23 พฤศจิกายน 2567, 03:22:57
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "เชิญชวน ชาวจุฬา ทุกคณะ ร่วมแสดงความคิดเห็นช่วยสร้างสังคมที่ดีได้อย่างไร"  (อ่าน 36611 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #25 เมื่อ: 07 กันยายน 2552, 21:06:06 »

พี่ๆทั้งในเวบ และนอกเวบ
ล้วน get informedกันดีจริงๆคะ
เฮ้อ,อยากเก่งเหมือนพี่ๆ
      บันทึกการเข้า


Soponเท่านั้น
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,405

« ตอบ #26 เมื่อ: 07 กันยายน 2552, 22:16:14 »

อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sittipong เมื่อ 06 กันยายน 2552, 21:43:31
น้องสำเริง17 และน้องหนุงหนิง27 คะ
พี่สมพงษ์ ไม่ได้อยู่รุ่น 2516 ค่ะ
น่าจะ 2515 หรือไม่ก็ 2514 นะคะ

ดร.สมพงษ์ อยู่รุ่น15ครับ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #27 เมื่อ: 07 กันยายน 2552, 22:19:23 »

แก้กันได้เรื่อยๆ..
ไม่เบื่อ..
เหมือนแก้รัฐธรรมนูญแหง
อ้าว,พี่คนไหนจะเห็นเป็นไง...ว่ามา!
หนูจาจิบกาแฟ...รอ
      บันทึกการเข้า


Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #28 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 07:35:57 »




โ๋ครงการ ต้นกล้าอาชีพ สามารถฝึกอบรมผู้ว่างงานได้กว่า 300,000 คน มากกว่า

เป้าหมายที่กำหนดไว้ 240,000 คน จากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 530,000 คน

โดยใช้งบประมาณกว่า 5,000 ล้าน.

นายกนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ

โครงการต้นกล้าอาชีพ เปิดเผยว่า นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี

ได้เรียกประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการต้นกล้าอาชีพ ในวันที่ 10 ก.ย. นี้

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในระยะแรกในช่วง 6 เดือน และ

กำหนดแนวทางการทำงานในระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2553 ให้สอดคล้องกับ

สถานการณ์ต่อไป ล่าสุดผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ

โดยสามารถฝึกอบรมผู้ว่างงานได้กว่า 300,000 คน มากกว่าเป้าหมาย

ที่กำหนดไว้ 240,000 คน จากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 530,000 คน

โดยใช้งบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท

ยืนยันว่าโครงการต้นกล้าอาชีพได้ทำให้

ผู้ว่างงานมีงานทำและเป็นเจ้าของกิจการทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ราย

และทำให้แรงงานมีงานทำไม่ต่ำกว่า 140,000-150,000 คน


ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการต้นกล้าอาชีพประสบผลสำเร็จเพราะ

ทำให้การว่างงานลดลง ได้สร้างประโยชน์ในเชิงสังคม จนนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน 

และจากการสำรวจความต้องการของผู้ว่างงาน

ส่วนใหญ่ยังต้องการให้มีโครงการต้นกล้าฯ อยู่ต่อไป

แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้น จากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

ส่งผลให้แนวโน้มคนว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 500,000 คน จากที่คาดการณ์ไว้ 1 ล้านคน เพราะ

ผู้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพยังต้องการเพิ่มขีดความสามารถของตนเอง เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ

ในงบประมาณปี 53 รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบให้โครงการต้นกล้าฯ 7,000 ล้านบาท

วางเป้าหมายฝึกอบรมแรงงาน 260,000 คน ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรขึ้นอยู่กับ

คณะกรรมการบริหารโครงการ เพราะปัญหาของโครงการ

 มีเพียงเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าเท่านั้น

นำมาจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/eco/32063

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #29 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 12:25:18 »


น.ส.พ.เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน 2552 เวลา 0:00 น
   
กระทรวงวิทยาศาสตร์จับมือ อบจ. โคราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ทำต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน

ใช้วัสดุเหลือทิ้งเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร



     
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ.)

ในโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีเฉลิมพระเกียรติ

“ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน”

เพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนในระดับชุมชน

ส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และ

ปลูกไม้โตเร็วให้เป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้า

เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตรในหมู่บ้าน

โดยจะสนับสนุนให้พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน

เน้นให้ชุมชนเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างยั่งยืน

รวมถึงส่งเสริมให้การพัฒนาเครื่องมือเครื่องจักรด้านพลังงานทดแทน เช่น

เครื่องจักรผลิตพลังงานจากชีวมวล การผลิตไฟฟ้าด้วยระบบแก๊สซิฟิเคชั่น



ระบบแก๊สซิฟิเคชั่น
   
ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราช สีมา จะสนับสนุนงบประมาณเพื่อ

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ เพื่อทำเป็นต้นแบบ และ

เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนของจังหวัด

ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะเป็นผู้ศึกษาข้อมูลทั่วไป รวมถึง

ก่อสร้างและเดินระบบโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์.

นำมาจาก

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=19289

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #30 เมื่อ: 11 กันยายน 2552, 08:59:10 »


สั่งอุ้มราคาพืชผลก่อนปีใหม่

รัฐบาลดันประกันราคาพืชผลรับมือเขตการค้าเสรีอาเซียน

ป้องกันข้าว มัน ข้าวโพด เพื่อนบ้าน 0% ทะลักทุบราคาภายใน


 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยต่อผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ

รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสส. ลงพื้นที่

ไปเร่งรัดผลักดันโครงการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล

ให้ทันการเปิดเขตการค้าเสรีสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียน

ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2553 นี้

เพื่อป้องกันสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่ตรวจสอบยาก

ซึ่งจะทะลักเข้ามาบิดเบือนราคาตลาดภายใน และ

หากยังใช้ระบบเดิม คือ การรับจำนำ จะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาล

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายประกันรายได้ให้กับเกษตรกร

แต่กระบวนการที่สำคัญที่สุด คือ

การขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการเพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลคำนวณผลผลิต

และการจัดสรรพื้นที่การผลิต ที่นำไปสู่การกำหนดมาตรการบริหารจัดการกำหนดราคา

และการระบายสินค้าออกสู่ตลาด

ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะเป็นฐานข้อมูลในการสนับสนุนการผลักดันไทยเป็น

ศูนย์กลางการผลิตอาหารโลก หรือพืชพลังงานทดแทน เป็นต้น

“เมื่อรัฐบาลมีข้อมูลผลผลิตรายจังหวัด จะสามารถนำไปกำหนดมาตรการแทรกแซง

และการกำหนดราคา โดยจะเป็นการเปรียบเทียบกับราคาอ้างอิง

หรือการปล่อยสินค้าเกษตรที่อยู่ในมือรัฐบาล

เพื่อให้ราคาในตลาดเกิดความเคลื่อนไหว เป็นต้น” นายกฯ กล่าว

“นโยบายนี้ทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์ 3.7 ล้านครัวเรือนที่ปลูกข้าว

และ อีก 4 แสนครัวเรือนที่ปลูกมันสำปะหลัง และ อีก 3.7 แสนครัวเรือนที่ปลูกข้าวโพด

รวมทั้งหมด 4.47 ล้านครัวเรือน

ในขณะที่นโยบายรับจำนำแบบเดิมมีเพียงเกษตรกร 8.8 แสนครัวเรือนเท่านั้น

ที่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการธนาคาร

เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า

ธ.ก.ส ได้จัดเตรียมวงเงินจากงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง

สำหรับจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาของพืชผลทางการเกษตร

ทั้ง 3 ประเภท ไว้ประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท

Post Today

http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=18310&ch=227

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #31 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 07:39:58 »


                               

            สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ : UNDP

          มองเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ

ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ได้ในขอบเขตที่กว้างขวาง

                 

          ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง และ

โฆษกกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายข้าราชการประจำ กล่าววันนี้ (18 ก.ย.) ว่า

         สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP)

ได้ถวายพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องแนวพระราชดำริ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยที่ UNDP มองว่า

         เป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนา ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาและ

สถานการณ์ต่างๆ ได้ในขอบเขตที่กว้างขวาง

         ม.ล. ปนัดดา กล่าวว่า ความชื่นชมของประชาคมโลกมองว่า ตั้งแต่ที่

พระองค์ท่านเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัตินับเป็นเวลา 63 ปี ล่วงมาแล้ว

ซึ่งนับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงให้

ผู้คนพลเมืองได้ประจักษ์ว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่

ไม่เหมือนพระมหากษัตริย์อื่นๆ อาทิ ทรงปลูกข้าว เพาะพันธุ์ปลา และ

เลี้ยงวัวในบริเวณพระราชวัง โปรดการเสด็จฯ บุกน้ำลุยโคลนเพื่อสำรวจ

พื้นที่การก่อสร้างโครงการชลประทาน ทรงเป็นผู้นำในการคิดค้นเทคนิค

ในการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กังหันลมและ การทำฝนเทียม กับอีก

ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน และ

บำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรในทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศ

         “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถชี้ให้แลเห็นแนวทางการดำรงอยู่และ

การปฏิบัติตนของประชาชนในทุกๆ ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน

จนถึงระดับรัฐ กล่าวคือ

         การพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะ

การพัฒนาเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์

ที่สำคัญที่สุดตามที่ UNDP ตั้งข้อศึกษาไว้ก็คือ

         การปลูกฝังจิตสำนึกพอเพียง จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและ

ความคิดของคน เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาสังคม โดยคนทุกๆ คนต้องมุ่งมั่นหาวิชา

ความรู้ มีคุณธรรม และ ความซื่อสัตย์ และดำเนินชีวิตด้วยความนอบน้อม พากเพียร

มีสติปัญญา และ ความรอบคอบ


         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่โดดเด่นของผู้นำ

ที่ไม่เหมือนใครในโลก และทรงเป็นแรงบันดาลใจในแบบที่

ประชาคมโลกปัจจุบันต้องเรียนรู้ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าว

จาก น.ส.พ.ไทยรัฐ วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2552  

http://www.thairath.co.th/content/edu/33975

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #32 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 18:40:51 »


คมชัดลึก : วันอาทิตย์ ที่ 20 กันยายน 2552

“ต้องการให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องให้มากที่สุด เพื่อจะตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง

โดยไม่มีการครอบงำหรือเห็นแก่อามิสสินจ้าง

ทำให้นักการเมืองไม่สามารถหลอกประชาชนได้อีก

การเมืองและการเลือกตั้งจะสะอาดขึ้น”


