24 พฤศจิกายน 2567, 17:39:06
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน"  (อ่าน 17238 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 11:24:17 »


น.ส.พ.เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน 2552 เวลา 0:00 น
  
กระทรวงวิทยาศาสตร์จับมือ อบจ. โคราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ทำต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน

ใช้วัสดุเหลือทิ้งเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
    
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ.)

ในโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีเฉลิมพระเกียรติ

“ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน”

เพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนในระดับชุมชน

ส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และ

ปลูกไม้โตเร็วให้เป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้า

เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตรในหมู่บ้าน

โดยจะสนับสนุนให้พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน

เน้นให้ชุมชนเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างยั่งยืน

รวมถึงส่งเสริมให้การพัฒนาเครื่องมือเครื่องจักรด้านพลังงานทดแทน เช่น

เครื่องจักรผลิตพลังงานจากชีวมวล การผลิตไฟฟ้าด้วยระบบแก๊สซิฟิเคชั่น



ระบบแก๊สซิฟิเคชั่น
    
ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราช สีมา จะสนับสนุนงบประมาณเพื่อ

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ เพื่อทำเป็นต้นแบบ และ

เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนของจังหวัด

ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะเป็นผู้ศึกษาข้อมูลทั่วไป รวมถึง

ก่อสร้างและเดินระบบโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์.

นำมาจาก

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=19289

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 17:44:37 »


นครปฐม สำนักข่าวไทย 18 ก.ย. 52



ก๊าซชีวภาพ สามารถผลิตได้จากมูลสัตว์ และ เศษอาหาร

ล่าสุด มีผู้นำมูลโคเพียงอย่างเดียว มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ

คุณภาพดีได้ โดยไม่ต้องผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

จะลดการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าลง

ลดกลิ่น และ ขยะจากมูลสัตว์

โดยนำมาใช้ประโยชน์เป็นก๊าซ และ

กากนำไปทำเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้อีกด้วย

ฟัง และ ชมภาพข่าว ได้ที่

http://news.mcot.net/environment/inside.php?value=bmlkPTM2MzAyJm50eXBlPWNsaXA=

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2553, 09:37:12 »


ขอขอบคุณเวบแนวหน้า วันเสาร์ 26 มิถุนายน 2553 ที่เอื้้อเฟื้อข่าว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=216718


“ งานหนักไม่เคยฆ่าคน ”

สสส.จับมือม.แม่โจ้ หนุนวิจัยพลังงานทดแทน ลดค่าใช้จ่ายชาวแม่หล่าย

 แพร่:นายประกิตต์ โกะสูงเนิน อาจารย์คณะพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.แพร่ เปิดเผยว่า
ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำ

โครงการวิจัยการพัฒนาพลังงานทดแทนระดับชุมชน ต.แม่หล่าย อ.เมือง จังหวัดแพร่ ขึ้น
โดยได้ร่วมกับ เทศบาลตำบลแม่หล่าย และภาคีเครือข่ายทีเกี่ยวข้อง

ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการพลังงานของชุมชน แสวงหาพลังงานทางเลือกที่เหมาะสม
และประสานการทำงานในการพัฒนาเรื่องของเตาเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ

เป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการชุมชน
ศึกษาศักยภาพของชีวมวลหรือวัสดุที่มีในท้องถิ่นเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เนื่องจากการศึกษาวิจัยการใช้พลังงานในชุมชนแม่หล่าย พบว่า
พลังงานที่ชาวบ้านต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

พลังงานไฟฟ้า พลังงานก๊าซหุงต้ม และพลังงานเชื้อเพลิง

แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านซึ่งเป็นชุมชนเมือง พลังงานไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มได้มีบทบาทที่สำคัญ
ต่อการดำรงชีวิต

คณะผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษา
เรื่อง “พลังงานเชื้อเพลิง” โดยการพัฒนา “เตาชีวมวล” และ “เตาเผาถ่าน”
ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดและประหยัดค่าใช้จ่ายให้ชาวบ้าน

วันที่ 26/6/2010

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

นำข่าว ลดการใช้พลังงาน ด้วยการใช้เทคโนโลยี่ ที่่เหมาะสมในทัองถิ่นมาเป็นตัวอย่างนำร่อง

หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2553, 10:45:49 »


ขอขอบคุณเวบร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย
http://www.pm.go.th/forward/story/33943



