27 พฤศจิกายน 2567, 03:37:35
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของเขา จะเล่าให้ฟัง  (อ่าน 290270 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ตี้ถาปัด
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: สถาปัตยกรรมศาสตร์
กระทู้: 10,337

« ตอบ #350 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556, 09:52:20 »

แล้วคิดว่าสมชายจะแก้ปัญหานี้อย่างไรต่อ
      บันทึกการเข้า

2437041
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #351 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2556, 04:26:18 »

      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #352 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556, 11:54:54 »

15. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
​คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
​1. มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำกับดูแลและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการให้เหมาะสม โดยเริ่มระยะเร่งด่วนด้วยการจำกัดปริมาณ หรือพื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ การปรับปรุงระยะเวลาในการออกเอกสารที่เกี่ยวข้องให้มีความรวดเร็ว และการวางระบบการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการรับจำนำทั้งกระบวนการอย่างรัดกุม และพิจารณาปรับลดราคารับจำนำในจังหวะเวลาที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการ คือ 1) ภาวะราคาข้าวในตลาดโลก                     2) ไม่กระทบกระเทือนต่อรายได้ของเกษตรกรรายย่อย และ 3) สอดคล้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพข้าว
​2. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตร เพื่อให้มีการเพาะปลูกข้าวที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพข้าว ลดต้นทุนการผลิตและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
​3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังติดตามและควบคุมกระแสเงินสดของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินในโครงการฯ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 รวมทั้งปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าและระบบประกันภัยพืชผลสินค้าเกษตร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและสร้างความมั่นคงและพึ่งตนเองได้ของเกษตรกรใน
ระยะยาว
​สาระสำคัญของผลการศึกษาการดำเนินงานของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในภาพรวม เพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าวในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้
​1. ภาพรวมของข้าว
​1.1 ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก โดยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกข้าวเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด และมูลค่าเพิ่มสินค้าข้าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคเกษตร นอกจากนั้น ข้าวเป็นสินค้าที่ใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งประเทศ รวมทั้งการปลูกข้าวเป็นแหล่งรายได้สำคัญของชาวนามากถึงร้อยละ 66 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด
​1.2 ไทยส่งออกข้าวประมาณ 1 ใน 3 ของข้าวที่ส่งออกทั้งหมดในโลก และมีคู่แข่งที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม และอินเดีย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเฉลี่ยร้อยละ 19 และ 15 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในปี 2555 อินเดียเป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เวียดนาม และไทย ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากอินเดียเริ่มเปิดตลาดให้มีการส่งออกข้าว หลังจากที่ดงการส่งออกไปหลายปี และเวียดนามที่มีการลดราคาข้าวอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวคุณภาพต่ำเพื่อแข่งขันกับข้าวของไทย ดังจะเห็นได้จากในปี 2556 (ม.ค.-พ.ค.) ปริมาณการส่งออกข้าวไทย 2.232 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1,584 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนาม ประมาณ 2.226 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 973 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อพิจารณาในเชิงมูลค่าการส่งออก พบว่า
ไทยสามารถส่งออกข้าวได้มูลค่าสูงกว่าเวียดนามในปริมาณส่งออกที่ใกล้เคียงกัน
​2. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก
​  ​2.1 หลักการเหตุผล สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างเสถียรภาพของราคาข้าว และยกระดับราคาส่งออกข้าวไทย เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือก              ทุกเมล็ด ทั้งข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับ
​ ​2.2 ผลการดำเนินงาน
​ ​2.2.1 ปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2554/55 มี จำนวน 21.68 ล้านตัน และปี 2555/56 จำนวน 18.79 ล้านตัน (ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2556)
​ ​2.2.2 วงเงินที่ใช้ในโครงการรับจำนำ รวมทั้งสิ้น 588,708 ล้านบาท เป็นการใช้เงินในปี 2554/55 จำนวน 337,246 ล้านบาท และ ปี 2555/56 จำนวน 251,462 ล้านบาท (ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2556)
