22 พฤศจิกายน 2567, 21:33:17
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 111 112 [113] 114 115 ... 131   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: [2513] "ซำบายดีพี่แอ๊ะ ๑๓"  (อ่าน 796805 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pattaya
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 460

« ตอบ #2800 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2553, 21:37:24 »

น้องนุชชอบรูปที่พี่ๆเข้ากรอบมอบให้พี่แอ๊ะและพี่หาญวันงาน  28 พ.ย มากกว่าค่ะรูปนั้นสวยมากกกกกกกกกกกกก
      บันทึกการเข้า
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2801 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2553, 21:41:01 »

น้องนุช น่ารัก และสปิริตสูงจริง

เรียกว่า น้อง 500 miles ได้เลยนะ เพราะขับรถไปกลับ ไกลจริงๆ

อ้างถึง
ข้อความของ pattaya เมื่อ 07 ธันวาคม 2553, 21:36:08
สวัสดีค่ะพี่แอ๊ะ  พี่เอ พี่ป๋องและพี่เหยง  น้องนุชเพิ่งมีโอกาสเข้ามาโพสต์ที่ห้องนี้  รุ่นสว.มหาอำนาจที่สุด  วันงานที่สารคามสนุกมากค่ะเสียดายอยู่ไกลไปหน่อยเลยต้องรีบกลับค่ะ  เอาไว้วันหลังขอมาแจมใหม่นะค่ะ
      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2802 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2553, 21:43:10 »




ให้ดูอีก คนต่างจังหวัดมีโอกาส ออกงาน ดีๆ มีค่าอย่างนี้ มากกว่าคนกรุงเทพแน่นอน

ดร.ป๋อง เธอไปจุดเทียนชัยหรือเปล่าล่ะ
      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2803 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2553, 21:45:11 »


นายก อบจ. ไม่อยู่ พี่หาญเลยไปประจำที่เเทน 5555

      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #2804 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2553, 23:17:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ prapasri AH เมื่อ 05 ธันวาคม 2553, 23:05:01
รูป นี้พี่หาญ ก็ผอมน้อยลงนิดนึงงงงงงงง



ถ้าไม่สวยก็อย่าว่ากันนะ เพราะถ่ายจากมือถือ

มือถือ ที่ยโสเขาเรียกว่า" เมียถือ " เพราะ สามีไม่ค่อยถือมือถือ ปล่อยให้ภรรยาถืออยู่นั่นแหละ
สวัสดีค่ะพี่แอ๊ะ รูปนี้เห็นแล้วชื่นใจจังค่ะ...
      บันทึกการเข้า
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #2805 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2553, 23:20:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ prapasri AH เมื่อ 05 ธันวาคม 2553, 23:22:59

รูปเพนท์นกยูง ให้น้องไข่มุกด์ และ เหยง ค่ะ พี่แอ๊ะชอบรูปนี้มาก


พรุ่งนี้จะส่งรูปตอนวางพาน พุ่ม ให้ดู นะคะ

เจ้าหน้าที่อบจ. ถ่ายให้ หากสวย และไม่อ้วน ก็จะได้ชม ค่ะ5555555

เหยง ว่า เราโชคดีไหม ที่อยู่ต่างจังหวัด มีกิจกรรม และได้ทำงาน เยอะเเยะเลย

คนกรุงเทพแค่รถติด อยู่บนถนน พักใหญ่ๆ พี่หาญแกก็ผ่าตัดคนไข้ไปได้หลายเคสแล้วววววววว



ขอบพระคุณมากๆค่ะพี่แอ๊ะ น้ำอ้อยก็ชอบค่ะสวยมากค่ะ...
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #2806 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 08:12:42 »

ติดตามชมต่อครับ  เอาอีกๆๆๆๆ  หลั่นล้า


ปล.

อ้างถึง
ข้อความของ pattaya เมื่อ 07 ธันวาคม 2553, 21:36:08
สวัสดีค่ะ พี่เอ

สวัสดีครับน้องนุช ... ว่าที่ลูกสะใภ้พี่น่ารักจัง รักนะ

ภาพนี้ลูกชายพี่ล่าสุดหล่ะ เป็นหนุ่มแล้ว ... ปีหน้าทำบัตรประชาชน 
  หึหึ



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2807 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:04:17 »

พี่แอ๊ะครับ

เห็นด้วยครับว่า คนต่างจังหวัดทำกิจกรรมได้มากกว่าคนในกรุงเทพ ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางมากกว่าคนต่างจังหวัด
ก็ดูงานโชว์รถยนต์ซีว่า มียอดจองแล้ว 10,440 คันเศษ และคาดว่าจบงานในอีก 2-3 วันข้างหน้า ยอดขายรถอาจถึง 20,000 คัน
รถสองหมื่นคัน ต้องใช้พื้นที่บนถนนอย่างน้อย 4 เมตร/คัน รวมต้องใช้ถนนยาวถึง 80 ก.ม. ไม่รวมที่จอดรถอีกต่างหาก
รถส่วนใหญ่ใช้งานอยู่ใน กทม. แล้วจะยังมีพื้นผิวถนนเพื่อการจราจรเพิ่มเติมหรือ...ไม่มีแน่นอนครับ
พวกเราอยู่ต่างจังหวัดจึงค่อนข้างจะโชคดีในเรื่องการเดินทาง เวลาที่ใช้ไปในการเดินทาง
แต่ถนนในภาคอีสานหลายเส้นทาง ยังเป็นทางเลนเดียว ซึ่งปกติทางระหว่างจังหวัดควรจะมีอย่างน้อย 4 ช่องจราจรไป-กลับ
พี่เสนอให้ อบจ.ยโสธร สร้างถนนเลนคู่ไปทุกจังหวัดที่เชื่อมโบงกันด้วยครับ 
      บันทึกการเข้า
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #2808 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2553, 15:41:54 »

