pusadee sitthiphong
|
|
« เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 12:52:52 » |
|
คุณเหยงค้นพบหนังสือซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่มีค่ามากสำหรับพวกเราชาวจุฬาฯ คุณเหยงบอกว่ามีทั้งรูปและเรื่องตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ขอความกรุณาคุณเหยงโพสท์ให้พวกเราชื่นชมที่หัวข้อนี้นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
|
pom shi 2516
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 15:19:47 » |
|
รบกวนช่วยหาคำตอบที่ถูกต้องแท้จริงด้วยว่า ทำไมวิศวจุฬาฯ จึงเกิดก่อนจุฬาฯได้หนึ่งปี เช่นพวกน้องใหม่ 2513 อย่างพี่ป๋อง ถ้านับรุ่นจุฬาฯ จะเป็นรุ่น 53 แต่ถ้านับรุ่นวิศวะ จะเป็นรุ่น 54 แสดงว่าวิศวะรุ่น 1 ไม่ใช่จุฬาฯ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 17:27:22 » |
|
พี่เหยง, ยกมาไว้ที่นี่นะคะ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 17:28:42 » |
|
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะเริ่มก่อสร้าง วันเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาพระฤกษ์ "ตึกมหาวิทยาลัย" เมื่อ ๓ มกราคม ๒๔๕๘ ขณะเสด็จประทับเป็นประธานท่ามกลางสงฆ์, พราหมณ์ และข้าราชการ ในวันวางศิลาพระฤกษ์ ๓ มกราคม ๒๔๕๘
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 21:46:33 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:07:46 » |
|
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมราชาธิราชพินิตประชานาถมหาสมมตวงษ์ อติศัยพงษ์วิมลรัตน์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฎนเรนทร์สูรสันตติวงษวิสิฐสุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินี หารอดิเรกบุญฤทธิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาโนตตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพ ศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตาล ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมยาเทพ ทวาราวดีศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศล ประพนธปรีชามัทวสมาจาร บริบูรณ์คุณสารสยมาทินคร วรุตเมกราชดิลกมหาปริวารนายก อนันตมหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิริศิรินทร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรย ศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตรศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเสกาภิสิต สรรพทศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหาราชาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัยอโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร์ ปรเมนทร ธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร์ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:10:09 » |
|
รอชม รออ่านด้วยความตั้งใจ .. ขอบคุณค่ะ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:17:54 » |
|
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระอุปการะคุณ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:19:29 » |
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ผู้ทรงพระอุปการะคุณ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:20:16 » |
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงพระอุปการะคุณ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:22:02 » |
|
สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ผู้ทรงพระอุปการะคุณ
|
|
|
|
pusadee sitthiphong
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:22:35 » |
|
รอคนถามว่าทำไม ชะมะ ถามแล้วจ้า
|
pom shi 2516
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:27:08 » |
|
พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ผู้ทรงพระกรุณาประทานตึกจักรพงษ์ให้เป็นสโมสรสถาน
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 22:27:44 » |
|
ไม่ถามคะ... รอดูเลย พี่เหยงทำดี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 23:08:15 » |
|
ราชาศัพท์ ต้องใช้เวลาพิมพ์และพิสูจน์อักษรให้ถูกต้องก่อนโพสต์ การจัดคำใต้รูปให้สมพระเกียรติ และถ่ายภาพเพื่อเลือกภาพที่ดีที่สุด อีกทั้งหนังสือเป็นปี ๒๔๙๐ ครับ กระดาษกรอบและขาดง่ายจริงๆ เมื่อมีการโพสต์ตัดหน้า ทำให้โพสต์ไม่เข้าครับ คอมแฮงค์เลย ต้องยอมปิดเครื่อง-เปิดใหม่และพิมพ์ใหม่-ป้อนใหม่ทั้งหมด เพื่อโพสต์ใหม่ จึงล่าช้า
|
|
|
|
pusadee sitthiphong
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 23:13:48 » |
|
ขออภัยในความผิดพลาดของอะฮั้น งั้นไม่รบกวนละนะ จะเปิดดูใหม่พรุ่งนี้จ้า เว็บบอร์ดบอกว่าสมควรนอนได้แล้วตั้งนานแล้ว
|
pom shi 2516
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 23:25:59 » |
|
นอนยังไม่ได้คะ เพิ่ง 19.00 ยังสว่างโร่.. ไปมืดเอา 22.00คะ goodnightพี่ป้อม
ปาดไม่ได้เหรอพี่เหยง? จริงนะคะ?
