26 พฤศจิกายน 2567, 01:39:21
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ณ วันนี้ "ขวัญ-เรียม" คู่รักอมตะ"แผลเก่า" แห่ง"คลองแสนแสบ" จะมีชีวิตรอดมั้ยนี่??  (อ่าน 159987 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #25 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 10:03:40 »

ระบบการจัดการบำบัดน้ำเสีย ของมหานครนิวยอร์ค









***http://nyc.gov/html/nycmg/nyctvod/html/home/sony_302a.html***

หน่วยงานที่ดูแลเรื่องการกำจัดน้ำเสีย ขยะ น้ำดื่มของมหานครนิวยอร์ค คือ Department of Environment Protection (DEP)  มาฟังพิธีกรสาวสวย แม่งูหะยี เอ้ย Kelly Choi บรรยายภาษาอังกฤษอย่างฉะฉาน รับรองไม่ใช่แบบ  Yes, No, OK, CocaCola, Pizza, 7up อย่างแน่นอน ระบบการกำจัดน้ำเสียของมหานครนิวยอร์ค ที่มีความยาวของท่อถึง 7,000 ไมล์ (11,000 กิโลเมตร) สารคดีมี 6 ตอน ใช้เวลารวมกัน 41:06 นาที คุ้มค่า กว่าการไปดูหนัง Avatar เป็นไหนๆ และได้รับฝึกการฟังภาษาอังกฤษไปในตัว คลิกไปที่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใต้รูปพิธีกรสาวสวย Kelly Choi










      บันทึกการเข้า

phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 10:28:57 »

เย้!! ในที่สุดพี่วนิชย์ก็มาเปิดเผยความลับแล้ว
โหลดทิ้งไว้ก่อนครับ สอบเสร็จตอนเย็นจะกลับมาอ่าน
ลุ้นๆๆ
      บันทึกการเข้า
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 10:31:00 »

แหง่วโหลดลงเครื่องไม่ได้ เอิ้กๆๆ
สำเนียงเพิ้นเว้าดีอีหลีเลยครับพี่
      บันทึกการเข้า
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #28 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 11:41:49 »

น่าสนใจครับพี่วณิชย์

แต่ถ้าจะให้ดีช่วยสรุปย่อๆ ที่คุณ Choi แกพูดถึงก็ดีครับ

      บันทึกการเข้า
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:36:47 »

เขานำเสนอได้เยี่ยมมากเลย อย่างกะกำลังดูหนัง เสียงชัดแจ๋ว ภาพชัดมาก
      บันทึกการเข้า
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520

« ตอบ #30 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:40:09 »

ขออนุญาติ อ่านก่อนนะครับ  เหนื่อย
      บันทึกการเข้า

ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #31 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:47:41 »

อ้างถึง
ข้อความของ เจตน์ เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:40:09
ขออนุญาติ อ่านก่อนนะครับ  เหนื่อย



เธอสวยสู้เจ๊หะยี ของพวกเราได้มั้ย?
      บันทึกการเข้า

เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520

« ตอบ #32 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:50:08 »

ไม่กล้าตอบ กลัวหัวแตกครับพี่วณิชย์   เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #33 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 18:18:00 »

ตอบให้ก็ได้ .. ไข่นุ้ยเจตน์ ..  


หากอายุเท่ากัน รับรองว่าเจ๊ฉ่อย (Choi) แกต้องหลบให้หะยีแบบตกถนนไปเล้ยย
แต่นี่ .. อาศัยว่า she อ่อนเยาว์กว่า  เราจึงพ่ายไปเพราะสังขารและริ้วรอย ..


ฮ่า ฮ่า ..
    เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #34 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 18:19:08 »

พี่วณิชย์คะ .. หะยีอยู่ NY มาหลายปี  ไม่เคยได้ให้ความสนใจเรื่องเหล่านี้เลย
ขอบคุณที่ช่วยมาเสริมความรู้ให้นะคะ ..


หายโง่ไปอีกหนึ่งเรื่องนะเรา ..
    เหนื่อย
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #35 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553, 02:14:49 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2553, 18:18:00
ตอบให้ก็ได้ .. ไข่นุ้ยเจตน์ ..  


หากอายุเท่ากัน รับรองว่าเจ๊ฉ่อย (Choi)
แกต้องหลบให้หะยีแบบตกถนนไปเล้ยย
แต่นี่ .. อาศัยว่า she อ่อนเยาว์กว่า  เราจึงพ่ายไปเพราะสังขารและริ้วรอย ..