อ้างถึง
ข้อความของ prapasri AH เมื่อ 05 ธันวาคม 2553, 23:09:23
ดูรูปนี้ดีก่านะ เผื่อหมอเสียดจะเลือกให้น้องธัชชัยไปเพนท์ให้อีก




พี่แอ๊ะ มีรูปก็ post ไปเรื่อยๆนะค้าา  เดี๋ยวพวกเรา แฟนคลับ ก็ช่วยกันเลือกไปเรื่อยๆเช่นกัน  

ครั้งที่แล้ว พี่อ้อย 14 เป็นคนเลือก   คนอื่นก็เห็นด้วยค่ะเพราะเคยเห็นในเวบมาแล้ว

      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #2809 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2553, 10:07:14 »


สวัสดีค่ะ พี่แอ๊ะ หอหญิง 13  ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #2810 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2553, 22:42:18 »

สวัสดีค่ะพี่แอ๊ะ  พี่เสียด พี่เหยง น้องดร.มนตรี  ลูกชายน้องน่ารักรูปหล่อเหมือนคุณพ่อนะคะ...
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2811 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2553, 18:30:55 »

สวัสดีค๊ะ

น้องน้ำอ้อย (เรียก"ไข่มุกด์" บ้างตามโอกาส)

ไม่ทราบ"พี่แอ๊ะ"ไปติดภาระกิจอยู่ที่ไหน หายตัวไปเกิอบอาทิตย์หนึ่งแล้ว ??
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2812 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2553, 11:43:45 »

อดึตทหารญี่ปุ่นยุคนานกิง ใช้ชีวิตเพื่อคนจีนจนวันตาย
14 ธันวาคม 2553 07:34 น.


  สำหรับคนทั่วไป ไม่มีใครทราบเลยว่าชายชราผู้เป็นหมอคนนี้คือทหารผ่านศึกญี่ปุ่น ที่ยังคงอยู่ในจีนนับแต่สงครามต่อต้านญี่ปุ่นยุติไปแล้ว (ช่วงปี พ.ศ. 2480 - 2488) ไม่มีใครทราบแม้แต่บุตรสาวของเขาเอง (ภาพไชน่าเดลี) 


       ในช่วงสัปดาห์เดียวกับกระแสข่าวพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพนั้น มีข่าวการร่วมไว้อาลัยอย่างเงียบๆ ของชาวเน็ตจีน กับการจากไปของหมอจีนวัยชราในเมืองจี่หนันคนหนึ่ง เขาชื่อหมอซัน ผู้จากไปในวัย 103 ปี การเสียชีวิตของเขาไม่ได้เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ใดๆ จนกระทั่งข่าวแพร่ออกไปในโลกออนไลน์ ผู้คนจึงร่วมกันเขียนไว้อาลัย
       
       หมอยาจีนที่ชื่อ ซัน ในจี่หนันผู้นี้ เดิมในอดีตเคยเป็นทหารญี่ปุ่นที่รบในปฏิบัติการ สะพานมาร์โค โปโล (Marco Polo Bridge Incident หรือ 卢沟桥事变) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2480
       
       ชีวิตของเขาเคยได้รับการเสนอเป็นสารคดีข่าวในไชน่าเดลีย์ เมื่อปีที่แล้ว ก่อนเสียชีวิตหนึ่งปี ซึ่งหมอซัน ในวัย 102 ปีนั้นได้ให้สัมภาษณ์บอกเล่าเรื่องราวชีวิตในอดีตของเขาว่า มีชื่อจริงคือฮิโรชิ ยามาซากิ ซึ่งได้เปลี่ยนเป็น ซัน ในเวลาต่อมา และใช้ชีวิตเป็นหมอรักษาผู้ป่วยอยู่ที่เมืองจี่หนันมานานกว่า 70 ปีแล้ว
       
       "ผมเคยประจำการเป็นแพทย์อยู่อยู่นาน 6 เดือนในกองทัพญี่ปุ่น เข้าปฎิบัติการรบในศึกสะพานมาร์โค โปโล ก่อนที่จะหนีทัพ และตัดสินใจใช้ชีวิตในจีนเพื่อชดใช้คืนในสิ่งที่กองทัพญี่ปุ่นได้เคยก่อไว้" ยามาซากิกล่าวกับนักข่าวจีนเมื่อปีที่แล้ว
       
