Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2553, 07:22:06 » |
|
หมายเหตุ การเมืองเป็นด้านที่ 3 ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ซึ่งจะใช้ด้านใดด้านหนึ่งมาแก้ได้
การเมือง เป็นด้านที่สำคัญที่พวกเราต้องสนใจ เพื่อให้มาช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหายาก ๆ
พวกเราที่ไม่ได้เป็นนักการเมือง จะเป็นแค่ นักวิชาการ เป็นนักปฏิบัติ หรือ นักบริหารในองค์กร สามารถทำด้านการให้ความรู้ เป็นด้านที่ 1 เวบซีมะโด่ง ของพวกเราร่วมระดมสมอง แต่ละคณะ สร้างวัฒนธรรม เป็นด้านที่ 2 เพื่อ สนับสนุน นักการเมือง ที่มีจริยธรรม ทำเพื่อส่วนรวม เป็นด้านที่ 3 ให้เข้ามาร่วมจัดการปัญหายาก ๆ ให้ได้
จึงขอเปิดกระทู้ ให้นำความรู้ แต่จะไม่วิจารณ์การเมือง แต่เปิดเพียงเพื่อนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเมืองขึ้น นำความรู้ มาบันทึกเก็บไว้ เพื่อเป็นธนาคารเก็บความรู้จากข่าว ประเทืองปัญญา และ สร้างวัฒนธรรม เสริมด้านการเมืองเท่านั้น คงไม่โดนเพ็งเล็ง ว่าเป็นภัยอะไรนะครับ ทีมเวบซีมะโด่งที่รักของพวกเรา
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
ตัวอย่าง ด้านที่ 3 การเมือง ทำให้เป็นไปตามแนวคิดที่ผู้ใช้ ต้องการได้
กรณี จัตุรัส เทียนอันเหมิน ขอขอบคุณ น.ส.พ.เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 16 เมษายน 2553 http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=12&contentID=60209
เห็นคนบางกลุ่มกำลังเล่นเกมกับชีวิตคน ซึ่งมีการสูญเสียไปแล้ว 21 ศพ เมื่อ 10 เม.ย.2553 ทำให้คิดถึง
เหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2532
ครั้งนั้นมีนักศึกษาจีน 1 แสนคน รวมตัวกันเรียกร้องให้ คุณเติ้ง เสี่ยว ผิง เปลี่ยนการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาเป็นประชาธิปไตย คุณจ้าว จื่อ หยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์หัวใหม่ เกิดใจอ่อนเดินไปพบผู้ชุมนุม พร้อมกับแสดงความเห็นใจ แต่คุณเติ้งในฐานะผู้นำสูงสุด จะไปทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะ มีหน้าที่ดูแลประเทศจีนให้ร่มเย็นสุขสงบ ประชาชนทุกคนมีข้าวกิน ไม่อด ๆ อยาก ๆ เหมือนในอดีต ทำอย่างนั้นไม่ได้ ประเทศจีนจะเป็นประชาธิปไตยหรือคอมมิวนิสต์ เชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับคุณเติ้ง เพราะเคยบอกแล้วว่า
“แมวจะสีดำหรือสีขาวไม่สำคัญ แต่ขอให้จับหนูได้เท่านั้น” ซึ่งหมายถึง การมุ่งบริหารเป้าหมายมากกว่าวิธีการ คุณเติ้งเคยมีความคิดแตกต่างจากผู้ทรงอำนาจอย่าง ประธาน เหมา เจ๋อ ตุง ที่ต้องการปฏิวัติวัฒนธรรม เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมเป็นคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ ความไม่เห็นด้วยดังกล่าว ทำให้คุณเติ้งถูกจับไปเข้าค่ายใช้แรงงาน ยากลำบากอยู่ในชนบท หลายปี ประธานเหมา คงต้องการบริหารเป้าหมายเหมือนกัน คงไม่อยากให้คุณเติ้งมาทำให้นโยบายปฏิวัติวัฒนธรรมสั่นคลอน ในทำนองเดียวกัน คุณเติ้งเห็นว่า หากเปลี่ยนแปลงการปกครองตามคำเรียกร้องของนักศึกษา อาจทำให้ประเทศจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ มีประชากรเป็นพันล้านคน เสี่ยงต่อการแตกสลาย เนื่องจากไม่สามารถรวมศูนย์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ คุณเติ้งจึงสั่งให้เลิกชุมนุม เมื่อยังขัดขืนจึงไฟเขียวให้ทหารเข้าปราบปราม ผลก็คือ ตายไป 2,500 คน และบาดเจ็บอีก 1 หมื่นคน คุณจ้าว จื่อ หยาง ถูกปลดจากเลขาธิการพรรคฯ และคุมขังไว้ในบ้าน ส่วนคุณหวังตัน ผู้นำนักศึกษาถูกจับติดคุกอยู่หลายปี ไม่เหมือนกับผู้นำประท้วงในบ้านเรา จะเสี้ยมให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เอาชีวิตไปทิ้ง ส่วนตัวเองจะหลบแต่อยู่ในรู เมื่อเห็นท่าไม่ดี ก็จะหนีไปต่างประเทศ เหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินถือเป็นบาดแผลทางประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งของชนชาติจีน นานาชาติต่างประณามว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย แต่คุณเติ้งก็ไม่สนใจ เพราะมุ่งบริหารเป้าหมายเพียงอย่างเดียว อันที่จริงคุณหวังตันก็มีความปรารถนาดีต่อประเทศ โดยมีความเชื่อที่ว่า หากปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแล้ว จะทำให้จีนรุ่งเรือง ประชาชนมีเสรีภาพ ไม่ได้ก่อม็อบเพื่อรับใช้ใครคนใดคนหนึ่งที่กำลังหนีโทษคุก 2 ปี ส่วนคุณเติ้ง ต้องยอมถูกตราหน้ามือเปื้อนเลือด โดยเชื่อว่า การบริหารแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ โดยการเมืองยังเป็นแบบคอมมิวนิสต์ ส่วนเศรษฐกิจปลดปล่อยให้เป็นทุนนิยม มันก็แปลกดี เพราะแนวคิดทุนนิยมเป็นปฏิปักษ์ต่อคอม มิวนิสต์เหมือนน้ำกับน้ำมัน แต่คุณเติ้งทำได้ จากวันนั้นถึงวันนี้ประมาณ 21 ปี เวลาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คุณเติ้ง ตัดสินใจถูกต้องโดยเฉพาะเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เพราะการรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองไว้ที่พรรค คอมมิวนิสต์ ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่อง จนเศรษฐกิจเติบโตกลายเป็นพี่เบิ้มของโลก ลองหลับตานึก ถ้าคุณเติ้งกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่มุ่งมั่นต่อเป้าหมาย เป็นผู้นำที่เอาตัวรอดไปวัน ๆ ยอมทำตามข้อเรียกร้อง วันนี้ทั้งมณฑลซินเจียงและทิเบต คงถูกแบ่งแยกออกไปปกครองตนเอง ยังไม่รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่มีการเอาเปรียบทางโอกาส คนรวย มือยาวกว่าตั้งหน้ากอบโกย คนจนมือสั้นกว่าแย่งไม่ทัน อด ๆ อยาก ๆ กลายเป็นปัญหาสังคม อ่านข้อมูลเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน แล้วไม่อยากเอามาเทียบกับการประท้วงที่แยกราชประสงค์ เพราะ ที่นั่นเขาหวังดีต่อบ้านเมือง ทั้งคุณเติ้งและคุณหวังตัน จึงต่างจากที่นี่ที่จ้องแต่จะเปลี่ยนรัฐบาล แก้กฎหมาย เพื่อเอาคุณทักษิณ ชินวัตร กลับมาให้ได้ โดยไม่สนว่า ประเทศไทยจะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหรือไม่..??.
