25 พฤศจิกายน 2567, 10:50:49
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 40 41 [42] 43 44 45   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เกียรติภูมิจุฬาฯของเรา  (อ่าน 439134 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #1025 เมื่อ: 12 เมษายน 2554, 22:18:39 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 12 เมษายน 2554, 22:09:58
ใช่ครับ

ส่วนที่ยืนข้างซ้ายมือของพี่แอ๊ะ (คนที่สามของแถวหลังสุด นับจากซ้ายไปขวา) น่าจะเป็นป้อม อักษร ชาวสุพรรณบุรี





พี่ซีเนียร์ค่ะเหยง
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #1026 เมื่อ: 12 เมษายน 2554, 22:20:26 »



อีกรูปนึงไม่ค่อยชัด แต่ก็ไม่มีพี่ตุ๊อยู่ดี สงสัยพี่ตุ๊ย้ายไปถ่ายที่จุดอื่นแล้ว
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #1027 เมื่อ: 12 เมษายน 2554, 22:28:11 »

ไม่ชัดก็จะแฮพเก็บ!
มีอีกลงมาอีกคะ
ให้ดีถามด้วยค่ะ ใครเป็นใคร
จะสนุกเป็นสองเท่าก็ตรงไม่ชัดนี่ล่ะคะ
      บันทึกการเข้า


เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1028 เมื่อ: 12 เมษายน 2554, 22:34:54 »

อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sittipong เมื่อ 12 เมษายน 2554, 22:18:39
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 12 เมษายน 2554, 22:09:58
ใช่ครับ

ส่วนที่ยืนข้างซ้ายมือของพี่แอ๊ะ (คนที่สามของแถวหลังสุด นับจากซ้ายไปขวา) น่าจะเป็นป้อม อักษร ชาวสุพรรณบุรี





พี่ซีเนียร์ค่ะเหยง

คุณป้อม รุ่น 16 ไง เข้าหอตอนหอ 14 ชั้นน่ะ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1029 เมื่อ: 12 เมษายน 2554, 22:35:58 »

มอบเพลงให้เข้ากับบรรยากาศครับ  สะใจจัง

 <a href="http://www.youtube.com/watch?v=MeS2hSLrKUI" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=MeS2hSLrKUI</a>  

      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #1030 เมื่อ: 12 เมษายน 2554, 22:39:48 »

สวยเช้งเลือกไม่ถูก
มอบดอกไม้ให้ทั้งสามท่านเลยละกัน
      บันทึกการเข้า


เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1031 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 16:05:57 »

รัฐ & RCU 2516 ครับ

"จรัส สุวรรณมาลา" เปิดเวปไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย
28 เมษา. 2554 12:44 น.
 
นายจรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นตัวแทนแถลงเปิดตัวเวปไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย www.tpd.in.th โดยมีการรวบรวมข้อมูลการเมืองทุกด้านให้ประชาชนได้ตรวจสอบและได้ส่งข้อมูลนักการเมืองในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งปี 2554 และการตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองในระยะยาว

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=507308&lang=T&cat=
      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #1032 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 23:43:12 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 12 เมษายน 2554, 22:34:54
อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sittipong เมื่อ 12 เมษายน 2554, 22:18:39
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 12 เมษายน 2554, 22:09:58
ใช่ครับ

ส่วนที่ยืนข้างซ้ายมือของพี่แอ๊ะ (คนที่สามของแถวหลังสุด นับจากซ้ายไปขวา) น่าจะเป็นป้อม อักษร ชาวสุพรรณบุรี





พี่ซีเนียร์ค่ะเหยง

คุณป้อม รุ่น 16 ไง เข้าหอตอนหอ 14 ชั้นน่ะ
คล้ายๆ และคล้ายพี่โอ่งด้วย อ่านไม่ดีนึกว่าคนด้านซ้ายพี่แอ๊ะคือพี่คนแรก
ขอโทษค่า
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1033 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2554, 19:11:43 »

ประกาศแล้ว!! 10 คนเก่ง ทำคะแนนสูงสุด แอดมิชชัน ‘54
4 พฤษภาคม 2554 15:17 น.

 
       ประกาศแล้วแอดมิชชัน '54 เด็กเก่งเตรียมอุดมฯ สอบได้คะแนนสูงสุด 93.21 ติดรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ด้านคณะยอดฮิต ได้แก่ รัฐศาสตร์ มธ.เด็กแห่สมัครกว่า 3 พันราย
      
       วันนี้ (4 พ.ค.) สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวการประกาศผลการคัดเลือกฯ ประจำปีการศึกษา 2554 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยประกาศผลเบื้องต้น นักเรียนคนเก่งทำคะแนนสูงสุด 10 ราย ใน 10 คณะ
      
       โดยในปีนี้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 123,260 คน โดยสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยดำเนินการคัดเลือกให้ รวมทั้งหมด 94 สถาบัน เพื่อเข้าศึกษาใน 912 คณะ/สาขาวิชา โดยมีรหัสสถาบัน/สาขาวิชาให้เลือกทั้งสิ้น 3,747 รหัส และมีผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 78,096 คน

 
       สำหรับนักเรียนผู้ทำคะแนนได้สูงสุด ใน 10 คณะ/สาขาวิชา ที่มีการประกาศผลวันนี้ ได้แก่
      
       นายรัตน์ ปทุมวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 93.21
      
       น.ส.บุลพร แซ่ลิ่ม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 89.53
      
       น.ส.ชนิษฐา ปุณณวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากโรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพฯ คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 87.46
      
       นายนพพล สิระนาท คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 87.04
      
       น.ส.กานตา ทิพย์ธาร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 86.98
      
       น.ส.ตะวันรัตน์ รุ่งปัญญารัตน์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 84.69
      
       น.ส.ปริณดา วงศ์เบญจรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 84.46
      
       น.ส.เบญญดา ถาวรเศรษฐ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 83.87
      
       นายปรัชญ์วรกิตติ์ แก้วศิริรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 83.59
      
       น.ส.ลออรัตน์ จงฐิตินนท์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 82.21
      
       นอกจากนี้ มีผู้พิการทางสายตา สามารถสอบผ่านการคัดเลือกในระบบแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 คน ได้แก่
      
       น.ส.ณิชกานต์ กวีวรญาณ คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
      
       นายดำเกิง มุ่งธัญญา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล

 

       สำหรับสาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 3 อันดับแรก ในปีนี้ ได้แก่
      
       1.คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง (พื้นฐานวิทยาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       รับจำนวน 50 คน มีผู้สมัคร 3,032 คน
      
       2.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, อุตสาหกรรม, เคมี, เครื่องกล, คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       รับจำนวน 280 คน มีผู้สมัคร 2,449 คน
      
       3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       รับจำนวน 450 คน มีผู้สมัคร 1,975 คน

 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000054888
 
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #1034 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 19:01:14 »

ลูกเพื่อนชาวหอรุ่น27 ติดจุฬา คณะนิติฯ
ไม่รู้คนแรกของรุ่นรึปล่าวคะพี่
เพราะนับนิ้วแล้ว...ลูกๆรุ่น27จะเริ่มทะยอย
เข้ามหาวิทยาลัยแล้วคะ
      บันทึกการเข้า


เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1035 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2554, 15:24:32 »

5 มหาวิทยาลัยไทยเจ๋งติด 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมแห่งอเชีย 2011"มหิดล"คว้า 34 "จุฬาฯ"ฟัน 47
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 20:40:32 น.

รศ.พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากการประกาศผลการจัดอันดับ QS Asian Universities Ranking 2011 ล่าสุดในปี 2011 นี้ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียมีมหาวิทยาลัยของประเทศไทยติดอันดับใน 100 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 34 มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 47 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 67 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  อันดับที่ 88 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอันดับที่ 95 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับที่ 1 ของเอเชีย คือ The Hong Kong University of Science and Technology  ทั้งนี้เป็นปีที่ 3 แล้วสำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชีย โดย Quacquarelli Symonds Ltd. (QS) ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานระดับโลก การที่มหาวิทยาลัยมหิดลยังคงอยู่ในอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยติดต่อกันอีกครั้ง และอยู่ในอันดับที่ 34 ของภูมิภาคเอเชีย เป็นการแสดงถึงผลงานด้านการวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงอยู่ในวารสารระดับโลกซึ่งแสดงถึงความมีคุณภาพของงานวิจัยจนได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
 

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังคงให้ความสำคัญกับงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอนระดับนานาชาติ ความพึงพอใจของผู้ใช้งานบัณฑิต และจำนวนสัดส่วนอัตราอาจารย์ต่อนักศึกษา ซึ่งค่าน้ำหนักในการพิจารณาให้คะแนนจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถทำคะแนนได้เป็นอย่าง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306324032&grpid=00&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1036 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2554, 09:16:40 »

อ่านสุนทรพจน์ของดอกเตอร์คนไทยที่จบมหาวิทยาลัยในเวียตนาม


สุนทรพจน์ ดร.สิริวงษ์ หงส์สวรรค์ ตัวแทนนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย
วันพุธ ที่ 15 มิถุนายน 2554 เวลา 8:43 น

บันทึกอาเซียน | ASEAN Diary : “สุนทรพจน์ ดร.สิริวงษ์ หงส์สวรรค์ ตัวแทนนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย”

 
เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ มีพิธีมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ซึ่งมีทั้งนักศึกษาชาวเวียดนามและนักศึกษาต่างชาติเข้าร่วมพิธี ในงานนี้มีนักศึกษาต่างชาติ และ นักศึกษาเวียดนาม ได้รับการคัดเลือกฝ่ายละหนึ่งคนให้เป็นตัวแทนกล่าวสุนทรพจน์ ต่อหน้าที่ประชุมครั้งสำคัญประจำปี ครั้งนั้น ดร.สิริวงษ์ หงส์สวรรค์ เป็นนักศึกษาชาวไทยที่เรียนจบในรุ่นนี้ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนนักศึกษาต่างชาติ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์

ดร.สิริวงษ์ หงส์สวรรค์ เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ภาษาเวียดนาม จากคณะภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนภาษาเวียดนาม ประจำสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นับเป็นอาจารย์ชาวไทยผู้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาและวรรณคดีเวียดนามมากคนหนึ่ง

ดร.สิริวงษ์ กล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษาเวียดนาม ซึ่งแปลเป็นภาษาไทย แปลโดย  บรรจบ  วงค์สุพรรณ์ นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษและการสื่อสาร วิชาโทอินโดจีนศึกษา ชั้นปีที่ ๔  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ดังมีข้อความต่อไปนี้ :

คำกล่าวสุนทรพจน์ ของดร.สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์ ดุษฎีบัณฑิตใหม่   ในพิธีมอบปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิต ครั้งที่ ๒  ประจำปี ๒๕๕๒  ณ หอประชุม เล วัน เทียม กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

กราบเรียน คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย

กราบเรียน คณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัย

กราบเรียน แขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย

เรียน พี่น้องดุษฎีบัณฑิตใหม่ทุกคน


ดิฉันมีความผูกพันกับประเทศเวียดนามและภาษาเวียดนามมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓  นับเป็นครั้งแรกที่ดิฉันมาประเทศเวียดนามเพื่อเข้าศึกษาที่ภาควิชาภาษาและวรรณคดีเวียดนาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ โดยได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทย แม้ว่าก่อนหน้านั้นดิฉันจะเคยเรียนภาษาเวียดนามในระดับพื้นฐานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครมาแล้ว แต่กระนั้น นี่ต่างหากที่ถือว่าเป็นครั้งแรกของดิฉันที่ได้เรียนรู้ภาษาเวียดนาม รวมทั้งเข้าใจชีวิตผู้คนในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอันน่ารักน่าใคร่อย่างหาที่เปรียบมิได้แห่งนี้  

