ti2521
|
|
« ตอบ #2000 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 22:39:40 » |
|
.....ชาวค่าย คนละไม้คนละมือ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2001 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 22:43:07 » |
|
.....ต้นจามจุรี จาก จุฬาฯ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2002 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 22:45:47 » |
|
ตี๋
มาตามชมภาพการต้อนรับน้องหอ+ค่ายแล้ว
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #2003 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 22:47:27 » |
|
ตามชมด้วยคนค่ะ น้องตี๋
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2004 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 22:52:55 » |
|
ผู้ส่งออกเวียดนามหยัน นโยบายจำนำข้าวรัฐบาลปูเหลวเป๋ว12 มีนาคม 2556 12:14 น. ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อนในสารบบ และพลิกตำราแทบไม่ทัน ประเทศไทยกำลังจะเทขายข้าวในราคาถูกๆ เพื่อระบายข้าวที่เก็บสต๊อกเอาไว้ปริมาณมหาศาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้รัฐบาลไทยเป็นหนี้มหาศาลเช่นกัน การระบายข้าวของไทยกำลังจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อตลาดข้าวโลก รวมทั้งการส่งออกข้าวของเวียดนามในปีนี้ด้วย สมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association) หรือ VietFood กล่าวในคำแถลงที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้ว่า เรื่องนี้กำลังจะเกิดขึ้น และกำลังเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด และหากรัฐบาลไทยเทขายข้าวในราคาต่ำก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า นโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาลชุดปัจจุบันประสบความล้มเหลว “ด้วยปริมาณในสต๊อกที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ไทยจะต้องนำข้าวออกเทขาย แต่จะเป็นเมื่อไรและขายในราคาเท่าไร เรากำลังเฝ้าดูอยู่” สมาคมอาหารฯ ระบุในคำแถลง ซึ่งเชื่อว่ามีความเป็นได้สูงที่ไทยจะต้องหั่นราคาข้าวลงอย่างมากมาย เพื่อระบายออกจากสต๊อกที่มีไม่ต่ำว่า 17 ล้านตันในขณะนี้ สมาคมอาหารฯ ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งรัฐบาลกึ่งเอกชนกำกับดูแลการซื้อข้าว และการส่งออกข้าวของประเทศกล่าวว่า รัฐบาลไทยอาจจะต้องหั่นราคาข้าวลงมากมาย เนื่องจากสภาพปัจจุบันในตลาดโลกที่อุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ หรือตลาดความต้องการน้อย แต่มีข้าวส่งออกอย่างมากมาย “การหั่นราคาข้าวของไทยจะส่งผลกระทบต่อบรรดาประเทศส่งออกข้าวทั้งมวล รวมทั้งเวียดนามด้วย” คำแถลงของ VietFood ระบุ อย่างไรก็ตาม นายเจืองแทงฟอง (Trương Thanh Phong) ประธานสมาคมฯ ให้ความเห็นว่า ไทยคงไม่สามารถลดราคาข้าวลงได้เท่ากับราคาข้าวที่เวียดนามขายอยู่ในปัจจุบัน เพราะว่า “ไทยจะขาดดุลงบประมาณ และเผชิญกับการโจมตีของพรรคฝ่ายค้านหากกระทำการเช่นนั้น” หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์ข่าวภาษาเวียดนาม ปัจจุบัน เวียดนามจำหน่ายข้าวผสมเมล็ดหัก 5% ในราคา 410 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะที่ข้าวชนิดเดียวกันคุณภาพเดียวกันของไทยขายในราคา 560 ดอลลาร์ต่อตัน ต่างกันตันละ 150 ดอลลาร์ ทำให้ไทยไม่อาจลดราคาลงได้มากขนาดนั้น เพราะจะทำให้ขาดทุนมหาศาลยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งหมายความว่า “รัฐบาลไทยได้ยอมรับว่า นโยบายรับจำนำข้าวที่ใช้อยู่นี้ล้มเหลว” แต่ผู้เชี่ยวชาญในวงการข้าวบางรายมีความเห็นว่า ไทยอาจจะจำหน่ายข้าวผ่านช่องทางรัฐบาลต่อรัฐบาลได้ ถ้าหากไทยลดราคาลงให้สมเหตุสมผล ซึ่งจะทำให้บางประเทศหันไปซื้อข้าวไทยแทนข้าวเวียดนาม ระยะที่ผ่านมา สมาคมอาหารเวียดนามได้ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวด้านนโยบายข้าวของไทยอย่างใกล้ชิด ผ่านสื่อต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายบกรัฐมนตรีออกให้สัมภาษณ์ไม่นานมานี้ว่า