khesorn mueller
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 07 กันยายน 2552, 21:06:06 » |
|
พี่ๆทั้งในเวบ และนอกเวบ ล้วน get informedกันดีจริงๆคะ เฮ้อ,อยากเก่งเหมือนพี่ๆ
|
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 07 กันยายน 2552, 22:19:23 » |
|
แก้กันได้เรื่อยๆ.. ไม่เบื่อ.. เหมือนแก้รัฐธรรมนูญแหง อ้าว,พี่คนไหนจะเห็นเป็นไง...ว่ามา! หนูจาจิบกาแฟ...รอ
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 07:35:57 » |
|
โ๋ครงการ ต้นกล้าอาชีพ สามารถฝึกอบรมผู้ว่างงานได้กว่า 300,000 คน มากกว่า
เป้าหมายที่กำหนดไว้ 240,000 คน จากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 530,000 คน
โดยใช้งบประมาณกว่า 5,000 ล้าน.
นายกนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ
โครงการต้นกล้าอาชีพ เปิดเผยว่า นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี
ได้เรียกประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการต้นกล้าอาชีพ ในวันที่ 10 ก.ย. นี้
เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในระยะแรกในช่วง 6 เดือน และ
กำหนดแนวทางการทำงานในระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2553 ให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์ต่อไป ล่าสุดผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ
โดยสามารถฝึกอบรมผู้ว่างงานได้กว่า 300,000 คน มากกว่าเป้าหมาย
ที่กำหนดไว้ 240,000 คน จากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 530,000 คน
โดยใช้งบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท
ยืนยันว่าโครงการต้นกล้าอาชีพได้ทำให้
ผู้ว่างงานมีงานทำและเป็นเจ้าของกิจการทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ราย
และทำให้แรงงานมีงานทำไม่ต่ำกว่า 140,000-150,000 คน
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการต้นกล้าอาชีพประสบผลสำเร็จเพราะ
ทำให้การว่างงานลดลง ได้สร้างประโยชน์ในเชิงสังคม จนนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน
และจากการสำรวจความต้องการของผู้ว่างงาน
ส่วนใหญ่ยังต้องการให้มีโครงการต้นกล้าฯ อยู่ต่อไป
แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้น จากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ส่งผลให้แนวโน้มคนว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 500,000 คน จากที่คาดการณ์ไว้ 1 ล้านคน เพราะ
ผู้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพยังต้องการเพิ่มขีดความสามารถของตนเอง เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ
ในงบประมาณปี 53 รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบให้โครงการต้นกล้าฯ 7,000 ล้านบาท
วางเป้าหมายฝึกอบรมแรงงาน 260,000 คน ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรขึ้นอยู่กับ
คณะกรรมการบริหารโครงการ เพราะปัญหาของโครงการ
มีเพียงเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าเท่านั้น
นำมาจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/eco/32063
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 12:25:18 » |
|
น.ส.พ.เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน 2552 เวลา 0:00 น กระทรวงวิทยาศาสตร์จับมือ อบจ. โคราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ทำต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน
ใช้วัสดุเหลือทิ้งเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ.)
ในโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีเฉลิมพระเกียรติ
“ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน”
เพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนในระดับชุมชน
ส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และ
ปลูกไม้โตเร็วให้เป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้า
เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตรในหมู่บ้าน
โดยจะสนับสนุนให้พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน
เน้นให้ชุมชนเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างยั่งยืน
รวมถึงส่งเสริมให้การพัฒนาเครื่องมือเครื่องจักรด้านพลังงานทดแทน เช่น
เครื่องจักรผลิตพลังงานจากชีวมวล การผลิตไฟฟ้าด้วยระบบแก๊สซิฟิเคชั่น
ระบบแก๊สซิฟิเคชั่น ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราช สีมา จะสนับสนุนงบประมาณเพื่อ
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ เพื่อทำเป็นต้นแบบ และ
เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนของจังหวัด
ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะเป็นผู้ศึกษาข้อมูลทั่วไป รวมถึง
ก่อสร้างและเดินระบบโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์.
นำมาจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=19289
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 11 กันยายน 2552, 08:59:10 » |
|
สั่งอุ้มราคาพืชผลก่อนปีใหม่
รัฐบาลดันประกันราคาพืชผลรับมือเขตการค้าเสรีอาเซียน
ป้องกันข้าว มัน ข้าวโพด เพื่อนบ้าน 0% ทะลักทุบราคาภายใน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยต่อผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ
รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสส. ลงพื้นที่
ไปเร่งรัดผลักดันโครงการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล
ให้ทันการเปิดเขตการค้าเสรีสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียน
ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2553 นี้
เพื่อป้องกันสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่ตรวจสอบยาก
ซึ่งจะทะลักเข้ามาบิดเบือนราคาตลาดภายใน และ
หากยังใช้ระบบเดิม คือ การรับจำนำ จะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาล
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายประกันรายได้ให้กับเกษตรกร
แต่กระบวนการที่สำคัญที่สุด คือ
การขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการเพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลคำนวณผลผลิต
และการจัดสรรพื้นที่การผลิต ที่นำไปสู่การกำหนดมาตรการบริหารจัดการกำหนดราคา
และการระบายสินค้าออกสู่ตลาด
ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะเป็นฐานข้อมูลในการสนับสนุนการผลักดันไทยเป็น
ศูนย์กลางการผลิตอาหารโลก หรือพืชพลังงานทดแทน เป็นต้น
“เมื่อรัฐบาลมีข้อมูลผลผลิตรายจังหวัด จะสามารถนำไปกำหนดมาตรการแทรกแซง
และการกำหนดราคา โดยจะเป็นการเปรียบเทียบกับราคาอ้างอิง
หรือการปล่อยสินค้าเกษตรที่อยู่ในมือรัฐบาล
เพื่อให้ราคาในตลาดเกิดความเคลื่อนไหว เป็นต้น” นายกฯ กล่าว
“นโยบายนี้ทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์ 3.7 ล้านครัวเรือนที่ปลูกข้าว
และ อีก 4 แสนครัวเรือนที่ปลูกมันสำปะหลัง และ อีก 3.7 แสนครัวเรือนที่ปลูกข้าวโพด
รวมทั้งหมด 4.47 ล้านครัวเรือน
ในขณะที่นโยบายรับจำนำแบบเดิมมีเพียงเกษตรกร 8.8 แสนครัวเรือนเท่านั้น
ที่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า
ธ.ก.ส ได้จัดเตรียมวงเงินจากงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง
สำหรับจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาของพืชผลทางการเกษตร
ทั้ง 3 ประเภท ไว้ประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท
Post Today
http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=18310&ch=227
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 07:39:58 » |
|
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ : UNDP
มองเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ
ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ได้ในขอบเขตที่กว้างขวาง
ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง และ
โฆษกกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายข้าราชการประจำ กล่าววันนี้ (18 ก.ย.) ว่า
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP)
ได้ถวายพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องแนวพระราชดำริ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยที่ UNDP มองว่า
เป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนา ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาและ
สถานการณ์ต่างๆ ได้ในขอบเขตที่กว้างขวาง
ม.ล. ปนัดดา กล่าวว่า ความชื่นชมของประชาคมโลกมองว่า ตั้งแต่ที่
พระองค์ท่านเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัตินับเป็นเวลา 63 ปี ล่วงมาแล้ว
ซึ่งนับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงให้
ผู้คนพลเมืองได้ประจักษ์ว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่