ในปี ๒๕๔๕ ดิฉันได้รับทุนการศึกษาจากโครงการอาณาบริเวณศึกษาภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทยมายังประเทศเวียดนาม เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาเวียดนามให้กับตนเองที่คณะเวียดนามศึกษาและภาษาเวียดนาม (ตอนนั้นเรียกว่า คณะภาษาเวียดนามและเวียดนามศึกษาสำหรับชาวต่างประเทศ) มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  นั่นเป็นช่วงเวลาที่ดิฉันได้นำตัวเองเข้าสู่สภาพแวดล้อมและผู้คนในภาคเหนือของประเทศ  กล่าวได้ว่า นี่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญซึ่งนับเป็นโอกาสอันล้ำค่าอย่างยิ่งที่ดิฉันได้รับรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงลักษณะเฉพาะทางภาษาและวัฒนธรรมของประชาชนชาวเวียดนามมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม
            
โชคชะตาชีวิตที่เกี่ยวพันกับประเทศเวียดนามของดิฉันยังไม่หมดเพียงเท่านี้ มาถึงปี ๒๕๔๗ ดิฉันได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทยอีกครั้ง เพื่อมาศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตที่ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นทุนภายใต้ข้อกำหนดการพัฒนากำลังคนตามความต้องการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ดิฉันตัดสินใจเลือกศึกษาที่คณะภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย  เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะที่นี่มีชื่อเสียงทางด้านการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาวิจัยและการผลิตบัณฑิต  อีกเหตุผลหนึ่งเป็นเพราะตนเองเกิดความหลงใหล รักใคร่และผูกพันกับการดำรงชีวิตของผู้คนฮานอยมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕   จากวันนั้นมาถึงวันนี้ได้ล่วงเลยมาเป็นเวลาถึง ๕ ปีแล้ว  แม้ว่าระยะเวลาดังกล่าว จะมิใช่ช่วงเวลาอันยาวนานนัก  แต่ “เวียดนาม” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของดิฉันอย่างแท้จริง ดิฉันได้รู้จักมักคุ้นกับเพื่อนรักนักศึกษา เพื่อนมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ รวมทั้งสาขาวิชาไทยศึกษา ได้ผ่านเรื่องราวประสบการณ์ดีๆ มากมายร่วมกับเพื่อนๆ ชาวเวียดนาม (เช่น เมื่อครั้งที่อยู่ร่วมเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลวันตรุษเวียดนาม  หลายต่อหลายครั้งที่มีโอกาสเข้าร่วมพิธีแต่งงาน และครั้งแล้วครั้งเล่าที่ได้เดินทางไปทัศนศึกษา เยี่ยมชมทัศนียภาพต่างๆ ของประเทศเวียดนาม) นับเป็นความทรงจำที่ดิฉันไม่มีวันลืมเลือน      
มาถึงช่วงเวลานาทีนี้ ดิฉันใคร่ขอเรียนทุกท่านว่า ดิฉันได้ตัดสินใจอย่างถูกต้องแล้วที่เลือกประเทศเวียดนามเป็นสถานศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้กับตนเอง

วันนี้เป็นวันจัดงานพิธีมอบปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งก่อนช่วงเวลาอันทรงเกียรตินี้  กว่าจะมาถึงวันนี้ได้  ดิฉันต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการภายใต้การชี้นำแนวทางจากอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมสาขาวิชาทั้งหลาย  

ด้วยความรู้สึกปลื้มปีติยินดีที่กลั่นออกมาจากใจของตน ดิฉันใคร่ขออนุญาตแสดงความกตัญญูกตเวทีอันลึกซึ้งนี้ไปยังคณาจารย์ทุกท่าน      

ขอกราบอวยพรให้คณาจารย์ แขกผู้มีเกียรติและดุษฎีบัณฑิตใหม่ทุกท่าน มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีความสุขกายสุขใจ  และประสบความสำเร็จในสิ่งที่มุ่งมาดปรารถนาทุกประการ เทอญ


กรุงฮานอย, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ข้อมูลต้นฉบับสุนทรพจน์ภาษาเวียดนาม ดูที่
http://corling.wordpress.com/2011/02/18/l%E1%BB%9Di-phat-bi%E1%BB%83u-c%E1%BB%A7a-tan-ti%E1%BA%BFn-s%E1%BB%B9-siriwong-hongsawan-nhan-l%E1%BB%85-trao-b%E1%BA%B1ng-t%E1%BB%91t-nghi%E1%BB%87p-ti%E1%BA%BFn-si-d%E1%BB%A3t-2-nam-2009-t%E1%BA%A1i/

สมเกียรติ อ่อนวิมล

จาก เดลี่นิวส์ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=425&contentId=145204
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1037 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2554, 18:07:21 »

แพทย์ศาสตร์ รุ่นประกาศนียบัตร ลาลับโลกเมื่ออายุ 100 ปีเศษ

นายแพทย์เสริม พริ้งพวงแก้ว

อำลาอาลัย "หมอเสม พริ้งพวงแก้ว" หลังโรคชราคร่าชีวิตในอายุครบ 100 ปี การจากไปของหมอเสมนำความเศร้าโศกและเสียใจมายังญาติพี่น้อง รวมไปถึงในแวดวงด้านสาธารณสุข เนื่องจากตอนที่หมอเสมยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ตรากตรำทำงานและปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมสร้างประโยชน์คุณูปการ ให้กับวงการสาธารณสุขเมืองไทย

ชื่อ - นามสกุล : นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว

วันที่เกิด : 31 พฤษภาคม 2454 วันที่เสียชีวิต 08 กรกฎาคม 2554

ถิ่นกำเนิด : กรุงเทพมหานคร

ประวัติครอบครัว
ชื่อคู่สมรส แฉล้ม นามสกุลเดิมของคู่สมรส
จำนวนบุตร-ธิดา 5 คน บุตร 3 คน ธิดา 2 คน

การศึกษา และดูงาน :
- โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
- คณะแพทยศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สังคมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหดล

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
-2479 แพทย์ประจำกรมสาธารณสุข
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงราย
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิง
-16 ตุลาคม 2516 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์)
-30 พฤษภาคม 2517 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
-11 กุมภาพันธ์ 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (11 ก.พ.2523-29 ก.พ.2523)
-12 มีนาคม 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (11 มี.ค.2524-7 พ.ค.2526)

ตำแหน่งอื่นๆ
- ประธานอนุกรรมการการศึกษาของแพทยสภา
- เลขาธิการสมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย,
- นายกชมรมเวชปฎิบัติทั่วไปแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมแพทย์แห่งประเทศไทย
- นายกพิเศษแห่งแพทยสภา
- ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
- ประธานอนุกรรมการสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ประธานชมรมช่วยชาติ

เครื่องราช :
-2526 พ่อตัวอย่าง
-2532 เหรียญ Health for All จาก W.H.O.
-2534 โล่ Asia Pacific Consortium as Physician Teacher Innovator
-2534 บุคคลดีเด่นแห่งชาติด้านพัฒนาสังคม
-2534 บุคคลดีเด่นแห่งชาติด้านพัฒนาสังคม
-2535 บุคคลดีเด่นด้านสาธารณสุข
-2540 รางวัลประกาศเกียรติคุณ คนดีศรีสยาม จาก สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีตไทย
-26 เมษายน 2544 รางวัลศิษย์เก่าอาวุโสดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- มหาวชิรมงกุฎ
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
- เหรียญชัยสมรภูมิ
- เหรียญอาสากาชาดชั้น 1
- เหรียญราชวัลลภ

http://www.thairath.co.th/people/view/pol/6343
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #1038 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2554, 10:36:41 »

จุฬาฯจะเป็นเจ้าภาพแข่งขันวิชาการในวัน หรือ 2 วันนี้ รายละเอียดยังไม่ทราบ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1039 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 14:44:48 »

วิกฤต"ดอกเตอร์"ขาดตลาด มหาวิทยาลัยเกิดใหม่อื้อ ตั้งเป้า 10 ปี ผลิตปริญญาเอก 15,000 คน
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:02:26 น.


นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้มีการขยายตัวของสถาบันอุดมศึกษาโดยก่อตั้งขึ้นมาใหม่จำนวนมาก ทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ขณะที่จำนวนอาจารย์และนักวิชาการระดับศาสตราจารย์ (ศ.) และรองศาสตราจารย์ (รศ.) ที่สอนในสาขาต่างๆ ยังคงมีจำนวนเท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาจารย์ระดับปริญญาเอกที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก ดังนั้น มหาวิทยาลัยเกิดใหม่จึงต้องใช้ผู้ที่จบปริญญาโทมาสอนแทน
 

"แต่ขณะนี้เราต้องการให้สถาบันอุดมศึกษาเน้นเรื่องการทำวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งผู้ที่จบปริญญาโทยังไม่มีความชำนาญเพียงพอ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า ต้องเร่งผลิตอาจารย์ระดับปริญญาเอกให้ได้ถึง 15,000 คน ถึงจะเพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะในสายมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่แม้จะให้ทุนนักศึกษาปริญญาโท เพื่อเรียนต่อปริญญาเอก ก็ยังหาคนมาเรียนยาก เพราะคนเก่งๆ ที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาเอกทางด้านนี้มีน้อย" นายสุเมธกล่าว
 

ขณะที่นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ในการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดตัวชี้วัดเรื่องจำนวนคณาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ระดับอาจารย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.), รศ. และ ศ. โดยตามเป้าหมายหากสถาบันอุดมศึกษาจะมีคุณภาพควรมีจำนวนอาจารย์ไม่เกิน 30% และมีอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการระดับ ผศ., รศ., และ ศ.ไม่น้อยกว่า 70%
 

ประธาน ทปอ.กล่าวว่า ข้อมูลจำนวนอาจารย์ของทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2554 พบว่า ปัจจุบันมีอาจารย์ทั้งหมด 50,798 คน แบ่งเป็นอาจารย์ 33,503 คน, ผศ. จำนวน 11,174 คน, ผศ.พิเศษ จำนวน 25 คน, รศ. จำนวน 5,570 คน, รศ.พิเศษ จำนวน 30 คน, ศ. จำนวน 439 คน, ศ.(ระดับ 11) จำนวน 50 คน และ ศ.พิเศษ จำนวน 9 คน ซึ่งหากดูเฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติทั้ง 9 แห่ง ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ กลับพบว่ามีอาจารย์ปกติมากกว่าอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอาจารย์ 37.71% ของอาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) 47% มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) 43.55% มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) 48.36% มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) 58.66% มทส. 49.15% มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) 46% มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) 56.11% และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) 40.73%

ขณะที่จำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มีดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ที่ 3.54% ของอาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย มธ. 1.83% มม. 4.34% มจธ. 1.5% มก. 1.25% มทส. 3.06% มช. 0.22% มอ. 0.65% และ มข. 0.13%
 

จากจำนวนตัวเลขจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในบ้านเรา ยังถือว่าขาดแคลนอีกจำนวนมาก เมื่อเทียบกับความต้องการสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสร้างงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการนั้น มีปัจจัยหลายอย่างเช่น ต้องเป็นงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ขณะที่งานวิจัยสายสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องที่ตีพิมพ์ได้เฉพาะในประเทศไทย


ส่วนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องอาศัยเครื่องมือในการวิจัยที่พร้อมเพียงพอ โดยจากการจัดอันดับของสถาบันเพื่อพัฒนาการจัดการ หรือไอเอ็มดี (International Institute for Management Development:IMD) พบว่า ประเทศไทยยังอ่อนเรื่องเครื่องมือพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้ยากขึ้น


อีกทั้งที่ผ่านมา ยังมีข้อกังวลในเรื่องการลอกผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง โดยเฉพาะในระดับศาสตราจารย์ ซึ่งเรื่องนี้อยากให้ไปตรวจสอบเพราะถือเป็นตำแหน่งที่สำคัญ" นายประสาทกล่าว
 

ขณะที่ในส่วนของมหาวิทยาลัยเกิดใหม่ เช่น กลุ่ม มรภ.และกลุ่ม มทร. คงต้องใช้เวลาโดยมหาวิทยาลัยเก่าแก่ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มธ. เป็นต้น ต้องเป็นแหล่งช่วยผลิตอาจารย์ที่มีคุณภาพให้กับมหาวิทยาลัยเกิดใหม่


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310875549&grpid=00&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #1040 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2554, 17:44:52 »

ประเทศไทยต้องการกำลังทางด้านเทคนิคค่ะ
หมายถึงทางด้านวิศวกรรม ทุกแขนง
ทางด้านสังคมมีมากนักแล้ว..