"เขื่อนขันธ์"
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
ข่าวภูมิภาค NGOพะเยาแนะปชช.มีส่วนร่วม สร้างมาตรฐานตรวจสอบการเมือง
พะเยา:นายสุทธิพงษ์ อาณาตระกูล นักพัฒนาเอกชน ผู้ประสานงานกลุ่มดอกหญ้า (NGOX ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า
ขณะนี้การเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชนจะเห็นได้ว่าเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ตั้งแต่มีกลุ่มผู้ชุมนุมมากมายหลายกลุ่มในระหว่าง 1-2 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า
ประชาชนเริ่มมีการเรียนรู้เรื่องของการเมืองผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น การตรวจสอบนักการเมืองท้องถิ่น การตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)โดยการเมืองภาคประชาชนได้เริ่มต้นขึ้นในหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่เริ่มมาจากการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลท้องถิ่น เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว ประชาชนจึงรับทราบข้อมูลและตรวจสอบได้ง่าย
สำหรับกระบวนที่จะสร้างกลไกการตรวจสอบการเมืองทุกระดับให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น คือ
การสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางด้านการเมืองแก่ภาคประชาชน ซึ่งไม่ได้หมายถึง
การเดินขบวนหรือการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเท่านั้น แต่คือ
การมีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งผู้แทนทุกระดับ จากนั้นรู้เท่าทันหน้าที่ของนักการเมือง จนถึงรู้ในหน้าที่และสิทธิในการตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองอย่างมีเหตุผล
และเมื่อประชาชนเรียนรู้การเมืองอย่างเป็นระบบแล้ว กลไกการตรวจสอบการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ที่สำคัญจะทำให้ได้ผู้แทนที่มาจากการใช้สติและเหตุผลของประชาชนเลือกให้ได้ผู้ที่มีความเหมาะสมต่อไป
นำมาจาก น.ส.พ.แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 25/3/2010
http://www.naewna.com/news.asp?ID=204668
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
"เงินภาษีบริจาคให้พรรคการเมือง" ถึง "บริจาคให้การตรวจสอบนักการเมือง"
(เจิมศักดิ์ขอคิดด้วยฅน น.ส.พ.แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 8 ก.พ.2553)
การเปิดช่องทางบริจาคเงินเพื่ออุดหนุนพรรคการเมือง ผ่านการยื่นแบบเสียภาษี ภงด.90-ภงด.91 เป็นแนวทางที่สร้างสรรค์ เป็นวิธีคิดและการดำเนินการที่พยายามจะเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นแก้ปัญหา
"ธนกิจการเมือง"
การเมืองที่อำนาจเงินเป็นใหญ่ พรรคการเมืองถูกยึดกุมอำนาจโดยนายทุนไม่กี่ราย เป็นการเมืองที่ต้องพึ่งพาอำนาจเงินของนายทุน และใช้เงินเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ
จากนั้น ก็ใช้อำนาจรัฐเพื่อตอบแทนบุญคุณของนายทุนพรรค ผ่านการทุจริตคอรัปชั่น หรือเอื้อประโยชน์ หรือเลือกปฏิบัติ ฯลฯ จึงปรากฏว่า
บุคคล ครอบครัว หรือธุรกิจบางราย สามารถจะครอบงำพรรคการเมืองบางพรรคได้เกือบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยทุ่มเงินบริจาคหรืออุดหนุนให้แก่พรรคการเมือง ผูกขาดเป็นผู้อุปถัมภ์พรรค ทำให้พรรคการเมืองไม่เป็นพรรคของมวลชน ส.ส.ขาดความอิสระในการดำเนินงานทางการเมือง แต่นายทุนผู้อุปถัมภ์กลับสามารถมีอิทธิพลเหนือพรรคการเมือง
1) ในการยื่นแบบเสียภาษี ภงด.90-ภงด.91 จะมีช่องให้เลือก พร้อมรหัสของพรรคการเมือง เพื่อให้ผู้เสียภาษีเลือกว่าจะบริจาคเงินภาษี 100 บาท ให้แก่พรรคการเมืองใด โดยที่ผู้เสียภาษีไม่ได้ควักกระเป๋าตัวเองเพิ่มแต่ประการใด
กรมสรรพากรจะนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ ส่งเป็นรายได้แผ่นดินไปก่อน เมื่อรวบรวมข้อมูลการแสดงความประสงค์บริจาคเงินภาษีให้พรรคการเมือง จำแนกเป็นรายพรรคและจำนวนเงินเรียบร้อยแล้ว จึงจะส่งให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โอนเงินให้กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ภายในวันที่ 31 ตุลาคม ของปีที่รับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี เพื่อโอนต่อให้พรรคการเมืองต่อไป