 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
 
 เป็นเหตุผลที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพึ่งตนเองและเศรษฐกิจชุมชน

ภายใต้คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ

ซึ่งรับผิดชอบการมีส่วนร่วมและเศรษฐกิจชุมชน โดยเฉพาะด้านสุขภาพภาคประชาชน



คัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มาจัดรายการวิทยุชุมชนและ

นักข่าวอาสา เผยแพร่ข้อมูลป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวให้กับชาวบ้าน

 ดร.เมธี จันท์จารุภรณ์ ประธานคณะอนุกรรมการ กล่าวว่า

ข่าวสารที่เผยแพร่จะเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่

นโยบายรัฐ นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ

โครงการด้านสุขภาพ

ข่าวสารที่ผู้จัดรายการวิทยุชมชนสื่อถึงประชาชน จะเป็นข้อเท็จจริงและ

ปราศจากการครอบงำ ประชาชนได้ประโยชน์ที่แท้จริง

ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม-กันยายน 2552

 โดยคัดเลือก 50 คนในจังหวัดที่มี อสม.เป็นผู้ดำเนินงานใน

วิทยุชุมชน 17 จังหวัด 256 อำเภอ 2,600 ตำบล

มาอบรมการเป็นนักข่าวอาสาและนักจัดรายการวิทยุ

เพื่อให้ต่อยอดองค์ความรู้ไปยัง อสม. 2.7 แสนคน ต่อไป

เป็นการขยายฐานความรู้ความเข้าใจออกไปเป็นวงกว้างขึ้น

ส่วนแกนนำในระดับตำบลจะใช้ระบบส่งข้อความสั้นหรือ

เอสเอ็มเอสเข้าโทรศัพท์มือถือ

ดูข่าวทั้งหมดได้ที่

http://www.komchadluek.net/detail/20090920/29151/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E2%80%9C%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1.%E2%80%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87.html

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #33 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2552, 07:34:39 »




นายมีชัย วีระไวทยะ

ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน


เปิดเผยว่า วันที่ 10 ม.ค.53 จะเปิดทำ

ประชาคมโครงการชุมชนพอเพียงพร้อมกันทั่วประเทศกว่า 80,000 ชุมชน

เพื่อให้ ชาวบ้าน และนักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น


แต่ช่วงนี้จะให้ความรู้กับเด็กในระดับมัธยมศึกษามากขึ้น ส่วนโครงการเดิม

ที่เคยเสนอขอมา แต่ยังไม่ได้อนุมัติงบประมาณให้นั้น จะระงับไว้ก่อน แล้วเริ่มต้นใหม่

โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์เสนอของบประมาณ

ไปใช้สำหรับทำโครงการชุมชนพอเพียงได้ด้วย

สำหรับโครงการที่จะเสนอขอใช้งบชุมชนพอเพียงนั้น จะต้องคิดใหม่ทำใหม่

เน้นช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส คนจน เด็ก สตรี และคนพิการ

โดยต้องเข้ากับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มรายได้ เพิ่มโอกาสในอนาคต

ให้มีชีวิตดีขึ้นอย่างยั่งยืน ไม่ใช่คิดแต่ซื้อเครื่องจักร

ซึ่งไม่ช่วยให้คนด้อยโอกาสได้ประโยชน์เลย เช่น

โครงการเกษตรอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ให้นักเรียนรู้จักปลูกผัก

เลี้ยงสัตว์มาทำอาหาร หรือการฝึกอบรมทำอาชีพต่างๆ เป็นต้น

สำหรับงบประมาณโครงการชุมชนพอเพียงในปี 53 มีวงเงิน 18,000 ล้านบาท

"ที่ผ่านมา ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับทราบโครงการชุมชนพอเพียงน้อยมาก

ทำให้คนอื่นสวมรอยทำโครงการจัดซื้อจัดจ้างโดยที่ชาวบ้านไม่ทราบ เช่น

โครงการจัดซื้อตู้น้ำดื่มพลังงานงานแสงอาทิตย์ หากเสนอขอมาอีก

จะไม่อนุมัติงบให้แล้ว เพราะคนจนมีน้ำดื่มอยู่แล้ว

ต่อไปต้องปลุกระดมให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมมากขึ้น

"ถ้าส่องแสงให้กรงไก่สว่าง หมาป่าคงไม่กล้าเข้ามา".

นำมาจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ วันอังคารที่ 10 พ.ย.2552

http://www.thairath.co.th/content/eco/45692

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #34 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2552, 06:50:06 »




ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชี้มาตรการคลัง-ปชต.ถูกทิศแก้ปัญหาสังคมไทยได้

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน 2552

ย้ำมั่งคั่งกระจุกตัว,ระบบรวมศูนย์-คณาธิปไตย คือ

เหตุเลื่อมล้ำขัดแย้ง ชี้สร้างมิติการคลัง,ปชต.ที่ถูกทิศทาง สร้างสังคมแฟร์ได้


ระบุตัวชี้วัดความมั่งคั่งปี 49 กลุ่มรวยสุด20% มีทรัพย์สินรวม 69%ของทั้งประเทศ

จนสุด20% ทรัพย์รวมกันแค่1%

สถิติธปท. มิ.ย.52 ร้อยละ42 เงินฝาก7หมื่นบัญชีๆ ละกว่า10ล้านบาท

ถ้ามีคนละ 2บัญชีจะเท่ากับ42%ของประเทศ หรือ แค่ 35,000คน

ตัวชี้วัดถือหุ้นปี2538-2542 ครอบครัวถือหุ้นสูงสุด 11ตระกูล เช่น

มาลีนนท์ ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์

ดัชนี้ที่ดินถือครองมากสุด 50อันดับ เฉลี่ย10% ของแต่ละจังหวัด

ไม่มีที่ดินเลย20% มีน้อยกว่า10 ไร่42%ของประชากร   

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก

นางผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปาฐกถาเรื่อง

“สู่สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์(Fair)”

โดยกล่าวถึงการที่คนในสังคมต้องปรึกษาหารือเพื่อหาความเห็นพ้องต้องกัน

เป็นเรื่องที่สำคัญมาก สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์

ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด แต่ต้องเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาส

ความมั่นคงในชีวิต การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ

ลูกหลานจะมีอนาคตที่แจ่มใสพอๆ กัน


ปัจจัยสำคัญที่ต้องมี คือ ระบบรัฐบาลตอบสนองข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ

ได้อย่างสมดุล กลไกสำคัญที่เป็นเครื่องมือ คือ

นโยบายการคลัง การเก็บภาษีและจัดสรรเงินภาษีเพื่อทำนุบำรุงเศรษฐกิจ และ

ประชาธิปไตย หากรัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าดังกล่าวได้

สังคมนั้นๆ ก็จะไปสู่ ความไม่เท่าเทียมกัน ที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น จนกลายเป็น

สังคมที่มีความขัดแย้งระหว่าง ความมั่งมีมหาศาลและคนชั้นกลางฝ่ายหนึ่ง กับ

คนจนส่วนใหญ่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่รอวันปะทุ

ซึ่งขณะนี้ปัญหาทางการเมืองไทยก็มีต้นตอจากความเหลื่อมล้ำนั่นเอง 

นางผาสุก กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจสูง

หากดูตัวชี้วัดเรื่องความมั่งคั่ง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)

แสดงข้อมูลปี 2549 เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัวไทยกลุ่มต่างๆ พบว่า

ครอบครัวกลุ่มรวยที่สุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกันคิดเป็นร้อยละ 69 ของทั้งประเทศ

ขณะที่ครอบครัวจนสุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกัน แค่ร้อยละ 1

แสดงถึงความมั่งคั่งกระจุกตัว


ถ้าดูจากเงินออมในธนาคาร สถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเดือนมิถุนายน 52 พบว่า

ร้อยละ 42 ของเงินฝากมาจากประมาณ 7 หมื่นบัญชีมีเงินมากกว่า 10 ล้านบาทต่อบัญชี

คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของจำนวนบัญชีทั้งหมดในประเทศ

ซึ่งปกติคนๆ หนึ่งมีบัญชีมากกว่า 1 บัญชี

สมมติว่าโดยเฉลี่ยมีคนละ 2 บัญชี ก็เท่ากับ ร้อยละ 42 ของประเทศ

มีคนเพียง 35,000 คน เป็นเจ้าของ แสดงถึงนัยการกระจุกตัวของรายได้ที่สูงมาก

ขณะที่ตัวชี้วัดเรื่องการถือหุ้น การสำรวจในปี 2538-2542

กลุ่มครอบครัวที่ถือหุ้นสูงสุดของประเทศ 11 ตระกูล

ผลัดกันเป็นเจ้าของหุ้นมีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก เช่น

มาลีนนท์  ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์ เป็นต้น

ส่วนดัชนี้เรื่องที่ดิน ข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า

การถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก มีที่ดินโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10

ของที่ดินในแต่ละจังหวัด หรือ

กลุ่มที่ไม่มีที่ดินเลย มีประมาณร้อยละ 20 หากรวมกลุ่มที่มีที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่

ก็จะสูงถึงร้อยละ 42

จากสถิติทั้งหมด แสดงถึงความมังคั่งในสังคมสูงอยู่ในมือคนจำนวนน้อยมาก

คงจะไม่ถึงร้อยละ 10 ของประเทศ และ คนกลุ่มเหล่านี้ ลูกหลานก็มักจะมาแต่งงานกัน

หรือหากจะดูรายได้ครัวเรือนเป็นรายภาค พ.ศ.2550 กทม.อยู่ที่ 187.6

ขณะที่ภาคอีสาน 69.6
       

ส่วนเหตุสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงนั้น

เนื่องมาจากระบบราชการรวมศูนย์ การเมืองคณาธิปไตย ทหารพาณิชย์

ประชาธิปไตยแต่ในนาม กองทัพทำรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ

นับว่าเป็นการขัดขวางสู่ความเป็นประชาธิปไตยในทางหนึ่ง

จากการศึกษา ความเหลื่อมล้ำในช่วงแรก

พบการออมกระจุกตัวในคนกลุ่มน้อยที่สามารถลงทุนหารายได้ ได้มากกว่าคนอื่นๆ

แม้ต่อมาจะมีพ.ร.บ.ประกันสังคม ก็มีผลเพียงร้อยละ 14 ของคนทั้งประเทศ

คนจำนวนน้อยสามารถกุมอำนาจไว้ได้

แต่ในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว มักไม่ประสบปัญหาดังกล่าวมาก

เนื่องจากมีการใช้ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าและ เงินโอน