แล้วด็อกเตอร์,เร่งผลิตกันได้เหรอคะ?
จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพ?

คิดอีกแล้วคะ.
      บันทึกการเข้า


เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1041 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 16:37:47 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 19 กรกฎาคม 2554, 17:44:52
ประเทศไทยต้องการกำลังทางด้านเทคนิคค่ะ
หมายถึงทางด้านวิศวกรรม ทุกแขนง
ทางด้านสังคมมีมากนักแล้ว..

แล้วด็อกเตอร์,เร่งผลิตกันได้เหรอคะ?
จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพ?

คิดอีกแล้วคะ.


คุณภาพคับแก้ว ไม่เชื่อลองถาม"พี่ป๋อง สุริยา" ดู ??
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1042 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 16:38:00 »

ข่าวดีของคณะบัญชีฯ

บัญชีฯจุฬาร่วมออกบูธประเทศมาเลเซีย ชูหลักสูตรปริญญาตรี BBA
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2011 เวลา 15:14 น. ประเสริฐ ขวัญมา (bb) ข่าวประชาสัมพันธ์ - ข่าวประชาสัมพันธ์   


ดร.อนิรุต  พิเสฏฐศลาลัย รองประธานกรรมบริหาร หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พร้อม อาจารย์ธนพร หงสุชน (ที่ 2 จากซ้าย) และทีมงาน ร่วมออกบูธงาน “Facon Education Fair December 2011” เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร BBA บริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)  ซึ่งเปิดสอนกว่า 15  ปี และเชิญชวนนักเรียนมาเลเซีย และชาวต่างชาติ เรียนต่อในประเทศไทย ณ ศูนย์การประชุม Putra World Trade Center ประเทศมาเลเซีย เมื่อเร็วๆ นี้ 
 
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=98432:--bba-&catid=171:pr&Itemid=512
      บันทึกการเข้า
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #1043 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 20:08:32 »


มาค่ะ
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1044 เมื่อ: 17 มกราคม 2555, 17:08:33 »

ข่าวจาก ผู้จัดการ ออนไลน์ วันนี้ครับ......


ก้าวต่อไปของ "เอนก นาวิกมูล" กับ “บ้านพิพิธภัณฑ์” หลังฝันร้ายผ่านพ้น
16 มกราคม 2555 16:50 น.

 
ภายในบ้านพิพิธภัณฑ์ก่อนน้ำท่วม
 

       พิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่ซึ่งรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ หรือหลักฐานต่างๆ เพื่อศึกษาหาความรู้ หรือเพื่อชื่นชม แต่สำหรับที่ “บ้านพิพิธภัณฑ์” นับเป็นบ้านที่รวบรวมเอาของเก่าเก็บ มาจัดแสดงเอาไว้ตามวิถีชีวิตชาวตลาดชาวเมืองในยุค พ.ศ. 2500 และยุคใกล้เคียง ภายใต้แนวคิด “เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า”
       
       บ้านพิพิธภัณฑ์ ดำเนินการโดยสมาคมกิจวัฒนธรรมและอาสาสมัคร และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2544 จนถึงบัดนี้ก็นับเป็นเวลา 10 ปี ที่ผู้คนได้เข้าไปย้อนรำลึกถึงสมัยอดีตสัก 40-50 ปีก่อน ของที่จัดแสดงส่วนใหญ่มาจากการบริจาค อีกส่วนหนึ่งจัดซื้อมาเพิ่มเติมด้วยรายได้เท่าที่พอมีของสมาคม เพื่อให้มีของแปลกๆ เข้ามาเสริมให้ได้ชม ซึ่งก็มีทั้งตู้ โต๊ะ เตียง ป้ายโฆษณา แก้วน้ำ ชามก๋วยเตี๋ยว ของเล่น และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีการออกแบบการจัดแสดงให้เป็นเหมือนห้องแถวในตลาด
       
       สาเหตุที่จัดทำบ้านพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เนื่องจากสิ่งของเก่าๆ ดีๆ จำนวนมาก ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ บ้างก็เห็นว่าเป็นของเก่าไร้ค่า จึงเกิดบ้านพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่รวบรวม เก็บ จัดแสดง และรับบริจาคสิ่งของเหล่านี้

 
ภายในบ้านพิพิธภัณฑ์หลังถูกน้ำท่วม (ภาพจากเฟสบุค : ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)
 

       ปัจจุบันบ้านพิพิธภัณฑ์มีอาคาร 2 หลัง หลักแรก แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นที่ 1 จัดเป็นร้านของเล่น, ร้านขายของจิปาถะ, ร้านขายยา และร้านขายของที่ระลึก ชั้นที่ 2 จัดเป็นโรงหนัง โรงพิมพ์ในตรอกข้างโรงหนัง ร้านตัดผม-ตัดเสื้อ ร้านให้เช่าหนังสือนิยาย ร้านถ่ายรูป, ห้องครัว, บ้านสุวัตถี และห้องจัดแสดงของทั่วไป ส่วนชั้นที่ 3 จัดเป็นห้องเรียน ห้องนายอำเภอ ร้านขายแผ่นเสียง วิทยุโทรทัศน์ ร้านทองและร้านสรรพสินค้า
       
       และบ้านพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 มีชั้นเดียว สมมุติให้เป็นตลาดริมน้ำมีนอกชาน สร้างม้านั่งไว้ให้นั่งเล่นกันหน้าร้านกาแฟ, ร้านขายของชาวบ้าน, นอกจากนั้นมีร้านทำฟัน, ร้านขายเครื่องเขียนแบบเรียน, ร้านทอง และแผงหนังสือข้างร้านทอง


ของเล่นต่างๆ ในร้านเจริญพานิชล้วนจมอยู่ในน้ำ (ภาพจากเฟสบุค : ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)

       ด้วยพื้นที่ตั้งของบ้านพิพิธภัณฑ์ นั่นคือบริเวณพุทธมณฑล สาย 2 ทำให้เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา บ้านพิพิธภัณฑ์จึงถูกน้ำท่วมเช่นเดียวกับในหลายๆ พื้นที่ โดย เอนก นาวิกมูล คณะทำงานบ้านพิพิธภัณฑ์ กล่าวถึงความเสียหายของบ้านพิพิธภัณฑ์หลังจากถูกน้ำเข้าท่วมว่า
       
       “ช่วงน้ำท่วม ก็เริ่มท่วมตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม ท่วมเข้าไปข้างในจากพื้นบ้านพิพิธภัณฑ์สูงประมาณเอว ประมาณเกือบหนึ่งเมตร แต่ถ้าเป็นถนนด้านหน้าบ้านประมาณเมตรครึ่ง เราเก็บของล่วงหน้าหนึ่งอาทิตย์ บางอย่างก็ยกขึ้นชั้นสอง บางอย่างก็ยกขึ้นสูงจากพื้นในบ้านประมาณสูงกว่าหัวเข่า แต่มันขึ้นมาถึงเอวมันก็ไม่ไหว ท่วมไปทุกห้อง”


บริเวณซุ้มทางขึ้นชั้นสอง (ภาพจากเฟสบุค : ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)

       “ความเสียหายก็มีทั้งตู้ใส่ของ ถ้าหากประกอบด้วยไม้อัด มันก็บวม ถ้าหากเป็นเหล็กก็ขึ้นสนิม ถ้าเป็นข้าวของ กระดาษก็เปื่อยเน่า ถ้าเป็นปูนปลาสเตอร์พวกนั้นก็จะเป็นคราบ สรุปว่าถ้าใต้เอวลงไปก็เต็มไปด้วยความสกปรก มีขี้เกลือขึ้น มีคราบ มีเชื้อรา”
       
       เรื่องการช่วยเหลือในช่วงน้ำท่วม เอนกกล่าวว่า “ช่วงน้ำท่วมก็ไม่ได้มีหน่วยงานไหนเข้ามาดูแล เพราะทุกคนก็ต้องดูแลตัวเองกัน หรือไม่ก็ปล่อยบ้านทิ้งไปเลย มันเข้าไม่ได้หรอกครับ ต้องเรืออย่างเดียว น้ำสูงเป็นเมตรครึ่งขนาดนั้น แล้วปัญหาคือเรือก็ไปมาไม่สะดวก เพราะว่ามันติดสะพาน ติดรั้วกั้นระหว่างถนน เครื่องเรือดับอะไรอย่างนี้เป็นต้น เราก็เข้ามาไม่ถึง”


สิ่งของที่ลอยเสียหาย (ภาพจากเฟสบุค : ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)

       สำหรับภายหลังจากน้ำลดแล้ว ก็ได้มีการทำความสะอาดเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยมีคณะทำงานบ้านพิพิธภัณฑ์ และคณะจิตอาสาต่างๆ เข้ามาให้การช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ประชาชน หรือองค์กรเอกชนอื่นๆ
       
       “การทำความสะอาดทั้งข้าวของและผนังอะไรนี่ก็ยังทำไม่หมดเลยครับ น้ำท่วมพื้นต้องรื้อไม้ออกหมด ยกตู้ออกไปซ่อม ตรวจดูของที่โดนน้ำท่วม แพ็คของ อันไหนสุดที่จะทนได้ก็ใส่ถุงดำทิ้งไป ทั้งของที่เราพิมพ์ขายเช่นโปสการ์ด เสื้อยืด ทิ้งไปไม่รู้เท่าไหร่ เพิ่งพิมพ์มาหยกๆ ก็มี นี่เป็นจำพวกเช็ดล้างทำความสะอาด ต่อไปก็จ้างคนมารื้อพื้นเพราะมันเป็นพื้นไม้กระดานอัดบนไม้หน้าสาม จนทุกวันนี้ก็ยังมีน้ำขังเปียกแฉะ เวลาเดินก็จะมีเสียงน้ำตลอดเวลา มันก็จะส่งกลิ่น ส่งเชื้อรา ส่งความอับชื้น”


ตู้เพลงยุค พ.ศ.2520 ก็จมอยู่ในน้ำ (ภาพจากเฟสบุค : ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)

       ด้านการบูรณะซ่อมแซมบ้านพิพิธภัณฑ์ เอนกเล่าว่า ต้องมีการบูรณะขึ้นมาใหม่ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการปรับโฉมให้มีพื้นที่กว้างต่อเนื่องมากขึ้น มีพื้นที่สำหรับนั่งเล่นมากขึ้น ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะใช้เงินทุนอีกเท่าไหร่ โดยขณะนี้ยังรอการออกแบบใหม่จากผู้ที่เข้ามาให้คำปรึกษา และระหว่างนี้ก็ทำความสะอาดทั้งตัวบ้านพิพิธภัณฑ์ และสิ่งของต่างๆ
       
