หน้าแรกเว็บบอร์ด
แนะนำตัว
เพิ่ม/แก้.ข้อมูลส่วนตัว
ห้องโถงรวมรุ่น
Webสมาคมฯ
ปฏิทินนัดหมาย
สมัครสมาชิก
26 พฤศจิกายน 2567, 01:58:20
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
[สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A
A
A
A
ระเบียบปฎิบัติ
Entire Forum
This board
This topic
Members
Entire Site
Languages
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
| หัวข้อ:
ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ว่าด้วย "นิทานการเงิน" (อ่าน 14413 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
yc
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 557
ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
«
เมื่อ:
21 สิงหาคม 2552, 17:49:44 »
ได้รับข้อความส่วนตัวจากคุณเป็ด พิพัฒน์ ระเบียบ ถามมาว่า
"นิทานการเงินเกี่ยวกับอะไรครับ การหาเงิน การเก็บเงิน การหมุนเงิน......."
และรู้สึกว่า งานเขียนของผมเล่มนี้ ยังมีอะไรอีกมาก ที่ผมเองก็ต้องค้นหา
เพราะตอนเริ่มเขียนตั้งใจหลักไว้ แต่พอเขียนจบ ให้คนอื่นอ่าน กลับมีมุมสะท้อนหลากลาย
เมื่อกลับมาอ่านตามมุมสะท้อนนั้น กลับพบความรู้สึกที่ต่างไปดังว่า
จึงขอสรุปคำตอบให้คุณเป็ดไว้ดังนี้ครับ
นิทานการเงิน โดยเป้าประสงค์หลักคือ การสะท้อนวิธีแก้ปัญหาระบบการเงินของประเทศ
ของโลก ภายใต้หลักการเงินดอลลาร์ไม่อิงกับสิ่งใดๆ
และเพื่อให้คนเข้าใจหลักคิดเกี่ยวกับเงิน นิทานการเงินจึงกระตุ้นไปที่จิตใจ ของระบบทุนนิยมโลก
มีแนวคิดด้านการดำรงชีพสอดแทรกหลากหลายอารมณ์ หลากหลายความคิด หลากหลายความรู้สึก
งานเขี่ยนชิ้นนี้ หากอ่านไปโดยไม่ได้ตั้งเจตนาไว้ จะสนุก ได้สาระ และแนวคิดที่ได้จากการอ่านจะสะท้อนว่า ตัวตนของผู้อ่านสนใจความเป็นไปของชีวิตในด้านใด
หากตั้งเจตนาว่้าด้วยการเสียดสี เย้ยหยันทุนนิยม ก็จะได้ความรู้สึกลึกของทุนนิยมโลก
หากตั้งในแง่การปกครอง และหน้าที่ที่สังคมควรมีต่อกัน ก็จะได้เห็นความงดงามของสังคมที่ต่างรักษาหน้าที่ กติกา และความเคารพในชีวิตของกันและกัน
แต่เป้าประสงค์หลัก คือ ต้องการสะท้อนแนวคิด การจัดการเรื่องการเงินโลก ดังนั้น หากผู้อ่านมีความรู้ว่า "เงิน" ของโลก มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร วันนี้ "เงิน" คืออะไร ประเทศไทยก็ควรสร้า่งเครื่องมือทางการเงิน ขึ้นมาใหม่เพื่อปกป้องและสร้างเศรษฐกิจของตน ดังเช่นที่่โลมา สร้างพันธบัตรไม้
หมายเหตุ : งานหนังสือเป็นจินตนาการและความคิดของทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
ผู้เขียนจินตนาการ คิด แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ
ผู้อ่าน อ่านแล้วจินตนาการและคิด จากตัวหนังสือนั้น
เมื่องานเขียนสำเร็จออกมาเป็นตัวหนังสือแล้ว งานหนังสือนั้นจึงเสมือนอีกชีวิตหนึ่ง ที่แยกจากตัวผู้เขียน
ไม่ว่าผู้เขียนจะมีเจตนาเช่นไรในการเขียน
เมื่อเป็นตัวหนังสือแล้ว ตัวหนังสือและการอ่าน จะเป็นผู้กำหนดจินตนาการและความคิด
เมื่อเป็นตัวหนังสือแล้ว ตัวหนังสือและการอ่าน จะเป็นผู้กำหนดจินตนาการและความคิด
บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"เงินบุญ คู่ขนาน มีไว้เพื่อแสดงการเสียสละของผู้มีเงินบุญมาก"
«
ตอบ #1 เมื่อ:
25 สิงหาคม 2552, 15:10:09 »
แต่เป้าประสงค์หลัก คือ ต้องการสะท้อนแนวคิด การจัดการเรื่องการเงินโลก
ดังนั้น หากผู้อ่านมีความรู้ว่า "เงิน" ของโลก มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
วันนี้ "เงิน" คืออะไร ประเทศไทยก็ควรสร้า่งเครื่องมือทางการเงิน ขึ้นมาใหม่
เพื่อปกป้องและสร้างเศรษฐกิจของตน ดังเช่นที่่โลก สร้างพันธบัตรใหม่
...................................................................................................