       ศึกสะพานมาร์โค โปโล คือการรบระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกับกองทัพคณะปฏิวัติแห่งชาติจีน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถือเอาว่า เป็นจุดแตกหักที่ทำให้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (พ.ศ. 2480-2488)
       
       โดยหลังจากการศึกที่สะพานมาร์โค โปโล กองทัพญี่ปุ่นซึ่งยามาซากิประจำอยู่ ก็เคลื่อนบุกตีเซี่ยงไฮ้ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนในเดือนถัดมา และเพื่อให้บรรลุภารกิจยึดจีนให้ได้ภายใน 3 เดือน กองทัพญี่ปุ่นจึงส่งกำลัง 3 เหล่าทัพ พร้อมเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าถล่มนานกิง
       
       นานกิง (หรือ หนานจิง) เมืองหลวงของจีนในเวลานั้นและยังเป็นที่ตั้งสุสานของดร.ซุนยัดเซ็น ถูกกองทัพญี่ปุ่นบุกขยี้จนเจียงไคเช็กต้องถอยทัพหนีไปที่ ฉงชิ่ง ทิ้งพลเมืองเกือบ 1 ล้านคน กับกำลังทหารป้องกันนานกิงเพียงไม่กี่หมื่นคน กระทั่งนานกิงแตกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1937 และแปรสภาพกลายเป็นทุ่งสังหารหมู่ของปีศาจสงคราม

 

       "ฝูงปีศาจ"
       ประวัติศาสตร์นานกิงบันทึกว่า ทหารญี่ปุ่นทำลายทุกสิ่ง และทุกชีวิตที่ขวางหน้า ฆ่า ปล้น ชิง เผา ข่มขืน ทรมาน ชาวนานกิงทั้งเมืองอย่างวิปริต ยิงเป้า ตัดคอ แขวนคอ ตัดแขน-ขาทั้งสี่ ตัดอวัยวะเพศ ฝังและเผาทั้งเป็น บังคับให้ลูกชายข่มขืนแม่ พ่อข่มขืนลูกสาว
       
       ยามาซากิ ซึ่งประจำการเป็นแพทย์ทหารในกองกำลังที่ถูกเรียกว่า "ฝูงปีศาจ" นี้ ไม่อาจทนดูความวิปริตที่เพื่อนทหารของตนกระทำต่อชาวเมืองผู้ไร้ทางต่อสู้ ที่สุดจึงได้หาทางหลบหนีออกจากค่าย และเดินเท้าไปจนถึงซานตง โดยความตั้งใจว่าจะหาทางข้ามทะเลกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น
       
       "แรกเริ่มเดิมที ผมไม่เคยคิดจะเป็นทหาร แต่ด้วยเหตุที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายบังคับให้ทุกครอบครัวต้องส่งลูกชายหนึ่งคนเข้าเกณฑ์ไปรบ ดังนั้น เพื่อไม่ให้พี่ชายที่เพิ่งแต่งงานมีครอบครัวต้องเสี่ยงชีวิต ผมซึ่งเป็นลูกชายคนสุดท้องของครอบครัว ตอนนั้นอายุ 31 ปี ทำงานเป็นแพทย์และยังไม่มีครอบครัว จึงรับหมายเกณฑ์มาเป็นทหาร"
       
       ยามาซากิถูกส่งตัวไปประจำการอย่างเร่งด่วน ในกองพลที่ปฏิบัติการรบบนสะพานมาร์โค โปโล ตลอดเวลา 6 เดือน หลังจากศึกครั้งนั้น เขาได้พบเห็นเพื่อนทหารญี่ปุ่นกลายสภาพเป็นปีศาจสงคราม สังหารผู้คนเพื่อความบันเทิง ครั้งหนึ่งเขาเห็นเด็กทารกชาวจีนถูกทหารญี่ปุ่นกระหน่ำแทงด้วยดาบปลายปืนอย่างสนุกสนานเหมือนแทงกระสอบซ้อมมือ ยามาซากิ พยายามเข้าไปยับยั้งความบ้าคลั่งและช่วยชีวิตทารกน้อยคนนั้น แต่สายเกินไป
       
       "เหตุการณ์นั้นทำให้ผมตัดขาดจากกองทัพ" ยามาซากิพูด และเล่าว่า ผมวางแผนหนีทัพในกลางดึกของคืนนั้น และเดินเท้ามุ่งหน้าไปทางชายฝั่งตะวันออก เพื่อหาทางกลับญี่ปุ่น แต่ด้วยความที่ไม่ได้กินอาหาร เป็นเวลา 4 วัน 4 คืน ในที่สุดก็ล้มหมดสติไป"
       
       "ผมตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ก็พบว่า ตนเองอยู่ในบ้านของชาวนาจีนแก่ๆ ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งช่วยชีวิตและให้ที่พักกับอาหาร เมื่อผมสามารถลุกเดินได้ คู่สามีภรรยาวัยชรา ให้เสื้อผ้าชุดใหม่กับผม มันเป็นชุดใหม่ๆ สะอาด ชุดเดียวที่พวกเขามีอยู่ ผมมองดูเสื้อผ้านี้ด้วยความรู้สึกที่บอกไม่ถูก ทำได้เพียงแค่โค้งคำนับเขา
       