ฮ่า ฮ่า ..
    เหอๆๆ

นึกว่า จีฉ่อย ซะอีก
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #36 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553, 21:34:46 »

อ้างถึง
ข้อความของ Intania๑๖ เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2553, 16:13:34
แล้วน้ำใน "คลองแสนแสบ" หรือ "คลองแสบแสน" จะมีปริมาณอ๊อกซิเจน เท่าไหร่?





กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการตรวจวัดอ๊อกซิเจนละลายน้ำ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 แจ้งว่า
คุณภาพน้ำคลองแสนแสบ บริเวณท่าเรือประตูน้ำ           = 0.8 มิลลิกรัม/ลิตร
คุณภาพน้ำคลองแสนแสบ บริเวณท่าเรือวัดศรีบุญเรือง   = 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร

มาตรฐาน ที่จะให้ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ มีชีวิตอยู่ได้        = 6 มิลลิกรัม/ลิตร
มาตรฐาน ที่จะให้ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ เติบโตและสืบพันธุ์ได้= 7 มิลลิกรัม/ลิตร




นิยายรักเรื่องจริง-เรื่องเศร้า "ไอ้ขวัญ-อีเรียม" แห่งคลองแสนแสบ ลุ่มน้ำบางกะปิ บันทึกไว้ ณ วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้



เรียน พี่วณิชย์ 16

่ขอ copy รูป ชุดนี้ ได้หรือไม่คะ

ขอบพระคุณค่ะ

      บันทึกการเข้า
TAE2540
Full Member
**


ไม่มีคำว่าสายเสียแล้ว สำหรับความรักที่แท้จริง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2540
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 507

เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553, 21:51:54 »

เพิ่งได้เปิดหูเปิดตากับเรื่องราวที่พี่วณิชย์นำมาให้อ่าน

ดีจังเลยครับ ห้องนี้วิชาการดีจริง / จัง

ผมเห็นคลองแสนแสบ ก็มีท่อ อะไรซักอย่าง โผล่กลางคลอง คิดว่าเป็นตอนกำลังสร้าง คาดว่าจะทำบ่อบำบัดน้ำเสีย ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าครับ

ไม่รู้ว่าผลาญงบไปเยอะแค่ไหน (คิดแง่ร้ายจัง) สุดท้ายก็ยังไม่เอาจริงเอาจังอยู่ดีครับ ทำไงดี ชาตินี้จะได้เห็นคลองแสนแสบที่มีเด็กๆ กระโดดเล่นน้ำได้อย่างสบายอุราหรือเปล่า

      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #38 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 10:05:11 »

อ้างถึง
ข้อความของ BU_MEE เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2553, 21:34:46
อ้างถึง
ข้อความของ Intania๑๖ เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2553, 16:13:34
แล้วน้ำใน "คลองแสนแสบ" หรือ "คลองแสบแสน" จะมีปริมาณอ๊อกซิเจน เท่าไหร่?





กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการตรวจวัดอ๊อกซิเจนละลายน้ำ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 แจ้งว่า
คุณภาพน้ำคลองแสนแสบ บริเวณท่าเรือประตูน้ำ          = 0.8 มิลลิกรัม/ลิตร
คุณภาพน้ำคลองแสนแสบ บริเวณท่าเรือวัดศรีบุญเรือง  = 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร

มาตรฐาน ที่จะให้ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ มีชีวิตอยู่ได้       = 6 มิลลิกรัม/ลิตร
มาตรฐาน ที่จะให้ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ เติบโตและสืบพันธุ์ได้= 7 มิลลิกรัม/ลิตร




นิยายรักเรื่องจริง-เรื่องเศร้า "ไอ้ขวัญ-อีเรียม" แห่งคลองแสนแสบ ลุ่มน้ำบางกะปิ บันทึกไว้ ณ วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้



เรียน พี่วณิชย์ 16

่ขอ copy รูป ชุดนี้ ได้หรือไม่คะ

ขอบพระคุณค่ะ



เรียน น้อง BU_MEE

เนื้อหาสาระ รูปภาพ ทุกอย่างที่เอามาให้เพื่อนชาวซีมะโด่ง ได้ดูกัน วัตถุประสงค์ ก็คือเพื่อเผยแพร่ให้ทุกคนได้ทราบ ที่นี้ เป็นแห่งแรก ที่เอามาโพสท์ จะทำได้ดีกว่าที่ นสพ. ทั่วๆไป สามารถที่จะชมวิดีโอ จาก youtube ได้ด้วย