​ ​2.2.3 ผลการระบายข้าวของโครงการฯ ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ จนถึงเดือน มี.ค. 56 ได้มีการระบายข้าวไปแล้วทั้งสิ้น 76,001 ล้านบาท และจนถึงเดือน ก.ย. 56 คาดว่าจะระบายได้อีกเป็นเงิน 73,082 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 149,083 ล้านบาท
​ ​2.3 ประโยชน์ของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
​ ​2.3.1 รายได้เกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น ประมาณ 1.16 แสนล้านบาท ในปี 2554/55 และ 1.14 แสนล้านบาทในปี 2555/56 หรือรายได้เกษตรกรที่เข้าโครงการเพิ่มขึ้น ประมาณ 42,000 บาทต่อคน กำลังซื้อและบริโภคของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 2.0 และมีส่วนทำให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69 และ 0.62 ในปี 2554/55 และ 2555/56 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าอัตราการเติบโตปกติ
​ ​2.3.2 ในปี 2555 การใช้จ่ายของครัวเรือนทั้งประเทศขยายตัวร้อยละ 6.7 หากไม่มีโครงการรับจำนำข้าวเพื่อเพิ่มรายได้และอำนาจซื้อของเกษตรกรในชนบท จะส่งผลทำให้การบริโภครวมของครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 4.7
​ ​2.4 ผลกระทบต่อฐานะการคลัง
​      ​การดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา ในปี 2555 – 2556 ทำให้รัฐบาลมีภาระหนี้สะสม ประมาณ 159,687 ล้านบาท สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะต้องผลักภาระการชำระหนี้ไปในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ หากมีการกำหนดกรอบปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือกไม่เกิน 15 ล้านตันต่อปี ในการดำเนินงานปี 2557 - 2560 จะทำให้รัฐบาลมีภาระเฉลี่ยปีละ 80,621 ล้านบาท (ประมาณการจากส่วนต่างของราคารับจำนำและแนวโน้มราคาตลาด รวมค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและการเก็บรักษา)
​ ​3. ปัญหาของการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
​3.1 การกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกสูงกว่าราคาตลาดมาก ซึ่งมีผลต่อการขาดทุนในการดำเนินงานสูง และเป็นภาระงบประมาณ รวมทั้งทำให้ราคาส่งออกและต้นทุนการผลิตข้าวสูงกว่าประเทศคู่แข่ง
​ ​3.2 เกษตรกรรายใหญ่และกลางได้ประโยชน์จากโครงการมากกว่าเกษตรกรรายย่อย
​ ​3.3 ความสามารถในการระบายข้าวของรัฐมีจำกัด ประกอบกับสต็อกข้าวคงเหลือปลายปีของประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เป็นข้อจำกัดในการดำเนินงาน
​ ​3.4 กระบวนการออกใบรับรองและใบประทวนให้กับเกษตรกรมีความล่าช้า
​4. ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินนโยบายข้าวและโครงการรับจำนำข้าว
​ ​4.1 ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว
​ ​4.1.1 ควรกำหนดราคารับจำนำให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตและมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับภาระราคาข้าวในตลาดโลก โดยอาจคำนวณจากต้นทุนการผลิตข้าว บวกค่าขนส่งและกำไรที่เหมาะสมของเกษตรกร ทั้งนี้ ในระยะแรก ควรพิจารณาจำกัดปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกรต่อครัวเรือน โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรรายย่อย และในระยะต่อไป ควรพิจารณากำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลก
​ ​4.1.2 ควรจำกัดปริมาณและ/หรือพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้ความสำคัญกับเกษตรกรรายย่อยที่ยากจน มีพื้นที่นาน้อยหรือต้องเช่าที่นาจากผู้อื่นและเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่เหมาะสม
​ ​4.1.3 ควรเร่งรัดการออกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความรวดเร็ว และพัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเกษตรกรที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันให้มากที่สุด
​ ​4.1.4 ควรเน้นความโปร่งใสในการระบายข้าวและเร่งระบายให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของราคาตลาดโลก เพื่อลดต้นทุนการเก็บรักษาและการเสื่อมสภาพของข้าวและรายงานผลการระบายสต็อกข้าวให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
​ ​4.1.5 ควรวางระบบกำกับและตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทั้งกระบวนการ ตลอดจน ลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง
​ ​4.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่องข้าว
​ ​4.2.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีความจำเป็นต้องดำเนินการจนถึงปี 2558 ซึ่งประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เข้มแข็งเพียงพอ ทั้งนี้ ในการดำเนินงานควรกำหนดเป้าหมายการขาดทุนของโครงการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร           ไม่เกิน 1 แสนล้านบาทต่อปี ในระยะเวลา 3 ปี
​ ​4.2.2 สนับสนุนให้เกษตรกรพัฒนาคุณภาพข้าว เพื่อยกระดับการส่งออกสินค้าข้าวไปสู่ตลาดบนที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ตลอดจนเร่งจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตร ให้มีการปลูกข้าวที่สอดคล้องกับศักยภาพแต่ละพื้นที่ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
​ ​4.2.3 ส่งเสริมกลไกตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข้งและมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับกลไกของตลาดในท้องถิ่น ตลาดกลาง และตลาดส่งออก ตลอดจนเร่งรัดการดำเนินงานทำประกันภัยพืชผลการเกษตรให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #353 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556, 15:49:19 »

