|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2552, 18:21:31 » |
|
คลังเตรียมแก้กฎหมายคุมค่ารักษาพยาบาล
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันเสาร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2552
พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมกรมบัญชีกลาง
คลังเตรียมแก้กฎหมายคุมค่ารักษาพยาบาล หลังแนวโน้มตัวเลขพุ่งสูงแตะหลัก 1 แสนล้านบาท ในปี"53 ส่งผลเป็นภาระงบประมาณของรัฐบาล
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมกรมบัญชีกลาง กล่าวในงานสัมมนา "หลักประกันความมั่นคงเพื่อการดำรงชีวิตที่มั่นใจ" ที่จัดโดยสมาคมประกันชีวิตไทย ว่า การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการในปัจจุบันโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เกษียณอายุราชการมีการเบิกจ่ายสูงมากทำให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงถึง 61,000 ล้านบาท ในปี 2552 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 70,565 ล้านบาท ในปี 2553 เพิ่มเป็น 105,220 ล้านบาท และสูงถึง 156,623 ล้านบาท ในปี 2563 เป็นภาระต่องบประมาณของรัฐบาล เพราะรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้กับราชการผ่านกองทุนประเภทต่างๆ เช่น กองทุนประกันสังคม ในการรักษาพยาบาลปัจจุบันที่ 200,000 ล้านบาทต่อปี จะเพิ่มเป็น 500,000 ล้านบาทใน 10 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง จึงต้องแก้ไขพระราชกฤษฎีกาค่ารักษาพยาบาล ปี 2523 รวมถึงกำหนดมาตรการต่างๆ ควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดความเหมาะสม เช่น กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ข้าราชการและบุคคลในครอบครัวหากทำประกันสุขภาพจะต้องเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกัน โดยห้ามเบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลาง ดังนั้น จึงต้องแก้ไขให้ข้าราชการและบุคคลในครอบครัวที่ทำประกันสุขภาพสามารถเบิกจ่ายทั้งจากบริษัทประกัน และกรมบัญชีกลาง โดยเบิกได้ทั้ง 2 ทาง รวมกันไม่เกินค่าใช้จ่ายจริง การแก้ไขให้ข้าราชการเบิกจ่าย ในการบำรุงรักษาดูแลรักษาสุขภาพ เพื่อไม่ต้องใช้เงินรักษาพยาบาลจำนวนมากเมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บในยามชรา
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขให้ข้าราชการรักษาพยาบาลรักษาโรงพยาบาลเอกชนได้ จากเดิมให้รักษาเฉพาะกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ การแก้ไขการขยายสิทธิ์ของบุคคลในครอบครัวสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ถึงแม้ว่าผู้มีสิทธิ์จะเสียชีวิตแล้วก็ตาม จากเดิมที่หากผู้สิทธิ์เสียชีวิตจะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ โดยการแก้ไขกฎหมายและส่งเสริมให้ประชาชนหันมาทำประกันชีวิตเพิ่มขึ้นจะต้องหารือกับสมาคมฯในกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้
นายกฤษฎา อุทยานิน ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า เพื่อลดภาระการพึ่งพางบประมาณดูแลสุขภาพส่วนหนึ่งต้องพยามหาประชาชนพึ่งพาต้นเองให้ความสำคัญในการออมเงินในยามเกษียณอายุ ขณะที่รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงาน สร้างความเข็มแข็งของชุมชนแห่งชาติจัดทำนโยบาบสนับสนุนสวัสดิการชุมชนให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชนให้ครอบคลุมตำบลทั่วประเทศ 7,938 แห่ง ใช้งบประมาณกว่า 4,528 ล้านบาท ในช่วงงบประมาณ ปี 2553-2555 เช่น ส่งเสริมการตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มออมธุรกิจชุมชน กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรออมทรัพย์ในชนบท มีอยู่ 64,952 องค์กร มีสมาชิกกว่า 16 ล้านคน มีเงินออมกว่า 15,798 ล้านบาท จึงต้องสนับสนุนให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น