น้อง BU_MEE สามารถที่จะเอาไปเผยแพร่ต่อไปได้เลยครับ ไม่หวงเลยครับ โดยเฉพาะใครที่ทำงานอยู่ที่  กทม.  กระทรวงวิทยาศาศตร์ กรมควบคุมมลพิษ เอาลิงค์ส่งไปให้ผู้บริหารดูได้เลย หน่วยงานเหล่านี้ ควรจะที่จะเปิดหูเปิดตา เพื่อหาแนวทางแก้ไข เรื่องน้ำเสีย ที่ทิ้งลงในลำคลอง ลงในแม่น้ำได้แล้ว

ยังมีอีก 2 ตอนครับ ที่จะเอามาลง ขอเวลา 1-2 วัน กำลังรวบรวมข้อมูล ที่เคาท์ตี้หนึ่ง ใกล้ๆนครลอสแองเจลิส สามารถที่จะบำบัดนำเสียจากบ้านเรือน-ธุรกิจ ให้สะอาดเป็นน้ำดื่มได้เลย ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ส่งคนมาดูงาน เพื่อเอาไปทำเป็นแบบอย่าง ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี่ กรองน้ำทะเล ให้เป็นน้ำดื่ม ทำได้ดีและไปไกลมากแล้ว แต่เมืองไทยเรา ยังมีแหล่งน้ำจืดอีกมาก ไม่ต้องลงทุนไปไกลขนาดนั้น

โรงกรองน้ำจืด จากน้ำเค็ม desalination plant  มีจำนวน 13,080 แห่งทั่วโลก ผลิตได้ 12,000 ล้านแกลลอน/วัน โรงกรองน้ำทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ UAE ผลิตได้ปีละ 300 ล้าน ลบ.ม./ปี

เมืองไทย ขอแค่กำจัดน้ำเสีย อย่าให้เป็นมลพิษก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะทำให้ก้าวหน้าไปกว่านั้น เอากลับมาใช้ใหม่ได้ ในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม สนามหญ้า ของสนามกีฬา สนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ ฯลฯ
      บันทึกการเข้า

Pae
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,047

« ตอบ #39 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 11:46:06 »

อ้างถึง
ข้อความของ เต้ ณ บ้านครู เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2553, 21:51:54
เพิ่งได้เปิดหูเปิดตากับเรื่องราวที่พี่วณิชย์นำมาให้อ่าน

ดีจังเลยครับ ห้องนี้วิชาการดีจริง / จัง

ผมเห็นคลองแสนแสบ ก็มีท่อ อะไรซักอย่าง โผล่กลางคลอง คิดว่าเป็นตอนกำลังสร้าง คาดว่าจะทำบ่อบำบัดน้ำเสีย ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าครับ

ไม่รู้ว่าผลาญงบไปเยอะแค่ไหน (คิดแง่ร้ายจัง) สุดท้ายก็ยังไม่เอาจริงเอาจังอยู่ดีครับ ทำไงดี ชาตินี้จะได้เห็นคลองแสนแสบที่มีเด็กๆ กระโดดเล่นน้ำได้อย่างสบายอุราหรือเปล่า



ผมเคยได้ยินว่า การไฟฟ้านครหลวง เขาสร้างอุโมงค์ เพื่อเดินสายไฟตามแนวคลองครับ
ไม่แน่ใจว่า มีโครงการบำบัดน้ำเสียอีกโครงการนึงรึเปล่า
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #40 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 12:10:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ Intania๑๖ เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2553, 10:05:11

เรียน น้อง BU_MEE

เนื้อหาสาระ รูปภาพ ทุกอย่างที่เอามาให้เพื่อนชาวซีมะโด่ง ได้ดูกัน วัตถุประสงค์ ก็คือเพื่อเผยแพร่ให้ทุกคนได้ทราบ ที่นี้ เป็นแห่งแรก ที่เอามาโพสท์ จะทำได้ดีกว่าที่ นสพ. ทั่วๆไป สามารถที่จะชมวิดีโอ จาก youtube ได้ด้วย

น้อง BU_MEE สามารถที่จะเอาไปเผยแพร่ต่อไปได้เลยครับ ไม่หวงเลยครับ โดยเฉพาะใครที่ทำงานอยู่ที่  กทม.  กระทรวงวิทยาศาศตร์ กรมควบคุมมลพิษ เอาลิงค์ส่งไปให้ผู้บริหารดูได้เลย หน่วยงานเหล่านี้ ควรจะที่จะเปิดหูเปิดตา เพื่อหาแนวทางแก้ไข เรื่องน้ำเสีย ที่ทิ้งลงในลำคลอง ลงในแม่น้ำได้แล้ว