8. เรื่อง การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ
​คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2553 มาตรา 13 (2) ที่ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถดำเนินการเองได้เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว ในเรื่องการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ตามที่กระทรวงแรงานเสนอ ดังนี้
​1. ลูกจ้างซึ่งประสงค์จะลาไปช่วยเหลือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่คลอดบุตรให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน หรือในวันที่ลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คลอดบุตร และให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำงาน นายจ้างอาจให้แสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาอนุญาตด้วยก็ได้
​2. ลูกจ้างซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่คลอดบุตรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตรให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วันทำงาน แต่ถ้าเป็นการลาเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตรไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่ผู้บริหารสูงสุดเห็นสมควรจะให้จ่ายค่าจ้างระหว่างลานั้นก็ได้ แต่ไม่เกิน 15 วันทำงาน
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #354 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556, 16:45:57 »

อ้างถึง
ข้อความของ พธู ๒๕๒๔ เมื่อ 03 พฤษภาคม 2556, 00:24:28
ฟังก่อนพิจารณาอย่างแยบคายว่า ใคร ไม่ดี ชั่ว ขายชาติ  กล้าหาญ  ความจริงฤาความเท็จ ใครควรถูกประนาม
 


<a href="http://www.youtube.com/v/8QO1AzMZox8?version=3&amp;amp;hl=de_DE" target="_blank">http://www.youtube.com/v/8QO1AzMZox8?version=3&amp;amp;hl=de_DE</a>

แปะซ้ำคะ
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #355 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556, 16:58:48 »

อ้างถึง
ข้อความของ พธู ๒๕๒๔ เมื่อ 07 พฤษภาคม 2556, 01:30:55
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=kJGIwt0CmgQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=kJGIwt0CmgQ</a>



พี่ป๋า,
youtubeนี้ติด "m."คะ
ตัด"m."ออก ก็ชมได้คะ!



http://youtu.be/kJGIwt0CmgQ
      บันทึกการเข้า


พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #356 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556, 21:41:58 »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใต้ร่มพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข่าวลงวันที่ 27 มีนาคม 2556

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เหล่าผู้นำ ทางภูมิปัญญาของประเทศต่างตระหนักในความจำเป็นที่สยามจำต้อง พัฒนาไปสู่ความทันสมัย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะ "ทะนุบำรุงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้รุ่งเรือง ทันต่างประเทศอื่นเขา" ซึ่งข้อเท็จจริงมีปรากฏในกระแสพระบรมราชโองการว่า สถาบันการศึกษาที่จะสถาปนาขึ้นนั้น จะต้องเป็นแหล่งรวมแห่งสรรพความรู้ ที่หลากหลาย ซึ่งผู้ผ่านการศึกษาต้องสามารถเข้ารับราชการได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม สถานศึกษาหรือโรงเรียนในพระราชปณิธานนั้นจะต้องจัดการให้มี "แผนกวิทยาต่างๆ เช่น รัฐประศาสน์ กฎหมาย การต่างประเทศ การเกษตร การช่าง การแพทย์ ครู เป็นต้น เพื่อจะได้เป็นมหาวิทยาลัยสง่าพระนครต่อไป"

แนวพระราชปณิธานซึ่งต่อมาปรากฏเป็น "ประกาศพระบรมราชโองการ" เพื่อสถาปนาสถานศึกษาโดยเรียกว่า "สถาบันอุดมศึกษา" นี้นับเป็นนวัตกรรมของประเทศในยุคนั้น การจะสร้างสถาบันการศึกษาให้ได้ตามพระราชปณิธาน เพื่อยังประโยชน์ต่อแผ่นดินและอาณาประชาชนของพระองค์ให้ยั่งยืนสืบไป จำเป็นจะต้องอาศัยการลงทุนทั้งในด้านทุนทรัพย์และ สถานที่ตั้งที่กว้างขวางเพียงพอแก่การจัดตั้ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง "พระราชทานเงินซึ่งราษฎรเรี่ยราย กันสร้างพระบรมรูปทรงม้าเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถซึ่งยังมีเหลืออยู่เป็นจำนวน 982,672 บาท 47 สตางค์ สำหรับเป็นทุนสร้างสถาบันอุดมศึกษา นอกจากจะพระราชทานทุนทรัพย์เป็นจำนวนมากแล้ว ยังทรงพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ใช้ที่ดินผืนใหญ่ของพระคลังข้างที่ที่ตำบลปทุมวัน รวมทั้งตึกที่สร้างไว้เป็นวังที่เรียกว่า 'วังกลางทุ่ง' ซึ่งก็คือวังใหม่ หรือวังวินด์เซอร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเพื่อพระราชทานให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศพระราชปิโยรส สำหรับใช้เป็นโรงเรียนด้วย

สถาบันอุดมศึกษาซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นที่ตำบลปทุมวัน ตั้งอยู่บนที่ดินที่มหาวิทยาลัยมีฐานะเป็น "ผู้เช่า" โดยเช่าจากกรมพระคลังข้างที่ซึ่งมีฐานะเป็น "ผู้ให้เช่า" ตั้งแต่รัตนโกสินทรศก 131 ในสัญญาเช่าระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า มหาวิทยาลัยมีอำนาจเต็มที่ที่จะใช้ที่ดินนี้เพื่อ "ใช้เป็น สถานศึกษาเล่าเรียนและหาประโยชน์เป็นกำลังเลี้ยงมหาวิทยาลัย" ที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่าที่ดินแปลงนี้ในราคาถูกแบบ "พอเป็นพิธี" กล่าวคือ ที่ดินที่มหาวิทยาลัยได้เช่าไว้มีขอบเขตกว้างขวางเป็นเนื้อที่ถึง 1,309 ไร่ แต่ชำระค่าเช่าเพียง 1,200 บาทต่อเดือน ในหนังสือ ที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี กราบบังคมทูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2461 ความว่า "...ค่าเช่าที่พระราชทานให้เช่าไม่แพงเลย ถ้าไม่คิดค่าเช่าตึกวังใหม่เข้าด้วย ลำพังผลประโยชน์พื้นดินเราเก็บได้คุ้ม และมีกำไรด้วย ต่อไปถ้าทรงจัดดีควรจะคุ้มค่าเช่าวังใหม่ด้วย และมีกำไรอีกเท่าไร ๆ ก็ได้ เพราะค่าเช่าที่เราต้องเสียให้พระคลังข้างที่คงอยู่ แต่ผลประโยชน์ที่เราเก็บได้ ยิ่งจักดีขึ้นและทำเลดีขึ้น เราก็ยิ่งเก็บได้มากขึ้น" กล่าวได้ว่าลักษณะการเช่าที่ดิน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นในทาง "พฤตินัย" แล้ว นับเป็นการเช่าโดยมีสิทธิพิเศษ ทั้งนี้ก็ด้วยหลักการเดิมมีอยู่ว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เช่าที่ดินในราคาย่อมเยาเพื่อที่ "จะทรงอุดหนุนอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อจะให้เป็น เครื่องเฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย" แม้แต่ผู้เช่ารายเดิมที่ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาเช่าก็ยังต้องชำระค่าเช่าโดยตรงในฐานะผู้เช่าช่วงต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหากหมดสัญญาไปแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีสิทธิขาดที่จะให้เช่าช่วงต่อไปหรือไม่ก็ได้

เมื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานโดยถ้วนทั่วยังปรากฏข้อยืนยันว่าในทาง "พฤตินัย" อันแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์อันแน่วแน่ที่จะให้โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ หยัดยืนสถาพรคู่แผ่นดินไทยและเป็นสิ่ง ถาวรวัตถุ เพื่อเป็นพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้อเท็จจริงนี้เห็นได้จากการที่ทรงเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาจากโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ยังได้ทรงมีพระบรมราชโองการ "ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็น อนุสาวรีย์สมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง" โดยสามัญ สำนึกแล้วจึงยากจะเข้าใจว่ายังจะมีเหตุผลใดที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะไม่ทรงปรารถนาจะเห็นมหาวิทยาลัยแห่งนี้เจริญสถาพรยั่งยืนคู่ประเทศ เพราะพระองค์พระราชทานนามของมหาวิทยาลัยตามพระนามของพระราชบิดา เพื่อให้สถาบันแห่งนี้เป็นอนุสาวรีย์แห่งพระเกียรติยศแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไปชั่วกาลนาน

พระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะสถาปนามหาวิทยาลัย ให้เป็นเกียรติยศถวายแด่พระบรมชนกนาถและให้เป็นสมบัติคู่แผ่นดินไปชั่วกาลนานนั้นมีหลักฐานปรากฏใน "พระราชดำรัสตอบ ในพระราชพิธีก่อพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ณ วันที่ 3 มกราคม 2458" ความว่า

วันนี้เรามีความยินดีเป็นที่สุดที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์ สำหรับมหาวิทยาลัยนี้เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเรา ปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังการให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้วในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัย ขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีเหตุติดขัดซึ่งการยังจะดำเนินการไปไม่ได้ปลอดโปร่ง ตัวเราผู้เป็นรัชทายาทจึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ โดยรู้อยู่ว่าเมื่อได้ทำสำเร็จแล้วจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศเป็นราชานุสาวรีย์ เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ของชาติไทยเรา เป็นการสมควรยิ่งที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์อันใหญ่และถาวรเช่นนี้ ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์ แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย

พระราชดำรัสตอบตามแสดงมายืนยันในข้อเท็จจริงว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ถือกำเนิดได้ก็ด้วยพระผู้สถาปนามหาวิทยาลัยทรงมุ่งหมายให้สถาบันแห่งนี้เป็นพระราชานุสาวรีย์ ถวายพระบรมชนกนาถตามจารีตเดิมและ พร้อมกันไปก็ทรงมุ่งหมายให้เป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม อันสอดประสานกับความจำเป็น ของประเทศที่ต้องปฏิรูปให้เท่าทันตามยุคสมัย ที่เปลี่ยนไป เพราะทรงมุ่งหมายที่จะเห็นสถานศึกษา แห่งนี้ "บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลา เสื่อมสูญ" นั่นเอง

การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เช่าที่ดินผืนใหญ่ของพระคลังข้างที่ที่ตำบลปทุมวันให้เป็นที่ตั้ง "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งครอบคลุมปริมณฑลกว้างขวางมาก ก็ด้วยทรงเห็นความจำเป็นว่า มหาวิทยาลัยจำต้องมีพื้นที่พอให้หาประโยชน์เพื่อให้เลี้ยงตัวเอง เสริมจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ความจำเป็นพื้นฐานตามกล่าวนี้ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เคยให้อรรถาธิบายไว้ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2521 ในคอลัมน์ข้างสังเวียนว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ นั้น ทรงไว้ซึ่งพระปรีชาญาณ แลเห็นการณ์ไกลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการพัฒนา บ้านเมืองในอนาคต

"...พระประสงค์ในการพระราชทานที่ดินอันกว้างขวางแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น จะต้องเพราะ ทรงเล็งเห็นว่าต่อไปที่ดินนั้นจะเป็นที่มีความเจริญในทางการค้าขาย จึงได้พระราชทานไว้แก่มหาวิทยาลัยไว้เพื่อหาประโยชน์ เป็นรายได้แก่มหาวิทยาลัย ในทำนองที่ฝรั่งเรียกว่า endowment

…ด้วยเหตุนี้ผมจึงเห็นว่าการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ที่ดินที่ได้รับพระราชทานไว้ในการหารายได้ ด้วยการสร้าง ศูนย์การค้าหรืออาคารพาณิชย์ ไม่ทิ้งไว้ให้อยู่เปล่านั้นเป็นการปฏิบัติตามพระราชดำริและตรงตามพระราชประสงค์อยู่แล้ว ไม่น่าจะตำหนิติเตียนตั้งข้อกังขาใดๆ ในหลักการ"

พระราชประสงค์ที่จะให้มหาวิทยาลัยที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็น อนุสาวรีย์ของพระบรมชนกนาถมีผลประโยชน์รายได้อันเกิดจากที่ดินที่ถือครองเช่นมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่พระองค์ได้เคยทรงศึกษามาได้บังเกิดผลนับแต่วันแรกตั้งมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีอำนาจรับผิดชอบในฐานะผู้รับเช่าจากพระคลังข้างที่ที่จะเก็บค่าเช่า จากผู้เช่ารายอื่นในบริเวณที่ดินที่เป็นเขตของมหาวิทยาลัย และ ในกรณีที่ผู้เช่ารายอื่นได้ทำสัญญาเช่ากับกรมพระคลังข้างที่มาก่อนหน้า เมื่อกำหนดสัญญาเช่าระหว่างพระคลังข้างที่กับผู้เช่ารายอื่นสิ้นสุดลง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีอำนาจสิทธิขาดในการพิจารณาว่าจะให้ผู้เช่ารายอื่นนั้นต่อสัญญาหรือไม่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวมีหลักฐานยืนยันกรณีการเช่าที่ ของบริษัทไฟฟ้าสยามทุนจำกัด นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ที่ดินตรงมุมด้านใต้ ระหว่างถนนหัวลำโพง กับสนามม้าซึ่งเป็นที่ดินในเขตมหาวิทยาลัยสร้างเป็นสถานเสาวภาเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงนั้น การปรากฏว่าสภากาชาดสยาม ผู้รับอำนวยการต้องเสียค่าเช่าที่ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ผ่อนผันให้เสียค่าเช่าเพียงปีละ 28 บาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ หาได้ทรงใช้พระราชอำนาจเรียกพื้นที่นั้นคืนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่อย่างใดไม่ และไม่เคยมีหลักฐานปรากฏว่าพระองค์หรือพระคลังข้างที่จะยกที่ดินในเขตมหาวิทยาลัยให้กับเจ้านายพระองค์ใด หากจะมีผู้ประสงค์ใช้พื้นที่ส่วนนี้เพื่อปลูกอาคารสถานที่ จะต้องเช่าต่อจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงประการเดียว เช่น กรณีสภากาชาดสยามเช่าพื้นที่สร้างสถานเสาวภา เป็นต้น

กล่าวได้ว่านับจากรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ผู้ปกครองประเทศทุกยุคทุกสมัย ต่างเห็นความสำคัญที่ประเทศจำเป็นจะต้องมีมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นศรีสง่าแก่พระนคร เป็นเครื่องชูเกียรติคุณของประเทศ และเป็นแหล่งเพาะวิทยาการต่าง ๆ ถึงแม้เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยไปแล้ว ผู้ปกครองประเทศในยุคต่อ ๆ มาก็เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสานต่อพระราชปณิธานเพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ "เป็นเครื่องที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญ" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยให้สามารถสนองความต้องการของชาติบ้านเมืองได้โดยเปี่ยมประสิทธิภาพ พระองค์เจ้าธานีนิวัตซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการและเป็นผู้หนึ่งที่ใส่ใจอย่างจริงจังในเรื่องการพิจารณากรรมสิทธิ์ที่ดินและการจัดการทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทรงบันทึกเป็นหลักฐาน ไว้ในโอกาสทรงนิพนธ์พระราชประวัติสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "พระองค์ทรงพระราชอุทิศยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่เป็นที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้กับมหาวิทยาลัย" หากแต่เป็นไปได้ว่ายังมิได้ทรงดำเนินการอย่างเป็นทางการ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน

รัฐบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงเล็งเห็น ถึงความสำคัญในการทำนุบำรุงมหาวิทยาลัยให้ยั่งยืนสถาพรสืบตาม พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังจะเห็นได้ ในหนังสือเรื่อง "ขอพระราชทานเพิกถอนสัญญาเช่าและขอพระราชทานที่ ลงวันที่ 25 มีนาคม 2479" ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขณะนั้น ที่ระบุถึงพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ที่ทรงหวังให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพระราชานุสาวรีย์ เชิดชูพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และเป็นแหล่งเพาะวิทยาการต่างๆ ให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง ที่สำคัญคือ "มิได้มุ่งหวังให้จัดสร้างลงแล้วจะทรงเรียกร้องเอาประโยชน์ กำหนดเงื่อนเวลาให้อยู่ ให้ขับไล่หรือให้รื้อถอนไป อย่างการเช่าถือ เป็นทำนองหาประโยชน์" ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เป็นไปตาม "พระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้" จึง "นำความขึ้นกราบเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์เพื่อขอรับพระราชทานเลิกสัญญาเช่าที่สำนักงานพระคลังข้างที่ได้ทำไว้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอพระราชทาน ที่รายนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้นแล้ว รัฐบาลจึงได้ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย อย่างถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามพระราชปณิธานและได้ตราเป็น "พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482" ในชั้นที่สุด ทั้งนี้โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้ลงนามในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

กล่าวได้ว่า ดำริของรัฐบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและดำริของเจ้านายที่ทรงเป็นผู้กุมอำนาจของประเทศก่อนปี พ.ศ. 2475 โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ผิดแผกจากกัน เพราะต่างก็มุ่ง ทำนุบำรุงและรักษาประโยชน์อันยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ "บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญ" ตามพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 และด้วยหลักฐานตามมีประจักษ์นี้เองที่ยืนยันว่า "พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน อันเป็นส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482" ที่ออกโดยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งส่งผลทางกฎหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิโดยชอบธรรมในการถือกรรมสิทธิ์ และมีอำนาจจัดการที่ดินผืนดังกล่าว เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยจิตเจตนาที่จะสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะให้มหาวิทยาลัยเป็นสำนักศึกษาที่มีความมั่นคงยั่งยืน ด้วยการมอบอำนาจให้มหาวิทยาลัยได้จัดการ ดูแลรักษาและหาผลประโยชน์บำรุงมหาวิทยาลัยได้จากที่ดินในเขตพื้นที่ครอบครองให้มหาวิทยาลัยโดยอิสระ ผู้เช่ารายอื่นที่ยังคงเช่าที่ดินบริเวณที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ต้องชำระค่าเช่าในฐานะ "ผู้เช่า" ให้แก่จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ "ผู้ให้เช่า" ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

นับแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสืบมาจนถึงปัจจุบัน การดำเนินกิจการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เจริญรุดหน้าเป็นลำดับสนองพระราชปณิธานสมดังพระราชประสงค์ กล่าวคือ 96 ปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษามากกว่า 250,000 คน โดยบัณฑิตเหล่านี้ได้เข้าไปมีบทบาท

สำคัญในการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศไม่ว่าจะเป็นในด้าน การบริหารประเทศ การเป็นผู้นำในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริม

การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับนิสิตเองนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนโยบายที่ชัดเจนว่า "จะต้องไม่มีใครเลยที่มีความสามารถ สอบเข้ามาเป็นนิสิตจุฬาฯ แล้วต้องลาออก เนื่องจากปัญหาการเงิน" โดยปัจจุบันได้มีการจัดสรรทุนจุฬาฯ ชนบท และทุนอุดหนุนการศึกษาประมาณ 12,000 ทุน เป็นจำนวนเงิน

450 ล้านบาทต่อปี

ในส่วนของการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มุ่งพัฒนางานวิจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสังคมและประเทศในรอบด้าน โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างกลุ่มวิจัย เพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างศาสตร์และสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในการที่จะสรรค์สร้างงานวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วน ต่อชุมชน ต่อสังคม และต่อประเทศ ตัวอย่างงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ เช่น งานวิจัยเพื่อการอนุรักษ์โคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองน่านแบบบูรณาการ ตลอดจนพัฒนาแหล่งผลิตอาหารสดและอาหารหมักของโค เพื่อเป็นต้นแบบให้ชุมชนได้เข้ามาศึกษา และงานวิจัยเพื่อการผลิตแพะพันธุ์นม เพื่อใช้นมเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสำหรับ นักเรียนในพื้นที่ทุรกันดารในจังหวัดน่าน รวมถึงงานวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้ราเอคโตไมคอร์ไรซ่า (เห็ด) เพื่อการปลูกป่าฟื้นฟูป่าไม้วงศ์ยางนาในจังหวัดน่าน ซึ่งได้เริ่มมีการนำไปใช้เป็นแนวทางปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หรือพื้นที่รกร้างในจังหวัดน่านและจังหวัดอื่นๆ เป็นต้น

