25 พฤศจิกายน 2567, 00:45:27
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 41 42 [43] 44 45   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เกียรติภูมิจุฬาฯของเรา  (อ่าน 439047 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #1050 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2555, 22:52:36 »



      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1051 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2555, 18:49:06 »

ข่าวล่าสุดครับ

สภาจุฬาฯ เสนอ "หมอภิรมย์" เป็นอธิการฯ ต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:36 น.

 

สภาจุฬาฯมีมติป็นเอกฉันท์เสนอ "หมอภิรมย์" เป็นอธิการบดีต่ออีก วันนี้ (23 ก.พ.) ที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาฯ เปิดเผยภายหลังการประชุมสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีวาระการสรรหาอธิการบดีจุฬาฯคนใหม่ ว่า คณะกรรมการสรรหาฯ ซึ่งมี ศ.ดร.ประเวศ วะสี เป็นประธานฯ มีมติเสนอชื่อ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ คนปัจจุบัน เป็นอธิการบดี ซึ่งที่ประชุมสภามีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสรรหาฯ เสนอ  โดยกระบวนการหลังจากนี้ ศ.นพ.ประเวศ จะดำเนินการทาบทาม ศ.นพ.ภิรมย์ เข้ารับตำแหน่ง ซึ่งตนคิดว่าไม่น่าเป็นปัญหา จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตามขั้นตอนต่อไป   
 

"ในที่ประชุมไม่มีข้อซักถามและไม่มีความเห็นคัดค้านต่อการนำเสนอชื่อ ศ.นพ.ภิรมย์ โดยส่วนตัวไม่ทราบว่าข่าวเรื่องความขัดแย้งมาจากที่ใด แต่ขอยืนยันว่าจุฬาฯ ไม่มีความขัดแย้้งกัน เพราะทุกคนมีพระเกี้ยวในหัวใจ หากมีความเห็นต่างก็สามารถปรับเข้าหากัน โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นเป้าหมายหลักของทุกคน" นายกสภาจุฬาฯ กล่าว   
 

ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กล่าวต่อว่า จากนี้ไปการทำงานของสภามหาวิทยาลัยและฝ่ายบริหารรวมทั้งประชาคมจุฬาฯ ก็จะทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเดียวกัน โดยนโยบายของตนในฐานะเป็นนายกสภาคนใหม่ จะมุ่งเน้นการบริหารงานบุคคล ตลอดจนการบริหารงานด้านการเงินและงบประมาณให้มีความคล่องตัว และมุ่งสร้างบัณฑิตที่เป็นคนดีให้กับแผ่นดิน และให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงมุ่งสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับสังคม


http://www.dailynews.co.th/education/14144
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1052 เมื่อ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 22:10:05 »

คุณหญิงสุชาดาลั่นยกเครื่องสภาจุฬาฯ รื้อนโยบาย-ปรับเงินเดือน ดึงคนเก่งเข้ารั้งคนเก่าอยู่ต่อ
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:52:33 น.
 
 
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สภาจุฬาฯ ภายใต้ พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ กำหนดให้สภามหาวิทยาลัยมีบทบาทหน้าที่มากขึ้นทั้งการบริหารงานบุคคล และงบประมาณ ดังนั้น ตนคิดว่าสภาจุฬาฯ ที่มีตนเองเป็นนายกคงต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำให้งานให้มีความคล่องตัวและกระฉับกระเฉงมากขึ้น เพื่อให้จุฬาฯ สามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ ตาม พ.ร.บ.ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจต้องรื้อนโยบายบางอย่างของมหาวิทยาลัย โดยต่อไประบบจะต้องมีการประเมินผู้บริหารระดับสูงแบบวัดที่ผลงานมากขึ้น ขณะเดียวกันสภาเองก็จะต้องประเมินการทำงานของตัวเองด้วย เพื่อให้ระบบริหารจัดการมีความเป็นสากลมากขึ้น เป็นเครื่องมือในการประกันได้ว่ามหาวิทยาลัยสามารถเป็นหลักให้สังคมได้


นายกสภาจุฬาฯกล่าวต่อว่า โดยเฉพาะเรื่องการบริหารงานบุคคลที่จะต้องมาดูให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง  เพราะการที่รัฐบาลที่ได้ปรับเงินเดือนให้ผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท หรือปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำนั้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยด้วย สมมุติว่าเงินเดือนของจุฬาฯ ต่ำกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของหน่วยงานอื่น คนเก่งก็จะไม่อยากมาทำงานกับจุฬาฯ


“มหาวิทยาลัยคงต้องมาดูตัวเองว่า หากพนักงานมหาวิทยาลัยของเรายังได้รับเงินเดือนเท่านี้ จะเพียงพอหรือไม่ เพราะหากเราไม่ปรับคนที่เก่ง ดี มีคุณภาพ ก็คงไม่อยากมาทำงานกับเรา ที่สำคัญไม่ใช่เฉพาะคนที่เข้าใหม่เท่านั้น แต่จะต้องดูไปถึงคนที่อยู่มาเก่าด้วย จบปริญญาตรีเหมือนกันแต่ยังไม่ถึง 15,000 จะทำอย่างไร หรือทำงานมานานแต่เงินเดือน 15,200 บาท ขณะที่เด็กจบใหม่เข้ามา 15,000 คนที่อยู่เก่าก็อาจจะเสียความรู้สึก ซึ่งก็ต้องไปดูเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม” คุณหญิงสุชาดากล่าว


 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330502028&grpid=00&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1053 เมื่อ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 22:13:03 »

ลุ้นระทึก ! ประกาศแล้วครับ รับตรงจุฬาฯ ปี 55 อย่าเป็นลมเสียก่อน !
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 20:47:07 น.
   