nn.16+11
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 23:29:01 » |
|
คอมพ์ของผมมันบอก run times error และ ie ให้ปิดโปรแกรมครับ Cmadong.com กินแรมมากในการเปิดแต่ละหน้า มันไม่ใช่ความผิดของใครหรอกครับ คอมพ์มันโหลดเท่านั้นเอง ยิ่งมีทั้งภาพและข้อเขียน คอมพ์ที่มีการ์ดแรมไม่สูงพอ จะแฮงค์ อีก 10 นาที เที่ยงคืน ก็จะ bye-bye เช่นกันครับ พรุ่งนี้มีประชุมเช้า ภาพรัชกาลที่ ๕ ยังไม่สามารถโพสต์ได้ ๑ ภาพครับ ในหน้าที่มีภาพสมเด็จพระศรีพัชรินทร์ บรมราชินีนาถ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 23:35:05 » |
|
ไม่มีอะไรหรอกครับ เครื่องคอมพ์มันโอเวอร์โหลดเท่านั้น เพราะที่สังเกตุ เว็ปที่มีทั้งภาพและข้อความจะใช้เวลามากกว่าปกติ อย่างของน้องหนุงหนิงก็เป็น เวลาเปิดอ่าน กว่าจะได้ครบหน้าก็ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง แต่ถ้าจะโพสต์ ระบบจะเตือนว่ามีข้อความโพสต์เข้าก่อนหน้าอยู่ ช่วงนี้แหละครับที่เครื่องจะแฮงค์ คือไม่รู้ว่าจะให้กระทู้นั้นขึ้นเว็ปก่อนหรือไม่ ใช้เวลาพอสมควรทีเดียว
|
|
|
|
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์
รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2552, 00:37:53 » |
|
ขอแก้เป็น วศ.รุ่น ๑ เป็นจุฬา ๓ ปี
|
เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2552, 00:55:09 » |
|
อุ้ย...เค้าเรียนกันหลายปีค่า (psst,พี่หนิง ยังเรียนตั้ง 4.5 ปี)
นั่นสิ,ทำไมเกิดก่อน! รึจะเป็นเตรียมอยู่หนึ่งปี?
nn.16+11
|
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2552, 00:58:52 » |
|
ชอบมากๆ รออ่านคับ
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2552, 09:53:54 » |
|
เฉียบคมเช่นเคยครับป๋าทู (จ้าวพ่อผะหมี) ถ้างั้น...สถาบันที่รับเข้าเรียนตอนปีหนึ่ง คงฝากเข้ามาให้จุฬาฯรับช่วงสอนต่อ ก็เรียกได้ว่าเป็นจุฬาฯค่อนๆตัวว่างั้นเหอะนะ... ดีนะเนี่ยที่ป๋าทูช่วยมาอธิบายให้เข้าใจ ไม่งั้นพี่ป๋องจะปลุกม๊อบประท้วงให้สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ขับไล่พวกพี่วิศวจุฬาฯรุ่น 1 ออกจากความเป็นนิสิตเก่าจุฬาฯ เรียกตัวมายึดบัตรนิสิตเก่าคืนให้หมด
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2552, 10:14:47 » |
|
เหยง แฟนคลับตามมาชมถึงบ้านแล้ว post เอาใจหน่อย (เท่าที่เวลาอำนวย เพราะพวกเราเกือบทุกคนมีภาระ หน้าที่กันทั้งนั้น) เสียดเองทึ่งเหยงมากเลยที่จำเรื่องราวในสมัยอยู่ที่หอได้มากมาย
|
"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
|
|
|
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์
รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2552, 13:00:05 » |
|
ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โรงเรียนมหาดเล็ก ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ใกล้ประตูพิมานไชยศรี ตรงข้ามกับศาลาหทัยในปัจจุบัน พระราชประสงค์ก็เพื่อจะให้เป็นที่ฝึกหัด ข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระองค์ ตามพระประสงค์ของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในเวลานั้น (คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ที่ใคร่จะได้เจ้าบ้านผ่านเมือง จากข้าราชการชั้นมหาดเล็กรายงาน เมื่อถึงสมัยต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียน "มหาดเล็ก" โดยเติมคำว่า "หลวง" ต่อท้ายอีกคำหนึ่ง ณ ตำบลดุสิต (คือโรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน) ทั้งนี้แทนการสร้างวัดตามขัตติยราชประเพณี ส่วนโรงเรียนมหาดเล็กเดิมนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระชนกนารถเพื่อเป็นกตัญญู กตเวทีธรรมสืบไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วางแผนการจัดสร้างโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็นการใหญ่ โดยมีกรรมการจัดการโดยตรงไม่ขึ้นแก่กระทรวงใดๆ อันนับว่าเป็นรากเหง้าของมหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา คณะกรรมการได้จัดการวางข้อบังคับและระเบียบการให้สมพระราชประสงค์จะให้มีรัฐ ประศาสนศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ กฎหมาย คุรุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในสมัยนั้นราชแพทยาลัยและโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ กระทรวงธรรมการเป็นผู้จัดการอยู่ โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมก็เป็นผู้จัดการ พอดีเมื่อปลาย พ.ศ.2454 อันเป็นสมัยที่ ท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการและเป็นกรรมการ โรงเรียนราชการพลเรือนนี้ ด้วยพระยาศรีวรวงศ์เป็นผู้บัญชาการ กระทรวงเกษตราธิการได้โอนโรงเรียนเกษตรแผนกวิศวกรรมการคลองซึ่งตั้ง อยู่ที่วังใหม่ ปทุมวัน (ต่อมาเรียกว่าหอวัง เป็นตึกแบบปราสาทวินเซอร์ ภายหลังได้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ) มาให้แก่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ครั้งแรกทางการดำริจะจัดตั้งเป็นแผนกเกษตรศาสตร์ขึ้น แต่เนื่องด้วยกระทรวงเกษตรยังไม่มีความประสงค์จะรับผู้สำเร็จในวิชาแผนกนี้ เข้ารับราชการ ฉะนั้นจึงได้มอบให้พระอนุยุตยันตรการ (เวลานั้นยังเป็นหลวง) ซึ่งย้ายจากกรมแผนที่ทหารบก มารับราชการในโรงเรียนนี้ดำเนินงานไปพลางก่อน
ครั้นถึง พ.ศ. 2455 ท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้มาเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ท่านได้สอบถามได้ความแน่ชัดว่าทหารบก ทหารเรือ กรมรถไฟ กรมชลประทาน ฯลฯ เป็นต้น ต่างก็ต้องการนักเรียนที่สำเร็จวิชานี้มาก จึงได้ให้จัดการตั้งโรงเรียนช่างกลขึ้นโดยสมบูรณ์ วางหลักสูตรหาอาจารย์มาเพิ่มเติมให้มากที่สุดที่จะมากได้นักเรียนช่างกลชุด แรก ก็คือนักเรียนที่ถ่ายทอดมาจากโรงเรียนเกษตรวิศวกรรมการคลองที่เลิกล้มมานั่น เอง โรงเรียนข้าราชการพลเรือนได้รับมอบ นักเรียนที่ตกค้างอยู่นี้ประมาณ 30-40 คน พร้อมทั้งสถานที่โรงเรียนเกษตร จัดตั้งเป็นโรงเรียนช่างกลขึ้นและได้เปิดสอนโดยสมบูรณ์ รับสมัครนักเรียนภายนอกเรียกว่า "โรงเรียน ยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว" นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา นี่คือการก่อเกิดของคณะวิศวกรรมศาสตร์
ครั้งเมื่อได้รับโอนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ของกระทรวงธรรมการ ณ บ้านสมเด็จ มาเป็นแผนกคุรุศึกษาของโรงเรียนข้าราชการ พลเรือนก็ได้ย้ายไปตั้งรวมกันที่วังใหม่ตำบลสระปทุมนี้ด้วย โรงเรียนจึงได้วางระเบียบเครื่องแต่งกายและสีแถบคอเสื้อของนักเรียนแผนก ต่างๆขึ้นคือ ยันตรศึกษาสีเลือดหมู คุรุศาสตร์สีเหลือง แพทยศาสตร์สีเขียว และรัฐประศาสนศาสตร์สีดำ ทางราชการได้มอบให้พระยาวิทยาปรีชามาตย์ (เวลานั้นเป็นพระอนุภาษสิศยานุสาร) ผู้อำนวยการโรงเรียนคุรุศึกษารักษาหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนยันตรศึกษา ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2458
