จักกับคลองแสนแสบ ว่าเป็นมาเช่นไร

คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับได้กว่าหนึ่งร้อยเจ๊ดสิบสามปีมาแล้ว ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี และมีชื่อเรียกว่า "สงครามอันนัมสยามยุทธ"

เมื่อก่อนคลองคงจะดำสกปรกกว่านี้ แต่เมื่อปี 2533 สมัยที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองยังเป็นผู้ว่าฯ กทม. ก็ได้เปิดเส้นทางการเดินเรือในคลองแสนแสบนี้ขึ้นเพื่อแบ่งเบาการจราจรที่ติดไม่ขยับ และเชื่อว่าการนำเรือมาแล่นนั้นจะช่วยบรรเทาเบาบางน้ำเน่าเสียในคลองได้

คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว และเป็นเส้นทางเรือโดยสารคลองแสนแสบ แต่ปัจจุบันมีปัญหามลภาวะในน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและทิ้งขยะลงในแม่น้ำ


ผ่านมาเกือบ 20 ปี น้ำในคลองก็ยังคงเน่าเหมือนเดิม เพราะชุมชนริมคลองส่วนใหญ่ก็ยังคงปล่อยน้ำเสียลงคลอง แต่เรือคลองแสนแสบก็ได้ติดตลาดเป็นเส้นทางคมนาคมยอดฮิตอีกเส้นทางหนึ่ง เพราะเรือนั้นแล่นผ่านจุดสำคัญๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งหลายแห่งก็เป็นจุดที่รถติดอย่างหนัก เริ่มจากท่าวัดศรีบุญเรือง บางกะปิ ใกล้ๆสถาบันนิด้า ไปจนถึง ท่าผ่าฟ้าลีลาศ







                  สวัสดีครับน้องวณิชย์       เรื่องแผลเก่านี้ก่อนนำมาสร้างเป็นภาพยนต์ในปี พศ 20 เคยถูกนำมาแสดง

      เป็นละครทางโทรทัศน์ช่องไทยทีวีบางขุนพรมมาก่อน  จำได้ว่าตอนนั้นประมาณปี พศ.2504 หรือปี พศ 2505

      ประมาณนั้น(ผมกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น) ทั้งบทและการแสดงละครดีมากผู้ชมหน้าจอทีวีนั่งดูไปนํ้าตาไหลไป

      (บทสุดท้ายตอนพระเอกถูกยิงตกลงไปในคลองแสนแสบ และนางเอกกระโดดนํ้าลงไปหาพระเอกกอดกันจมนํ้า

      เสียชีวิตด้วยกันทั้งคู่  เป็นตำนานความรักอมตะของชายหญิงคู่หนึ่งแห่งคลองแสนแสบ)  ผู้แสดงนำฝ่ายชาย

      ในตอนนั้นคือคุณกำธร สุวรรณปิยะ  ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงคือคุณนันทวรรณ เมฆใหญ่  ผู้แสดงเป็นผู้ร้ายคือคุณ

       สมจินต์ ธรรมทัตน์ หลังการแสดงละครเรื่องนี้จบลงต่อมาคุณกำธรและคุณนันทวรรณกลายเป็นคู่รักกันจริงๆ

       และได้แต่งงานครองรักกันอยู่จนถึงทุกวันนี้   ภายหลังเมื่อนำมาสร้างเป็นภาพยนต์ผมก็ไปดูอีกครั้ง มีความเห็น

       เหมือนกับหลายๆคนว่าบทและการแสดงไม่ประทับใจเหมือนกับดูละครในโทรทัศน์  หากสมมุติว่าอ้ายขวัญกับ

       อีเรียมกลับชาติมาเกิดใหม่และมาเห็นนํ้าในคลองแสนแสบเน่าเหม็นแบบนี้  ทั้งสองคงต้องกลั้นใจตายและไม่ขอ

       กลับมาเกิดอีกอย่างแน่นอน
                     
          น้องวณิชย์ครับ   คุณ กำธร สุวรรณปิยะ   นักแสดงที่มาแสดงเป็นอ้ายขวัญคนแรกในเรื่องแผลเก่า 

          ที่เราคุยกันในห้องนี้ได้ป่วยและเสียชีวิตไปแล้วเมื่อ 2-3 มานี้  จึงขอแสดงความเสียใจมา ณ.ที่นี้ด้วย

          หวังว่าคลองแสนแสบของเราจะฟื้นมีชีวิตกลับมาในอนาคต

         
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #78 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 08:49:19 »

 
อ้างถึง   
                     
          น้องวณิชย์ครับ   คุณ กำธร สุวรรณปิยะ   นักแสดงที่มาแสดงเป็นอ้ายขวัญคนแรกในเรื่องแผลเก่า 

          ที่เราคุยกันในห้องนี้ได้ป่วยและเสียชีวิตไปแล้วเมื่อ 2-3 มานี้  จึงขอแสดงความเสียใจมา ณ.ที่นี้ด้วย

          หวังว่าคลองแสนแสบของเราจะฟื้นมีชีวิตกลับมาในอนาคต
         

พี่ปรีชา และพี่น้องชาวซีมะโด่งครับ

คุณกำธร สุวรรณปิยะ ที่แสดงเป็น "ไอ้ขวัญ" แล้ว คุณนันทวัน เมฆใหญ่ ก็แสดงเป็น "อีเรียม" ทราบว่าเป็นละครโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ไม่มีโอกาสได้ดูเลยครับ อยู่ ตจว. บ้านนอกจริงๆ เคยมีโอกาสดูทีวีขาวดำ ครั้งแรกๆ ตอน ป. 4 ก็เรื่อง "ยอดมนุษย์หมายเลข 7"  เด็กๆไปรุมดูที่ร้านกาแฟกันทีร่วมร้อยคน  สมัยอยู่ ตจว.ที่บ้านจนน่าดู  จบ ม. ปลายแล้ว ที่บ้านยังไม่มีโทรทัศน์เลยครับ  มาดูที่หอจอมเจ้า-หอชาย ก็ขาวดำ

ลองฟังเพลงของคุณนันทวัน ดู

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=CjUiqmMGfLM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=CjUiqmMGfLM</a>

สักวันหนึ่ง "คลองแสนแสบของเราจะฟื้นมีชีวิตกลับมาในอนาคต" ใช่ครับ พี่ปรีชา  พวกเราต้องมาช่วยกันระดมความคิดให้กับ คนไทยได้รับทราบ คงจะไม่มีอะไรที่จะเลวร้ายไปกว่านี้ ผมจะเอาเรื่องไปโพสท์ที่พันทิพย์ดู จะได้กระจายความรู้ความเข้าใจไปให้มาก คนกรุงเทพ จะได้ตื่น จะได้ตระหนักถึงความสำคัญ ผมมีเพื่อนผู้หญิง รุ่นเดียวกัน จบเคมี วิดยา จุฬาฯ ทำงานให้กับโรงบำบัดน้ำเสีย ของซิตี้ออฟลอสแองเจลิส ไม่ได้เจอกันกว่า 15 ปี แล้ว เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยครับ ผมทราบเรื่องราวพวกนี้ มาจากเธอ ก็นานมาแล้ว สัปดาห์หน้า ผมจะเอาเรื่องราวของเคาท์ตี้แห่งหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยี่ใหม่ ล่าสุด แบบกรองน้ำทะเล มาเป็นน้ำจืด มากรองน้ำชักโครก ให้เป็นสะอาด คุณภาพดื่มได้เลย
      บันทึกการเข้า

ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #79 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 09:00:47 »

อ้างถึง
ข้อความของ Intania๑๖ เมื่อ 03 มีนาคม 2553, 08:49:19

สัปดาห์หน้า ผมจะเอาเรื่องราวของเคาท์ตี้แห่งหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยี่ใหม่ ล่าสุด แบบกรองน้ำทะเล มาเป็นน้ำจืด มากรองน้ำชักโครก ให้เป็นสะอาด คุณภาพดื่มได้เลย

รออ่านนะครับ ...


