หน้าแรกเว็บบอร์ด
แนะนำตัว
เพิ่ม/แก้.ข้อมูลส่วนตัว
ห้องโถงรวมรุ่น
Webสมาคมฯ
ปฏิทินนัดหมาย
สมัครสมาชิก
25 พฤศจิกายน 2567, 23:32:56
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
[สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A
A
A
A
ระเบียบปฎิบัติ
Entire Forum
This board
This topic
Members
Entire Site
Languages
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
| หัวข้อ:
"นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: "นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น" (อ่าน 8351 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
«
เมื่อ:
12 กรกฎาคม 2552, 09:42:10 »
ขอนำเรื่องที่องค์การอนามัยโลกต้องการให้ประเทศสมาชิก
มีประชากรที่แข็งแรง มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีการเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง และ
เป็นบริการที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทั้งโลกมี สุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่าย ด้วย
การสาธารณสุขมูลฐาน
เริ่มทำเมื่อปี 2529 จนถึง ปัจจุบัน ปี 2552 ผ่านมา 23 ปีแล้วแต่ยัง
ไม่บรรลุความสำเร็จ ประชาชน ยังอ่อนแอ เชื้อโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การเข้าถึงบริการ
ยังเข้าถึงยาก และ ไม่มีคุณภาพ ยังมีการฟ้องร้อง กันให้เห็นประจำ
จึงขอนำเรื่องการสาธารณสุขมูลฐานมาให้พวกเราได้รู้
ถ้าเห็นดีด้วย พวกเราจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในประเทศเรา
จากหลักการทางระบาดวิทยา การเกิดโรค เกิดจาก
การเสียสมดุลย์ของ ปัจจัย 3 อย่าง คือ
1.Host
คือ ประชาชน อ่อนแอ ทำให้ป่วยง่าย และ มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง
ถ้าแข็งแรง จะป่วยยาก ป่วยแล้วเป็นไม่รุนแรงไม่มีโรคแทรกซ้อนหายเร็ว
2.Agent
คือ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค จะรุนแรง ถ้าได้รับการรักษาช้า
การรักษาไม่ถูกต้อง ไม่มีคุณภาพ สิ่งที่ทำให้เกิดโรคจะรุนแรง
ถ้าตรงกันข้าม ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพที่เข้าถึงได้ง่าย ใกล้บ้าน ใกล้ใจ
สิ่งที่ทำให้เกิดโรค ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะไม่รุนแรง หายง่าย
3.Environment
คือ สิ่งแวดล้อม ถ้าสุขาภิบาลไม่ดี จะทำให้ป่วยง่าย
ถ้าสุขาภิบาลดี จะเกิดโรคได้ยาก และ การกระจายโรคยาก ไม่ระบาดรุนแรง
การสาธารณสุขมูลฐาน นี้จะทำให้ปัจจัยทั้ง 3 อยู่ในเกณฑ์ ที่ดี
ทำให้สุขภาพร่างกายประชาชนแข็งแรง
เริ่มต้น ในปี พ.ศ.2529 หรือ ปี ค.ศ.1986 มีการประชุม
องค์การอนามัยโลก : WHO เพื่อหาวิธีการทำให้ชาวโลกสุขภาพดี
ได้พบ กลวิธีที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ ที่เมือง Ottawa
ประเทศ Canada ได้ข้อสรุป
“ Ottawa Charter ”
เรื่อง “การสาธารณสุขมูลฐาน” หรือ “ Primary Health Care : PHC”
http://www.swu.ac.th/royal/book6/b6c2t2.html
http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/
โดยให้แต่ละประเทศไปดำเนินการให้สำเร็จ
ประเทศไทยกำหนดตัวชี้วัดความก้าวหน้า
ของงานสาธารณสุขมูลฐาน 4 ข้อ ดังนี้ คือ
1.การที่ทุกคนได้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)
ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์พื้นฐานทุกคนถ้วนหน้า
ซึ่งแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการ
ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความสุขมีกินมีใช้
พอเพียงก่อน จึงเริ่มลงทุนด้วยเงินที่มีไม่กู้หนี้ยืมสินโดยไม่จำเป็น
ซึ่งจะแก้ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ตัวทางระบาดวิทยาได้
2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี
เช่น
2.1 -ประชาชนในหมู่บ้านอาสาสมัคร มาเป็น
"อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"(อสม.)
เพื่อทำหน้าที่ช่วยงานสาธารณสุขด้วยการเข้ารับ
การอบรมความ รู้จาก ร.พ.หรือ สถานีอนามัย
เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ ตามอุดมการณ์ของ อสม.
