22 พฤศจิกายน 2567, 03:37:56
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3 ... 9  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมการบรรยาย WiMAX Forum ณ ประเทศสิงคโปร์ '09  (อ่าน 415509 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:27:12 »

วันก่อน...ได้รับเมล์เชิญเข้าร่วมการบรรยายอีกครั้ง ที่ ไทเป ประเทศไต้หวัน ช่วง เม.ย. 2010  ...


จึงนึกถึงการเข้าร่วมการบรรยาย เมื่อ 28-29 เมษายน 2009 ที่ผ่านมา โดยผมได้รับเกียรติเชิญให้เป็นผู้ร่วมบรรยายในงาน WiMAX Forum Congress ASIA09 ณ ประเทศสิงคโปร์

ทำให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และความรู้จากเพื่อนๆ ผู้บริหารจาก มากกว่า 20 ประเทศ อาทิ สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน เกาหลี มาเลเซีย ฯลฯ

งานนี้จัดที่ Suntec, Singapore มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 4,000 คน จากหลากหลายประเทศทั่วโลก

มีเรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์กับพวกเรา  จึงเอามาเล่าให้ฟังนะครับ  ปิ๊งๆ


ปล.  

จั่วหัวกระทู้  ไว้ว่าเป็นคนไทยคนแรก ...

อย่าเพิ่งหมั่นใส้กันเลยนะครับ จั่วไว้ให้น่าสนใจแค่นั้นเอง ... แต่ก็เป็นคนแรกจริงๆ นี่นา  ^_^  

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #1 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:35:51 »

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก Singapore และ WiMAX Forum กันก่อน นะครับ ^_^


สิงคโปร์ ปิ๊งๆ

สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ 33 ปีก่อนได้พิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า การปฏิรูปการศึกษา คือกลไกสำคัญที่จะสร้างศักยภาพของชาติให้สามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นประเทศเดียวที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในยุคเศรษฐกิจถดถอยของเอเชีย

จากประเทศเล็ก ๆ ที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพคือกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผู้นำของสิงคโปร์ได้ทุ่มเทงบประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา และดำเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก

ผลจากการปฏิรูปการศึกษา ทำให้การศึกษาของสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับว่ามีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ในจำนวนประชากรที่มีอัตราการรู้หนังสือ 91.3 % นั้น ร้อยละ 47.2 จะรู้สองภาษาหรือมากกว่า ในด้านศักยภาพการแข่งขัน นักเรียนมัธยมศึกษาของสิงคโปร์สามารถทำคะแนนได้เป็นที่ 1 ของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง และมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานระดับกลางที่มีทักษะฝีมือดีที่สุดในเอเชีย ประชากรมีรายได้ต่อหัวปีละ 26,400 เหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี เป็น 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำของโลกที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยมาใช้อย่างกว้างขวาง และเมื่อ เร็ว ๆ นี้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา

ยุทธศาสตร์และความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์

สิงคโปร์กำลังก้าวสู่การปฏิรูปการศึกษาที่มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ก้าวหน้าท้าทาย มิติใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ที่สำคัญมีดังนี้

1) การปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศ

ได้กำหนดวิสัยทัศน์ "เทคโนโลยีสารสนเทศ 2000 : วิสัยทัศน์การเป็นเกาะแห่งอัจฉริยะ" (IT 2000 : A Vision of an Intelligent Island) โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์ IT 2000 หรือ "IT 2000 Masterplan" ซึ่งกำหนดเป้าหมาย พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ส่งเสริมกลไกทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงสังคมทั้งในระดับชาติและระดับโลก และส่งเสริมศักยภาพของบุคคล โดยมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National IT Committee) และคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Computer Board) หรือ NCB เป็นองค์กรสำคัญในการปฏิรูปดังกล่าว

2) การปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้สิงคโปร์ เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดแผนเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Technology Plan : NTP) เพื่อสร้าง "Singapore Technology Corridor" ให้เป็นที่ตั้งสถาบันและศูนย์การวิจัยและพัฒนา แหล่งอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าสูงทางเทคโนโลยี และสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบในการดำรงชีวิต จัดตั้ง Science Park เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มี Technology Month เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมในการวิจัยและพัฒนา โดยมีการมอบรางวัลเกียรติยศระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่บุคคลและภาคธุรกิจ เอกชน นอกจากนั้น ยังกำหนดแผนพัฒนาสังคม โดยเน้นการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสร้างความเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ในการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Board) หรือ NSTB เป็น องค์กรสำคัญ

3) การปฏิรูปนวัตกรรม

ได้ส่งเสริมนักนวัตกรรมเพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ กำหนดแผนพัฒนานวัตกรรม (Innovation Development Scheme) และแผนให้ความช่วยเหลือนักนวัตกรรม (Innovator’s Assistance Scheme : IAS) ในการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ จัดตั้งสมาคมนักนวัตกรรม (Innovators’ s Club) และศูนย์นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Center for Strategic Process Innovation : CSPI) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดฝึกอบรมโดยนำนวัตกรรมต่าง ๆ ไปใช้ เพื่อให้องค์กรปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ในการส่งเสริมนวัตกรรมมี NSTB เป็นผู้วางแผนดำเนินงานและให้การสนับสนุน

4) การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (Skill Development)

ได้กำหนดแผนสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนจัดฝึกอบรมให้แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานโดยรัฐให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือด้านงบประมาณ และให้สถาบันการศึกษาทางเทคนิค (Institute of Technical Education : ITE) ร่วมกับภาคธุรกิจจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับความรู้และทักษะฝีมือแรงงาน

5) การปฏิรูปอุดมศึกษา

เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) หรือ NUS ได้พัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2000 จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการวิจัย

NUS ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย และผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 5% แรกของสถาบันยอดเยี่ยมของโลก สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) หรือ NTU ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการศึกษาระดับนานาชาติ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 NTU ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ NTU ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 สถาบันเทคโนโลยียอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ส่วนสถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Institute of Education : NIE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NTU ก็มุ่งสร้างความเป็นเลิศในการวิจัยการศึกษา โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เรียกว่า "NIE Center for Educational Research : NIECE" และศูนย์ผู้บริหารที่เรียกว่า "Principals’ Education Center" เพื่อให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาวิชาชีพครูและผู้บริหารโรงเรียนในระดับนานาชาติ

*** เงื่อนไขความสำเร็จ

วิสัยทัศน์ผู้นำ
   
นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญลำดับแรกที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองอนาคตได้อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาได้ตรงจุด

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #2 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:38:14 »

เงื่อนไขความสำเร็จ(ต่อ)

เจตนารมณ์ทางการเมือง

ผู้นำสิงคโปร์ได้แสดงเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการศึกษา ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ

เสถียรภาพทางการเมือง

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง อันมีผลให้แนวนโยบายและการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน และก้าวสู่การพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น

ประสิทธิภาพรัฐบาล

รัฐบาลสิงคโปร์มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ไม่มีทุจริตคอรัปชั่น ทำให้การลงทุนต่าง ๆ ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ได้มีการดำเนินงานอย่างจริงจัง ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว


ศักยภาพความเป็นผู้นำ

ได้กำหนดความคาดหวังจากการศึกษาทุกระดับหรือ "การศึกษาที่พึงประสงค์" เพื่อสร้างผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ

สำหรับในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดศักยภาพความเป็นผู้นำ กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ และคุณธรรม มีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงสังคม สามารถดำเนินงานได้อย่างฉับไว สามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มีความเข้าใจผู้อื่น สามารถสร้างแรงบันดาลใจ มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รู้จักการตัดสินปัญหาสำคัญ ๆ โดยมองภาพรวมของประเทศ และที่สำคัญคือเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล


>>>  สำหรับประเทศไทย...

