22 พฤศจิกายน 2567, 13:33:25
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: WiMAX: ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ ที่ยังไม่มี WiMAX ให้บริการ...  (อ่าน 9700 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552, 09:00:33 »

WiMAX เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง  ที่จะพัฒนาไปเป็น 4 G...ปัจจุบัน ให้บริการแล้วกว่า 148 ประเทศทั่วโลก

รอบบ้านเราเปิดให้บริการครบแล้ว ไม่เว้นแม้แต่ ... ลาวและเขมร ... ประเทศไทย ... เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ ที่ยังไม่มีบริการ WiMAX


สมาคมจีเอสเอ็ม เผยไทยหลุดแผนที่ บริการเครือข่ายไวแมกซ์อาเซียน

สมาคมจีเอสเอ็มเอ (GSMA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ออกแถลงการณ์ว่า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลเวียดนามบุกเบิกเครือข่ายโมบาย บรอดแบนด์ (ไวแมกซ์) ในเวียดนาม  และมีแผนเปิดให้บริการตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป

เพื่อรองรับความต้องการเครือข่ายบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว

นายริคาร์โด ทาวาเรส รองประธานอาวุโสฝ่ายนโยบายสาธารณะ สมาคมจีเอสเอ็มเอ กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นก้าวย่างสำคัญยิ่งของเวียดนาม ทั้งในแง่ของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม โดยถือเป็นการบุกเบิกบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศซึ่งประชากรกว่า 66% มีโทรศัพท์มือถือใช้ แต่มีเพียง 3% ที่สามารถใช้เครือข่ายบรอดแบนด์ที่บ้านได้

“ปัจจุบันไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังไม่มีการให้บริการบรอดแบนด์บนอุปกรณ์มือถือ ในขณะที่การวิจัยหลายสำนักพบว่าเครือข่ายบรอดแบนด์ ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงหวังว่าไทยจะอ้าแขนรับเครือข่ายโมบายล์บรอดแบนด์เช่นเดียวกับที่เวียดนามทำ” นายทาวาเรสกล่าว

ทั้งนี้ บริษัท 4 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ให้บริการเครือข่ายโมบาย บรอดแบนด์ ในเวียดนาม ประกอบด้วย เวียดเทล, วินาโฟน, โมบิโฟน และบริษัทหุ้นส่วน อีวีเอ็น เทเลคอม กับฮานอย เทเลคอม

ขณะที่ รายงานข่าวระบุว่า นอกเหนือจากได้รับอนุญาตให้บริการไวแมกซ์แล้ว บริษัททั้ง 4 รายยังได้รับใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ในเวียดนามด้วย

ก่อนหน้านี้ บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น ยังได้เปิดเผยผลการศึกษาถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่ประเทศในอาเซียนจะได้รับหากมีการจัดสรรคลื่นและให้ใบอนุญาตบริการไวแมกซ์ ซึ่งสะท้อนว่ายิ่งมีขนาดประชากรมาก ก็จะยิ่งกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก

ผลการศึกษาดังกล่าวครอบคลุม 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย คาดว่าจะเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงค่าใบอนุญาต 1,066 ล้านดอลลาร์, ฟิลิปปินส์ 407 ล้านดอลลาร์, เวียดนาม 387 ล้านดอลลาร์, มาเลเซีย 125 ล้านดอลลาร์ ส่วนประเทศไทยนั้น หากจัดสรรคลื่นและให้ใบอนุญาตในช่วงนี้ จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 284 ล้านบาท แต่หากยิ่งช้าตัวเลขนี้จะลดลงเรื่อยๆ แต่ละปี

นอกจากนี้ ใบอนุญาตใหม่ยังจะช่วยสร้างมูลค่าส่วนเกินที่เกิดจากการใช้งานของผู้บริโภค โดยอินโดนีเซีย คาดว่าตัวเลขจะอยู่ในระดับ 19,197 ล้านดอลลาร์, ฟิลิปปินส์ 7,330 ล้านดอลลาร์, เวียดนาม 6,966 ล้านดอลลาร์, มาเลเซีย 2,246 ล้านดอลลาร์ และไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 5,106 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวอ้างอิงจากข้อมูลที่อินเทล แคพปิตอล เข้าไปร่วมลงทุนไวแมกซ์ในประเทศต่างๆ และอยู่บนพื้นฐานของการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เป็นใบอนุญาตแบบทั่วประเทศ และแต่ละรายได้รับการจัดสรรแถบความถี่รายละ 30 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่จะสอดคล้องกับการคืนทุนภายใน 6.5 ปี