รัฐบาลจะต้องแบกรับภาระขาดทุนในการจำหน่ายข้าวออกจากสต๊อก หลังจากได้ใช้นโยบายรับจำนำข้าวจากชาวนา “ทุกเมล็ด” ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้รัฐบาลไทยเป็นหนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ถึง 476,890 ล้านบาท รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบของไทยเคยให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ยอมเทข้าวในสต๊อกออกขายจนกว่าราคาในตลาดโลกจะพุ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้นจากการที่ไทยไม่ยอมระบายข้าวออกสู่ตลาดนั่นเอง แต่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของไทยกล่าวว่า ถึงเวลาที่สมควรจะต้องนำข้าวออกขายแล้ว เนื่องจากมีข้าวออกสู่ตลาดน้อยลงอันเป็นผลจากการเกิดภัยแห้งแล้งในประเทศที่ปลูกข้าวจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสงสัย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง ที่เคยเป็น รมว.พาณิชย์ของไทย เคยกล่าวเอาไว้ในรัฐสภาว่า ถึงเวลาที่จะต้องทำให้ข้าวไทยเป็น “สิ่งที่มีค่า” ผู้บริโภคจะต้องยอมจ่ายแพงขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้า “ระดับพรีเมียม” มรว.ปริดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณการว่า รัฐบาลไทยเป็นหนี้ราว 140,000 ล้านบาท ในการรับจำนำข้าวฤดูทำนาปี 2554-2555 และคาดว่าจะขาดทุนอีก 210,000 ล้านบาท ในปีการผลิต 2555-2556 นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ไทยกำลังพิจารณาขายข้าวราว 7 ล้านตันให้แก่หลายประเทศ รวมทั้งจีน ในราคาที่ไม่สามารถเปิดเผยได้เนื่องจาก “เป็นเรื่องล่อแหลม และเป็นความลับ” ทั้งนี้ เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์. จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000030318
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2005 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 22:57:00 » |
|
.....ครับ พี่เหยง เนื่องด้วยเป็นวันทำงานจึงมีพี่ที่เกษียณ ทำงานส่วนตัวมาครับ
แต่ได้นัดกันไว้ตอนจะไปเยี่ยมค่ายที่ อ.งาว ห่างจากลำปางประมาณ ๑๒๐ กม.
และสมาคมจุฬาฯลำปางจัดเลี้ยงเย็นวันกลับที่ ๒๔ มีค ครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2006 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 23:01:58 » |
|
.....บันทึกความทรงจำร่วมกัน ก่อน เดินทางครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2007 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 23:06:59 » |
|
.....แนะนำ @ ขอบคุณ พี่ๆ ๕๕.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2008 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 23:08:54 » |
|
http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.3/strategics_2554/02_Soybean.pdf ผลงานของกรมส่งเสริมการเกษตร...ไม่เป็นเรื่อง-เป็นราว ดีแต่ตั้งโครงการผลาญงบ
USDA ออกรายงานล่าสุด - 8 มีนาคม 2556 ไทยนำเข้าถั่วเหลืองสูงถึง 1.950 ล้านตัน ในปี 2012/13 ปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี จากที่น้องตี่บอก ใช้บริโภค สกัดเป็นน้ำมันถั่วเหลือง และเป็นอาหารสัตว์ ปี 2008/09 - 1.510 ล้านตัน ปี 2009/10 - 1.660 ล้านตัน ปี 2010/11 - 2.139 ล้านตัน, ปี 2011/12 - 1.906 ล้านตัน ส่วนกากถั่ว ปี 2012/13 นำเข้า 2.800 ล้านตัน เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน
กระทรวงเกษตรฯ ออกโครงการส่งเสริมการปลูก แต่กระทรวงพาณิชย์อนุมัติให้นำเข้า - จบ เอวังด้วยประการละฉะนี้ คนส่งเสริม-กินงบ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการน้อย เพราะราคาตลาดแกว่ง ประกันราคาต่ำกว่าความเป็นจริง, คนอนุมัตินำเข้า-กินหัวคิวนำเข้า คนไทยก็แห้วรับประทานในทุกรูปแบบ คนรวยตัวจริงคือ อาหารสัตว์
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2009 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 23:10:59 » |
|
ออกจากตัวเมืองถึง 120 ก.ม. หรือ ??