       "นอกจากนั้น พวกเขายังยอมสละแป้งข้าว ที่มีสำรองเพียงน้อยนิดมาทำอาหารให้ผมเก็บไว้กินตอนเดินทาง"
       
       ยามาซากิ หวนรำลึกภาพครอบครัวนี้ครั้งใด ก็อดไม่ได้ที่จะหลั่งน้ำตา
       "พวกเขารู้ทั้งรู้ว่าผมเป็นทหารญี่ปุ่น แต่ก็ยังช่วยชีวิตผม"
       
       ยังมีคนจีนอีกหลายคนที่ช่วยยามาซากิตลอดการเดินทาง ซึ่งในที่สุด ก็เดินไปจนถึงเมืองจี่หนัน เขาเปลี่ยนชื่อของตน เป็น ซัน ระหว่างที่รอข้ามทะเลกลับญี่ปุ่น เขาได้งานเป็นคนเฝ้าโกดังเก็บเสบียงของกองทัพญี่ปุ่นที่สถานีรถไฟ
       
       ที่นี่ ยามาซากิ ได้เห็นความลำบากของคนจีน เขาแอบเปิดประตูให้คนงานจีนขโมยอาหารประทังชีวิต รวมถึงเสบียงยังชีพอื่นๆ กระทั่งถูกจับได้ จึงโดนสอบสวนโบยตีอย่างทรมาน แต่เขาไม่ยอมเอ่ยปากซัดทอดหรือเป็นพยานว่ามีคนงานจีนคนไหนที่เกี่ยวข้อง
       
       การยอมรับโทษเพียงลำพังในครั้งนั้น ทำให้คนงานจีนรู้สึกถือเขาเสมือนหนึ่งเป็นพี่ชาย ถึงขนาดที่มีเพื่อนจีนคนหนึ่งได้แนะนำหญิงจีนให้เขารู้จัก เธอซึ่งต่อมาได้สมรสเป็นคู่ชีวิตเขา

ฮิโรชิ ยามาซากิ วัย 101 ปี กับครอบครัวเด็กจีน ในคลีนิคของเขาที่จี้หนัน มณฑลซานตง

       "เส้นทางสายใหม่"
       ที่จี่หลินนี้ ยามาซากิ ได้ตัดสินใจว่าจะประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์ที่ตนมี และศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์แผนจีนอย่างคร่ำเคร่ง เพื่อเปิดคลีนิคหมอรักษาผู้ป่วยชาวจีนที่ยากจนโดยไม่คิดค่ารักษา และไม่ยอมกลับญี่ปุ่นอีกเลยแม้ว่าสงครามระหว่างจีน - ญี่ปุ่นจะยุติไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2488
       
       "หลังจากที่กองทัพคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี 2492 ผมได้ฟังเสียงของประธานเหมา เจ๋อตง ที่ประกาศว่าจะดำเนินนโยบายอย่างเป็นมิตรกับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน ในเวลานั้น ผมรู้สึกตื้นตัน"
       
       ยามาซากิได้งานในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาเก็บเงินเดือนให้กับผู้ยากจนอื่นๆ เขาไม่เคยพูดกับใครเกี่ยวกับความหลังของตนเอง แม้กระทั่งครอบครัว โดยบุตรสาวของเขาเพิ่งจะรู้ว่าพ่อของตนเคยเป็นใคร ก็เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง หลังจากที่บังเอิญไปได้ยินชายคนหนึ่งซึ่งพ่อเขาเคยช่วยรักษาเมื่ออดีต 40 ปีก่อน
       
       แต่ไม่ว่าจะนานเพียงใด ยามาซากิ ไม่เคยลืมความจริงที่เขาเก็บไว้ข้างในเงียบๆ นั่นคือความทารุณที่ทหารญี่ปุ่นได้เคยทำไว้
       
       หลังจาก 40 ปี ที่เข้ามาเหยียบแผ่นดินจีนพร้อมกับกองทัพจักรพรรดิ์ ยามาซากิ ได้กลับไปประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2519 สี่ปีหลังจากที่จีนกับญี่ปุ่นได้เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูต
       
       "แม้ว่า ครอบครัวของผมที่ญี่ปุ่นจะดีใจมากและต้องการให้ผมกลับมาอยู่ในญี่ปุ่น ผมก็ได้แต่บอกครอบครัวว่า ประเทศจีนคือบ้านของผมแล้ว ผมต้องกลับบ้าน"
       
       ในปีนั้น ยามาซากิทราบข่าวว่า เมืองทากิโมโต บ้านเกิดของเขา ในญี่ปุ่น ต้องการที่จะสานมิตรภาพระหว่างเมืองกับเมืองจี่หนัน เขาจึงอาสาทำงานในโครงการนี้
       
       ยามาซากิ เขียนจดหมายไปถึงนายนากาโซเน่ ยาสุฮิโร นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในเวลานั้น ถึงแผนงานของเขา และได้รับจดหมายตอบกลับมาจากนายกฯ
       