รวมถึงมีสหภาพแรงงานต่อรองกับนายจ้าง โดยเฉพาะญี่ปุ่น

จะมีปัญหาการเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นปฏิรูปการเมืองยอมให้พรรคการเมือง และ

กลุ่มผลประโยชน์หลากหลายสีสรรพ์มีส่วนร่วมในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย

การปฏิรูปที่ดิน การล้มเลิกชนชั้นอภิสิทธิ์ และ มีการสนับสนุนให้สหภาพแรงงาน

มีการต่อรองกับนายจ้าง มีการนำภาษีมรดกมาใช้     

นางผาสุก กล่าวต่อว่า ขณะที่ปัญหาระบบภาษีของไทย มีลักษณะพึ่งภาษีทางอ้อมมาก

ภาษีทางตรงมีคนเสียน้อย ไม่ให้ความสำคัญกับความเหลื่อมล้ำ และ

ระบบภาษีเป็นภาระกับคนจนมากกว่าคนรวย

ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องมีระบบภาษียอมรับกันว่าแฟร์ คือ ไม่ได้หมายความว่า

ต้องเก็บภาษีจากคนรวยเพื่อเอาไปให้คนจนสถานเดียว

แต่คนรวยกว่าน่าจะจ่ายได้มากกว่า คือ จ่ายตามฐานะ

"ระบบภาษีที่ดี จะต้องไม่ส่งผลเสียต่อแรงจูงใจอย่างมากมาย จนทำให้มีการขนถ่าย

เงินทุน หรือย้ายไปอยู่ในประเทศอื่นที่เก็บภาษีต่ำกว่า

หลักการน่าจะเป็นว่า ทุกคนต้องเสียภาษี อาจจะจ่ายตามฐานะ

นอกจากนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากจากการใช้จ่ายภาครัฐ ก็น่าจะยอมจ่ายภาษี

เป็นสัดส่วนต่อรายได้สูงกว่าคนที่ได้รับประโยชน์น้อยกว่า

นอกจากนี้ ระบบภาษีควรจะรวมถึงมาตรการที่บังคับให้ผู้ที่มีความมั่งคั่งล้นเกิน

ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยสร้างผลผลิตและจ้างงาน

ไม่ใช่เก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไรหรือเป็นเสือนอนกิน


ทั้งนี้ มาตรการการคลังต้องพิจารณาทั้งระบบภาษีในทางตรงและทางอ้อม และ

การใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งภาระภาษีของไทยมีความไม่แฟร์เกิดขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับต่างชาติ ซึ่ง

ถ้าอัตราภาษีทางอ้อมสูง เท่ากับว่าภาษีเป็นภาระต่อคนจนมากกว่าคนรวย

ของไทยลี่ยนที่ร้อยละ 60 แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเฉลี่ยที่ร้อยละ 50" 

นางผาสุก กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาษีทางตรงแม้ไทยจะมีอัตราภาษีก้าวหน้า

ในปัจจุบันคือร้อยละ 37 แต่มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงร้อยละ 4

เพราะรัฐบาลมีการลดหย่อยภาษีมาโดยตลอด ซึ่งต้องมีการทบทวนนโยบายดังกล่าว

อีกทั้งมีการหลีกเลี่ยงภาษีกันมาก กระทรวงการคลังต้องมีการปฏิรูประบบภาษี

ทั้งนี้ ภาษีทางตรงอื่นๆ ที่ต่างประเทศใช้เพื่อเป็นมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ

แต่ของไทยยังไม่มีหรือยังไม่พัฒนาคือ

ภาษีทรัพย์สิน ภีมรดก ภาษีเก็บจากรายได้การขายหุ้น ภาษีรายได้จากดอกเบี้ย

ทำให้ภาพรวมระบบภาษีของไทยพึ่งภาษีทางอ้อมมากกว่าทางตรง

จึงส่งผลให้เรามีระบบภาษีไร้ประสิทธิภาพ เป็นภาระแก่คนจน

ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วที่จะได้รับเงินจากภาษีทางตรงเป็นหลัก

นางผาสุก กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐ

ปัจจัยหลักที่ดำนหนดการแบ่งสรร คือ อำนาจ ซึ่งก็มีการปรับตัวตามกาลสมัย และ

ระบอบการปกครองและสถานการณ์

แต่รายจ่ายภาครัฐของไทย คิดเป็นสัดส่วนของจีดีพีแล้ว

ยังต่ำมากคือเพียง ร้อยละ 18 ต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่ร้อยละ 36 และ

รายจ่ายยังเน้นไปที่เงินเดือนข้าราชการ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

งานศึกษาพบว่า การใช้จ่ายของรัฐบาล สามารถทำให้การกระจายรายได้

มีความเท่าเทียมกันเพิ่มขึ้นได้ โดยพบว่า

การใช้จ่ายเพื่อการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด ตามมาด้วยเพื่อการรักษาพยาบาล และ

การใช้จ่ายเพื่อภาคเกษตร ยังมีงานวิจัยอีกว่า การใช้จ่ายของภาครัฐมีปัญหา คือ

การให้เงินอุดหนุนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าประปา ค่าไฟ ค่าขนส่งแบบที่เป็นอยู่

แต่ให้หันไปอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา และสุขภาพ

ซึ่งที่รัฐบาลปัจจุบันทำ นับว่าเดินมาถูกทางแม้จะยังไม่เพียงพอ   

ทั้งนี้ ที่รัฐบาลควรทำคือ ต้องมีโครงการและบริการสาธารณะ

ที่ประชาชนทุกคนจะได้ประโยชน์พอๆ กันให้มากกว่านี้ และ

ควรจะเป็นสินค้าและบริการซึ่งจะส่งผลลดความเหลื่อมล้ำ

โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพและการศึกษา เพื่อการนี้รัฐบาลจะต้องหารายได้ภาษีเพิ่มขึ้น

จึงต้องเต้าเป้าที่จะเก็บภาษีคิดเป็นสัดส่วนของจีดีพี เพิ่มขึ้นในอนาคต

ให้ได้มากกว่าร้อยละ 17 หมายรวมถึงการเพิ่มจำนวนคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้

ปรับปรุงภาษีรายได้จากดอกเบี้ยที่ยังต่ำ

การปฏิรุประบบภาษีและการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพ โดยให้การลดความเหลื่อมล้ำ

เป็นเป้าหมาย และต้องหลีกเลี่ยงระบบภีที่จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำ คือ

การหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาษีทางอ้อม แต่หันไปเพิ่มชนิดของภาษีทางตรงใหม่ๆ

ไทย มีการศึกษาว่า หากไทยสามารถเพิ่มรายได้จากภาษีทางตรงเพียงร้อยละ 10

จะทำให้อัตรคนยากจนลดลงร้อยละ 3

นอกจากนี้ ต้องคิดถึงภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน รวมถึง

การพยายามเลิกเงินอุดหนุนประเภทต่างๆที่ให้ประโยชน์กับคนรวยมากกว่าคนจน     

นายผาสุก กล่าวต่อว่า ในส่วนระบบการเมือง ที่ต้องดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ

หรือ political will แต่ที่ผ่านมายังไม่เกิดแต่มันมีโอกาสเกิดได้มากสุดในระบอบ

ประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและรับรองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

อย่างไรก็ดี ก็มักจะมีความพยายามโต้แย้ง เช่น

ระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะคนไทยมีการศึกษาต่ำ


เพื่อเป็นข้ออ้างให้ยอมรับ ความเหลื่อมล้ำแบบเดิมๆ และการปกครองแบบคณาธิปไตย

บางครั้งก็อ้างว่า ประชิปไตย คือ ม็อบเป็นใหญ่ แต่ก็มีทางแก้คือ

ต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญป้องกันไม่ให้เสียงข้างมากเป็นภัยกับเสียงส่วนน้อย และ

คุ้มครองเสียงส่วนน้อยอย่างพอเพียง


นอกจากนี้ ยังมีข้ออ้างอีกว่า ประชิปไตยเปิดช่องให้นักการเมืองซื้อเสียง

ซึ่งประชาธิปไตยทำให้นักการเมืองคอรัปชั่นเป็นไปโดยง่าย แต่ก็แก้ได้โดย

ให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งประชาธิปไตย สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง

โดยเสียต้นทุนน้อยที่สุด สามารถควบคุมกับการคอรัปชั่นของการเมืองได้ โดย

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพสื่อ การพัฒนาระบบตรวจสอบ

การพัฒนากรอบกฎหมายแต่ก็ต้องยอมรับว่า

ประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างได้ชั่วข้ามคืน

ดังนั้น จึงต้องทำไปเรียนไป ลองผิดลองถูก ซึ่งความต่อเนื่องของระบบมีความสำคัญ 

"ฉะนั้นต้องช่วยกันป้องกันการรัฐประหารอย่างเต็มกำลัง

สรุปแล้ว มิติมาตรการการคลังและประชาธิปไตย ที่ถูกทิศถูกทาง

จะทำให้เกิดสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าแฟร์ มีระบอบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ

ที่ประกันสิทธิเสรีภาพและกำหนดกฎเกณฑ์เกมการเมือง ก็จะนำไปสู่การบรรลุเป้าคือ

สังคมที่สันติสุข"
ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

นำมาจาก

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20091106/85190/%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%95.%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.html

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #35 เมื่อ: 08 มกราคม 2553, 07:12:56 »


                

         นิตยสาร เดอะ แบงค์เกอร์ ของอังกฤษ ที่อยู่ในเครือของ ไฟแนนเชี่ยล ไทม์ส ได้ยกย่องให้ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย เป็นรัฐมนตรีคลังโลก และเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2010

         อันเนื่องมาผลงานอันโดดเด่นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ทั้งความกล้าในการตัดสินใจ และใช้นโยบายที่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างได้ผลและทำให้เศรษฐกิจที่ตกต่ำสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และยังปูพื้นฐานไปสู่การเติบโตในอนาคตอีกด้วย
 
            อ้างถึง      The Banker

http://www.thebanker.com/news/fullstory.php/aid/7013/Finance_Minister_of_the_Year_2010_-_Global_and_Asia-Pacific.html   

นำมาจากกระทู้ห้องปรัชญาและการเมือง เวบซีมะโด่งของพวกเรา

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4591.0.html

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ      
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 09 มกราคม 2553, 08:31:00 »

อ้างถึง
ข้อความของ สำเริง 17 รุ่น 57 เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2552, 06:50:06



ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร



ชี้มาตรการคลัง-ปชต.ถูกทิศแก้ปัญหาสังคมไทยได้

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน 2552

ย้ำมั่งคั่งกระจุกตัว,ระบบรวมศูนย์-คณาธิปไตย คือ

เหตุเลื่อมล้ำขัดแย้ง ชี้สร้างมิติการคลัง,ปชต.ที่ถูกทิศทาง สร้างสังคมแฟร์ได้


ระบุตัวชี้วัดความมั่งคั่งปี 49 กลุ่มรวยสุด20% มีทรัพย์สินรวม 69%ของทั้งประเทศ

จนสุด20% ทรัพย์รวมกันแค่1%

สถิติธปท. มิ.ย.52 ร้อยละ42 เงินฝาก7หมื่นบัญชีๆ ละกว่า10ล้านบาท

ถ้ามีคนละ 2บัญชีจะเท่ากับ42%ของประเทศ หรือ แค่ 35,000คน

ตัวชี้วัดถือหุ้นปี2538-2542 ครอบครัวถือหุ้นสูงสุด 11ตระกูล เช่น

มาลีนนท์ ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์

ดัชนี้ที่ดินถือครองมากสุด 50อันดับ เฉลี่ย10% ของแต่ละจังหวัด

ไม่มีที่ดินเลย20% มีน้อยกว่า10 ไร่42%ของประชากร   

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก

นางผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปาฐกถาเรื่อง

“สู่สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์(Fair)”

โดยกล่าวถึงการที่คนในสังคมต้องปรึกษาหารือเพื่อหาความเห็นพ้องต้องกัน

เป็นเรื่องที่สำคัญมาก สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์

ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด แต่ต้องเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาส

ความมั่นคงในชีวิต การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ

ลูกหลานจะมีอนาคตที่แจ่มใสพอๆ กัน


ปัจจัยสำคัญที่ต้องมี คือ ระบบรัฐบาลตอบสนองข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ

ได้อย่างสมดุล กลไกสำคัญที่เป็นเครื่องมือ คือ

นโยบายการคลัง การเก็บภาษีและจัดสรรเงินภาษีเพื่อทำนุบำรุงเศรษฐกิจ และ

ประชาธิปไตย หากรัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าดังกล่าวได้

สังคมนั้นๆ ก็จะไปสู่ ความไม่เท่าเทียมกัน ที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น จนกลายเป็น

สังคมที่มีความขัดแย้งระหว่าง ความมั่งมีมหาศาลและคนชั้นกลางฝ่ายหนึ่ง กับ

คนจนส่วนใหญ่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่รอวันปะทุ

ซึ่งขณะนี้ปัญหาทางการเมืองไทยก็มีต้นตอจากความเหลื่อมล้ำนั่นเอง 

นางผาสุก กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจสูง

หากดูตัวชี้วัดเรื่องความมั่งคั่ง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)

แสดงข้อมูลปี 2549 เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัวไทยกลุ่มต่างๆ พบว่า

ครอบครัวกลุ่มรวยที่สุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกันคิดเป็นร้อยละ 69 ของทั้งประเทศ

ขณะที่ครอบครัวจนสุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกัน แค่ร้อยละ 1

แสดงถึงความมั่งคั่งกระจุกตัว


ถ้าดูจากเงินออมในธนาคาร สถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเดือนมิถุนายน 52 พบว่า

ร้อยละ 42 ของเงินฝากมาจากประมาณ 7 หมื่นบัญชีมีเงินมากกว่า 10 ล้านบาทต่อบัญชี

คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของจำนวนบัญชีทั้งหมดในประเทศ

ซึ่งปกติคนๆ หนึ่งมีบัญชีมากกว่า 1 บัญชี

สมมติว่าโดยเฉลี่ยมีคนละ 2 บัญชี ก็เท่ากับ ร้อยละ 42 ของประเทศ

มีคนเพียง 35,000 คน เป็นเจ้าของ แสดงถึงนัยการกระจุกตัวของรายได้ที่สูงมาก

ขณะที่ตัวชี้วัดเรื่องการถือหุ้น การสำรวจในปี 2538-2542

กลุ่มครอบครัวที่ถือหุ้นสูงสุดของประเทศ 11 ตระกูล

ผลัดกันเป็นเจ้าของหุ้นมีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก เช่น

มาลีนนท์  ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์ เป็นต้น

ส่วนดัชนี้เรื่องที่ดิน ข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า

การถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก มีที่ดินโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10

ของที่ดินในแต่ละจังหวัด หรือ

กลุ่มที่ไม่มีที่ดินเลย มีประมาณร้อยละ 20 หากรวมกลุ่มที่มีที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่

ก็จะสูงถึงร้อยละ 42

จากสถิติทั้งหมด แสดงถึงความมังคั่งในสังคมสูงอยู่ในมือคนจำนวนน้อยมาก

คงจะไม่ถึงร้อยละ 10 ของประเทศ และ คนกลุ่มเหล่านี้ ลูกหลานก็มักจะมาแต่งงานกัน

หรือหากจะดูรายได้ครัวเรือนเป็นรายภาค พ.ศ.2550 กทม.อยู่ที่ 187.6

ขณะที่ภาคอีสาน 69.6
       

ส่วนเหตุสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงนั้น

เนื่องมาจากระบบราชการรวมศูนย์ การเมืองคณาธิปไตย ทหารพาณิชย์

ประชาธิปไตยแต่ในนาม กองทัพทำรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ

นับว่าเป็นการขัดขวางสู่ความเป็นประชาธิปไตยในทางหนึ่ง

จากการศึกษา ความเหลื่อมล้ำในช่วงแรก

พบการออมกระจุกตัวในคนกลุ่มน้อยที่สามารถลงทุนหารายได้ ได้มากกว่าคนอื่นๆ

แม้ต่อมาจะมีพ.ร.บ.ประกันสังคม ก็มีผลเพียงร้อยละ 14 ของคนทั้งประเทศ

คนจำนวนน้อยสามารถกุมอำนาจไว้ได้

แต่ในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว มักไม่ประสบปัญหาดังกล่าวมาก

เนื่องจากมีการใช้ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าและ เงินโอน

รวมถึงมีสหภาพแรงงานต่อรองกับนายจ้าง โดยเฉพาะญี่ปุ่น

จะมีปัญหาการเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นปฏิรูปการเมืองยอมให้พรรคการเมือง และ

กลุ่มผลประโยชน์หลากหลายสีสรรพ์มีส่วนร่วมในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย

การปฏิรูปที่ดิน การล้มเลิกชนชั้นอภิสิทธิ์ และ มีการสนับสนุนให้สหภาพแรงงาน

มีการต่อรองกับนายจ้าง มีการนำภาษีมรดกมาใช้     

นางผาสุก กล่าวต่อว่า ขณะที่ปัญหาระบบภาษีของไทย มีลักษณะพึ่งภาษีทางอ้อมมาก

ภาษีทางตรงมีคนเสียน้อย ไม่ให้ความสำคัญกับความเหลื่อมล้ำ และ

ระบบภาษีเป็นภาระกับคนจนมากกว่าคนรวย

ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องมีระบบภาษียอมรับกันว่าแฟร์ คือ ไม่ได้หมายความว่า

ต้องเก็บภาษีจากคนรวยเพื่อเอาไปให้คนจนสถานเดียว

แต่คนรวยกว่าน่าจะจ่ายได้มากกว่า คือ จ่ายตามฐานะ

"ระบบภาษีที่ดี จะต้องไม่ส่งผลเสียต่อแรงจูงใจอย่างมากมาย จนทำให้มีการขนถ่าย

เงินทุน หรือย้ายไปอยู่ในประเทศอื่นที่เก็บภาษีต่ำกว่า

หลักการน่าจะเป็นว่า ทุกคนต้องเสียภาษี อาจจะจ่ายตามฐานะ

นอกจากนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากจากการใช้จ่ายภาครัฐ ก็น่าจะยอมจ่ายภาษี

เป็นสัดส่วนต่อรายได้สูงกว่าคนที่ได้รับประโยชน์น้อยกว่า

นอกจากนี้ ระบบภาษีควรจะรวมถึงมาตรการที่บังคับให้ผู้ที่มีความมั่งคั่งล้นเกิน

ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยสร้างผลผลิตและจ้างงาน

ไม่ใช่เก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไรหรือเป็นเสือนอนกิน


ทั้งนี้ มาตรการการคลังต้องพิจารณาทั้งระบบภาษีในทางตรงและทางอ้อม และ

การใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งภาระภาษีของไทยมีความไม่แฟร์เกิดขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับต่างชาติ ซึ่ง

ถ้าอัตราภาษีทางอ้อมสูง เท่ากับว่าภาษีเป็นภาระต่อคนจนมากกว่าคนรวย

ของไทยลี่ยนที่ร้อยละ 60 แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเฉลี่ยที่ร้อยละ 50" 

นางผาสุก กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาษีทางตรงแม้ไทยจะมีอัตราภาษีก้าวหน้า

ในปัจจุบันคือร้อยละ 37 แต่มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงร้อยละ 4

เพราะรัฐบาลมีการลดหย่อยภาษีมาโดยตลอด ซึ่งต้องมีการทบทวนนโยบายดังกล่าว

อีกทั้งมีการหลีกเลี่ยงภาษีกันมาก กระทรวงการคลังต้องมีการปฏิรูประบบภาษี

ทั้งนี้ ภาษีทางตรงอื่นๆ ที่ต่างประเทศใช้เพื่อเป็นมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ

แต่ของไทยยังไม่มีหรือยังไม่พัฒนาคือ

ภาษีทรัพย์สิน ภีมรดก ภาษีเก็บจากรายได้การขายหุ้น ภาษีรายได้จากดอกเบี้ย

ทำให้ภาพรวมระบบภาษีของไทยพึ่งภาษีทางอ้อมมากกว่าทางตรง

จึงส่งผลให้เรามีระบบภาษีไร้ประสิทธิภาพ เป็นภาระแก่คนจน

ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วที่จะได้รับเงินจากภาษีทางตรงเป็นหลัก

นางผาสุก กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐ

ปัจจัยหลักที่ดำนหนดการแบ่งสรร คือ อำนาจ ซึ่งก็มีการปรับตัวตามกาลสมัย และ

ระบอบการปกครองและสถานการณ์

แต่รายจ่ายภาครัฐของไทย คิดเป็นสัดส่วนของจีดีพีแล้ว

ยังต่ำมากคือเพียง ร้อยละ 18 ต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่ร้อยละ 36 และ

รายจ่ายยังเน้นไปที่เงินเดือนข้าราชการ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