ประกันขอเพิ่มลดหย่อนภาษีจาก 5 หมื่นเป็น 1 แสนบาท
นายสาระ ล่ำซ่ำ นายากสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การที่กระทรวงการคลังจะส่งเสริมให้ประชาชนและข้าราชการเข้ามาสู่ระบบประกันมากขึ้น จึงมีข้อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณานำเบี้ยประกันสุขภาพหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เกิน 50,000 บาทต่อปี เพราะขณะนี้ มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น ไข้หวัด 2009 รวมทั้งจะเป็นการลดภาระงบประมาณของรัฐบาล และจะเสนอขอให้นำค่าใช้จ่ายเบี้ยประกัน ในการซื้อประกันบำเหน็จบำนาญมาหักลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อดึงดูดให้ประชาชนเข้าสู่ระบบประกันมากขึ้น
เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านรักษาที่เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากจะลดสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาล ลงยังมีอีกวิธีหนึ่ง ทีอยากเสนอให้ ออกระเบียบให้ผู้ที่ไม่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เช่น ทานอาหารมากเกินไป ไม่ออกกำลังกาย โดยดูจาก ดัชนีมวลกาย ถ้ามากกว่า 25 หรือ ผู้หญิงรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว ผู้ชายรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว จัดว่าเป็นโรคอ้วน ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ มากกว่าคนดัชนีมวลกาย หรือ รอบเอวอยู่ในเกณฑ์ปรกติ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ ดังนั้น คนอ้วนควรร่วมจ่ายค่ารักษา ร่วมด้วย เช่น ร่วมจ่าย 20 % ของค่ารักษา เป็นต้น จะทำให้ประชาชนหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพ ป่วยน้อยลง ค่าใช้จ่ายก็จะลดลง และ ได้เงินเพิ่มจากผู้ไม่รักษาสุขภาพอีก ถ้าไม่มีจ่่ายให้แพทย์มีสิทธิเซ็นต์ฟรีให้ แต่ทำให้คนไข้ต้องยุ่งยากที่ต้องมาขอแพทย์เซ็นต์
พณฯท่าน วิทยา แก้วภราดัย ร.ม.ต.กระทรวงสาธารณสุข
ขอพวกเราที่เห็นด้วยร่วมกันขับเคลื่อนด้วยการเสนอ ท่าน ร.ม.ต.กระทรวงฯ พิจารณา และ สั่งการต่อไป
ข่าวค่ารักษาพยาบาลเพิ่ม นำมาจาก
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20091121/87629/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5.html
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
เจษฎา
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 31 มกราคม 2553, 13:21:44 » |
|
น่าขำตรงที่ สิ่งที่เป็นการป้องกันไม่ได้รับการสนับสนุน กลับต้องจ่ายเอง ในกรณีของทันตกรรมได้แก่การทำเคลือบหลุมร่องฟันทั้งที่ ลดอัตราการเกิดฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งการเคลือบฟลูออไรด์ ใช้ต้นทุนเวลาและทรัพยากรต่ำกว่าการบูรณะมากกอย่างไม่ต้องเอาสถิติมาจับก็วัดได้ชัดเจน
|
ไม่หล่อ แต่ไม่ค่อยว่าง
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 31 มกราคม 2553, 22:00:46 » |
|
ในวัยต่างๆกัน... สภาพของร่างกายก็ต่างกันไช่มั้ยคะ?
ที่โน่น คนวัยทำงาน จ่ายประกันสุขภาพ รายเดือน ทุกเดือน แพง แม้แทบไม่ป่วย แม้แทบไม่ได้ไปหาหมอสักกี่ครั้งในหนึ่งปี เมื่อมาคำณวณจำนวนเงินที่ต้องถูกหัก เข้าประกันสุขภาพ.
ถาม....ว่าทำไมไม่มีใครเรียกร้องขอยกเลิก ให้เรื่องประกันสุขภาพเป็นเรื่องรายบุคคล ส่วนตัว ป่วยก็จ่าย ไม่ป่วยก็ไม่จ่าย ?