ยังมีอีก 2 ตอนครับ ที่จะเอามาลง ขอเวลา 1-2 วัน กำลังรวบรวมข้อมูล ที่เคาท์ตี้หนึ่ง ใกล้ๆนครลอสแองเจลิส สามารถที่จะบำบัดนำเสียจากบ้านเรือน-ธุรกิจ ให้สะอาดเป็นน้ำดื่มได้เลย ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ส่งคนมาดูงาน เพื่อเอาไปทำเป็นแบบอย่าง ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี่ กรองน้ำทะเล ให้เป็นน้ำดื่ม ทำได้ดีและไปไกลมากแล้ว แต่เมืองไทยเรา ยังมีแหล่งน้ำจืดอีกมาก ไม่ต้องลงทุนไปไกลขนาดนั้น

โรงกรองน้ำจืด จากน้ำเค็ม desalination plant  มีจำนวน 13,080 แห่งทั่วโลก ผลิตได้ 12,000 ล้านแกลลอน/วัน โรงกรองน้ำทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ UAE ผลิตได้ปีละ 300 ล้าน ลบ.ม./ปี

เมืองไทย ขอแค่กำจัดน้ำเสีย อย่าให้เป็นมลพิษก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะทำให้ก้าวหน้าไปกว่านั้น เอากลับมาใช้ใหม่ได้ ในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม สนามหญ้า ของสนามกีฬา สนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ ฯลฯ


ขอบพระคุณค่ะ 

ก๊อปไปเรื่อย ๆ แล้วนะคะ
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #41 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 16:51:09 »

ระบบการกำจัดน้ำเสียของนครลอสแองเจลิส

ขอบคุณพี่ๆน้องๆ ชาวซีมะโด่ง ที่ให้ความสนใจมาอ่านเรื่องเครียดๆ ตั้งแค่พี่ปรีชา น้องสน น้องเต้ น้องเป้ น้องหะยี ครูตุ๋ย น้องสมชาย17 น้องสมชาย-เจียม 18 ดร. มนตรี น้องเจี๊ยบ น้องปุ๊กกี้ น้องเจตน์ น้องยา น้องภูมี ฯลฯ เรื่องน้ำเสียในห้วยหนอง-ลำคลอง-แม่น้ำ เป็นเรื่องที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าพวกเราไม่ให้ความสนใจ ในที่สุด ลำน้ำสาธารณะเหล่านี้ จะกลายเป็นคู-คลองระบายน้ำเสีย และเป็นที่สะสมของสารพิษ แก๊สพิษ จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์น้ำจืด และรุกรานไปยังสัตว์น้ำทะเล และยังจะมีผลต่อพืช และการดำรงชีวิตของมนุษย์ ก็คือคนไทย พี่น้องลูกหลานเรานี้เอง  ถ้าคนในรุ่นนี้ ขาดวิสัยทัศน์ ขาดจิตสำนึก หรือจะรอให้เกิดวิกฤติการณ์คนล้มตายเป็นล้านๆ แล้วค่อยมาแก้ปัญหาในวันน้ันหรือ?

เรามีตัวอย่างในต่างประเทศ ที่เขาทำสำเร็จและได้ผลดีมาแล้ว ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ให้นักวิทยาศาตร์-วิศวกรดูงาน แล้วนำสิ่งๆดีๆ ไปแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง กทม. กรมควบคุมมลพิษ และ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ กำลังทำอะไรอยู่? Hello, what's hell you are doing?



นครลอสแองเจลิส  เป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางฝั่งตะวันตก ติดมหาสมุทรแปซิฟิค ชื่อ Los Angeles เป็นภาษาสแปนนิช ตรงกับภาษาอังกฤษก็คือ The Angels แปลว่า นางฟ้า ฝรั่งหรือคนไทย ก็จะเรียกสั้นๆง่ายๆ ว่า "แอลเอ"  ซึ่งมีพลเมืองราว 3.8 ล้านคน ขนาดพื้นที่ 1290.6 ตร.กม.