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #1 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552, 09:02:51 »


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=tJagfc4O590" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=tJagfc4O590</a>

ที่มา:

- ไทยรัฐออนไลน์
- รายการ 168 ชั่วโมง


ขณะนี้ การใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยได้เติบโตขึ้นจากหลายปีก่อน จากเดิมเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เคยพูดถึงบรอดแบนด์ 1 ล้านพอร์ต แต่ปัจจุบันเมื่อจำนวนการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่เป็นเป้าหมายต่อไปคือ การทำให้พื้นที่บริการครอบคลุมไปยังทุกส่วนของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือไวแมกซ์ ที่ล่าสุดได้ทดลองให้บริการนำร่องในพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดเชียงราย โดยบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีไวแมกซ์ใช้งาน แต่ส่วนหนึ่งยังไม่ทราบว่าไวแมกซ์นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ประเทศไทยพร้อมให้บริการหรือไม่ แล้วเมื่อผู้ให้บริการได้รับอนุญาตจาก กทช.ให้ดำเนินการให้บริการเชิงพาณิชย์ จะพร้อมเปิดให้บริการได้เมื่อใด

ผู้ที่ตอบคำถามนี้ได้ คงหนีไม่พ้น ดร.มนตรี เจริญศรี ผู้อำนวยการโครงการไวแมกซ์ บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ผู้รับผิดชอบโครงการ และเป็นแกนหลักคนหนึ่งของไทยในไวแมกซ์ฟอรัม ส่วนมุมมองต่อภาพรวมโครงสร้างอินเทอร์เน็ตเมืองไทย และการนำไวแมกซ์ไปใช้งานจะเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้ ณ บัดนี้...

IT Digest: มุมมองภาพรวมของโครงสร้างเครือข่ายบรอดแบนด์เมืองไทย

ดร.มนตรี: ขณะนี้ ตลาดอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีศักยภาพ (Potential Market) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอัตราส่วนประชากรต่อจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปี 2551 อยู่ที่ 20.5% และจํานวนผู้ใช้บริการมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 มีจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น 13,416,000 ราย เพิ่มสูงขึ้นถึง 483.3% เทียบกับปี 2543 สําหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ มีแนวโน้มขยายตัวแบบก้าวกระโดด ด้วยอัตราส่วนประชากรต่อจํานวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในปี 2551 อยู่ที่ 1.6% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 17.3% ในปี 2556 ในขณะที่ตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ มีจํานวนผู้ใช้งานลดลงอย่างชัดเจนนับจากปี 2548 เป็นต้นมา

เนื่องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ประจําที่ หรือ ฟิกซ์ไลน์ เช่น ทีทีแอนด์ทีเห็นว่า โทรศัพท์ประจำที่มีศักยภาพตลาดที่ลดลง จึงหันมาให้ความสนใจ และเตรียมที่จะส่งเสริมกิจกรรมการตลาดในบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น และต้องการขยายไปสู่การให้บริการ IP-based transit แก่ผู้ให้บริการรายย่อย รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้บริการไวแมกซ์ (WiMAX) ในอนาคต เพื่อกระตุ้นความต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง และขยายจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าว ชัดเจนในเขตพื้นที่เมืองใหญ่ หรือ พื้นที่เชิงพาณิชย์มากกว่าในระดับภูมิภาคที่ การใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ยังคงขยายตัวเข้าแทนที่อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำได้ช้ากว่า เนื่องจากข้อจํากัดด้านโครงข่ายและเทคโนโลยี

IT Digest: ปัญหาและอุปสรรคในการขยายโครงข่าย และการให้บริการรอดแบนด์

ดร.มนตรี: สำหรับในประเทศไทย รูปแบบการให้บริการบรอดแบนด์ ยังเป็นการให้บริการที่เน้นในเขตชุมชนอยู่ เนื่องจากพิจารณาในเชิงความคุ้มค่าต่อการลงทุน (Return on Investment) และปัญหาหลักๆ คือ สายเคเบิลทองแดงของไทยนั้น มีประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยจุดนี้แก้ปัญหาได้โดยการเปลี่ยนจากสายทองแดง เป็นเคเบิลไยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออปติคแทน แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในขณะนี้ WIMAX เป็นคำตอบของทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับการขยายการบริการ และโครงข่ายที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