ผมมองว่าเมื่อเราอยู่ในสังคมโลก เราต้องติดต่อค้าขายกัน แต่เพราะ เรา
ใช้เงินคนละสกุลกัน การค้าขาย จึงต้องมีสกุลเงิน เป็นสกุลมาตรฐานใช้อ้างอิง ค่าเงิน
ในอดีต รัฐบาลนายกเชาวลิต ได้ลดค่าเงินบาทลง เมื่อเทียบกับสกุลมาตรฐาน ทำให้
มีคนได้ประโยชน์ กับ มีคนเสียประโยชน์
คนได้ประโยชน์
ได้แก่
คนที่รู้ว่าจะลดค่าเงินบาทลง แล้วรีบเอาเงินบาทไปแลกเงินดอลล่าร์เก็บไว้
หรือ นำเงินบาทไปลงทุนซื้อของ ซื้อหุ้น ฯลฯ ด้วยเงินบาท ในต่างประเทศไว้
เมื่อค่าเงินบาท ลดลงจริง ก็นำสิ่งที่ซื้อด้วยเงินบาทไว้นี้มาขายเป็นดอลล่าร์
ใช้เงินบาทไว้ มากเท่าไร ก็รวยกันพุงปลิ้น มากเท่านั้น
คนเสียประโยชน์
ได้แก่ คนไม่รู้ว่าจะลดค่าเงินบาท
เก็บเงินบาทไว้ หรือ ไปกู้เงินดอลล่าร์มาลงทุนในไทย เมื่อเงินบาทลดค่าลง
เวลาใช้คืนด้วยเงินดอลล่าร์ ต้องใช้เงินบาทซื้อดอลล่าร์แพงขึ้น ขาดทุนทันที
ลมจับ ฆ่าตัวตายกันให้เห็นเป็นข่าว
ดังนั้น การลดค่าเงินบาท เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
เพราะ
จะเกิดเหตุการณ์ข้างต้น
ผู้รู้รวยพุงปลิ้น ผู้ไม่รู้ลมจับ จนอาจฆ่าตัวตายตามที่เห็นข่าวเมื่อรัฐบาลลดค่าเงินบาท
จึงไม่ควรไปยุ่งกับค่าเงินบาทปล่อยให้เป็นไป
ตามระบบเศรษฐกิจ เรื่อง Demand กับ Supply ที่เป็นจริง
หันมาใช้ จิตสำนึกต่อส่วนรวม หรือ Corporative Social Response : CSR
ดีกว่า เช่น
บิลเกตต์ เป็นมหาเศรษฐี รวยแล้ว มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมอยากให้สังคม
ได้ประโยชน์จากความร่ำรวยของเขาด้วย โดยตั้ง
มูลนิธิเกตส์ บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสังคม และ เสนอแนวทาง
ทุนนิยมแบบสร้างสรรค์
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=thecrow&id=801
ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อสินค้าอุตสาหกรรม ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ เพราะ
มีสินค้าล้นตลาด ใช้ CSR โดย
ลดค่าจ้างของตนเองลงทุกระดับ มุ่งพัฒนาสินค้าให้ดีที่สุด
ทำำให้ ต้นทุนสินค้าราคาลดลง และ มีคุณภาพด้วย
ขายสินค้าได้ราคาถูกลง ทำให้ขายสินค้าได้ บริษัทอยู่ได้ พนักงานอยู่ได้
ระบบเงินคู่ ที่น้องยังชินเสนอ ผมเข้าใจว่า เป็น CSR ตัวอย่างหนึ่ง
เมื่อสินค้าแพง ขายไม่ออก ก็ลดราคาลง เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้
ผู้ขาย ได้รับเงินจริงน้อยลง แต่ได้เงินบุญเพิ่มขึ้นแทน
มีความสุขทั้งผู้ขาย และ ผู้ซื้อ