2) ในปีนี้ ประชาชนผู้เสียภาษี ผู้ประสงค์จะบริจาคเงินภาษีให้พรรคการเมือง สามารถแสดงความจำนงได้โดยการยื่นแบบต่อกรมสรรพากร ตั้งแต่บัดนี้ ไปจนถึงวันที่31 มีนาคม 2553
สามารถเลือกพรรคการเมืองที่ตนเองต้องการจะบริจาคเงินภาษีให้ จากตัวเลือกพรรคการเมือง 54 พรรค ตามรหัสที่ กกต. (เรียงลำดับตามลำดับเวลาการขอจัดตั้งพรรคการเมือง) เช่น
พรรคประชาธิปัตย์ รหัส 001, พรรคกิจสังคม 003, พรรคความหวังใหม่ 013, พรรคประชาราช 017, พรรคเพื่อไทย 034, พรรคเพื่อแผ่นดิน 041, พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 045, พรรคชาติไทยพัฒนา 055, พรรคมาตุภูมิ 062, พรรคภูมิใจไทย 063, พรรคการเมืองใหม่ 076 เป็นต้น
3) ผู้เสียภาษี สามารถจะตัดสินใจที่จะบริจาค หรือไม่บริจาค ก็ได้! และถ้าเลือกที่จะบริจาค ก็ค่อยเลือกใส่รหัสพรรคการเมืองที่ตนต้องการบริจาคเงินภาษีให้
ประชาชนผู้เสียภาษีสามารถจะมีวิธีคิดมากหลาย แตกต่างกันไปตามอัธยาศรัย
3.1 หากพึงพอใจ หรือต้องการสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองใด ก็เลือกบริจาคเงินภาษีแผ่นดินให้พรรคการเมืองนั้น
3.2 หรือ ถ้าคิดอยากจะลงโทษพรรคการเมืองใด โดยเห็นว่าพรรคการเมืองใดเป็นพรรคของนายทุน พรรคเฉพาะกิจ พรรคของครอบครัว ของตระกูล ของกลุ่มก๊วนมุ้ง หรือเห็นว่าพรรคการเมืองนั้นมีพฤติการณ์ที่กระทำการเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของนายทุนพรรค หรือนายใหญ่ผู้เป็นยิ่งกว่านายทุนพรรค เห็นว่า นักการเมืองพรรคไหนยังบินไปขอเงินนักโทษหนีคุก ผู้โกงกินไปจากแผ่นดินไทยอยู่เรื่อยๆ
3.3 หากเห็นว่า ถึงจะบริจาคเงินภาษีแผ่นดินให้ก็ไร้คุณค่า เพราะนักการเมืองและพรรคการเมืองนั้น ไม่รู้คุณแผ่นดิน ก็อาจพิจารณาไม่บริจาคให้พรรคการเมืองนั้น โดยอาจจะไม่บริจาคเลย เพื่อให้เงินภาษีทั้งหมดไหลเข้าคลังหลวง ให้นำไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ของประเทศ
3.4 หรืออาจจะหันไปบริจาคให้พรรคการเมืองอื่นๆ ที่ยังพอเป็นความหวังได้มากกว่า หรือ เป็น ตัวคานอำนาจ เป็นคู่แข่งทางการเมือง หรือแม้แต่เป็นทางเลือกใหม่ เป็นต้น
4) การเปิดช่องทางบริจาคเงินภาษีเพื่ออุดหนุนพรรคการเมือง เป็นการเพิ่มช่องทางให้พรรคการเมืองที่ยังมีน้ำดีปะปนอยู่บ้าง สามารถจะลดแรงกดดันจากการพึ่งพาเงินของนายทุนรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากภาษีของประชาชนผู้สนับสนุนโดยตรง เป็นการรักษาความหวังที่ว่า พรรคการเมืองที่ต้องการจะดำเนินการเยี่ยงพรรคการเมืองที่แท้จริง จะสามารถทำตามอุดมการณ์ของพรรคการเมือง ทำงานการเมืองเพื่อตอบสนองประชาชนส่วนรวม (มากกว่าตอบสนองนายทุนพรรค) ได้โดยสะดวกมากขึ้น
มองได้ว่า เป็นการส่งเสริมการกระจายอำนาจ กระจายความรู้สึกเป็นเจ้าของ ไม่ให้พรรคการเมืองถูกผูกขาดโดยผู้อุปถัมภ์รายใหญ่เพียงไม่กี่ราย
5) เมื่อมีกลไกที่ให้ประชาชนบริจาคเงินภาษีเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองโดยตรงเช่นนี้แล้ว ก็ควรจะต้องมีมาตรการตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคการเมืองอย่างเข้มข้นและโปร่งใส เพื่อติดตามดูแลการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง และการรับเงินจากช่องทางอื่นๆ ที่อาจจะรักษาไว้ซึ่งอิทธิพลอำนาจเหนือพรรคการเมืองของนายทุนรายใหญ่
จะต้องให้ประชาชนได้เห็นที่มา-ที่ไปของเงินได้ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เงินสนับสนุนของกองทุนพัฒนาการเมือง เงินบริจาคเข้าพรรคการเมือง ค่าใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม สัมมนาของพรรคการเมือง ฯลฯ รวมทั้งเงินที่เคยอยู่ในโลกมืด ปราศจากระบบการตรวจสอบ ควบคุม ดูแล อาทิ เงินที่รับจากหัวหน้ามุ้ง เงินที่รับจากนายทุนพรรค เงินที่รับมาจากผู้สนับสนุนทางการเมืองส่วนตัว เงินรายจ่ายค่าภาษีสังคมของ ส.ส. หรือแม้แต่เงินรายจ่ายในการซื้อเสียง เป็นต้น
ทั้งหมด ควรต้องกำหนดให้เด็ดขาด จะต้องให้ทั้ง
"พรรคการเมืองและนักการเมือง"
มีบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่เกี่ยวข้องหรือมีนัยสำคัญกับงานการเมืองโดยเฉพาะ อย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ โดยการรับ-จ่ายเงินทั้งหมด จะต้องทำผ่านบัญชีเหล่านี้เท่านั้น
หากพบการรับ-จ่ายเงิน ที่อยู่นอกเหนือบัญชีนี้ ต้องถือเป็นความผิด !