IT Digest: ไวแมกซ์ เหมาะสมกับเมืองไทยมากน้อยแค่ไหนและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยได้ใช้ไวแมกซ์ช้ากว่าเพื่อนบ้าน

ดร.มนตรี: จากเหตุผลที่เล่าไปแล้ว ด้วยข้อจำกัดของการใช้งานระบบ ADSL ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจำกัดชุมสาย ระยะทางระหว่างผู้ใช้กับชุมสาย รวมถึงจำนวนของโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการได้ ทำให้กลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่อาศัยถูกจำกัด ไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการ รวมถึงการพยายามทำให้สัญญาณอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เข้าถึงพื้นที่ในชนบท

ดังนั้น การนำ WiMAX มาใช้จะตอบโจทย์ดังกล่าว และเกิดบริการต่างๆ ที่เรียกกันว่า ทริปเปิ้ลเพลย์ คือ บริการเสียง บริการภาพ และบริการเนื้อหา ในเครือข่ายเดียวได้มากขึ้นด้วย เช่น การพูดคุยผ่านทางอินเทอร์เน็ต (VoIP) เป็นต้น ซึ่งก้าวต่อไปของการพัฒนาคือการทำให้เป็น Home Gateway ขณะนี้ ในกลุ่มยุโรป และสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศที่เจริญแล้วในเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน ได้มีการเปิดให้บริการแล้ว สำหรับไวแมกซ์แล้วจำเป็นต้องได้รับไลเซนต์ หรือ ใบอนุญาตการให้บริการ หากยังไม่มีไลเซนต์ ก็ยังไม่สามารถให้บริการไวแมกซ์ได้ นั่นคือสาเหตุที่คนไทยได้ใช้งานไวแมกซ์ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน

IT Digest: จากการลองใช้งานจริงที่ ม.แม่ฟ้าหลวง ตอบสนองความต้องการได้อย่างไรบ้าง

ดร.มนตรี: โครงการที่ ม.แม่ฟ้าหลวงมีชี่อว่า “โครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ กทช. โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา อีกทั้งยังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สู่โรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ชนบท ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายครู ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และ เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาอาชีพของชุมชนในชนบท

จากโครงการฯ นี้เยาวชนไทยในชนบทจะได้รับการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา โดยสาระสำคัญคือการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา โดยโครงการต้นแบบนี้ เริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยเทคโนโลยีหลักที่ใช้ คือ ไวแมกซ์ ที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันนี้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนจำนวนหลายหมื่นคน บริเวณพื้นที่รัศมีโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวนทั้งสิ้น 21 โรงเรียนจะเป็นเยาวชนกลุ่มแรกที่ได้ใช้งานไวแมกซ์

การนำไวแมกซ์ มาใช้ในด้านการศึกษา จะช่วยเติมเต็ม และต่อยอดด้านการศึกษาให้กับเยาวชนไทย ช่วยลดช่องว่างด้านการเรียนรู้ เนื่องด้วย ไวแม็กซ์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่มีรัศมีการรับส่งสัญญาณกว้างไกล สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้หลายตารางกิโลเมตร และยังมีความเร็วสื่อสารข้อมูลสูงกว่าเทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบันหลายเท่า ทั้งนี้ ไวแมกซ์ สามารถรองรับการให้้บริการระบบงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ การสื่อสารข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet) ข้อมูลภาพ (Video) และข้อมูลเสียง (VoIP) อีกทั้ง ไวแม็กซ์ ยังสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการบริการแบบมีสายเช่นในอดีต

ไวแม็กซ์ในโครงการฯ นี้ใช้เพื่อการสื่อสารและประยุกต์ ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อาทิเช่น การใช้งานระบบห้องสมุดดิจิตอล (E-Libraries) ระบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ซึ่งเป็นการจำลองห้องเรียน บทเรียน องค์ความรู้ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันมาเรียนกันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารไร้สายไวแม็กซ์ ซึ่งจะส่งผลให้ลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ก่อให้เกิดการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere-Anytime) ในลักษณะปฏิสัมพันธ์จริงระหว่างคุณครู และนักเรียนด้วยสื่อผสม (Multimedia-Edutainment) ทั้งภาพ เสียงและเนื้อหา ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนไปในคราวเดียวกัน เป็นการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายครู อาจารย์และนักเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของครู อาจารย์และนักเรียน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย

โครงการนี้ อาศัยรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนในชุมชนทั้ง 21 โรงเรียน ด้วยการสนับสนุนจาก กทช.ทั้งนี้นอกเหนือจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาที่ เด็กจะไม่เป็นเพียงผู้เรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนรู้จากคุณครู (Supply-Side Learning) มาทำการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับคุณครูผู้สอน และระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน แบบไม่จำกัดแต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังแลกเปลี่ยนแบ่งปันระหว่างเพื่อนต่างห้องเรียน และแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันระหว่างโรงเรียน (Collaboration) ได้อีกด้วย

สิ่งที่กล่าวมาก่อให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ระหว่างเด็กนักเรียนด้วยกันเอง (Demand-Side Learning) นำไปสู่กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development) ในที่สุด ในอนาคตยังขยายรูปแบบและหลักการ ปฏิบัติในลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปัน เช่นนี้ เพื่อการสร้างความรู้ การสร้างงาน การพัฒนาอาชีพของชุมชน โดยหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมดนี้ ได้อิงตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษา

IT Digest: ทิศทางของทีทีแอนด์ที กับการใช้บรอดแบนด์ ผ่านไวแมกซ์

ดร.มนตรี: หาก กทช. ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้เทคโนโลยี WiMAX ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว ทีทีแอนด์ที จะดำเนินการต่อยอดโครงข่าย WiMAX ให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างครบถ้วนพัฒนาเป็นโซลูชั่นด้านการศึกษา คือ สมมุติว่า กทช.ออกใบอนุญาตภายใน ก.ค.2552 ทีทีแอนด์ทีจะให้บริการไวแมกซ์ได้ภายใน 6 เดือน หรือปลายปี 2552 หลังจากปรับปรุงโครงข่ายเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้แล้ว ยังจะสร้างโซลูชั่นเพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ได้ โดยจะนำประโยชน์จาก WiMAX มาพัฒนาเป็นโซลูชั่น ที่จะยังประโยชน์ให้แก่ลูกค้าในเชิงธุรกิจอีกด้วยโดยยึดหลัก 3 ประการสำหรับลูกค้าคือ 1.ลดค่าใช้จ่าย 2.สะดวกสบาย และ3.เพิ่มรายได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า เมื่อลูกค้าของห้างเดินเข้ามาในห้างสรรพสินค้าจะมี Pop-up โฆษณาสินค้า ประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นของทางห้าง ตลอดจนสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านแคตตาล็อคออนไลน์ ที่ปรากฏบนหน้าจออุปกรณ์เคลื่อนที่ อาทิ เน็ตบุ๊คหรือ โทรศัพท์มือถือที่รองรรับไวแม็กซ์ ได้ทันที

นอกจากนี้ สามารถนำประโยชน์จากไวแมกซ์ มาช่วยการในการติดต่อสื่อสารขององค์กรที่มีสำนักงานสาขาจำนวนมากได้ด้วย โดยใช้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ VoIP ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนค่าโทรศัพท์ขององค์กร รวมถึงการพัฒนาโซลูชั่นด้านความปลอดภัยเช่นระบบกล้องวงจรปิดไร้สาย ซึ่งจะทำให้ระบบการรักษาความปลอดภัยมีประหยัดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น

IT Digest: กลยุทธ์ของทีทีแอนด์ที ต่อการผลักดันสังคมไทยสู่องค์ความรู้เป็นอย่างไร

ดร.มนตรี: การผลักดันสังคมไทยสู่สังคมแห่งความรู้ หรือ Knowledgebase Society นั้นจำเป็นต้องร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน สำหรับทีทีแอนด์ที มองแนวคิดในเชิงของสังคมแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปัน โดยพื้นฐานนั้นสอดคล้องกับแนวคิดและการดำเนินการในโครงการต้นแบบฯ ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และกทช. โดยการเริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาสื่อและองค์ความรู้ การสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม ผลผลิต (Productivities) และคุณภาพการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนตลอดจนความยั่งยืนของโครงการฯ

IT Digest: หาก กทช.ไม่ออกใบอนุญาตไวแมกซ์ในปีนี้ ยังมีเทคโนโลยีทางเลือกอื่นๆ เพื่อให้บริการลูกค้าอีกหรือไม่