ไม่เหมือนพระมหากษัตริย์อื่นๆ อาทิ ทรงปลูกข้าว เพาะพันธุ์ปลา และ
เลี้ยงวัวในบริเวณพระราชวัง โปรดการเสด็จฯ บุกน้ำลุยโคลนเพื่อสำรวจ
พื้นที่การก่อสร้างโครงการชลประทาน ทรงเป็นผู้นำในการคิดค้นเทคนิค
ในการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กังหันลมและ การทำฝนเทียม กับอีก
ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน และ
บำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรในทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศ
“หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถชี้ให้แลเห็นแนวทางการดำรงอยู่และ
การปฏิบัติตนของประชาชนในทุกๆ ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน
จนถึงระดับรัฐ กล่าวคือ
การพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะ
การพัฒนาเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์
ที่สำคัญที่สุดตามที่ UNDP ตั้งข้อศึกษาไว้ก็คือ
การปลูกฝังจิตสำนึกพอเพียง จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและ
ความคิดของคน เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาสังคม โดยคนทุกๆ คนต้องมุ่งมั่นหาวิชา
ความรู้ มีคุณธรรม และ ความซื่อสัตย์ และดำเนินชีวิตด้วยความนอบน้อม พากเพียร
มีสติปัญญา และ ความรอบคอบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่โดดเด่นของผู้นำ
ที่ไม่เหมือนใครในโลก และทรงเป็นแรงบันดาลใจในแบบที่
ประชาคมโลกปัจจุบันต้องเรียนรู้ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าว
จาก น.ส.พ.ไทยรัฐ วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2552
http://www.thairath.co.th/content/edu/33975
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2552, 07:34:39 » |
|
นายมีชัย วีระไวทยะ
ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน
เปิดเผยว่า วันที่ 10 ม.ค.53 จะเปิดทำ
ประชาคมโครงการชุมชนพอเพียงพร้อมกันทั่วประเทศกว่า 80,000 ชุมชน
เพื่อให้ ชาวบ้าน และนักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น
แต่ช่วงนี้จะให้ความรู้กับเด็กในระดับมัธยมศึกษามากขึ้น ส่วนโครงการเดิม
ที่เคยเสนอขอมา แต่ยังไม่ได้อนุมัติงบประมาณให้นั้น จะระงับไว้ก่อน แล้วเริ่มต้นใหม่
โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์เสนอของบประมาณ
ไปใช้สำหรับทำโครงการชุมชนพอเพียงได้ด้วย
สำหรับโครงการที่จะเสนอขอใช้งบชุมชนพอเพียงนั้น จะต้องคิดใหม่ทำใหม่
เน้นช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส คนจน เด็ก สตรี และคนพิการ
โดยต้องเข้ากับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มรายได้ เพิ่มโอกาสในอนาคต
ให้มีชีวิตดีขึ้นอย่างยั่งยืน ไม่ใช่คิดแต่ซื้อเครื่องจักร
ซึ่งไม่ช่วยให้คนด้อยโอกาสได้ประโยชน์เลย เช่น
โครงการเกษตรอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ให้นักเรียนรู้จักปลูกผัก
เลี้ยงสัตว์มาทำอาหาร หรือการฝึกอบรมทำอาชีพต่างๆ เป็นต้น
สำหรับงบประมาณโครงการชุมชนพอเพียงในปี 53 มีวงเงิน 18,000 ล้านบาท
"ที่ผ่านมา ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับทราบโครงการชุมชนพอเพียงน้อยมาก
ทำให้คนอื่นสวมรอยทำโครงการจัดซื้อจัดจ้างโดยที่ชาวบ้านไม่ทราบ เช่น
โครงการจัดซื้อตู้น้ำดื่มพลังงานงานแสงอาทิตย์ หากเสนอขอมาอีก
จะไม่อนุมัติงบให้แล้ว เพราะคนจนมีน้ำดื่มอยู่แล้ว
ต่อไปต้องปลุกระดมให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมมากขึ้น
"ถ้าส่องแสงให้กรงไก่สว่าง หมาป่าคงไม่กล้าเข้ามา".
นำมาจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ วันอังคารที่ 10 พ.ย.2552
http://www.thairath.co.th/content/eco/45692
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2552, 06:50:06 » |
|
ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร
ชี้มาตรการคลัง-ปชต.ถูกทิศแก้ปัญหาสังคมไทยได้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน 2552