ถ้าเป็นสมัยก่อน  ...


งานลักษณะนี้จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Reverse Osmosis"






      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #80 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 09:11:34 »

ตัวอย่าง: http://www.pwa.co.th/document/ro.html

ขั้นตอนการผลิตน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) ขนาด 10 ลบ.ม./ชม ของสำนักงานประปาปากพนัง สำนักงานประปาเขต 4 สุราษฎร์ธานี

        สำนักงานประปาปากพนังได้ดำเนินการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน้ำไม่ดี (ค่าครอไรค์สูง,กลิ่น สี) จึงได้มีโครงการก่อสร้าง เครื่องผลิตน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) ขนาด 10 ลบ.ม./ชม โดยได้รับงบประมาณจากกองฉลากกินแบ่งรัฐบาลมอบให้ การประปาส่วนภูมิภาค
เป็นจำนวนเงิน 4 ล้านบาท เพื่อส่งน้ำไปยังพระตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547
ณ บริเวณสำนักงานประปาปากพนัง ซึ่งกระบวนการผลิตน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) Membrane ของเครื่องมีราคาแพง  และอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเครื่อง จะต้องเดินเครื่องอย่างต่อเนื่อง สำนักงานประปาปากพนัง จึงได้ติดตั้งตู้ประปาหยอดเหรียญ บริเวณหน้าสำนักงานประปาปากพนัง และขออนุมัติจำหน่ายน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) ในราคาลิตรละ 20 สตางค์
ถ้าหากประชาชนใช้บริการจำนวนมาก จะขยายจุดติดตั้งตู้ประปาหยอดเหรียญต่อไป

ขั้นตอนการผลิต RO (REVERSE OSMOSIS) ดังนี้.-

สูบน้ำประปาที่ผ่านการผลิตแล้ว(น้ำประปาสำนักงานประปาปากพนังที่มีคุณภาพไม่ดี (ค่าครอไรค์สูง,กลิ่น สี)
จึงสูบน้ำประปาเข้าเครื่องกรองสนิมเหล็ก (แยกสนิมเหล็กออกจากน้ำประปา)
นำน้ำที่ไม่มีสนิมเหล็กลงถังน้ำใส ขนาด 200 บล.ม.
ใช้มอเตอร์สูบน้ำเข้าถังกรองคาร์บอน เมื่อน้ำผ่านการกรองคาร์บอนแล้ว มีเครื่องวัดค่าต่างๆ หลังจากนั้นเป็นกระบวนการเติมสารเคมีป้องกันตะกรัน
สูบน้ำไปเข้าระบบ RO (REVERSE OSMOSIS)
ก่อนเข้าระบบระบบ RO (REVERSE OSMOSIS) ต้องผ่านกระบวนการการควบคุมและเติมสารเคมี (ค่า PH, คลอรีนเหลือ กรด-ด่าง
น้ำสะอาด RO (REVERSE OSMOSIS) นำน้ำไปเก็บถังน้ำน้ำใสขนาด 500 ลบ.ม.
สูบน้ำจากถังน้ำใสขนาด 500 ลบ.ม.ส่งไปยังพระตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง
นำน้ำที่เหลือจากการส่งไปยังพระตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง ไปเข้าตู้น้ำประปาหยอดเหรียญน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) บริเวณหน้าสำนักงานประปาปากพนัง



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #81 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 10:11:55 »

อ้างถึง
ข้อความของ พศินน์ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2553, 16:25:57
อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 17:22:57
หวัดดีค่ะ  น้องซอย  ไม่ได้เจอกันตั้งนาน

สบายดีนะคะ ..



      สวัสดีครับพี่ หยี   สบายดีครับแต่ภาระกิจหนาแน่น  เลยไม่ค่อยได้เข้าเวบ cmadong  มีโอกาสจะไปแจมกับพี่ๆ สักวัน ,


โครงการคลองด่าน  ผมเองก็มีโอกาสได้ร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงาน สมัยยังหนุ่มน้อย  แต่ทำในส่วนของ งานวางท่อรวบรวมน้ำเสีย  บริเวณถนนศรีนครินทร์ จากแยกศรีเทพา ไปยังแยกไฟฟ้าฯ  และบางส่วนในเทศบาลนครฯ  และถนนสุขุมวิท แถวๆ โรงเรียน นายเรือ  , เสียดายที่โครงการ นี้มีปัญหา ก็หวังว่าจะมีทางออก และแก้ไขปัญหานำ ส่วนที่ก่อสร้างไปแล้ว นำกลับมาใช้ประโยชน์   โครงการนี้ทำให้ผมมีความรู้เรื่องการ ทำ pipe jacking และการก่อสร้างบ่อ แบบสร้างบนดิน แล้วขุดจมบ่อ ลึกลงไปในดิน ประมาณ 18 เมตร เพื่อจะได้ดันท่อ ศก. 3 เมตร




Pipe Jacking: โครงการฯ กทม.  ปิ๊งๆ




Jacking Machine  ปิ๊งๆ







      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #82 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 11:18:23 »

ระหว่าง...รอเทคโนโลยีล่าสุดจากอเมริกา ...   งง งง

---------------------------------------------------------------------------------
ประเทศไทยเมื่อปี 2546  ... ปิ๊งๆ

แปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด

แทบไม่ต้องบอกก็รู้ว่า เกาะสมุย จ.สุราษฎ์ธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่มีปริมาณน้ำจืดไม่มากนัก เพราะมีภูมิประเทศเป็นเกาะ ซ้ำต้องเลวร้ายหนักขึ้น เมื่อเกิดภาวะความแห้งแล้งระบาดทั่วทุกหัวระแหงของประเทศ ทำให้ทั้งภาครัฐและชาวบ้านตาดำๆ อยู่กันไม่เป็นสุขเลยทีเดียว และพาลต้องวิ่งหาแหล่งน้ำจืดเพื่อ “กิน-ใช้” แหล่งใหม่มาทดแทนกันให้จ้าละหวั่น “การทำน้ำจืดจากน้ำทะเล” จึงเป็นตัวเลือกแรกที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา

ด้วยเหตุนี้เอง กระทรวงมหาดไทยจึงมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 46 ให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าปัญหาภัยแล้งที่ส่อเค้าความรุนแรงขึ้นทุกขณะจะขยายวงกว้างไปถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศด้วย โดยได้สั่งการไปยังกปภ.ให้รีบจัดหาบริษัทเอกชนผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลด้วยระบบรีเวิร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis – RO,อาร์โอ) เพื่อขายให้กับกปภ.แล้วแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป

เครื่องกรองน้ำทะเลเป็นน้ำจืดเดินเครื่องแล้วที่เกาะสมุย

ทั้งนี้ นายทวีวัธน์ เตชะกำธรกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารกลุ่มสิ่งแวดล้อม บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการทำน้ำจืดจากน้ำทะเลบนเกาะสมุย บอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า กปภ.ได้มอบหมายให้บริษัท ยูนิเวอร์แซลยูทิลิตี้ จำกัด ในเครือบริษัท อีสท์ วอเตอร์ เป็นผู้รับผิดชอบงานดังกล่าว โดยมีบริษัท ล็อกซเล่ย์ฯ ทำการออกแบบติดตั้งและวางระบบการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลด้วยเงินลงทุน 100 ล้านบาท ซึ่งได้ติดตั้งแล้วเสร็จไปเมื่อปลายเดือนเมษายนปีนี้ (2548) และเริ่มจ่ายน้ำประปาให้ประชาชนบนเกาะสมุยแล้วในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ต่อมานายทวีวัธน์ ได้อธิบายกระบวนการทำงานของระบบอาร์โอว่า เป็นการส่งน้ำด้วยความดันสูงผ่านเยื่อเมมเบรนซึ่งมีลักษณะคล้ายกระดาษที่มีเยื่อบางๆ อยู่ด้านหนึ่งเพื่อกรองเอาอนุภาคสารที่ไม่ต้องการออกจากน้ำ มีหลักการทำงานเหมือนกับเครื่องกรองน้ำระบบออสโมซิสทั่วไป แต่เมมเบรนที่ใช้ในระบบนี้จะมีประสิทธิภาพเหนือกว่า ซึ่งต้องนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น

“เยื่อเมมเบรนที่ใช้กรองน้ำบาดาลและน้ำผิวดินจะมีความละเอียดในการกรองอนุภาคสารได้ในระดับ 0.1 ไมครอน หรือ 1 ส่วน 10 ล้านเมตร และใช้พลังงานไฟฟ้าในการดำเนินการน้อย ขณะที่เยื่อเมมเบรนที่ใช้กรองน้ำทะเลจะมีความละเอียดระดับนาโนเมตร หรือ 1 ส่วน 1 พันล้านเมตร และใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า โดยในกรณีของน้ำบาดาลและผิวดินจะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อหน่วยประมาณ 1 บาท/ลบ.ม. ส่วนการผลิตจากน้ำทะเลจะอยู่ที่ 17 บาท/ลบ.ม.” นายทวีวัธน์ ชี้แจงรายละเอียดให้เราฟัง

เผยผลิตน้ำประปาเสริม กปภ. “ไม่ได้ทำแทน”

สำหรับการวางระบบการผลิตน้ำประปาระบบอาร์โอบนเกาะสมุย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ อธิบายว่า มีกำลังการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลอยู่ที่ 2,500 ลบ.ม./วัน ขณะที่ความต้องการน้ำประปาของประชาชนในพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 20,000 ลบ.ม./วัน ดังนั้น การดำเนินการของล็อกซเล่ย์จึงเป็นการเสริมการทำงานของกปภ. โดยเฉพาะในช่วงที่ขาดแคลนน้ำดิบเพื่อทำน้ำประปาเท่านั้น ไม่ได้ผลิตน้ำประปาแทนกปภ.ทั้งหมด โดยภายในปีนี้ บริษัทมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาขึ้นอีก 1,500 ลบ.ม./วัน รวมเป็นกำลังการผลิตทั้งสิ้น 4,000 ลบ.ม./วัน

“น้ำทะเลที่สูบขึ้นมาจากทะเล 1 ลบ.ม. หรือ 1,000 ลิตร เมื่อผ่านการกรองแล้วจะได้น้ำจืดประมาณ 400 ลิตร ส่วนอีก 600 ลิตร จะเป็นน้ำทะเลที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าปกติเกือบ 2 เท่า ซึ่งเราจะทิ้งลงทะเลไปโดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ” นายทวีวัธน์ กล่าว

ชี้ราคาน้ำประปา “ยังเท่าเดิม”

นอกจากนี้ เขาได้พูดถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาต่อหน่วยด้วยว่า เมื่อรวมค่าดำเนินการและค่าบำรุงรักษาแล้ว ราคาน้ำประปาจะอยู่ที่ 17 บาท/ลบ.ม. ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น แต่หากรวมค่าใช้จ่ายในการวางแผนและติดตั้งระบบเข้าไปด้วย ราคาจะขึ้นไปอยู่ที่ 40 บาท/ลบ.ม. มีระยะเวลาคุ้มทุนที่ 5-7 ปี โดยในระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ ค่าไฟฟ้า เนื่องจากต้องอาศัยเครื่องสูบน้ำที่มีแรงดันสูงสูบน้ำผ่านเยื่อเมมเบรนเพื่อกรองเอาอนุภาคสารที่ไม่ต้องการออกไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ในปัจจุบันได้มีการนำชุดแลกเปลี่ยนแรงดันเข้ามาร่วมในกระบวนการผลิตด้วย ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ร้อยละ 60 จากอดีต

“ส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างบุคลากร และค่าสารเคมีบางชนิด เช่น สารคลอรีน ซึ่งจะใส่ลงไปในบ่อพักน้ำเพื่อฆ่าเพรียงทะเลและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ติดมากับน้ำก่อนที่น้ำทะเลจะถูกกรองผ่านเยื่อเมมเบรนต่อไป และจะใส่สารคลอรีนอีกครั้งหนึ่งหลังจากผ่านการกรองด้วยเยื่อเมมเบรนแล้ว เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจมีอยู่ในท่อประปาซึ่งเป็นเส้นทางเดินน้ำไปยังประชาชนอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้ กปภ.ยังคงเก็บค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำตามอัตราเก่าอยู่ที่ประมาณลูกบาศก์เมตรละ 7-8 บาท สำหรับประชาชนทั่วไป และ 10 บาทสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ท”

ย้ำ “แหล่งน้ำเสื่อมโทรม” ได้ใช้อาร์โอแน่ !!!

เมื่อย้อนกลับมาถามถึงความจำเป็นของโครงการ นายทวีวัธน์ กล่าวว่า ปัจจุบัน น้ำจืดหายากขึ้นทุกขณะเพราะแหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปมาก น้ำที่มีอยู่จึงสกปรกใช้การไม่ได้ ทางบริษัทฯ จึงมุ่งเน้นธุรกิจเกี่ยวกับน้ำอุปโภคบริโภคมากขึ้น

“ไม่นานเกินรอสำหรับประเทศไทยที่จะมีการนำน้ำทะเล น้ำผิวดิน และน้ำบาดาล มาผ่านการกรองด้วยระบบรีเวิรส์ออสโมซิสเพื่อใช้งานดังที่หลายประเทศได้ทำกันมานานแล้ว เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าขาดแคลนน้ำจืดเนื่องจากภูมิประเทศเป็นทะเลทราย จึงต้องใช้น้ำทะเลมาทำน้ำจืด รวมถึงกลุ่มประเทศที่ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ด้วย” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ กล่าว

“วอเตอร์ รียูส” เชื่อว่า คนไทยรับได้

นายทวีวัธน์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้ยังสามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้วมากรองด้วยเยื่อเมมเบรนเพื่อใช้งานใหม่ได้ หรือที่เรียกว่า ระบบวอเตอร์รียูส (Water Reused) โดยเขาได้ยกตัวอย่างประเทศสิงค์โปร์ เพื่อนบ้านของไทยว่า เป็นประเทศหนึ่งที่นำเอาน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้วมากรองด้วยเยื่อเมมเบรน เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมโรงงานและโรงแรม ซึ่งไม่ได้เป็นการนำน้ำที่ได้มาดื่มกิน แต่เป็นการใช้เพื่อล้างพื้นและรดน้ำต้นไม้