วิธีการเช่นนี้ นอกจากจะทำให้นักการเมืองตรวจสอบกันเองแล้ว ยังช่วยให้ภาคสังคมได้มีส่วนร่วมในการจับตามองและติดตามตรวจสอบนักการเมืองด้วย
6) การสนับสนุนให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุน ตัดสินใจบริจาคเงินภาษีเพื่ออุดหนุนองค์กรทางการเมืองที่ตนเองพึงพอใจ เป็นแนวทางที่สร้างสรรค์ จึงไม่ควรจะจำกัดอยู่แต่เฉพาะการบริจาคให้องค์กรการเมืองที่อยู่ในรูปพรรคการเมืองเท่านั้น
หากลองศึกษาบทเรียนของการพัฒนาการเมือง หรือการสร้างสรรค์การเมืองในประเทศเกาหลี จะเห็นบทบาทขององค์กรทางการเมืองที่ไม่ใช่พรรคการเมือง แต่เป็นองค์กรภาคประชาสังคม
ในประเทศเกาหลี สามารถใช้ความเอาจริงเอาจังของพลเมือง เข้ามาชำระสะสาง ไล่ล้างนักการเมืองน้ำเน่า ออกไปจากระบบการเมืองได้จำนวนมาก อย่างรวดเร็ว น่าคิดว่า ปัญหานักการเมืองขี้โกงที่ประเทศเกาหลี ก็เคยมีไม่แพ้ประเทศไทย แต่เมื่อพลเมืองเกาหลีได้มีองค์กรรณรงค์ขับไล่นักการเมืองชั่ว เพื่อกดดันให้พรรคการเมืองต่างๆ ไม่ส่งผู้สมัครที่มีพฤติกรรมคดโกง ลงเลือกตั้ง การเมืองของเกาหลีก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
มูลนิธิ ชื่อ Beautiful Foundation ในประเทศเกาหลี ทำหน้าที่แฉ ตรวจสอบ เปิดโปงวพฤติกรรมของนักการเมืองขี้โกง ตีแผ่ให้สาธารณชนได้รู้เห็นข้อมูลสำคัญเป็นลำดับ เช่น เคยมีพฤติกรรมอย่างไร ร่วมทำธุรกิจกับใคร หาผลประโยชน์กับใคร สัมพันธ์กับใคร กลุ่มธุรกิจใด มีผลประโยชน์อย่างไร ฯลฯ แล้วก็ทำเป็นบัญชีรายชื่อนักการเมืองที่ต้องจับตามอง เผยแพร่สู่สาธารณชน อาจเรียกว่า
"บัญชีดำ"
มีการคัดเกรด แบ่งแยกคุณภาพของนักการเมืองแต่ละคน เช่น คนนี้ เกรดเอ คนนี้เกรดบี คนโน้นไม่ได้เรื่อง เกรดซี ส่วนคนนั้น พฤติกรรมแย่ที่สุด ก็จัดอยู่ในเกรดแย่ที่สุด โดยทั้งหมด จะต้องมีข้อมูลยืนยัน หนักแน่น มีเหตุมีผล จากนั้น จะมีการนำมาขึ้นลิสต์ และส่งไปให้พรรคการเมืองต่างๆ เป็นนัยว่า ให้พรรคการเมืองพิจารณาคุณภาพ ส.ส.ในสังกัดของตน และสำทับไปด้วยว่า นักการเมืองเกรดต่ำพวกนี้ อย่าได้ให้ไปมีตำแหน่งสำคัญ
ทุกขั้นตอนนั้น มูลนิธิจะสร้างกระบวนการให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพิ่มเติม และเป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัว ผ่านเวบไซต์ ผ่านสื่อสารมวลชน ฯลฯ ใครที่มีข้อมูลว่า ไม่ได้ทุจริต ก็เอาข้อมูลมาอธิบาย หรือใครที่มีข้อมูลว่าทุจริตยิ่งกว่า ก็เอาข้อมูลมาเพิ่มเติม ระหว่างนั้น จึงมีการคัดชื่อออก กลั่นกรอง และการเพิ่มเติมชื่อ เข้าไปในบัญชีด้วย กระบวนการดังกล่าว กลายเป็นการถกแถลงปัญหาบ้านเมือง โดยมี "ข้อมูลข้อเท็จจริง" เป็นสาระสำคัญ อยู่ในการรับรู้ของสังคมไปในตัว !
การดำเนินกิจกรรมข้างต้น ทำให้เกิดแรงกระเพื่อม พรรคการเมืองต้องฟังเสียงสาธารณชน ในที่สุด เมื่อการเลือกตั้งผ่านไปเพียง 2 ครั้ง นักการเมืองน้ำเน่าหน้าเก่าๆ ในประเทศเกาหลี ก็ค่อยๆ หายหน้าหายตาไป มากกว่าครึ่งหนึ่ง!
การดำเนินการในลักษณะคล้ายๆ อย่างนี้ ควรจะได้รับการส่งเสริม สนับสนุนในประเทศไทย เพื่อกระตุ้น และส่งเสริมให้คนไทยตื่นตัว หูตาสว่าง ปฏิเสธนักการเมืองสายพันธุ์โกง และไม่ยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งในที่สุด เชื่อว่า การเมืองไทยจะค่อยๆ สะอาด โปร่งใสขึ้นเรื่อยๆ
ควรจะหาช่องทางให้ประชาชนสามารถตัดสินใจบริจาคเงินภาษีเพื่ออุดหนุนการดำเนินงานทางการเมืองขององค์กรที่ไม่ใช่พรรคการเมือง แต่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบพรรคการเมืองและนักการเมืองด้วย
สันติสุข มะโรงศรี แทน ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
http://www.naewna.com/news.asp?ID=198626
ขอแทรกความรู้เรื่อง การปกครองของ...โดย...เพื่อ...ประชาชน ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดย รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่มา วิชาการ.คอม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มุ่งเน้นสาระสำคัญ 4 แนวทางหลัก ได้แก่
แนวทางที่ 1 การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
แนวทางที่ 2 ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน และส่งเสริมการกระจายอำนาจ
แนวทางที่ 3 การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม และ
แนวทางที่ 4 การทำให้องค์กรตรวจสอบมีอิสระ เข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ในส่วนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น และ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรากฎอยู่ใน 2 หมวดสำคัญ ได้แก่
หมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารแผ่นดิน (มาตรา 78) ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม (มาตรา 80) และ
หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น ( มาตรา 281 – 290)
โดยในสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญนั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็นสาระสำคัญใน 5 ประการ ได้แก่
ประการที่ 1 การขยายอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทที่ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น
ประการที่ 2 การทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความเป็นอิสระ
ประการที่ 3 เป็นการพัฒนาระบบการดำเนินงานและบริหารงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประการที่ 4 การเปิดพื้นที่ให้แก่ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
ประการที่ 5 การทำให้การเมืองท้องถิ่นมีความโปร่งใส โดยจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
นอกจากความเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของการปกครองท้องถิ่นดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนสภาวการณ์ที่อยู่แวดล้อมและเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหาร และ การพัฒนาท้องถิ่นให้เอื้อต่อการพัฒนาการปกครองท้องถิ่น โดย
ในหมวด 13 เรื่อง จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหมวดนี้เป็นหมวดที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ และกำหนดว่าจะต้องมีการจัดทำ
มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐานในด้านจริยธรรมให้แก่กลุ่มบุคคลดังกล่าวเหล่านั้น
