ครับผม..พี่ติ๋มแต้วใบสีแดง ก็มีชื่อ"ผักแต้ว/ผักติ้ว
วงศ์"GUTTIFERAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Gratoxylum formosum(Jack) Dyer ssp.pruniflorum(Kurz.) Gogelin
ชื่อพื้นเมือง "แต้ว(ไทย) ติ้วขน(กลางและนครราชสีมา) ติ้วแดงติ้วยางติ้วเลือด(เหนือ) แต้วหิน(ลำปาง)
กุยฉ่องเซ้า(กระเหรี่ยง ลำปาง) กวยโซง(กระเหรี่ยง
กาญจนบุรี)ตาว(สตูล)มู โต๊ะ(มาเลเซีย-นราธิวาส)
เน็คเคร่แย(ละว้า-เชียงใหม่)รา เง้ง(เขมร-สุรินทร์)ติ้วขาว
(กรุงเทพฯ)ติ้วส้ม(นครราชสีมา )เตา(เลย)ขี้ติ้ว ติ้วเหลือง
(ไทย) ผักติ้ว(อุบลราชธานี มหาสารคาม-อีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นแต้วเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาด เล็กถึงขนาดกลางสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป
เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา
ใบมนแกมรูปไข่กลับ และรูปขอบขนาด กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบโตออกปลายสุดสอบเข้านื้อบางหลังใบมีขนสอง ท้องใบมีขนนุ่ม
หนาแน่น ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นดอก ผลรูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว
2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอด อ่อนใบอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานเป็นผักได ยอดอ่อนและใบอ่อนผลิใน
หน้าฝนและหน้าหนาว ส่วยดอกออกสะพรั่งในช่วงปลายฤดูหนาว ฤดูร้อน ถึงต้นฤดูฝน
การปรุงอาหาร ชาวไทยภาคกลางและชาวอีสานรับประทานผักแต้วเป็นผักโดยที่ชาวไทยภาคกลาง
รับประทานยอดแต้วอ่อน เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกปลาร้า ดอกแต้วมีรสเปรี้ยวนิดๆจิ้มกับน้ำพริก
ปลาร้ามีรสอร่อยมาก ส่วนชาวอีสานรับประทานยอดอ่อน ใบอ่อนและช่อดอกเป็นผักสดแกล้มลาบ ก้อย น้ำพริก ซุป หมี่กะทิ หรือนำไปแกง เพื่อให้อาหารออกรสเปรี้ยว(เป็นเครื่องปรุงรส) ส่วนดอกนำไปต้ม
แกง บางครั้งแกงรวมกันทั้งยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักที่ชาวอีสานนิยมรับประทานมาก ชนิดหนึ่ง
และมีจำหน่ายในท้องตลาดของท้อง ถิ่นอีสาน
รสและประโยชน์ต่อ สุขภาพ
ยอดอ่อนและดอกอ่อนของผักติ้วมี รสเปรี้ยว ผักติ้ว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 58 กิโลแคลอรี่
ประกอบด้วยเส้นใย 1.5 กรัม แคลเซี่ยม 67 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 4500 ไมโครกรัม วิตามินเอ 750 ไมโครกรัมของเรตินอล วิตามินบีหนึ่ง 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.67 มิลลิกรัม ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
ข้อมูลพิเศษ เกี่ยวกับคุณค่าทางเภสัชของผักติ้วในแวดวงวิทยาการ
นัก วิจัย ม.ขอนแก่น นำพืชสมุนไพร 14 ชนิดจากโคกภูตากา อุทยานแห่งชาติภูเวียงศึกษาศักยภาพเบื้องต้นในการป้องกันมะเร็ง เผยผลการทดลองสารสกัดจาก “ใบติ้ว” ผักพื้นบ้านภาคอีสาน มีฤทธิ์ต้านมะเร็งตับ และไม่พบทำลายเซลล์ปกติ ส่วนด้านการรักษาอยู่ในระหว่างการทดลอง พร้อมทดลองในเซลล์เม็ดเลือด เซลล์มะเร็งเต้านม
รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาคุณค่าของสารสกัดสมุนไพรจากพืชในพื้นที่โคกภูตากา ต่อการป้องกันโรคมะเร็ง” เปิดเผยว่า เมื่อปี 2549 ได้ทำการศึกษาวิจัยสำรวจศักยภาพของพืชในที่โคกภูตากา ภายในอุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น ซึ่งโครงการนี้เป็นการวิจัยย่อยของศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทั้งนี้พืชสมุนไพรในโคกภูตากามีพืชสมุนไพรที่หลากหลายนับพันชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่ทานได้ และพบว่ามีพืชบางชนิดมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่น และมีผลต้านการก่อกลายพันธุ์ และมีรายงานพบความสัมพันธ์ของฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นกับการเกิดโรคมะเร็วมา ก่อน จึงได้นำเอาพืชจำนวน 14 ชนิดมาศึกษาศักยภาพเบื้องต้นในการป้องกันโรคมะเร็ง อาทิ ต้นมะค่าแดง นมน้อย นมแมว ใบติ้ว เป็นต้น ด้วยวิธีการทางด้านเคมี โดยการนำสารสกัดจากพืชเหล่านี้มาศึกษาในแบบจำลองเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง โดยนำสารสกัดจากพืชมาเลี้ยงกับเซลล์มะเร็ง เพื่อสังเกตว่าสารสกัดจากพืชสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง หรือไม่ และมีการศึกษาเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติที่เพาะเลี้ยงไว้ว่ามีผลต่อเซลล์ปกติ หรือไม่