พลังงานชุมชน: บทเรียนจากเดนมาร์ก

เดนมาร์กเป็นประเทศที่ดำเนิน การด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
พวกเขาพยายามลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องนำเข้า คือ

น้ำมันและถ่านหิน

แต่ได้เพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งสะอาดและหาได้ในน่านน้ำของตนเอง

นอกจากนี้ยังปฏิเสธการใช้พลังงานนิวเคลียร์

โดยรัฐสภาได้ยกพลังงานนิวเคลียร์ออกไปจากแผนพัฒนาพลังงานมาตั้งแต่ปี 1985
ในอีกแง่มุมหนึ่งเดนมาร์กเล็งเห็นศักยภาพในการผลิตพลังงานลมขึ้นใช้ภายในประเทศ
รวมถึงพลังงานจากวัสดุทางการเกษตรอื่นๆ

จึงได้พัฒนาพลังงานหมุนเวียนมาจนถึงระดับที่เข้มแข็ง ขณะนี้พลังงานหมุนเวียน
ได้ช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าให้ถึงร้อยละ 20 ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

โดยครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้มาจาก

พลังงานลม และ

ที่สำคัญรองลงมาก็คือพลังงานชีวมวล ซึ่งได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ประเภทฟางข้าว เศษชิ้นไม้สับ เป็นต้น

การผลิตพลังงานจากมูลสัตว์จึง เป็นอีกตัวอย่างของความเคลื่อนไหวอันหลากหลาย
จากหน่วยเล็กๆ ของสังคม เป็นระบบการผลิตพลังงานให้กับชุมชน

โดยใช้แหล่งวัตถุดิบในชุมชนนั้นเอง ซึ่งมีให้พบเห็นได้อยู่ทั่วไปในเดนมาร์ก
นอกเหนือไปจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาด ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึง

ความพร้อมในการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินไปควบคู่กับ
นโยบายที่ชัดเจนของรัฐในการส่งเสริม พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน




สิ่งที่เกษตรกรในชุมชนที่ร่วมกันก่อตั้งโรงงานผลิตพลังงานชีวภาพในชุมชนสามารถ
ได้รับประโยชน์ได้ทางอ้อมก็คือ

ไม่ต้องลงทุนกับระบบกำจัดของเสียเพราะที่เดนมาร์กมีกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเข้มงวดมาก
นอกจากนี้ เขายังได้ปุ๋ยชีวภาพฟรีๆ เพราะเมื่อโรงงานสกัดเอาก๊าซออกไปแล้ว
ก็จะนำปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกกลับมาคืนให้ถึงที่


โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพสามารถรองรับของเสียได้ 150-180 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ซึ่งในหนึ่งวันจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ทั้งหมด 6 พันล้านลูกบาศก์เมตร
ก๊าซที่ผลิตได้จะส่งใส่ท่อไปขายต่อให้กับโรงงานผลิตความร้อนและไฟฟ้าชุมชน

กำไรที่ได้จากการดำเนินงานก็นำไปใช้คืนหนี้เงินที่กู้มา นอกจากนี้ยังใช้ไป
สำหรับซ่อมแซมปรับปรุงระบบต่างๆของโรงงาน

อี ริค ลุนด์สการ์ด ผู้จัดการโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นได้เล่าถึง
การทำงานของระบบการผลิตก๊าซชีวภาพว่า

บรรดามูลสัตว์จากฟาร์มต่างๆ จะมาผสมรวมกันในบ่อพัก แล้วถูกเร่งอุณหภูมิให้สูงขึ้น
(บ้านเขามันหนาว) จากนั้นค่อยลำเลียงไปที่แทงค์ฆ่าเชื้อด้วยระบบพาสเจอไรส์
เพื่อให้เชื้อโรคไม่พึงประสงค์ตายไป

ตั้งแต่ขั้นตอนนี้และไม่ทำให้ปุ๋ยชีวภาพ ที่จะออกมาเป็นพิษ จากนั้นนำไปผ่านการย่อย
สลายด้วยจุลินทรีย์ในถังหมัก ทำให้ได้ก๊าซออกมาและถูกดูดไปเข้าท่อเพื่อส่งขาย
ส่วนเศษของเสียที่เหลือที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายแล้วซึ่งแปรสภาพเป็นปุ๋ยชีวภาพ
จะถูกลำเลียงไปเก็บในแทงค์เพื่อรอการขนส่งไปจ่ายแจกคืนเจ้าของต่อไป


ที่มา: มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

แบ่งปันผ่านทาง Social networks

 gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #4 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 15:10:52 »