ในสมัยเริ่มต้นนั้นโรงเรียนยันตรศึกษารับ นักเรียนเพียงสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 ของกระทรวงธรรมการ โรงเรียนนี้เพิ่งก่อสร้างตัวขึ้นมาก็ย่อมบกพร่องด้วยประการทั้งปวงเช่น โรงเรียนที่เกิดใหม่อื่นๆ เครื่องใช้ในการสอนก็ยังไม่พอสถานที่ก็ยังไม่เหมาะอาจารย์ผู้สอนก็ยังไม่ พรักพร้อม ทางโรงเรียนจึงขอความช่วยเหลือจากท่านข้าราชการบางท่านที่มีความรู้ความ ชำนาญในวิชาวิศวกรรมไปช่วยสอน พระยาปกิตกลศาสตร์ ได้เคยเป็นพี่เลี้ยงของโรงเรียนนี้มาตั้งแต่ต้น เป็นผู้อำนวยความเจริญให้แก่โรงเรียนเป็นอันมาก นอกจากได้รับความช่วยเหลือในส่วนตัวบุคคลแล้วโรงเรียนยังต้องขอความอุปการะ จากกระทรวงทบวงกรม ที่มีหน้าที่ต้องใช้นักเรียนแผนกนี้ (เช่น กรมรถไฟและกรมทดน้ำ เป็นต้น) ให้ช่วยรับนักเรียนเข้าฝึกหัดในโรงเรียนของสถานที่นั้นๆเพื่อหาความชำนาญใน ระหว่างภาคเรียน กับทั้งต้องคอยหาโอกาสให้นักเรียนได้ไปดูกิจการที่เกี่ยวแก่การช่างประเภท นี้ตามโอกาสเพื่อหาความก้าวหน้า จนเกือบจะนับว่านักเรียนไม่ได้มีเวลาหยุดจริงๆ เลย
การเรียนในขั้นแรกนี้กำหนดหลักสูตรให้ เรียนในโรงเรียนเพียง 3 ปีสำเร็จแล้ว ต้องออกฝึกหัดการงานในสถานที่ ซึ่งโรงเรียนเห็นชอบด้วยอีก 3 ปี ในระหว่างฝึกหัดได้รับผลประโยชน์ เดือนละ 30 บาท เมื่อได้เข้ารับตำแหน่งงานแล้วได้รับเงินเดือนๆ ละ 80 บาท นี่เป็นระเบียบที่ทางโรงเรียน ได้ทำความตกลงไว้กับสถานที่ต่างๆ ที่นักเรียนออกไปทำงานโดยเหตุที่นักเรียนยังมีจำนวนน้อย เมื่อเรียนสำเร็จแล้วโรงเรียนก็แบ่งส่งไปให้สถานที่ต่างๆ เป็นสถานที่ราชการบ้าง บริษัทบ้าง ตามมีตามเกิด เมื่อนักเรียนมีจำนวนมากขึ้น โรงเรียนก็พยายามหาทางออกให้กว้างขวางออกไป เช่น กรมรถไฟ กรมชลประทาน กรมอากาศยาน บริษัทไฟฟ้า เป็นต้น ทางการได้เล็งเห็นชัดแจ้งแล้วว่าการเรียนวิชาช่างไม่ว่าประเภทใดๆ ต้องอาศัย ความชำนิชำนาญจากการเห็นตัวอย่างจากของจริงและต้องทำด้วยน้ำมือของตนเอง มากๆ (แต่ในสมัยนั้นทางการจึงต้องถือเอาการฝึกหัดในโรงงานของกระทรวงทบวงกรมที่มี การช่างวิศวกรรม เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียน) ด้วยเหตุที่โรงเรียนยังบกพร่องดังกล่าวแล้วทางการจึงต้องถือเอาการฝึกหัดใน โรงงานของกระทรวงทบวงกรม ที่มีการช่างวิศวกรรมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียน โรงเรียนจึงได้วางระเบียบไว้ว่าเมื่อเรียนในโรงเรียนสำเร็จแล้ว จะต้องออกฝึกหัดงาน ไม่น้อยกว่า 3 ปี และเมื่อโรงเรียนได้รับรายงานเป็นที่พอใจแล้ว จึงจะยอมรับว่าการเรียนนั้นจบบริบูรณ์ตามหลักสูตร และยอมออกประกาศนียบัตรให้ได้
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาประดิษฐาน โรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนยันตรศึกษา ก็เปลี่ยนมาเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนี้ ได้จัดหลักสูตรการเรียนให้เขยิบสูงขึ้นตามกาลสมัย รับนักเรียนเฉพาะแต่ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 8 ของกระทรวงธรรมการแล้ว และขยายเวลาออกเป็น 4 ปี ย้ายสถานที่เล่าเรียนจากหอวังไปเรียนที่ตึกใหญ่ ริมสนามม้า (ซึ่งในภายหลังได้กลายเป็น ตึกเรียนของคณะอักษรศาสตร์ จนถึงสมัยปัจจุบัน ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ย้ายไปเรียนที่ตึกใหม่ อันเป็นตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในปัจจุบันนี้เมื่อ พ.ศ. 2478) และได้จัดการหาอุปกรณ์การสอนเพิ่มเติมขึ้นตามความจำเป็นและสร้างโรงงาน เครื่องกลึงเครื่องหล่อ เครื่องช่างไม้ เครื่องไฟฟ้า หอวิทยาศาสตร์และอื่นๆ อีกเป็นลำดับเรื่อยมาไม่ต้องส่งนักเรียนออกไปฝึกหัดนอกโรงเรียน เช่นแต่ก่อนอีก