       ซึ่งในที่สุดด้วยการร่วมปฏิบัติงานของเขา ทำให้การกระชับความสัมพันธ์ของสองเมืองนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีในปี พ.ศ. 2526 และเขาได้รับจดหมายแสดงความขอบคุณจากทางการทั้งสองเมือง
       
       "ยามาซากิ บอกว่า นี่คือสิ่งดีๆ สิ่งเดียวในชีวิตที่ผมรู้สึกว่าทำสำเร็จ"
       
       ในความจริง ยามาซากิผู้เงียบขรึม ได้ทำมากกว่าที่เขาพูด ทุกๆ ปี ยามาซากิจะอุทิศเงินสวัสดิการที่ตนได้รับจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับชาวจีน เขายังได้สอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนจีนที่สนใจ โดยไม่คิดเงินทอง และออกเดินทำงานกวาดถนนหนทางสาธารณะรอบๆ ที่พักของตน ทุกวัน ตลอด 20 ปีที่ผ่านมานี้
       
       เขายังอุทิศหนังสือและอุปกรณ์การแพทย์ที่ซื้อมาจากญี่ปุ่นจำนวนมากแก่ห้องสมุดและโรงพยาบาลที่ยากไร้ในเมืองจี่หนัน โดยไม่มีของฝากอะไรจากญี่ปุ่นแก่ครอบครัวตัวเองเลย
       
       เขาเชื่อว่า หนทางที่ดีที่สุดที่จะขอโทษ และชดใช้กับความรู้สึกผิดที่ตนและทหารญี่ปุ่นในครั้งนั้นได้เคยทำไว้ มีแต่เพียงการชดใช้ด้วยการทำความดีต่อคนจีนให้มากยิ่งๆ ขึ้นไปเท่านั้น
       
       เมื่อล่วงสู่วัยชรา บรรดาผู้คนที่เคยรู้จักอดีตของเขาเริ่มสูญหายตายจากไปเกือบหมด จนแทบไม่มีใครรู้จักยามาซากิ ทหารญี่ปุ่นคนนี้อีกต่อไป
       
       เส้นทางที่ยามาซากิตั้งใจเมื่อแรกหนีทัพกลับญี่ปุ่นนั้น ได้เปลี่ยนเป็นทางสายใหม่ ซึ่งนำไปสู่การอุทิศตนเพื่อชดใช้และสร้างสันติภาพ
       
       ยามาซากิ วัย 103 ปี เสียชีวิตอย่างสงบด้วยชราภาพ ในวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมานี้ โดยเมื่อครั้งที่เขายื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวจากทางการจีนนั้น ยามาซากิได้ระบุแนบท้ายไว้ว่า "เมื่อผมตาย ผมขออุทิศร่างกายเพื่อเป็นประโยชน์ทางการแพทย์แก่ชาวจีน โปรดได้รับร่างกายนี้ไว้ด้วย"
[/size]




"ตราบใดที่ดวงจันทร์ยังทอแสง ขอให้มนุษย์มีเมตตาต่อกัน" ลายมือของยามาซากิ

สือมวลชนจีนเมื่อครั้งไปสัมภาษณ์ ยามาซากิ ปี พ.ศ. 2552



จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9530000175338
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2813 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2553, 17:31:19 »

เวียดนามอาลัยมารดาวีรชน ลูกชาย 9 คนสละชีพเพื่อชาติ
15 ธันวาคม 2553 11:28 น.

อาลัยรัก-- จากกันไปนาน 40-50 ปีกว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ "แม่ถู" ยังจุดเทียนให้กับดวงวิญญาณของบุตรชาย วีรบุรุษทั้ง 9 คนอยู่เสมอ และ บัดนี้คุณยายเหวียนถิถู (Nguyen Thi Thu) ได้กลับไปอยู่กับทุกคนแล้ว ในสุสานวีรชนแห่งแผ่นดินบ้านเกิด ที่ทุกคนหลั่งเลือดต่อสู้พิทักษ์ปกป้องมา. 
 


       Photos by Tin Tuc
       ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ชาวเวียดนามหลายพันคนได้ร่วมกับครอบครัวนางเหวียนถิถู (Nguyen Thi Thu) เพื่ออาลัยเป็นครั้งสุดท้ายในวันอังคาร 12 ธ.ค.ศกนี้ ที่บ้านเกิด จ.กว๋างนาม (Quang Nam) ในภาคกลางของประเทศ ทางการได้จัดงานพิธีศพ “มารดาวีรชนแห่งชาติ” อย่างสมเกียรติ
       
       นางถู สูญเสียบุตรชายไปทั้ง 9 คน ในสงครามต่อสู้กับฝรั่งเศสเพื่อเอกราช และในสงครามกับสหรัฐฯ เพื่อให้เวียดนามได้เป็นประเทศเอกราช ซึ่งนำมาสู่การรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวในปี 2519 นอกจากนั้น ยังสูญเสียบุตรเขย พร้อมหลานสาว 1 คน
       
       มารดาวีรชนถึงแก่กรรมเมื่อวันศุกร์ด้วยวัย 106 ปี ท่ามกลางความเศร้าสลด ของญาติมิตร และเพื่อนบ้านร่วมคอมมูนเดียวกัน ทุกคนรู้จัก เคารพนับถือและเทิดทูนการเสียสละของสมาชิกครอบครัวนี้
       