 
วันนี้ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้ประกาศผลการรับบุคคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยวิธีการรับตรง ปีการศึกษา 2555


รายชื่อที่ประกาศคือผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์


อยากรู้ว่า ผลสอบ คลิกดูที่นี่เลย เดี๋ยวนี้


http://admission2.atc.chula.ac.th/ChkStat1.aspx
 
มติชน ออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330437092&grpid=&catid=19&subcatid=1903
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #1054 เมื่อ: 02 มีนาคม 2555, 09:05:56 »

     มา ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1055 เมื่อ: 02 มีนาคม 2555, 16:22:18 »

สวัสดีครับ พี่ปี๊ด

ศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2555 (วันนี้) เริ่มงานตั้งแต่เวลา 15.30 น. เป็นต้นไป หน้าตึก 3 คณะวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


      บันทึกการเข้า
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #1056 เมื่อ: 03 มีนาคม 2555, 20:29:28 »


มาค่ะ
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1057 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 17:48:13 »

เจาะใจ..หญิงแกร่ง คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ "ความเฉียบขาดเป็นนิสัยแต่โบราณ..ต่อไปจะนุ่มนวลลง!!!
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:35:55 น.


หลัง คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น "นายกสภาจุฬาฯ" เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาต่อจาก นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตนายกสภาจุฬาฯ ที่หมดวาระลงหลังนั่งอยู่ในตำแหน่งนี้มานานนับ 10 ปี

โดยคุณหญิงสุชาดาได้สร้างปรากฏการณ์สำคัญๆ ให้แก่ประชาคมจุฬาฯ โดยถือเป็นสตรีคนแรกของจุฬาฯ ที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกสภาจุฬาฯ หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีหญิงคนแรกของจุฬาฯ มาแล้ว

"มติชน" จึงถือโอกาสนี้สัมภาษณ์พิเศษเพื่อเปิดใจ "หญิงเก่ง" และ "หญิงแกร่ง" แห่งรั้วจามจุรี ในฐานะนักบริหารหญิงสู่ผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของจุฬาฯ ที่จะก้าวต่อไปเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 รวมถึงการเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการสรรหาอธิการบดีจุฬาฯ ในช่วงที่ผ่านมา

- หลายคนจับตาดูผู้หญิงคนแรกที่เคยเป็นอธิการบดี และยังได้เป็นนายกสภาจุฬาฯ รู้สึกอย่างไรบ้าง?

"ความที่เป็นผู้หญิง ก็รู้สึกว่าเป็นเกียรติ และปลื้มที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาคมจุฬาฯ ถ้าประชาคมไม่เอาด้วยก็คงไม่ได้มาอยู่ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้หญิง เพราะในวงวิชาการแม้เราจะมีผู้บริหารระดับคณบดีเป็นผู้หญิง แต่การจะขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ต้องยอมรับว่าค่อนข้างลำบาก แต่ความกดดันในการทำงานจะเกิดกับตัวเองมากกว่า เพราะเป็นคนที่วางเป้าหมายไว้ว่าจะทำอะไรบ้างแต่เป็นความโชคดีที่อยู่ในจุฬาฯ มานานจะค่อนข้างเข้าใจคนทุกระดับ"

- มีนโยบายที่จะยกเครื่องสภาจุฬาฯ ในเรื่องใดบ้าง?

"การยกเครื่องสภามหาวิทยาลัยมาพร้อมกับข้อกำหนดของกฎหมาย เพราะการที่จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐไม่ใช่มหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการมีข้อกำหนดที่แตกต่าง คือกำหนดว่าสภามหาวิทยาลัยคือองค์กรสูงสุดที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัย ทำให้ต้องทำหน้าที่ได้ตามความคาดหวังของประเทศชาติและกฎหมายรวมทั้ง ต้องบริหารจัดการให้ได้ด้วยดี ที่เคยบอกว่าเป็นส่วนราชการแล้วทำงานอืด ล่าช้า ในเมื่อขอเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐเพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ก็ต้องแก้ให้ได้

ทั้งนี้ จุฬาฯ ออกนอกระบบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ตามกรอบความคิดมองว่ามหาวิทยาลัยน่าจะมีการบริหารจัดการที่ไม่ใช่แบบส่วนราชการ ซึ่งเท่าที่ดูทุกวันนี้ยังเป็นอยู่ไม่ค่อยมีความเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐมหาวิทยาลัยก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง ให้มีความคล่องตัวและมีความโปร่งใสในการทำงาน

สภามหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยเหนือที่ต้องรับบทหนักดูแลเรื่องนี้ คือจากนี้ไปต้องกำกับดูแลให้มหาวิทยาลัยเดินไปในทิศทางที่เหมาะที่ควร และในบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.จุฬาฯ มาตรา 21 เขียนไว้ชัดขึ้นว่า สภามหาวิทยาลัยจะต้องดูข้อบังคับว่ามหาวิทยาลัยทำอะไรได้บ้าง และ 2 ข้อที่ชัดเจนคือ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ข้อบังคับว่าด้วยการเงินการคลัง งบประมาณ ซึ่งเป็นข้อย่อยของมาตรา 21 และยังมีข้อย่อยออกมา เช่น เรื่องประเมินจากเดิมที่ไม่มีการประเมินตามสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ตอนนี้มีการประเมิน ทั้งผู้บริหารระดับสูงว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่สภามหาวิทยาลัยเองก็ต้องดูว่าภายใต้ระบบการบริหารงานสมัยใหม่

การจะมีธรรมาภิบาลไม่ใช่ประเมินเฉพาะผู้บริหารเท่านั้น สภามหาวิทยาลัยต้องประเมินตัวเองด้วยว่าทำหน้าที่ได้ดีหรือไม่ จะเหมือนกับองค์กรทั่วไปในสากลที่ต้องประเมินตัวเอง ประเมินฝ่ายบริหาร ประเมินผู้บริหาร เพื่อจะเป็นเครื่องมือในการการันตีว่าสังคมจะได้ผลผลิต ผลลัพธ์ของมหาวิทยาลัยอย่างที่พึงเป็น และอย่างที่คาดหวัง ตราบเท่าที่ยังใช้เงินงบประมาณแผ่นดินอยู่ ก็ต้องตอบโจทย์ตรงนี้ให้ได้ไม่ใช่จะเอาเงินหลวงไปทำอะไรก็ได้"

- บทบาทของสภาจุฬาฯ ในปัจจุบันเป็นอย่างไร?