       ขณะเดียวกัน ก็มีโครงการจะขยับขยายบ้านพิพิธภัณฑ์ไปยังพื้นที่ ต.งิ้วราย อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เนื่องจากบ้านพิพิธภัณฑ์ ที่พุทธมณฑล สาย 2 นั้นมีพื้นที่คับแคบ ยังมีสิ่งของที่คนบริจาคเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ไม่มีพื้นที่จัดแสดงสิ่งของอย่างเพียงพอ และสำหรับโครงการบ้านพิพิธภัณฑ์ที่ ต.งิ้วรายนั้น อ.ธีรพล นิยม จากสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบรัฐสภาแห่งใหม่ ได้เข้ามาช่วยออกแบบบ้านพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ให้แล้วเสร็จแล้ว ซึ่งเตรียมจะมีการประชาสัมพันธ์เมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา แต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเสียก่อน


ร่องรอยความเสียหาย (ภาพจากเฟสบุค : ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)

       “คือมันจะต้องขยายพื้นที่ครับ ไม่งั้นก็จะแออัดอยู่อย่างนี้ แล้วเวลาเขาจะมาบริจาคของ ที่เก็บมันก็น้อย ที่จริงแล้วใครก็ทำได้ถ้ามีเงินแล้วไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ถ้าไม่อยากทำก็บริจาคช่วยกัน เพราะอันนี้ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ของผมคนเดียว เป็นของส่วนรวมในนามสมาคมกิจวัฒนธรรม และเป็นประโยชน์ของสาธารณะด้วย”
       
       บ้านพิพิธภัณฑ์ในขณะนี้ ถือได้ว่ายังปิดทำการอยู่ และอยู่ในระหว่างทำการฟื้นฟูเพื่อให้กลับสู่สภาวะปกติ โดยคาดว่า จะเปิดทำการได้อีกครั้งประมาณกลางปี 2555 และสำหรับผู้ที่ต้องการอนุเคราะห์ช่วยเหลือ และฟื้นฟูบ้านพิพิธภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่ อ.วรรณา นาวิกมูล โทร. 08-9666-2008

จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000004396
 

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1045 เมื่อ: 24 มกราคม 2555, 21:37:05 »

ไม่สนุกแล้วครับ กับการสรรหาอธิการบดีคนใหม่.............

หมอเกษมถอนตัวปธ.สรรหา จุฬาฯป่วน ล้มโชว์วิสัยทัศน์ ชิงเก้าอี้อธิการบดี ขั้ว′ภิรมย์-บุญสม′
วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 09:30:41 น.

จุฬาฯวุ่น เลือกอธิการบดีคนใหม่สะดุด ′หมอเกษม′วอล์กเอาต์ พร้อมประกาศลาออก ปธ.บอร์ดสรรหา ส่งผลล้มเวที′แคนดิเดต′แสดงวิสัยทัศน์ หลังเกิดปัญหาภายใน คนจดบันทึกผลประชุมคลาดเคลื่อน ให้เรียก′หมอภิรมย์′โชว์กึ๋นคนเดียว แต่ตามมติทยอยเชิญทั้ง 3 คน รอสภามหา′ลัยชี้ขาด ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่หรือไม่ แซด! 2 ขั้วทำระอุ ฝ่ายหนุน′คนเดิม-คณบดีวิศวะ′

เมื่อวันที่ 23 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการสรรหาอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แทน นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ที่จะหมดวาระ ในวันที่ 31 มีนาคม ว่าตามที่สภาคณาจารย์ได้เสนอรายชื่อผู้ได้รับคะแนนหยั่งเสียงสูงสุด จำนวน 3 คน เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นอธิการบดีจุฬาฯ โดยเรียงตามลำดับคะแนน ดังนี้ นพ.ภิรมย์ อธิการบดีคนปัจจุบัน   นายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนายศุภชัย ยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้คณะกรรมการสรรหาผู้เหมาะสมเป็นอธิการบดี จุฬาฯ ซึ่งมี นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาผู้เหมาะสมร่วมกับรายชื่อที่คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตลอดจนคณะ/ สำนัก/วิชา/วิทยาลัย/สถาบันหรือส่วนงานที่มีคณะกรรมการบริหารเสนอมา และมีกำหนดจะให้แสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมานั้น

ปรากฏว่าเกิดปัญหาวุ่นวายภายในคณะกรรมการสรรหา จึงไม่ได้เชิญแคนดิเดตทั้ง 3 คน มาแสดงวิสัยทัศน์ตามกำหนดเวลาดังกล่าว เนื่องจาก นพ.เกษมได้วอล์กเอาต์ออกจากที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ พร้อมกับประกาศจะลาออกจากการเป็นประธานกรรมการสรรหาฯด้วย ส่งผลทำให้ในการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่มี นพ.จรัส สุวรรณเวลา เป็นนายกสภา ต้องเลื่อนวาระการพิจารณาเลือกอธิการบดีออกไปจากเดิมที่กำหนดใน วันที่ 26 มกราคมนี้ และอาจต้องมีการพิจารณาสรรหาประธานคณะกรรมการสรรหา ตลอดจนกรรมการสรรหาใหม่ หาก นพ.เกษม ยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการ ส่วนกระบวนการสรรหาอธิการบดีจะต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สาเหตุที่เกิดความวุ่นวายดังกล่าว สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ผู้บริหารคนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ ได้อนุญาตให้บุคลากรสายปฏิบัติงานระดับซี 9 ซึ่งเคยออกใบปลิวสนับสนุนให้ นพ.ภิรมย์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นอธิการบดีจุฬาฯต่ออีกสมัย โดยใช้ข้อความระบุว่า "ใช้สิทธิเต็ม 100% เสนอชื่อคนเดียว โดยไม่ต้องเหลียวแลใคร" ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหาฯด้วย ทำให้กรรมการสรรหาที่มาจากผู้แทนสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้แทนสภาคณาจารย์ไม่พอใจ เพราะมองว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากถือว่าบุคลากรสายปฏิบัติงานดังกล่าว เป็นผู้ที่มีปัญหาและยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ นอกจากนี้ ยังมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาด้วยว่า เลขานุการของที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯได้ให้บุคลากรสายปฏิบัติงานคนนี้จดบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมการสรรหาฯ ดังนั้น ภายหลังการประชุมจึงมีบัตรสนเท่ห์โจมตีเลขานุการคน ดังกล่าวว่า ทำงานไม่โปร่งใส เพราะดึงคนนอกเข้าประชุมและให้จดบันทึกการประชุมด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า จากนั้นในการประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ วันที่ 23 มกราคมนี้ เลขานุการคนดังกล่าวจึงไม่เข้าร่วมประชุมด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุมมีการรายงานผลการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับทราบ แต่ปรากฏว่าบันทึกการประชุมไม่ตรงกับผลการประชุม โดยในบันทึกการประชุมระบุว่า ให้ นพ.ภิรมย์มาแสดงวิสัยทัศน์เพียงคนเดียว แล้วนำรายงานเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยใน วันที่ 26 มกราคม พิจารณาเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ขณะที่ผลการประชุมจริงๆ แล้ว ระบุให้เรียกแคนดิเดตทีละคนมาแสดงวิสัยทัศน์ โดยเริ่มจากผู้ที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงสูงสุดก่อน จากนั้นค่อยเรียกบุคคลที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงลำดับรองลงไปมาแสดงวิสัยทัศน์จนครบทั้ง 3 คน จึงเกิดความไม่พอใจภายในคณะกรรมการสรรหาฯ และนำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในที่ประชุมถึงการบริหารงานต่างๆ ของ นพ.ภิรมย์ อาทิ กรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบุคลากรสายปฏิบัติงานที่ออกใบปลิวสนับสนุน ตามที่สภาคณาจารย์ทำหนังสือร้องขอ กรณีแต่งตั้งบุคคลไม่เหมาะสมมาเป็นประธานคณะกรรมการหลักสูตรในหลักสูตรหนึ่ง เป็นต้น ความวุ่นวายดังกล่าวนี้เป็นผลให้ นพ.เกษม ประกาศไม่ขอเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาฯต่อ พร้อมทั้งวอล์กเอาต์เดินออกจากที่ประชุม เป็นเหตุให้ต้องล้มเลิกการแสดงวิสัยทัศน์ของ 3 แคนดิเดต ในวันเดียวกันนี้

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า การเมืองภายในจุฬาฯที่กำลังเดือดระอุดังกล่าว คาดว่ามาจาก การสนับสนุนระหว่าง 2 ขั้ว โดยขั้วหนึ่งสนับสนุน นพ.ภิรมย์ให้ได้รับการเสนอชื่อเป็นอธิการบดีต่ออีกสมัย ขณะที่อีกฝ่ายสนับสนุน นายบุญสม คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมองว่าสามารถทำงานได้สอดรับกับสภา มหาวิทยาลัยชุดใหม่มากกว่า

 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327370501&grpid=&catid=19&subcatid=1903
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1046 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 18:52:11 »

บทสัมภาษณ์ รมช. คมนาคม อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์


เปิดใจรัฐมนตรีใหม่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผมพร้อมลาออก ถ้ามีเรื่องคอร์รัปชั่น
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:00:00 น.
 

เป็นที่จับตาในการตัดสินใจเปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์นักวิชาการ จากรั้วจามจุรีของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” มารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมใหม่ถอดด้าม ในวัย 46 ปี กับภารกิจในกระทรวงที่มีแต่เรื่องอื้อฉาวมากมายเกี่ยวกับผลประโยชน์อันมหาศาลของโครงการระดับหมื่นล้านแสนล้านบาท

และเรื่องราวที่ไม่ชอบมาพากลมากมายที่ยังคงเป็นปริศนาค้างคาไขกันไม่ออกอยู่ในทุกวันนี้  เขาจะมีเกราะในการป้องกันตัวอย่างไรติดตามได้ผ่านหน้าจอ”มติชนทีวี”

Q: อยากให้แนะนำประวัติส่วนตัวเล็กน้อย

ผมเรียนจบปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเรียนเมื่อปี 2526 ตอนจบได้เกียรตินิยม ได้รับพระราชทานทุนมูลมิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อปริญญาโท ที่ MIT  และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอิลินอย ที่สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง หลังจากเรียนจบทำงานที่สหรัฐอเมริกา 2 ปี กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ  ทำงานวิชาการมา 16 ปี เป็นรองศาสตราจารย์ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี ทำงานดูแลทรัพย์สิน ของจุฬาฯ ก่อนลาออก และเปลี่ยนวิถีชีวิตมารับตำแหน่งทางการเมือง

Q: การตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งทางการเมือง ใครทาบทาม

ตื่นเต้นดีครับ ได้รับการทาบทามจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีโดยตรง ท่านถามว่า เป็นรัฐมนตรีมั๊ย โดยท่านนายกฯ บอกจะให้มารับผิดชอบงานที่กระทรวงคมนาคม ผมก็ตัดสินใจทันที คิดว่า ถึงจังหวะมีโอกาสทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต้องไป  สมัยก่อนตอนได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ผมไปกราบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านมีรับสั่งเว่า ทุนอานันทมหิดลไม่ได้กำหนดว่า กลับมาแล้วต้องรับราชการ พระองค์ท่านคิดว่า อยู่ในส่วนไหนสามารถช่วยประเทศชาติได้เหมือนกัน ผมคิดว่า มันขึ้นอยู่ที่เรามีปณิธาน มีแนวทางในการดำรงตนอย่างไร

Q: มองเรื่องโลจิสติกส์ของไทยมีจุดอ่อนอย่างไร

คำว่า”คมนาคม”กับ”โลจิสติกส์”ไม่ใช่อันเดียวกัน คือ คำว่า”โลจิสติกส์”คือ “ห่วงโซ่อุปทาน” ”การคมนาคมขนส่ง”เป็นหนึ่งข้อที่สำคัญในห่วงโซ่ของโลจิสติกส์ เพราะส่วนอื่นเอกชนบริหารลดต้นทุนของตัวเองได้เรื่อย ๆ แต่ถ้าไปดูต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่ผ่านมาประมาณ 50% ขึ้นอยู่กับการคมนาคมขนส่ง ซึ่งรัฐจัดการ เอกชนไม่มีทางเลือก ไม่สามารถลดต้นทุนลงได้