เมื่อถามถึงการยอมรับจากประชาชน หากต้องนำน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้วมากรองเพื่อใช้งานใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดวิสัยของคนโดยทั่วไป นายทวีวัธน์ กล่าวว่า ในประเทศไทยยังไม่มีการนำน้ำที่ผ่านกระบวนดังกล่าวมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และยังไม่ได้มีการศึกษาในเรื่องนี้แต่อย่างใด

“อย่างไรก็ดี เนื่องจากแหล่งน้ำหายากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นทุกขณะ ทำให้น้ำที่ผ่านการกรองด้วยเยื่อเมมเบรนแล้วจะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในอนาคต และจะมีต้นทุนถูกลงด้วย ซึ่งประชาชนน่าจะยอมรับได้เองในที่สุด”

ชู “น้ำประปาได้มาตรฐาน เสียค่าใช้จ่ายน้อย ปรับใช้ได้หลากหลาย”

สำหรับข้อดีของระบบอาร์โอ นายทวีวัธน์ กล่าวว่า ระบบดังกล่าวมีจุดเด่นที่เทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาด้วยเยื่อเมมเบรน น้ำจืดที่ได้จะมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่การประปากำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีรสชาติจืดกว่าน้ำประปาที่น้ำนำดิบมาจากบ่อกุ้ง ทำให้เมื่อจ่ายน้ำประปาไปแล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็พอใจกับคุณภาพของน้ำที่ดีขึ้น

“ขณะเดียวกัน การใช้ระบบนี้ผลิตน้ำประปายังเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบำรุงรักษาน้อยเมื่อเทียบกับระบบกรองน้ำชนิดอื่นๆ ทั้งนี้ยังเป็นระบบที่มีขนาดกะทัดรัด สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้เวลาติดตั้งระบบน้อย รวมทั้งใช้พื้นที่ไม่มาก เช่นที่เกาะสมุยสามารถติดตั้งเครื่องกรองน้ำระบบอาร์โอได้ถึง 8 โมดูล (เครื่อง) ในอาคารซึ่งมีพื้นที่เพียง 15 คูณ 30 เมตร” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ กล่าว

และเขายังกล่าวเสริมว่า ด้านการบำรุงรักษาเยื่อเมมเบรนนั้นทำได้โดยการชำระล้างคราบสิ่งสกปรกออกด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งานในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้มีอนุภาคสารอุดตัน ซึ่งหากใช้เยื่อเมมเบรนกรองน้ำทะเลก็จะมีอายุการใช้งาน 3-5 ปี แล้วจึงเปลี่ยนเยื่อกรองตัวใหม่ สำหรับการกรองน้ำบาดาลและน้ำผิวดินจะเปลี่ยนเยื่อเมมเบรนทุกๆ 7 ปี

“ระบบนี้สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ไปจนถึงโครงการในภาคเอกชนเช่น พื้นที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นิคมอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนน้ำ หมู่บ้านจัดสรร และโรงแรมต่างๆ ซึ่งบริษัทล็อกซเล่ย์ฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบนี้ไปบ้างแล้วในหลายพื้นที่เช่น บนเกาะล้านซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งแล้วที่ฐานทัพเรือพังงาเพื่อใช้ทดแทนระบบประปาเก่าที่เสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมก่อนจบการให้สัมภาษณ์

“เทคโนโลยีแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด” จึงถือเป็นทางออกหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน ซึ่งมันจะเป็นทางออกที่ยั่งยืนหรือไม่เพียงใดนั้น ต้องติดตามดูกันต่อไป อย่างไรก็ตาม การรักษาแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล และมหาสมุทรไม่ให้เน่าเสีย และใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่า ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดอย่างหนักเช่นกัน แม้ว่าเราจะมีเทคโนโลยีแปลงน้ำทะเลที่ดูจะเหมือนไม่มีวันหมดเป็นน้ำจืดได้แล้วก็ตาม 

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #83 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 11:26:10 »

Forward Osmosis

ข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ ทำให้เราทราบว่าเกือบ 1 ใน 3 ของพลเมืองโลกนั้น ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภค ส่วนบ้านเรานั้นแม้ว่าในทางภูมิศาสตร์แล้วจะอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งสลับกันทุกปีจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว

บางพื้นที่ในหลายประเทศที่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือน้ำเป็นสิ่งหายากนั้น วิธีการเดียวที่จะให้ได้มาซึ่งน้ำสะอาดสำหรับบริโภคก็คือการใช้กรรมวิธี Reverse Osmosis (RO) เพื่อเปลี่ยนน้ำทะเลหรือน้ำที่มีสัดส่วนของเกลือในปริมาณสูงให้เป็นน้ำจืดที่สามารถดื่มกินได้โดยไม่เป็นอันตราย



แต่ต้นทุนของการใช้กรรมวิธี RO นับว่าแพงเอาการทีเดียว และเป็นภาระที่หนักพอดูสำหรับประเทศยากจนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาประเทศในแถบแอฟริกา ต้นทุนขั้นต่ำก็อย่างน้อย (ขอย้ำว่าอย่างน้อย) ก็ตกลูกบาศก์เมตรละ 20 บาทเข้าไปแล้ว ก็คงมีแต่ประเทศเศรษฐีน้ำมันเท่านั้นที่มีปัญญาจ่ายได้อย่างสบายใจ

แต่ล่าสุดนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ได้คิดค้นและพัฒนากรรมวิธีในการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธี RO มาก ซึ่งวิธีดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Forward Osmosis

อย่างไรก็ดีอัตราการผลิตน้ำจืดที่ได้ยังเป็นรองกรรมวิธี RO อยู่เล็กน้อย และเยื่อกรองที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ณ ขณะนี้นั้นเมื่อนำมาใช้กับกระบวนการ Forward Osmosis แล้วสามารถกำจัดเกลือได้ประมาณ 95-99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าจะให้ปลอดภัยไร้กังวลสำหรับการนำมาดื่มนั้นต้องทำให้ได้ถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนักวิจัยเองก็กำลังหาทางเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ Forward Osmosis นี้อยู่



โดยปกติแล้วต้นทุนของกรรมวิธี Reverse Osmosis นั้นจะมาจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งต้องอาศัยความดันที่สูงเกือบ 1,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (ความดันเทียบเท่ากับการดำน้ำลึกประมาณ 700 เมตร) ผ่านเยื่อกรองพิเศษที่มีคุณสมบัติเป็น “เยื่อเลือกผ่าน” (Semipermeable Membrane) ซึ่งจะกรองเอา “เกลือ” หรือโมเลกุลของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.0001 ไมครอนออกไป จนได้น้ำสะอาดในที่สุด

ต้นทุนอีกส่วนหนึ่งยังมาจากค่าใช้จ่ายในการกำจัดสิ่งที่เหลือจากกระบวนการ RO ซึ่งก็คือน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก (ประมาณ 50-65% โดยปริมาตรของน้ำทะเลที่นำมาผ่านกระบวนการ) และเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลทะเล ซึ่งไม่สามารถทิ้งกลับลงไปในทะเลได้ และการทิ้งในแผ่นดินก็ทำให้น้ำใต้ดินได้รับการปนเปื้อนจากเกลือที่มีความเข้มข้นสูงนี้ได้





สำหรับวิธี Forward Osmosis นั้นนักวิจัยไม่จำเป็นต้องใช้ความดันสูงดันน้ำผ่านเยื่อกรอง แต่ใช้สารละลายแอมโมเนียที่มีการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำทะเลที่จะนำมาผ่านกระบวนการถึงกว่า 10 เท่า โดยบรรจุสารละลายดังกล่าวไว้อีกด้านหนึ่งของเยื่อกรอง