คือ
"แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงาน
สาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี"
2.2 -การที่ประชาชนยินดีเข้าร่วมชมรมสร้างสุขภาพ
ประจำหมู่บ้าน ซึ่งมี อสม.แต่ละหมู่บ้าน เป็นแกนนำ
โดย มี
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
ซึ่งเปลี่ยนมาจาก
สถานีอนามัยเดิม ภายในอำเภอนั้น เป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือตามที่ ต้องการ
2.3 -ประชาชนร่วมปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี
ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ของ กรมอนามัย
http://www.tkc.go.th/eng/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=140&directory=2783&contents=2670
2.4 -การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี
ด้วยการเสนอสภาพบังคับด้วยการเสนอออกกฏหมาย ทางเวบ
http://ilaw.or.th/
หรือ การช่วยกัน เสนอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)
ที่เป็นตัวแทน ในพื้นที่ตนเอง ให้เสนอออก
กฏหมายให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวให้มีสุขภาพดี
ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาด้วยบางส่วน เช่น 20%
ของค่ารักษา เพื่อเป็นการเพิ่มเงินให้กับการรักษา
และ ยังเป็นการเตือนให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพ
จะได้ฉุกคิดไม่อยากจ่ายร่วมค่ารักษาต้อง
เปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง และ ป่วยน้อยลง
เงินที่เพิ่มขึ้นนี้ สามารถนำมาตรวจร่างกายให้
ประชาชน ฟรี ได้ปีละครั้ง
ตามแนวทาง การป้องกัน ดีกว่า การรักษา
ในประเทศอเมริกามี กฏระเบียบ ให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัว
เพื่อการมีสุขภาพดี เช่น สูบบุหรี่ อ้วน ฯลฯ
ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย
ตามที่ นายกแพทยสภา ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
ไปเห็นมาที่เวบ.....
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11
3.การเข้าถึงสถานบริการได้ง่ายใกล้บ้าน ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา
ใช้ระบบประกันแทนเสียค่ารักษาเป็นครั้งๆ ทำให้คุมราคา และ คุณภาพการรักษาได้
-ประเทศเราได้มีสถานีอนามัยอยู่ทุกตำบล ใกล้บ้าน
ใกล้ใจ ประชาชนทุกแห่งแล้ว สามารถพัฒนา
ให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ด้วยการ
ปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศให้ถูกต้อง
เป็นการดูแลรูปเครือข่าย 3 ระดับช่วยเหลือส่งต่อกัน โดย
ด่านแรก
คือ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล รวม กับ ร.พ.อำเภอ
ให้ประชาชนใกล้สถานพยาบาลเข้ารักษาได้ง่าย ที่ด่านแรก
โดยใช้แพทย์ทั่วไป ทำงาน ทั้ง 2 คือ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล รวม กับ ร.พ.อำเภอ
ด่านสอง
คือ ร.พ.จังหวัด มีแผนกเฉพาะทางเพื่อรับส่งต่อ
จากด่านแรก ที่เกินความสามารถส่งต่อมารักษาต่อ
ด่านสาม
คือ ร.พ.ศูนย์ และ ร.พ.ที่เป็นโรงเรียนแพทย์
มีงานสอน และ งานวิจัย ให้กับบุคลากรทางการแพทย์
ดูแล รักษา บุคคลทั่วไปในหน่วยบริการด่านแรก ทั้งใน และ