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2010 เมื่อ: 12 มีนาคม 2556, 23:11:15 » |
|
.....เช็คชื่อ เดินทาง ครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2011 เมื่อ: 13 มีนาคม 2556, 17:45:21 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2012 เมื่อ: 13 มีนาคม 2556, 17:47:15 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2013 เมื่อ: 13 มีนาคม 2556, 17:49:24 » |
|
|
|
|
|
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์
คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927
|
|
« ตอบ #2014 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 08:32:16 » |
|
|
“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้ อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2015 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 18:18:55 » |
|
สวัสดียามเย็นครับ... พี่ตี๋..พี่อร..พี่เหยง..พี่หนุน และพี่น้องทุกท่าน
ชื่นชมครับ.. พี่ตี๋
คิดถึงสมัยออกค่ายเลย..
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2016 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 18:22:30 » |
|
สวยดีครับ..
ไม่เคยผ่านเส้นทางนี้ช่วงดอกไม้งามเลย..
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #2017 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 18:42:49 » |
|
สี ม่วง -ขาว เป็นสี ประจำ วังหวัด นครสวรรค์ ครับ
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2018 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 22:08:44 » |
|
.....อินทนิล..... ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ : Queen's crape myrtle , Pride of India
ชื่ออื่นๆ ฉ่วงมู ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ) บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 5-20 เมตร
ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลา ตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน
มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง
พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น
ต้นอินทนิลน้ำที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วๆ ไป จะมีเรือนยอดคลุมลำต้นประมาณเก้าในสิบส่วนของความสูงทั้งหมด
ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ
ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น เปลือกหนาประมาณ 1 ซม. เปลือกในออกสีม่วง
ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก
กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน
โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่
เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก
ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน
ดอก โต มีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ
ออกรวมกันเป็นช่อโต ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ
ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง
ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด
และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย
เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม.
เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน
สรรพคุณ
ใบ - รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ
ก่อนใช้ใบอินทนิลน้ำรักษาโรคเบาหวาน คนไข้ควรให้แพทย์ตรวจน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะดูเสียก่อนว่า "มีปริมาณน้ำตาลในเลือดอยู่เท่าใด" เมื่อทราบปริมาณน้ำตาลในเลือดแน่อนอนแล้ว จึงปฏิบัติดังนี้คือ
ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำตากแห้งจำนวน 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ เช่น คนไข้มีน้ำตาลในเลือด 300 มิลลิกรัม ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำ 30 ใบ บีบให้แตกละเอีดย
และใส่น้ำบริสุทธิ์เท่าปริมาณความต้องการของคนไข้ผู้นั้นใช้ดื่มในวันหนึ่งๆ เทลงในหม้อเคลือบ หรือหม้อดิน ไม่ควรใข้ภาชนะอลูมิเนียมต้มยา แล้วเคี่ยวให้เดือดประมาณ 15 นาที