ในส่วนของการบริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนเช่น การนำความรู้และเทคโนโลยีการผสมเทียมสุกรไปถ่ายทอดและพัฒนารูปแบบร่วมกับชุมชนจนเกษตรกรในพื้นที่ให้การยอมรับ จนนำมาสู่การสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อการเลี้ยงสุกรแบบอินทรีย์ในแบบปศุสัตว์ท้ายบ้าน เกิดเป็น กองทุนสุกรอินทรีย์ในระดับหมู่บ้าน ช่วยเพิ่มรายได้ครัวเรือนให้สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง หรือที่จังหวัดสระบุรี โดยความร่วมมือกับมูลนิธิชัยพัฒนาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชน (ให้แต่ละคณะลงไปร่วมพัฒนาชุมชนทั่วประเทศ) จำนวน 26 โครงการ รวมไปถึงการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครู ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั้งระบบทั่วประเทศ เป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 4 แสนคน เพื่อยกระดับการศึกษาทั้งประเทศการอบรมครู 400 คน จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการช่วยพัฒนาระบบ "Teacher TV" เพื่อยกระดับคุณภาพครู สำหรับชุมชนรอบข้างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ สวนลุมฯ สี่พระยา สามย่าน สวนหลวง และสยามสแควร์นั้น มีการจัดทำโครงการ เช่น โครงการพัฒนาสุขภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชนสุขภาพ 5 ส เป็นต้น

ในช่วงที่ประเทศไทยประสบกับปัญหามหาอุทกภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อบรรเทาปัญหา และความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เช่น

- ตั้งโรงครัวผลิตอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน จำนวน 50,000 ชุดต่อวัน รวมผลิตทั้งสิ้นกว่า 1,300,000 ชุด (ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ))

- ตั้งศูนย์พักพิงฯ เพื่อรับประชาชนทั่วไป นิสิต บุคลากรและญาติ จำนวนเกือบ 4,000 ราย ร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) สภากาชาดไทย

- จัดทำถุงยังชีพ จำนวนกว่า 60,000 ชุด นำไปมอบให้ผู้ที่เดือดร้อน รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ โดยนิสิต และอาสาสมัคร

นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อสู้ปัญหา มหาอุทกภัย กว่า 20 รายการ เช่น สุขาเคลื่อนที่ เครื่องทำน้ำประปาแบบพกพา เครื่องตรวจสอบไฟรั่ว เสื้อชูชีพ แพฉุกเฉิน เรือไฟเบอร์ เครื่องมือประเมินความเสี่ยงน้ำท่วม ด้วยตนเอง สะพานไม้สำเร็จรูป ที่ตักทราย ยารักษาเท้าเปื่อย ยาป้องกันยุง น้ำยาบ้วนปาก วิธีหุงข้าวปริมาณมาก เชื้อเพลิงแข็ง ข้าวปรุงสุกพร้อมบริโภค สเปรย์นาโนป้องกันเชื้อโรค อุปกรณ์ปลดปลิง เป็นต้น

ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ การบูรณะพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิงและแหล่งท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์ต่อไป

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าเพื่อสนองพระราชปณิธาน ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมือง บัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่ทุกภาคส่วน ในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญ ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ แม้ในปัจจุบันจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยก็ยังคงพัฒนามหาวิทยาลัยให้พร้อมที่จะผลิตบัณฑิตที่

ถึงพร้อมในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยมีความเจริญ วัฒนาสถาพรสมดังเป็น "เสาหลักของแผ่นดิน" สืบไป

 

      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #357 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2556, 22:59:30 »

พบภาพรุ่นพี่ใน Internet



      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #358 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2556, 11:44:32 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=wMrb-1HoeCQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=wMrb-1HoeCQ</a>
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #359 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2556, 23:08:02 »



https://www.youtube.com/watch?v=IHKyv-Lh7io&feature=youtube_gdata_
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=IHKyv-Lh7io" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=IHKyv-Lh7io</a>
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #360 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2556, 00:20:35 »


พี่ป๋า,
สุขสันต์วันเกิดนะคะ
ขอให้พี่มีสุขภาพดี
น้ำตาลไม่ขึ้น!
แต่หวานฉ่ำได้แม้ไม่เติม.
อะไรอะไรที่พี่อยากได้ อยากมี
อยากทำ ก็ขอให้พี่ได้ พี่มี พี่ทำ
สำเร็จ!

