ไทยไม่แพ้ชาติใด “ดร.กฤษณา” ได้รับรางวัลแมกไซไซประจำปี 20093 สิงหาคม 2552 16:29 น.
เอเจนซี - คณะกรรมการรางวัลแมกไซไซ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นรางวัลโนเบลแห่งเอเชีย ประกาศมอบรางวัลประจำปีนี้
แก่ชาวเอเชีย 6 คน หนึ่งในจำนวนนี้ ประกอบด้วย “เภสัชกรยิปซี” ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ซึ่งอุทิศตนผลิตยาราคาถูก ช่วยเหลือผู้
ป่วยติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ในไทย และในทวีปแอฟริกา ขณะที่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวพม่าก็ได้รับรางวัลจากการทำ
งานโดยไม่หวังเกรงกับอิทธิพลใดๆ
คณะกรรมการรางวัล รามอน แมกไซไซ ประกาศมอบรางวัลประจำปีในวันนี้ (3) ประกอบด้วยชาวจีน 2 คน อินเดีย ฟิลิปปินส์
พม่า และไทยชาติละ 1 คน ได้แก่
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัย 57 ปี ได้รับรางวัลจากอุทิศตนผลิตยาราคาถูกช่วยเหลือ
ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ทั้งในประเทศไทย และในทวีปแอฟริกา
ชาวพม่า คือ คา ซอว์ วา นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งในระหว่างที่เป็นนักศึกษา เขาเคยถูกทหารพม่าจับ
ทรมาน แต่ในปัจจุบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร เอิร์ธไรท์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งรณรงค์ไม่ใช้ความรุนแรงในการแสดงออก ได้รับรางวัล
จากการช่วยแก้ไขปรับปรุงและให้การศึกษาเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และประชาธิปไตยในพม่าอย่าง
ไม่เกรงกลัวสิ่งใด
ชาวจีน 2 คนที่ได้รับรางวัลนี้ คือ
อี๋ว์ เสี่ยวกัง ในฐานะเป็นผู้รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักเกี่ยวกับเขื่อนที่สร้างขึ้นในจีน และ
ได้อุทิศตนเพื่อศึกษาและประเมินผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการก่อสร้างอภิมหาโครงการทุกแห่ง ขณะที่
หม่า จวิน อดีตนักหนัง
สือพิมพ์ชาวจีนอีกคน ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ จากการเสนอรายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในจีน โดยเฉพาะการระบุชื่อบริษัท
กว่า 10,000 แห่ง ที่ละเมิดมาตรฐานการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
ทีป โจชี ชาวอินเดีย ผู้จบปริญญาจากมหาวิทยาลัยแมสชาชูเซตส์ อินสติติวออฟเทคโนโลยี(MIT) ได้รับรางวัลจากผลงาน
อุทิศตนเพื่อการพัฒนาชนบทของอินเดียมานานหลายทศวรรษ อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งได้ระดมและเตรียม
พร้อมให้นักศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยเข้าสู่โครงการระดับรากหญ้าในชุมชนที่ยากจนของอินเดีย
อันโตนิโอ โอโปซา จูเนียร์ ทนายความและนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมชาวฟิลิปปินส์ คว้ารางวัลในฐานะผู้รณรงค์ต่อต้านการ
ทำลายระบบนิเวศวิทยาทางทะเล รวมทั้งอำนวยการลาดตระเวนทางทะเลเพื่อป้องกันเรือที่จะระเบิดปลาโดยผิดกฎหมายด้วย
ทั้งนี้
ดร.กฤษณา กล่าวว่า รู้สึกเฉยๆ กับรางวัล เพราะไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับเกียรตินี้ เธอก็จะต้องทำงานต่อไป และไม่
เคยคาดหวังว่าจะต้องได้รับรางวัลใดๆ อย่างไรก็ตาม รู้สึกดีใจที่มีคนเห็นสิ่งที่เธอทำ โดยโครงการต่อไปคือการช่วยเภสัชกรท้อง
ถิ่นผลิตยารักษามาลาเรียในบุรุนดี ดร.กฤษณา ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก จากมูลนิธิเลตเทนของนอร์เวย์มาแล้วในปี 2004 และเป็นบุคคลแห่งปีของ
นิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ประจำปี 2008 จากการทำงานบริการสาธารณะมาตลอด หลังจากจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และจบปริญญาเอกในสาขาเภสัชเคมีจากประเทศอังกฤษ
อนึ่ง รางวัลรามอน แมกไซไซ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1957 เพื่อเป็นเกียรติแด่อดีตประธานาธิบดี รามอน แมกไซไซ แห่งฟิลิปินส์
ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกในปี 1956
http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9520000087778