นอก ร.พ.เพื่อสอนบุคคลากรทางการแพทย์ และ
รับส่งต่อ จากด่านแรก หรือ ด่านสอง ส่งมาให้ดูแล
ขอเน้นเรื่อง สถานพยาบาลด่านแรก ที่เข้าถึงง่าย และ
มีคุณภาพ คือ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีแพทย์ประจำครอบครัว
ที่ทำงาน 2 สถานที่ คือ
1. ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
หรือ สถานีอนามัย เดิม ดูแล
คนไข้นอก ในพื้นที่รับผิดชอบเดินเข้ามาตรวจ ช่วงเช้า หลังตรวจ
คนไข้ใน ร.พ.อำเภอพื้นที่รับผิดชอบที่มานอนป่วยใน ร.พ.อำเภอ
2. ร.พ.อำเภอ
ดูแลคนไข้ในที่ส่งต่อมาจาก ร.พ.ตำบล ที่ตนเองส่งมานอนรักษา
เพราะ ป่วยควรนอน ร.พ.แต่ไม่ป่วยถึงกับต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ที่ ร.พ.จังหวัด
ดูคนไข้ก่อนออกตรวจที่ ร.พ.ตำบล และ หลังออกตรวจ กลับมาดู
ผลแล็ป และ ติดตามอาการผู้ป่วยช่วงบ่ายต่อเนื่อง
ตามอุดมการณ์ แพทย์ประจำครอบครัวที่ว่า
ดูแลแต่แรก แทรกทุกเรื่อง อย่างต่อเนื่องผสมผสาน
ดูแลใกล้บ้าน ประสานส่งต่อ
ทั้ง ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล และ ร.พ.อำเภอ
มีแพทย์ประจำรับผิดชอบ และ เชื่อมต่อกันด้วย
โทรศัพท์บ้าน หรือ มือถือ ในเวลาราชการ
ส่วน นอกเวลา ปรึกษาแพทย์เวร ร.พ. อำเภอ หรือ
เรียก รถฉุกเฉิน 1669 มารับไปรักษาในที่ที่เหมาะสม
การวินิจฉัยโรค(Provisional Diagnosis) จากการศึกษาวิจัย พบว่า
ซักประวัติอย่างเดียว พูดคุยกัน จะสามารถให้คำวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคอะไร
ได้ถึง 8 คน ใน 10 คน และ เมื่อตรวจร่างกาย เพิ่มต่อจากซักประวัติ เหมือน
โรคอะไร แล้ว ตรวจร่างกายค้นหา เพิ่มจากการพูดคุย จะรู้ว่าป่วยเป็นอะไรได้
เพิ่มอีก 1ใน 10 คน รวมสรุปได้ว่า ซักประวัติ และ ตรวจร่างกาย โดยไม่ใช้แล็ป
เลย หรือ เรียก ว่าการวินิจฉัยข้างเตียง(Bedside Diagnosis)
ที่แพทย์ประจำครอบครัว ใช้ในการดูแล ประชาชนที่รับผิดชอบ สามารถวินิจฉัย
ได้ถึง 8+1 = 9 ใน 10 คน หรือ ส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องทำแล็ปเพิ่ม
ดังนั้นการที่แพทย์ออกตรวจ นอก ร.พ. ที่สถานีอนามัย หรือ ศูนย์แพทย์ชุมชน
จึงสามารถวินิจฉัย หรือ รู้ว่า คนไข้ป่วยเป็นอะไรได้เกือบทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม แพทย์สามารถให้การรักษาได้ทั้งหมด
ถึงแม้ไม่ทราบ คำวินิจฉัย ก็สามารถให้การรักษาได้
ถ้าคิดว่าไม่อันตราย ถ้าวินิจฉัยได้ช้า ก็ให้การรักษา
ตามอาการ และ นัดตรวจซ้ำ หรือ
ถ้าคิดว่าอันตราย ก็จะเขียนใบส่งต่อไปให้ด่านสอง หรือ ด่านสาม
ที่มีความสามารถสูงกว่า ตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้คำวินิจฉัย
ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย นั่นเอง เมื่อเข้า
สู่ตามระบบจะใช้สิทธิรักษาฟรี โดยรัฐได้ ซึ่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่
รักษาที่ใกล้บ้านไม่ได้ ดู
“วินิจฉัยโรค และ ดูแลรักษา”
เพิ่มเติมที่
http://triamudom35.invisionplus.net/?mforum=triamudom35&showtopic=245
4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ทุกระดับ
โดยมีเอกสารอ้างอิงการรักษา ให้แพทย์ร่วมกันเขียนขึ้น ให้
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ร.พ.