เมื่อความเข้มข้นของสารละลายแอมโมเนียมีความเข้มข้นมากกว่าโมเลกุลของน้ำ (H2O) ในน้ำทะเลซึ่งอยู่ทางอีกฝั่งของเยื่อกรองจะพยายามไหลผ่านมาทางด้านของสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าเพื่อเจือจางให้มีความเข้มข้นน้อยลง

จากนั้นนักวิจัยจะนำเอาสารละลายดังกล่าว (ซึ่งดึงดูดเอาโมเลกุลของน้ำจากน้ำทะเลมา) มาให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 58 องศาเซลเซียส เพื่อระเหยเอา แอมโมเนียและคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำจืดที่สามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้



เครดิต/artsmen.net
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #84 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 15:33:41 »

From Toilet to Tap




ข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทั่วเมกาและทั่วโลก ก่อนหน้าและหลัง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2008 ก็สองปีเศษๆมานี่เอง คือ ออร์เจนท์เคาท์ตี้ มณฑลที่ใกล้กับลอสแองเจลิสเคาท์ตี้  ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ (Grand Opening) โรงบำบัดน้ำชักโครก -ให้เป็นน้ำประปา Toilet to Tap เป็นแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ในโลกก็ว่าได้


พี่ตะวัน ถ้าเอาทัวร์มาเที่ยวเมกา อย่าลืม มาแวะที่ดีสนีย์แลนด์ ที่เมืองอนาไฮม์ ออร์เจนท์เคาท์ตี้ มีโอกาสได้ดื่มน้ำจากชักโครกแน่ๆ เป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายๆในโลก เรียกว่า คณะทัวร์ เอาไปเล่าให้เพื่อนฝูงญาติพี่น้องได้ฟัง อย่างสนุกสนาน




<a href="http://www.youtube.com/watch?v=u5rfPTZQBrM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=u5rfPTZQBrM</a>
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=1zBY-OqVvkQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=1zBY-OqVvkQ</a>

ใครที่อยากฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งๆ  แบบชมรมเรียนอังกิดไม่ยาก ของ อจ. ยัส ต้องหัดฟังดู ได้ทั้งความรู้และสำเนียง
      บันทึกการเข้า

Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #85 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 15:46:31 »


It's Time to Drink Toilet Water!



คิดถึงพี่ปรีชาเช่นกัน เลยฝากน้ำที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว มาให้ 1 แก้วครับ  

นี่ฝรั่งกำลังจะบ้าไปหมดรึไง? ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้เลยรึนี่?  สู้เมืองไทยเราก็ไม่ได้ น้ำของเราเต็มไปหมด เต็มแม่น้ำเจ้าพระยา เต็มไปทุกแม่น้ำ (...ยกเว้นแม่น้ำโขง) ในคลองแสนแสบ คลองผดุงกรุงเกษม คลองมหานาค คลองเปรมประชากร ก็เต็มไปด้วยน้ำ น้ำอะไรไม่ดื่ม ดันมาดื่มจากน้ำชักโครก... .....  โอ๊ก...  อ๊วกๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  (ถ้าขอโทษที กบว.  วม. และ วค.  ถ้าภาษาไม่สุภาพ  ถ้าไม่บรรยายแบบนี้ ใครจะอ่าน ใครจะเห็นภาพ จริงม๊ะ พี่ป๋อง น้องหะยี?)







ออร์เจนท์เค้าท์ตี้ เป็นมณฑลที่อยู่ติดๆกับมณฑลลอสแองเจลิส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าใครเคยมาเที่ยวดิสนีย์แลนด์ ที่เมืองอนาไฮม์  ที่นี้คือสวนสนุกดั้งเดิมแห่งแรกของ วอลท์ ดีสนีย์  ส่วน มหาวิทยาลัย Univerity of California, Irvine (UC Irvine) ที่มีชื่อเสียง ก็อยู่ที่มณฑลแห่งนี้ มีคนไทยมากมายมาเรียนจบที่นี้

ออร์เจนท์เค้าท์ตี้ เป็นมณฑลที่มีพลเมืองเป็นอันดับสองในรัฐแคลิฟอร์เนีย ราวๆ 3 ล้านคน มีเนื้อที่ 2,445 ตร.กม. เนื่องจากปริมาณน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่พอเพียง ที่คาดว่า จะมีพลเมืองเพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านคน ในปี 2020 การที่จะนำน้ำมาจาก ตอนตอนเหนือจาก ซานฮัวคินแวลเลย์ (San Joaquin Valley) และแม่น้ำโคโลราโด ที่กำลังเหือดแห้ง ค่าใช้จ่ายค่าพลังงานที่จะนำมาใช้ผลิตก็สูงขึ้น เป็นเท่าตัว

ก่อนหน้านี้ ในปี 2000 มณฑลลอสแองเจลิส เคยได้จัดสรรงบประมาณ 55 ล้านเหรียญ เพื่อโครงการ toilet-to-tap (จากชักโครกสู่น้ำดื่ม) ด้วยการกรองจากน้ำชักโครกครัวเรือน  ไปสู่น้ำใช้ในครัวเรือน เพื่อการอุปโภคให้กับ 120,000 ครัวเรือน  ได้รับการต่อต้านจากประชาชนทั่วๆไป โครงการต้องระงับไป ก่อนที่นายกเทศมนตรี ริชาร์ด เรียแด้น ตอนน้ันกำลังเตรียมตัวจะไปสมัครตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย กลัวว่าจะไม่ได้รับเลือกจากประชาชนต่อ (นี่คือประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เพราะไม่มีการจ่ายเงินซื้อเสียง มีแต่ชาวบ้านบริจาคให้นักการเมือง ใช้เงินไปหาเสียง ) เพราะต้องเอาใจประชาชน นี่คือความผิดพลาดที่ขาดการ ปชส. ให้ความเข้ารู้ความเข้าใจ

ออร์เจนท์เค้าท์ตี้ ได้ทุ่มเงินไปประมาณ 3 ล้านเหรียญ เพื่อทำประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า ทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน  เรื่องการเอาน้ำเสียจากครัวเรือน มากรองเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยค่าใช้จ่ายจะต้องกว่า อยู่ที่ 525เหรียญ/เอค่อร์-ฟุต (พื้นที่ 1 เอเค่อร์ x ความลึก1 ฟุต)   ในขณะที่การกรองน้ำทะเล ค่าใช้ 800- 2000 เหรียญ/เอเค่อร์-ฟุต (ติดตามได้ในตอนต่อไป)

งบประมาณในการก่อสร้างและดำเนินการ 487 ล้านเหรียญ (คิดเป็นเงินๆไทย 16,071 ล้านบาท) ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2008 มีชื่อโครงการว่า The Ground Water Replenishement System (GWR)  
      บันทึกการเข้า

Kittiwit Pk
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 281

« ตอบ #86 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 15:49:56 »

In thailand we make tap to toilet water.
And now learning english with Vanich online.
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #87 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 17:46:51 »