ย้ำมั่งคั่งกระจุกตัว,ระบบรวมศูนย์-คณาธิปไตย คือ
เหตุเลื่อมล้ำขัดแย้ง ชี้สร้างมิติการคลัง,ปชต.ที่ถูกทิศทาง สร้างสังคมแฟร์ได้
ระบุตัวชี้วัดความมั่งคั่งปี 49 กลุ่มรวยสุด20% มีทรัพย์สินรวม 69%ของทั้งประเทศ
จนสุด20% ทรัพย์รวมกันแค่1%
สถิติธปท. มิ.ย.52 ร้อยละ42 เงินฝาก7หมื่นบัญชีๆ ละกว่า10ล้านบาท
ถ้ามีคนละ 2บัญชีจะเท่ากับ42%ของประเทศ หรือ แค่ 35,000คน
ตัวชี้วัดถือหุ้นปี2538-2542 ครอบครัวถือหุ้นสูงสุด 11ตระกูล เช่น
มาลีนนท์ ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์
ดัชนี้ที่ดินถือครองมากสุด 50อันดับ เฉลี่ย10% ของแต่ละจังหวัด
ไม่มีที่ดินเลย20% มีน้อยกว่า10 ไร่42%ของประชากร
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก
นางผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปาฐกถาเรื่อง
“สู่สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์(Fair)”
โดยกล่าวถึงการที่คนในสังคมต้องปรึกษาหารือเพื่อหาความเห็นพ้องต้องกัน
เป็นเรื่องที่สำคัญมาก สังคมที่ยอมรับกันว่าแฟร์
ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด แต่ต้องเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาส
ความมั่นคงในชีวิต การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ
ลูกหลานจะมีอนาคตที่แจ่มใสพอๆ กัน
ปัจจัยสำคัญที่ต้องมี คือ ระบบรัฐบาลตอบสนองข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ
ได้อย่างสมดุล กลไกสำคัญที่เป็นเครื่องมือ คือ
นโยบายการคลัง การเก็บภาษีและจัดสรรเงินภาษีเพื่อทำนุบำรุงเศรษฐกิจ และ
ประชาธิปไตย หากรัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าดังกล่าวได้
สังคมนั้นๆ ก็จะไปสู่ ความไม่เท่าเทียมกัน ที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น จนกลายเป็น
สังคมที่มีความขัดแย้งระหว่าง ความมั่งมีมหาศาลและคนชั้นกลางฝ่ายหนึ่ง กับ
คนจนส่วนใหญ่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่รอวันปะทุ
ซึ่งขณะนี้ปัญหาทางการเมืองไทยก็มีต้นตอจากความเหลื่อมล้ำนั่นเอง
นางผาสุก กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจสูง
หากดูตัวชี้วัดเรื่องความมั่งคั่ง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)
แสดงข้อมูลปี 2549 เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัวไทยกลุ่มต่างๆ พบว่า
ครอบครัวกลุ่มรวยที่สุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกันคิดเป็นร้อยละ 69 ของทั้งประเทศ
ขณะที่ครอบครัวจนสุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกัน แค่ร้อยละ 1
แสดงถึงความมั่งคั่งกระจุกตัว
ถ้าดูจากเงินออมในธนาคาร สถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเดือนมิถุนายน 52 พบว่า
ร้อยละ 42 ของเงินฝากมาจากประมาณ 7 หมื่นบัญชีมีเงินมากกว่า 10 ล้านบาทต่อบัญชี
คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของจำนวนบัญชีทั้งหมดในประเทศ
ซึ่งปกติคนๆ หนึ่งมีบัญชีมากกว่า 1 บัญชี
สมมติว่าโดยเฉลี่ยมีคนละ 2 บัญชี ก็เท่ากับ ร้อยละ 42 ของประเทศ
มีคนเพียง 35,000 คน เป็นเจ้าของ แสดงถึงนัยการกระจุกตัวของรายได้ที่สูงมาก
ขณะที่ตัวชี้วัดเรื่องการถือหุ้น การสำรวจในปี 2538-2542
กลุ่มครอบครัวที่ถือหุ้นสูงสุดของประเทศ 11 ตระกูล
ผลัดกันเป็นเจ้าของหุ้นมีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก เช่น
มาลีนนท์ ชินวัตร ดำรงชัยธรรม จิราธิวัฒน์ เป็นต้น
ส่วนดัชนี้เรื่องที่ดิน ข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า
การถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก มีที่ดินโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10
ของที่ดินในแต่ละจังหวัด หรือ
กลุ่มที่ไม่มีที่ดินเลย มีประมาณร้อยละ 20 หากรวมกลุ่มที่มีที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่
ก็จะสูงถึงร้อยละ 42
จากสถิติทั้งหมด แสดงถึงความมังคั่งในสังคมสูงอยู่ในมือคนจำนวนน้อยมาก
คงจะไม่ถึงร้อยละ 10 ของประเทศ และ คนกลุ่มเหล่านี้ ลูกหลานก็มักจะมาแต่งงานกัน