ได้รับคำตอบว่า...เรื่องนี้เป็นพื้นฐานของตัววัด ความกินดีอยู่ดีของประชาชนพลเมืองโดยเท่า เทียมกัน เป็นสวัสดิการของรัฐสู่ประชาชน เป็น เรื่องของการพัฒนา...โรคภัย ไม่ไช่เรื่องอภิสิทธิ์ มีเงินรักษาก็รอด ไม่มีเงินรักษาก็เสี่ยงชีวิต... เค้าๆ คนวัยทำงาน เห็นว่าในระยะยาว เมื่อพวกเค้า หยุดทำงานในวัยสูงอายุ ความทรุดโทรมของอวัยวะ ก็ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้....ถึงตอนนั้น พวกเค้าจะใช้สิทธิ์! สิทธิ์โดยชอบธรรมที่ใครจะมา อ้างไม่ได้ว่าต้องจ่ายเอง...แม้ในความเป็นจริง ต้องควักกระเป๋าเพิ่มในงานที่มากกว่าพื้นฐาน จัดเข้าข่าย...เพื่อความงาม ไม่ไช่เพื่อสุขภาพ.
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553, 17:07:34 » |
|
กิจกรรมที่ทำให้สุขภาพดีมี 4 กิจกรรม การรักษาเป็นเพียง 1 ใน 4 กิจกรรม ประเทศไทย ใช้กิจกรรม การรักษาเป็นหลักใหญ่ ไม่ส่งเสริมอีก 3 กิจกรรม คือ การส่่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และ การฟื้นฟูสุขภาพ
ผลจากการมุ่งรักษาด้านเดียว เป็นหลัก ทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นปีละ 20% ทุกปี และ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด จนกระทรวงการคลังจะำจำกัดค่ารักษาตามข่าว
องค์การอนามัยโลก เห็นปัญหาเรื่องประชากรโลกป่วยไข้ ต้องการหาทางให้ประชาชนสุขภาพดีไม่ป่วยบ่อย จึงจัดประชุม ประเทศสมาชิก ที่เมือง Ottawa ประเทศ Canada เมื่อปี 2529 ได้ข้อสรุป จะทำให้ประชากรโลกสุขภาพดี ต้องใช้กิจกรรมสาธารณสุขทั้ง 4 กิจกรรม เรียกว่า
Ottawa Charter
ประเทศไทย นำมากำหนดเป็นแผน เรียกว่า สาธารณสุขมูลฐาน หรือ Primary Health Care มีตัวชี้วัดความสำเร็จ 4 ตัวชี้วัด คือ
1 ประชาชนทุกคนต้องมีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน หรือ จปฐ.ทุกคน
2.ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดสุขภาพดีด้วย ได้แก่ อาสาสมัครมาเป็น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.ทำหน้าที่เป็นแกนนำ และ เป็นตัวแทนด้านสาธารณสุข ของหมู่บ้าน เพื่ออุดมการณ์
"แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี"
เช่น จัดตั้งและดำเนินการชมรมสร้างสุขภาพภายในหมู่บ้าน ฯลฯ เพื่อให้คนในหมู่บ้านสุขภาพดี
3.การเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวกใกล้บ้าน กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว โดยพัฒนาสถานีอนามัย ที่มีอยู่แล้วทุกตำบล ให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีแพทย์จาก ร.พ.อำเภอรับผิดชอบประจำ ตำบลละ 1 คน
ตัวอย่าง ตำบลเขาหินซ้อน ที่ผมรับผิดชอบ อยู่ได้ปรับปรุง เป็น ร.พ.สร้่างเสริมสุขภาพตำบล ใกล้เสร็จแล้ว จากเงินบริจาค ประชาชน และ คหบดี จะแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน 2553
4.สถานพยาบาลที่ให้บริการสุขภาพต้องให้บริการที่มีคุณภาพ โดยมีองค์กรอิสระ คือ
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (พรพ.)