         แม้ว่าได้มีแนวคิดและการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษามาทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่การปฏิรูปการศึกษาของไทยยังไม่สามารถสร้างพลังในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์การพัฒนาตามที่คาดหวัง จึงควรมีการทบทวนแนวคิดและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการปฏิรูปการศึกษาไทย บทเรียนจากสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คงจะทำให้ประเทศไทยต้องตระหนักถึงการปฏิรูปการศึกษาที่คำนึงถึงพื้นฐานความเป็นไทยที่มุ่งเน้นสันติสุข แต่ประเทศไทยคงไม่สามารถละทิ้งความเป็นจริงของการแข่งขันในประชาคมโลก และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง จึงควรเตรียมคนไทยให้รู้จักการเรียนรู้ เพื่อเผชิญสภาวการณ์ต่าง ๆ โดยมีการศึกษาเป็นอาวุธทางปัญญา ที่สามารถนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน และสร้างสรรค์ความแข็งแกร่งในอนาคต

         ในขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย กำลังประสบภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์นับเป็นประเทศที่มีผลกระทบน้อยที่สุด ยังคงรักษาความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และสามารถดำรงอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี ในอนาคตอันใกล้ สิงคโปร์จะมีบทบาทโดดเด่นมากขึ้นในเอเชีย สิงคโปร์จึงเป็นประเทศที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้ โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างภูมิปัญญา เป็นการเปิดโลกทัศน์และมิติใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาที่ท้าทาย บทเรียน ประสบการณ์ และความสำเร็จของสิงคโปร์ จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษาและนำมาวิเคราะห์เป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:42:37 »

คราวนี้มาทำความรู้จัก WIMAX Forum ( http://www.wimaxforum.org ) นะครับ

WiMAX Forum:  ปิ๊งๆ

คือ องค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยบริษัทสื่อสารชั้นนำทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับมาตรฐาน WiMAX โดยมีเป้าหมายจะพัฒนามาตรฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ IEEE 802.16 และทุกวันนี้ความเคลื่อนไหวระดับแนวหน้าของโลกในเรื่อง WiMAX จะอยู่ที่ WiMAX Forum


WiMAX (ไวแม็กซ์) ขุมทองแห่งอนาคต

เทคโนโลยี WiMAX กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ปลุกกระแสความสนใจ ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตไร้สาย ในประเทศไทย เมื่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เริ่มวางระเบียบในการออกใบอนุญาตเพื่อการเปิดให้บริการในประเทศไทย

เหตุที่ได้รับความสนใจเช่นนี้ก็มิใช่เรื่องแปลก หากมองว่า WiMAX หรือ Worldwide interoperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงมากกว่า 40 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่า 3G ....

ในหลายประเทศได้เปิดให้บริการ WiMAX เป็นเทคโนโลยียุค 4G (บ้านเรา 3G ยังไม่เกิดเลย  เหนื่อย)

จุดเด่นในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงมาก ๆ ตั้งแต่ 8 Mbps ขึ้นไป มีพื้นที่ให้บริการ กว้าง แถมยังมีการผลักดันจากค่ายผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ที่สำคัญก็คือบริษัทอินเทลถึงกับออกตัวรับเป็น ผู้ผลิตชิบเซ็ต WiMAX สำหรับนำไปใช้ทั้งในอุปกรณ์เครือข่าย และอุปกรณ์เครื่องลูกข่ายทั่วไป เท่ากับเป็น การการันตีถึงการเปิดกว้างของตลาดผู้บริโภค ถึงขั้นที่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทุกเครื่องในอีก 2-3 ปีข้างหน้า นอกจากจะมีการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐาน Bluetooth และ Wi-Fi แล้วก็ยังพลาดไม่ได้ที่จะมี WiMAX เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการสื่อสารความเร็วสูงอีก

 เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นเล็ก ๆ เพราะตลาดคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่กำลังเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก รวมกับตลาดอุปกรณ์สื่อสารแบบ WiMAX คาดว่าหลังจากมาตรฐาน WiMAX เริ่มออกสู่ตลาดและมีการแพร่หลายมากขึ้นนั้น เราจะได้เห็นอุปกรณ์สื่อสาร WiMAX ที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งสองกลุ่มนี้จะสะท้อนถึงตลาดการบริโภคขนาดมหาศาลที่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ถึงขั้นที่มาแรงแซงหน้าตลาดการสื่อสารไร้สายผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างน้อย ๆ เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นการรวมอุปกรณ์สื่อสารแบบ 2.5G หรือ 3G เข้าไว้ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในระยะ 3-4 ปีนี้อย่างแน่นอน

ปัจจุบัน WiMAX ได้รับการพัฒนา ไปเป็นข้อกำหนด IEEE802.16e ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้

สำหรับประเทศไทย เรายังคงรอคอยการกำหนดนโยบายของหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น กทช. ในการวางเงื่อนไขเพื่อเปิดให้ประมูล คลื่นความถี่ WiMAX เพื่อเปิดให้บริการ

สำหรับประเทศไทยในวันนี้เรายังไม่อาจตอบได้ชัดเจนนักว่าเทคโนโลยี WiMAX และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจะเริ่มต้นนับหนึ่งเมื่อใด (คาดว่าหลังจาก จบการประมูลคลื่น 3G)  ฮือๆ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:46:16 »

ขออนุญาตปูพื้นเรื่อง 3 G นิดนะครับ เผื่อพวกเราท่านอื่นๆเข้ามาอ่านจะได้เข้าใจไปพร้อมๆกัน

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ เราจะแบ่งเป็นยุคๆ (G = Generation)  โดย


      เจเนอเรชันที่ศูนย์ (0G) เป็นยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนระบบเซลลูลาร์ ซึ่งก็คือโทรศัพท์ที่ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารยุคแรก

      เจเนอเรชันที่หนึ่ง (1G) นี่เป็นการเริ่มต้นการใช้ระบบสื่อสารแบบ เซลลูลาร์ โทรศัพท์มือถือในยุคนี้เป็นโทรศัพท์มือถือที่ใช้มารตรฐานการสื่อสารในระบบอนาล็อก และมีใช้กันในช่วง พ.ศ. 2523-2533

      เจเนอเรชันที่สอง (2G) มีการพัฒนานำระบบดิจิตอลเข้าสู่โลกการสื่อสารไร้สาย นั่นคือมีการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณ รวมทั้งยังทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการสื่อสารข้อมูลที่ไม่ใช่เสียงเกิดขึ้นด้วย โทรศัพท์มือถือในยุคนี้สามารถใช้บริการ SMS ได้แล้ว

      เจเนอเรชันที่ 2.5 และ 2.75 (2G และ 2.75G) พื้นฐานของโทรศัพท์มือถือยุค นี้ยังคงเหมือนกับยุคที่สอง โดยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอื่นๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทางบริการ WAP (Wireless Application Protocol) และ GPRS (General Packet Radio Service) ลักษณะของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ที่เห็นได้อีกก็คือ จอสี และกล้องถ่ายรูป
     
       เจเนอเรชันที่ 3 (3G) โทรศัพท์ยุคที่สามนี้เป็นการใช้ระบบเครือข่ายรูปแบบใหม่ ด้วยจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลให้มากขึ้นสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ข้อมูลด้านภาพ หรือธุรกรรมต่างๆ ซึ่งประเทศไทยของเรากำลังเดินเข้าสู่โทรศัพท์มือถือยุคนี้ นะครับ


โทรศัพท์ในยุคที่สาม (3G) นี้จะทำให้มี การเปิดบริการสื่อสารข้อมูลที่ไม่ใช่ เสียงมากขึ้น(Non Voice หรือ Data) โดยที่ผู้ใช้สามารถรับส่งอีเมล ทำงานเกี่ยวกับฐานข้อมูล ทำธุรกรรมและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถติดตามข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ สามารถรับส่งไฟล์รูปภาพและเสียง สนทนาแบบเห็นหน้ากัน และรวมไปถึงการประชุมแบบเห็นหน้าด้วย


ปล.  ปัจจุบันแทบทุกประเทศทั่วโลก ได้เปิดให้บริการโทรศัพท์ในระบบ 3 G แล้ว  ยกเว้น "ประเทศไทย"

เพื่อนบ้านของเราเช่น ลาว และเวียดนาม ไม่เพียงแต่มี 3 G ยังมี WiMAX ใช้อีกต่างหาก ...  บรึ๋ยยย

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #5 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:50:54 »

WiMAX เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง  ที่จะพัฒนาไปเป็น 4 G...ปัจจุบัน ให้บริการแล้วกว่า 148 ประเทศทั่วโลก

รอบบ้านเราเปิดให้บริการครบแล้ว ไม่เว้นแม้แต่ ... ลาวและเขมร ...

ประเทศไทย ... เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ ที่ยังไม่มีบริการ WiMAX   เหนื่อย

(สำหรับประเทศไทย ... ได้รับการบันทึกจาก WiMAX Forum ว่าเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ที่ให้บริการไวแม็กซ์ ในโครงการนำร่องที่ ม.แม่ฟ้าหลวง โดย บมจ.ทีทีแอนด์ที... แต่ยังไม่ได้เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เนื่องจาก กทช. (NTC) ยังไม่ได้เปิดประมูลใบอนุญาต เช่นเดียวกับ 3G)

หากมองไปรอบๆบ้านเราพบว่า (ข้อมูลจาก WCIS: World Cellular Information Services)

มาเลเซีย เริ่มให้บริการเมื่อ มิ.ย.2548

กัมพูชา เริ่มให้บริการเมื่อ ก.พ.2549

พม่า เริ่มให้บริการเมื่อ พ.ย.2550

และ ...

ลาว เริ่มให้บริการเมื่อ ก.ย.2551





      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #6 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:53:47 »

สมาคมจีเอสเอ็ม เผยไทยหลุดแผนที่ บริการเครือข่ายไวแมกซ์อาเซียน จ๊าากกก

สมาคมจีเอสเอ็มเอ (GSMA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ออกแถลงการณ์ว่า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลเวียดนามบุกเบิกเครือข่ายโมบาย บรอดแบนด์ (ไวแมกซ์) ในเวียดนาม  และมีแผนเปิดให้บริการตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป

เพื่อรองรับความต้องการเครือข่ายบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว

นายริคาร์โด ทาวาเรส รองประธานอาวุโสฝ่ายนโยบายสาธารณะ สมาคมจีเอสเอ็มเอ กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นก้าวย่างสำคัญยิ่งของเวียดนาม ทั้งในแง่ของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม โดยถือเป็นการบุกเบิกบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศซึ่งประชากรกว่า 66% มีโทรศัพท์มือถือใช้ แต่มีเพียง 3% ที่สามารถใช้เครือข่ายบรอดแบนด์ที่บ้านได้

“ปัจจุบันไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังไม่มีการให้บริการบรอดแบนด์บนอุปกรณ์มือถือ ในขณะที่การวิจัยหลายสำนักพบว่าเครือข่ายบรอดแบนด์ ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงหวังว่าไทยจะอ้าแขนรับเครือข่ายโมบายล์บรอดแบนด์เช่นเดียวกับที่เวียดนามทำ” นายทาวาเรสกล่าว

ทั้งนี้ บริษัท 4 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ให้บริการเครือข่ายโมบาย บรอดแบนด์ ในเวียดนาม ประกอบด้วย เวียดเทล, วินาโฟน, โมบิโฟน และบริษัทหุ้นส่วน อีวีเอ็น เทเลคอม กับฮานอย เทเลคอม

ขณะที่ รายงานข่าวระบุว่า นอกเหนือจากได้รับอนุญาตให้บริการไวแมกซ์แล้ว บริษัททั้ง 4 รายยังได้รับใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ในเวียดนามด้วย

ก่อนหน้านี้ บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น ยังได้เปิดเผยผลการศึกษาถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่ประเทศในอาเซียนจะได้รับหากมีการจัดสรรคลื่นและให้ใบอนุญาตบริการไวแมกซ์ ซึ่งสะท้อนว่ายิ่งมีขนาดประชากรมาก ก็จะยิ่งกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก

ผลการศึกษาดังกล่าวครอบคลุม 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย คาดว่าจะเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงค่าใบอนุญาต 1,066 ล้านดอลลาร์, ฟิลิปปินส์ 407 ล้านดอลลาร์, เวียดนาม 387 ล้านดอลลาร์, มาเลเซีย 125 ล้านดอลลาร์ ส่วนประเทศไทยนั้น หากจัดสรรคลื่นและให้ใบอนุญาตในช่วงนี้ จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 284 ล้านดอลลาร์ แต่หากยิ่งช้าตัวเลขนี้จะลดลงเรื่อยๆ แต่ละปี