"จากที่เข้ามาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาจุฬาฯ และเข้าร่วมประชุม 2-3 ครั้ง ยังเห็นว่าสภาจุฬาฯ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยังทำงานคล้ายๆ กับสภาจุฬาฯ ภายใต้ พ.ร.บ.เดิมอยู่จึงต้องมานั่งดูว่าในเมื่อสภาต้องมีหน้าที่ใหม่ตาม พ.ร.บ.จุฬาฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ สิ่งที่เราต้องทำให้เป็นความจริงให้ได้คือ สภาจุฬาฯ ต้องมีผลงาน เพราะฉะนั้นสภาจุฬาฯ ต้องมาดูว่าเราจะกำหนดทิศทางสภาจุฬาฯ ไปอย่างไรแทนที่จะบอกให้มหาวิทยาลัยไปคิดเองสภามหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทในการดูแลตรงนี้ เราอาจต้องมานั่งรื้อนโยบายอะไรบางอย่างของมหาวิทยาลัย อาทิ เรื่องภาษาอังกฤษจุฬาฯ เองมีหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่บ้างแต่จุฬาฯ ยังยึดหลักความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติที่ต้องดูแลเรื่องเอกลักษณ์ภาษาไทย ซึ่งก็คงไม่ปรับเปลี่ยนและต้องดูแลต่อไป แต่จะต้องมีหน้าที่เพิ่มว่าเราต้องดูแลบัณฑิตของเราให้ออกไปทำงานในระดับสากลได้ โดยที่ยังมีความเป็นไทยมีเอกลักษณ์ของไทยอยู่

พอมาดูอย่างนี้ ต้องมาวางภาพกว้าง มหาวิทยาลัยต้องเข้ามาช่วยกันทำงานให้เป็นหนึ่งเดียวให้ได้ หลังจากนั้นต้องกำกับเรื่องการบริหารภายใน เพราะว่าเราจะพูดแต่ภาพสวยว่าเราจะเป็นแบบนั้น แบบนี้โดยที่ไม่ดูข้างล่างไม่ได้ อย่างเช่นระบบการบริหารบุคลากร ถ้าจุฬาฯ จะเปลี่ยนหลักการใหม่ว่าเงินเดือนดี ผลผลิต ผลลัพธ์ของงานต้องดีด้วย นั่นคือจะเน้นเรื่องการประเมินการสรรหาคนเข้ามาทำงาน การกำหนดว่าต้องมีผลงานอะไรเท่าไหร่และคุณภาพอย่างไร เราต้องการองค์กรที่ใช้คำว่า "Lean" คือองค์กรที่ทุกคนกระฉับกระเฉง มีการพัฒนาตนเองที่ดี มุ่งพัฒนาตนเองเพื่อองค์กร และการจะใส่เรื่องเหล่านี้เข้าไปไม่ใช่ของง่าย เป้าหมายสำคัญคือคนในมหาวิทยาลัยต้องมีความกระฉับกระเฉงมากขึ้น เพราะโลกไม่รอให้ท่านเดินอย่างช้าๆ อีกแล้ว"

- ถ้าปรับบทบาทของสภาจุฬาฯ ฝ่ายบริหารจะต้องปรับอะไรบ้าง?

"เรามาจากระบบราชการอยู่ดีๆ จะปรับเปลี่ยนคนในทันทีคงจะยาก ไม่เหมือนระบบเอกชนเพราะถือเป็นเรื่องใหญ่คือจะทำอย่างไร จึงจะใส่เข้าไปในหัวใจเพื่อให้คนในจุฬาฯ มองในเรื่องเดียวกันว่าการได้เข้ามาทำงานในจุฬาฯ ถือเป็นโอกาสทองที่ได้มาสร้างคนได้มาทำงานเพื่อความสุข และความสุขนั้นเกิดจากการได้ทำงานที่รัก หากงานที่รักประสบความสำเร็จเห็นแล้วยิ้มได้ ถึงเหนื่อยก็ไม่เป็นไรขอให้เรามีส่วนในการสร้างคนเก่ง คนดี มีส่วนในการสร้างอนาคตของชาติคนที่จะเข้ามาทำงานในมหาวิทยาลัยควรจะมีใจแบบนี้"

- จะมีตัวชี้วัดการทำงานของอธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่างไร?

"ในมาตรา 21 มีข้อหนึ่งที่ต้องประเมินผลการทำงานของผู้บริหารระดับสูงยอมรับว่าตัวดิฉันเองยังใหม่มากสำหรับการทำงานตรงนี้ แต่คงต้องใช้ระบบการประเมินแบบองค์กรทั่วไปที่ต้องประเมินตัวเอง นายกสภาจุฬาฯ ก็ต้องประเมินตัวเองว่าเราทำงานครบถ้วนหรือไม่ ระบบการประเมินที่ดีจะทำให้ทุกคนขยันขึ้น ดังนั้น ระบบการประเมินที่เป็นกัลยาณมิตร เกลี่ยคนให้ไปหาผลงานที่ควรจะเป็น คงไม่ถึงขนาดไปไล่จี้ แต่ต้องทำให้ตระหนักเห็นภาพ เพราะหากทุกคนยังไม่ตระหนักเห็นภาพ มันไม่มีที่จะยืน คนที่ไล่จี้เราไม่ใช่แค่นี้ แต่เป็นประชาคมทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นประชาคมอาเซียน อาเซียน+3 ต้องมองภาพว่าเราจะเอาตัวรอดอย่างไร"

- การทำงานระหว่างนายกสภา กับอธิการบดี จะผสานกันได้ลงตัวหรือไม่ หลังเกิดภาพความขัดแย้งในการสรรหาอธิการบดี?