http://www.ha.or.th/m_06_02.asp
ให้การรับรองว่า เป็นเอกสารคุณภาพ ใช้อ้างอิงได้
ทำให้การรักษาพยาบาล เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตามเอกสารอ้างอิงที่ได้รับการรับรอง
แพทย์ , ผู้เข้ารับการรักษา , ญาติผู้ป่วย ตลอดจน ผู้พิพากษา ในศาล ใช้อ้างอิงได้
เมื่อเกิดการรัองเรียนเรื่องรักษาไม่มีมาตรฐานจะได้ใช้ตรวจสอบ
โดยใช้เอกสารอ้างอิงการรักษานี้
ปัจจุบัน มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ทำหน้าที่นี้ ได้แก่
4.1 ระดับสถานีอนามัย เรียกว่า
“สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานีอนามัย”
: Health Center Accreditation:HCA
4.2 ระดับโรงพยาบาล เรียกว่า
”สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล”
: Hospital Accreditation : HA
ดังนั้น สถานพยาบาลทุกระดับ ต้องผ่านขบวน
การพัฒนาและรับรองคุณภาพ ให้ผ่านเกณฑ์
จนได้ใบประกาศรับรอง ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ
ในคุณภาพการบริการ ลดความผิดพลาดในการ
รักษา ทำให้ประชาชนพึงพอใจการฟ้องร้องลดลง
อ่านเพิ่มเติมเรื่อง
"ยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.เพื่อลดคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องมา ให้รักษาที่ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล"ที่
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3201.0.html
ผมโพสท์ไว้ในเวบบอร์ด สุขภาพและความงาม ข้างล่าง
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html
นำมาไว้ที่ บอร์ด พูดคุยประสาพี่น้อง ด้วยเพื่อให้พวกเราพี่น้องได้ อ่าน
จะรู้สึกยากที่จะทำให้
การสาฐารณสุขมูลฐาน
เกิดขึ้น
เหมือน
การเขยื้อนภูเขา
ผ่านมา 23 ปีแล้ว
แต่ยังทำไม่สำเร็จ อาจเพราะ ไม่มีการสื่อสารกันเหมือนสมัยนี้
ที่มีเวบบอร์ด สื่อสารกันเช่นปัจจุบัน
ผมจึงขออนุญาต ใช้สื่อซีมะโด่ง เวบบอร์ดของพวกเรานี้
เสนอวิธีช่วยขับเคลื่อน ให้พวกเราอ่าน
ถ้าเห็นด้วยจะได้ช่วยกันโดยใช้
สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี
โดยขอให้พวกเรา ช่วยในด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ทุกด้าน ของสามเหลี่ยม
เพื่อให้เกิดการแก้ไข ซึ่งควรจะทำให้สำเร็จตั้งแต่ปี 2529
ช้ามา 23 ปีแล้ว แต่ถ้าทำสำเร็จ ก็ยังดีกว่า ไม่ทำอะไรเลย เช่น
การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี
ด้วยการเสนอสภาพบังคับด้วยการเสนอให้ออกกฏหมาย
ให้คนไม่ดูแลสุขภาพต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล 20%
ของค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มเงินให้สถานบริการสุขภาพ
และ เตือนให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวต้องปฏิบัติตัว เพราะ
ไม่อยากเสียค่าบริการ
ผลทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น ค่ารักษาพยาบาลก็จะลดลง
เงินที่ได้เพิ่มขึ้นจะได้นำมาตรวจสุขภาพประชาชนฟรีได้ปีละครั้ง
เมื่อรู้ว่ามีอะไรผิดปรกติ จะได้รีบดูแลแก้ไขให้ถูกต้อง
ตามแนวทางการดูแลสุขภาพดีกว่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารักษา
เวบไซด์ ilaw ที่ข้างล่าง ร่วมเสนอกฏหมายได้
http://ilaw.or.th/
สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
ดูรายละเอียดเพิ่ม ที่
"การแก้ปัญหาสังคมที่ยากๆด้วยแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=14&gblog=8
ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ใช้การสาธารณสุขมูลฐาน
ประสบความสำเร็จ ทำให้ประชาชนสุขภาพดี
โดยเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าประเทศที่ไม่ใช้
ที่เวบบ์
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
manopkd
บุคคลทั่วไป
Re: "นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