นอกจากนี้ ใบอนุญาตใหม่ยังจะช่วยสร้างมูลค่าส่วนเกินที่เกิดจากการใช้งานของผู้บริโภค โดยอินโดนีเซีย คาดว่าตัวเลขจะอยู่ในระดับ 19,197 ล้านดอลลาร์, ฟิลิปปินส์ 7,330 ล้านดอลลาร์, เวียดนาม 6,966 ล้านดอลลาร์, มาเลเซีย 2,246 ล้านดอลลาร์ และไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 5,106 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวอ้างอิงจากข้อมูลที่อินเทล แคพปิตอล เข้าไปร่วมลงทุนไวแมกซ์ในประเทศต่างๆ และอยู่บนพื้นฐานของการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เป็นใบอนุญาตแบบทั่วประเทศ และแต่ละรายได้รับการจัดสรรแถบความถี่รายละ 30 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่จะสอดคล้องกับการคืนทุนภายใน 6.5 ปี

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #7 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:55:31 »

ผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย


ปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากระแสความต้องการของการสื่อสารไร้สาย (Wireless Technology) ได้ส่งผลให้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (หรือ 3G), WiMAX และ Wi-Fi มีความโดดเด่นที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานของผู้ใช้ (Consumer Need) เนื่องด้วยโครงข่ายสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งานทางด้านการสื่อสารทางภาพ เสียง ข้อมูล รวมทั้งการเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ใช้งาน (Ubiquitous) ในราคาที่ถูกลงและสามารถใช้งานเคลื่อนที่ได้ จึงทำให้โครงข่ายสื่อสารไร้สายเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป



การออกใบอนุญาตการประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย จะสามารถกระตุ้นการลงทุนในภาค อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ ทั้งในด้านการลงทุนจากภาคเอกชน (ทั้งในและต่างประเทศ) ทำให้เกิดการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง ซึ่งการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สายมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด ทั้งนี้เนื่องจากใบอนุญาตเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลในยุคของการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นกระบวนการออกใบอนุญาตจึงต้องกระทำอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและบรรยากาศที่น่าเชื่อถือให้กับนักลงทุน โดยที่ผู้บริโภคได้รับบริการอย่างเป็นธรรมและการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด



จากความสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความล่าช้าในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย ทั้งในด้านการลงทุน การจ้างแรงงาน เศรษฐกิจและสังคม และปิดกั้นทางเลือกของประชาชนผู้ใช้บริการในการเลือกใช้เทคโนโลยีและบริการที่ทันสมัยและเหมาะสมกับความต้องการ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้เสนอความเห็นในเรื่องของ ผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย ต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 แล้ว โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้



 1) ผู้มีอำนาจสามารถให้มีใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย (3G และ WiMax) ได้เร็วมากเท่าใด ก็จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ สังคมและเพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อการแข่งขันในระดับสากล



 2) ควรมีการดำเนินการเร่งรัด ผลักดัน ให้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย (3G และ WiMax) โดยเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในหลาย ๆ ด้าน เช่น สามารถขยายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังประชาชนได้โดยเร็ว อีกทั้งจะเป็นตัวเลือกหนึ่งให้กับประชาชนได้เลือกใช้บริการ



 3) หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู มูฟ จำกัด หรือหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างระบบเครือข่ายเพื่อให้บริการ ต่างมีความพร้อมในการให้บริการเทคโนโลยี 3G และ WiMax ย่อมไม่มีเหตุผลใดที่ผู้รับผิดชอบจะไม่ดำเนินการโดยรวดเร็วและชัดเจน เพื่อให้มีการให้ใบอนุญาตเพื่อประกอบการโดยเร็ว



 4) ถ้ามีใบอนุญาต 3G และ WiMax เกิดขึ้น ก็ต้องมีลงทุนจากต่างประเทศ ลงทุนในประเทศ เป็นเม็ดเงินลงมา จะมีการจ้างงาน มีการซื้อของที่ผลิตในประเทศไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลเสาเพาเวอร์ ตู้เก็บคอนเทนเนอร์ จ้างการขนส่งอื่น ๆ ส่งผลให้มีกระแสเงินหมุนเวียนในสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยังเป็นการสร้างธุรกิจต่อเนื่องได้ กล่าวคือถ้ามีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่กระจายไปหลายที่ได้ ก็มีการสร้างธุรกิจต่อเนื่อง มีการสร้างแอปพลิเคชั่น (Application) และจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้ต่างประเทศใช้ในการตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย รวมถึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ ที่จะนำมาให้บริการกับประชาชนในแง่ของบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐหรือ E-government



ที่มา : senate.go.th

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #8 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2552, 11:56:22 »

ของแถมให้ผู้สนใจ นะครับ ... ว่างแล้วจะมาโพสต่อ ^_^


10 เว็บเรียนฟรีที่ดีที่สุดจากมหาวิทยาลัยดัง

10 เว็บไซต์สำหรับผู้ที่อยากเพิ่มพูนความรู้ครับ :)

1. Massachusetts Institute of Technology (mit.edu)
Free MIT Courses Online
http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm
เว็บนี้มีมากกว่า 1,800 คอร์ส ผมแนะนำให้เข้าไปดูตรงส่วน Audio/Video Courses ครับ จะเป็นหน้ารวบรวมคอร์สที่มีภาพหรือเสียงประกอบ นอกจากนี้ยังมีการแปลคอร์สบางคอร์สเป็นภาษาอื่นๆด้วย ที่สำคัญคือมันมีภาษาไทย แปลโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ :) เข้าไปดูได้ที่ http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/courses/lang/th/th.htm

2. Open University (open.ac.uk)
Free Open University Courses Online
http://openlearn.open.ac.uk/
คอร์สจาก Open University สถาบันการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ธุรกิจ การศึกษา สารสนเทศ การคำนวณ คณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาศาสตร์ สุขภาพ และเทคโนโลยี

3. Carnegie Mellon University (cmu.edu)
Free Carnegie Mellon CoursesOnline
http://www.cmu.edu/oli/
เปิดให้เรียนผ่านโปรแกรมที่ชื่อว่า Open Learning Initiative ซึ่งมุ่งเน้นให้ทุกคนได้เรียนในระดับคำแนะนำเกี่ยวกับวิชาที่สนใจ มีคอร์สครอบคลุมหลาบวิชาได้แก่ สถิติ ชีววิทยา เคมี เศรษฐศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส และฟิสิกส์