เช่น ราคาทุนต้อง 100 บาท ต้องขายมากกว่า 100 บาทเพื่อมีกำไร
แต่ขายถูกกว่า 100 โดยรับเงินบุญเพิ่มแทน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนเรา มีปัญญา แตกต่างกัน เหมือน บัวสี่เหล่า
เงินบุญ นี้เป็นอนุสรณ์ของความดีที่ได้เสียสละทำเพื่อสังคม
ผู้มีเงินบุญมาก แสดงว่า ช่วยเหลือสังคมมาก เป็นอริยทรัพย์
1. ใน 7 ข้อ คือ ข้อที่ 6. จาคะ ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ที่ไม่เสื่อมสลายเหมือนทรัพย์ทางโลก
ที่เขียนขึ้นนี้ตรงกับความคิดน้องยังชินหรือไม่ ครับ
อริยทรัพย์ ดูทั้ง 7 ข้อ เพิ่มเติมที่
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3547.0.html
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
สมชาย17
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
กระทู้: 1,300
Re: ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
«
ตอบ #2 เมื่อ:
25 สิงหาคม 2552, 19:00:37 »
ผมดีใจ ที่ได้เห็นหมอสำเริง มาแสดงความคิดเห็นใน กระทู้นี้
หมอสำเริงเป็น นักคิด นักปฎิบัติ และนักบุญ ท่านหนึ่งของเมืองไทย
ทำให้ความคิด ออกมาในเชิงบุญ มีความปิติ เมื่อได้ช่วยเหลือคนอื่นและได้ช่วยเหลือสังคม
จึงมีแนวคิดแบบนี้ สะสมบุญก็มีความสุขแล้ว ซึ่งเป็น สัจจะของชีวิต
น้องยังชิน เป็นทั้งนักคิดและนักเขียนและนักปฎิบัติ ชั้นดีของเมืองไทย
กระทู้ทำนองนี้ ที่น้องยังชิน และน้องเจ้าจอมตั้งไว้ มีประโยชน์มาก
ทั้งต่อ เวบหอ และต่อสังคม
ผมเป็นผู้อ่านและคอยคิดตาม ก็ได้ความรู้ไปด้วย อยากให้ 2 ท่านเข้ามา
แสดงความคิดเห็นบ่อยๆ จะคอยติดตาม
บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
กระทู้: 1,300
Re: ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
«
ตอบ #3 เมื่อ:
25 สิงหาคม 2552, 19:07:33 »
หมอสำเริง ได้อ่าน นิทานการเงิน ของน้องยังชิน หรือยัง เป็นพ๊อกเก็ตบุค
ถ้ายังไม่ได้อ่าน ผมจะส่งไปให้ เป็นเรื่องเข้าใจง่าย ประเทืองปัญญา
บอกด้วยแล้วกัน ถ้าผ่านพนมสารคาม ผมจะแวะเอาไปให้อ่าน
บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
Re: ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
«
ตอบ #4 เมื่อ:
26 สิงหาคม 2552, 19:01:42 »
อ้างถึง
ข้อความของ
สมชาย17
เมื่อ 25 สิงหาคม 2552, 19:07:33
หมอสำเริง ได้อ่าน นิทานการเงิน ของน้องยังชิน หรือยัง เป็นพ๊อกเก็ตบุค
ถ้ายังไม่ได้อ่าน ผมจะส่งไปให้ เป็นเรื่องเข้าใจง่าย ประเทืองปัญญา