«
ตอบ #1 เมื่อ:
01 สิงหาคม 2552, 08:48:05 »
ขอบคุณ คุณหมอสำเริงมากครับ
ผมก็ช่วยได้เพียงใครอยากออกกำลังกายแบบโยคะ ผมก็แจกเอกสาร CD ฟรีและสอนฟรี มามากแล้วครับ นี่ก็กำลังจะกลับไปสอนที่สิงห์บุรีให้ชมรมผู้สูงอายุทำเป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย และที่โรงเรียนอินทโมลีประทาน ที่สิงห์บุรี ผมจะไปสอนครูพละ ให้เอาท่าตันเถียนโยคะไปสอนให้เด็กนักเรียนทำ เป็นท่าออกกำลังของโรงเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง เด็กจะได้ทำต่อเนื่องจนแก่เถ้าได้ครับ ไม่เป็นอันตราย จะดีสำหรับระบบหายใจ เข่า ครับ
บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
Re: "นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
«
ตอบ #2 เมื่อ:
01 สิงหาคม 2552, 14:14:50 »
อ้างถึง
ข้อความของ
manopkd
เมื่อ 01 สิงหาคม 2552, 08:48:05
ขอบคุณ คุณหมอสำเริงมากครับ
ผมก็ช่วยได้เพียงใครอยากออกกำลังกายแบบโยคะ ผมก็แจกเอกสาร CD ฟรีและสอนฟรี มามากแล้วครับ นี่ก็กำลังจะกลับไปสอนที่สิงห์บุรีให้ชมรมผู้สูงอายุทำเป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย และที่โรงเรียนอินทโมลีประทาน ที่สิงห์บุรี ผมจะไปสอนครูพละ ให้เอาท่าตันเถียนโยคะไปสอนให้เด็กนักเรียนทำ เป็นท่าออกกำลังของโรงเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง เด็กจะได้ทำต่อเนื่องจนแก่เถ้าได้ครับ ไม่เป็นอันตราย จะดีสำหรับระบบหายใจ เข่า ครับ
ขอบคุณ คุณหมอสำเริงมากครับ
ผมก็ช่วยได้เพียงใครอยากออกกำลังกายแบบโยคะ
ผมก็แจกเอกสาร CD ฟรีและสอนฟรี มามากแล้วครับ
นี่ก็กำลังจะกลับไปสอนที่สิงห์บุรีให้ชมรมผู้สูงอายุทำ
เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย และที่
โรงเรียนอินทโมลีประทาน ที่สิงห์บุรี
ผมจะไปสอนครูพละ ให้เอาท่าตันเถียนโยคะ
ไปสอนให้เด็กนักเรียนทำ เป็นท่าออกกำลังของ
โรงเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง เด็กจะได้ทำต่อเนื่อง
จนแก่เถ้าได้ครับ ไม่เป็นอันตราย จะดีสำหรับระบบ
หายใจ เข่า ครับ
เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ที่พี่สิงห์ทำ แต่ยังไม่ครบ สูตร
สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี
ที่พี่สิงห์ทำเป็นเพียง ด้าน 2 ด้าน เท่านั้นของ
สามเหลี่ยม ถ้าจะให้ขยายออกเป็นระดับใหญ่
ระดับประเทศ ให้ทุกคนออกกำลังกาย
ต้องใช้ด้านที่ 3 ของสามเหลี่ยม ด้วย
คือ ด้านการออกกฏหมายบังคับ ถ้าไม่ทำจะมี
บทลงโทษ
เช่น กระทรวงศึกษาธิการ โดย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ
ปรึกษาปลัดกระทรวงฯ ให้กำหนดเป็นนโยบาย ให้ทุก ร.ร.
กำหนดหลักสูตร ออกกำลังกาย
ถ้าไม่ปฏิบัติ ผู้อำนวยการ ร.ร.จะบกพร่อง เป็นต้น
การสาธารณสุขมูลฐาน ก็เช่นกันจะเกิดขึ้นได้
ต้องใช้ด้านที่ 3 ด้านกฏหมาย กำหนดเป็นนโยบาย
กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดสาธารณสุขมูลฐานที่เริ่ม
ทำตาม Ottawa Charter เมื่อปี 2529 ให้สำเร็จ
ร.ม.ต.กระทรวงสาธารณสุข ท่านวิทยา แก้วภราดัย
นิติฯ จุฬา รหัส 16 จะสามารถเร่งรัดให้เกิดขึ้นได้
ตาม สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ที่ผมโพสท์ไว้ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=14&gblog=8
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
manopkd
บุคคลทั่วไป
Re: "นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
«
ตอบ #3 เมื่อ:
22 สิงหาคม 2552, 12:38:30 »
มันก็จริงครับเรื่องออกกฎหมาย แต่มันเป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถกระทำได้เลยครับ เพราะผมเป็นประชาชนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นครับ