4. Tufts University (tufts.edu)
Free Tufts University Courses Online
http://ocw.tufts.edu/
ใช้โปรแกรม OpenCourseWare เช่นเดียวกับ MIT เรียงเนื้อหาตามโรงเรียน เช่น โรงเรียนวิทยาศาสตร์และศิลปะ โรงเรียนการแพทย์ มีเล็กเชอร์ การบ้าน และเนื้อหาต่างๆ ให้ดาวน์โหลด

5. Stanford (stanford.edu)
Stanford Courses on iTunes U
http://itunes.stanford.edu/
เปิดให้ดาวน์โหลดเนื้อหาผ่านโปรแกรม iTunes (ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://www.apple.com/itunes/download/ ) โดยสามารถดาวน์โหลดไปฟังใน iPod ได้ทันทีครับ

6. University of California, Berkeley (berkeley.edu)
Free UC Berkley Courses Online
http://webcast.berkeley.edu/courses.php
มีการถ่ายทอดสดผ่านเว็บ และวิดีโอออนดีแมนด์ตั้งแต่ปี 2001 มีคอร์สหลายร้อยคอร์ส เปิดให้ดาวน์โหลดในรูปแบบ podcast และ webcast มีวิชาที่น่าสนใจต่างๆได้แก่ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา เคมี การเขียนโปรแกรม วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา กฎหมาย และปรัชญา

7. Utah State University (usu.edu)
Free Utah State University Courses Online
http://ocw.usu.edu/
ครอบคลุมแทบทุกวิชาตั้งแต่มานุษยวิทยาจนถึงฟิสิกส์ สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาในรูปไฟล์ zip ได้

8. Kutztown University of Pennsylvania (kutztownsbdc.org)
Free Kutztown University Courses Online
http://www.kutztownsbdc.org/course_listing.asp
เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเนื้อหาด้านธุรกิจไว้มากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต มีคอร์สตั้งแต่การบัญชี การเงิน การปกครอง กฎหมายธุรกิจ การตลาดและการขาย มีข้อความ รูปภาพ เสียง และกรณีศึกษาแบบอินเตอร์แอคทีฟ

9. University of Southern Queensland (usq.edu.au)
Free USQ Courses Online
http://ocw.usq.edu.au/
มหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย มีคอร์สต่างๆจากห้าคณะ ครอบคลุมตั้งแต่การสื่อสาร วิทยาศาสตร์ การวางแผนอาชีพ เทคโนโลยี และการสร้างสื่อการเรียนการสอน

10. University of California, Irvine (uci.edu)
Free UC Irvine Courses Online
http://ocw.uci.edu/
ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการเงิน ทรัพยากรมนุษย์ ตลาดทุน และ e-marketing มีให้ดาวน์โหลดหลักสูตร เล็กเชอร์ การบ้าน และข้อสอบ

ที่มา http://education-portal.com/articles/Universities_with_the_Best_Free_Online_Courses.html


*เพิ่มเติม

Thailand Cyber University Project
http://www.thaicyberu.go.th/
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย มีคอร์สต่างๆน่าสนใจที่เป็นภาษาไทยให้เลือกเรียนเยอะแยะเลยทีเดียวครับ

      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2552, 08:14:34 »

สวัสดีครับ ดร.มนตรี

ได้เคยอ่านข้อเขียนของคุณบ่อยๆ โดยเฉพาะเรื่่องการสื่อสาร
รู้สึกดีใจและภูมิใจ ที่มีสายสัมพันธ์กับผู้มีความรู้ที่มีความคิด

ประเทศไทยยุคประชาธิปไตย(นับแต่2475)
ถูกนำโดยเอกชน
คือเอกชนนำเสนอผู้มีอำนาจ
รอผู้มีอำนาจเห็นชอบจึงยอมให้ทำ
ผู้มีอำนาจยุคประชาธิปไตยของไทย ไม่เก่งพอที่จะรับรู้เรื่องข้างหน้า
เพื่อวางแผนให้คนไทย

ต่่างกับยุคก่อนหน้า ร.1-ร.7
กษัตริย์คือผู้มีอำนาจ ซึ่งได้มองไปข้างหน้าและเตรียมการให้คนไทยล่วงหน้าเสมอ
แม้แต่เรื่องประชาธิปไตย ซึ่งต้องกระทบกับอำนาจของกษัตริย์ ก็ยังถูกเตรียมไว้

ยุคปัจจุบัน ร.9 พระองค์มองไปข้างหน้านับสิบๆปี
ดังหลายเรื่องราวที่พวกเราได้สัมผัส

แต่ผู้มีอำนาจยุคประชาธิปไตยขาดความสามารถ(ขาดความจริงใจด้วยหรือไม่ไม่ทราบครับ)
จึงไม่อาจรับรู้โลกข้่างหน้า

ช่วยกันสู้ต่อครับ





      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2552, 08:50:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2552, 11:35:51
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก Singapore และ WiMAX Forum กันก่อน นะครับ ^_^


สิงคโปร์ ปิ๊งๆ



สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ 33 ปีก่อนได้พิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า การปฏิรูปการศึกษา คือกลไกสำคัญที่จะสร้างศักยภาพของชาติให้สามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นประเทศเดียวที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในยุคเศรษฐกิจถดถอยของเอเชีย

จากประเทศเล็ก ๆ ที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพคือกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผู้นำของสิงคโปร์ได้ทุ่มเทงบประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา และดำเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก

ผลจากการปฏิรูปการศึกษา ทำให้การศึกษาของสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับว่ามีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ในจำนวนประชากรที่มีอัตราการรู้หนังสือ 91.3 % นั้น ร้อยละ 47.2 จะรู้สองภาษาหรือมากกว่า ในด้านศักยภาพการแข่งขัน นักเรียนมัธยมศึกษาของสิงคโปร์สามารถทำคะแนนได้เป็นที่ 1 ของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง และมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานระดับกลางที่มีทักษะฝีมือดีที่สุดในเอเชีย ประชากรมีรายได้ต่อหัวปีละ 26,400 เหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี เป็น 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำของโลกที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยมาใช้อย่างกว้างขวาง และเมื่อ เร็ว ๆ นี้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา

ยุทธศาสตร์และความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์

สิงคโปร์กำลังก้าวสู่การปฏิรูปการศึกษาที่มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ก้าวหน้าท้าทาย มิติใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ที่สำคัญมีดังนี้

1) การปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศ

ได้กำหนดวิสัยทัศน์ "เทคโนโลยีสารสนเทศ 2000 : วิสัยทัศน์การเป็นเกาะแห่งอัจฉริยะ" (IT 2000 : A Vision of an Intelligent Island) โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์ IT 2000 หรือ "IT 2000 Masterplan" ซึ่งกำหนดเป้าหมาย พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ส่งเสริมกลไกทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงสังคมทั้งในระดับชาติและระดับโลก และส่งเสริมศักยภาพของบุคคล โดยมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National IT Committee) และคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Computer Board) หรือ NCB เป็นองค์กรสำคัญในการปฏิรูปดังกล่าว

2) การปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้สิงคโปร์ เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดแผนเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Technology Plan : NTP) เพื่อสร้าง "Singapore Technology Corridor" ให้เป็นที่ตั้งสถาบันและศูนย์การวิจัยและพัฒนา แหล่งอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าสูงทางเทคโนโลยี และสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบในการดำรงชีวิต จัดตั้ง Science Park เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มี Technology Month เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมในการวิจัยและพัฒนา โดยมีการมอบรางวัลเกียรติยศระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่บุคคลและภาคธุรกิจ เอกชน นอกจากนั้น ยังกำหนดแผนพัฒนาสังคม โดยเน้นการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสร้างความเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ในการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Board) หรือ NSTB เป็น องค์กรสำคัญ

3) การปฏิรูปนวัตกรรม

ได้ส่งเสริมนักนวัตกรรมเพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ กำหนดแผนพัฒนานวัตกรรม (Innovation Development Scheme) และแผนให้ความช่วยเหลือนักนวัตกรรม (Innovator’s Assistance Scheme : IAS) ในการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ จัดตั้งสมาคมนักนวัตกรรม (Innovators’ s Club) และศูนย์นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Center for Strategic Process Innovation : CSPI) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดฝึกอบรมโดยนำนวัตกรรมต่าง ๆ ไปใช้ เพื่อให้องค์กรปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ในการส่งเสริมนวัตกรรมมี NSTB เป็นผู้วางแผนดำเนินงานและให้การสนับสนุน

4) การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (Skill Development)

ได้กำหนดแผนสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนจัดฝึกอบรมให้แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานโดยรัฐให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือด้านงบประมาณ และให้สถาบันการศึกษาทางเทคนิค (Institute of Technical Education : ITE) ร่วมกับภาคธุรกิจจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับความรู้และทักษะฝีมือแรงงาน

5) การปฏิรูปอุดมศึกษา

เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) หรือ NUS ได้พัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2000 จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการวิจัย

NUS ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย และผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 5% แรกของสถาบันยอดเยี่ยมของโลก สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) หรือ NTU ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการศึกษาระดับนานาชาติ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 NTU ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ NTU ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 สถาบันเทคโนโลยียอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ส่วนสถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Institute of Education : NIE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NTU ก็มุ่งสร้างความเป็นเลิศในการวิจัยการศึกษา โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เรียกว่า "NIE Center for Educational Research : NIECE" และศูนย์ผู้บริหารที่เรียกว่า "Principals’ Education Center" เพื่อให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาวิชาชีพครูและผู้บริหารโรงเรียนในระดับนานาชาติ

*** เงื่อนไขความสำเร็จ

วิสัยทัศน์ผู้นำ
   
นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญลำดับแรกที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองอนาคตได้อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาได้ตรงจุด


ถ้าสิงคโปร์ได้เอกราชเมื่อ33 ปีก่อน ก็ตรงกัีบ ค.ศ.1976  ซึ่งเป็นเวลาที่สหรัฐยกเลิกการผูกติดค่าเงินกับทองคำ
ได้ 5 ปี (1971 สหรัฐยกเลิกข้อตกลงการแลกดอลลาร์กับทองคำ ทำให้ราคาทองต่อดอลลาร์เป็นไปตามกลไกตลาด)
นับเ้ป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับสิงคโปร์

การเติบโตในยุคเริ่มต้นของดอลลาร์ภิวัฒน์
การเป็นเมืองท่าค้าขาย
การขาดแคลนทรัพยากรพื้นฐาน
การไ้ด้ผู้นำที่เก่ง(เก่งอย่างนี้ ใช้คำว่าผู้นำได้ครับ)
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์มีวันนี้

......................................
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ

การศึกษาให้ความรู้
ความรู้จะมีค่าเมื่อได้นำไปก่อประโยชน์

ผมยอมรับว่า ประเทศเราให้ความสำคัญกับการศึกษาไม่มาก
แต่ผมก็มีคำถามว่า เราได้ใช้ความรู้จากคนที่ได้รับการศึกษาอย่างสมศักยภาพหรือยัง

การขยายการศึกษาทั้งแง่คุณภาพและปริมาณ
ต้องทำควบคู่กับการเพิ่มโอกาสในการใช้ความรู้

วันนี้หากเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 สิ่ง คือ
การศึกษา และ การให้โอกาสใช้ความรู้

ผมสรุปให้ตัวเองว่า ประเทศเรา การศึกษา นำ การให้โอกาสใช้ความรู้ อยู่หลายช่วงตัว

มันเหมือนขั้นบันไดแหละครับ
แต่ละขั้นต้องส่งเสริมคู่กันไป




      บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #11 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2552, 10:17:13 »

ขอบคุณพี่ ดร.มนตรี สำหรับความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ผมว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว C-madong แน่นอนครับ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #12 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2552, 20:26:06 »

มาอ่านมุมมองพี่ yc  ... น่าสนใจครับพี่  ขอบคุณครับ ...



สวัสดีครับน้อง EdDy_Smart81  ขอบคุณครับ  ^_^
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #13 เมื่อ: 14 มกราคม 2553, 18:33:02 »

สงกรานต์ปีนี้มีใครไปเที่ยว ไทเป มั๊ยครับ ...  ช่วงสงกรานต์ ผมได้รับเชิญไปพูดที่นั่น  ...

พี่น้อง หากมาเที่ยว ก็แวะมาเยี่ยมกันนะครับ เดี๋ยวเลี้ยงหนม และจะพาเยี่ยมชมเทคโนโลยี  4G  ^_^  


ปล.

บ้านเรา 3G ยังไม่ไปไหนเลย ต้องไปพูดเรื่อง 4G ให้ต่างชาติฟังแทน ...  เอิ่มม

เพราะชาวโลกเขาไป 4G กันแล้ว... เสียดายโอกาสของประเทศจริงๆ   สะใจจัง



http://asia.wimax-vision.com/

      บันทึกการเข้า
demagogue
มือใหม่หัดเมาท์
*


ไม้ซีก งัด อำนาจเงิน
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 108

« ตอบ #14 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 02:02:56 »

ทานโทษครับ ท่านผู้อ่าน ไม่ทราบแรงบันดาลใจอะไรทำให้กระผมหลุดเข้าไปค้นพบบทความเกี่ยวกับสิงคโปร์ ของ รศ.ดร.วินัย   รังสินันท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย นานาชาติแสตมฟอร์ด จาก url นี้
http://74.125.155.132/search?q=cache:0fqOKhKqqQEJ:www.cpu.ac.th/2008/File/ppt/Education%2520Singapore.ppt+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C&cd=1&hl=en&ct=clnk&gl=us
เหมือนกันเปี๊ยบกับที่ ท่าน ดร.มนตรี กรุณาเขียนลงในเวบนี้
เลยไม่รู้ว่าใครเอาของใครมาโดยลืมให้เครดิตกัน(ทางวิชาการถือว่า "สำคัญมาก" นะครับ)
หรือถ้ามองในแง่ดี ก็อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้มามีไอเดียเหมือนกัน(เปี๊ยบ)

ถ้า ดร.วินัย เป็นเจ้าของบทความ ผมก็ขอถือโอกาสขอบคุณแทนชาวเวบที่ได้รับความรู้จากท่าน และ ขอขอบคุณ ดร.มนตรี ที่เป็น "ผู้นำสาร" มาแจกจ่าย

ขณะเดียวกัน....