                              เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น แปลงเศษอาหารเป็นก๊าซหุงต้ม
             ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันอาทิตย์  07 พฤศจิกายน 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว
             http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=522&contentId=102470

                       

         ความต้องการใช้พลังงานแอลพีจีเพิ่มขึ้นทั้งด้านเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม และภาคการขนส่ง ผลมาจากการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศชาติต้องเสียเงินออกนอกประเทศเพราะพลังงานดังกล่าวต้องนำเข้า

         สำนักงานนโยบายและ  แผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) (องค์การมหาชน) ทำโครงการนำร่องเพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลในระดับชุมชน

                                       

         ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวลด้วยกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น (gasification) มาใช้ประโยชน์เพื่อผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่มีศักยภาพด้านค่าความร้อนที่สูง

         สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทดแทนก๊าซหุงต้ม หรือแอลพีจีได้ โดยกลุ่มโรงแรม-รีสอร์ท หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง เป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่มีศักยภาพด้านวัตถุ ได้แก่ เศษอาหาร เศษขยะสด เศษใบไม้ ฟางข้าว แกลบ ผลไม้ตกเกรด เหล่านี้เป็นพลังงานชีวมวล เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้

         วีระพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ.มีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานชีวมวลเป็นพลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรมมาแปรรูปเป็นก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ โดยใช้

         เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น ภายใต้แผนสนับสนุนแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีของกระทรวงพลังงาน โดย

         สนพ.ให้เงินสนับสนุนสำหรับการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้าร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด แต่ไม่เกินราคาที่ สนช.กำหนด ให้กับผู้ประกอบการที่ติดตั้งระบบเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น

         โดยกำหนดรายละเอียดดังนี้ สำหรับระบบผลิตความร้อน

ระบบที่ 1 กำลังการผลิตชีวมวลขนาด 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง 4 แห่ง ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อแห่ง

ระบบที่ 2 ขนาด 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง 3 แห่ง ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อแห่ง และ

ระบบที่ 3 ขนาด 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ไม่เกิน 2.4 ล้านบาทต่อแห่ง

                           

         ผู้ประกอบการที่สนใจต้องผ่านการคัดเลือกจาก สนช.โดยมีคณะกรรมการพิจารณาโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจน่าจะเป็นโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ที่แต่ละวันมีเศษอาหาร เศษไม้วัชพืช ในการตกแต่งสวน สามารถนำขยะเหล่านี้มาแปลงเป็นเชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจี หมุนเวียนกลับไปใช้ในการประกอบอาหารได้

         ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2,800 ตัน และยังช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

         ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 17 แห่ง ซึ่งบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งแห่งที่เข้าร่วมโครงการและได้ “ผลิตก๊าซชีวภาพ” เพื่อใช้ภายในโรงงานและสามารถนำการผสมผสานเทคโนโลยีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมประมาณ 50%   

           ก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการใช้พลังงานในประเทศไทยที่หาได้ใกล้ตัว.

                                       gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #5 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 16:54:29 »

พี่หมอคะ,
หมู่บ้านข้างๆกันห่างไป 4 กม.
เค้าทำโรงเก็บชีวภาพกลั่นก๊าซ
ตอนสร้างนั้นมาสร้างติดเขตหมู่บ้าน
พูดอะไรไม่ได้เพราะอยู่ในเขตเค้า...หมู่บ้านเค้า
แต่พอทำจริง อย่างที่เค้ากลัวกันคะ!
กลิ่นค่ะ..
กลิ่นเหม็นมากๆ
เคยไปเดินผ่าน ถีบจักรยานผ่าน
เกือบเป็นลม!

เจ้าของโรงงานได้รับรางวัลท้องถิ่นด้วยคะ
ว่านำสมัย รู้จักrecycle...เค้าก็ระวังนะคะ
ตอนเริ่มมีการร้องเรียนเรื่องกลิ่น
เค้าหาผ้าพลาสติกขนาดใหญ่มหึมามาคลุม
แต่กระนั้น ของเหลือชีวภาพเหล่านี้ยังไหล
เป็นน้ำลงบ่อพักที่ปิดไม่ได้..แถมติดทางผ่าน!
อู้ววว อย่าบอกใครคะ.

แต่แก๊ซน่ะ ขายเข้าสู่เส้นทางใช้งานได้แล้ว
คนเลยยอมๆกัน ไม่บ่นกันมาก.