บอกด้วยแล้วกัน ถ้าผ่านพนมสารคาม ผมจะแวะเอาไปให้อ่าน
สวัสดี สมชาย
ผมไปอ่านเรื่องการเงินระบบคู่ของ chaojom แล้วเข้าใจว่า เป็นของน้องยังชินโพสท์
แต่ทั้ง 2 เรื่อง การเงินระบบคู่ และ นิทานการเงิน อ่านแล้วเข้าใจยาก
จึงขอนำระบบการเงิน ที่ผมคิดว่านำจริยธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้
ขอขอบคุณ สมชาย ที่จะเอามาให้อ่าน แต่ถ้าสมชายได้อ่านแล้ว
ช่วยสรุปเนื้อหา ย่อ ๆ ให้อ่านเลยได้ไหมครับ
พวกเราชาวซีมะโด่งจะได้ทราบ และ แสดงความคิดเห็นด้วย
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 557
Re: ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
«
ตอบ #5 เมื่อ:
27 สิงหาคม 2552, 19:44:51 »
ขอบคุณพี่หมอสำเริง
ขอบคุณพี่สมชายที่ช่วยขยายแนวคิดและดีใจครับที่่ชอบหนังสือ "นิทานการเงิน"
แนวคิด "ระบบเงินคู่" ที่พี่หมอสำเริงเปรียบเทียบกับ "บุญ" นั้น ก็พอประยุกต์กันได้ครับ
เพียงแต่ "ระบบเงินคู่" สามารถแปลง "บุญ" นั้น ไปเป็น "เงิน" เงินที่ยอมรับในระบบทุนนิยม
อธิบายก็คือ บางช่วงของเศรษฐกิจ เงินหลัก อาจต้องเสียสละ (คือสร้างบุญ)
แต่ส่วนใหญ่ เงินรอง จะเป็นตัวสร้างบุญ
อยากให้จำ 2บรรทัดนี้ไว้ก่อน เพื่อว่า จะได้เห็นภาพ จากการอธิบายต่อไปนี้ครับ
....การที่วันนี้ สหรัฐฯมีปัญหา เกิดขึ้นเพราะ การไหลของเงิน สหรัฐฯมีการบริโภคสูง
มีการไหลเวียนของเงินคล่องและมาก
การไหลคล่องและมาก ในแง่ระบบการเงินการธนาคารเขาถือว่าดี มีเครดิต
และโดยที่ผู้อยู่ในธุรกรรมการเงินมีมากราย
ดังนั้น จึงสามารถสร้างภาพลวงสภาพคล่องและมากทางการเงินได้ง่าย (ต่างช่วยกันสร้่าง)
เปรียบคล้ายเชร์ลูกโซ่กลายๆ...(แต่ไม่เหมือนเปะ เพราะธุรกรรมดังกล่าวมีของจริงสอดแทรกอยุ่)
เมื่อของจริงแบกไม่ไหว จึงพังลงดังที่เห็น
...จากสหรัฐ มาดูใกล้ๆตัวบ้างครับ...
กรุงเทพ กับ ต่างจังหวัด
เปรียบกรุงเทพเป็นสหรัฐ เปรียบต่างจังหวัดเป็นประเทศต่างๆ
ด้วยระบบเงินเดียว
กรุงเทพ ดูดความมั่งคั่งของต่างจังหวัดสะสมไว้ตลอดเวลาที่เศรษฐกิจขยายตัว
โดยต่่างจังหวัดไม่มีทางสู้...
เพราะมีเพียงเงินสกุลเดียว ไม่มีเครื่องมือต้านทาน
เราจึงได้เห็นกรุงเทพล้่นทะลัก อึดอัด
ต่างจังหวัด ขาดแคลน โหวงเหวง
(แล้วจะมาต่อครับ...)
บันทึกการเข้า
yc
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 557
Re: ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
«
ตอบ #6 เมื่อ:
10 กันยายน 2552, 14:33:07 »
ต่ิอ....