ดร.มนตรี: ขณะนื้ ระหว่างรอใบอนุญาตไวแมกซ์ ทีทีแอนด์ทีได้จับมือกับพันธมิตรคือ อินเทลและเบนคิว จัดทำโครงการ “MAX IQ โน๊ตบุ๊คอัจฉริยะ” “Max IQ โน๊ตบุ๊กอัจฉริยะ – ใช้เน็ตไม่อั้น” ผ่านบริการ Maxnet บรอดแบนด์และไวไฟ “Max IQ โน๊ตบุ๊กอัจฉริยะ – โทรหากันฟรี” บนบริการ VoIP และ “MAX IQ โน๊ตบุ๊คอัจฉริยะ – ความรู้ดีๆจาก E-Book Online” เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพใน การสอบเข้ามหาวิทยาลัย การเรียน และความรู้ทั่วไป ที่น่าสนใจอีกมากมาย เพื่อการสร้างสรรค์สังคมแห่งความรู้

จากประสบการณ์ที่เราได้ร่วมทำโครงการศูนย์ต้นแบบทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติ โดยมีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและกทช. เป็นผู้ริเริ่ม นั้น เราพบว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในโครงการฯ เพื่อการเข้าถึง หนังสือหรือบทเรียนออนไลน์ เยาวชนจะได้รับการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา โดยสาระสำคัญ คือ การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน

สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ลดข้อจำกัดด้านเวลา และสถานที่ก่อให้เกิดการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere-Anytime) ในลักษณะปฏิสัมพันธ์จริงระหว่างครู และนักเรียนด้วยสื่อผสม (Multimedia-Edutainment) ทั้งภาพ เสียงและเนื้อหา ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนไปในคราวเดียวกัน ถือเป็นการเตรียมบริการและคอนเทนท์ต่างๆ ให้พร้อมรอรับการให้บริการ เพื่อที่เมื่อมีการให้บริการจริง จะได้ไม่ต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่

IT Digest: มองการทำงานของกระทรวงไอซีที และกทช.ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และอยากให้เร่งดำเนินการด้านใดบ้าง

ดร.มนตรี: อยากให้กำลังใจคนทำงานทุกคนทั้งภาครัฐบาล เอกชน หรือ กทช. เวลานี้สังคมไทยของเรา ต้องให้กำลังใจกัน เหมือนกับเราเชียร์นักกีฬาไทย ที่ต้องออกไปแข่งขันกับต่างประเทศ เพื่อนำชัยชนะมาสู่ประเทศของเรา เมื่อ 28-29 เม.ย.2552 ที่ผ่านมา ส่วนตัวได้รับเกียรติเชิญ เข้าร่วมการบรรยายในงาน WiMAX Forum Congress ASIA ณ ประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับอีกหลายประเทศทั่วโลก สิ่งที่พบคือความตื่นตัวในการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการพัฒนาประเทศของหลายๆประเทศ อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของไวแมกซ์หากมองไปรอบๆบ้านเราพบว่า (ข้อมูลจาก WCIS: World Cellular Information Services) มาเลเซีย เริ่มให้บริการเมื่อ มิ.ย.2548 กัมพูชา เริ่มให้บริการเมื่อ ก.พ.2549 พม่า เริ่มให้บริการเมื่อ พ.ย.2550 และ ลาว เริ่มให้บริการเมื่อ ก.ย.2551

ในเมื่อประเทศไทยต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในเวทีโลก จึงต้องพยายามรู้เขารู้เรา พิจารณาดูว่าเพื่อนบ้านเขาไปถึงไหน แล้วเราอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ ทั้งภาครัฐและเอกชน อะไรที่ช่วยเหลือเสริมกันได้ควรจะลงมือทำ โดยทุกประเทศที่อยู่ในไวแมกซ์ฟอรัม ต่างมีนโยบายการใช้ไอซีทีพัฒนาประเทศเป็นวาระแห่งชาติ เมืองไทยอาจจะนำเอาตัวอย่างเหล่านี้ มาปรับใช้ ตรงไหนทำได้ หรือไม่ได้ต้องมาช่วยกัน ดังนั้นที่กล่าวมานี้จึงมองว่าเป็นเวลาที่คนไทยต้องให้กำลังใจกัน และช่วยกันมากกว่า

IT Digest: อยากฝากอะไรถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์บ้าง

ดร.มนตรี: ผมมีแนวคิดว่าอยากจะมอบ ซอฟแวร์ห้องเรียนเสมือนจริง และการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องให้กับ โรงเรียนต่างๆ ที่ต้องการ นำไปใช้ในการเรียนการสอน เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ทำขึ้นมานี้ จะมีประโยชน์มากพอสมควร อีกทั้งยังเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา สร้างการเรียนการสอนแนวใหม่ ไม่น่าเบื่อเด็กๆ ไม่ต้องมาอ่านตำราเพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตร่วมด้วยได้ ขณะเดียวกันเมื่อกลับมาที่การใช้อินเทอร์เน็ต ต้องใช้ให้คุ้มค่ากับประโยชน์ที่มีอยู่ เวลานี้การนำไวแมกซ์มาใช้งานยังไม่ช้าเกินไป เพราะเทคโนโลยีนี้ยังใหม่อยู่ได้อีกหลายปี