หรือหากจะดูรายได้ครัวเรือนเป็นรายภาค พ.ศ.2550 กทม.อยู่ที่ 187.6
ขณะที่ภาคอีสาน 69.6
ส่วนเหตุสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงนั้น
เนื่องมาจากระบบราชการรวมศูนย์ การเมืองคณาธิปไตย ทหารพาณิชย์
ประชาธิปไตยแต่ในนาม กองทัพทำรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ
นับว่าเป็นการขัดขวางสู่ความเป็นประชาธิปไตยในทางหนึ่ง
จากการศึกษา ความเหลื่อมล้ำในช่วงแรก
พบการออมกระจุกตัวในคนกลุ่มน้อยที่สามารถลงทุนหารายได้ ได้มากกว่าคนอื่นๆ
แม้ต่อมาจะมีพ.ร.บ.ประกันสังคม ก็มีผลเพียงร้อยละ 14 ของคนทั้งประเทศ
คนจำนวนน้อยสามารถกุมอำนาจไว้ได้
แต่ในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว มักไม่ประสบปัญหาดังกล่าวมาก
เนื่องจากมีการใช้ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าและ เงินโอน
รวมถึงมีสหภาพแรงงานต่อรองกับนายจ้าง โดยเฉพาะญี่ปุ่น
จะมีปัญหาการเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยมาก
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นปฏิรูปการเมืองยอมให้พรรคการเมือง และ
กลุ่มผลประโยชน์หลากหลายสีสรรพ์มีส่วนร่วมในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย
การปฏิรูปที่ดิน การล้มเลิกชนชั้นอภิสิทธิ์ และ มีการสนับสนุนให้สหภาพแรงงาน
มีการต่อรองกับนายจ้าง มีการนำภาษีมรดกมาใช้
นางผาสุก กล่าวต่อว่า ขณะที่ปัญหาระบบภาษีของไทย มีลักษณะพึ่งภาษีทางอ้อมมาก
ภาษีทางตรงมีคนเสียน้อย ไม่ให้ความสำคัญกับความเหลื่อมล้ำ และ
ระบบภาษีเป็นภาระกับคนจนมากกว่าคนรวย
ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องมีระบบภาษียอมรับกันว่าแฟร์ คือ ไม่ได้หมายความว่า
ต้องเก็บภาษีจากคนรวยเพื่อเอาไปให้คนจนสถานเดียว
แต่คนรวยกว่าน่าจะจ่ายได้มากกว่า คือ จ่ายตามฐานะ
"ระบบภาษีที่ดี จะต้องไม่ส่งผลเสียต่อแรงจูงใจอย่างมากมาย จนทำให้มีการขนถ่าย
เงินทุน หรือย้ายไปอยู่ในประเทศอื่นที่เก็บภาษีต่ำกว่า
หลักการน่าจะเป็นว่า ทุกคนต้องเสียภาษี อาจจะจ่ายตามฐานะ
นอกจากนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากจากการใช้จ่ายภาครัฐ ก็น่าจะยอมจ่ายภาษี
เป็นสัดส่วนต่อรายได้สูงกว่าคนที่ได้รับประโยชน์น้อยกว่า
นอกจากนี้ ระบบภาษีควรจะรวมถึงมาตรการที่บังคับให้ผู้ที่มีความมั่งคั่งล้นเกิน
ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยสร้างผลผลิตและจ้างงาน
ไม่ใช่เก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไรหรือเป็นเสือนอนกิน
ทั้งนี้ มาตรการการคลังต้องพิจารณาทั้งระบบภาษีในทางตรงและทางอ้อม และ
การใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งภาระภาษีของไทยมีความไม่แฟร์เกิดขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับต่างชาติ ซึ่ง
ถ้าอัตราภาษีทางอ้อมสูง เท่ากับว่าภาษีเป็นภาระต่อคนจนมากกว่าคนรวย
ของไทยลี่ยนที่ร้อยละ 60 แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเฉลี่ยที่ร้อยละ 50"
นางผาสุก กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาษีทางตรงแม้ไทยจะมีอัตราภาษีก้าวหน้า
ในปัจจุบันคือร้อยละ 37 แต่มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงร้อยละ 4
เพราะรัฐบาลมีการลดหย่อยภาษีมาโดยตลอด ซึ่งต้องมีการทบทวนนโยบายดังกล่าว
อีกทั้งมีการหลีกเลี่ยงภาษีกันมาก กระทรวงการคลังต้องมีการปฏิรูประบบภาษี
ทั้งนี้ ภาษีทางตรงอื่นๆ ที่ต่างประเทศใช้เพื่อเป็นมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ
แต่ของไทยยังไม่มีหรือยังไม่พัฒนาคือ
ภาษีทรัพย์สิน ภีมรดก ภาษีเก็บจากรายได้การขายหุ้น ภาษีรายได้จากดอกเบี้ย
ทำให้ภาพรวมระบบภาษีของไทยพึ่งภาษีทางอ้อมมากกว่าทางตรง
จึงส่งผลให้เรามีระบบภาษีไร้ประสิทธิภาพ เป็นภาระแก่คนจน
ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วที่จะได้รับเงินจากภาษีทางตรงเป็นหลัก
นางผาสุก กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐ
ปัจจัยหลักที่ดำนหนดการแบ่งสรร คือ อำนาจ ซึ่งก็มีการปรับตัวตามกาลสมัย และ