ชื่อเสียงของนครลอสแองเจลิส ก็คือ ภาพยนตร์ ดนตรี เพราะแอลเอตั้งอยู่ริมทะเล อากาศที่อบอุ่นเมืองอื่นๆ มีแสงแดดเกือบทั้งปี ฝนก็ไม่ค่อยตก จึงเป็นแหล่งของการสร้างและถ่ายทำภาพยนตร์ ฮอลลีวูดคือสัญญลักษณ์ของภาพยนตร์ ดารานักแสดง จึงอาศัยอยู่ในแถบนี้  บริษัทที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ การตัดต่อภาพยนตร์ ดนตรี การบันทึกเสียง จึงอยู่ในฮอลลีวูด เช่น Capitol Records รูปตึก จึงเป็นลักษณะคล้ายแผ่นเสียง ดังภาพ แอลเอ ยังเป็นศูนย์กลางด้านการค้านานาชาติ ธุรกิจ แฟชั่น การศึกษา การกีฬา ฯลฯ


      บันทึกการเข้า

phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 17:00:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ เต้ ณ บ้านครู เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2553, 21:51:54
เพิ่งได้เปิดหูเปิดตากับเรื่องราวที่พี่วณิชย์นำมาให้อ่าน

ดีจังเลยครับ ห้องนี้วิชาการดีจริง / จัง

ผมเห็นคลองแสนแสบ ก็มีท่อ อะไรซักอย่าง โผล่กลางคลอง คิดว่าเป็นตอนกำลังสร้าง คาดว่าจะทำบ่อบำบัดน้ำเสีย ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าครับ

ไม่รู้ว่าผลาญงบไปเยอะแค่ไหน (คิดแง่ร้ายจัง) สุดท้ายก็ยังไม่เอาจริงเอาจังอยู่ดีครับ ทำไงดี ชาตินี้จะได้เห็นคลองแสนแสบที่มีเด็กๆ กระโดดเล่นน้ำได้อย่างสบายอุราหรือเปล่า



แต่ผมเคยเห็นครับพี่ ในวันที่ไปเยี่ยมแม่ครับ
เห็นเด็กโดดเ่ล่นน้ำคลองแสนแสบ เห็นแล้วสยองแทนครับ
อารมณ์เด็กๆเนอะ ยังไม่ประสีประสา  สงสารจัง
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #43 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 17:27:26 »

เมื่อมีคนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ขยะและน้ำเสีย ก็มีมากเช่นกัน แอลเอ เป็นเมืองใหม่ เมื่อเทียบกับนิวยอร์ค จึงได้เอาประสบการณ์จากรัฐฝั่งตะวันออกต่างๆ เอามาพัฒนาให้ดีขึ้น ระบบการระบายน้ำ ที่นครลอสแองเจลิส อยู่ในความดูแลของ The Bureau of Sanitation


(ภาพเล็ก ซ้ายสุดสีน้ำตาลออ่น คือแผนที่ของรัฐแคลิฟอร์เนีย  สีน้ำตาลเข้มคือมณฑลลอสแองเจลิส  ซึ่งมีอีก 88 เมืองมารวมกัน เมื่อขยายใหญ่ขึ้น ได้ภาพทางขวามือ สีขาว-สีเทา- สีแดงคือ นครลอสแองเจลิส เท่านั้น)



คูระบายน้ำ จะมี 2 ประเภท
1. คูน้ำเพื่อการระบายน้ำฝน storm drain system  จะขนานไปสองข้างถนน จะรับน้ำฝนที่มาจากบ้านเรือนและจากถนน และน้ำธรรมชาติ ที่ไหลมากจากลำธาร  เพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างฉับพลัน  ไม่มีการผ่านขบวนการบำบัดแต่อย่างใด เพราะปริมาณน้ำที่มีจากฝนตกมีมาก จนไม่สามารถที่จะบำบัดได้ ทางซิตี้ออฟลอสแองเจลิส จึงห้ามเอาน้ำมัน น้ำมันเครื่อง สารเคมี ขยะ วัตถุมีพิษ ไปเททิ้งบนถนน หรือในคูน้ำ

เคยมีน้ำท่วมใหญ่ ที่นครลอสแองเจลิสมาก่อนถึง 2 ครั้ง สร้างความเสียหายให้กับบ้านที่อยู่อาศัยและธุรกิจ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมือของฝ่ายวิศวกรรมกองทัพบกสหรัฐฯ (U.S. Army Corps of Engineers)  ช่วยออกแบบ และสร้างคูระบายขึ้นครั้งแรกในปี 1930 (พ.ศ. 2473)  จนปัจจุบัน มีความยาวทั้งสิ้นในปัจจุบันรวมกัน 1500 ไมล์ หรือ 2400 กม. มีช่องเปิดรับน้ำ ที่เรียกว่า catch basins 100,000 จุด ปล่อยให้ไหลลงสู่ทะเล ที่ Los Angeles River และ Ballona Creek ราวๆวันละ 100 ล้านแกลลอน/วัน ในวันปกติ
ส่วนวันที่มีพายุฝน จะมีน้ำไหลสู่ทะเล 10,000 ล้านแกลลอน ด้วยความเร็ว 35 ไมล์/ชม หรือ 56 กม./ชม. และมีความลึกถึง 25 ฟุต