ทั้งนี้ผลจากทดลองตรวจกรองฤทธิ์เบื้องต้น พบว่า ใบติ้ว หรือผักติ้ว ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของภาคอีสานมีผลดีในการยับยั้งป้องกันการเจริญเติบโตของ มะเร็งตับ และไม่พบว่าสารสกัดจากใบติ้วมีผลต่อเซลล์ปกติแต่อย่างใด
"อย่างไรก็ตาม แม้ผลการทดลองในเบื้องต้นจากพบว่าใบผิ้วมีฤทธิ์ต้านมะเร็งตับ แต่การวิจัยยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการที่จะต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องทำการทดลองเพื่อหาสารสำคัญในผักติ้ว และศึกษากลไกที่ชัดเจนของพืช ทำให้ในเบื้องต้นยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า ใบติ้วกินแล้วดี มีประโยชน์ สามารถต้านมะเร็งตับได้ ส่วนด้านการรักษานั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองให้แน่ชัด"
รศ.ดร.นาถ ธิดา กล่าวต่อว่า
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการวิจัยจะยังไม่เสร็จสิ้น แต่อย่างน้อยก็พบว่า ผักติ้วที่ชาวบ้านนิยมบริโภค นำมาเป็นเครื่องเคียงในอาหารประเภทลาบก้อย หรือแหนมเนือง มีสรรพคุณในการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ขณะเดียวกันก็ต้องศึกษา วิจัยและทดลองว่า ผักติ้วซึ่งมีรสชาดคล้ายๆ กับใบกระโดนที่มีสารที่ทำให้เกิดโรคนิ่วได้จะมีสารที่ก่อให้เกิดโรคนิ่วหรือ ไม่ ซึ่งจะต้องมาสกัดเป็นสารบริสุทธิ์และนำไปทดลองต่อไป นอกจากนี้แล้ว ยังได้นำสารสกัดหยาบจากใบติ้วไปเลี้ยงกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด เซลล์ไต เซลล์มะเร็งเต้านมต่อไป ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าจะสามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์เพื่อยับยั้งและป้องกัน โรคร้ายอย่างโรคมะเร็งได้
ในงานวิจัยของนิสิตโครงการปริญญาเอก กาญจนาภิเษก (คปก.) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า สารสกัดจาก “ผักติ้ว” สามารถนำไปใช้ในการยับยั้งกลิ่นหืนในอาหารได้ โดยเอายอดอ่อนของ “ผักติ้ว” ที่คนอีสานนิยมรับประทานเป็นผักเคียงกับลาบ ก้อย และแหนมเนืองเวียดนาม ไปเข้ากระบวนการสกัดผสมกับ “เอทานอล” และขั้นตอนอีกหลายขั้นตอนจะได้สารจาก “ผัก ติ้ว” ชื่อ “คอลโรจินิกแอ ซิก” นำไปใช้เป็นสารสกัดธรรมชาติป้องกันกลิ่นหืนของอาหารดีมาก
นอกจากนั้น การทดลองสารที่พบจาก “ผัก ติ้ว” ยังมีฤทธิ์ต้านมะเร็งตับได้ และ ไม่ทำลายเซลล์ปกติด้วย แต่งานวิจัยยังไม่เสร็จสิ้นพอที่จะนำเอาไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ จึงสรุปเพียงว่า “ผักติ้ว” เมื่อรับประทานแล้วจะมีสารในการยับยั้ง “เซลล์มะเร็งตับ” ได้ ซึ่งในการทดลองยังได้นำเอาใบของ “ผักติ้ว” ไปเลี้ยงกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด เซลล์ไต และ เซลล์มะเร็งเต้านม เชื่อว่าอนาคตอันใกล้ ถ้าผลการทดลองออกมาสามารถใช้รักษาโรคที่ทดลองได้ จะเป็นผลดีกับผู้ป่วยอย่างมหาศาล
*ผักติ้ว หรือ ติ้ว CRATOXYLUM FORMOSUM-PRUNIFLORUM อยู่ในวงศ์ CLUSIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นมียางสีเหลือง ใบออกตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนเกือบมน ผิวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า “ติ้วขน” ยอด อ่อนเป็นสีแดง รสฝาดปนเปรี้ยว เมื่อใบแก่เป็นสีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้านเหนือรอยแผลใบ ดอก เป็นสีชมพูอ่อน “ผล” ทรงกลม เมื่อผลแก่ แตกอ้า ภายในมีเมล็ดรูปไข่ หรือรูปกระสวย พบขึ้นตามป่าธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกอีกเยอะ คือ ดาว, ติ้วแดง, ติ้ว ยาง, ติ้วเลือด, ติ้วเหลือง และ แต้วหิน
มีสรรพคุณเฉพาะทางสมุนไพรคือ ราก ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือกต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหาร ก็ได้ เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน (มีขายตามแผงจำหน่ายพืชผักพื้นบ้านทั่วไป) นิยมรับประทานเป็นผักเคียงกับ ลาบ ก้อย น้ำตก แหนมเนืองเวียดนาม ตามที่กล่าว ข้างต้น ส่วนภาคใต้รับประทานกับขนมจีนใต้รสชาติ อร่อยมาก
ที่มาของข้อมูลและภาพ
http://www.baanmaha.com/community/thread7890.htmlhttp://www.fortunecity.com/campus/springbank/677/std1/p12.htmhttp://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=1037.0http://www.kroobannok.com/blog/16962