ระบอบการปกครองและสถานการณ์
แต่รายจ่ายภาครัฐของไทย คิดเป็นสัดส่วนของจีดีพีแล้ว
ยังต่ำมากคือเพียง ร้อยละ 18 ต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่ร้อยละ 36 และ
รายจ่ายยังเน้นไปที่เงินเดือนข้าราชการ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
งานศึกษาพบว่า การใช้จ่ายของรัฐบาล สามารถทำให้การกระจายรายได้
มีความเท่าเทียมกันเพิ่มขึ้นได้ โดยพบว่า
การใช้จ่ายเพื่อการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด ตามมาด้วยเพื่อการรักษาพยาบาล และ
การใช้จ่ายเพื่อภาคเกษตร ยังมีงานวิจัยอีกว่า การใช้จ่ายของภาครัฐมีปัญหา คือ
การให้เงินอุดหนุนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าประปา ค่าไฟ ค่าขนส่งแบบที่เป็นอยู่
แต่ให้หันไปอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา และสุขภาพ
ซึ่งที่รัฐบาลปัจจุบันทำ นับว่าเดินมาถูกทางแม้จะยังไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ ที่รัฐบาลควรทำคือ ต้องมีโครงการและบริการสาธารณะ
ที่ประชาชนทุกคนจะได้ประโยชน์พอๆ กันให้มากกว่านี้ และ
ควรจะเป็นสินค้าและบริการซึ่งจะส่งผลลดความเหลื่อมล้ำ
โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพและการศึกษา เพื่อการนี้รัฐบาลจะต้องหารายได้ภาษีเพิ่มขึ้น
จึงต้องเต้าเป้าที่จะเก็บภาษีคิดเป็นสัดส่วนของจีดีพี เพิ่มขึ้นในอนาคต
ให้ได้มากกว่าร้อยละ 17 หมายรวมถึงการเพิ่มจำนวนคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้
ปรับปรุงภาษีรายได้จากดอกเบี้ยที่ยังต่ำ
การปฏิรุประบบภาษีและการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพ โดยให้การลดความเหลื่อมล้ำ
เป็นเป้าหมาย และต้องหลีกเลี่ยงระบบภีที่จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำ คือ
การหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาษีทางอ้อม แต่หันไปเพิ่มชนิดของภาษีทางตรงใหม่ๆ
ไทย มีการศึกษาว่า หากไทยสามารถเพิ่มรายได้จากภาษีทางตรงเพียงร้อยละ 10
จะทำให้อัตรคนยากจนลดลงร้อยละ 3
นอกจากนี้ ต้องคิดถึงภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน รวมถึง
การพยายามเลิกเงินอุดหนุนประเภทต่างๆที่ให้ประโยชน์กับคนรวยมากกว่าคนจน
นายผาสุก กล่าวต่อว่า ในส่วนระบบการเมือง ที่ต้องดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ
หรือ political will แต่ที่ผ่านมายังไม่เกิดแต่มันมีโอกาสเกิดได้มากสุดในระบอบ
ประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและรับรองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง
อย่างไรก็ดี ก็มักจะมีความพยายามโต้แย้ง เช่น
ระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะคนไทยมีการศึกษาต่ำ
เพื่อเป็นข้ออ้างให้ยอมรับ ความเหลื่อมล้ำแบบเดิมๆ และการปกครองแบบคณาธิปไตย
บางครั้งก็อ้างว่า ประชิปไตย คือ ม็อบเป็นใหญ่ แต่ก็มีทางแก้คือ
ต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญป้องกันไม่ให้เสียงข้างมากเป็นภัยกับเสียงส่วนน้อย และ
คุ้มครองเสียงส่วนน้อยอย่างพอเพียง
นอกจากนี้ ยังมีข้ออ้างอีกว่า ประชิปไตยเปิดช่องให้นักการเมืองซื้อเสียง
ซึ่งประชาธิปไตยทำให้นักการเมืองคอรัปชั่นเป็นไปโดยง่าย แต่ก็แก้ได้โดย
ให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งประชาธิปไตย สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง
โดยเสียต้นทุนน้อยที่สุด สามารถควบคุมกับการคอรัปชั่นของการเมืองได้ โดย
การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพสื่อ การพัฒนาระบบตรวจสอบ
การพัฒนากรอบกฎหมายแต่ก็ต้องยอมรับว่า
ประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างได้ชั่วข้ามคืน
ดังนั้น จึงต้องทำไปเรียนไป ลองผิดลองถูก ซึ่งความต่อเนื่องของระบบมีความสำคัญ
"ฉะนั้นต้องช่วยกันป้องกันการรัฐประหารอย่างเต็มกำลัง
สรุปแล้ว มิติมาตรการการคลังและประชาธิปไตย ที่ถูกทิศถูกทาง