โครงการบำบัดน้ำจากชักโครก เพื่อให้เป็นน้ำดื่มที่สะอาด ของออร์เจนท์เคาท์ตี้ ไม่ได้มีชื่อเรียก  Tap to Toilet อย่างที่สื่อมวลชนตั้งชื่อซะสยอง นั้นคือการเขียนเพื่อขายข่าว เรียกร้องความสนใจ ชื่อโครงการนี้ คือ The Ground Water Replenishement System (GWR) เป็นการบำบัดน้ำเสียที่มาจากครัวเรือน น้ำอาบน้ำใช้น้ำชักโครก  ให้ได้ความสะอาดมากพอที่จะดื่มได้เลย แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกระอักกระอ่วนใจ น้ำที่ผ่านกรรมวิธี 3 ขั้นตอนแล้ว  น้ำสะอาดครึ่งหนึ่ง จะอัดลงสู่พื้นดินชายทะเล เพือ่ป้องกันไม่ให้น้ำเค็ม ทะลักเข้ามาในแผ่นดิน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง จะปล่อยให้ลงสู่ที่กักเก็บน้ำ ซึมลงสู่พื้นดิน ผ่านการกรองในชั้่นดิน แล้วค่อยสูบกลับมากรองในระบบน้ำประปา เพื่อส่งกลับไปใช้ยังตามบ้านเรือน และธุรกิจ เป็นน้ำประปาอีกครั้งหนึ่ง

http://www.gwrsystem.com/about/process.html

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=M4r3u9MXd-g" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=M4r3u9MXd-g</a>

GWR มี 3 ขั้นตอนสำคัญ

1. Mircofiltration (MF) เป็นการกรองน้ำระบบความดันต่ำผ่านเนื้อเยื่อ membrane จะกรองเอาที่สิ่งแขวนลอย แบ๊คทีเรีย และวัตถุอื่นๆ ออกจากน้ำ และเป็นการเตรียมน้ำ เพื่อให้เข้าสู่ขบวนการที่สอง วิธีนี้ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ การผลิตชิพคอมพิวเตอร์ และการฆ่าเชื้อในทางการแพทย์ ที่ไม่สามารถใช้ความร้อนได้


2. Reverse Osmosis (RO) เป็นการกรองผ่านเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นพลาสติคบางๆหลายชั้น โดยใช้ความดันสูง สามารถกรองเอา เชื้อไวรัส แบคทีเรีย ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ ไม่สามารถผ่านไปได้  เป็นระบบเดียวกับอุตสาหกรรมน้ำดื่มบรรจุขวดใช้อยู่ หรือเครื่องกรองน้ำตามบ้านทั่วๆไป



เปรียบเทียบเมื่อขยายขึ้น 100 ล้านเท่า โมเลกุลของสารเคมี จะมีขนาดเท่าฟุตบอล ไวรัสจะมีขนาดเท่ารถบรรทุก ส่วนแบคทีเรียจะมีขนาดเท่าช้าง ไม่สามารถที่จะเล็ดรอดรูขนาดเล็กๆ ของ RO Membrane ไปได้


3. UtltraViolet Light (UV) and Hydrogen Peroxide
ใช้แสง UV แบบเดียวกับที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคในวงการแพทย์ และ ใช้ H2O2 ทำลายแก๊สคาร์บอนได้ออกไซค์ที่หลงเหลืออยู่ เพื่อให้ได้น้ำบริสุทธิ์จริงๆ

James Ferryman, board chairman of the Orange County Sanitation District, samples the final product.
      บันทึกการเข้า

swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #88 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 17:59:43 »

พี่วณิชย์ขรา .. แม้หยีจะรัก เคารพพี่มากมาย ..
แต่พี่ไม่ต้องเผื่อแผ่น้ำในส้วมมาให้หยีด้วยนะคะ
เห็นส่งให้หนิ่งและพี่ปรีชาไปแล้วคนละแก้ว .. หนูล่ะเสียวจริง ๆ ๆ ๆ


หนู่ไม่อาาาว  ค่ะ
    เอิ่มม
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #89 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 18:50:42 »

โดยภาพรวมเป็น การผลิตน้ำด้วยเทคโนโลยี RO ธรรมดาๆ หน่ะครับ ...


บ้านเราก็ทำได้ ....เพียงแต่ไม่มีความจำเป็นต้องทำ ครับ


จริงๆแล้ว โดยความเห็นส่วนตัว ... แม้แต่ที่อเมริกาเอง ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนี้ครับ


เนื่องจากยังมีอีกหลายทางเลือก เพื่อแก้ปัญหา ตามโจทย์ที่ให้มา ...



เว้นเสียแต่ว่า...ต้องการผลในเชิงประชาสัมพันธ์ สร้างสีสัน เท่านั้นเอง


เนื่องจาก โครงการนี้ฟังดูแล้วมันแรงมี ผลกระทบ ต่อความรู้สึกของประชาชนดี   ^_^



อย่างไรก็ดีต้องขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาแบ่งปัน นะครับ
      บันทึกการเข้า
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788

« ตอบ #90 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:21:28 »


           น้องวณิชย์ครับขอบคุณมากจริงๆที่มีนํ้าใจเผื่อแผ่มอบนํ้าให้ทาน 1 ถ้วย  ผมคิดว่าวิธีการที่นำนํ้าเสียจากบ้านเรือน(รวมทั้งจาก

           ถังชักโครก)มาบำบัดจนรับประทานได้  แม้จะมีกรรมวิธีที่ยุ่งยากค่าใช้จ่ายสูงมากแต่ก็คิดว่าเป็นการวางแผนข้ามช๊อดไปใน

           อนาคต  ที่เมื่อยามโลกขาดแคลนนํ้าจริงจะได้ใช้วิธีนี้มาเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ปัญหา นำนํ้าที่ใช้แล้วกลับมาใช้โดยตรงได้ทันที  

                         ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์แต่ก็คิดว่าที่จริงปัจจุบันเราก็บริโภคนํ้าเสียบางส่วนที่ผ่านการบำบัดแล้วอยู่ทุกวัน เพราะที่ตั้ง

          ของกรุงเทพฯอยู่ท้ายแม่นํ้าเจ้าพระยา  แม่นํ้าสายนี้เกิดจากแม่นํ้า 4 สายไหลผ่านจังหวัดต่างๆหลายสิบจังหวัด  ช่วงที่ไหลผ่าน

           แต่ละจังหวัดก็ทิ้งนํ้าเสีย(จากบ้านเรือน จากตลาด จากการกสิกรรม จากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ)ลงสู่แม่นํ้าลงไปผสมกับนํ้า

           ดิบ(นํ้าฝน)  ระหว่างที่นํ้าไหลตามทางก็มีการสัมผัสอากาศ(อ๊อกซิเจน),แสงแดด,และจุลินทรีย์ธรรมชาติในนํ้า   ทําให้นํ้าได้ถูก

           บำบัดให้สอาดขึ้นโดยธรรมชาติทางหนึ่ง ต่อมาเมื่อจะนำนํ้ามาบริโภคก็นำมาผ่านกรรมวิธีการตกตะกอน,การกรอง,การใส่คลอรีน

            ฯลฯ(ตามกรรมวิธีผลิตนํ้าปะปา)ก่อนส่งมาตามท่อให้เราใช้ถึงบ้าน

                           ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ 15 - 16 ปีที่แล้วสวล.เคยเชิญหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมประชุม  เรื่องการบังคับให้หน่วยงานติด

         ตั้งเครื่องบำบัดนํ้าเสียและให้ปฏิบัติตาม ก.ม.โดยเคร่งครัด  ผมบังเอิญเข้าไปร่วมฟังด้วยจำได้ว่ามีเจ้าของกิจการคนหนึ่ง  ลุกขึ้น

        แจ้งในที่ประชุมว่าได้ปฎิบัติตามกฏหมายแล้วโดยเคร่งครัด   รู้สึกเสียดายค่าใช้จ่ายและเวลาเพราะเห็นนํ้าในคลองที่รับนํ้า สกปรก

         กว่านํ้าที่บําบัดแล้วปล่อยลงไปหลายเท่า  นํ้าในคลอง(แสนแสบ)ที่สกปรกมากๆนั้น  ความสกปรกส่วนใหญ่มาจากนํ้าเสียที่

         ปล่อยโดยตรงจากตลาดสด,จากบ้านเรือน(จากส้วม), จากโรงงานขนาดเล็ก, ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ตลอดแนวสองฟากคลอง  ที่สวล.