ผมเองตอนนี้ก็พยายามบอกถึงโทษ ที่เกิดจากการกิน ให้กับบุคคลใกล้ชิด คือ พนักงาน คนงาน และเพื่อนฝูงที่เกี่ยวข้องกับผมว่า ทุกวันนี้เราหาเงินมาได้จะจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลเสียมาก เพราะการกินของเราอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าเรารู้จักการกินที่พอเหมาะพอควร ไม่ตามใจปาก โรคต่างๆที่เราจะต้องเป็นเมื่อสูงอายุคือ เบาหวาน ไขมันสูง ความดัน หมอนรองกระดูกทรุด โรคไต โรคหัวใจ แต่ละโรคเป็นขึ้นมาแล้วใช้เงินแยะ ลูกหลานลำบาก และเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ด้วยตัวของเราเอง และสามารถมีเงินเหลือด้วย ถ้าเรารู้จักรับประทานอาหารเท่านั้น แต่ข้อสำคัญมันอยู่ที่ใจเราเท่านั้น ว่าเราสามารถตัดกิเลสการกินได้ไหม ถ้าทำได้เราก็ไม่ลำบากตอนแก่ ไม่ทำให้ลูกหลานงำบาก ไม่เป็นภาระ เพียงแค่การกินเท่านั้นจริงๆ และถ้าอยากจะไม่ให้เป็นโรคปกติตามฤดูการ เพียงแค่ นอนให้หัวค่ำขึ้นไม่เกินสามทุ่ม และออกกำลังกายทุกวันเท่านั้น เราก็ประหยัดเงินได้มาก อยู่อย่างมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง และไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงแค่คิดและทำเท่านั้น อยู่ที่ตัวเราเองจริงๆ ผมจะยกตัวอย่างโดยตัวผมเป็นหลัก นอนหัวค่ำไม่เกินสี่ทุ่ม ออกกำลังกายทุกวัน เช้า-เย็น รับประทานอาหารแบบ 211 ตามกรมอนามัย คือ ผักสองส่วน แป้งหนึ่งส่วน โปรตีนหนึ่งส่วน ปริมาณการรับประทาน จะหนักในมื้อเช้า ตอนเย็นจะหนักไปทางผลไม้แทนข้าว รับประทานตรงเวลา ผลดีคือ หนึ่งปีมานี้ไม่ได้ไปหาหมอเลย น้ำหนักลดลงจาก 75 เหลือ 70 กิโลกรัม ประหยัดเงินค่าอาหารและค่ายา ผมก็อยู่อย่างมีความสุขได้ เมื่อไรเกิดความท้อขึ้นมาในการออกกำลังกายหรืออยากกิน ก็จะนึกถึงว่า เราจะลำบากเมื่อแก่ เป็นภาระของหลานๆ ที่เราไม่อยากทำ จะทำให้มีกำลังใจในการออกกำลังกายต่อไป และรับประทานเฉพาะของที่มีประโยชน์ต่อร่างกานและไม่เกิดโทษ ด้วย และยึดหลักของพระพุทธเจ้า คือ รับประทานแต่พอประมาณ ไม่ให้เกินความต้องการของร่างกาย เดี๋ยวนี้ผมตีกอล์ฟได้ไกลกว่าสมัยหนุ่มๆอีกครับ
สวัสดีครับ คุณหมดสำเริง
บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"เวบไซด์เสนอกฏหมายของประชาชน"
«
ตอบ #4 เมื่อ:
12 กันยายน 2552, 09:30:45 »
อ้างถึง
ข้อความของ
manopkd
เมื่อ 22 สิงหาคม 2552, 12:38:30
มันก็จริงครับเรื่องออกกฎหมาย แต่มันเป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถกระทำได้เลยครับ
เพราะผมเป็นประชาชนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นครับ
เรียน พี่สิงห์(มานพ) ที่เคารพรัก
ที่พี่โพสท์ว่า
มันก็จริงครับเรื่องออกกฎหมาย แต่มันเป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถกระทำได้เลยครับ
เพราะผมเป็นประชาชนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นครับ
ผมขอเรียนพี่สิงห์ และ พวกเราชาวซีมะโด่ง ได้ทราบว่า
เราเป็นประชาชนคนหนึ่งก็มีสิทธิออกกฏหมายได้
ตามระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่เราใช้อยู่
เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
โดยประชาชนเลือกตัวแทนเข้าไป
ทำหน้าที่ออกกฏหมาย (ด้านนิติบัญญัติ)ในสภาผู้แทนราษฏร
ทำหน้าที่บริหารประเทศ(ด้านบริหาร)ในคณะรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า
นอกจากนั้นในรัฐธรรมนูญ ยังมีมาตราที่ให้ประชาชนสามารถเสนอกฏหมายได้
ปัจจุบันมีระบบสารสนเทศน์ทางไกล คือ
อินเตอร์เนต
ทำให้เกิดการเชื่อมโยง เกิดกลุ่มออนไลน์ เช่น
กลุ่มนิสิตใหม่ และ เก่าหอพักจุฬาฯ (เวบซีมะโด่ง) ที่พี่สิงห์ ริเริ่ม และ จัดให้มีขึ้น
ปัจจุบันมี เวบไซด์ให้ประชาชนร่วมเสนอกฏหมายได้ทางเวบ
http://ilaw.or.th
อ่านบทความทั้งหมดที่ผมโพสท์ไว้ที่
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3392.0.html