มีคำถามว่า
ในระบบทุนนิยม ใครคือผู้กำหนด ความคึกคักทางเศรษฐกิจ
คำตอบคือ บุคคลหรือองค์กรที่มีเงินเหลือจากการหล่อเลี้ยงตนเองและองค์กร
ซึ่งก็คือ สถาบันการเงิน และธุรกิจขนาดใหญ่
ในระบบทุนนิยมปัจจุบัน เราใช้ระบบเงินเดี่ยว และแปลงค่าเป็นเงินตราต่างประเทศ
โดยผ่านตัวกลางคือ เงินดอลลาร์สหรัฐ (ซึ่งขณะนี้ เงินยูโร พยายามช่วงชิงบทบาทนี้เช่นกัน)
ในกรณีระหว่างประเทศ ผู้ที่มีเงินเดี่ยวในประเทศมาก ก็แปลงเป็นดอลลาร์แล้ว
กลับไปหาประโยชน์ในสหรัฐ
ปริมาณเงินดอลลาร์ในสหรัฐมากจึงหมุนและขยายไปเรื่อยๆ
(การหมุนและขยายไป สอดรับกับการที่ สหรัฐเป็น ต้นกำเนิดเงินโลก
เพราะเป็นการสร้างความต้องเงินดอลลาร์ คือเงินดอลลาร์ไม่หยุดนิ่งเพราะหากหยุดนิ่ง
หรือหมุนน้อยลงย่อมส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์)
แต่หากใช้ระบบเงินคู่ เงินรองในประเทศจะเป็นเครื่องมือสะสมส่วนเกินของเงินหลัก
เงินรองจะเป็นเครื่องมือรับในกรณีเงินหลักมีความอ่อนค่า
และเป็นเครื่องมือดึงในกรณีเงินหลักแข็งค่าเกินควร
ผลลัพธ์จาการทำงานของระบบเงินคู่ จะส่งผลให้ การไหลของเงินหลักไปสู่เงินดอลลาร์มี
ความใกล้เคียงกับความมั่นคงที่แท้จริงทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
และส่งผลด่อความยั่งยืนของเงินดอลลาร์ มีผลดีต่อสหรัฐและเศรษฐกิจโลก
ผมจะยกตัวอย่างแบบนี้
สมมติว่ากลุ่มจังหวัด 3 สมุทร (สมุทรปราการ,สมุทรสาคร,สมุทรสงคราม) อยู่ในระบบเงินคู่เดียวกัน
และนี่คือเรื่องสมมติ การช่วงชิงลูกค้าระหว่างห้างโลตัส
กับร้านโชว์ห่วยในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้เครื่องมือระบบเงินคู่...
( ค่อยต่อกันนะครับ...)
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
| หัวข้อ:
ว่าด้วย "นิทานการเงิน"
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
-----------------------------
=> ข่าวประชาสัมพันธ์ของสมาคม
=> ข่าวประกาศทั่วไป
=> งานคืนสู่เหย้า ๒๕๕๗
=> โครงการรินน้ำใจเพื่อหอพักนิสิตจุฬาฯ
=> กิจกรรมเพื่อสังคม
=> กิจกรรมวิชาการ
=> กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
=> กิจกรรมชาวหอ
=> กิจกรรมแกนนำและกิจกรรมรุ่น
=> ข้อบังคับสมาคม และกฎ ระเบียบ
=> การประชุมของสมาคม
-----------------------------
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
-----------------------------
=> เรื่องนี้มีพี่บอก
=> โบราณคดี Cmadong
=> ปฏิทินนัดหมายชาวหอ
=> ห้องซีมะโด่งสัมพันธ์
=> ซีมะโด่งเพื่อสังคม
=> ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
=> ห้องชาวค่ายหอ
=> ห้องชมรมแสงเสียง
=> ห้องธรรมะ...สาธุ....
=> ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
=> ห้องแสงทองของชีวิต
=> ห้องสุขภาพและความงาม
=> ห้องท่องเที่ยวไร้พรมแดน
=> ห้องซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน
-----------------------------
เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย
-----------------------------
=> รุ่น 2507
=> รุ่น 2510
=> รุ่น 2511
=> รุ่น 2513
=> รุ่น 2514 รุ่นนี้มหาอำนาจ
=> รุ่น 2515
=> รุ่น 2516
=> รุ่น 2517
=> รุ่น 2518
=> รุ่น 2519
=> รุ่น 2520
=> รุ่น 2521
=> รุ่น 2522
=> รุ่น 2523
=> รุ่น 2524
=> รุ่น 2525
=> รุ่น 2526
=> รุ่น 2527
=> รุ่น 2528
=> รุ่น 2529
=> รุ่น 2530
=> รุ่น 2531
=> รุ่น 2532
=> รุ่น 2533
=> รุ่น 2534
=> รุ่น 2535 ซี้ปึ๊ก
=> รุ่น 2536
=> รุ่น 2537
=> รุ่น 2538
=> รุ่น 2539
=> รุ่น 2540
=> รุ่น 2541
=> รุ่น 2542
=> รุ่น 2543
=> รุ่น 2544
=> รุ่น 2545
=> รุ่น 2546
=> รุ่น 2547
=> รุ่น 2548
=> รุ่น 2549
=> รวมรุ่น 90-96 รหัส 2550-2556
-----------------------------
ข่าวประกาศ
-----------------------------
===> Countdown งานคืนสู่เหย้า 94 ปีซีมะโด่ง : เสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
===> "รวมภาพงาน" ผูกพัน วันเก่า ๙๔ ปี ซีมะโด่ง
ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์ " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน" <))))><
กำลังโหลด...