มาพัฒนาสถานพยาบาล ให้เขียนเอกสารการดำเนินการ เป็นเอกสารอ้างอิง เพื่อให้กรรมการตรวจสอบภายในของ สถานพยาบาลเอง มาทำการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามเอกสารคุณภาพทุกประการ เมื่อเป็นไปตามเอกสารคุณภาพแล้ว กรรมการตรวจสอบภายนอก จาก พรพ. จะเข้ามาตรวจสอบอีกครั้ง ถ้าเหมือนเอกสารคุณภาพอ้างอิงทุกประการ ก็จะให้ใบรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพ ให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจ
ขณะนี้ ปี 2553 ผ่านมา 24 ปีแล้ว กิจกรรม สาธารณสุขมูลฐาน ใกล้จะเป็นจริงแล้วในแผนการณ์
ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล
จะเร่งทำตัวชี้วัด ทั้ง 4 ให้สำเร็จ
ตัวชี้วัดตัวที่ 2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี ให้ความรู้ประชาชนเรื่อง สุขบัญญัติ 10 ประการของกรมอนามัย มานานแล้ว แต่ไม่มีประชาชนสนใจทำ
ผมขอเสนอว่า ต้องใช้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขามาเสริม โดยการ ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ให้สิทธิรักษาสุขภาพฟรี เฉพาะกับผู้ดูแลสุขภาพ เช่น ทำตามสุขบัญญัติ 10 ประการของกรมอนามัย
ถ้าไม่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ สิทธิรักษาฟรี ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาบางบ้างส่วน เช่น จ่าย 20% แต่ถ้าไม่มีจ่าย หรือ ไม่อยากให้ อนุญาตให้แพทย์เซ็นต์ฟรีได้
เป็นกุศโลบาย ทำให้คนต้องดูแลสุขภาพทำตามกิจกรรม สาธารณสุข 4
คนไม่ดูแลสุขภาพ ดูได้ด้วยอะไร เสนอให้ ใช้ดัชนีมวลกาย เป็นตัวชี้วัด ถ้าเกิน 25 ถือว่าอ้วน จัดว่าไม่ดูแลสุขภาพ แต่การใช้ดัชนีมวลกาย ยากกับประชาชนที่จะคำนวณได้ สามารถ ใช้ เส้นรอบเอวแทนได้ง่าย ๆ
เมื่อประชาชนไม่อ้วน โรคที่เกิดจากความอ้วนจะได้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
รอบเอว ในผู้หญิง ไม่เกิน 32 นิ้ว ผู้ชาย ไม่เกิน 36 นิ้ว เป็นต้น
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553, 17:59:58 » |
|
พี่หมอสำเริง, หนิงสังเกตว่าเวลาไปพบแพทย์..จะด้วย เจ็บหรือยังไม่เจ็บแต่เพียงไปตรวจประจำ ควบคุมดูแล ไม่ทราบจะเรียกการป้องกัน ได้มั้ย อย่างพบหมอฟันทุก 6 เดือน,หมอสูติ ทุก 6 เดือน,หมอประจำบ้าน ปีละครั้ง... เดี๋ยวนี้เพิ่มหมอตามาด้วย กรณีตรวจประจำปี ทุก 6 เดือนแล้วพบอะไร....เหมือนไปรับฟัง จากหมอว่าต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะรักษา/ใช้ ทรัพยากรร่างกาย ให้ยาวนานที่สุด. หากป่วยอย่างไข้ หวัด ไวรัสตามฤดู ได้ยาเล็กน้อยถึงไม่ได้เลย...ยินว่าดูอาการ ให้ร่างกายสู้เชื้อโรคเอง!
โดยรวมๆแล้วสุขภาพก็ยังเป็นเรื่องบุคคล ที่จะระวัง ป้องกัน รักษาตัวเอง...ไม่นับโรคภัย ร้ายแรงที่อาจพบได้ ก่อนวัยที่ควร...ก็ต่อสู้กัน สุดกำลังคะ..ภายใต้ความรู้สึกว่าอยู่ในมือผู้เชี่ยวชาญ และไม่กระเทือนฐานะทางเศรษฐกิจหลังการรักษา...
ท้ายที่สุด การไม่มีโรค ก็ยังเป็นลาภอันประเสริฐอยู่นั่นเอง ไม่เกี่ยวกับว่าระบบสาธรณสุขจะเป็นอย่างไร...ในอีก10-20ปี ข้างหน้าหนิงอาจพูดอีกแบบ เมื่อต้องไปซ่อมร่างกายบ่อยๆ ก็ได้คะ
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553, 19:29:32 » |
|
การไปพบแพทย์ตามระยะเวลา เพื่อตรวจสุขภาพถึงแม้ยังไม่แสดงอาการป่วย จะทำให้ได้รับการดูแลทันที ดีกว่าการรอให้ป่วยแล้วมารักษา อาจจะมีความพิการ หรือ เสียชีวิต เพราะมาช้ากว่าจะรักษาได้ครับ
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|