วันหลังผ่านไปอีกจะเก็บรูปมาค่ะ.


nn.
      บันทึกการเข้า


Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #6 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 08:14:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 07 พฤศจิกายน 2553, 16:54:29
พี่หมอคะ,
หมู่บ้านข้างๆกันห่างไป 4 กม.
เค้าทำโรงเก็บชีวภาพกลั่นก๊าซ
ตอนสร้างนั้นมาสร้างติดเขตหมู่บ้าน
พูดอะไรไม่ได้เพราะอยู่ในเขตเค้า...หมู่บ้านเค้า
แต่พอทำจริง อย่างที่เค้ากลัวกันคะ!
กลิ่นค่ะ..
กลิ่นเหม็นมากๆ
เคยไปเดินผ่าน ถีบจักรยานผ่าน
เกือบเป็นลม!

เจ้าของโรงงานได้รับรางวัลท้องถิ่นด้วยคะ
ว่านำสมัย รู้จักrecycle...เค้าก็ระวังนะคะ
ตอนเริ่มมีการร้องเรียนเรื่องกลิ่น
เค้าหาผ้าพลาสติกขนาดใหญ่มหึมามาคลุม
แต่กระนั้น ของเหลือชีวภาพเหล่านี้ยังไหล
เป็นน้ำลงบ่อพักที่ปิดไม่ได้..แถมติดทางผ่าน!
อู้ววว อย่าบอกใครคะ.

แต่แก๊ซน่ะ ขายเข้าสู่เส้นทางใช้งานได้แล้ว
คนเลยยอมๆกัน ไม่บ่นกันมาก.


วันหลังผ่านไปอีกจะเก็บรูปมาค่ะ.


nn.

           การที่มีกลิ่นทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน มีระบบคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ที่เปรียบเป็นด้านที่ 3 ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เข้ามาบังคับให้กิจการที่จะทำแล้วมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีป้ายรับรองคุณภาพ ISO 14001ดังกล่าวด้วย

           ถ้าไม่ผ่านการพัฒนาและรับรองจนได้ป้ายรับรองข้างต้น จะต้องถูกปิดไม่ให้ทำต่อ จนต้องพัฒนาและปฏิบัติตามแนวทางระบบคุณภาพ ISO 14001 จนได้ป้ายรับรอง จึงจะดำเนินการต่อได้

           พบข่าว CPF จัดทำการแปรรูปสำเร็จ ดังข่าว

           'ซีพีเอฟ' ปูพรมก๊าซชีวภาพฟาร์มสุกร
วันพุธที่ 03 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:15 น.    กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ    
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=46177:2010-11-03-03-18-12&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418

                       

          ซีพีเอฟเดินหน้าหนุนเกษตรกรตั้งระบบก๊าซชีวภาพ ผลิตไฟฟ้าใช้ในฟาร์มสุกร คาด 5 ปีทำครบ 482 รายทั่วประเทศ หลังเดินหน้าไปแล้วกว่าครึ่ง โชว์ผลสำเร็จเฉพาะฟาร์มซีพีเอฟ 37 แห่ง ลงทุน 115 ล้านบาท ผลิตไฟฟ้าได้รวม 12-13 ล้านหน่วย ประหยัดค่าไฟฟ้าราว 30% ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 170,721 ตันต่อปี เตรียมต่อยอดขายคาร์บอนเครดิต

                       win win win   
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #7 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2553, 00:20:58 »

พี่หมอ,
ลืมไป ว่าไม่ต้องคอยชมรูปก็ได้คะ
ขอให้รู้ว่าจะclickด้วยคำไหน...
รูปของบริษัทนี้ สวยๆมีมาให้ชมทันที!
 Biogasคะ แบบเล็กๆ




      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #8 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2553, 00:24:43 »

เพิ่งเปิดทำการเมื่อปี 2008นี่เองคะ
ล่าสุดน่ะ วัตถุดิบธรรมชาติกองเป็นภูเขาเลากา
มหึมาเต็มพื้นที่ค่ะ
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #9 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2553, 00:27:50 »

แค่กำลังโหลดรูปก็เหมือนจะจำกลิ่นได้คะ
เหมือนส้วมแตก!





      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #10 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2553, 00:30:47 »

เค้าบรรยายละเอียดยิบคะ
ว่า processเป็นยังไงมายังไง


      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #11 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2553, 00:34:26 »

แห่ะๆ ตัดมาได้แค่นี่ล่ะพี่หมอ
ขืนให้หนิงไปแปลกระบวนการมาด้วย
วันนี้ได้สติแตกกันมั่ง!