อ้างอิง:
http://www.lastormwater.org/siteorg/general/lastrmdrn.htm
http://www.lastormwater.org/siteorg/download/pdfs/publications/swprgm91.pdf


2. คูระบายน้ำ ที่รับน้ำเสียมาจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย จากธุรกิจร้านค้าร้านอาหาร และโรงงาน  น้ำเหล่านี้ จะผ่านไปยังท่ออีกเส้นหนึ่ง เพื่อนำไปยังโรงบำบัดน้ำ Treatment Plants หรือ Water Reclamation Plants  ที่มี 4 แห่ง สามารถที่จะกำจัดสารอินทรีย์และอนินทรีย์ จนเหลือเพียง 0.1% จากน้ำเสีย และขจัดวัตถุที่ติดมาออกไปได้วันละ 1 ล้านปอนด์ ได้น้ำสะอาด 80 ล้านแกลลอนต่อวัน น้ำเหล่านี้ นำกลับไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำดื่ม ใช้ฉีดตามสวนสาธารณะ  สนามกอล์ฟ  และใช้ในโรงไฟฟ้า เพื่อระบายความร้อนของเครื่องจักร

นอกจากนี้ โรงบำบัดได้ใช้เทคโนโลยี่ใหม่ใช้ ในการผลิต biosolids ให้เป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม และยังได้แก๊สชีวภาพ  เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

http://www.lasewers.org/treatment_plants/about/index.htm


โรงบำบัดนำเสียทั้ง 4 แห่งได้แก่
1. Hyperion Treatment Plant เป็นโรงบำบัดน้ำที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุด อยู่ทางทิศตะวันตกของนครลอสแองเจลิส อยู่ริมฝั่งทะเล ใกล้ๆ สนามบิน LAX
http://www.lasewers.com/treatment_plants/hyperion/flowchart/flowchart.html

2. Donald C. Tillman Water Reclamation Plant  อยู่ทางตอนเหนือของนครลอสแองเจลิส
http://www.lasewers.org/treatment_plants/tillman/flowchart/flowchart.htm

3. Los Angeles-Glendale Water Reclamation Plant  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครลอสแองเจลิส
http://www.lasewers.org/treatment_plants/la_glendale/flowchart/flowchart.htm

4. Terminal Island Water Reclamation Plant  อยู่ทางทิศใต้ของนครลอสแองเจลิส
http://www.lasewers.org/treatment_plants/terminal_island/flowchart/flowchart.htm
      บันทึกการเข้า

ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #44 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 21:45:42 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2553, 08:49:02
ในอดีต แม่น้ำเทมส์ ( River Thames) ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ ด้วย เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิ้ง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น ก็เคยประสบปัญหามลภาวะ (Water Pollution) แทบไม่ต่างอะไรกับคลองแสนแสบบ้านเรา แต่ก็ได้รับการแก้ไขได้ในที่สุด ... โดย Thames Water ( http://www.thameswater.co.uk/ ) เป็น Key หลักในการแก้ไขปัญหานี้จนสำเร็จ

ประมาณช่วงปี  2536 ... Thames Water (UK) และ Berli Jucker PLC. (Thailand) ได้ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท Berli Jucker Thames Water Co., Ltd.

งานแรกที่เริ่มในเมืองไทยคือ สัมปทานจาก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมครบวงจร ...

ก.ย.ปี 37 (อายุ 26 ปี) ผมเริ่มงานในตำแหน่ง Regional Manager รับผิดชอบนิคมในเขตภาคกลาง (ลาดกระบัง บางปู ฯลฯ )
ปี 39 ได้ Promote เป็น Operation - Technical Services Manager เริ่มเข้าไปรับผิดชอบ การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในนิคมทั่วประเทศรวมถึงโครงการโรงบำบัดน้ำเสียของกทม. โครงการโรงบำบัดน้ำเสียภูเก็ต (JV กับ ช.การช่าง) ฯลฯ