งานศึกษาพบว่า การใช้จ่ายของรัฐบาล สามารถทำให้การกระจายรายได้

มีความเท่าเทียมกันเพิ่มขึ้นได้ โดยพบว่า

การใช้จ่ายเพื่อการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด ตามมาด้วยเพื่อการรักษาพยาบาล และ

การใช้จ่ายเพื่อภาคเกษตร ยังมีงานวิจัยอีกว่า การใช้จ่ายของภาครัฐมีปัญหา คือ

การให้เงินอุดหนุนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าประปา ค่าไฟ ค่าขนส่งแบบที่เป็นอยู่

แต่ให้หันไปอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา และสุขภาพ

ซึ่งที่รัฐบาลปัจจุบันทำ นับว่าเดินมาถูกทางแม้จะยังไม่เพียงพอ   

ทั้งนี้ ที่รัฐบาลควรทำคือ ต้องมีโครงการและบริการสาธารณะ

ที่ประชาชนทุกคนจะได้ประโยชน์พอๆ กันให้มากกว่านี้ และ

ควรจะเป็นสินค้าและบริการซึ่งจะส่งผลลดความเหลื่อมล้ำ

โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพและการศึกษา เพื่อการนี้รัฐบาลจะต้องหารายได้ภาษีเพิ่มขึ้น

จึงต้องเต้าเป้าที่จะเก็บภาษีคิดเป็นสัดส่วนของจีดีพี เพิ่มขึ้นในอนาคต

ให้ได้มากกว่าร้อยละ 17 หมายรวมถึงการเพิ่มจำนวนคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้

ปรับปรุงภาษีรายได้จากดอกเบี้ยที่ยังต่ำ

การปฏิรุประบบภาษีและการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพ โดยให้การลดความเหลื่อมล้ำ

เป็นเป้าหมาย และต้องหลีกเลี่ยงระบบภีที่จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำ คือ

การหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาษีทางอ้อม แต่หันไปเพิ่มชนิดของภาษีทางตรงใหม่ๆ

ไทย มีการศึกษาว่า หากไทยสามารถเพิ่มรายได้จากภาษีทางตรงเพียงร้อยละ 10

จะทำให้อัตรคนยากจนลดลงร้อยละ 3

นอกจากนี้ ต้องคิดถึงภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน รวมถึง

การพยายามเลิกเงินอุดหนุนประเภทต่างๆที่ให้ประโยชน์กับคนรวยมากกว่าคนจน     

นายผาสุก กล่าวต่อว่า ในส่วนระบบการเมือง ที่ต้องดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ

หรือ political will แต่ที่ผ่านมายังไม่เกิดแต่มันมีโอกาสเกิดได้มากสุดในระบอบ

ประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและรับรองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

อย่างไรก็ดี ก็มักจะมีความพยายามโต้แย้ง เช่น

ระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะคนไทยมีการศึกษาต่ำ


เพื่อเป็นข้ออ้างให้ยอมรับ ความเหลื่อมล้ำแบบเดิมๆ และการปกครองแบบคณาธิปไตย

บางครั้งก็อ้างว่า ประชิปไตย คือ ม็อบเป็นใหญ่ แต่ก็มีทางแก้คือ

ต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญป้องกันไม่ให้เสียงข้างมากเป็นภัยกับเสียงส่วนน้อย และ

คุ้มครองเสียงส่วนน้อยอย่างพอเพียง


นอกจากนี้ ยังมีข้ออ้างอีกว่า ประชิปไตยเปิดช่องให้นักการเมืองซื้อเสียง

ซึ่งประชาธิปไตยทำให้นักการเมืองคอรัปชั่นเป็นไปโดยง่าย แต่ก็แก้ได้โดย

ให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งประชาธิปไตย สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง

โดยเสียต้นทุนน้อยที่สุด สามารถควบคุมกับการคอรัปชั่นของการเมืองได้ โดย

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพสื่อ การพัฒนาระบบตรวจสอบ

การพัฒนากรอบกฎหมายแต่ก็ต้องยอมรับว่า

ประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างได้ชั่วข้ามคืน

ดังนั้น จึงต้องทำไปเรียนไป ลองผิดลองถูก ซึ่งความต่อเนื่องของระบบมีความสำคัญ 

"ฉะนั้นต้องช่วยกันป้องกันการรัฐประหารอย่างเต็มกำลัง

สรุปแล้ว มิติมาตรการการคลังและประชาธิปไตย ที่ถูกทิศถูกทาง

จะทำให้เกิดสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าแฟร์ มีระบอบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ

ที่ประกันสิทธิเสรีภาพและกำหนดกฎเกณฑ์เกมการเมือง ก็จะนำไปสู่การบรรลุเป้าคือ

สังคมที่สันติสุข"
ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

นำมาจาก

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20091106/85190/%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%95.%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.html

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า


ขอบพระคุณพี่หมอสำเริงมากครับ ที่ทำให้ผมได้อ่านบทความดีๆเช่นนี้

เป็นมุมมองของปัญหาที่รอบด้าน
เข้าถึง แก่น ของปัญหาของสังคมไทย

มีบางประเด็น ในบทความนี้ ที่่ผมเห็นแตกต่างในการจัดการ สำหรับสังคมไทย
แล้วผมจะมาแลกเปลียนแต่ละความแตกต่างอีกที

...............................

ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด แต่ต้องเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาส

ความมั่นคงในชีวิต การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ

ลูกหลานจะมีอนาคตที่แจ่มใสพอๆ กัน


ข้อความที่ยกมา จากบทความข้างต้นนี้

เป็นหัวใจหลัก ที่อยากเห็นพรรคการเมืองที่ดีและมีความสามารถ

จึง เกิดแนวคิดพัฒนามาเป็น (ร่าง) พรรคไทยทันทุน

และข้อความที่ยกมานี้
โดนใจผมในการตกผลึก เป็นคำสั้นๆในการ เสนอนโยบายต่อประชาชน
ภายใต้กรอบแนวนโยบายพรรคซึ่งๆได้เสนอไว้แล้วในห้องปรัชญาและการเมือง

เพราะปัญหาของสังคมไทยวันนี้
ก็คือ

"โอกาส"

เราปิดโอกาสใส่หน้าคนไทยทุกคน ในทุกระดับ

คนรวย แม้จะมีโอกาสมากมาย แต่ก็ถูกปิด ต่อการพัฒนาตนอย่างถูกต้อง ต่อโอกาสต่อโลก
คนชั้นกลาง ถูกบั่นทอนโอกาสลงเรื่อยๆ และกำลังกลายเป็นคนจน(ด้วยการแบกหนี้)
คนจน ขาดโอกาสในทุกๆเรื่อง ทั้งที่มีความสามารถ

ประเทศไทย ต้องเริ่มที่ CHANCE
                  
  แล้ว CHANGE จะเกิดตามมา

      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #37 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 10:36:31 »


คมชัดลึก วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553

         สพฐ.ประกาศสัดส่วนรับนักเรียน ม.1 ประจำปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนดีเด่นดังทั่วประเทศ จำนวน 365 โรง ระบุ ส่วนใหญ่สอบร้อยละ50 ที่เหลือรับเด็กในพื้นที่บริการ

         ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า

         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นาน (สพฐ.) ได้ประกาศสัดส่วนรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง จำนวน 365 โรง ดังนี้

         กทม. เขต 1 ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.เบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.วัดราชบพิธ จับสลากในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สตรีวิทยา สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.โยธินบูรณะ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.เทพศิรินทร์ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สายปัญญา สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สตรีวัดมหาพฤฒารามฯ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.วัดสุทธิวราราม สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สตรีศรีสุริโยทัย สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.นนทรีวิทยา สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สามเสนวิทยาลัย สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50

ดู ร.ร.เพิ่มเติม ได้อีกที่ http://www.komchadluek.net/detail/20100202/46836/สพฐ.เผยสัดส่วนรับม.1ร.ร.ดีเด่นดัง365โรง.html

         ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

         เป็นความพยายาม ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะพัฒนาให้ทุก ร.ร.ได้พัฒนาให้มีคุณภาพ ตามเกณฑ์ มาตรฐาน ที่ทุก ร.ร.จะต้องพัฒนา จนได้ใบรับรอง ร.ร.คุณภาพ

          เนื้อหาข่าวการรับเด็กคัดเลือก น้อยลง รับเด็กในพื้นที่ เพิ่มขึ้น เป็นความพยายามให้เด็กคละกันไป แทนที่ ร.ร.ดัง ๆ จะสอบคัดเด็กเก่งไปเรียน ขอนำกระทู้ ที่ ชาวหอฯ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ที่ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ สมศ.มาลงเพิ่ม

          รักนะ รักนะ รักนะ

       

             ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ซีมะโด่ง ครุศาสตร์ 19 ได้รับ ตำแหน่ง

 ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)  สมศ.

         ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ ที่จะทำให้สถานศึกษาทุกแห่ง ต้องมีคุณภาพตามระบบมาตรฐาน ด้วยการ พัฒนา และ รับรองคุณภาพสถานการศึกษา เพื่อให้ป้ายรับรองคุณภาพ เหมือน ที่ สถานพยาบาลทุกแห่ง ต้องพัฒนา และ ได้ป้ายรับรอง เป็น สถานพยาบาลคุณภาพ จาก สถาบันรับรองสถานพยาบาล : สรพ. ให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจเมื่อมารับบริการ 

         http://www.ha.or.th/m_06_02.asp
     
         ขอนำความรู้ เรื่อง สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) จากวิกิพิเดียร์ มาให้พวกเรารู้ว่า สถานศึกษาทุกๆแห่งจะต้องมี ป้ายรับรอง เหมือน ร.พ.ทุกแห่งต้องมีป้ายรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพ จึงจะเปิดให้บริการได้  รักนะ ที่
                                   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2

นำมาจากกระทู้  http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4678.0.html

          หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

        

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #38 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 18:02:26 »

เยอะจังคะพี่หมอ.
หมดกาแฟไป 3 ถ้วยยักษ์แร้ะคะ
ยังอ่าน(เอาเรื่อง!)ไม่จบที.
      บันทึกการเข้า


YOTSAWIN
Hero Cmadong Member
***


หอพักรักของข้า...
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU27
คณะ: ศิลปกรรมศาสตร์
กระทู้: 1,159

เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 18:17:13 »

ทานกาแฟมากขนาดนั้นเลยเหรอ
เอานมอุ่นๆสิเพื่อน
      บันทึกการเข้า
YOTSAWIN
Hero Cmadong Member
***