การกำหนดบทบัญญัติในหมวดนี้เป็นการเสริมสร้างกรอบประพฤติ ปฏิบัติที่คุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นักการเมืองท้องถิ่น และข้าราชการท้องถิ่นและเป็นเสมือนหนึ่งสิ่งที่ผู้บริหารท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่นต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะ
หากไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมและคุณธรรมแล้วอาจจะเป็นเหตุไปสู่การถอดถอนจากตำแหน่งได้ การบัญญัติในลักษณะดังกล่าวจะมีผลต่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่น คณะผู้บริหาร และ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นและจะทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ปฏิบัติงานภายใต้กรอบจริยธรรม คุณธรรม และมุ่งเน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถือเป็นการเสริมกำลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น “กำลังทรัพย์” “กำลังคน” และ “กำลังทางปัญญา” และที่สำคัญได้เพิ่มอำนาจในการตัดสินใจทางการบริหารงานท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอันจะก่อให้เกิดกระบวนการในการพัฒนาท้องถิ่น ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน และการปกครองท้องถิ่นก็จะเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป
นำมาจาก ร่วมสร้าง สังคมธรรมาธิปไตย ม.รังสิต วันที่ 20/08/2552 http://www.rsunews.net/Ask%20Experts/AdministrationLocalityDirection/AdministrationLocalityDirection.htm
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 17:16:54 » |
|
แนะเปลี่ยนสัดส่วนเงินพรรคการเมือง
น.ส.พ.เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 19 ก.พ. 53 สนับสนุนเนื้อหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(19 ก.พ.) ที่โรงแรมรามาการ์เดน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดการประชุมผู้บริหารพรรคการเมือง โดยมี
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เป็นประธานในการประชุม ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีการรายงานการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง ประจำปี 2551 และดำเนินการประเมินผลโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ตามรายงานการประเมินผลระบุว่า
ในปีงบประมาณ 2551 กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองได้รับงบประมาณ 189 ล้านบาท แต่จัดสรรให้พรรคการเมืองจำนวน 109 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการดำเนินการในส่วนของค่าบริหารกองทุนฯ โดยคณะนักวิจัยเห็นควรที่จะปรับปรุงสัดส่วนของเงินเพราะจะเห็นได้ว่าเงินถึง 40% ถูกจัดไว้เป็นการจัดการบริหารของกองทุนส่วนกลาง ซึ่งขาดการประเมินประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
จากรายงานการวิจัยพบว่า พรรคการเมืองมีประสิทธิภาพมากในการใช้จ่ายเงินค่อนข้างมาก กล่าวคือ ใช้จ่ายเงินจนเกือบหมดตามที่ได้มีโครงการมา และมีเงินเหลือจ่ายเพียง 10% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อลงลึกในข้อมูลยังพบปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ และตอบสนองที่มีส่วนได้เสียได้ค่อนข้างน้อย แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วพบว่า
การดำเนินงานของสำนักงานใหญ่ของพรรคค่อนข้างดี แต่กลับพบว่า สาขาพรรคการเมืองยังคงอ่อนแออยู่ ทั้งนี้บางพรรคเองก็มีปัญหาเรื่องการใช้จ่ายค่าบริหารสำนักงานและสาธารณูปโภค เช่น
มีการเบิกจ่ายค่าเช่าอาคารสำนักงานใหญ่ แต่เมื่อลงพื้นที่ไปตรวจกลับพบว่ามีสำนักงานใหญ่ รวมอยู่กับที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการแสดงความเห็นและซักถามตอนหนึ่งถึงเรื่องของ
ความเหมาะสมที่ กกต.เห็นควรหาสถานที่ตั้งที่ทำการพรรคให้มีความเหมาะสมในการตั้งที่ทำการพรรคและสาขาพรรค ทำให้
นายอธิปรัฐ กาญจนสุวรรณ เลขาธิการพรรคขัตติยะธรรม ซึ่งมี พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เป็นที่ปรึกษาพรรคนี้ ได้เสนอว่า
เรื่องนี้ กกต. ควรออกกฎระเบียบให้ชัดเจน จะมาบอกให้เป็นดุลพินิจของพรรคไม่ได้ เพราะอย่างพรรคของตน มีที่ทำการอยู่ที่โรงแรมราชา ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นโรงแรมม่านรูด และขณะนี้ก็ยังเป็นโรงแรมม่านรูดอยู่ ดังนั้นคำว่าเหมาะสมควรจะอออกระเบียบมาเลยว่าเหมาะสม อย่างไร.
นำมาจาก สนุกดอทคอม
http://news.sanook.com/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-901889.html
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 มีนาคม 2553, 19:10:54 » |
|
ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร
ชี้มาตรการคลัง-ปชต.ถูกทิศแก้ปัญหาสังคมไทยได้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน 2552
ย้ำมั่งคั่งกระจุกตัว,ระบบรวมศูนย์-คณาธิปไตย คือ
เหตุเลื่อมล้ำขัดแย้ง ชี้สร้างมิติการคลัง,ปชต.ที่ถูกทิศทาง สร้างสังคมแฟร์ได้
ระบุตัวชี้วัดความมั่งคั่งปี 49 กลุ่มรวยสุด20% มีทรัพย์สินรวม 69%ของทั้งประเทศ
จนสุด20% ทรัพย์รวมกันแค่1%
สถิติธปท. มิ.ย.52 ร้อยละ42 เงินฝาก7หมื่นบัญชีๆ ละกว่า10ล้านบาท
ถ้ามีคนละ 2บัญชีจะเท่ากับ42%ของประเทศ หรือ แค่ 35,000คน
ตัวชี้วัดถือหุ้นปี2538-2542 ครอบครัวถือหุ้นสูงสุด 11ตระกูล เช่น
มาลีนนท์ ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์
ดัชนี้ที่ดินถือครองมากสุด 50อันดับ เฉลี่ย10% ของแต่ละจังหวัด
ไม่มีที่ดินเลย20% มีน้อยกว่า10 ไร่42%ของประชากร
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก
นางผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปาฐกถาเรื่อง
“สู่สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์(Fair)”
โดยกล่าวถึงการที่คนในสังคมต้องปรึกษาหารือเพื่อหาความเห็นพ้องต้องกัน
เป็นเรื่องที่สำคัญมาก สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์
ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด แต่ต้องเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาส
ความมั่นคงในชีวิต การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ
ลูกหลานจะมีอนาคตที่แจ่มใสพอๆ กัน