จะหาเวลาว่างมาแชร์ประสบการณ์นะครับ ^_^





อ้างถึง
ข้อความของ สมชาย17 เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2553, 09:15:43

น้ำเน่ากับ กทม (และเมืองใหญ่ ในอนาคตอันใกล้ อาจเป็นของคู่กัน)
เรามีองค์การ บำบัดน้ำเสีย ตั้งแต่ปี 2537 หรือ 2538  จำไม่ได้  น้อง ดร.มนตรี อาจ จำปี พศ.ได้
แต่ก็ยังไม่ได้ ปรับปรุง คลองน้ำเน่า ระบบระบายและบำบัดน้ำเสีย จากบ้านเรือน และอุตสาหกรรมครัวเรือน

เรือโดยสาร คลองแสนแสบ ช่วยตี ออกซิเจน เข้าในน้ำเน่าได้ระดับหนึ่ง ช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้น
ผมให้โดยสารเรือที่คลองแสนแสบ ไป นิด้า เมื่อเดือน มค.2553 ที่ผ่านมา ใช้เวลาสั้นมาก
ก็ถึงที่หมายแล้ว  เรือไม่ติดเลย กลิ่นก็พอทนได้ คิดว่าเป็น โอโซน ก็แล้วกัน





เห็นด้วยกับพี่สมชาย 17 นะครับ มลภาวะกับเมืองใหญ่ๆ เป็นของคู่กัน จากบทเรียนเรื่องมลภาวะทางน้ำของกทม.ในยุคนั้น ทำให้เรามองไปยังเมืองอื่นๆในประเทศไทย ...

หนึ่งในนั้นก็คือ ภูเก็ต "ไข่มุกอันดามัน" ของเรา จะเล่าให้ฟังในอันดับต่อไปนะครับ

ย้อนกลับมาที่ปัญหาคลองแสนแสบ ...

ในยุคแรกๆที่เราเข้าไปบริหารจัดการในนิคมอุตสาหกรรม ตามสัญญาสัมปทาน จะบริหาร

1. ระบบบำบัดน้ำเสีย

2.ระบบผลิตน้ำประปา

3.ระบบระบายน้ำป้องกันน้ำท่วม

4.การบำรุงรักษาพื้นที่

สิ่งหนึ่งที่เราทำเชิงป้องกันคือ ใช้หลัก Polluter-pays principle "บุคคลที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย" มีเสนอขออนุมัติและได้รับการอนุมัติสำหรับการคิดสูตรค่าใช้จ่ายจากค่าพารามิเตอร์ เช่น BOD COD ฯลฯ โดยเรียกเก็บจากโรงงาน ยิ่งโรงงานปล่อยค่าพารามิเตอร์ที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำเสียสูง ก็เสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าโรงงานมีระบบ Pre Treatment  ก่อนปล่อยน้ำเสียเข้าสู่ระบบ ก็จะทำให้ค่าพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ต้องเรียกเก็บต่ำ เป็นต้น







จากภาพ 3 ใน 4 คือ ชาวจุฬาฯ กับงานด้านสิ่งแวดล้อม ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประมาณปี 97

ท่านแรก รศ.ดร. หรรษา สงวนน้อย  รองประธานที่ปรึกษาผู้ว่ากทม. (ดร.พิจิตต รัตตกุล)
ท่านที่สอง ดร. สราวุธ ชโยวรรณ รองผู้ว่าการ การนิคมฯ

งานด้านนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่จะผลักดันให้งานสำเร็จ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #45 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 21:46:22 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #46 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 21:47:46 »

มีบางโรงงานที่ลักลอบปล่อยน้ำเสียลงรางระบายน้ำฝน ... เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการบำบัดน้ำเสีย แต่ก็ไม่ยากในการที่เราจะตรวจพบ และมีบทกำหนดโทษสำหรับโรงงานที่กระทำการลักลอบไม่ปล่อยน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัด

จากประเด็นการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงรางระบายน้ำฝนโดยตรง (Direct Discharge) เป็นประเด็นที่เทียบเคียงได้กับสาเหตุหลักของการเน่าเสียของ คลองแสนแสบ  ถ้าเป็นโรงงานในนิคมเราตรวจสอบ และมีบทกำหนดโทษที่ชัดเจน ควบคุมได้


แต่ถ้าเป็นกรณีคลองแสนแสบ หากมีการ Direct Discharge จะควบคุมอย่างไร??