หอพักรักของข้า...
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU27
คณะ: ศิลปกรรมศาสตร์
กระทู้: 1,159

เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 18:18:26 »

เมื่อสักครู่ตามอ่านมาเรื่อยๆ จนตาลาย
ได้อะไรๆมากมาย ขอบคุณพี่หมอสำเริงนะครับ
      บันทึกการเข้า
SC (ก้าน 24)
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 981

« ตอบ #41 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 19:56:01 »

สวัสดีครับ

เรื่องของเรื่องมันอาจจะหยุดอยู่แค่ คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด
ถ้าผู้นำที่บริหารประเทศมาจากนักคิดในเชิงสร้างสรรค์ก็คงจะดี
ไม่ใช่ว่าเป็นนักคิดที่เอาแต่จะชนะคะคาน คิดว่าทำอย่างไรถึงจะได้มามีอำนาจโดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้น
ขนาดยอมทุบบ้านตัวเอง แล้วกลับมาอาสาสร้างบ้านแปงเมือง
ใครเขาจะให้ความเชื่อถือ
ที่ไม่ตอกใส่หน้าเป้งๆก้ด้วยมารยาททางการฑูตเท่านั้น


 บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า

My Website <== คลิกเพื่อชม MV โดยไม่มีโฆษณาคั่น คลิกเล่นแล้ว คลิกขยายให้เต็มจอ อย่าคลิก YouTube
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #42 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2553, 07:10:54 »


ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์ ฯ เผย บุคลากรทางการแพทย์ มีน้อย ไม่เพียงพอกับผู้มาใช้บริการที่มากขึ้นกว่าเดิม แถมหมอ-พยาบาลเสี่ยงถูกฟ้อง จี้ยกเครื่องทั้งระบบ แยก สธ.จาก ก.พ. ...

                

         พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์ และ รพ.ทั่วไป เปิดเผยว่า ปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรอื่นๆในโรงพยาบาลมีน้อย แต่ประชาชนที่ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลมีมากขึ้นกว่าเดิม จนทำให้มีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล เพราะไปรับบริการฟรีเหมือนไปงานบริจาคทาน เนื่องจากประชาชน 47 ล้านคน ไม่มีภาระในการร่วมรับผิดชอบการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเลย ทำให้ ประชาชนไปใช้บริการมากถึงปีละประมาณ 200 ล้านครั้ง ในขณะที่มีแพทย์ทำงานตรวจรักษาผู้ป่วยไม่ถึงหมื่นคน

         เพราะจำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขที่มีประมาณ หมื่นคนนั้น ไปทำหน้าที่บริหาร ตรวจราชการ ในกรมกองต่างๆหมด

         พญ.เชิดชูกล่าวอีกว่า ในการไปใช้บริการแต่ละครั้งประชาชน ต้องเสียเวลารอนาน แพทย์เองก็ต้องรีบเร่งทำงาน พยาบาลต้องดูแลผู้ป่วยคราวละหลายๆคน เกิดความเสี่ยงอันตรายในการรับบริการด้านสุขภาพ สิ่งที่ปรากฏคือ

         คดีฟ้องร้องที่เกิดขึ้นมากมาย ขณะที่ รพ.รัฐ เกือบทุกแห่งประสบปัญหาความขาดแคลน ทั้งนี้ ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาระบบการบริการด้านสุขภาพ สธ.ต้องให้มีเงินเพียงพอที่จะทำนุบำรุงอาคารสถานที่ เทคโนโลยี และเวชภัณฑ์ ควรมีการกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่บุคลากรทุกระดับและสาขาวิชาชีพ

         โดย สธ.ต้องออกจากการควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) เนื่องจากในปัจจุบันเงินเดือนและค่าตอบแทนบุลากรของ สธ.ไม่สามารถกำหนดได้อย่างเหมาะสม ทำให้ต้องไปออกระเบียบค่าตอบแทนบุคลากร อาศัยเงินของโรงพยาบาลมาจ่าย จนเกิดเป็นการพิจารณาอย่างไม่ทั่วถึง ไม่เป็นธรรม และโรงพยาบาลบางแห่งไม่มีเงินจ่าย ส่วนการจัดสรรบุคลากรต้องคำนึงถึงภาระงาน ดูจากสถิติผู้มาใช้บริการ ไม่ใช่ตามระบบ GIS รพ.ทั่วไปควรมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาพื้นฐาน ขณะที่ รพ.ศูนย์การแพทย์ ควรมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาทั่วไปและสาขาต่อยอดเพิ่มขึ้น เช่น แพทย์อายุรกรรมโรคเลือด โรคหัวใจ ศัลยกรรมประสาท เป็นต้น เพื่อผลัดเปลี่ยนอยู่เวรให้บริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

         ที่มาจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ วันพุธ ที่ 3 ม.ค.2553

http://www.thairath.co.th/content/edu/62701

         ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

  ))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))

         "แพทย์ไทยใกล้วิกฤต งานหนัก เงินน้อย"

         ผมในฐานะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ร.พ.อำเภอ และ แพทย์ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน ทำหน้าที่เป็นแพทย์ด่านแรกที่ดูแลประชาชนในพื้นที่นั้น เป็นแพทย์ประจำครอบครัว ขอเสนอว่านอกจาก จี้ยกเครื่องทั้งระบบแยก สธ.จาก ก.พ. ขอเสนอวิธี แ้ก้อีก 4 วิธี คือ

1.ใช้คนให้ตรงกับงาน Put Right Man to The Right Job เพราะ มีการใช้คนไม่ตรงกับงาน เช่น นำแพทย์ที่มีความรู้งานรักษาพยาล ไปทำหน้าที่บริหาร แทนที่จะใช้ผู้ที่จบด้านบริหารมาทำแทน ตามที่ อาจารย์ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ให้ข่าวว่า

เพราะจำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขที่มีประมาณ หมื่นคนนั้น ไปทำหน้าที่บริหาร ตรวจราชการ ในกรมกองต่างๆหมด

                                                        และ

         การนำแพทย์เฉพาะทางที่ควรอยู่ใน ร.พ.ขนาดใหญ่ นำเครืองมือเฉพาะทางราคาแพง ที่ควรใช้ร่วมกันในกลุ่มแพทย์เฉพาะทาง จัดผิดมาอยู่ ร.พ.อำเภอ ซึ่งควรเป็นสถานพยาบาลด่านแรก ไม่ควรมี ควรมีแต่ แพทย์ทั่วไป หรือ ปัจจุบันเรียกเป็น แพทย์ประจำครอบครัว ดูแล 2 สถานพยาบาล คือ ร.พ.อำเภอ และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

2.จัดบริการสาธารณสุข เป็นรูปเครือข่ายช่วยเหลือกัน มี 3 ระดับ

ด่านแรก อยู่ใกล้ชิดประชาชน ให้บริการ 2 ร.พ.คือ

1.ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล และ

2.ร.พ.อำเภอ

ใช้แพทย์ทั่วไป เรียนจบแพทย์ 6 ปี สอบขึ้นทะเบียนกับแพทยสภา มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมดูแลรับผิดชอบทั้ง 2 ร.พ.

ด่านสอง คือ ร.พ.จังหวัด รับส่งต่อ จากด่านแรก เป็นแพทย์เฉพาะทางแผนกต่าง ๆ ที่ควรมารวมกันอยู่ในแผนกเป็นทีมแพทย์ช่วยกันดูแลรักษา

ด่านสาม คือ ร.พ.ศูนย์ หรือ ร.พ.ใน ร.ร.แพทย์ รับส่งต่อจากด่านสอง เป็นแพทย์เฉพาะทางระดับสูงกว่า ด่านสอง รักษาเฉพาะทางพิเศษ ที่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง มารวมรักษาร่วมกัน เพราะ โรคดังกล่าวพบน้อยควรมารวมกันรักษาที่เดียวกัน เพื่อประหยัดแพทย์ และ ประหยัดเครื่องมือ ราคาแพงนั้นๆ

3.ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน

3.1 ด้านข้อมูลผู้ป่วย ออนไลน์ ทางอินเตอร์เนต เพื่อให้ทุกสถานพยาบาลที่เข้ารักษาได้ดูข้อมูลปัจจุบัน เหมือนธนาคาร ออนไลน์ ที่ทำธุรกรรม ได้ทุกแห่ง เมื่อเปิดข้อมูลจะได้ประเมินการรักษา และ ให้การดูแลต่อได้ทันที ไม่ต้องใช้ยาสิ้นเปลือง ถ้าได้ยาแล้วไม่ต้องให้เพิ่ม ใช้รหัสผ่าน และ ลายนิ้วมือผู้ป่วยเป็นรหัส เพื่อรักษาความลับของผู้ป่วยได้

3.2 ด้านการส่งข้อมูลการรักษาเบิกจ่าย สปสช.ตามจริง ส่งข้อมูลให้ตรวจสอบทางอินเตอร์เนต แล้วส่งเงินให้ทางการโอนเงินเข้าบัญชีทางเนต แทนที่จะให้ค่ารักษาเหมาจ่ายรายหัว แล้วประชาชนนั้นต้องมารักษาได้เฉพาะ ร.พ.ที่ได้รับเงินไว้

         ปรับใหม่ให้เป็น ร.พ.ที่ให้การรักษา ส่งข้อมูลเบิกจ่าย ตามที่รักษาจริงให้ กับ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ : สปสช.ตรวจสอบข้อมูล และ จ่ายค่ารักษา ตามราคามาตรฐาน ตาม กลุ่มอาการ หรือ Diagnostic Relating Group : DRG สะดวกทั้งคนไข้ ที่รักษาได้ทุกที่ไม่บังคับรักษาเฉพาะที่ ทำให้แต่ละ ร.พ.ต้องพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อประชาชนประทับใจ และ มารับบริการประจำ


3.3 ด้านมาตรฐานการรักษา สามารถกำหนดให้รักษาตามแนวทางที่แพทย์ทุกคน ใน ร.พ. ที่รวมกัน เป็น องค์กรแพทย์ ร่วมกันพิจารณาจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางเดียวกันเป็น ร.พ.คุณภาพ และ นำมาใส่ไว้ในหน่วยความจำ

          เมื่อจะรักษาโรคนั้น แพทย์จะสามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที เป็นชุดการรักษา ที่ร่วมกันพิจารณา และ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เชน แพ้ยา อายุ น้ำหนักตัว ฯลฯ