ขณะที่ การแข่งขันที่มากขึ้นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจากนี้ไป ก็เป็นโอกาสของผู้บริโภค ที่จะเลือกสินค้าที่คุ้มค่า และบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ไม่เป็นการผูกขาด อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกคนในสังคมอยู่ในโลกความเป็นจริง เปิดใจมองว่าสังคมกำลังก้าวไปทางไหน แล้วเราเดินไปร่วมกัน เพราะหากคนในประเทศทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ก็จะเกิดแนวทางการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน และการที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ จะไม่ใช่เรื่องยากที่จะไปให้ถึง...


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #2 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552, 09:13:03 »

ผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย


ปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากระแสความต้องการของการสื่อสารไร้สาย (Wireless Technology) ได้ส่งผลให้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (หรือ 3G), WiMAX และ Wi-Fi มีความโดดเด่นที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานของผู้ใช้ (Consumer Need) เนื่องด้วยโครงข่ายสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งานทางด้านการสื่อสารทางภาพ เสียง ข้อมูล รวมทั้งการเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ใช้งาน (Ubiquitous) ในราคาที่ถูกลงและสามารถใช้งานเคลื่อนที่ได้ จึงทำให้โครงข่ายสื่อสารไร้สายเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป



การออกใบอนุญาตการประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย จะสามารถกระตุ้นการลงทุนในภาค อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ ทั้งในด้านการลงทุนจากภาคเอกชน (ทั้งในและต่างประเทศ) ทำให้เกิดการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง ซึ่งการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สายมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด ทั้งนี้เนื่องจากใบอนุญาตเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลในยุคของการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นกระบวนการออกใบอนุญาตจึงต้องกระทำอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและบรรยากาศที่น่าเชื่อถือให้กับนักลงทุน โดยที่ผู้บริโภคได้รับบริการอย่างเป็นธรรมและการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด



จากความสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความล่าช้าในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย ทั้งในด้านการลงทุน การจ้างแรงงาน เศรษฐกิจและสังคม และปิดกั้นทางเลือกของประชาชนผู้ใช้บริการในการเลือกใช้เทคโนโลยีและบริการที่ทันสมัยและเหมาะสมกับความต้องการ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้เสนอความเห็นในเรื่องของ ผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย ต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 แล้ว โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้



1) ผู้มีอำนาจสามารถให้มีใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย (3G และ WiMax) ได้เร็วมากเท่าใด ก็จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ สังคมและเพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อการแข่งขันในระดับสากล



2) ควรมีการดำเนินการเร่งรัด ผลักดัน ให้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารไร้สาย (3G และ WiMax) โดยเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในหลาย ๆ ด้าน เช่น สามารถขยายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังประชาชนได้โดยเร็ว อีกทั้งจะเป็นตัวเลือกหนึ่งให้กับประชาชนได้เลือกใช้บริการ



3) หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู มูฟ จำกัด หรือหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างระบบเครือข่ายเพื่อให้บริการ ต่างมีความพร้อมในการให้บริการเทคโนโลยี 3G และ WiMax ย่อมไม่มีเหตุผลใดที่ผู้รับผิดชอบจะไม่ดำเนินการโดยรวดเร็วและชัดเจน เพื่อให้มีการให้ใบอนุญาตเพื่อประกอบการโดยเร็ว



4) ถ้ามีใบอนุญาต 3G และ WiMax เกิดขึ้น ก็ต้องมีลงทุนจากต่างประเทศ ลงทุนในประเทศ เป็นเม็ดเงินลงมา จะมีการจ้างงาน มีการซื้อของที่ผลิตในประเทศไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลเสาเพาเวอร์ ตู้เก็บคอนเทนเนอร์ จ้างการขนส่งอื่น ๆ ส่งผลให้มีกระแสเงินหมุนเวียนในสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยังเป็นการสร้างธุรกิจต่อเนื่องได้ กล่าวคือถ้ามีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่กระจายไปหลายที่ได้ ก็มีการสร้างธุรกิจต่อเนื่อง มีการสร้างแอปพลิเคชั่น (Application) และจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้ต่างประเทศใช้ในการตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย รวมถึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ ที่จะนำมาให้บริการกับประชาชนในแง่ของบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐหรือ E-government



ที่มา : senate.go.th


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552, 09:15:11 »



http://asia.wimax-vision.com/conference/speakers




WiMAX Market News

Forum says WiMAX to reach 133m users by 2012
June 2, 2008, TAIPEI (WiMAX Day). According to the WiMAX Forum, there will be an estimated 133 million subscribers to WiMAX services worldwide by 2012. Speaking at the first WiMAX Forum Operator Summit in Taipei, Ron Resnick, president ... continue...