นำน้ำยาใบอินทนิลน้ำชงใส่ภาชนะไว้ให้คนไข้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน ติดต่อกันไป 20-30 วัน จึงควรตรวจน้ำตาลในเลือดของคนไข้ผู้นั้นอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อปรากฎว่าปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดปริมาณเหลือน้อยลงก็ให้ลดจำนวนใบอินทนิลน้ำลงตามปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ สมมุติว่า น้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดลงเหลือ 200 มิลลิกรัม ก็ควรลดจำนวนอินทนิลน้ำลงเหลือ 20 ใบ แล้วนำไปต้มเคี่ยวให้คนไข้ดื่มน้ำ ดื่มต่อไปทุกๆ วันติดต่อกัน 15-21 วัน จึงควรตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้อีกครั้งหนึ่ง หากน้ำตาลลดลงอีกก็ให้ลงปริมาณใบอินทนิลน้ำให้เหลือ 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ จนกระทั่งน้ำตาลลดลงอยู่ในระดับปกติ จึงควรงดใช้ใบอินทนิลน้ำให้คนไข้รับประทานชั่วคราว
หากปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้เพิ่มขึ้นผิดปกติเมื่อใด ก็ให้คนไข้เริ่มรับประทานใบอินทนิลน้ำใหม่ สลับกันจนกว่าคนไข้ผู้นั้นจะหายป่วยจากโรคเบาหวาน เป็นปกติ ขอขอบคุณhttp://www.the-than.com/FLower/Fl-1/178/178.html
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2019 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 22:12:03 » |
|
.....ครับพี่เหยง อยู่ติดพะเยามากครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2020 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 22:16:08 » |
|
.....ครับ พี่เหยง พี่อร เสี่ยแหลม ย้อนบรรยากาศออกค่ายหอฯได้เลยครับ๕๕๕ .....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2021 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 22:19:01 » |
|
.....๕๕๕ บรรยากาศอบอุ่นครับ ลูกชายพี่น้อยก็น้องหอ ๔๘ ครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2022 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 22:36:28 » |
|
.....คัดลอกมาบางส่วนครับสำหรับ ข้อดี ข้อเสีย ของผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง
อุตสาหกรรมถั่วเหลืองในสหรัฐฯเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใหญ่โตมาก นายทุนจึงอาศัยนักวิจัยจัดทำข้อมูลงานวิจัย เพื่อช่วยสนับสนุนธุรกิจของตนเอง จะไม่เปิดเผยด้านมืดของสินค้าของตน ที่เกิดผลข้างเคียงต่อผู้บริโภคในระยะยาว และตนเองก็ไม่รับผิดชอบ รวมทั้งนายทุนยังเข้าไปมีอิทธิพลในองค์การอาหารและยาในสหรัฐฯเองด้วย
ไม่ต่างจากน้ำมันมะพร้าว และผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ที่ถูกอุตสาหกรรมน้ำมันพืชเช่นข้าวโพด ถั่วเหลือง ทานตะวัน และอื่นๆ ในสหรัฐฯต่อต้านมาร่วม 50 ปี ทำให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพแก่คนในประเทศของตน ไม่มีโอกาสทราบความเป็นจริง ปัจจุบันมีนักวิจัยอิสระที่เข้าถึงควมเป็นจริงของธรรมชาติ อย่างตรงไปตรงมา ผู้ที่ได้รับความรู้จากธรรมชาติบริสุทธิ์ ไม่เบี่ยงเบนจากนักวิจัยอิสระเหล่านี้ ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาสุขภาพ ก็ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจากการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต ทำให้รู้จักผลดีของธรรมชาติ ที่ถูกนายทุนอุตสาหกรรมปกปิด และกีดกัน
อุตสาหกรรมถั่วเหลืองก็เช่นเดียวกัน นักอุตสาหกรรมตะวันตกหรือสหรัฐฯก็จะอ้างอิงการบริโภคถั่วเหลืองของทางประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น แต่นักวิจัยตะวันตกมีความคิดแยกส่วนในการตรวจสอบการบริโภคอาหารแต่ละชนิด ไม่สามารถเข้าถึงหลักการบริโภคของทางตะวันออก ที่เป็นแบบผสมผสาน จึงไม่อาจเทียบกันได้
ดังนั้นผู้บริโภคถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากถั่วเหลือง หากศึกษาจากงานวิจัยและคำโฆษณาของนายทุนอุตสาหกรรม ก็จะพบสิ่งอันเป็นคุณประโยชน์ต่อสุขภาพสูง แต่นักวิจัยอิสระซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อย ไม่มีทุนรอนในการให้ความรู้ในวงกว้างเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมใหญ่
จึงทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ ก็ยังประสบปัญหาสุขภาพอยู่เช่นเดิม เนื่องจากผลงานวิจัยของทั้ง 2 ค่ายออกมาตรงกันข้าม จึงอยู่ที่วิจารณญานของผู้บริโภค จะเลือกตัดสินใจ
อย่างน้อยเมื่อพบข้อมูล ที่ตรงกันข้าม ในธรรมชาติก็ยังมีถั่วต่างๆอีกหลายชนิด ที่สามารถเลือกรับประทานได้ เช่นถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วขาว ถั่วแดง และก็ไม่รับประทานมากเกินไป.....ขอขอบคุณhttp://ainews1.com/article548.html
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #2024 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556, 23:23:43 » |
|
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
|