3.4 การรักษาทางไกลโดยแพทย์ ประชาชน ไม่ต้องเดินทาง มาตรวจใน ร.พ.ที่แพทย์ทำงานอยู่ ใช้การรักษา Telemedicine  เป็นการประหยัดแพทย์ใช้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คนเดียวทำงานที่ ร.พ.อำเภอ เพื่อดูแลคนไข้ในพื้นที่รับผิดชอบที่ป่วย แต่ไม่ต้องพบแพทย์เฉพาะทาง มานอนรักษาใน ร.พ.อำเภอ และ สามารถไปดูแล ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ทางเทเลเมดดิซิน ไม่ต้องใช้แพทย์ 2 คน เป็นแพทย์คนเดียวกันดูแล

4.การใช้สาธารณสุขมูลฐาน ได้แก่ การทำกิจกรรมสาธารณสุข 4 ข้อ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย และ เมื่อหายป่วย  กลับมามีสุขภาพปกติ  คือ

การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเมื่อเริ่มป่วย และ การฟื้นฟูสุขภาพ

         ตามข้อสรุปจาการประชุมที่ประเทศคานาดา เรียกว่า Ottawa Charter มีตัวชี้วัดความสำเร็จของสาธารณสุขมูลฐาน 4 ตัวชี้วัด  คือ

4.1 การทำให้ประชาชนทุกคนมีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)โดยถ้วนหน้า แก้ วงจรอุบาทว์ ของประเทศกำลังพัฒนา คือ จน โง่ เจ็บ

4.2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดีด้วย ได้แก่ การอาสาสมัครมาช่วยงานสาธารณสุข และ การปฏิบัติตัวตามสุขบัญญัติ 10 ประการของกรมอนามัย เพื่อร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย

         http://www.tungsong.com/Healthlife/Healthlife.htm

การอาสาสมัครเข้ามาช่วยงานสาธารณสุข เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เพื่อทำหน้าที่

"แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี"

แก้ข่าวร้าย เมื่อมีข่าวร้าย เช่น ไข้เลือดออกระบาด ก็เข้าร่วมแก้ ไข้เลือดออกระบาด ด้วยการให้ความรู้ประชาชนเรื่องไข้เลือดออก เกี่ยวกับ การปัองกัน การรักษาโดยเข้าพบแพทย์เมื่อมีอาการ เป็นต้น

กระจายข่าวดี เช่น เมื่อมีหน่วยแพทย์เข้ามาตรวจสุขภาพประชาชนฟรี ก็ร่วมมือ บอกประชาชน และ ร่วมอำนวยความสะดวกในการดำเนินการ เป็นต้น

ชี้บริการ เช่น เมื่อจะไป ร.พ.ควรปฏิบัติตามระเบียบที่่ ร.พ.กำหนด เพื่อความเป็นระเบียบสะดวกต่อการรับบริการ

ประสานงานสาธารณสุข เช่น เมื่อจะมีการหยดวัคซีนโปลิโอ ตามการรณรงค์ปราบโรคโปลิโอ ให้หมดไป ก็ร่วมมือช่วยเหลือ

บำบัดทุกข์ประชาชน เช่น ให้การรักษาเบื้องต้น ยาสามัญประจำบ้าน เยี่ยมดูอาการ ถ้าไม่ดีขึ้น ให้พาเข้าตรวจ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน

ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี เช่น ปฏิบัติตัวตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ของ กรมอนามัย ให้เห็นและ ชักชวนให้ทำตาม เพื่อสุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยบ่อย

4.3 การเข้าถึงบริการสุขภาพได้ถ้วนหน้า โครงการไทยเข้มแข็ง ใช้งบ 5 หมื่นล้าน ยกสถานีอนามัย ที่สร้างไว้ทุกตำบลแล้ว ให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีแพทย์ประจำครอบครัว พร้อมทีมสุขภาพ ของ ร.พ.อำเภอนั้น รับผิดชอบ

4.4 สถานพยาบาลที่ให้บริการเป็นสถานบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการใช้ระบบคุณภาพ มาใช้พัฒนา และ ให้การรับรองคุณภาพ มีองค์กรอิสระทำหน้าที่นี้ คือ

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) http://www.ha.or.th/index2008.asp

         ให้ดำเนินงานสถานพยาบาลตามเอกสาร คุณภาพที่จัดทำขึ้นเองร่วมกับ สรพ.จนให้การรับรองเป็นเอกสารคุณภาพได้ เพื่อไว้ใช้ตรวจสอบ ว่ายังคงคุณภาพตามเอกสารทุกประการ ซึ่งสามารถปรับปรุงเอกสารให้ทันสมัยได้ตลอดเมื่อจะพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น ทำเรื่องเปลี่ยนกับ สรพ.ได้

หมายเหตุ  

         คอมพิวเตอร์ แต่ละสถานพยาบาล (ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต. ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภ รพสอ. ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพจังหวัด รพสจ. และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพศูนย์ รพสศ.)จะทำงาน ร่วมกับระบบอินเตอร์เนต โดยอาศัย เครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างสถานบริการสาธารณสุขไว้เป็นเครือข่าย ด้วยกัน เพื่อให้แพทย์ ล็อคอินเข้าไปในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการไปได้ เมื่อมีคนไข้นั่งรอการรักษาโดยแพทย์อยู่ กับพยาบาลเวชปฏิบัติ พร้อม พยาบาลเวชปฏิบัติ ที่ รพสต.เมื่อแพทย์ ล็อคอินเข้ามา ก็สามารถให้การรักษาได้เสมือน มีแพทย์นั่งอยู่ที่ รพสต.นั้น  

         กาีรจัดระบบเครือข่ายให้มีสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ ด่านแรกใกล้บ้าน ใช้แพทย์ประจำครอบครัว ชื่อเดิม คือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เรียนแพทย์จบ 6 ปีผ่านการเรียนมาทุกแผนกจากคณะแพทย์ศาสตร์ ได้ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต มาแล้ว และ ต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์ที่สามารถ ทำการรักษาพยาบาลได้ จากแพทยสภา แล้ว

         แพทย์ประจำครอบครัวนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อ สามารถทำงานได้ทั้ง 2 สถานที่ คือ ร.พ.อำเภอ และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล คือ สถานีอนามัยเดิม ที่ได้รับงบ ไทยเข้มแข็ง 5 หมื่นล้าน ในแผน 2552-2555 สามารถมาแทนแพทย์เฉพาะทางที่เดิมจัดให้มาอยู่ด่านแรก 4 สาขา สูติฯ ศัลย์ อายุรกรรม และ กุมารเวชกรรม สาขา ละ 1 คน ได้ ทำให้ ร.พ.จังหวัด ร.พ.ศูนย์ ร.พ.เฉพาะทาง ได้ แพทย์เฉพาะทาง เพิ่มขึ้นทันที่ แลกกับแพทย์จบใหม่ สามารถรักษาได้เกือบทุกโรค ได้ไม่น้อยกว่า 90%

         เมื่อเกินความสามารถซึ่งมีอยู่น้อย ไม่ถึง 10% จึงส่งต่อไปพบแพทย์เฉพาะทางที่ มาอยู่แผนกเฉพาะทางที่เรียนมา

         ทำให้แพทย์ ใน ร.พ.อำเภอ ที่เครียดกันทุกคน จาก แพทย์เฉพาะทาง มีคนไข้น้อย ไม่สามารถตั้งแผนก ตรวจเฉพาะสาขาที่เรียนมาได้ ต้องตรวจคนไข้ทุกคนที่มา ร.พ. ทำงานไม่ตรงสาขา

         คนไข้ก็เครียด เมื่้อเกินความสามารถของแพทย์ท่านหนึ่ง แต่จะต้องผ่านการรักษากับ แพทย์เฉพาะทาง 4 สาขา ที่มีใน ร.พ.อำเภอดูก่อน ถ้าไม่สามารถรักษาต่อได้จึีงได้รับการส่งต่อ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ ทำให้เข้าพบทีมแพทย์เฉพาะทาง ช้าจนเกิดความพิการ หรือ เสียชีวิต ฟ้องร้องให้เห็นกันอยู่เนือง ๆ

            รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #43 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2553, 11:01:13 »


                 นักวิชาการเสนอยกเลิกระบบผู้ว่าราชการจังหวัด
    ขอขอบคุณเวบสนุกดอทคอม วันศุกร์ 8 ต.ค. 53 ที่สนับสนุนเนื้อหา  
     http://news.sanook.com/971966-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94.html

                    

ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เสนอแนวทางปฎิรูปประเทศโดยให้ยกเลิกระบบผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ถ่ายโอนข้าราชการ 20 กระทรวงไปทำงานให้ท้องถิ่น

         ในการเสวนาเรื่อง "ปฏิรูประเทศไทย ผักชี" ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้ปฎิรูปประเทศด้วยการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริงโดยถ่ายโอนข้าราชการจาก 20 กระทรวงไปทำงานให้ท้องถิ่น และยกเลิกระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค หรือ ระบบผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะผู้ว่าฯเป็นเพียงตัวแทนของพรรคการเมือง และรัฐบาลส่วนกลางที่เข้ามาทำหน้าที่กำกับให้ประชาชนปฎิบัติตามนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและมีสิทธิตรวจสอบการทำงานขณะเดียวกันการทำงานก็ทับซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

         นักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ ยังบอกอีกว่า ถ้าประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตัวเองพวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเรียกร้องหาความเป็นธรรมในกรุงเทพมหานคร

         นอกจากนี้ในวงเสวนายังเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างภาครัฐกับประชาชนใหม่ เช่น การเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

                        win win win

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

         นอกจากนี้ในวงเสวนายังเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างภาครัฐกับประชาชนใหม่ เช่น การเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

         ที่วงเสวนา เสนอเปิดพื้นที่ให้ประชาชน ได้แสดงความคิดเห็น.......ข้างต้น ผมว่า ต้องยกเลิกการใช้ตัวแทนประชาชน ในการใช้อำนาจอธิปไตย แต่ให้ประชาชน ใช้อำนาจทางตรง เองผ่านทาง ระบบ      เทคโนโลยี่สารสนเทศ ใช้

                                      ประชาธิปไตยทางตรง

                                

                                                รักเธอประเทศไทย
                              http://www.youtube.com/watch?v=L-rB9boDcDQ&feature=related

        ถ้าเปรียบเทียบประเทศไทยเป็น สิ่งมีชีวิต ๆ หนึ่ง จะต้องมีระบบประสาทที่รับความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆ เพื่อส่งมาให้สมองสั่งการตอบสนองต่อความรู้สึกที่ได้รับ