WiMAX a national standard for US mobility
May 30, 2008, NEW YORK (WiMAX Day). A recent article in the journal Science forecast that in the near future, all laptop computers will be enabled with WiMAX, the same way that they are sold with WiFi today. According ... continue...

WiMAX Forum forecasts 133m WiMAX subscribers by 2012
March 31, 2008, BEAVERTON (WiMAX Day). The WiMAX Forum forecasts that there will be more than 133 million subscribers to WiMAX services around the world by 2012. The forecast is based on independent research, and will be released ... continue...

+100 million WiMAX subscribers by 2014
February 5, 2008, MONTREAL (WiMAX Day). The market research firm Maravedis has issued a new report that predicts subscribers to WiMAX services will total more than 100 million by 2014. According to Adlane Fellah, President and CEO of ... continue...

Investments in WiMAX will top US$30 billion in 2008
January 22, 2008, LONDON (WiMAX Day). The up-start technology known as WiMAX found itself on most of the "top ten" technology watch lists for 2008. All eyes are focussed on the abruptive technology that became an IMT standard ... continue...

Mobility will drive WiMAX chipsets
January 16, 2008, NEW YORK (WiMAX Day). A recent report from market research firm In-Stat says that growth in the burgeoning WiMAX chipset market will be driven primarily by mobile PC devices with embedded chips. "The total WiMAX ... continue...

Intel CEO says WiMAX is key to next generation of Internet
January 8, 2008, LAS VEGAS (WiMAX Day). In a keynote speech at the International Consumer Electronics show in Las Vegas yesterday, Intel Corporation President and CEO Paul Otellini drew a vivid picture for the next generation of the ... continue...

Juniper predicts 80m WiMAX subscribers
December 12, 2007, LONDON (WiMAX Day). Juniper Research issued a report this week that forecasts mobile WiMAX subscibers will grow ... continue...


Rapid growth for WiMAX market
December 7, 2007, LONDON (WiMAX Day). Infonetics Research reported this week the findings of a new reoport that indicate worldwide sales for both fixed and mobile WiMAX equipment increased 6% in Q3 2007 to US$206 million. In addition, ... continue...

More WiMAX investment in Taiwan
October 23, 2007, TAIPEI (WiMAX Day). The The Ministry of Economic Affairs (MOEA) in Taiwan announced that it agreed with some of the top WiMAX companies in the world that they would work to bring additional WiMAX investments ... continue...

21 million WiMAX subscribers in India
October 23, 2007, MONTREAL (WiMAX Day).  The market research firm Maravedis has released a new report that states the total number of WiMAX subscribers in India will reach 21 million by 2014. The report, entitled "INDIA Wireless Broadband ... continue...

WiMAX comes of age and gains IMT-2000 classification
October 19, 2007, GENEVA (WiMAX Day). At a meeting of the International Telecommunications Union (ITU) yesterday, it was agreed that a sixth new standard, “IMT-2000 OFDMA TDD WMAN,” be admitted to the family of IMT-2000 radio interface specifications. IMT-2000 ... continue...

200 million mobile WiMAX devices
October 18, 2007, NEW YORK (WiMAX Day). ABI Research has released a new study that states the global telecoms industry is about to undergo a major change as mobile WiMAX networks enter commercial operation. According to Philip Solis, ... continue...

Q2 mobile WiMAX market hits $144m
October 12, 2007, LONDON (WiMAX Day). The market research firm Infonetics released a report that says the market for mobile WiMAX equipment in Q2 2007 was US$144.5 million. The report notes this is an increase of 130% over ... continue...

Big WiMAX revenues for Gemtek and Zyxel
August 26, 2007, TAIPEI (WiMAX Day). The Taiwanese device manufacturers Gemtek and Zyxel are expected to turn revenues on WiMAX equipment of nearly US$30 million for 2007, according to market sources and a report in DigiTimes. The report notes ... continue...