ปัจจัยสำคัญที่ต้องมี คือ ระบบรัฐบาลตอบสนองข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ
ได้อย่างสมดุล กลไกสำคัญที่เป็นเครื่องมือ คือ
นโยบายการคลัง การเก็บภาษีและจัดสรรเงินภาษีเพื่อทำนุบำรุงเศรษฐกิจ และ
ประชาธิปไตย หากรัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าดังกล่าวได้
สังคมนั้นๆ ก็จะไปสู่ ความไม่เท่าเทียมกัน ที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น จนกลายเป็น
สังคมที่มีความขัดแย้งระหว่าง ความมั่งมีมหาศาลและคนชั้นกลางฝ่ายหนึ่ง กับ
คนจนส่วนใหญ่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่รอวันปะทุ
ซึ่งขณะนี้ปัญหาทางการเมืองไทยก็มีต้นตอจากความเหลื่อมล้ำนั่นเอง
อาจารย์ ผาสุก กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจสูง
หากดูตัวชี้วัดเรื่องความมั่งคั่ง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)
แสดงข้อมูลปี 2549 เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัวไทยกลุ่มต่างๆ พบว่า
ครอบครัวกลุ่มรวยที่สุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกันคิดเป็นร้อยละ 69 ของทั้งประเทศ
ขณะที่ครอบครัวจนสุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกัน แค่ร้อยละ 1
แสดงถึงความมั่งคั่งกระจุกตัว
ถ้าดูจากเงินออมในธนาคาร สถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเดือนมิถุนายน 52 พบว่า
ร้อยละ 42 ของเงินฝากมาจากประมาณ 7 หมื่นบัญชีมีเงินมากกว่า 10 ล้านบาทต่อบัญชี
คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของจำนวนบัญชีทั้งหมดในประเทศ
ซึ่งปกติคนๆ หนึ่งมีบัญชีมากกว่า 1 บัญชี
สมมติว่าโดยเฉลี่ยมีคนละ 2 บัญชี ก็เท่ากับ ร้อยละ 42 ของประเทศ
มีคนเพียง 35,000 คน เป็นเจ้าของ แสดงถึงนัยการกระจุกตัวของรายได้ที่สูงมาก
ขณะที่ตัวชี้วัดเรื่องการถือหุ้น การสำรวจในปี 2538-2542
กลุ่มครอบครัวที่ถือหุ้นสูงสุดของประเทศ 11 ตระกูล
ผลัดกันเป็นเจ้าของหุ้นมีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก เช่น
มาลีนนท์ ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์ เป็นต้น
ส่วนดัชนี้เรื่องที่ดิน ข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า
การถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก มีที่ดินโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10
ของที่ดินในแต่ละจังหวัด หรือ กลุ่มที่ไม่มีที่ดินเลย มีประมาณร้อยละ 20
หากรวมกลุ่มที่มีที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่ ก็จะสูงถึงร้อยละ 42
จากสถิติทั้งหมด แสดงถึงความมังคั่งในสังคมสูงอยู่ในมือคนจำนวนน้อยมาก
คงจะไม่ถึงร้อยละ 10 ของประเทศ และ คนกลุ่มเหล่านี้ ลูกหลานก็มักจะมาแต่งงานกัน
หรือหากจะดูรายได้ครัวเรือนเป็นรายภาค พ.ศ.2550 กทม.อยู่ที่ 187.6 ขณะที่ภาคอีสาน 69.6
ส่วนเหตุสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงนั้น
เนื่องมาจากระบบราชการรวมศูนย์ การเมืองคณาธิปไตย ทหารพาณิชย์
ประชาธิปไตยแต่ในนาม กองทัพทำรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ
นับว่าเป็นการขัดขวางสู่ความเป็นประชาธิปไตยในทางหนึ่ง
จากการศึกษา ความเหลื่อมล้ำในช่วงแรก
พบการออมกระจุกตัวในคนกลุ่มน้อยที่สามารถลงทุนหารายได้ ได้มากกว่าคนอื่นๆ
แม้ต่อมาจะมีพ.ร.บ.ประกันสังคม ก็มีผลเพียงร้อยละ 14 ของคนทั้งประเทศ
คนจำนวนน้อยสามารถกุมอำนาจไว้ได้
แต่ในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว มักไม่ประสบปัญหาดังกล่าวมาก
เนื่องจากมีการใช้ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าและ เงินโอน
รวมถึงมีสหภาพแรงงานต่อรองกับนายจ้าง โดยเฉพาะญี่ปุ่น
จะมีปัญหาการเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยมาก
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นปฏิรูปการเมืองยอมให้พรรคการเมือง และ
กลุ่มผลประโยชน์หลากหลายสีสรรพ์มีส่วนร่วมในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย
การปฏิรูปที่ดิน การล้มเลิกชนชั้นอภิสิทธิ์ และ มีการสนับสนุนให้สหภาพแรงงาน
มีการต่อรองกับนายจ้าง มีการนำภาษีมรดกมาใช้
อาจารย์ผาสุก กล่าวต่อว่า ขณะที่ปัญหาระบบภาษีของไทย มีลักษณะพึ่งภาษีทางอ้อมมาก
ภาษีทางตรงมีคนเสียน้อย ไม่ให้ความสำคัญกับความเหลื่อมล้ำ และ
ระบบภาษีเป็นภาระกับคนจนมากกว่าคนรวย
ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องมีระบบภาษียอมรับกันว่าแฟร์ คือ ไม่ได้หมายความว่า
ต้องเก็บภาษีจากคนรวยเพื่อเอาไปให้คนจนสถานเดียวแต่คนรวยกว่าน่าจะจ่ายได้มากกว่า
คือ จ่ายตามฐานะ
"ระบบภาษีที่ดี จะต้องไม่ส่งผลเสียต่อแรงจูงใจอย่างมากมาย จนทำให้มีการขนถ่าย
เงินทุน หรือย้ายไปอยู่ในประเทศอื่นที่เก็บภาษีต่ำกว่า หลักการน่าจะเป็นว่า ทุกคนต้องเสียภาษี
อาจจะจ่ายตามฐานะ
นอกจากนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากจากการใช้จ่ายภาครัฐ ก็น่าจะยอมจ่ายภาษี
เป็นสัดส่วนต่อรายได้สูงกว่าคนที่ได้รับประโยชน์น้อยกว่า
นอกจากนี้ ระบบภาษีควรจะรวมถึงมาตรการที่บังคับให้ผู้ที่มีความมั่งคั่งล้นเกิน
ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยสร้างผลผลิตและจ้างงาน
ไม่ใช่เก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไรหรือเป็นเสือนอนกิน
ทั้งนี้ มาตรการการคลังต้องพิจารณาทั้งระบบภาษีในทางตรงและทางอ้อม และ
การใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งภาระภาษีของไทยมีความไม่แฟร์เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับต่างชาติ
ถ้าอัตราภาษีทางอ้อมสูง เท่ากับว่าภาษีเป็นภาระต่อคนจนมากกว่าคนรวย
ของไทยลี่ยนที่ร้อยละ 60 แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเฉลี่ยที่ร้อยละ 50"
อาจารย์ผาสุก กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาษีทางตรงแม้ไทยจะมีอัตราภาษีก้าวหน้า
ในปัจจุบันคือร้อยละ 37 แต่มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงร้อยละ 4
เพราะรัฐบาลมีการลดหย่อยภาษีมาโดยตลอด ซึ่งต้องมีการทบทวนนโยบายดังกล่าว
อีกทั้งมีการหลีกเลี่ยงภาษีกันมาก กระทรวงการคลังต้องมีการปฏิรูประบบภาษี
ทั้งนี้ ภาษีทางตรงอื่นๆ ที่ต่างประเทศใช้เพื่อเป็นมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ
แต่ของไทยยังไม่มีหรือยังไม่พัฒนาคือ
ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีเก็บจากรายได้การขายหุ้น ภาษีรายได้จากดอกเบี้ย
ทำให้ภาพรวมระบบภาษีของไทยพึ่งภาษีทางอ้อมมากกว่าทางตรง
จึงส่งผลให้เรามีระบบภาษีไร้ประสิทธิภาพ เป็นภาระแก่คนจน
ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วที่จะได้รับเงินจากภาษีทางตรงเป็นหลัก
ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐ ปัจจัยหลักที่ดำนหนดการแบ่งสรร คือ อำนาจซึ่งก็มีการปรับตัว
ตามกาลสมัย และระบอบการปกครองและสถานการณ์
แต่รายจ่ายภาครัฐของไทย คิดเป็นสัดส่วนของจีดีพีแล้ว
ยังต่ำมากคือเพียง ร้อยละ 18 ต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่ร้อยละ 36 และ
รายจ่ายยังเน้นไปที่เงินเดือนข้าราชการ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
งานศึกษาพบว่า การใช้จ่ายของรัฐบาล สามารถทำให้การกระจายรายได้
มีความเท่าเทียมกันเพิ่มขึ้นได้ โดยพบว่า
การใช้จ่ายเพื่อการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด ตามมาด้วยเพื่อการรักษาพยาบาล และ
การใช้จ่ายเพื่อภาคเกษตร ยังมีงานวิจัยอีกว่า การใช้จ่ายของภาครัฐมีปัญหา คือ
การให้เงินอุดหนุนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าประปา ค่าไฟ ค่าขนส่งแบบที่เป็นอยู่
แต่ให้หันไปอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา และสุขภาพ
ซึ่งที่รัฐบาลปัจจุบันทำ นับว่าเดินมาถูกทางแม้จะยังไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ ที่รัฐบาลควรทำคือ ต้องมีโครงการและบริการสาธารณะ ที่ประชาชนทุกคนจะได้ประโยชน์
พอๆ กันให้มากกว่านี้ และควรจะเป็นสินค้าและบริการซึ่งจะส่งผลลดความเหลื่อมล้ำ
โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพและการศึกษา เพื่อการนี้รัฐบาลจะต้องหารายได้ภาษีเพิ่มขึ้น
จึงต้องเต้าเป้าที่จะเก็บภาษีคิดเป็นสัดส่วนของจีดีพี เพิ่มขึ้นในอนาคตให้ได้มากกว่าร้อยละ 17
หมายรวมถึงการเพิ่มจำนวนคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ปรับปรุงภาษีรายได้จากดอกเบี้ยที่ยังต่ำ
การปฏิรุประบบภาษีและการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพ โดยให้การลดความเหลื่อมล้ำ
เป็นเป้าหมาย และต้องหลีกเลี่ยงระบบภีที่จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำ คือ
การหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาษีทางอ้อม แต่หันไปเพิ่มชนิดของภาษีทางตรงใหม่ๆ
ไทย มีการศึกษาว่า หากไทยสามารถเพิ่มรายได้จากภาษีทางตรงเพียงร้อยละ 10
จะทำให้อัตรคนยากจนลดลงร้อยละ 3
นอกจากนี้ ต้องคิดถึงภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน รวมถึง
การพยายามเลิกเงินอุดหนุนประเภทต่างๆที่ให้ประโยชน์กับคนรวยมากกว่าคนจน
นายผาสุก กล่าวต่อว่า ในส่วนระบบการเมือง ที่ต้องดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ
หรือ political will แต่ที่ผ่านมายังไม่เกิดแต่มันมีโอกาสเกิดได้มากสุดในระบอบ
ประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและรับรองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง
อย่างไรก็ดี ก็มักจะมีความพยายามโต้แย้ง เช่น
ระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะคนไทยมีการศึกษาต่ำ
เพื่อเป็นข้ออ้างให้ยอมรับ ความเหลื่อมล้ำแบบเดิมๆ และการปกครองแบบคณาธิปไตย
บางครั้งก็อ้างว่า ประชิปไตย คือ ม็อบเป็นใหญ่ แต่ก็มีทางแก้คือ
ต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญป้องกันไม่ให้เสียงข้างมากเป็นภัยกับเสียงส่วนน้อย และ
คุ้มครองเสียงส่วนน้อยอย่างพอเพียง
นอกจากนี้ ยังมีข้ออ้างอีกว่า ประชิปไตยเปิดช่องให้นักการเมืองซื้อเสียง
ซึ่งประชาธิปไตยทำให้นักการเมืองคอรัปชั่นเป็นไปโดยง่าย แต่ก็แก้ได้โดย
ให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งประชาธิปไตย สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง
โดยเสียต้นทุนน้อยที่สุด สามารถควบคุมกับการคอรัปชั่นของการเมืองได้ โดย
การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพสื่อ การพัฒนาระบบตรวจสอบ
การพัฒนากรอบกฎหมายแต่ก็ต้องยอมรับว่า ประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างได้ชั่วข้ามคืน
ดังนั้น จึงต้องทำไปเรียนไป ลองผิดลองถูก ซึ่งความต่อเนื่องของระบบมีความสำคัญ
"ฉะนั้นต้องช่วยกันป้องกันการรัฐประหารอย่างเต็มกำลัง
สรุปแล้ว มิติมาตรการการคลังและประชาธิปไตย ที่ถูกทิศถูกทาง
จะทำให้เกิดสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าแฟร์ มีระบอบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ
ที่ประกันสิทธิเสรีภาพและกำหนดกฎเกณฑ์เกมการเมือง ก็จะนำไปสู่การบรรลุเป้าคือ
สังคมที่สันติสุข" ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
นำมาจาก
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20091106/85190/%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%95.%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.html
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 14 เมษายน 2553, 12:42:28 » |
|
เร่งออกระเบียบฯพัฒนากิจการสังคม คาดประกาศใช้เดือนพ.ค.นี้ ขอขอบคุณ น.ส.พ.ผู้จัดการออนไลน์ 14 เมษายน 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000051213
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
คณะกรรมการเสริมสร้างกิจการเพื่อสังคม.(คกส.)ออกระเบียบสำนักนายกฯพัฒนากิจการเพื่อสังคม ดึงนักลงทุนทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น “อภิรักษ์” คาดประกาศใช้ได้เดือนพ.ค.นี้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองประธานคณะกรรมการเสริมสร้างกิจการเพื่อสังคม กล่าวว่า
จากการประชุมคณะอนุกรรมการและภาคีสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม ณ อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ เมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมได้มีการหารือถึงร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม พ.ศ..... โดยร่างดังกล่าวได้กำหนดให้มี
การตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม(คกส.)
มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมคณะกรรมการจากหน่วยงานราชการและผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ผอ.สำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว จะเป็น
ผู้กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา เพื่อให้ส่วนราชการนำไปปฏิบัติ
พร้อมทั้งศึกษา กำหนดนิยาม มาตรฐาน หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการเพื่อสังคม
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ชักชวนและระดมการร่วมลงทุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากภาคเอกชน นักลงทุนทั้งในส่วนเงินให้เปล่า และเงินลงทุนที่หวังผลตอบแทนระยะยาวจากในและต่างประเทศ
เพื่อสร้างเสริมให้เกิดตลาดการลงทุนในกิจการเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน “ผมได้มอบหมายให้ที่ประชุมนำร่างระเบียบดังกล่าวกลับไปทบทวนความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นเสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม คาดว่าจะดำเนินการประกาศระเบียบนี้ออกมาได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้” รองประธาณคณะกรรมการฯกล่าว ด้าน น.ส.นราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม(ศูนย์ธรรม) กล่าวว่า นายอภิรักษ์ ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งผลักดันการเสริมสร้างกิจการเพื่อสังคม ให้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลนี้ เพื่อดำเนินการผลักดันให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการด้วยคุณธรรม จริยธรรม และสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมมากขึ้นด้วย
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
ekchai2508
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
รุ่น: 2508
คณะ: ตรีสถาปัตย์/โทรัฐศาสตร์
กระทู้: 25
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 14 เมษายน 2553, 17:25:30 » |
|
Cheers
|
|
|
|
|
jamsai
Full Member
ฤา.... น้ำเต้าใบน้อยจะถอยจม...
ออฟไลน์
กระทู้: 416
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 17 เมษายน 2553, 21:42:02 » |
|
เรียนคุณหมอเริง
1. ข้อมูลและความคิดเห็น เยี่ยม ขอแสดงความนับถือ 2.พรรคไทยทันทุน รอเป็นเฝส 2ดีมั้ยคะ มาตั้งต้นมูลนิธิ แบบ beautiful foudation ของเกาหลีเป็นอันแรกก่อนจะดีมั้ยคะ 3. ปัญหาทุกวันนี้ มาจากความล้มเหลวของการศึกษาชาติที่กำลังส่งดอกออกผล อยากฟังความเห็นของคุณหมอค่ะ
|
ฤา น้ำเต้าใบน้อย จะ..ถอยจม....
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 18 เมษายน 2553, 11:45:27 » |
|
ขออนุญาต crop มาจากข้างบน
ปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่งของประเทศครับคุณหมอ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 16:21:02 » |
|
เอ็นจีโอ200องค์กรระดมสมองปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ขอขอบคุณเวบ ThaiRecent.com วันพฤหัสบดี ที่ 13/05/2553 http://thairecent.com/Politic/2010/646052/
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เครือข่ายภาคประชาชนกว่า 200 แห่งเตรียมระดมสมองเสนอแผนปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ 16 พ.ค.และ 20 พ.ค.พร้อมกำหนดโครงสร้าง-กลไก
"สภาประชาชน"
ชงรื้อ 6 ประเด็นปรับสมดุลประเทศ ไม่สนรัฐบาลไหน แต่ต้องจริงใจ..
เมื่อวันที่ 13 พ.ค. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เปิดเผยกับ ไทยรัฐออนไลน์ ว่า เครือข่ายภาคประชาชนจะมีการระดมสมองพร้อมกับกำหนดโครงสร้าง และกลไกการทำงานของ
"สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย"
โดยอาจจะมีการหารือถึงหัวข้อที่จะเสนอปฏิรูปประเทศไทย ใน 6 ประเด็น ได้แก่
1. โครงสร้างอำนาจการปฏิรูปการเมือง
2. โครงสร้างการปฏิรูปการลดช่องระหว่างคนรวยกับคนจน
3. การปฏิรูประบบสวัสดิการ
4. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
5. การปฏิรูประบบราชการ และ
6. การปฏิรูปการทุจริตคอรัปชัน
ซึ่งจะนำเสนอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อไป
ทั้งนี้ สภาประชาชนฯ จะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการทำงานของรัฐบาล โดยจะมีบทบาทนำความคิด ข้อเสนอแนะการปฏิรูปประเทศไทย ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลไหนๆหากจริงใจในการแก้ไขปัญหา เราก็พร้อมที่จะทำงานด้วย เพื่อต้องการให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เต็มไปด้วย
ความโปร่งใส สุจริต เที่ยงธรรม คนจน คนรวย มีความเป็นอยู่ที่ดีเท่าเทียมกัน
การเมือง ข้าราชการอยู่ภายใต้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยการทำงานนั้น รัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องให้การสนับสนุน การปฏิรูประเทศไทยจึงจะสำเร็จลงได้
น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า การประชุมจะมีขึ้น 2 รอบ
รอบแรกวันที่ 16 พ.ค. จะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
จะต่อยอดไปในวันที่ 20 พ.ค.นี้ ที่เมืองทองธานี
โดยจะมีผู้ร่วมหารรือจากภาคต่างๆ เช่น
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์กรเครือข่ายคนจน และองค์กรเครือข่ายประชาชนทั่วทุกภาคขจองประเทศประมาณ 200 องค์กร
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
ดีใจ ที่ประชาชน ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ลุกขึ้น ตื่นรู้ และ ตื่นตัว ผลักดันให้ ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ที่ เกิดขึ้นมื่อปี 2475 ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ
เป็นการปกครองของประชาชน เพื่อประชาชน และ โดยประชาชน
ขอนำกระทู้ เรื่องประชาธิปไตย ที่โพสต์ไว้ มาเสริมกระทู้นี้ กระทู้...
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4135.0.html
ความหมายของ'ประชาธิปไตย'
น.ส.พ.เดลินิวส์ วันอาทิตย์ ที่ 25 ตุลาคม 2552
วันที่ 19 พ.ย. ปี ค.ศ. 1863 ตรงกับ พ.ศ. 2406 มร.อับราฮัม ลินคอล์น
ประธานาธิบดี คนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ สุสานเกตตี้เบิร์ก
เพนซิลเวเนีย ภายหลัง สงครามกลางเมือง ระหว่างรัฐบาลฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ยุติลง สุนทรพจน์ดังกล่าวได้รับการยกย่องว่า
เป็นสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงและจับใจผู้ฟังมากที่สุดชิ้นหนึ่งของโลก
เนื่องจากความหมายลึกซึ้งกินใจ กะทัดรัด มีเนื้อหาเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน
ความเสมอภาค และให้คำจำกัดความของรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย “...that these dead shall not have died in vain-that this nation, under God,
shall have a new birth of freedom and that government of the people,
by the people, for the people, shall not perish from the earth."
แปลเป็นไทยได้ว่า
“ผู้สละชีวิตในสงครามครั้งนี้ จะไม่สูญเปล่า แต่ได้ทำให้ประเทศนี้
ในพระหัตถ์ของพระเจ้า ได้ก่อให้เกิดเสรีภาพขึ้นมาใหม่
ทั้งได้สร้างความเชื่อมั่นว่า
การปกครองที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
จะไม่เสื่อมสูญไปจากโลก” นอกจากนี้ ลินคอล์น ยังมี วาทะเด็ด ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง ได้แก่
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย หมายถึง
การปกครองโดยประชาชน ของประชาชน เพื่อประชาชน,
การกระทำดังกว่าคำพูด,
จงทำลายศัตรูให้เป็นมิตร
นำมาจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=151&contentID=28052
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|