"ดิฉันเองงงมาก ว่าถูกลากเข้าไปสู่ความขัดแย้งได้อย่างไร เพราะจริงๆ แล้วตลอด 4 ปีที่ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล เป็นอธิการบดี ตัวดิฉันเองไม่มีบทบาทอะไรในมหาวิทยาลัยเลย เพิ่งจะเข้ามาไม่กี่เดือน ประชุมสภาจุฬาฯ ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 3 ครั้ง ในความคิดความฝันก็ไม่ได้คิดว่าจะกลับมาเป็นนายกสภาจุฬาฯ เร็วขนาดนี้แต่การที่แคนดิเดตที่จะเป็นอธิการบดีคนหนึ่ง ทั้งที่จริงก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรเขาก็เป็นคณบดีคนหนึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของอธิการบดีเอง แต่พานมาถึงดิฉันก็ดูไม่เป็นธรรมแต่ก็คงไม่ใช่หน้าที่ที่จะไปปฏิเสธว่าตัวเองไม่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องตลกเราคงต้องเงียบ

แต่คิดว่าดิฉันกับอธิการบดีก็เคยทำงานร่วมกันมา ขณะที่ดิฉันเป็นอธิการบดีท่านก็เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์แล้วทีมของท่านก็เป็นคนที่รู้จักคุ้นเคยกันมาเหมือนเป็นทีมเดียวกันมองไม่ออกว่าจะมีความขัดแย้งตรงไหนเพียงแต่ต่อไปอาจจะต้องมาคุยกันให้เข้าใจว่า ภายใต้ พ.ร.บ.ใหม่ ฝ่ายบริหารต้องเข้าใจสภามหาวิทยาลัย เพราะสภามหาวิทยาลัยก็ถูกกำกับด้วยบทบาทหน้าที่ แล้วสภามหาวิทยาลัยก็ต้องถูกตรวจสอบ ขณะนี้หากมีอะไรเกิดขึ้นสภามหาวิทยาลัยต้องมีส่วนรับผิดชอบและไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรดีหรือไม่ดีสภามหาวิทยาลัยก็ต้องถูกถามว่าทำอะไรอยู่ทำไมไม่กำกับดูแลให้ดี เพราะสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ดูแลเรื่องนโยบายทุกอย่างดูแลให้เกิดสิ่งต่างๆ"

- คิดว่าการทำงานในตำแหน่งนายกสภาจุฬาฯ จะราบรื่นหรือไม่?

"ราบรื่นแน่นอน ตั้งแต่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกสภาจุฬาฯ อธิการบดีได้พาทีมผู้บริหารมาพบ ซึ่งดิฉันได้เรียนอธิการบดีไปว่าเข้ามาด้วยความตั้งใจจะมาทำงานจริงๆ เพื่อจุฬาฯ และบอกว่าถ้าทุกคนเอาใจไปวางที่เดียวกัน คือที่มหาวิทยาลัย ที่นิสิต ที่บัณฑิต ที่บทบาทของจุฬาฯ ที่จะทำหน้าที่ในการดูแลอุดมศึกษาจะไม่มีความขัดแย้ง เพราะอธิการบดีเองต้องมองอย่างนี้อธิการบดีเองจะบอกว่าไม่เอาจะมองอย่างอื่นก็ไม่ได้ในเมื่อมองที่เดียวกันมองตรงกันงานก็ต้องประสบความสำเร็จ ซึ่งได้บอกทีมบริหารไปว่าขอให้เข้าใจสภามหาวิทยาลัยด้วยว่ามีหน้าที่ต้องทำตามกฎหมาย ไม่เช่นนั้นก็ถือว่าสภามหาวิทยาลัยบกพร่องในหน้าที่ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเคยชินกับอะไรมาก็แล้วแต่ ขอให้เข้าใจบทบาทของสภามหาวิทยาลัยชุดใหม่ด้วย แต่เราจะทำงานไปด้วยกันเราต้องจับมือไปด้วยกันเปลี่ยนจุฬาฯ ให้เป็นสีชมพูที่เข้มขึ้น จับมือเดินไปในลักษณะที่มองการพัฒนาของจุฬาฯ และประเทศชาติเป็นหลัก"

- ดูเหมือนปีนี้สตรีจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำมากขึ้น ความแข็งแกร่ง การตัดสินใจ ความเฉียบขาด จะแตกต่างกับผู้ชายหรือไม่?

"คนอื่นดิฉันไม่ทราบ แต่ดิฉันความเฉียบขาดเป็นนิสัยแต่โบราณ ซึ่งต่อไปนี้อาจจะต้องนุ่มนวลลง"

- บทบาทระหว่างนายกสภาจุฬาฯ กับตอนเป็นอธิการบดีแตกต่างหรือไม่?

"ดิฉันต้องบอกว่าเราทำหน้าที่เป็นผู้บริหารมาตลอดชีวิตเป็นคนลงมือทำเป็นคนบริหารจัดการ แต่ตอนนี้ต้องบอกตัวเองว่าต้องสวมบทบาทใหม่ ขณะนี้เราไม่ใช่คนลงมือทำแต่เป็นคนกำกับให้คนอื่นลงมือทำ ซึ่งสำหรับดิฉันมองว่ายากเพราะหนึ่งเป็นคนที่ทำอะไรจะทำเร็ว ต้องพยายามปรับว่าเวลาไปกำกับให้คนอื่นทำคนที่ทำก็ต้องมีวิธีคิดของเขาไม่ใช่การไปสั่งไม่มีการสั่งการ และบทบาทของสภาจุฬาฯ จะเป็นลักษณะของการกำกับดูแลประคับประคองให้เดินไปตามทางที่วางไว้ ขณะที่ถ้าเป็นอธิการบดีก็ต้องลงมือทำต้องลงไปไล่ดุ เช่น ราชการเขาปรับเรื่องเงินเดือนต้องไปดูว่าอนาคตจะมีผลกระทบอะไรบ้าง"

- การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนจากนี้จะมีทิศทางอย่างไร?

"ยังไม่ได้เข้าไปดูนโยบายตรงนี้มากแต่เท่าที่รู้สึกคือเราเองอาจจะยังไม่ขยับมากเท่าที่ควรตรงนี้ต้องมากำหนดบทบาทร่วมกันไม่ใช่เฉพาะจุฬาฯ ต้องมองภาพรวมว่าเราจะผลิตคนอย่างไรไม่ใช่แค่จะผลิตคนเพื่อไปรับเงินเดือนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กเราเก่งดีมีคุณธรรม?