การคมนาคมมีปัญหา เพราะเราพึ่งถนนมากเกินไป สมัยรัชกาลที่ 5 พัฒนาระบบรางรถไฟดีมาก มีราง 3,000 กิโลเมตร แต่พอถึงจังหวะที่เรามีโอนจากกรมรถไฟหลวงมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้นทุนการก่อสร้างทุกอย่างถูกโอนมาเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นภาระที่หนัก ต่างกับกรมทางหลวง ซึ่งรัฐบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด

ต่อมารัฐบาลพยายามพัฒนาถนน เพราะมีปัญหาเรื่องคอมมิวนิสต์ด้วยให้เข้าสู่พื้นที่จะได้มีการพัฒนาให้เจริญ แต่ถนนคือตัวปัญหา เราควบคุมผังเมืองลำบาก พอตัดถนนผ่านตรงไหน มีการขยายตัวของเมืองไปตามแนวถนนสายหลัก (Ribbon Development) ผังเมืองของเรากระจายมาก ถ้าดูตัวเลขประมาณ 30% อยู่ในเมือง 70% กระจายไปทั่ว พอปัจจุบันน้ำมันแพงเราต้องมาเน้นระบบขนส่งมวลชน(Mass Transit System) มากขึ้น ปรากฎว่า เราไม่มีการวางระบบที่จะเอารถไฟไปลง เพราะเมืองกระจายหมด ทำให้การพัฒนายากขึ้น แต่ต่างประเทศพัฒนารถไฟ มีการขึ้น-ลงที่สถานีเท่านั้น เพราะฉะนั้นเส้นทางรถไฟจะเป็นตัวควบคุมทิศทางการขยายตัวของเมือง จะมีผังเมืองชัดเจน

วิธีแก้มี 2 วิธี  1)นำรถไฟไปลุยตรงที่ว่าง ๆ ไปสร้างเมืองใหม่ เหมือนที่ฮ่องกงทำ คือ เอารถไฟวิ่งไปตามที่ว่าง แล้วมีการพัฒนาเมืองที่สถานี จะต้องขาดทุนในช่วงแรก เริ่มมีเมืองมา จะมีดีมานต์มา ก็พัฒนาเป็นเมือง 2) สร้างล้อเมืองเดิมที่มีอยู่แล้วเหมือน BTS ช่วยสนับสนุนสิ่งที่เป็นอยู่ สิ่งสำคัญต้องมีระบบการขนส่งสนับสนุน (Feeder) ต้องนำคนกระจายไปที่เมืองที่มีอยู่แล้ว อย่างที่กทม.ทำทางเท้าลอยฟ้า(Sky walk) ผมเห็นด้วย ทำให้คนไปได้สะดวก โดยไม่ต้องขึ้นมอเตอร์ไซด์ ทางเดินเท้ามีหาบเร่แผงลอยวางกันเต็มไปหมด ทางเท้าลอยฟ้าจึงเป็นตัวช่วย เป็น Feeder อันหนึ่ง ต้องในราคาที่เหมาะสม

Q: นโยบายตอนนี้จะเน้นเรื่องระบบรางมากขึ้น

การแก้ปัญหาของถนนไปแก้ปัญหาในเรื่อง”คอขวด” เช่น เส้นไปสระบุรี-โคราช ความสามารถในการรองรับเต็มที่แล้วต้องไป หลังจากนั้นจะมาเน้นระบบรางวิธีแก้จะให้ระบบรางใช้งานได้ ต้องวางแผนร่วมกับผังเมืองเป็นหลัก ปัจจุบันหน่วยงานกรุงเทพมหานครเริ่มทำแล้ว มีข้อดี เช่น สัดส่วนการก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดินที่มี(Floor Area Ratio-FAR) มีแรงจูงใจให้คนมาสร้างเมืองสร้างตึกสูงรอบสถานีมากขึ้น ผังเมืองต้องไปคู่กับรถไฟ

Q: ระบบโครงสร้างการคมนาคมปัจจุบันยังไม่ไหลคล่องตัว

คีย์หลักที่ผมมองเรื่องการผนึกกำลัง(Synergy) กระทรวงคมนาคมมีจุดแข็ง คือ หลายหน่วยงานอยู่ด้วยกัน มีทั้งกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กพท.) แต่เวลาเราดูแผนที่ดูเป็นส่วน แยกแต่ละกรมไป สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำแผนของ 11 หน่วยงานมาเย็บเล่ม แต่ไม่มีแผนที่รวมอันเดียวเห็นหมด รถไฟฟ้าทางหลวง รถไฟ บขส. สนามบิน เพราะฉะนั้นนโยบายที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อยากจะทำ คือ การนำแต่ละหน่วยงานมาร้อยในแนวนอนให้เกิดการผนึกกำลังกันขึ้น

ยกตัวอย่างสถานีขนส่งหมอชิต ไม่มีรถไฟฟ้าไปลงเป็นไปได้อย่างไร สายใต้ใหม่ไกลมาก ไม่มีทางด่วนไปลง มันควรจะมีทางด่วนไปลง จากสถานีรถบัสวิ่งขึ้นทางด่วนออกไปเลย หรืออย่างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ไม่มีส่วนต่อนักท่องเที่ยวเดินเก้ ๆ กัง ๆ อยู่บนถนน เราต้องพยายามมองแนวนอนให้มากขึ้น จากปัจจุบันการทำงานเป็นแนวตั้ง มันก็จะผนึกกำลังกันได้

Q: นโยบายจะเริ่มแก้ปัญหาตรงไหนเป็นลำดับแรก

เวลาพูดถึงกระทรวงคมนาคม มักจะคิดถึงแต่โครงการก่อสร้างระดับ 10,000 ล้านบาทขึ้นไปถึง 100,000 ล้านบาท แต่จริง ๆ เราคือ ธุรกิจการให้บริการ ( Service Industry) อย่างโครงการขนาดใหญ่ก็ทำไปต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี  แต่อย่าลืมคุณภาพการบริการ เรื่องง่าย ๆ ที่ให้บริการประชาชนเราไม่ได้สนใจ รถติดหน้าด่านทำไมแก้ไม่ได้ รถตู้ที่จอดเกะกะทั่วเมือง รถติดทั้งเมือง บริการของพนักงานของขสมก.ผมว่า เรื่องพวกนี้ต้องใส่ใจด้วย ต้องมาขันน๊อตโครงการต่าง ๆ ที่ประชาชนเดือดร้อนอยู่คิดว่า ต้องทำคู่ขนานไป การผนึกกำลังของหน่วยงานต่าง ๆ ต้องทำ

Q: รฟท.มีทั้งเรื่องหนี้สิน และงานบริการที่ต้องแก้ไข

ตอนน้ำท่วมได้ประสานงานกับรฟท.มาก ผมว่าคนของรฟท.เป็นคอนที่มีสปิริต ตัวพนักงานมีจิตใจรักรถไฟ แต่ผมว่ามันอาจจะมีกรอบ หรือเรื่องการแบ่งส่วนงานที่ยังไม่ค่อยลงตัว เราเอาหนี้การก่อสร้างทุกอย่างไปให้รฟท. แต่การก่อสร้างถนน กรมทางหลวงใช้งบประมาณสร้าง นโยบายอาจไปดูโครงสร้างส่วนนี้ใหม่ ต้องแยกส่วน เหนือราง กับใต้ราง  ส่วนที่เป็นรางถือเป็นทรัพย์สินของรัฐไป เรื่องหนี้คงค้างต้องจัดการให้รฟท. แต่การทำงานของพนักงานต้องเหมือนเดิม

Q: แอร์พอร์ตลิงค์จะแก้อย่างไร

แอร์พอร์ตลิงค์คือ กลยุทธ์ (Strategic)ของประเทศ  เราวิ่งรถไฟเอง ขณะที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม) .มีหน้าที่สร้าง แต่คนปฏิบัติเป็นเอกชน มีข้อจำกัดเรื่องค่าตั๋ว ต่อไปเราจะมีการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น แต่เสียดายตอนนี้การบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ เท่าที่ได้รับรายงานในเบื้องต้น พวกชิ้นส่วนยังได้ไม่ค่อยครบ การเชื่อมต่อผู้โดยสาร ทางเชื่อม ซึ่งที่ผ่านมารฟท.ก็ได้งบแล้ว แต่ยังไม่ลงมือ ก็ต้องเร่งรัด

ต้องทำแบบเอกชน เหมือนในฮ่องกง พอมาถึงมีรถบัสขับเวียนส่งไปตามโรงแรม ซึ่งแถวสถานีแอร์พอร์ตลิงค์มีโรงแรมหลายแห่ง ออกมาทางประตูน้ำ การทำทางเชื่อมต่อต้องทำให้ดี อาจใช้เวลาสร้างประมาณ 6 เดือนก็เสร็จ ปรับปรุงเอารถเมล์เข้ามา จัดเส้นทางรถเมล์ให้เข้ามาง่ายขึ้น จัดเดินสายมีรถตู้ ตัวสถานีสามารถจัดพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน ผมคิดว่า แอร์พอร์ตลิงค์เป็นตัวอย่างที่เราต้องทำให้ได้ ไม่อย่างนั้นอนาคตเราเหนื่อยในการปฏิบัติต่อไป

Q: โครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูง

รางคู่เริ่มดำเนินการไปแล้ว ระบบรางเป็นที่ถกเถียงกันเรื่องขนาดความกว้างของรางรถไฟ (Railway Gauge) ระหว่างขยายขนาดรางรถไฟความกว้าง 1 เมตร(Meter gauge) กับรางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร( Standard Gauge) ความเห็นส่วนตัวผมยังไม่ได้เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมเห็นว่า ควรจะมีทั้ง 2 ระบบ หลายประเทศก็มี รางรถไฟความกว้าง 1 เมตรของเดิมทั่วประเทศมีประมาณ 4,000 กม.ต้องบำรุงรักษา หัวรถจักรที่มีเป็น Meter gauge แต่จะแบ่งเป็นประเภทของรถที่วิ่ง รถโดยสารวิ่งด้วยความเร็วน้อย วิ่งสถานีถี่หน่อย และมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งเชื่อมเมืองใหญ่ 250 กม.ต่อชม. มี Feeder เข้าสู่ระบบใหญ่

เช่น รถไฟความเร็วสูงให้วิ่งกทม.-เชียงใหม่ ,กทม.-โคราช อย่างน้อยที่สุดระยะทางที่เหมาะสม 700 กม.ถ้าหากสั้นเกินไป ขับรถง่ายกว่า อีกโหมดจะเชื่อมจากหนองคาย-ลาว-จีน อันนี้ต้องคิดให้ดี เพราะจีนหวังเราเป็นเส้นทาง(Corridor)เชื่อมออกไปทางด้านใต้ ปัจจุบันทางรถไฟในลาวแถบจะไม่มี มีเส้นทางรถไฟของไทยเพียง 2 กม.ไปบ้านท่านาแล้ง ส่วนอื่นจีนยังไม่ได้พัฒนา คงไม่ใช่เรื่องง่าย คงต้องดูดี ๆ ว่า จีนเอาแน่แค่ไหนกับเส้นทางนี้  ส่วนเส้นอื่น เชียงใหม่มีโอกาสสูงสุด และมีต่อไประยองใช้แอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมต่อ และมีต่อหัวหิน ที่อยู่ในนโยบายพรรค เป็นเรื่องที่สนข.กำลังศึกษาอยู่   