จะทำให้เกิดสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าแฟร์ มีระบอบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ
ที่ประกันสิทธิเสรีภาพและกำหนดกฎเกณฑ์เกมการเมือง ก็จะนำไปสู่การบรรลุเป้าคือ
สังคมที่สันติสุข" ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
นำมาจาก
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20091106/85190/%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%95.%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.html
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 08 มกราคม 2553, 07:12:56 » |
|
นิตยสาร เดอะ แบงค์เกอร์ ของอังกฤษ ที่อยู่ในเครือของ ไฟแนนเชี่ยล ไทม์ส ได้ยกย่องให้ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย เป็นรัฐมนตรีคลังโลก และเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2010
อันเนื่องมาผลงานอันโดดเด่นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ทั้งความกล้าในการตัดสินใจ และใช้นโยบายที่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างได้ผลและทำให้เศรษฐกิจที่ตกต่ำสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และยังปูพื้นฐานไปสู่การเติบโตในอนาคตอีกด้วย อ้างถึง The Banker
http://www.thebanker.com/news/fullstory.php/aid/7013/Finance_Minister_of_the_Year_2010_-_Global_and_Asia-Pacific.html
นำมาจากกระทู้ห้องปรัชญาและการเมือง เวบซีมะโด่งของพวกเรา
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4591.0.html
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 09 มกราคม 2553, 08:31:00 » |
|
ขอบพระคุณพี่หมอสำเริงมากครับ ที่ทำให้ผมได้อ่านบทความดีๆเช่นนี้
เป็นมุมมองของปัญหาที่รอบด้าน เข้าถึง แก่น ของปัญหาของสังคมไทย
มีบางประเด็น ในบทความนี้ ที่่ผมเห็นแตกต่างในการจัดการ สำหรับสังคมไทย แล้วผมจะมาแลกเปลียนแต่ละความแตกต่างอีกที
............................... ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด แต่ต้องเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาส
ความมั่นคงในชีวิต การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ
ลูกหลานจะมีอนาคตที่แจ่มใสพอๆ กัน ข้อความที่ยกมา จากบทความข้างต้นนี้
เป็นหัวใจหลัก ที่อยากเห็นพรรคการเมืองที่ดีและมีความสามารถ
จึง เกิดแนวคิดพัฒนามาเป็น (ร่าง) พรรคไทยทันทุน
และข้อความที่ยกมานี้ โดนใจผมในการตกผลึก เป็นคำสั้นๆในการ เสนอนโยบายต่อประชาชน ภายใต้กรอบแนวนโยบายพรรคซึ่งๆได้เสนอไว้แล้วในห้องปรัชญาและการเมือง
เพราะปัญหาของสังคมไทยวันนี้ ก็คือ
"โอกาส"
เราปิดโอกาสใส่หน้าคนไทยทุกคน ในทุกระดับ
คนรวย แม้จะมีโอกาสมากมาย แต่ก็ถูกปิด ต่อการพัฒนาตนอย่างถูกต้อง ต่อโอกาสต่อโลก คนชั้นกลาง ถูกบั่นทอนโอกาสลงเรื่อยๆ และกำลังกลายเป็นคนจน(ด้วยการแบกหนี้) คนจน ขาดโอกาสในทุกๆเรื่อง ทั้งที่มีความสามารถ
ประเทศไทย ต้องเริ่มที่ CHANCE แล้ว CHANGE จะเกิดตามมา
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 10:36:31 » |
|
คมชัดลึก วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553
สพฐ.ประกาศสัดส่วนรับนักเรียน ม.1 ประจำปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนดีเด่นดังทั่วประเทศ จำนวน 365 โรง ระบุ ส่วนใหญ่สอบร้อยละ50 ที่เหลือรับเด็กในพื้นที่บริการ
ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นาน (สพฐ.) ได้ประกาศสัดส่วนรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง จำนวน 365 โรง ดังนี้