       ไม่สามารถควบคุมได้   ถ้าหากควบคุมการทิ้งนํ้าเสียจากแหล่งเหล่านี้ไม่ได้  ก็เป็นการยากที่จะแก้เรื่องนํ้าเสียในคลองได้ถาวร

            

            

                          
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #91 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:32:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ Preecha2510 เมื่อ 06 มีนาคม 2553, 20:21:28


           นํ้าในคลอง(แสนแสบ)ที่สกปรกมากๆนั้น  ความสกปรกส่วนใหญ่มาจากนํ้าเสียที่

              ปล่อยโดยตรงจากตลาดสด,จากบ้านเรือน(จากส้วม), จากโรงงานขนาดเล็ก, ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ตลอดแนวสองฟากคลอง  ที่สวล.

              ไม่สามารถควบคุมได้   ถ้าหากควบคุมการทิ้งนํ้าเสียจากแหล่งเหล่านี้ไม่ได้  ก็เป็นการยากที่จะแก้เรื่องนํ้าเสียในคลองได้ถาวร           

                         


เห็นด้วยกับพี่ปรีชา นะครับ คลองแสนแสบ ปัญหาหลักคือ การ Direct Discharge ...


1. หยุด Direct Discharge  ได้

2. ลอกก้นคลองเก่าทิ้ง

3. ผันน้ำดีมาไล่น้ำเสีย


ทำได้ครบ 3 ข้อ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อที่ 1. คลองแสนแสบ ก็กลับมาเป็นคลองที่ดีดังเดิม แล้วครับ



      บันทึกการเข้า
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #92 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:41:01 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 06 มีนาคม 2553, 18:50:42
โดยภาพรวมเป็น การผลิตน้ำด้วยเทคโนโลยี RO ธรรมดาๆ หน่ะครับ ...

บ้านเราก็ทำได้ ....เพียงแต่ไม่มีความจำเป็นต้องทำ ครับ


ถ้าระบบนี้เป็นระบบธรรมดา

เอ...แล้วทำไมน้ำประปาบ้านเรา ถึงยังกินไม่ได้ ต้องซื้อน้ำดื่มกินด้วยครับ

หรือว่า การประปายังไม่อยากทำ....งง
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #93 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:55:34 »

อ้างถึง
ข้อความของ YA เมื่อ 06 มีนาคม 2553, 20:41:01
อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 06 มีนาคม 2553, 18:50:42
โดยภาพรวมเป็น การผลิตน้ำด้วยเทคโนโลยี RO ธรรมดาๆ หน่ะครับ ...

บ้านเราก็ทำได้ ....เพียงแต่ไม่มีความจำเป็นต้องทำ ครับ


ถ้าระบบนี้เป็นระบบธรรมดา

เอ...แล้วทำไมน้ำประปาบ้านเรา ถึงยังกินไม่ได้ ต้องซื้อน้ำดื่มกินด้วยครับ

หรือว่า การประปายังไม่อยากทำ....งง

การผลิตน้ำประปา จากน้ำผิวดิน อาทิ จากคลองประปา ของบ้านเรา หรือที่ประเทศใดๆในโลกนี้ โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี RO ครับ

เทคโนโลยี RO สำหรับการผลิตน้ำประปา จะใช้สำหรับน้ำดิบ จากบางแหล่งที่ไม่ได้คุณภาพ ตามตัวอย่างข้างต้นที่ยกมาของ เกาะสมุย หรือ ปากพนัง ครับ หรือแม้แต่การผลิตจากน้ำทะเล มาเป็นน้ำจืด หรือ ตามตัวอย่างของกระทู้นี้ ที่อเมริกา ผลิตจากน้ำทิ้งจากครัวเรือน ครับพี่ยา

จริงๆแล้ว น้ำประปาปัจจุบัน จัดเป็นน้ำประปามาตรฐานน้ำดื่มได้นะครับ ถ้าให้มั่นใจ ก็ต้มเสียหน่อย กำจัดกลิ่นคลอรีน และเชื่อโรคที่อาจปนเปื้อน  และน้ำประปาเหมาะสมที่จะเป็นน้ำดื่มมากกว่าน้ำ RO  

เพราะอะไร (มีต่อ) ....
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #94 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 21:05:37 »

น้ำดื่มระบบ Reverse Osmosis (RO) เป็นระบบกรองน้ำซึ่งจะทำให้น้ำที่ได้มา ค่อนข้างมีความบริสุทธิ์สูง จนแทบจะเรียกว่า ไม่มีสารอะไรตกค้างอยู่เลยนอกจากน้ำเปล่าๆเท่านั้น หรือแทบจะเรียกว่ามีคุณภาพเทียบเท่าน้ำกลั่นทีเดียว ซึ่งคุณภาพนี้ ก็ขึ้นกับว่า แผ่นกรองที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพยังไง ถ้าแผ่นกรองที่ใช้มีสภาพดี มีรูพรุนขนาดเล็ก(เชื้อจุลินทรีย์ผ่านไม่ได้) และมีการดูแลอย่างดี ก็จะให้น้ำสะอาดที่สามารถใช้บริโภคได้


ดังนั้น น้ำ RO ส่วนมากแล้วจะใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำที่มีความสะอาดสูง

ส่วนกระบวนการผลิตน้ำวิธีอื่นๆ เช่น ต้มและกรองแบบปกติ (พวกน้ำขวดที่วางขายทั่วๆไป) จะทำให้หลงเหลือสารบางอย่างที่พบได้ในน้ำทั่วๆไป เช่น Zn Ca Cl ฯลฯ ซึ่งสารที่ตกค้างเหล่านี้ ต้องมีไม่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้(ถ้ามากกว่านี้ จะจัดเป็นน้ำแร่) และจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย เช่น ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนั้นๆ

แต่เนื่องจาก การผลิตน้ำ RO ทำให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์มาก เลยมีคนมาทักท้วงว่ามันอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เราจะมาดูว่าเรื่องนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร

น้ำ RO จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารน้อยกว่าน้ำปกติหรือไม่
อย่างที่บอกไปแล้วว่า น้ำแบบปกติ จะมีสารอื่นๆเจือปนอยู่ ซึ่งหลายๆตัวนั้น ก็เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น Zn Ca หรือ F ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย การกินน้ำ RO ย่อมทำให้ร่างกายได้รับสารเหล่านี้น้อยลงครับ

แต่... ปริมาณสารเหล่านี้ในน้ำนั้น มีน้อยมากครับ (ถึงจะเป็นน้ำแร่ก็ตาม) ร่างกายของเรา ได้รับสารอาหารจากอาหารที่เรากินเข้าไปเป็นหลัก ไม่ได้รับสารอาหารจากน้ำเป็นหลักครับ ดังนั้น ถึงแม้จะกินน้ำ RO ไปนานๆ ก็ไม่มีผลต่อภาวะขาดสารอาหารแต่อย่างใด