Q: รถไฟความเร็วสูงลงทุนสูง

เส้นกทม.-เชียงใหม่ ถ้าเรามองเฉพาะเส้นทางรถไฟ มีแต่เสียเงิน แต่ต้องมองการพัฒนาอย่างอื่นประกอบไปด้วย เช่นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองใหม่ เหล่านี้ ถ้าเกิดเรามองภาพรวมอย่างนี้มันจะมีเม็ดเงินเข้ามาช่วยในการลงทุนได้ ต้องมองการพัฒนาเมือง อาจจะต้องดูร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ ตลอดเส้นทางต้องพยายามผนึกกำลังหลาย ๆ องค์กรมาร่วมกัน

ที่ผ่านมาเราพัฒนาระบบราง  รถไฟใต้ดิน ผลประโยชน์อยู่กับรัฐน้อย ผลประโยชน์ตกอยู่กับเอกชน เพราะราคาที่ดินปรับขึ้นมาก แต่รัฐไม่สามารถได้ประโยชน์ส่วนนี้กลับคืนมาสู่ประชาชนได้ ผมว่าแนวคิดต่อไปต้องมองประเด็นนี้ แต่เนื่องจากพรบ.รถไฟฟ้าใต้ดิน เราไม่สามารถนำที่ดินมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ เพราะว่ามันผิดวัตถุประสงค์

Q: นโยบายพรรคบอกจะจัดหาให้คนมีรายได้น้อยมีบ้านอยู่ในเมืองได้

จะเริ่มแล้ว ต้องไปคุยกับการเคหะเรื่องนี้ ปัจจุบันคนมีรายได้ปานกลาง ถึงสูงที่จะใช้รถไฟฟ้า คนมีรายได้น้อยยาก ที่อยู่ไม่มี เพราะแพง หลักการต้องไปหาที่ดิน ในเส้น”สีเขียว”ไปสมุทรปราการ ที่ไหนเป็นที่ราชพัสดุ หรือที่ดินของกรมธนารักษ์ มีที่ว่างต้องสร้าง 20,000 ยูนิตเลย ให้คนมาซื้อบ้านแถมการ์ดขึ้นรถไฟฟ้า ที่ดินที่ใช้อาจจะเป็นที่ดินของรัฐ อาจจะเป็นลักษณะการเช่าระยะยาว  หรือการเคหะต้องไปซื้อที่ดิน เพราะรฟม.ทำไม่ได้ติดเรื่องพรบ.ที่ดินเวรคืนมา จะให้รฟม.ไปซื้อที่ดินก็ทำไม่ได้  ผมว่า หลายคนอาจจะเช่าบ้านอยู่ เป็นทางเลือกให้กับประชาชน

Q: การแบ่งงานในกระทรวงจะรับผิดชอบด้านไหน

ยังไม่ได้แบ่งงานกัน  แต่อย่างที่บอกดูในแนวนอน เพราะฉะนั้นในแต่ละแท่งอาจจะมีโครงการยุทธศาสตร์ กระจายกระจายอยู่ ท่านอาจจะให้ผมมาช่วยในด้านวิชาการของแต่ละโครงการ เหมือนช่วยดูด้านเทคนิคแต่ละอัน เพื่อให้ร้อยเป็นเรื่องเดียวกัน มาช่วยทางด้านวิชาการผลักดัน ดูปัญหาว่า ควรจะทำวิธีไหน ในแต่ละแห่งจะมีโครงการยุทธศาสตร์แฝงอยู่ทุกอัน เช่น  โครงการท่าเรือปากบารา , โครงการสุวรรณภูมิเฟด 2 ,ขสมก.มีการซื้อรถเมล์ใหม่ พวกนี้เป็นโครงการซึ่งต้องพยายามเอานำร้อย แล้วดูด้านเทคนิคว่า ตามหลักวิชาการควรจะเป็นแบบไหนถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

Q: ผลงานระยะช่วง 3-4 เดือนที่จะเห็นเป็นรูปธรรม

โครงการขนาดใหญ่คงไม่เห็นผลทันที แต่โครงการที่ขันน็อต พวกที่ทำความเดือดร้อนให้ประชาชนคงต้องเร่ง เช่น รถตู้จอดเกะกะ ,รถติดหน้าด่านทางด่วน  ,รถเมล์จอดไม่ตรงป้าย ,พนักงานบริการไม่ดี หรือตม.ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินสุวรรณภูมิต่อคิวกันยาว เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ โดยไม่ต้องลงทุนด้วย หรือกรมทางหลวงก่อสร้างแล้วไม่ปลอดภัย วางของเกะกะกีดขวาง ไม่มีไฟจราจร เรื่องพวกนี้ไม่ต้องลงทุน ถ้าเราขันน๊อตควบคุมจริง ๆ ผมว่า 2 เดือนเห็นผล ทุกหน่วยต้องไปพร้อมกัน รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ แผนยุทธศาสตร์ก็ต้องทำ แต่ทุกอย่างต้องทำคู่ขนานกันไปได้ เพราะใน 1 หน่วยงานมีทั้งแผน ทำพร้อมกันได้หมด

Q: ปรับปรุงบริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ปัจจุบันคนนั่งรถเมล์ต่อวัน 3,400,000 เที่ยวต่อวัน รถไฟฟ้า BTS แค่ 6 แสนเที่ยว รถไฟฟ้าใต้ดิน 2 แสนเที่ยว ที่ผ่านมาเราไปทุ่มหลายหมื่นล้าน แสนล้านบาทให้รถไฟฟ้า แต่รถเมล์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ใช้ คุณภาพแย่มาก คิดว่าเราต้องทำปรับปรุงบริการของรถเมล์ แต่ต้องให้โปร่งใส่ราคาต้องตรวจสอบได้  ขณะเดียวกันต้องจัดระเบียบรถตู้  คงต้องเชิญทางกทม.มาคุยเรื่องการทำป้ายรถเมล์ใหม่ให้คุ้มแดดคุ้มฝนได้

Q: การแก้ปัญหาน้ำท่วมในส่วนที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ

เรื่องน้ำท่วมเป็นงบประมาณฉุกเฉินที่กระทรวงคมนาคมได้มา จะซ่อมแซมส่วนที่เสียหายมี 6 หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) ,องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) และกรมเจ้าท่า  ได้งบประมาณ 20,000 กว่า ล้านบาท เรื่องนี้หลักสำคัญคือความโปร่งใส และรวดเร็ว แต่ถ้าไม่โปร่งใส ผมก็อยู่ไม่ได้โครงการนี้ ผมเรียนกับท่านหัวหน้าหน่วยงานไปว่า มันเป็นงบที่มาช่วยเหลือประเทศชาติแล้วถ้ามีข้อครหาเรื่องไม่โปร่งใสมันอยู่ไม่ได้ทุกคน

วันนี้ได้สั่งการว่า ผมจะไปตรวจงานเองทุกวันเสาร์ ทุกพื้นที่ เราจะไปดู“ซุ้มตรวจ”เลยว่า จะเป็นอย่างไร ต้องดูทั้งก่อน และหลัง ประเด็นคือ การซ่อมต้องดูว่า เสียหายจริงหรือเปล่า และซ่อมแล้วดีหรือเปล่า  และได้สั่งการให้นำขึ้นเว็ปไซด์ทั้งหมดให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ทุกโครงการมีกรมทางหลวงมี 1000 กว่าโครงการ ทช.มี 600 โครงการ ก่อนก่อสร้างเป็นอย่างไร หลังการก่อสร้างเป็นอย่างไร ระหว่างการก่อสร้าง ราคาเท่าไหร่ อยากให้พี่น้องประชาชนเข้ามาช่วยกันตรวจสอบ ถ้าทำไม่จริงให้แจ้งมา มอบหมายให้รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นคนรับผิดชอบ การทำงานเราไม่พยายามจัดจ้างพิเศษ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ถ้าเป็นโครงการกลยุทธ์จำเป็นจริง ๆ ต้องจัดจ้างพิเศษ ทางหน่วยงานที่ทำโครงการรายงานล่าสุดจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกันยายน 2555 แต่ว่าต้องลงไปกำกับอีกที

Q: AEC มีอะไรที่กระทรวงคมนาคมต้องเตรียมรองรับในอีก 3 ปี

ผมต้องไปดูอีกทีจะเปิดการบินทางอากาศ เรื่องกฎ ระเบียบ การผ่านแดน สินค้าผ่านแดน รถวิ่งผ่านกันอย่างไร รถยนต์คนละประเทศวิ่งอย่างไร การเข้ามาของผู้โดยสารต่างประเทศที่อยู่ในสมาชิก 10 ประเทศที่ตกลงกันจะมีระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างไร เพราะจะมีเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานคนด้วย ในอาชีพบางสาขาที่จะเปิดอิสระ ต้องไปดูเรื่องวีซ่าเป็นอย่างไร มันคงมีหลายมิติที่ต้องไปดู ผมยังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ต้องดูระบบถนนที่มาเชื่อมต่อกัน เช่น ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) R9 และ R3 ด้านบน ต้องพัฒนาให้เข้มแข็งชึ้น ขณะเดียวกันรถไฟเชื่อมโยงไปต่างประเทศต้องทำให้ดีขึ้น อย่างรถไฟความเร็วสูงที่จะไปเชื่อมจีนคงไม่ทัน

Q: โครงการ”ท่าเรือปากบารา”

โครงการนี้ที่ผ่านมามีการต่อต้านเยอะ เป็นปัญหาที่เรากังวล อนาคตต้องมีหน่วยงานในการเจรจากับมวลชนขึ้นมาต่างหากเลย ผมคิดว่าทุกอย่างเลยมันไม่ใช่ง่าย ๆ แล้ว มันเป็นเรื่องสำคัญกับประเทศชาติ แต่เวลาอยู่ใกล้ ๆ เราก็ไม่ชอบ เป็นธรรมดา เหมือนโรงผลิตกระแสไฟฟ้า เรารู้ว่ามันจำเป็น แต่มาอยู่ใกล้บ้านเรา เราก็ไม่เอา มันเป็นเรื่องทัศนคติ เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน

Q: โครงการทวาย

โครงการทวายคงดูประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ในแง่การเชื่อมต่อ คือ ถนนที่จะไปเชื่อมสายบางใหญ่-บ้านโป่ง ต่อทางกาญจนบุรี ต่อจากนั้นไปคงไม่ใช่ของเราแล้ว คงต้องดู มันมีหลายแฟคเตอร์เรื่องความเสี่ยง เรื่องที่มันไม่ใช่ที่ดินของเรา 100% ตอนนี้กรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์อยู่ อันนี้คงต้องดูให้ดี เพราะเราเป็นแค่ทางผ่าน ผมยังไม่ได้ดูรายละเอียดของโครงการทวายมาก สุดท้ายแล้วเงื่อนไขทางออกจะเป็นอย่างไร

Q: โครงการขนาดใหญ่ปี 2555 เปิดประมูลรถไฟฟ้า

เป็นไปตามแผน สีเขียวเซ็นไปแล้วเมื่อปลายปี 2554  ปี  2555 สายสีแดง บางซื่อ-รังสิตอยู่ในกระบวนการประมูล แต่ยังมีปัญหายังต่อรองกันไม่เสร็จจากนั้นเส้นทางต้องต่อไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิตอีก 10 กม.
เส้นสีชมพู เส้นสีเขียว ส่วนบน เส้นนี้ก็น่าสนใจ เพราะคนเยอะ

Q: รถไฟรางคู่สายที่ 3

ที่จำเป็นจากฉะเชิงเทรา ขึ้นไปทางแก่งคอย  เพราะจะช่วยเป็นเส้นทางลัดตู้คอนเทรนเนอร์ขนส่งไปทางอีสาน คงต้องดูเรื่องสินค้าเป็นหลักก่อน จะต้องมีสถานี ICD หลักการต้องพยายามทำให้เป็น Door-to-Door  ต้องมีศูนย์กระจายสินค้า หลักการของโลจิสติกส์การขนส่งคือ Door-to-Door  ต้องพยายามเชื่อมโยงยังไงให้ไปถึงจุดมุ่งหมายได้ ต้นทาง-ปลายทาง หรือการขนส่งทางรถยนต์ก็ได้ แล้วใช้ฟีดเดอร์ เหมือนรถไฟฟ้า สายสีม่วงจะฟีดอย่างไร ไม่อย่างนั้นคนก็มาขึ้นรถลำบาก สีม่วงน่าเป็นห่วงเหมือนกัน