ปล. อวยแบบลอกกันมา..ไม่เป็นคะ!
       ถนัดแต่ เข้าเป้า และตรงจุด...เอย.
      บันทึกการเข้า


พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #361 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2556, 01:44:58 »

ขอบพระคุณที่ท่านยังจำได้
ถึงเวลาผ่านไปใจห่วงหา
ขอให้มีความสุขทุกเวลา
โอกาสหน้าค่อยพบประสพกัน
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
ตี้ถาปัด
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: สถาปัตยกรรมศาสตร์
กระทู้: 10,337

« ตอบ #362 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2556, 11:31:16 »

สุขสันต์วันเกิดครับป๋า
ขอให้ครอบครัวมีแต่ความสุขครับ
      บันทึกการเข้า

2437041
แจง-24
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2524
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 10,028

« ตอบ #363 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2556, 19:30:02 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 12 กรกฎาคม 2556, 00:20:35

พี่ป๋า,
สุขสันต์วันเกิดนะคะ
ขอให้พี่มีสุขภาพดี
น้ำตาลไม่ขึ้น!
แต่หวานฉ่ำได้แม้ไม่เติม.
อะไรอะไรที่พี่อยากได้ อยากมี
อยากทำ ก็ขอให้พี่ได้ พี่มี พี่ทำ
สำเร็จ!

ปล. อวยแบบลอกกันมา..ไม่เป็นคะ!
       ถนัดแต่ เข้าเป้า และตรงจุด...เอย.


แต่พี่ขอลอกน้องหนิงดีกว่า... 555

เหมือนน้องหนิง x 100 ค่ะ

สุขสันต์วันเกิดนะคะ ทั่นทู
      บันทึกการเข้า

   อยู่อย่างต่ำ กระทำอย่างสูง
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #364 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2556, 20:47:04 »


แอ๋...พี่แจงก็เกิดเดือนนี้นี่?
ฮั่นแน่.
ขอหนิงค้นก่อนวันที่เท่าไหร่
      บันทึกการเข้า


แจง-24
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2524
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 10,028

« ตอบ #365 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2556, 20:54:50 »

หนุงหนิงจำแม่นมาก เยี่ยมจริงๆ
ขอบคุณนะคะคุณน้อง
      บันทึกการเข้า

   อยู่อย่างต่ำ กระทำอย่างสูง
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #366 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2556, 01:08:06 »

แจงจำช่างภาพคนนี้ในงานวิ่งควายได้ไหม

      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #367 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2556, 15:43:42 »

Happy Birthday ค่า ขอให้พบแต่ความดี ปราศจากทุกข์นะคะ
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
แจง-24
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2524
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 10,028

« ตอบ #368 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2556, 20:23:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ พธู ๒๕๒๔ เมื่อ 13 กรกฎาคม 2556, 01:08:06
แจงจำช่างภาพคนนี้ในงานวิ่งควายได้ไหม



ใช่พี่สินหรือเปล่าป๋าทู...
หวาดเสียวจัง หวังว่าคงแคล้วคลาดนะคะ
      บันทึกการเข้า

   อยู่อย่างต่ำ กระทำอย่างสูง
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #369 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2556, 20:37:39 »

ถูกต้องแล้วครับ พี่สิน นิเทด 11 รอดวุดหวิดเปื้อนนิดหน่อย
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #370 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556, 02:15:24 »


พี่ป๋าขา,
เช็ค วงใน ข่าวนี้ให้หน่อยคะ
พี่เก่ง เป็นชาวหอคะ รุ่น 66
สิงห์ดำ 36 รหัส 26ที่ใกล้เคียงชาวเรา

โห,เป็นผู้ว่าฯแล้ว!
เพิ่ง48เอง
เร็วจังเลยคะ.

อยากแสดงกวามยินดี
ก็ไม่รู้จะแสดงที่ไหน...พี่เก่งไม่เคยเข้าเวบ!!



      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #371 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556, 02:20:26 »

หนิงมีรูปที่เคยถ่ายกะพี่เก่งด้วย
วันพี่เก่งรับปริญญา
เคยลงในเวบนี้ล่ะ
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #372 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556, 02:24:02 »


และเพราะ...หนิงมาถามพี่อะไรกันตอนตีสองกว่า??
คนจาหลับจานอน??

หนิงเลยหาข่าวเอง แบบถามเองตอบเอง...เสร็จ!
for your info.!!



http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM056VXpNRE14Tnc9PQ==&sectionid=
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #373 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556, 03:27:10 »


หากันเข้าป่ะ!
อยากจำได้ทำไม...
ว่าเคยscanภาพคู่กะพี่เก่ง...ที่หอ

ปร๊าาาา....เจอสิ!
ก็กระทู้นี้หนูกำกับเอง แสดงเองนิ!




<a href="http://video.nationchannel.com/player.swf?file=http://video.nationchannel.com/data/1/2010/10/26/cagb9dbb9dj8cb6h7ja7g.flv&amp;image=http://video.nationchannel.com/thump/sound.jpg&amp;autostart=false&amp;showfsbutton=false" target="_blank">http://video.nationchannel.com/player.swf?file=http://video.nationchannel.com/data/1/2010/10/26/cagb9dbb9dj8cb6h7ja7g.flv&amp;image=http://video.nationchannel.com/thump/sound.jpg&amp;autostart=false&amp;showfsbutton=false</a>




http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,241.msg427096.html#msg427096
      บันทึกการเข้า


พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #374 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556, 14:09:29 »







อวยพรได้ที่ suttipong_keng@yahoo.com
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
  หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><