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"คาดไทยปี52ป่วยวัณโรคถึง9หมื่นคน"สาธารณสุขเร่งสกัด
«
ตอบ #5 เมื่อ:
12 กันยายน 2552, 11:03:29 »
อ้างถึง
ข้อความของ
สำเริง 17
เมื่อ 12 กรกฎาคม 2552, 09:42:10
ขอนำเรื่องที่องค์การอนามัยโลกต้องการให้ประเทศสมาชิก
มีประชากรที่แข็งแรง มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีการเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง และ
เป็นบริการที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทั้งโลกมี สุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่าย ด้วย
การสาธารณสุขมูลฐาน
เริ่มทำเมื่อปี 2529 จนถึง ปัจจุบัน ปี 2552 ผ่านมา 23 ปีแล้วแต่ยัง
ไม่บรรลุความสำเร็จ ประชาชน ยังอ่อนแอ เชื้อโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การเข้าถึงบริการ
ยังเข้าถึงยาก และ ไม่มีคุณภาพ ยังมีการฟ้องร้อง กันให้เห็นประจำ
จึงขอนำเรื่องการสาธารณสุขมูลฐานมาให้พวกเราได้รู้
ถ้าเห็นดีด้วย พวกเราจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในประเทศเรา
คาดไทยปี52ป่วยวัณโรคถึง9หมื่นคน-สธ.เร่งสกัด
กรุงเทพธุรกิจ วันเสาร์ที่ 12 ก.ย. 52
คาดไทยปี52ป่วยวัณโรคถึง9หมื่นคน
องคมนตรี แนะสธ.เร่งคุมวัณโรค "ฮู"คาดปี52 ไทยป่วยกว่า 9หมื่น ตาย13,900
ด้านสธ.แนะกินยาต่อเนื่อง ป่วยกว่า3หมื่นไม่เข้ารักษา หวั่นแพร่เชื้อลาม
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานพิธีมอบรางวัลให้กับ
นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นและนักเวชศาสตร์ป้องกันดีเด่นระดับชาติ
พร้อมเปิดสัมมนาการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตาม
นโยบายกระทรวงสาธารณสุข หัวข้อเรื่อง
"เร่งรัด หยุดยั้ง วัณโรค"
พร้อมกล่าวว่า การแพร่ของโรควัณโรคขณะนี้พบว่า
ไทยเป็นประเทศที่มีวัณโรคชุกโดยจัดอยู่ในอันดับที่ 18 จาก 22 ประเทศ
ที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า
ในปี 2552 ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อวัณโรคสูงถึง 91,000 ราย
และพบผู้ป่วยติดเชื้อใหม่ 39,000 ราย
ซึ่งหากไม่มีการควบคุมจะทำให้มีผู้เสียชีวิต 13,900 ราย
ถือว่าเป็นสถิติที่สูง เพราะก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตไม่ถึง 10,000 รายต่อปี
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือกระทรวงสาธารณสุขต้องตื่นตัว และ
เน้นการบริการเข้าถึงยาให้กับผู้ป่วยมากที่สุด รวมทั้งให้จับตาในกลุ่มเสี่ยง เช่น
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว และนักโทษในเรือนจำ
โดยให้ทำการประเมินผลกเป็นรายสัปดาห์เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรค
น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวว่า
องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยวัณโรคทั่วโลก 18 ล้านราย
ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ระยะการแพร่เชื้อ และมีผู้เสียชีวิตปีละ 1,900,000 ราย
และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 8,800,000 คน ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่พบผู้ป่วยวัณโรคมาก โดยจัดอยู่ในอันดับที่ 18 และ
ในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายลดอัตราการป่วยตายจากวัณโรคภายใน 5 ปี
โดยใช้ระบบการติดตามผู้ป่วยให้ได้ร้อยละ 90
รวมทั้งจะเร่งหาผู้ป่วยวันโรคให้เข้ารับการรักษาโดยเร็ว
อ่านข่าวทั้งหมดได้ ที่
http://news.sanook.com/คาดไทยปี52ป่วยวัณโรคถึง9หมื่นคน-สธ.เร่งสกัด-825257.html
ผมเห็นว่า มาตรการที่จะสกัดกั้นโรคภัยต่าง ๆ ด้วยการ
ทำให้ประชาชนแข็งแรง
เชื้้อโรคอ่อนแรง และ
สิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะ คือ
มาตรการสาธารณสุขมูลฐาน ที่องค์การอนามัยโลก