Q: นโยบายพรรค 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทาง

ต้องรอนิดหนึ่ง ต้องทำระบบตั๋วร่วมที่ใช้ด้วยกันหมด

Q: การคมนาคมทางน้ำ

การเดินทาง”ทางเรือ” ทางน้ำ อย่างคลองแสนแสบ มีคนใช้บริการต่อวันสูงถึง 40,000 คน แต่เรือมันไม่ค่อยชวนนั่งเท่าไหร่ ต้องมีผ้าใบ เรือต้องกันน้ำหน่อย รวมถึงเรือด่วนในแม่น้ำเจ้าพระยา คนจะมาขึ้นเรือด่วนอย่างไร มันไม่มีที่สะดวกเท่าไหร่ ต้องทำลานจอดรถกว้าง ๆ อาจจะไปหาที่ดินของหลวงสักแห่ง อาจจะแถวบางใหญ่ที่มีหมู่บ้านคนเยอะ ๆ ให้รถจอดแล้วมีท่าเรือใหญ่ ๆ นำคนเข้ามา แต่ต้องตรงเวลา  เรือเป็นสิ่งที่ทำได้เร็ว และไม่ต้องลงทุน มันมีทางอยู่แล้ว เราจะไปดูให้ครบวงจร ต้องดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่า เขาอยากได้อะไร  จะเพิ่มให้เขาได้อย่างไร คงต้องไปดูรายละเอียด แต่พยายามดูตรงนี้จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะแถวบางบัวทอง บางใหญ่ที่น้ำท่วมมาก ๆ บริเวณนั้นคนอยู่มาก ปัจจุบันรถค่อนข้างติด

Q: Easy Pass ที่มีปัญหามาก ๆ  จะแก้อย่างไร

วันก่อนก็เชิญการทางมานั่งคุย ต้องไปดูก่อนว่า ทำไมคนถึงไม่ซื้อ ผมว่า พูดถึงเงินล่วงหน้า อันนี้ก็เป็นปัญหา ผมถามว่า ทำไมไม่ทำเหมือนเครดิตการ์ด ใช้ไปก่อน แล้ว แล้วมาตัดสิ้นเดือน อย่างนี้คนชอบ คิดง่าย ๆ ต้องเสนอให้การทาง เรารู้อยู่แล้วว่ารถคันไหน อาจต้องไปคิดวิธีควบคุมจะทำได้อย่างไร

Q: ทางด่วนใหม่จะตัดเพิ่มหรือไม่

ต้องดูการผนึกกำลังระหว่าง กรมทางหลวงจะไปทางไหน แล้วกทพ.จะไปทางไหน 2 หน่วยงานนี้ วางแผนไปเหมือนกัน บางทีวางแผนขีดแนวต่างคนต่างทำ พอมาทาบเป็นเส้นเดียวกันเลย ต้องมาคุยกันว่า ใครจะทำอย่างไร แต่เราเห็นประโยชน์แล้ว แต่เราเห็นประโยชน์ของทางด่วนแล้ว ตอนน้ำท่วม ต้องจัดลำดับความสำคัญจะไปเส้นไหน เพราะทรัพยากรเราจำกัด

Q: เงินลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม

ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมมีหนี้สาธารณะมากที่สุด 200,000 ล้านบาท คงต้องดูว่า มีวิธีการไหนที่จะไฟแนนซ์โปรเจ็คช่วยประเทศชาติได้บ้าง

Q: มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราชจะได้เกิดหรือไม่

กำลังคุยอยู่ บางปะอิน-โคราชน่าสนใจ ปัจจุบันเรามีเงินค่าผ่านทางจะเก็บเข้ากองทุนต่างหาก เกือบ 10,000 ล้านบาท มีเงินสดเข้ามาวันละเกือบ 10 ล้านบาท ถามว่า หากเรานำตรงนี้เข้ามาทำ”ซีเคียวริไทซ์”ได้หรือไม่ ถ้าเรามาคิดแบบนอกกรอบ นำเงินก้อนมาพัฒนา ได้เส้นนี้ เงินเข้ามา ไป”ซีเคียวริไทด์”อีกก้อน เราคิดแบบนี้ได้หรือไม่ จากเดิมเป็นแนวคิดแบบ PPP ซึ่งผมว่า พอเอกชนเข้าไปเราก็ควบคุมอะไรยาก จะไปปรับลดค่าผ่านทางช่วยประชาชนครั้งหนึ่งก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่คงต้องดูให้รอบคอบว่า อย่างไหนดี ปัจจุบันมีเครื่องมือมากที่เราไม่ต้องพึ่งงบประมาณ อาจต้องคิดให้นอกกรอบนิดหนึ่ง เราต้องหารือ

Q: นอกจากการซีเคียวริไทต์ น่าจะมีวิธีการระดมเงินด้วยวิธีอื่นอย่างไร

อาจจะต้องไปคู่กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ เช่น เราไปร่วมกับการเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมพัฒนาโนตเส้นทางผ่านทำให้ที่ดินมีมูลค่า มีรายได้กลับคืนมา บางส่วนเอามาส่งเสริมการลงทุนได้หรือไม่

Q: ถ้าให้สัมปทานกับเอกชน และได้สิทธิในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ก็อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่ง เหมือนกับที่รถไฟฟ้าฮ่องกง จะเห็นว่า รายได้ 60% มาจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 40% มาจากการเดินรถ เขาถือว่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดิน รัฐก็ช่วยเรื่องการเวนคืนที่ดิน ค่าก่อสร้าง ชำระภายหลัง แต่อันนี้เป็นแค่แนวคิด อาจจะมีกรอบเรื่องความเหมาะสม วันนี้ก็เรียนผู้บริหารกระทรวงว่า ต้องคิดนอกกรอบ ไม่ใช่ไปขอแต่เงินงบประมาณ เป็นหนี้สาธารณะ มันง่าย แต่มันไม่ท้าทาย

Q: ฝันอยากทำอะไรสิ่งแรกเมื่อได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีในแง่ของงาน

สิ่งแรกผมคงมาดูแผนยุทธศาสตร์ภาพรวมทั้งหมด ถ้าเกิดแผน มันไม่ตรงใจก็ขับเคลื่อนลำบาก สิ่งแรกคงต้องดูแผนนิดหนึ่งว่า โครงการไหนควรทำก่อนหลังอย่างไร พอแผนนิ่งก็เริ่มขับเคลื่อน พอเราดูแผนจะเห็นภาพรวมว่า อะไร ตรงไหน อย่างไร สุดท้ายต้องดูที่ประชาชนต้องคุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำในกรอบที่จะทำได้ อย่างที่ผมบอกบางทีเราไปเน้นโครงการขนาดใหญ่มากเกินไป เน้นแต่อีก 10 ปีกว่าจะเห็น แต่ปัจจุบันมีหลายอย่างที่ประชาชนต้องทนดำเนินชีวิตอยู่ ต้องทำควบคู่ไป

Q: เรื่องการรั่วไหลจะทำอย่างไร เพราะงบประมาณมาก

อันนี้คือสิ่งที่ผมกลัว เรื่องทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ มีปัจจัยเดียว ราคาที่จ่ายกับสิ่งที่ทำมันมีช่องว่างมากที่จะไปจ่ายได้ ถามว่าทำอย่างไรจะให้ช่องว่างอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ราคาต้องถูกต้อง คุณภาพต้องดี ไม่ใช่ราคากลางถูกต้องแต่ไปทำของห่วย แนวคิดของผมคือ จะจัดตรวจสอบคุณภาพงาน สมมุติคุณไปรับงานก่อสร้างของกรมทางหลวง 1 ปีต้องมีการประเมินว่า ที่สร้างไปแตกร้าว เสียหายมีการจัดเกรดผู้รับเหมา ทีผ่านมาลักษณะงานของหน่วยงานหลวง คือ จะจัดลำดับผลงานที่เสร็จที่ใช้อยู่ปัจจุบันที่ผมเข้าใจ แต่ไม่ได้จัดคุณภาพของงานที่แล้วเสร็จ ไม่เหมือนเอกชน

อีกอย่างคือ เรื่องที่ปรึกษาทำราคากลาง ถ้าที่ปรึกษาทำราคากลางผิด ทำให้มีช่องว่างเยอะ คือ กลัดกระดุม ถ้าคุณกลัดกระดุ้มเม็ดแรกผิด ก็ไล่ไม่มีทางกลัดถูกได้ ผมก็ต้องมอนิเตอร์ที่ปรึกษาต่าง ๆ กับคุณภาพของผู้รับเหมา พยายามเอาส่วนต่างให้น้อยที่สุด เหมือนธุรกิจ  พออย่างนี้แล้วโอกาสที่จะไปให้เบี้ยใบ้รายทางจะไม่มี ผมถึงบอกที่ปรึกษาต้องดูให้ดี ถ้าทำผิดพลาดต้องปรับที่ปรึกษา ที่ผมบอกเป็นเรื่องคุณภาพ ทำแล้วต้องแก้แบบเยอะหรือไม่ เป็นเรื่องของคุณภาพ

Q: กรมทางหลวงบอกเวลาคิดราคากลางยึดตามราคาของกระทรวงพาณิชย์

ถ้าราคากลางเขาแม่นก็ต้องมาดูคุณภาพ ว่ามันสมราคาหรือไม่ ไม่ใช่ราคานี้ใส่เหล็กครึ่งหนึ่ง พอผ่านไป 1 ปีร้าว ต้องไปดูคุณภาพกันในอนาคต มันอาจจะเป็นความฝัน แต่ต้องพยายามคิดว่า จะทำอย่างไร

Q: การตรวจสอบคุณภาพควรมีหน่วยงานอิสระ

ก็อาจจะต้องเอาองค์กรวิชาชีพมาช่วยกันดู เช่น เอาทริสเรตติ้งมาช่วยดูได้หรือไม่ อันนี้เป็นไอเดีย แค่ฝัน นี่มาเล่าความฝันให้ฟังก่อน อาจจะถามหน่วยงานก่อนว่า เขาคิดยังไง

Q: กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทจะมีการแบ่งเกรดแบ่งชั้นผู้รับเหมาอยู่แล้ว ต้องโละใหม่หรือไม่

อันนี้เป็นแค่ไอเดีย คงไม่โละ แต่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาบ้าง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เราอยู่ในภาคเอกชนเวลาดูผู้รับเหมาต้องดูคุณภาพ เจ้าไหนผลงานดี ไม่ดี ของราชการดูแค่ว่า เคยทำงานก่อสร้างถนนขนาดนี้มาแล้ว ดูแค่ผลงาน หากเราไปจัดคุณภาพคงจะคึกคักกัน ปรับปรุงบ้าง

Q: ถ้ามีสัญญาณจากข้างบนหรือใบสั่งจากข้างบนลงมาว่าจะเอาโครงการนี้ท่านจะทำอย่างไร

ถ้าทนไม่ได้ ก็ทนไม่ได้ รอดูก่อน เรื่องใต้โต๊ะต้องไปแก้ที่ต้นเหตุว่า ให้ได้เพราะอะไร เพราะมีส่วนต่างเยอะ ถ้าส่วนต่างน้อยเขาอยู่รอดได้แค่ธุรกิจมันก็จะลดลง แต่ปัจจุบันช่องว่างอยู่เยอะก็มีใต้โต๊ะพวกนี้

Q: ถ้ามีสัญญาณหรือใบสั่งจากข้างบนลงมาว่าจะเอาโครงการนี้ท่านจะทำอย่างไร

เรื่องคอร์รัปชั่น ผมคิดว่าเรามีจุดยืนที่มั่นคง ถ้าทนไม่ได้ เราก็ลาออก

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327638523&grpid=01&catid=05&subcatid=0504

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=hy0PR_gUJvM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=hy0PR_gUJvM</a>
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1047 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 18:55:04 »

ตามข่าว เลือกอธิการบดี ท่านใหม่.....