      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #12 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2553, 00:37:53 »

Quelleที่มา :

http://www.soehnergroup.com/soehnergroup/das-unternehmen/standorte/soehnergy.html

http://www.uts-biogas.com/index.php?id=1685

http://www.initiative-co2.de/fachberichte/n-waerme-strom-biogas-04.pdf




nn.27
      บันทึกการเข้า


Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #13 เมื่อ: 23 มกราคม 2554, 13:06:13 »


221ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเตรียมเฮ!   
      
เขียนโดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ     
วันพุธที่ 19 มกราคม 2011
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=53582:221&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418
 


เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า 2,192 ล้านบาท กำลังจะหมุนไปหาชุมชนโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ
เดือนก.ค.นี้ ส่งลงพื้นที่ 221 ชุมชนที่มีโรงไฟฟ้าตั้งแต่ 1 เมกะวัตต์ขึ้นไปตั้งอยู่

พร้อมนำเงินไปพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง"กวิน ทังสุภานิช" ย้ำหากชุมชนไหนมีโรงไฟฟ้า
ขนาดเล็กกองทุนเงินไม่พอ

ยังจัดสรรเพิ่มให้อีกปีละ 3 แสนบาท ส่วนประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าต้องทำใจ
โรงไฟฟ้าผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้รับแทน

นายกวิน ทังสุภานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.)
เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550

กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ
จากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า โดยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมารอเพียง
ระเบียบว่าด้วยการบริหารจัดการและการใช้จ่ายเงิน จะมีผลใช้บังคับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นี้

ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจะมีการเรียกเก็บเงินจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงทุกชนิด
รวมทั้งจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ที่มีขนาดกำลังการผลิตตั้งแต่ 1 เมกะวัตต์ขึ้นไป
นำมาสะสมไว้ในกองทุน ที่คาดว่าในวันที่ 15 มีนาคม 2554 นี้ จะเริ่มมีเม็ดเงินเข้ามา

ซึ่งคาดว่าภายในเดือนกรกฎาคมนี้จะสามารถจัดสรรเงินลงพื้นที่ได้ โดยจะมีเงินเข้ามา
ปีละ 2,192 ล้านบาทต่อปี จากจำนวนโรงไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาตจำนวน 249 ราย
ตั้งเป็นกองทุนได้จำนวน 221 กองทุน

นอกจากนี้ หากเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กหรือกำลังการผลิตไม่เกิน 100 ล้านหน่วยต่อปี
หรือมีเงินอยู่ในกองทุนไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อปี ก็จะมีเงินอุดหนุนให้อีก 300,000 บาทต่อปี

นอกจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตำบล(คพรต.) ขึ้นมา
เพื่อมาดูแลกองทุนที่มีเงินมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 12 กองทุน เช่น
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ราชบุรี บางปะกง พระนครเหนือ พระนครใต้ แก่งคอย เป็นต้น

โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมาจากภาคประชาชนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ที่ผ่านการคัดเลือก
มาจากเวทีประชาคมหมู่บ้านหรือตัวแทนหมู่บ้าน ซึ่งมีวาระ 2 ปี และต่อได้ไม่เกิน 2 วาระ
มาทำหน้าที่จัดทำหรือร่วมกับเวทีประชาชนตำบล หรือหมู่บ้านจัดทำโครงการชุมชนเพื่อ
เสนอขอให้เงินกองทุน และต้องกลั่นกรองโครงการชุมชน ก่อนเสนอคพรฟ.เพื่ออนุมัติเงิน
ซึ่งกรรมการทั้ง 2 คณะนี้คาดว่าจะจัดตั้งแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน 2554 นี้

ดังนั้น ค่าไฟฟ้าที่จะปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจะมาจากค่าเอฟทีที่เกิดจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
และอีกส่วนจะมาจากการเรียกเก็บเงินเพิ่มของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน เพื่อนำไป
ชดเชยให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ตาม

โครงการประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล

win win win

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

นำกุศโลบาย ในการนำความเจริญไปให้กับชุมชน ที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้า ที่จะเป็นต้น
กำเนิดของพลัีงงานในการพัฒนา ประเทศ จะไปสร้างที่ไหน ก็จะถูกต่อต้าน เมื่อมีกองทุน
พัฒนานี้แล้ว จะทำให้การต่อต้านน้อยลง และ เกิดการประสานประโยชน์กันขึ้น


รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><