        ระบบสารสนเทศ จะเชื่อมคนทั้งประเทศ ที่เปรียบได้กับเซลล์ ๆ หนึ่งของร่างกาย ซึ่งมีระบบประสาทที่เชื่อมเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย กับไขสันหลัง และ สมอง ซึ่งเปรียบเป็น รัฐบาล ที่รับหน้าที่ เข้ามาสั่งการตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศ

       เมื่อประเทศกำลังมีระบบสารสนเทศ 3.9 G - 4 G แล้วจะเหมือนว่า ร่างกายที่เคยเป็นอัมพาต เซลล์แต่ละเซลล์ไม่สามารถสั่งการบอกระบบประสาทได้เอง ต้องอาศัยเครื่องช่วยสำหรับคนอัมพาต หรือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย ต้องอาศัยตัวแทน (สส.)เข้าไปออกกฏหมาย เข้าไปตั้งรัฐบาล ประชาชนอยากได้อะไรบอกด้วยตนเองไม่ได้ต้องอาศัย สส.บอกให้

       แต่ในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร หรือ สส.เมื่อได้อำนาจไปใช้แล้ว มักกลายเป็นนำไปใช้เพื่อประโยชน์ ตนเอง และ พรรคพวก ทำให้การเมืองกลายเป็น ตัวถ่วงความเจริญของประเทศ

                  

        ดังนั้น ควรถึงยุคประชาธิปไตยทางตรง แก้รัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนใช้สิทธิทางการเมืองเองทางระบบสารสนเทศ มีกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศ รับผิดชอบ ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม มีองค์กรอิสระ ที่ควรได้เงินอุดหนุน เป็นที่รับเรื่องร้องเรียน หรือ ตรวจสอบรัฐบาล ซึ่ง มีรัฐบาล หลายๆ ทีม ซึ่งแต่ละทีม จะจัดทีมรัฐมนตรีขึ้นเพื่อเสนอตัวให้ประชาชนเลือก

        ไม่ใช่รัฐบาลผสมจากหลายๆ พรรคมาร่วมเป็นรัฐบาล ที่ทำให้เป็นตัวถ่วงในการบริหารประเทศ เนื่องจากไม่เป็นเอกเทศในการบริหาร เหมือนที่เป็นอยู่

        สภาผู้แทนราษฏร ซึ่งเมื่อยกเลิกตัวแทนแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นสภาการเมืองแห่งชาติ

        ใช้ทำกิจกรรมทางการเมือง ระหว่างรัฐบาล และ องค์กรอิสระ ที่จะเข้าฟังและร่วมอภิปราย มีประชาชนฟังทั้งประเทศ และ โหวตเสียงเองทางเทคโนโลยี่สารสนเทศ

            ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

        ควรยกเลิกประชาธิปไตยที่ใช้ตัวแทน ที่มาใช้ อำนาจแทนประชาชน เป็นประชาชนใช้อำนาจทางตรงเอง ทางระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศ จะทำให้ประเทศหลุดจากวงจรแย่งชิงอำนาจเพื่อพรรค กลายมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ

         ที่มีหลักการของระบอบ ที่ว่า ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบ

การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน        

                

        เป็นการคิดนอกกรอบ เปรียบเป็นความรู้ เป็นด้านที่ 1 ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เสนอเป็นวิธีแก้ปัญหายาก ๆ เหมือนเขยื้อนภูเขา ที่ต้องรอพวกเราเข้ามารับความรู้

        เพื่อรวมกันเป็นด้านที่ 2 ตามความรู้ ที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เสนอขึ้นข้างต้น  แล้วมาร่วมกันผลักดันให้เกิด

        ด้านที่ 3 ด้านกฏหมาย แก้รัฐธรรมนูญ ให้การใช้สิทธิของประชาชน เป็นทางตรง แทน ผ่านตัวแทน สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สส.ที่เป็นปัญหาวิกฤตทางการเมือง แย่งชิงอำนาจกันเพื่อส่วนตน และ พรรค ลืมหน้าที่ ที่ต้องทำเพื่อประชาชน

       การคิดนอกกรอบ คือ การคิดริเริ่มสิ่งใหม่ที่สร้างสรรค์
เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นคิดใหม่ไม่เหมือนเดิม คิดแตกต่างจากเดิม

เป้าหมายการคิดนอกกรอบ คือการแก้ปัญหาด้านต่างๆของคนและองค์กร

       เทคนิคการคิดนอกกรอบ

1.Subtract (ลด)

2.Sum (เพิ่ม)

3.Start (เริ่ม)

4.Stop (หยุด)

        

                  คิดและทำนอกกรอบ

-ไม่เปลี่ยนเป้าหมายที่ท้าทายแต่เปลี่ยนวิธีการ
-ถ้าทำแบบเดิมแล้วไม่บรรลุเป้าหมาย ให้ทำแตกต่างจากเดิม
-เรียนรู้ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง และเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น

         การคิด นอกกรอบ ขออย่า เพียงแต่คิด แต่ไม่ลงมือทำ

         ประชาิธิปไตย เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน
การใช้ระบบตัวแทนประชาชน ที่ระบบทุนนิยมสามานย์สามารถซื้อตัวแทน ซื้อทุกอย่าง
ที่ขวางหน้าเพื่อตนเอง และ พรรคพวกได้ ที่มีให้เห็นเป็นปัญหาการเมืองที่ถ่วงความเจริญ
ของประเทศไทย ที่มีประชาธิปไตย มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2475

         ในสมัยเริ่มแรกประชาธิปไตย ต้องใช้ตัวแทน สส.เพราะ ยังไม่มีเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์
แต่ปัจจุบันเป็นยุคคอมพิวเตอร์ 3 ถึง 4 G แล้วสามารถเชื่อมโยงกัน สะดวกรวดเร็ว จึงควรถึง

         ยุคประชาธิปไตย ทางตรง ไม่ต้องอาศัย
       สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สส.อีกต่อไป


         มีรัฐบาลอิสระ ที่เสนอตัวเข้ามาให้ประชาชนเลือก ใน

                            สภาผู้แทนราษฏร
                        ที่เปลี่ยนเป็น
                  สภาการเมืองแห่งชาติ


         ประชาชน อาศัย องค์กรอิสระ เช่น สมาคมนักข่าวสื่อสารมวลชน สมาคมอื่น ๆ ทำหน้าที่
ตรวจสอบการทำงานของอำนาจอธิปไตย ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม มีประสิทธิภาพทำเพื่อส่วนรวมแทน

         ร่วมกับ การปรับปรุงการปกครองของประเทศจาก การปกครอง
ส่วนภูมิภาค ที่มีส่วนกลาง มาปกครอง เป็น การปกครองส่วนท้องถิ่น


         การปกครองส่วนท้องถิ่น มี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาลมีนายกเทศมนตรี
ที่เสนอตัวมาให้ประชาชนเลือก ทางตรง หลาย ๆ ทีม ให้ประชาชนเลือก เป็นทีม เพื่อทำงานเป็น
เอกภาพ มีองค์กรในชุมชน รวมทั้งประชาชนร่วมตรวจสอบ การทำงาน จะได้เป็น

         ประชาธิปไตยเต็มใบ หลุดออกจากการปกครองส่วนภูมิภาค มาเป็น การปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นไปตามที่ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มุ่งหวัง และ เสนอขึ้นข้างต้น

         จะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สำหรับวิกฤติประชาธิปไตยและสังคม
                            กระทู้ประชาธิปไตยทางตรง ที่                                  http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6139.0.html


                                   gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #44 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2553, 11:44:42 »


               ขอขอบคุณเวบแนวหน้า วิจารณ์โลกวันอาทิตย์ ที่ 10 ตุลาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
                          http://www.naewna.com/news.asp?ID=231532

                             ฤาโนเบลสันติภาพจะทำพิษ
                          เมื่อจีนเหมือนถูกตบหน้าอย่างแรง


                      

          เป็นไปตามความคาดหมายของบรรดาผู้สันทัดกรณีทั้งหลาย เมื่อ หลิว เสี่ยวโป นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ผู้ต่อต้านรัฐบาลจีน ซึ่งกำลังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ได้รับ รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพประจำปี 2553 สำหรับการต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างสงบไม่ใช้ความรุนแรง ตลอดเวลาอันยาวนานในประเทศจีน ตลอดจนเรียกร้องการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยในประเทศหลังม่านไม่ไผ่ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์อันแข็งแกร่งกุมอำนาจแต่เพียงพรรคเดียว

          และก็เป็นไปตามความคาดหมายอีกเช่นกัน ที่ทางการจีนจะออกมาแสดงความโกรธเกรี้ยวไม่พอใจอย่างยิ่ง จนถึงกับขู่ว่าอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับนอร์เวย์ หลังจากที่จีนเคยออกมาเตือนก่อนหน้านี้แล้วว่า คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสันติภาพ ไม่ควรมอบรางวัลดังกล่าว ให้กับนายหลิว ซึ่งเป็นเหมือนอาชญากร และศัตรูทางการเมืองตัวฉกาจของจีน

                              gek gek gek

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

          ระบอบการปกครอง ของแต่ละประเทศ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันยุค ใครเปลี่ยนก่อนย่อมได้เปรียบ

         ในยุคเทคโนโลยี่สารสนเทศ ที่ทำให้เชื่อมโยงคนทั้งประเทศไว้ด้วยกันได้แล้ว
ควรถึง ยุคประชาธิปไตยทางตรง ที่ประชาชนใช้สิทธิเอง สามารถติดตามข่าวสารการเมือง
ทาง สารสนเทศที่หลากหลาย และ เลือกทางเลือกเองไม่ต้องอาศัยตัวแทน ที่ช้าจากจะต้องรอ
ตกลงผลประโยชน์ของแต่ละพรรค ให้ได้ลงตัวก่อน  จึงจะตัดสินใจได้ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ของโลกที่รวดเร็ว ทำให้ระบบการเมืองผ่านพรรคการเมือง เป็นตัวถ่วงการพัฒนาประเทศ
 

         ทำให้ประเทศที่ควรจะได้เป็นผู้นำ กลับกลายเป็น ช้ากว่ากลุ่มอาเซียนให้เห็นอยู่

         ซีมะโด่ง คนไหน หรือ ใครหนอ จะได้รับเกียรติ เป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลงเพื่อ ให้
สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาครบ3ด้าน หรือ จะเป็น..พี่โด่ง(พรชัย16)  win นำทีมให้เกิด
                            
ประชาธิปไตยทางตรง มาใช้ในประเทศไทย เป็นคนแรก

           http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6139.0.html

                                   gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><