ถ้า ดร.มนตรี เป็นเจ้าของบทความ ผมก็ขอถือโอกาสขอบคุณแทนชาวเวบที่ได้รับความรู้จากท่าน และ ขอติเตียน ดร.วินัย ที่เอาความคิด ดร.มนตรี ของเราไปใช้ โดยมิได้ให้เครดิตแม้แต่น้อยครับ....
      บันทึกการเข้า
demagogue
มือใหม่หัดเมาท์
*


ไม้ซีก งัด อำนาจเงิน
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 108

« ตอบ #15 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 02:21:38 »

เรื่องนี้สำคัญมาก และ อันตรายมาก นะครับ ในการอ้างอิงทางวิชาการ
เพราะถ้าใครไป search ใน google หาข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ แล้วพบเจอว่าเป็นผลงานของ ดร.วินัย แล้วเอาไปอ้างอิงต่อโดยให้เครดิตต่อ ดร.วินัย  ท่าน ดร.มนตรี จะรู้สึกอย่างไร  งานนี้ ดร.มนตรี ต้องฟ้อง ดร.วินัย นะครับ เพื่อรักษาเกียรติภูมิ และปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของท่าน และศักดิ์ศรีของบอร์ดซีมะโด่งของเรา ที่เป็นต้นทางของบทความ
แต่.......

ในทางกลับกัน..... ในทางกลับกัน..... ในทางกลับกัน..... ในทางกลับกัน..... ในทางกลับกัน..... ในทางกลับกัน..... ในทางกลับกัน..... ในทางกลับกัน.....

(ผมเองก็สงกะสัย ตะหงิดๆ ว่า มันจะ ในทางกลับกัน..... เสียละมากกว่านะครับ)

พล.อ.ท.ผศ.ดร.นพ.มรว.มีตรน  ล้นถ้วยชา (เจ้าเก่า)
      บันทึกการเข้า
demagogue
มือใหม่หัดเมาท์
*


ไม้ซีก งัด อำนาจเงิน
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 108

« ตอบ #16 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 02:47:15 »

ผมขอออกมาดักคอไว้ก่อนเลยนะครับว่า ดร.วินัย จะต้องออกมาแก้ตัวน้ำขุ่นๆว่า

"ก็เห็นเป็นเวบบอร์ดเล็กๆ เฉพาะกลุ่มสมาชิกชุมชน เลยพลั้งเผลอไม่ได้ให้เครดิตแก่เจ้าของบทความ" อะไรทำนองนี้


แต่พวกเราชาวซีมะโด่งต้องยืนหยัด สนับสนุน ดร.มนตรี ของเราให้เอาเรื่องให้ได้นะครับ 


อะไรกัน วิชาการก็ยังปล้น....ทำไปด๊ายยยยยย

พล.อ.ท.ผศ.ดร.นพ.มรว.มีตรน  ล้นถ้วยชา (เจ้าเก่า)
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #17 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 03:07:01 »

เท่าที่พิจารณาดูจากหลักฐานวันเวลาต่างๆ บทความนี้ก็คงเป็นของดร.วินัยแหละครับ
และเท่าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ดร.มนตรี ก็ไม่ได้อ้างว่าตัวเองเป็นผู้เขียนแต่อย่างใด
ดร.มนตรีคงจะเผลอไป หลงลืมในอันที่จะอ้างแหล่งที่มาของเอกสาร
...
ผมก็อยากจะให้ ดร.มนตรี รีบออกมาโพสท์ขอโทษดร.วินัย ที่ไม่ได้อ้างว่าเป็นผลงานของดร.วินัย
พร้อมทั้งขอโทษชาวซีมะโด่งดอทคอม ที่ความพลั้งเผลอครั้งนี้ของดร.มนตรี อาจทำให้พวกเราเข้าใจผิด
...
และผมก็อยากขอร้องให้คุณ demagogue ได้เห็นแก่สิ่งที่พวกเรามีอยู่ร่วมกัน
คือการมีรากมาจากแหล่งเดียวกัน...สิ่งที่เราควรจะมอบให้แก่กัน ควรจะเป็นความรัก เมตตา และการให้อภัย
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #18 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 07:42:26 »

อ้างถึง
ข้อความของ demagogue เมื่อ 09 มีนาคม 2553, 02:47:15
ผมขอออกมาดักคอไว้ก่อนเลยนะครับว่า ดร.วินัย จะต้องออกมาแก้ตัวน้ำขุ่นๆว่า

"ก็เห็นเป็นเวบบอร์ดเล็กๆ เฉพาะกลุ่มสมาชิกชุมชน เลยพลั้งเผลอไม่ได้ให้เครดิตแก่เจ้าของบทความ" อะไรทำนองนี้


แต่พวกเราชาวซีมะโด่งต้องยืนหยัด สนับสนุน ดร.มนตรี ของเราให้เอาเรื่องให้ได้นะครับ 


อะไรกัน วิชาการก็ยังปล้น....ทำไปด๊ายยยยยย

พล.อ.ท.ผศ.ดร.นพ.มรว.มีตรน  ล้นถ้วยชา (เจ้าเก่า)


อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 09 มีนาคม 2553, 03:07:01
เท่าที่พิจารณาดูจากหลักฐานวันเวลาต่างๆ บทความนี้ก็คงเป็นของดร.วินัยแหละครับ
และเท่าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ดร.มนตรี ก็ไม่ได้อ้างว่าตัวเองเป็นผู้เขียนแต่อย่างใด
ดร.มนตรีคงจะเผลอไป หลงลืมในอันที่จะอ้างแหล่งที่มาของเอกสาร
...
ผมก็อยากจะให้ ดร.มนตรี รีบออกมาโพสท์ขอโทษดร.วินัย ที่ไม่ได้อ้างว่าเป็นผลงานของดร.วินัย
พร้อมทั้งขอโทษชาวซีมะโด่งดอทคอม ที่ความพลั้งเผลอครั้งนี้ของดร.มนตรี อาจทำให้พวกเราเข้าใจผิด
...
และผมก็อยากขอร้องให้คุณ demagogue ได้เห็นแก่สิ่งที่พวกเรามีอยู่ร่วมกัน
คือการมีรากมาจากแหล่งเดียวกัน...สิ่งที่เราควรจะมอบให้แก่กัน ควรจะเป็นความรัก เมตตา และการให้อภัย