       นางถู แต่งงานตั้งแต่อายุ 20 ปี มีลูกทั้งหมด 12 คน เป็นหญิง 1 คน ชาย 11 ในนั้น 1 คนเสียชีวิตแต่เยาว์วัย และนับตั้งแต่สามีถึงแก่กรรมในปี 2532 ชีวิตในบั้นปลายอาศัยอยู่กับบุตรสาวคนโตซึ่งปัจจุบันอายุ 86 ปี และบุตรชายคนสุดท้องวัย 68 ปี ซึ่งเป็นผู้จัดงานศพของมารดาในวันนี้
       
       นางฮายบ่าจิ (Hai Ba Tri) บุตรสาวเพียงคนเดียวก็เป็นมรดาวีรชนอีกคนหนึ่ง สามีของนางกับบุตรสาว 1 คน เสียชีวิตในสงครามกับสหรัฐฯ เช่นกัน
       
       พิธีแห่ศพจากบ้านพักในคอมมูนเดียนจาง (Dien Trang) อ.เดียนบาน (Dien Ban) จ.กว๋างนาม จัดขึ้นในเช้าวันอังคาร ขบวนแถวของผู้คนทอดยาวไปตามสองข้างทาง เป็นจำนวนหลายพันคน ขณะมุ่งไปยังสุสานวีรชนเดียนจาง พิธีฝังศพแล้วเสร็จลงเวลา 10.40 น.ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวติ๋นตึก (Tin Tuc)
       
       ทางการจังหวัดได้จัดทหารกองเกียรติยศขบองกองทัพประชาชนเข้าร่วมพิธีศพของมารดาวีรชนแห่งชาติครั้งนี้ด้วย สำนักข่าวออนไลน์ภาษาเวียดนาม กล่าว
       
       เกิดปี ค.ศ.1904 นางเหวียนถิถู ได้รับการยกย่องเชิดชูเป็นนักปฏิวัติที่เสียสละอย่างสูงผู้หนึ่ง แม้ว่าบุตรชายจะล้มตายลงคนแล้วคนเล่าในสงครามกับข้าศึกที่มีอาวุธเหนือกว่า แต่ไม่เคยย่อท้อ ทั้งยังให้กำลังใจ ให้ทุกคนร่วมต่อสู้ต่อไป คำพูดของ “แม่ถู” ที่ว่า “ต้องเสียสละต่อไป” ยังก้องอยู่ในหูของเพื่อนบ้านตลอดมา
       (โปรดเลื่อนลงเพื่ออ่านต่อ)


       2

อาลัยรัก-- จากกันไปนาน 40-50 ปีกว่าแล้ว คุณยายเหวียนถิถู (Nguyen Thi Thu) ยังคงจัดสำหรับกับข้าวเลี้ยงดูบุตรชาย วีรบุรุษทั้ง 9 คนอยู่เสมอ และ บัดนี้คุณยายได้กลับไปอยู่กับทุกคนแล้วในสุสานวีรชนแห่งเดียวกันที่แผ่นดินบ้านเกิด ที่ทุกคนหลั่งเลือดต่อสู้พิทักษ์ปกป้องมา. 

       3
       
       บ้านหลังที่อยู่ทุกวันนี้เมื่อ 40-50 ปีก่อน เคยเป็นแหล่งหลบซ่อนของนักรบกองโจรในช่วงสงครามกับสหรัฐฯ โดยขุดอุโมงค์ไว้ในบริเวณสวนหลังบ้าน ทำผนังและเพดานอย่างแน่นหนา ข้างบนเลี้ยงวัวเอาไว้หลายสิบตัว อำพรางทางการระบอบไซ่ง่อนกับกองทัพสหรัฐฯ เอาไว้
       
       นางถูกับบุตรสาวจะคอยจัดหาอาหารไว้เลี้ยงดูนักรบปฏิวัติ และคอยจุดตะเกียงน้ำมันส่งสัญญาณบอกนักรบ เกี่ยวกับเวลาเข้าเวลาออกที่ปลอดภัย หลังออกปฏิบัติการโจมตีข้าศึกแต่ละครั้ง สื่อของทางการกล่าว
       
       “ในวันนี้สวนหลังบ้านของนางถูเต็มไปด้วยผู้คนที่ไปไว้อาลัยมารดาของทุกคนที่ต่อสู้เสียสละเพื่อประเทศชาติ ญาติๆ และเพื่อนบ้าน ชาวเวียดนามทั่วไปจากท้องถิ่นและจังหวัดอื่นที่ทราบข่าวไปกันไปที่นั่นเพื่ออาลัยเป็นครั้งสุดท้าย” ติ๋นตึก กล่าว
       