 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332234711&grpid=&catid=19&subcatid=1903
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1058 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 21:09:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552, 22:52:02
เครื่องบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวันบรมราชาภิเษก ๑๑ พฤศจิกายน โดย ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ บรมราชาภิเษก ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ บรมราชาภิเษก ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓



อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552, 22:54:48


อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2552, 09:54:45
กำนดการ
ประชุมสภานิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จังหวัดตาก
วันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒


๐๗.๒๕ น.-ประธานสภาและนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดตาก พร้อม
๐๗.๓๐ น.-พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                และพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์   
๐๘.๑๕ น.-เริ่มพิธีสดับปกรณ์อุทิศถวายพระราชกุศล
               -พระสงฆ์อนุโมทนา
๐๘.๓๐ น.-ประธานในพิธีจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย
               -ประธานสงฆ์ให้ศีล
               -พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
๐๙.๑๕ น.-ถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์
               -ถวายจัตุปัจจัยเครื่องไทยธรรมและสังฆทาน
               -พระสงฆ์อนุโมทนา
๐๙.๓๐ น.-พระสงฆ์ฉันภัตตาหาร
               -เสร็จพิธี


๑๐.๐๐ น.-ประธานและท่านผู้มีเกียรติรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๑๕ น.-เริ่มประชุมสภานิสิตเก่าฯ
๑๒.๐๐ น.-พักรับประทานอาหาร
๑๓.๐๐ น.-ประชุมช่วงบ่าย
๑๖.๐๐ น.-พิธีปิดการประชุม     


หมายเหตุ- กำหนดเวลาในภาคเช้า ขยับขึ้นมาอีก ๒ ชั่วโมง โดยเริ่มเวลา ๐๙.๓๐ น. พิธีบวงสรวง จึงเริ่มขึ้น
จนถึงเวลา ๑๑.๓๐ น. พระสงฆ์ฉันภัตตาหาร ไปจนเสร็จพิธีตอนเที่ยงเศษๆ


ผ่านมา 3 ปีเต็มเข้าปีนี้ สภานิสิตเก่าเริ่มลดกิจกรรมของตัวเองลง
วันสำคัญ 11 พฤศจิกายน จึงไม่มีการจัดกิจกรรมขึ้นอีกเลย


ภาพและเหตุการณ์ปี 2552 เริ่มที่หน้า 19 ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1059 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 21:29:46 »

มุ่งผลิตแพทย์-พยาบาล จุฬาฯ เริ่มแล้ว ลดรับนิสิตสายสังคม -มนุษย์ศาสตร์
วันที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:30:34 น.
 
 
     นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยกรณีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนในสาขาที่ขาดแคลนเพิ่มขึ้นว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำลังรวบรวมข้อมูลสาขาที่ขาดแคลนเพิ่มเติมจากคณะแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ได้เสนอไปที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอผลิตเพิ่มแล้ว ซึ่งการปรับการผลิตนักศึกษาตามนโยบายอาจดำเนินการไม่ทันในปีการศึกษานี้ เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนการรับแต่ละสาขาวิชาไว้หมดแล้ว ดังนั้น อาจจะต้องดำเนินการในปีการศึกษา 2557 อย่างไรก็ตาม สกอ.จะพิจารณาดูว่ามีมหาวิทยาลัยไหนที่อาจจะดำเนินการได้ก่อน ทั้งหมดนี้ต้องนำข้อมูลเสนอให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาต่อไป ส่วนกรณีการควบคุมคุณภาพในการผลิตนักศึกษาแต่ละสาขาวิชานั้น สกอ.ได้ดำเนินการอยู่แล้ว

     นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายเปิดสอนในสาขาวิชาที่ขาดแคลน เพราะการผลิตกำลังคนของมหาวิทยาลัยต้องดูความต้องการของตลาด หากมุ่งผลิตนิสิตนักศึกษาจนล้นตลาดจะไม่คุ้มค่า อย่างการรับนิสิตของจุฬาฯจะพยายามจำกัดการรับสายสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ แต่บางสาขาวิชายังจำเป็นอยู่ ซึ่งขณะนี้จุฬาฯ กำลังให้แต่ละคณะกำหนดสัดส่วนการรับนิสิตที่เหมาะสมในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ความเชี่ยวชาญและความเหมาะสมกับจำนวนอาจารย์ ซึ่งแนวโน้มการรับนิสิตสายสังคมศาสตร์ของจุฬาฯ จะลดลง

     "ภาพรวมของอุดมศึกษาทั่วประเทศนั้น ผมเห็นว่าขณะนี้การผลิตนิสิตนักศึกษาในสายครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศ เปิดสอนกันมากเกินไป จะเห็นว่าเวลาเปิดสมัครสอบบรรจุครูแต่ละครั้ง จะมีคนมาสมัครกันเยอะมาก ฉะนั้น ควรต้องทบทวนการผลิตสาขาวิชานี้ ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะนำไปหารือกัน" นพ.ภิรมย์กล่าว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352437430&grpid=&catid=19&subcatid=1903

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1060 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2555, 10:06:11 »

วันนี้ 11 / 11 / 2555

ออกไปใส่บาตรในตอนเช้ามาครับ
      บันทึกการเข้า
ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #1061 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2555, 10:22:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2555, 10:06:11
วันนี้ 11 / 11 / 2555

ออกไปใส่บาตรในตอนเช้ามาครับ
อนุโมทนาบุญด้วย สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1062 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2555, 22:59:38 »

มาอัพเดทอีกครั้งครับ ประเภทย้ายทุกปี

พ.ต.อ. ราชันย์ (ช้วน) อินทร์สิงห์ รัฐ & RCU 2516 ผกก.สภ.โพทะเล จว.พิจิตร เป็น ผกก.สภ.หนองบัว จว.นครสวรรค์
      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #1063 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2555, 23:09:34 »

แต่ไม่ย้ายไกลนะ อยู่แถวๆบ้านคุณเหยงอ่ะ
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1064 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2555, 22:25:08 »

คุณป้อม

อยากให้ไปไกลๆ ด้วยเวลามีงาน แกจะไปอยู่นอกจังหวัด
เวลาไม่มีงาน กลับย้ายเข้ามาในจังหวัดซะนี่
      บันทึกการเข้า
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #1065 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2555, 07:51:59 »



Merry Christmas and a Happy New Year 2013   ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1066 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2556, 09:54:51 »

ข่าวเกี่ยวกับที่ดินของจุฬาฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ "อุเทยถวาย"

จุฬาฯยันอุเทนฯต้องคืนพื้นที่ตามมติ กพย.
16 กุมภาพันธ์ 2556 17:36 น.