พระยานิพัทธ์กุลพงศ์ได้รับตำแหน่งคณบดีคณะ วิศวกรรมศาสตร์มาจนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2464 จึงย้ายไปรับราชการกระทรวงทหารเรือ ทางราชการจึงให้พระยาวิทยาปรีชามาตย์ ซึ่งเวลานั้นเป็นคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์รักษาการณ์แทนคณบดีคณะวิศวกรรม ศาสตร์อีกหน้าที่ หนึ่งต่อมาจนถึงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2472 พระยาวิทยาปรีชามาตย์ย้ายไปรับหน้าที่ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการและ รักษาการณ์ หน้าที่ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระเจริญวิศวกรรมจึงเข้ารับหน้าที่คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่นั้นมาการเรียนก็ได้จัดให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น แยกออกเป็น แผนกต่างๆ เช่น การช่าง วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า
ต่อมาทางราชการเห็นสมควรและถึงเวลาที่จะ จัดให้การเรียนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ขึ้นถึงชั้นปริญญาจึงได้เตรียมการลงมือแก้ไขเพิ่มเติมอุปกรณ์ การสอน โรงงาน และอาจารย์ให้เหมาะแก่วิทยฐานะ เมื่อ พ.ศ. 2476 อันเป็นเวลาที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้กลับเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอีก และได้มีนิสิตวิศวกรรมศาสตร์เข้ารับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตเป็นชุดแรก ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 และในปีนี้เองได้เปิดการศึกษาแผนกวิศวกรรมช่างอากาศขึ้น ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหมจัดส่งนายทหารฝ่ายเทคนิคช่างอากาศมาช่วยสอนและใช้โรงงานทหาร อากาศ ณ บางซื่อ และดอนเมือง เป็นที่ฝึกงาน
ปี พ.ศ. 2481 คณะวิศวกรรมศาสตร์รับสมัครแต่ผู้ที่สำเร็จชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์ ของกระทรวงธรรมการหรือเทียบเท่า ผู้ที่จะเข้าเรียนจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเสียก่อน กำหนดการเรียนของมหาวิทยาลัย 4 ปี พ.ศ. 2481 ทางวิทยาลัยได้จัดให้มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น โรงเรียนนี้มีนักเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์เป็นรุ่นแรก อยู่ด้วยมีจำนวน 99 คน ต่อไปผู้ที่จะเข้าศึกษา ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 ของกระทรวงธรรมการแล้วจะต้องเข้าเรียนวิชาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์เสียก่อนสอง ปี เมื่อสอบได้แล้วจึงจะผ่านโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มาเป็นนิสิตในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้โดยแท้จริงต่อไปทั้งนี้หมายความว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 นิสิตวิศวกรรมชั้นปีที่ 1 จะต้องเป็นนักเรียนที่สำเร็จมาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยทั้งสิ้น
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2489 กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดให้จัดการศึกษาชั้น เตรียมอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นตามโรงเรียนของกระทรวงอีกหลายแห่ง ทั้งยังอนุญาตให้โรงเรียนราษฎร์ที่ได้รับการเทียบเท่าวิทยฐานะเท่าโรงเรียน ของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว เปิดการสอนถึงขั้นเตรียมอุดมศึกษา เพิ่มขึ้นจากมัธยม 6 ถึง 2 ปีด้วยดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2491 เป็นต้นไป คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงรับสมัครผู้ที่สำเร็จจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าทุกแห่งโดยผู้ที่จะเข้าเรียนจะต้องผ่านการสอบคัดเลือก ของมหาวิทยาลัยเสียก่อน
|
เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
|
|
|
|