       บุตรชาย 3 คนแรกสละชีพ เมื่อปี 2491 คนที่ 4 ในปี 2497 ในช่วงสงครามต่อต้านฝรั่งเศส อีก 5 คน ทยอยเสียสละชีวิตในปี 2509, 2515 (2 คน) 2517 และคนล่าสุดในวันที่ 30 เม.ย.2518 ขณะสู้รบในกรุงไซ่ง่อน ซึ่งทำให้ฝ่ายกองโจรสามารถยึดเมืองหลวงของอดีตเวียดนามใต้ได้ในวันเดียวกัน ส่วนบุตรเขยเสียชีวิตในปี 2500 และ บุตรสาว (หลานสาว) สิ้นชีพในการสู้รบปี 2516
       
       ในปี 2536 นางถู ได้รับเหรียญตราแห่งเกียรติยศจากประธานาธิบดีเวียดนาม และ ประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติจากประธานรัฐสภาเวียดนาม ประวัติและรูปภาพกาต่อสู้ของ “แม่ถู” ได้รับการจารึกไว้ในพิพิธภัณฑ์ทหารของกองทัพประชาชนเวียดนาม
       
       ในปี 2550 ในโอกาสครบรอบปีที่ 60 วันแห่งวีรชนและนักรบเก่า กระทรวงแรงงาน สวัสดิการสังคมและนักรบเก่าในยุคนั้น ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์มารดาวีรชนแห่งชาติขึ้นที่ อ.เติมกี๋ (Tam Ky) อนุสาวรีย์สูง 15.2 เมตร ปั้นหล่อเป็นรูปของนางเหวียนถิถู เพื่อให้เป็นตัวแทนของมารดาวีรชนผู้เสียสละทั่วประเทศ
       
        อาลัยมารดาวีรชนแห่งชาติ
วันนี้หลานๆ ช่วยกันนำคุณยายถูไปสู่สวงสวรรค์ เพื่ออยู่ร่วมกับคุณลุงกับคุณน้าอีก 9 คน.   

       4
ทหารกองเกียรติยศของกองทัพประชาชน ไปช่วยส่งดวงวิญญาณของมารดาวีรชนแห่งชาติ.

       5
รถนำคุณยายถูไปยังสุสานวีรชน มารดาวีรชนแห่งชาติจะสถิตในดวงใจของชาวเวียดนามตลอดไป.

       6
ทหารผ่านศึกที่ยังมีชีวิตอยู่ไปร่วมงานศพ หลายคนเคยหลบซ่อนที่บ้านและได้กินข้าวของ "แม่ถู".

       7
ชาวเวียดนามจากต่างท้องถิ่นและต่างจังหวัดที่ทราบข่าวไปร่วมงานศพคุณยายถูเนืองแน่น.

       8
จากกันไป 40-50 ปีกว่าๆ บัดนี้คุณยายได้อยู่ร่วมกับลูกชายทั้ง 9 แล้ว ณ สุสานวีรชน ใน จ.กว๋างนาม (Quang Nam).

       9
 
 

 
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9530000175989
 
      บันทึกการเข้า
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2814 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 21:19:34 »

มาแล้วจ้า มาแล้วจ้า หลังจากหายไปหลายวัน

พาลูกสาว เด็กหญิง.หมอ กระติ๊บ ไปดูงานและไปเที่ยวเซี่ยงไฮ้ค่ะ

      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2815 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 21:25:57 »

      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2816 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 21:33:34 »

พ่อใหญ่หาญนั่งหลับตา ใน "เล้า " ซะแหล่ว

      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2817 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 21:36:16 »




กับลูกสาวสุดรัก
      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2818 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 21:40:44 »

เปิด แชมเป....... เขียนยังไงหว่า

      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2819 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 22:04:05 »

ส่งรูปดูงานซะที่

คือเนื่องจากมีบริษัทมาเสนอขายเครื่อง ตัดมะเร็งและก้อนเนื้อ ชื่อเครื่อง HIFU

ด้วยระบบ HIGH  INTENSITY  FOCUSED  ULTRASOUND

ใช้ อัลตร้าซาวน์ เล็ง แล้วส่งความร้อน เข้าไปทำลายเนื้องอกหรือเนื้อมะเร็งร้าย

แทนการให้คีโม หรือฉายรังสี

(จีน ทำวิจัยทดลองได้ดีเพราะมีประชากรมาก ที่ป่วยเป็นมะเร็ง เลยทดลองแบบ ตายบ้างรอดบ้างไม่ค่อยเสียดายชีวิตคนกันเท่าไร

  ทดลองเป็นจำนวนมากเลยทำให้ หาข้อสรุปได้ว่าเครื่องนี้สามารถรักษาได้จริง)

ได้ fda  ของเกาหลี และ fda จีน แต่ยังไม่ได้จาก พี่ เมริกา แต่ คนอเมริกามารักษากันเป็นจำนวนมากแล้ว

(พี่แอ๊ะคิดว่าหากเครื่องนี้ใช้ได้ดี บางทีมาตรฐาน ต่างๆ เป็นการกีดกันทางการค้าเหมือนกันนะ)

เครื่องนี้ได้วางที่อังกฤษแล้ว  ที่ สิงคโปร์ ด้วย

คนไทยไปรักษา ที่จีนกันมาก แต่ หากไปในบางเมืองจะทนความสกปรกของโรงพยาบาลที่นั่นไม่ไหว

นี่คือเครื่อง ไฮฟู ค่ะ



      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2820 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 22:33:58 »