กทม. เขต 1 ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.เบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.วัดราชบพิธ จับสลากในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สตรีวิทยา สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.โยธินบูรณะ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.เทพศิรินทร์ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สายปัญญา สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สตรีวัดมหาพฤฒารามฯ สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.วัดสุทธิวราราม สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สตรีศรีสุริโยทัย สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.นนทรีวิทยา สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สามเสนวิทยาลัย สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50, ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี สอบรับในพื้นที่บริการ ร้อยละ 50 สอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไป ร้อยละ 50
ดู ร.ร.เพิ่มเติม ได้อีกที่ http://www.komchadluek.net/detail/20100202/46836/สพฐ.เผยสัดส่วนรับม.1ร.ร.ดีเด่นดัง365โรง.html
เป็นความพยายาม ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะพัฒนาให้ทุก ร.ร.ได้พัฒนาให้มีคุณภาพ ตามเกณฑ์ มาตรฐาน ที่ทุก ร.ร.จะต้องพัฒนา จนได้ใบรับรอง ร.ร.คุณภาพ
เนื้อหาข่าวการรับเด็กคัดเลือก น้อยลง รับเด็กในพื้นที่ เพิ่มขึ้น เป็นความพยายามให้เด็กคละกันไป แทนที่ ร.ร.ดัง ๆ จะสอบคัดเด็กเก่งไปเรียน ขอนำกระทู้ ที่ ชาวหอฯ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ที่ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ สมศ.มาลงเพิ่ม
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ซีมะโด่ง ครุศาสตร์ 19 ได้รับ ตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) สมศ.
ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ ที่จะทำให้สถานศึกษาทุกแห่ง ต้องมีคุณภาพตามระบบมาตรฐาน ด้วยการ พัฒนา และ รับรองคุณภาพสถานการศึกษา เพื่อให้ป้ายรับรองคุณภาพ เหมือน ที่ สถานพยาบาลทุกแห่ง ต้องพัฒนา และ ได้ป้ายรับรอง เป็น สถานพยาบาลคุณภาพ จาก สถาบันรับรองสถานพยาบาล : สรพ. ให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจเมื่อมารับบริการ
http://www.ha.or.th/m_06_02.asp ขอนำความรู้ เรื่อง สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) จากวิกิพิเดียร์ มาให้พวกเรารู้ว่า สถานศึกษาทุกๆแห่งจะต้องมี ป้ายรับรอง เหมือน ร.พ.ทุกแห่งต้องมีป้ายรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพ จึงจะเปิดให้บริการได้ ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
นำมาจากกระทู้ http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4678.0.html
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 18:02:26 » |
|
เยอะจังคะพี่หมอ. หมดกาแฟไป 3 ถ้วยยักษ์แร้ะคะ ยังอ่าน(เอาเรื่อง!)ไม่จบที.
|
|
|
|
YOTSAWIN
Hero Cmadong Member
หอพักรักของข้า...
ออฟไลน์
รุ่น: RCU27
คณะ: ศิลปกรรมศาสตร์
กระทู้: 1,159
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 18:17:13 » |
|
ทานกาแฟมากขนาดนั้นเลยเหรอ เอานมอุ่นๆสิเพื่อน
|
|
|
|
YOTSAWIN
Hero Cmadong Member
หอพักรักของข้า...
ออฟไลน์
รุ่น: RCU27
คณะ: ศิลปกรรมศาสตร์
กระทู้: 1,159
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 18:18:26 » |
|
เมื่อสักครู่ตามอ่านมาเรื่อยๆ จนตาลาย ได้อะไรๆมากมาย ขอบคุณพี่หมอสำเริงนะครับ
|
|
|
|
SC (ก้าน 24)
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 981
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 19:56:01 » |
|
สวัสดีครับ
เรื่องของเรื่องมันอาจจะหยุดอยู่แค่ คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด ถ้าผู้นำที่บริหารประเทศมาจากนักคิดในเชิงสร้างสรรค์ก็คงจะดี ไม่ใช่ว่าเป็นนักคิดที่เอาแต่จะชนะคะคาน คิดว่าทำอย่างไรถึงจะได้มามีอำนาจโดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้น ขนาดยอมทุบบ้านตัวเอง แล้วกลับมาอาสาสร้างบ้านแปงเมือง ใครเขาจะให้ความเชื่อถือ ที่ไม่ตอกใส่หน้าเป้งๆก้ด้วยมารยาททางการฑูตเท่านั้น
|
My Website <== คลิกเพื่อชม MV โดยไม่มีโฆษณาคั่น คลิกเล่นแล้ว คลิกขยายให้เต็มจอ อย่าคลิก YouTube
|
|
|
|
|
|
|