เคยมีการศึกษาว่าปริมาณน้ำเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมมีเพียง 15-20% ของน้ำเสียทั้งหมดในประเทศเราเท่านั้น ส่วนที่เหลือมาจากไหนเล่า ถ้าไม่ใช่น้ำทิ้งจากเราๆ ท่านๆ นั่นเอง แต่ในอดีตก็เป็นน้ำเสียที่ทิ้งกระจัดกระจาย หรือที่เรียกว่า Non Point Source นั่นเอง ในยุคนั้นจึงเกิดแนวคิดที่จะรวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือน  เข้าสู่กระบวนการบำบัด (Water Treatment Plant หรือ โรงควบคุมคุณภาพน้ำ)

และเช่นกัน กทม.ได้มีความพยายามที่จะใช้หลักการ Polluter-pays principle ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยคิดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียจากประชาชนโดยตรง โดยคำนวณเป็นสัดส่วนจากมิเตอร์น้ำประปา

แต่ในที่สุดก็ทำได้เพียงการรวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือน  เข้าสู่กระบวนการบำบัด แต่ไม่สามารถใช้หลักการ Polluter-pays principle โดยรัฐเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการบำบัดเอง และปล่อยน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นแม่น้ำ ต่อไป

(ดังภาพ)


คลองแสนแสบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
คลองแสนแสบ (Khlong Saen Saep) เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับได้กว่าหนึ่งร้อยหกสิบปีมาแล้ว ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี และมีชื่อเรียกว่า "สงครามอันนัมสยามยุทธ"

คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว และเป็นเส้นทางเรือโดยสารคลองแสนแสบ แต่ปัจจุบันมีปัญหามลภาวะในน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและทิ้งขยะลงในแม่น้ำ

ที่มาของชื่อ
ว่ากันว่าชื่อคลองที่เรียกว่า "แสนแสบ" นั้นเพราะยุงชุม โดยมีหลักฐานจากบันทึกการเดินทางของนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อนาย ดี.โอ. คิง ความว่า "...คลองนี้ยาวถึง 55 ไมล์ เชื่อมนครกรุงเทพฯ กับแม่น้ำบางปะกง บริเวณที่ราบชนบท... คนพื้นเมืองเป็นคนเชื้อสายมาเลย์... ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรอยู่ก็ตาม มือข้างหนึ่งจะต้องใช้ปัดยุงเสมอ ..."

-------------

http://www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=RDG4540031

การศึกษาเรื่องการศึกษากับการสร้างจิตสำนึก : กรณีคลองแสนแสบ มีที่มาจากการที่นักวิจัยได้ร่วมงานพัฒนากับชมรมรวมใจภักดิ์รักษ์ต้นไม้ แม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อม โดยมี ดร.โกวิท วรพิพัฒน์เป็นประธานชมรมในช่วงแรก เริ่มงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ณ คลองแสนแสบย่านมีนบุรีและหนองจอกที่มีปัญหาหลักคือผักตบชวาแน่นเต็มคลองและมีการทิ้งของเสียลงคลองการรณรงค์ต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากคลองมากขึ้นทั้งในด้านการอุปโภคและการสัญจร อย่างไรก็ตามพบว่าชาวบ้านยังมีพฤติกรรมทิ้งของเสียลงคลองและเมื่อหน้าฝนน้ำจะชะล้างผืนนาที่มีสารพิษจากยากำจัดศัตรูพืชลงคลองทำให้ระบบนิเวศน์ในคลองเสียไป ดังนั้นหากไม่มีการสร้างจิตสำนึกใดๆคลองแสนแสบบริเวณรอบนอกที่ยังมีสภาพดีอยู่คงจะเสียในไม่ช้า

หากมีการใช้เป็นบทเรียนแก่แหล่งน้ำอื่นที่ยังสามารถรักษาไว้ไม่ให้เน่าเสียจนยากจะเยียวยาเหมือนกรุงเทพฯชั้นในน่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย กล่าวได้ว่าความสำเร็จของชมรมฯที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง ได้แก่ นโยบายภาครัฐต่อการรักษาแหล่งน้ำทั่วประเทศซึ่งเป็นมิติด้านกว้าง แต่ในมิติด้านลึกคือเรื่องของการสร้างจิตสำนึกให้รักษาแหล่งน้ำในที่นี้คือคลองแสนแสบยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้สามารถเติมเต็มในส่วนที่ขาด ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบให้เยาวชนและชาวบ้านผ่านการศึกษาที่เกิดขึ้นในชุมชนริมคลองแสนแสบ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #47 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:06:23 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #48 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:07:20 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #49 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:09:07 »

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><