เนื่องจาก โรงพยาบาลที่พี่แอ๊ะไปดูงานเป็นโรงเรียนแพทย์ มาตรฐานสูงแบบ ศิริราช

จึงสะอาด และ ดีมาก

หารูปโรงพยาบาลจากกล้องไม่เจอซะเเล้ว

จะเอารูปหมอ สาวชาวจีนสวยให้ดร.ป๋องสักคน (ให้ดูนะ)แต่รูปหายไปแย้ว หมอคงกลัวดร.ป๋องจะจีบ อิๆๆๆ

ดูรูปไปเที่ยวก่อนนะ

      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2821 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2553, 07:33:17 »

พี่แอีะ

เล่าต่อเรื่องการไปดูเครื่อง วิธีการรักษาและผลการใช้เครื่องนี้ด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2822 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2553, 07:56:08 »

เหยง

เครื่อง hifu นี้ พี่แอ๊ะรู้จักมาประมาณ5-6 ปีแล้ว มีสิงคโปร์มาเสนอขาย

แต่ช่วงนั้นพี่แอ๊ะดูแล้ว ไม่มั่นใจว่าจะรักษาโรคได้จริง ตอนนั้นเขาใช้กันในวงการแพทย์ทางเลือก

พี่แอ๊กก็ทำแพทย์ทางเลือก ที่ร.พ พี่แอ๊ะเหมือนกัน

แต่พี่แอ๊ะรู้สึกว่า แพทย์ทางเลือก ยังไม่เหมาะกับสภาพ คนจนๆ ทางอิสาน

เหมาะกับคนรวยๆที่หาทางเลือก ผิดบ้าง ถูกบ้าง

ไม่เป็นวิทยาศาสตร์

บางทีก็เหมือนหลอก  เรียกว่า เข้าทางแพทย์ ว่างั้นเถอะ

พี่หาญก็ไม่สนับสนุนเพราะหลายๆ propocal  พิสูจน์ไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีผลทางวิจัยที่ชัดเจน

ลองเข้าไปในคลินิกแพทย์ทางเลือก ที่มีกันมากๆ ในกรุงเทพ

 คนที่ใจไม่เเข็ง เงินจะหมดไปในกระเป๋าเลยทีเดียว

เพราะหมอ ดังๆที่รักษาแพทย์ทางเลือก จะรักษา ด้วยปาก คือพูดเก่ง

เราก็รูดการ์ด ให้ไปโดยเชื่อตอนนั้น พอออกมาจากคลินิกนั้นก็ รู้สึกไม่สบายใจว่า โดนหลอกเข้าอีกแล้ว

พี่หาญเยอะเย้ย พี่แอ๊ะบอกว่า เข้าทางแพทย์ (อีกแล้ว)
      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #2823 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2553, 08:06:23 »

พี่แอ๊ะศึกษาทั้ง stemcell  ทั้งเซล์สด จากเยอรมัน เซลล์สกัด

และอะไรๆต่างๆมากมายที่เป็นทางเลือก ที่เข้าทางแพทย์ หาเงิน

ศึกษามากแต่ก็ไม่กล้าให้กับคนไข้เพราะเเพงมาก ทั้งๆที่ต้นทุน นิดเดียว

แต่ที่สำคัญคือยังไม่มีเหตุผลทางการแพทย์ยอมรับว่ารักษาได้จริง

พี่แอ๊ะเคยมีลิขสิทธิ์ เซลล์ จาก ฝรั่งของเยอรมัน

แต่พี่แอ๊ะก็ไม่ได้นำมารักษาคนไข้ เพราะแพทยสภายังไม่ยอมรับ

และกลัว ว่าเราจะทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

เเต่จากการศึกษามานาน ทั้งการอ่านและลงไปคลุกคลี กับเรื่องนี้

เลยคิดว่า ตัวเอง มีความรู้มากพอสมควร แต่ยังไม่นำมารักษาคนไข้ ตราบใด ที่ยังไม่ถูกกฎหมาย

และได้รับการวิจัย ที่ถูกต้อง ได้รับการยอมรับ และไม่ผิดจริยธรรม

มีหมอคนหนึ่งชมพี่แอ๊ะที่ทำให้พี่แอ๊ะภาคภูมิใจว่าเราใจแข็งไม่เถเลไถล

ไปกับการเห็นเงินจำนวนสูงที่ได้จากคนไข้ เเต่ไม่มั่นใจว่าจะรักษาคนไข้ได้จริงว่า

 หมอผู้หญิงคนนั้น บอกว่า "หนูชอบพี่จริงๆที่พี่รู้เรื่องนี้มาก แต่ไม่เอามาให้กับคนไข้"

      บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2824 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2553, 08:18:15 »

พี่แอ๊ะ

แล้ว HIFU นี้จะมีมาอยู่ใน รพ.เครือนายแพทย์หาญ หรือเปล่า??
ติดตั้งเครื่องเดียว แต่ใช้กับทุกโรงพยาบาลเครือข่ายน่ะ หรือมีทุกโรงพยาบาล
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 111 112 [113] 114 115 ... 131   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><