Sprint forecasts $50billion WiMAX revenue in 2011
August 21, 2007, TYSONS CORNER (WiMAX Day). At a technology summit this week, Sprint Nextel executives presented their WiMAX vision to industry analysts and investors. The company told conference attendees that it would spend $2.8 billion on its ... continue...

      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2552, 19:18:49 »




WIMAX เป็นเทคโนโลยี่ ทาง Information Technology : IT ที่จะมาทำให้

รัฐบาล อีิเลคโทรนิค  E - Goverment  เก็บ และ ส่งข้อมูลทางอิเลคโทรนิค

หรือ Paperless แทนเก็บในรูป แฟ้มข้อมูลกระดาษเป็นจริงได้


เมื่อเราล้าหลังประเทศอื่น กระทรวง ICT ต้องเร่งจัดให้มีขึ้นโดยเร็ว และ

นำมาใช้ในด้านการดูแลสุขภาพประชาชน ให้เป็น ร.พ.ออนไลน์ เหมือน

ธนาคาร ออนไลน์ ที่่ทำบัญชีต่างสาขา สามารถดูข้อมูลปัจจุบันได้



ในด้านรักษาพยาบาล พณฯท่าน วิทยา แก้วภราดัย ร.ม.ต.กระทรวงสาธารณสุข

จะจัดให้มีวิธีจ่ายค่ารักษาจ่ายตามจริง ที่รับคนไข้เข้ารักษา แทนที่ จะจ่าย

ล่วงหน้ารายหัวให้ ร.พ.ในพื้นที่ แล้วให้ประชาชนต้องรักษาใกล้บ้าน

ซึ่งไม่สะดวกกับผู้รับบริการ


เมื่อมีระบบใหม่นี้ ประชาชนจะเลือก ร.พ.รักษาได้ตามความพึงพอใจ

ในบริการ ของแต่ละ ร.พ.เอง โดย จะจ่ายตามจริงที่ประชาชนเลือกใช้บริการ

มีราคามาตรฐาน ในการคิดโดยใช้

ระบบการวินิจฉัยโรคร่วม หรือ   DRG : Diagnostic Related Group

ที่ประเทศตะวันตก ใช้คิดค่าบริการที่มีหลักการ อย่างเหมาะสม


เมื่อ ร.พ.ให้การรักษาในแต่ละเดือน สามารถส่งข้อมูลการรักษาให้

สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ทางอีเลคโทรนิค แล้ว

สปสช.ตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูล แล้ว จ่ายเงิน

โอนเข้าบัญชีธนาคาร ของ ร.พ.ได้ตามความจริง

ดังนั้น แต่ละ ร.พ.ต้องพัฒนางานรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพ

ให้ประชาชนเชื่อถือ

ถ้าไม่มีคุณภาพ ก็จะไม่มีผู้เข้ารับบริการ เพราะ ประชาชนจะเลือก ร.พ.เองได้

โดยใช้ สิทธิบัตรประชาชน มาสเตอร์การ์ด ในการเข้า ร.พ.ใดก็ได้ในจังหวัด

ที่อาศัยอยู่ และ ต่อไปท่าน ร.ม.ต.วิทยา แก้วภราดัย ต้องการให้

ขยายเป็นใช้ได้ทั้งประเทศ  หลั่นล้า

สถานบริการรักษาพยาบาล สามารถดูข้อมูลประวัติการรักษาทาง

แฟ้มผู้ป่วยที่แต่ละ ร.พ.ที่ทำการรักษาจะต้องลงข้อมูลการรักษาไว้

ตามที่โพสท์เรื่อง จุดเปลี่ยนทางการแพทย์ด้วย IT ที่่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4044.0.html

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2552, 19:52:31 »

อยากใช้ WiMax เหมือนกันครับ
เรียนในห้องเรียนแล้ว รู้สึกว่าเรายังล้าหลังด้านไอทีจริงๆ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #6 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2552, 09:55:07 »

สวัสดีครับพี่สำเริง ...  ขอแสดงความนับถือ ความรู้พี่ทั้งรู้ลึกและรู้รอบ ^_^

สวัสดีครับน้องสน ...  พี่เพิ่มเติม Information ให้อีกนะครับ ปิ๊งๆ
----------------------------------------------------------------

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #7 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2552, 09:56:01 »

...
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #8 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2552, 09:56:28 »

..
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #9 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2552, 09:58:41 »

.
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #10 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2552, 10:06:55 »

โครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท ฯ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #11 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2552, 10:08:15 »

..
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #12 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2552, 10:09:20 »

..
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><