สภาจุฬาฯ เสนอ “หมอประเวศ” เป็นประธาน กก.สรรหาอธิการบดีฯ
26 มกราคม 2555 19:37 น.


       มติที่ประชุมสภาจุฬาฯเสนอ ตั้่ง “หมอประเวศ” เป็นประธาน ย้ำ ต้องรอว่า ตอบรับหรือไม่ เชื่อกระแสข่าวด้านลบ อาจเกิดจากผู้ไม่หวังดี
       
       ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวภายหลังการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 741 โดยได้มีวาระการพิจารณาการคัดเลือกประธานคณะกรรมการกรรมการสรรหาอธิการบดี ภายหลังที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานที่ประชุมฯ ได้มีมติเสนอ ตั้ง ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของสภาฯ โดยจะต้องรอว่า ศ.นพ.ประเวศ จะรับตำแหน่งหรือไม่
       
       "สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น จากการสอบถามข้อเท็จจริงจากกรรมการสรรหาอธิการบดีฯ พบว่า มีความเห็นไม่ตรงกัน มีความแตกต่างกันในกรรมการสรรหา จนหาข้อสรุปไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ประธานกรรมการสรรหาฯจึงลาออก ดังนั้น ที่มีกระแสข่าวว่าเป็นความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายในจุฬาฯ นั้น ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะบุคลากรของจุฬาฯ มีวุฒิภาวะ เรื่องการสรรหาอธิการบดีฯ เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในเรื่องมหาวิทยาลัย มีคนเหมาะสมเป็นได้หลายคน หน้าที่กรรมการสรรหา คือ เลือกคนที่ดีที่สุดแก่จุฬาฯ ทั้งนี้ เชื่อว่า ศ.นพ.ประเวศ จะรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการสรรหาฯ คนต่อไป เพราะท่านเป็นคนอะลุ่มอล่วย และรักษาความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม อยาก ฝากให้กรรมการสรรหา จัดดำเนินการอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม หาข้อสรุปร่วมกันให้ได้” ศ.นพ.จรัส กล่าว
       
       ทั้งนี้ กรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดปัจจุบัน จะหมดวาระในวันที่ 6 ก.พ.นี้ ซึ่งหากเรื่องนี้ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น กรรมการสภาฯ ชุดใหม่ สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะไม่ว่าชุดใหม่ก็ดำเนินการได้เช่นเดียวกัน

 
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000011994
 

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1048 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 18:28:09 »

ตามข่าวการสรรหาอธิการบดีของเราต่อครับ..........


ศึกสายเลือดสีชมพู ...ชิงเก้าอี้อธิการบดีจุฬาฯ ไฉน นพ.เกษม ต้องทิ้งเก้าอี้!!!
วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:03:09 น.


ทันทีที่ "นพ.เกษม วัฒนชัย" องคมนตรี ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชาชนก็พุ่งเป้าความสนใจไปที่ขั้นตอนการสรรหาอธิการบดีจุฬาฯ ที่เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจ จนเป็นต้นเหตุที่ทำให้นพ.เกษมทิ้งเก้าอี้
การสรรหาอธิการบดีจุฬาฯครั้งนี้ เนื่องจาก "นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล"อธิการบดีจุฬาฯคนปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 31 มีนาคมนี้ และถือเป็นปีแรกของการสรรหาอธิการบดี นับแต่จุฬาฯเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ และเป็นปีแรกที่มีการใช้ข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาอธิการบดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554

ตามข้อบังคับระบุให้มีคณะกรรมการสรรหา 7 คน โดยสภามหาวิทยาลัยจะคัดเลือกมาจากผู้แทนคณาจารย์ ผู้แทนผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสมาคมนิสิตเก่าโดยตำแหน่ง ประธานสภาคณาจารย์โดยตำแหน่ง และบุคคลภายนอก ส่วนผู้ที่เป็นประธานนั้นจะคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภาจุฬาฯ แต่การสรรหาอธิการบดีครั้งนี้มีคณะกรรมการสรรหาเพียง 6 คน เพราะอีก 1 ตำแหน่งยังไม่มีการแต่งตั้ง

สภาคณาจารย์เปิดโอกาสให้ประชาคมจุฬาฯ ประกอบด้วย คณาจารย์ และบุคลากร เสนอรายชื่อผู้เหมาะสมเข้ารับการสรรหา โดยรอบแรกในวันที่ 27 ธันวาคม 2554 นพ.ภิรมย์ได้รับการเสนอชื่อด้วยคะแนนความถี่สูงสุด 1,600 กว่าคะแนน จาก 3,000 คะแนน ตามด้วย "นายศุภชัย ยาวะประภาษ" คณบดีคณะรัฐศาสตร์ "นายสุพจน์ หารหนองบัว" คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ "นายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์" คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

จากนั้นสภาคณาจารย์จะเชิญผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อด้วยคะแนนความถี่สูงสุด 6 คน ได้แก่ นพ.ภิรมย์ นายศุภชัย นายบุญสม นายสุพจน์ นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และนายเกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดี มาแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาคมจุฬาฯ ในวันที่ 9 มกราคม ซึ่งขั้นตอนนี้คณะกรรมการสภาจุฬาฯ 30 กว่าคนมีสิทธิเสนอรายชื่ออธิการบดีเพียง 1 รายชื่อ รวมถึง คณะ/สำนักวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน และส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีคณะกรรมการบริหารส่วนงาน รวม 30 กว่าคณะ ก็มีสิทธิเสนอรายชื่อคณะละ 3 รายชื่อ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารแล้ว ไปยังคณะกรรมการสรรหาเช่นกัน ก่อนจะเปิดซองรายชื่อในวันที่ 13 มกราคม โดยกระบวนการทั้งหมดถือเป็นความลับ

ก่อนการเปิดซองรายชื่อเพื่อแสดงวิสัยทัศน์นั้น คณะกรรมการสรรหาทั้ง 6 คนจะกำหนดกติการ่วมกัน โดยข้อตกลงที่ได้กำหนดร่วมกันคือ หากผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 1 จากประชาคมจุฬาฯ และคะแนนหยั่งเสียงเกิน 2 เท่าของผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 2 ก็จะเรียกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเพียงคนเดียวมาแสดงวิสัยทัศน์ แต่ถ้าได้คะแนนอันดับ 1 มากกว่าอันดับ 2 ไม่ถึงครึ่ง และอันดับ 2 มากกว่าอันดับ 3 ไม่ถึงครึ่ง จะเรียกทั้ง 3 คนมาแสดงวิสัยทัศน์ โดยผู้ที่มาแสดงวิสัยทัศน์ และจะได้รับการเสนอชื่อเป็นอธิการบดี ก็ต่อเมื่อจะต้องได้คะแนนจากกรรมการสรรหาแต่ละคน คนละ 100 คะแนน โดยกรรมการแต่ละคนจะมีคะแนนเต็มคนละ 150 คะแนน ฉะนั้น ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อจะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน จาก 900 คะแนนเต็ม

ผลปรากฏว่า นพ.ภิรมย์ได้คะแนนสูงสุด และมากกว่าผู้ได้คะแนนอันดับที่ 2 ถึง 2 เท่าตัว ทำให้ นพ.ภิรมย์เป็นเพียงคนเดียวที่ถูกเชิญมาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา

แต่การแสดงวิสัยทัศน์ยังไม่ทันเริ่ม ก็มีเหตุให้ต้องล้มกระดานเสียก่อน เนื่องจากกรรมการสรรหา 2 คน ได้แก่ ผู้แทนจากสภาคณาจารย์ และสภาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ไม่ยอมรับกติกานี้ โดยอ้างว่าไม่ทราบมติที่ตกลงกัน ขณะที่กรรมการสรรหาที่เหลือยืนยันว่ากรรมการทุกคนรับทราบมติดังกล่าว

ปัญหาการตีรวนครั้งนี้ทำให้ นพ.เกษมตัดสินใจวอล์กเอาต์ และขอลาออก ส่งผลให้การสรรหาชะงักชั่วคราว

ล่าสุด ในการประชุมสภาจุฬาฯมีมติให้ทาบทาม "นพ.ประเวศ วะสี" กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ส่วนกรรมการสรรหาให้เป็นคนเดิมทั้งหมด ส่วนกระบวนการสรรหาจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ หรือจะเดินหน้าต่อคงต้องรอดู

ปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก 2 ขั้วอำนาจ ซึ่งฝ่ายแรกพยายามผลักดันให้ นพ.ภิรมย์เป็นอธิการบดีมาแล้ว 1 สมัย ให้เป็นอธิการบดีจุฬาฯสมัยที่ 2 เพราะมองว่า นพ.ภิรมย์เป็นคนที่อัธยาศัยดี สามารถทำงานเข้ากับทุกคนได้ และรับฟังเสียงของประชาคม จนได้คะแนนหยั่งเสียงที่สูงมาก

ส่วนอีกขั้วหนึ่งที่สนับสนุนนายบุญสม และพยายามผลักดันให้เป็นอธิการบดีจุฬาฯคนใหม่ เนื่องจากนายบุญสมเคยเป็นรองอธิการบดีจุฬาฯ ในยุคที่ "คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์" เป็นอธิการบดี หากนายบุญสมได้เป็นอธิการบดี จะทำให้รองรับการทำงานของสภามหาวิทยาลัยชุดใหม่ ที่มีอดีตผู้บริหารคนหนึ่งจะมาทำหน้าที่นายกสภาคนใหม่ สานต่อนโยบายได้ราบรื่นมากกว่า

ในขณะที่ยังไม่ได้ข้อยุติว่า "ใคร" จะมาเป็นอธิการบดีคนใหม่ของรั้วจามจุรี การต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ ก็ยังคงเป็นไปอย่างดุเดือด...

จนอาจกลายเป็น "ศึกสายเลือด (สีชมพู)" ครั้งรุนแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์

มติชน 29 มกราคม 2555

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327817160&grpid=&catid=19&subcatid=1903

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1049 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2555, 21:42:56 »

ข่าวดีของจุฬาฯ.....

โปรดเกล้าฯ คุณหญิงสุชาดา เป็นนายกสภาจุฬาฯ หญิงคนแรกแล้ว
วันที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 13:55:00 น.
 

ศูนย์สารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่เอกสารว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศ.กิตติคุณ ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ เป็นนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 สืบต่อจาก ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ที่ดำรงตำแหน่งมา 10 ปีแล้ว นับเป็นนายกสภาฯ ผู้หญิงคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.กิตติคุณ ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ อายุ 65 ปี เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2489 จบการศึกษาพาณิชยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาฯ MA และ Ph.D (Statistics) จาก Harvard University สหรัฐอเมริกา  ปัจจุบันเป็นกรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอธิการบดีหญิงคนแรกของจุฬาฯ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 – 31 มีนาคม 2551

นอกจากนี้ ยังเป็นคนที่นำจุฬาฯ ออกนอกระบบราชการได้สำเร็จ เคยเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ตำแหน่งละ 2 สมัย และยังมีงานอื่นๆ อีก เช่น ประธานคณะกรรมการดำเนินงานร้านภูฟ้า กรรมการและกรรมการตรวจสอบสภากาชาดไทย ตั้งแต่ 2548 อีกทั้งมีผลงานวิจัยวิชาการจำนวนมากที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในวงวิชาการ

ที่มา สำนักข่าวไทย


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328424594&grpid=&catid=19&subcatid=1903


      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 40 41 [42] 43 44 45   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><