 
       จุฬาฯ ชี้แจงถี่ยิบแจงที่ตั้งอุเทนถวาย จุฬาฯมีกรรมสิทธิ์เต็มที่หลังกพย.มีมติชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ และชำระเงินค่าเสียหาย เผยสำนักราชเลขาธิการมีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของกยพ. เมื่อ 4 ก.พ. 2554
       
       รศ.น.อ.นพ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ได้ชี้แจงกรณีการขอคืนพื้นที่ของจุฬาฯ ที่ให้อุเทนถวายเช่าว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ได้ทำสัญญาเช่ากับจุฬาฯบนพื้นที่ 20 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2478-2546 โดยจุฬาฯ ได้เริ่มเจรจาขอคืนพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา เนื่องจากจุฬาฯมีโครงการที่นำความรู้เพื่อสนองตอบการแก้ปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องใช้สถานที่ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนของชาติ และเตรียมความพร้อมของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันใกล้นี้ตามนโยบายของรัฐบาล

 
       ทั้งนี้ ในปี 2545 กระทรวงศึกษาธิการได้เคยมีความสนใจที่จะขอใช้พื้นที่บริเวณอุเทนถวายต่อจุฬาฯเพื่อจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน) โดยจะประสานงานจัดการเรื่องการย้ายอุเทนถวายไปยังสถานที่ที่เหมาะสม และเพื่อเป็นการขยายพื้นทางการศึกษาของอุเทนถวายด้วย
       ดังนั้นเพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาดังกล่าว จุฬาฯได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมธนารักษ์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการจัดหาพื้นที่ให้อุเทนถวายประมาณ 30-50 ไร่ ซึ่งกรมธนารักษ์ได้เสนอพื้นที่ ต.บางปิ้ง จ.สมุทรปราการจำนวน 36 ไร่ให้กับอุเทนถวาย
       
       จนกระทั่งในปี 2547 อุเทนถวายจึงมีการทำบันทึกข้อตกลง ฉบับลงวันที่ 11 มีนาคม 2547 ตกลงขนย้ายและส่งมอบพื้นที่คืนให้กับจุฬาฯภายในวันที่ 30 กันยายน 2548 โดยหากมีความจำเป็นก็จะผ่อนผันให้ไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น ในปี 2548 จึงมีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน 4 ฝ่าย ได้แก่ จุฬาฯ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ อุทนถวาย โดยมีสาระสำคัญในการตกลงที่อุเทนถวายจะย้ายไปก่อสร้างสถาบันใหม่ ณ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และจะดำเนินการย้ายบุคลากรและนักศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 พ.ย. 2548 โดยเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่ากับอุเทนถวายแล้วสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน)ก็จะมาใช้พื้นที่นี้ต่อไป ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนแผนการย้าย คณะรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณ 200 ล้านบาท ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการต่อไปอีกด้วยจุฬาฯได้มีการส่งหนังสือเพื่อให้อุเทนถวายส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่จุฬาฯ ทั้งหมด 3 ครั้ง คือ วันที่ 6 ธ.ค. 2549, วันที่ 13 ก.พ.2550 และวันที่ 10 ก.ค. 2550 รวมถึงมีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้พิจารณางบประมาณในสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่แห่งใหม่ให้อุเทนถวายด้วย
       
       ในปี พ.ศ. 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กยพ.) โดยในระหว่างการพิจารณาดังกล่าวนั้นนายกสโมสรนักศึกษาอุเทนถวายได้มีการทูลเกล้าฯถวายฎีกา 2 ครั้ง
       
       เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 กยพ.ได้มีมติชี้ขาดโดยให้อุเทนถวาย ขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้กับจุฬาฯ และชำระค่าเสียหายปีละล้านบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ โดยมติที่ประชุมมีข้อสังเกตว่า ในการย้ายนั้น ขอให้กระทรวงศึกษา ประสานงานกับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอใช้ที่ราชพัสดุและงบประมาณสนับสนุนเพื่อการนี้ต่อไปด้วย
       
       ในปีพ.ศ.2553 คณะรัฐมนตรีรับทราบมติดังกล่าว และอัยการสูงสุดแจ้งผลชี้ขาดของ กยพ. ต่อ จุฬาฯและอุเทนถวาย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
       
       สำหรับผลการทูลเกล้าถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของกยพ. ถึงอุเทนถวาย ฉบับลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554
       
       หลังจากนั้นจุฬาฯจึงมีหนังสือสอบถามความคืบหน้าการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ไปยังอุเทนถวาย ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 แต่จนถึงปัจจุบันอุเทนถวายยังไม่ได้ปฏิบัติตามการชี้ขาดจากกยพ. แต่ประการใด

 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000020067
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1067 เมื่อ: 05 มีนาคม 2556, 20:28:41 »

อัพเดท การขอคืนพื้นที่อุเทนถวาย

ศธ.เร่งเคลียร์คืนที่ "อุเทนถวาย" ให้จุฬาฯ เผยย้ายไปตั้งใหม่ที่ ต.บางปิ้ง จ.สมุทรปราการ
วันที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16:22:41 น.