      บันทึกการเข้า
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #95 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 22:05:02 »

น้องดร.มนตรี

พี่แอ๊ะสนใจ การผลิตนำทะเลให้เป็นน้ำจืดค่ะ

แพงไหมคะ สำหรับ พี่แอ๊ะที่ต้องการเครื่องเล็กๆใช้ส่วนตัว

สำหรับ คนไม่มีกี่ครอบครัว บนเกาะเล็กๆ

กำลังคิดว่าจะต้องไปเจาะบาดาล ใช้น้ำ ค่ะ
      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #96 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 22:19:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ prapasri AH เมื่อ 06 มีนาคม 2553, 22:05:02
น้องดร.มนตรี

พี่แอ๊ะสนใจ การผลิตนำทะเลให้เป็นน้ำจืดค่ะ

แพงไหมคะ สำหรับ พี่แอ๊ะที่ต้องการเครื่องเล็กๆใช้ส่วนตัว

สำหรับ คนไม่มีกี่ครอบครัว บนเกาะเล็กๆ

กำลังคิดว่าจะต้องไปเจาะบาดาล ใช้น้ำ ค่ะ



สวัสดีครับ พี่แอ๊ะ ที่เคารพ


ผมออกจากวงการ "น้ำ" มาร่วม 10 ปี แล้วครับ  .... เข้าสู่วงการ "อากาศ" แทน (การสื่อสาร)

แต่จะลองเช็คพรรคพวกที่อยู่ การประปา ให้นะครับ  และจะนำเรียนพี่แอ๊ะ เพื่อทราบและพิจารณาต่อไป  ^_^
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #97 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 05:21:13 »

copy
อ้างถึง
ข้อความของ YA เมื่อ 06 มีนาคม 2553, 20:41:01
อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 06 มีนาคม 2553, 18:50:42
โดยภาพรวมเป็น การผลิตน้ำด้วยเทคโนโลยี RO ธรรมดาๆ หน่ะครับ ...

บ้านเราก็ทำได้ ....เพียงแต่ไม่มีความจำเป็นต้องทำ ครับ


ถ้าระบบนี้เป็นระบบธรรมดา

เอ...แล้วทำไมน้ำประปาบ้านเรา ถึงยังกินไม่ได้ ต้องซื้อน้ำดื่มกินด้วยครับ

หรือว่า การประปายังไม่อยากทำ....งง

น้องยา แห่งบ้านสะเตง ครับ

มาแกดาซิ นาซิดาแฆ ไม่ได้โทรไปคุยเสียนาน ว่างจะโทรไปคุยนะครับ เลยขอยกตัวอย่างการเปรียบเทียบมาให้ดู

 


ทั้งสองภาพ ต่างก็เป็นทอง แต่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะราคา  นายช่างเป้ นักธรณีวิทยาเอกประจำเวปซีมะโด่งเรา ให้คำตอบได้ดี







ทั้งสามคัน มี 4 ล้อ เหมือนกัน วิ่งบนถนนได้เหมือนกัน เรียกว่ารถยนต์เหมือนกัน สองคันแรก เรียกว่า "นางแต๋น" ของไทยเรา  ชื่อนี้ไพเราะดี ไม่ได้หมิ่นประมาทใครใช่มั้ยครับ-น้องยา คันที่สอง ว่า "นางแต๋น"  ของเมืองจีนเค๊า คันที่สามนี้ ไม่รู้ว่ายี่ห้ออะไร มีอักษร RR อยู่สองตัว แต่คันนี้ราคา 450,000 เหรียญ เป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น ให้กับเครื่องบินพาณิชย์ต่างๆ เช่น โบอิ้ง หรือแอร์บัส ถ้าบริษัทผู้ผลิต "นางแต๋น" 2 คันแรก ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นให้กับ SAS น้องยา กล้าที่จะบินไปสวีเดน หรือไม่ มีหวังไปกรุโบร์ ได้ง่ายๆ ทุกคันได้ชื่อว่า รถยนต์ มี 4 ล้อ แต่คุณภาพมันแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน




ทั้งภาพบนและภาพล่าง ต่างก็ใช้ระบบ Reverse Osmosis (RO)  แบบเดียวกัน ข้างบนราคา 100 เหรียญ ใช้ได้กับ 1 ครอบครัว กรอกมาจากน้ำประปาธรรมดา แต่ระบบล่าง ราคา 487 ล้านเหรียญ  กรองน้ำโสโครก ให้กับ 140,000 ครัวเรือน ใช้เวลาสร้าง 3 ปี เฉพาะงบประชาสัมพันธ์ 3 ล้านเหรียญ เพื่อสร้างความความเข้าใจให้กับชุมชน ฝรั่งโง่หรือฉลาด? 
      บันทึกการเข้า

Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #98 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 05:24:12 »


น้องยา จึงขออนุญาต นำภาพแผนผังโรงบำบัดน้ำ กรุงเทพมหานคร และผลการวิเคราะห์จากห้องปฎิบัติการ มาแสดงผล


โรงควบคุมคุณภาพน้ำอ่อนนุช



โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางนา



โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองจั่น


โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 1



โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 2


โรงควบคุมคุณภาพน้ำท่าทราย


โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองเตย


โรงควบคุมคุณภาพน้ำร่มเกล้า


โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางบัว


โรงควบคุมคุณภาพน้ำบ่อนไก่

   
มาตรฐานที่ใช้ในการวัดว่า ปลาจะมีชีวิตอยู่ได้คือ ปริมาณอ๊อกซิเจนละลายน้ำ ต้องมากกว่า 6 ppm หรือ  มก./ลิตร     
      บันทึกการเข้า

ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #99 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 07:36:30 »

อ้างถึง
ข้อความของ Intania๑๖ เมื่อ 07 มีนาคม 2553, 05:24:12

น้องยา จึงขออนุญาต นำภาพแผนผังโรงบำบัดน้ำ กรุงเทพมหานคร และผลการวิเคราะห์จากห้องปฎิบัติการ มาแสดงผล


โรงควบคุมคุณภาพน้ำอ่อนนุช



โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางนา



โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองจั่น


โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 1



โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 2


โรงควบคุมคุณภาพน้ำท่าทราย


โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองเตย


โรงควบคุมคุณภาพน้ำร่มเกล้า


โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางบัว


โรงควบคุมคุณภาพน้ำบ่อนไก่

   
มาตรฐานที่ใช้ในการวัดว่า ปลาจะมีชีวิตอยู่ได้คือ ปริมาณอ๊อกซิเจนละลายน้ำ ต้องมากกว่า 6 ppm หรือ  มก./ลิตร    



โรงควบคุมคุณภาพน้ำขนาดเล็กเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของ สนง.การระบายน้ำ กทม.

มาดูกันที่ ค่าพารามิเตอร์ ที่สำคัญ 2 ตัวคือ

- บีโอดี (biological oxygen demand, BOD)

เป็นปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่ามาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร


- ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen, DO)

แบคทีเรียที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำต้องการออกซิเจน (aerobic bacteria) ในการย่อยสลายสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง ดังนั้นในน้ำที่สะอาดจะมีค่า DO สูง และน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำ มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm. น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm. ค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจน เพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตหรือไม่




โรงไหนยังไม่ได้มาตรฐาน ผู้เกี่ยวข้องอย่ารอช้า สั่งการไปเลยครับ เจ้านาย ^_^


      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><