ข้อมูลที่เอามาแชร์ ตัดมาจากบางส่วนของไฟล์ Word ที่มีอยู่ครับ และถ้าเจ้าของบทความเป็น ดร.วินัย ขออนุญาตให้เครดิต ท่านนะครับ
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #19 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 09:03:25 »

อะอ้าว .. แล้วกัน !?!       งง งง

      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #20 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 10:01:33 »

ผมก็อยากจะให้ ดร.มนตรี รีบออกมาโพสท์ขอโทษดร.วินัย ที่ไม่ได้อ้างว่าเป็นผลงานของดร.วินัย
พร้อมทั้งขอโทษชาวซีมะโด่งดอทคอม ที่ความพลั้งเผลอครั้งนี้ของดร.มนตรี อาจทำให้พวกเราเข้าใจผิด
...(ดร.สุริยา)

ข้อมูลที่เอามาแชร์ ตัดมาจากบางส่วนของไฟล์ Word ที่มีอยู่ครับ และถ้าเจ้าของบทความเป็น ดร.วินัย ขออนุญาตให้เครดิต ท่านนะครับ( ดร.มนตรี )



งงงง...... งง งง งง งง งง งง งง งง
ใครขอโทษใคร แล้วยังหว่า..Huh?Huh??
เหอๆๆ เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #21 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 10:16:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 09 มีนาคม 2553, 10:01:33
ผมก็อยากจะให้ ดร.มนตรี รีบออกมาโพสท์ขอโทษดร.วินัย ที่ไม่ได้อ้างว่าเป็นผลงานของดร.วินัย
พร้อมทั้งขอโทษชาวซีมะโด่งดอทคอม ที่ความพลั้งเผลอครั้งนี้ของดร.มนตรี อาจทำให้พวกเราเข้าใจผิด
...(ดร.สุริยา)

ข้อมูลที่เอามาแชร์ ตัดมาจากบางส่วนของไฟล์ Word ที่มีอยู่ครับ และถ้าเจ้าของบทความเป็น ดร.วินัย ขออนุญาตให้เครดิต ท่านนะครับ( ดร.มนตรี )



งงงง...... งง งง งง งง งง งง งง งง
ใครขอโทษใคร แล้วยังหว่า..Huh?Huh??
เหอๆๆ เหอๆๆ


ไม่ได้ขอโทษด้วยเหตุผล 2 ประการครับ

1. ยังไม่แน่ใจว่า Original ของบทความจริงๆ คือท่านใด เนื่องจาก เข้าไปดูตามลิงค์ มีอ้างอิง ไปที่: http://www.onec.go.th/publication/4210045/summary.htm  (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา)


2. ไฟล์ Word ที่ผมมีอยู่ ไม่ได้ระบุที่มาของผู้เขียนครับ และการนำเสนอเพียงต้องการแชร์ข้อมูลที่มีอยู่และเห็นว่าเป็นประโยชน์เท่านั้น ไม่ได้นำไปหาผลประโยชน์ทางวิชาการใดๆ จึงมั่นใจว่าไม่ได้กระทำผิด ถึงขั้นต้องขอโทษ


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #22 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 10:41:11 »

อย่างไรก็ดี ขอบคุณพี่ป๋อง มากนะครับ สำหรับ ข้อแนะนำ ...

หรือหากผมใช้วิจารณญาณ ผิดพลาดประการใด ยินดีรับคำชี้แนะนะครับ พี่ ^_^





ด้วยความเคารพ ครับ
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #23 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 11:00:28 »

ขออนุญาต พี่ ๆ  รวมทั้งพี่ demagogue  และพี่โอ๊ะ ที่เคารพนับถือ ทุกท่าน

หากล่วงเกินก็ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง มา ณ ที่นี้ค่ะ  sorry


---------------------------------------------------------------------------------

หนูเคยมีหนังสือเล่มนี้ค่ะ  น่าจะใช่เล่มเดียวกัน
นับตั้งแต่ สกศ. ลงเนื้อหาออนไลน์แล้ว เล่มนี้จึงถูกย่อยสลายไปในทันที

เนื้อหาไม่ใช่ของ รศ.ดร.วินัย   รังสินันท์  อย่างแน่นอนค่ะ

เป็นของคณะนักวิจัยจาก สกศ. จำชื่อไม่ได้แล้วค่ะ ตีพิมพ์ปี 2541

---------------------------------------------------------


เมื่อดูจาก บทสรุปที่พี่ให้ลิ้งค์มา ก็น่าจะเป็นเล่มเดียวกัน

"สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ 33 ปีก่อนได้"



ด้วยความเคารพนับถือทุกท่านค่ะ    sorry




--------------------------------------------

ถ้าไม่ใช่โปรดชี้แนะหนูด้วยนะคะ  อาจให้ข้อมูลผิดค่ะ  sorry
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #24 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 11:14:18 »

อ้างถึง
ข้อความของ BU_MEE เมื่อ 09 มีนาคม 2553, 11:00:28
ขออนุญาต พี่ ๆ  รวมทั้งพี่ demagogue  และพี่โอ๊ะ ที่เคารพนับถือ ทุกท่าน

หากล่วงเกินก็ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง มา ณ ที่นี้ค่ะ  sorry


---------------------------------------------------------------------------------

หนูเคยมีหนังสือเล่มนี้ค่ะ  น่าจะใช่เล่มเดียวกัน
นับตั้งแต่ สกศ. ลงเนื้อหาออนไลน์แล้ว เล่มนี้จึงถูกย่อยสลายไปในทันที

เนื้อหาไม่ใช่ของ รศ.ดร.วินัย   รังสินันท์  อย่างแน่นอนค่ะ

เป็นของคณะนักวิจัยจาก สกศ. จำชื่อไม่ได้แล้วค่ะ ตีพิมพ์ปี 2541

---------------------------------------------------------


เมื่อดูจาก บทสรุปที่พี่ให้ลิ้งค์มา ก็น่าจะเป็นเล่มเดียวกัน

"สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ 33 ปีก่อนได้"



ด้วยความเคารพนับถือทุกท่านค่ะ    sorry




--------------------------------------------

ถ้าไม่ใช่โปรดชี้แนะหนูด้วยนะคะ  อาจให้ข้อมูลผิดค่ะ  sorry


ขอบคุณครับ น้อง BU_MEE ^_^

ปล.

พี่น้องท่านใดมีข้อเสนอแนะยินดีนะครับ ต้องขออนุญาตทำงานต่อหล่ะ ว่างแล้วจะเข้ามาดูใหม่ ^_^
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1] 2 3 ... 9  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><