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ว่า จากการหารือร่วมกับ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เกี่ยวข้องเข้าพบกรณีข้อพิพาทการทวงคืนที่ดินมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ว่า อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้ามาชี้แจงข้อมูลที่ดินบริเวณดังกล่าวว่าที่ดินได้มีการตีความ โดยคณะกรรมการชี้ขาดการยุติการดำเนินคดีแพ่งของหน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเป็นสิทธิของจุฬาฯ และให้ มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายย้ายออกไป โดยหลังจากนี้ตนจะประสานไปยังผู้บริหาร มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เพื่อให้ดำเนินการตามมติดังกล่าว ส่วนกรณีกลุ่มศิษย์เก่าและบุคลากรของวิทยาเขตจะออกมาเคลื่อนไหวประท้วงอีกหรือไม่นั้น เรื่องนี้เป็นหน้าที่ที่ผู้บริหารจะต้องไปทำความเข้าใจกับบุคลากรและศิษย์เก่า ว่าจะต้องย้ายสถานศึกษาใหม่ เพราะที่ดินดังกล่าวจุฬาฯเป็นเจ้าของตามกฎหมาย

รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า สำหรับการย้าย มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายไปที่ใหม่นั้น จะต้องมีสถานที่ใหม่และงบประมาณรองรับ โดยจะพิจารณาเรื่องของความเหมาะสมเป็นหลัก อาทิ ในจุดนั้นต้องไม่มีสถานศึกษาประเภทเดียวกันตั้งอยู่และจะพิจารณาที่ดินที่รัฐบาลเป็นเจ้าของอยู่แล้วเท่านั้น ทั้งนี้ในเบื้องต้นพื้นที่ใหม่อาจจะเป็นที่ดินของราชพัสดุ ต.บางปิ้ง จ.สมุทรปราการ

ด้านนายสืบพงษ์ ม่วงชู รักษาการรองอธิการบดี มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย กล่าวว่า ตนยินดีและพร้อมที่จะเข้าไปให้ข้อมูลกับรัฐมนตรีว่าการ ศธ. และการที่นักศึกษาและศิษย์เก่าอุเทนถวายออกมาประท้วงจุฬาฯ เพื่อเรียกร้องขอคืนที่ดินและย้ายวิทยาเขตไปตั้งที่อื่นนั้นเป็นการออกมาประท้วงบนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทานมา แต่ภายหลังถูกขั้นตอนทางกฎหมายทำให้ที่ดินตรงนั้นตกเป็นของจุฬาฯ ดังนั้นแล้วบรรดานักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าจึงออกมาเรียกร้องสิทธิเดิมของมหาวิทยาลัย แต่อย่างไรก็ตาม หากในท้ายที่สุดแล้วผู้บังคับบัญชาสั่งให้ย้ายวิทยาเขตไปตั้งยังที่อื่นก็คงต้องปฏิบัติตาม 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362475393&grpid=00&catid=&subcatid=
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1068 เมื่อ: 12 เมษายน 2556, 21:57:35 »

"มจธ.-มหิดล-จุฬาฯ"ติด100อันดับ มหาวิทยาลัยดีในเอเชีย สะท้อนรัฐทุ่มงบวิจัยน้อย-ชี้มาเลย์ยังไปไกลกว่า
วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 11:20:45 น.

เมื่อวันที่ 11 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นิตยสาร Times Higher Education ของอังกฤษ ได้จัดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียเป็นครั้งแรก ปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยไทยติดอยู่ใน 100 อันดับ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) อันดับที่ 55 ซึ่งอยู่ในลำดับสูงสุดของไทยคือลำดับ 55 มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อันดับที่ 61 และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 82 สาเหตุที่ มจธ.ถูกจัดอยู่ในอันดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยไทย เนื่องจากมีผลงานวิจัยที่โดดเด่น ขณะที่ มม.โดดเด่นด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ และจุฬาฯ แม้จะไม่มีสาขาไหนที่โดดเด่นชัดเจน แต่ได้คะแนนในทุกตัวบ่งชี้อยู่ในระดับดี

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย 10 อันดับแรก อยู่ในประเทศญี่ปุ่น 2 แห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 2 แห่ง และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง 2 แห่ง ประเทศเกาหลีใต้ 3 แห่ง และประเทศสิงคโปร์ 1 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยที่อยู่ใน 5 อันดับแรกของเอเชียคือ มหาวิทยาลัยโตเกียวของญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง มหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีน และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโปฮังของเกาหลีใต้

นายศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า มจธ.อยู่ในอันดับที่ 55 เข้าใจว่าตัวชี้วัดน่าจะใกล้เคียงกันการจัดอันดับครั้งที่ผ่านมา โดยดูจากผลงานวิจัยที่มีความหมายกับการเรียนการสอน ความร่วมมือกับภาคเอกชน รวมถึงเป็นงานวิจัยที่เห็นผลอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ที่ มจธ.ติดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education เกิดจากการสั่งสมงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ทำความร่วมมือกับภาคเอกชน และต่างประเทศ ขณะเดียวกันคิดว่าหากรัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศมากกว่านี้ จะต้องลงทุนเรื่องสร้างความรู้อีกมาก เพื่อไม่ให้กระทบกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และจะต้องลงทุนเรื่องโครงสร้าง อาทิ การสร้างบรรยากาศ และสถานที่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักวิจัยได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างห้องแล็บให้เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น

"ปัจจุบันรัฐบาลลงทุนเรื่องงานวิจัยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะไม่ถึง 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งที่รัฐบาลตั้งเป้าว่าอีก 4-5 ปี จะเพิ่มงบประมาณด้านงานวิจัยเป็น 1% ของ GDP รวมกับภาคเอกชนอีก 1% ของ GDP เป็น 2% แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีท่าทีว่าจะเพิ่มขึ้น" นายศักรินทร์กล่าว

นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า น่าจะเป็นครั้งแรกที่ Times Higher Education หันมาจัดอันดับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งใช้ข้อมูลเดิมจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยดูจากงานวิจัย และความร่วมมือกับภาคเอกชน รวมถึงเงินลงทุนจากต่างประเทศ เท่าที่ดูคะแนนมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับครั้งนี้ ยังถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยไทยยังด้อยคือ ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น คิดว่ารัฐบาลควรจะทุ่มเทงบให้มหาวิทยาลัยสร้างงานวิจัยเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้เห็นได้ชัดจากประเทศเพื่อนบ้านคือมาเลเซีย ที่เมื่อก่อนไทยไปไกลกว่า แต่เมื่อรัฐบาลมาเลเซียเปลี่ยนนโยบาย ทุ่มสนับสนุนงบวิจัยให้มหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น ทำให้ขณะนี้มาเลเซียไปไกลกว่าไทยมาก


https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365740446&grpid=01&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
ประทาน14
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2514
คณะ: เภสัชศาสตร์
กระทู้: 999