เสนอให้ทุกประเทศทำให้สำเร็จ เริ่ม ปี 2529 ผ่านมา 23 ปี แล้ว
ต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น
ซึ่ง ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งให้มีการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย
โดยจัดให้มี
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ตำบล ที่พํฒนามาจาก สถานีอนามัยเดิมที่มีอยู่แล้ว
เพื่อเร่งสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนในตำบล และ รักษาเมื่อเริ่มป่วย ให้เข้าถึงบริการได้ง่าย
พบแพทย์คนเดิมประจำ เป็นแพทย์ทั่วไป เรียกเป็นสาขา แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
ในปี 2552 นี้จะเกิด ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ขึ้นถึง 1,000 แห่ง
ตัวอย่าง สถานีอนามัยตำบลเขาหินซ้อน ที่ผมเป็นแพทย์ประจำครอบครัวอยู่
กำลัง สร้าง ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ตำบล ขึ้นแทนที่ สถานีอนามัย ในที่เดิม
จะแล้วเสร็จประมาณ 5 เดือน เริ่ม กรกฏาคม กำหนดเสร็จ ต้น ธันวาคม
วันเฉลิมพระชนม์พรรษา คงเสร็จเปิดทัน
ขออ้างอิง เรื่อง ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล จะมี 1,000 แห่ง ในปี 2552 จากข่าว
นายกอภิสิทธิ์ แถลงผลงาน ด้านสาธารณสุข ตามกระทู้
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3452.0.html
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
| หัวข้อ:
"นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
-----------------------------
=> ข่าวประชาสัมพันธ์ของสมาคม
=> ข่าวประกาศทั่วไป
=> งานคืนสู่เหย้า ๒๕๕๗
=> โครงการรินน้ำใจเพื่อหอพักนิสิตจุฬาฯ
=> กิจกรรมเพื่อสังคม
=> กิจกรรมวิชาการ
=> กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
=> กิจกรรมชาวหอ
=> กิจกรรมแกนนำและกิจกรรมรุ่น
=> ข้อบังคับสมาคม และกฎ ระเบียบ
=> การประชุมของสมาคม
-----------------------------
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
-----------------------------
=> เรื่องนี้มีพี่บอก
=> โบราณคดี Cmadong
=> ปฏิทินนัดหมายชาวหอ
=> ห้องซีมะโด่งสัมพันธ์
=> ซีมะโด่งเพื่อสังคม
=> ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
=> ห้องชาวค่ายหอ
=> ห้องชมรมแสงเสียง
=> ห้องธรรมะ...สาธุ....
=> ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
=> ห้องแสงทองของชีวิต
=> ห้องสุขภาพและความงาม
=> ห้องท่องเที่ยวไร้พรมแดน
=> ห้องซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน
-----------------------------
เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย
-----------------------------
=> รุ่น 2507
=> รุ่น 2510
=> รุ่น 2511
=> รุ่น 2513
=> รุ่น 2514 รุ่นนี้มหาอำนาจ
=> รุ่น 2515
=> รุ่น 2516
=> รุ่น 2517
=> รุ่น 2518
=> รุ่น 2519
=> รุ่น 2520
=> รุ่น 2521
=> รุ่น 2522
=> รุ่น 2523
=> รุ่น 2524
=> รุ่น 2525
=> รุ่น 2526
=> รุ่น 2527
=> รุ่น 2528
=> รุ่น 2529
=> รุ่น 2530
=> รุ่น 2531
=> รุ่น 2532
=> รุ่น 2533
=> รุ่น 2534
=> รุ่น 2535 ซี้ปึ๊ก
=> รุ่น 2536
=> รุ่น 2537
=> รุ่น 2538
=> รุ่น 2539
=> รุ่น 2540
=> รุ่น 2541
=> รุ่น 2542
=> รุ่น 2543
=> รุ่น 2544
=> รุ่น 2545
=> รุ่น 2546
=> รุ่น 2547
=> รุ่น 2548
=> รุ่น 2549
=> รวมรุ่น 90-96 รหัส 2550-2556
-----------------------------
ข่าวประกาศ
-----------------------------
===> Countdown งานคืนสู่เหย้า 94 ปีซีมะโด่ง : เสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
===> "รวมภาพงาน" ผูกพัน วันเก่า ๙๔ ปี ซีมะโด่ง
สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><
กำลังโหลด...