« ตอบ #1069 เมื่อ: 13 เมษายน 2556, 09:46:22 »

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ พี่น้องทุกท่าน  ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1070 เมื่อ: 13 เมษายน 2556, 20:35:41 »

สุขสันต์วันสงกรานต์ และวันครอบครัวครับ

คงไม่ต้องสุขสันต์วันผู้สูงอายุนะครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1071 เมื่อ: 30 เมษายน 2556, 21:58:25 »

ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.สงขลานครินทร์ สละสิทธิเกือบ 50%

แห่สละสิทธิ ม.สงขลานครินทร์กว่า 2 พันคน กลุ่มหมอ 20 คน
วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 22:16:26 น.

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ ประจำปีการศึกษา 2556 ว่า จากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม 19 แห่ง มีผู้ผ่านการคัดเลือก 43,445 คน ยืนยันสิทธิ 31,710 คน คิดเป็น 73.16% สละสิทธิ 11,735 คน อาทิ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับ 3,301 คน สละสิทธิ 730 คน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับ 6,944 คน สละสิทธิ 2,596 คน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับ 3,647คน สละสิทธิ 1,429 คน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับ 4,073 คน สละสิทธิ 552 คน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับ 2,711 คน สละสิทธิ 984 คน
มหาวิทยาลัยมหิดล รับ 1,559 คน สละสิทธิ 235 คน
มหาวิทยาลัยศิลปากร รับ 1,055 คน สละสิทธิ 377 คน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รับ 67 คน สละสิทธิ 30 คน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับ 4,951 คน สละสิทธิ 2,145 คน
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับ 2,947 คน สละสิทธิ 268 คน
และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย รับ 1,429 คน สละสิทธิ 20 คน เป็นต้น

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367237878&grpid=&catid=19&subcatid=1903
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1072 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 14:48:58 »

วันที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14:15 น.  ข่าวสดออนไลน์
สอท.-เครือข่ายประกาศผลสอบแอดมิชชั่นส์ปี 56 ผ่านเว็บไซต์วันนี้
เผย 11 เด็กเก่งคะแนนสูงสุด


      เวลา 12.00 น. วันที่ 9 พ.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) นำโดย นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงผลการสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางประจำปี 2556 หรือแอดมิชชั่นส์ โดย สอท.จะร่วมกับภาครัฐและเอกชน ประกาศผลพร้อมกันในเวลา 18.00 น. ดูผลได้ที่ เว็บไซต์ www.cuas.or.th และเว็บไซต์ของหน่วยงานที่ร่วมการประกาศผลอีก 17 แห่ง

      ขณะนี้ ทปอ.เตรียมพร้อมข้อมูลที่จะประกาศแล้ว โดยผู้ที่มีรายชื่อจะต้องเข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายที่สถาบันศึกษาที่ได้รับคัดเลือก ส่วนนักเรียนที่ประสบปัญหาในการเข้าดูเว็บไซต์ หรือปัญหาเรื่องผลสอบ โทร. 0 2354 5150-2 หรือที่ สกอ.

      โดยปีนี้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 113,410 คน สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยดำเนินการคัดเลือกให้รวม 91 สถาบัน เพื่อเข้าศึกษาใน 729 คณะ/สาขาวิชา สอบผ่านคัดเลือก 83,955 คน ซึ่งผลการสอบพบว่า ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะ/สาขาวิชา จำนวน 11 คน มีดังนี้

      คะแนนสูงอันดับ 1 คือ นายสุธิวิชญ์ สร้อยสุวรรณ นักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้คะแนนสอบ 94.29 เข้าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 2 คือ น.ส.พิมพิกา ประสานศักดิ์สกุล นักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้คะแนนสอบ 90.06 เข้าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 3  คือ น.ส.ฌานิกา เลิศชัยวรกุล  นักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้คะแนนสอบ 89.89 เข้าคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 4 คือ น.ส.ชนม์นิภา นิ่มธุกะริยะ นักเรียนของโรงเรียนสระบุรีวิทยา ได้คะแนนสอบ 87.83 เข้าคณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

      คะแนนสูงอันดับ 5 คือ น.ส.ณิชนันทน์ ขันทะยา นักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้คะแนนสอบ 86.62 เข้าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 6  คือ นายวีรประพันธ์ กิติพิบูลย์  นักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้คะแนนสอบ 85.72 เข้าคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 7  คือ นายธนดล หิรัญวัฒน์  นักเรียนของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้คะแนนสอบ 84.12 เข้าคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 8  คือ นายจารุเดช บุญญสิทธิ์  นักเรียนของโรงเรียนจิตรดา ได้คะแนนสอบ 82.03 เข้าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 9  คือ นายจิรวัฏ สมรักษ์  นักเรียนของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน ได้คะแนนสอบ 80.51 เข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คะแนนสูงอันดับ 10  คือ น.ส.ธันย์ชนก กล้าณรงค์  นักเรียนของโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้คะแนนสอบ 80.28 เข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

      คะแนนสูงอันดับ 11  คือ น.ส.เวธกา อภิภัทรานันต์  นักเรียนของโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ได้คะแนนสอบ 80.21 เข้าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk9EQTRNVEV6TkE9PQ==&subcatid=

17700   win
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #1073 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 21:14:30 »

คุณเหยงครับ
ขอบคุณ ข้อมูลน่าสนใจ นักการศึกษาและผู้บริหารเขานำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์กับการศึกษาและพัฒนาประเทศได้อย่างดีเลย
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1074 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2556, 21:17:56 »

คุณติ๋ม


เสียดายที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทุนกระทรวงต่างประเทศไปเรียนตรี-โท สาขารัฐศาสตร์การฑูตด้วย
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 41 42 [43] 44 45   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><