.....ได้มาเพียบเลยครับ พี่อ้อย 17 ๕๕๕๕๕ ค่อยๆหามาลงครับ.....
ดร.เกศณี ตระกูลทิวากร นักวิจัยสถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยออกมาแล้ว
ผักพื้นบ้านไทย มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าผักฝรั่งหลายเท่าตัว
ผักไทยๆมีอะไรบ้าง ดร.เกษณี แบ่งผักไทยไว้ 3 เกรด
=ผักที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระต่ำ หรือมีสารต้านมะเร็งต่ำ
แต่ถึงจะต่ำแต่สรรพคุณไม่แพ้ผักผลไม้ฝรั่งที่คุยไว้ป้องกันมะเร็งได้
มีตั้งแต่...ผักเผ็ด(ผักคราด), ผักแส้ว, ดอกแค, หางค่าง, ใบย่านาง, งิ้ว, ผักโขมเล็ก, กระบก, ดีปรี, บวบงู,
ผักหวานป่า, ใบกระเพรา, ใบโหระพา, ดอกผักชีฝรั่ง, หัวปลี, ผักกูด, คูน, ยอดมะระจีน, จะค่าน, ผักแมะ,
เผือกหอม, ยอดมะขาม, ยอดฟักทอง, ลูกเถาคัน, เห็ดมัน, เห็ดตับเต่า, เห็ดลม, ต้าง, มะข่วน, กำบิด,
ลูกเนียงนก, ปูเลย,(ไพล), ลูกแฟบ, หัวแส้,
เห็ดขอนขาว, เห็ดเผาะ, เห็ดแครง, เห็ดโคน, เห็ดปลวก
=ผักเกรดมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระปานกลาง
มีสารต้านมะเร็งมากกว่าผักฝรั่ง 4 เท่า ผักพาย(ตาลปัตรฤาษี), ผักโขมใหญ่, ผักโขมไทย, ดอกโสน,
ถั่วฝักยาว, ผักไผ่(ผักแผว), ผักมะลิดไม้(เพกา), หอมแย้, ผักขี้หูด, ยอดผักปลัง, ดอกผักปลัง, ผักเสี้ยว,
ผักเกี๋ยงพา, ผักคาวทอง(พลูคาว), ผักเฮือด, ขนุนอ่อน, ผักเชียงดา, ดอกผักเชียงดา, ผักเสี้ยน, มะแขว่น,
ผักอีหล่ำ(มะกล่ำตาช้าง), ผักขะแยง, ถั่วแปบ, สะแล,
ผักเหมือด, ผักกระเผกขี้ขวง(สะเดาดิน), ผักติ้ว, ใบชะพลู, ใบบัวบก, ใบยอ,
ผักบุ้งจีน, ผักชีฝรั่ง, ผักชีลาว, ยอดสะเดา(ดอก),
ใบขี้เหล็ก, ดอกขี้เหล็ก, ใบแมงลัก, ยอดพริก, ใบชะอม, พริกไทยอ่อน,
ผักชี, ตั้งโอ๋, ยอดเล็บครุฑ, บอน, ใบชะมวง,
ลูกเหรียง, ถั่วพู, ฝักมะรุม, ใบยี่หร่า(กะเพราช้าง), ผักคะน้า, บวบ, ใบตำลึง, สะตอ, ส้มเม่า,
ผักชีล้อม, ผักชีไร่(ผักแย้), ยักริ้น, ถั่วลาย, ยอดมะกอกไทย, ยอดเทียม, แตงโมอ่อน, ผักหนอก,
ต้นกระชาย, ดอกกระเจียวแดง, ผักกระสัง, ขมิ้นชัน,
กุยช่ายขาว, กุยช่าย, ดอกแคบ้าน, ผักหวานบ้าน, เล็บรอก, ดอกสัง,
มะเขือตอแหล, มะเขือเปราะม่วง, ผักก้านดง, ผักแว่น,
ใบปอ, ลูกมะแว้ง, ต้นข่าอ่อน, ดอกข่า, ใบสะเดาอ่อน, กี๋กุ๊ก, พ่อค้าตีเมีย
=ผักเกรดสุดท้าย ชั้นดีเลิศ มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง...
ฝอยทอง, ผักหนาม, ผักแปม, ผักฮ้วน, ยอดมะม่วง, ผักกระถิน, ยอดกระถิน, ผักเม็ก,
ยอดถั่วลันเตา, ผักบุ้งไทย,ผักกาดนกเขา, ยอดมะปริง, ตะไคร้, ยอดมันเทศ, ลูกเนียง,
ยอดทำมัง, ยอดเหมียง(เหลียง), ยอดหมุย, ยอดมันปู, ขี้เสียด,
ผักปู่ย่า(ช้าเลือด), ยอดมะปราง, ใบมะเม้า, บัวเผื่อน, ยอดมันแกวเขียว
ดร.เกศณี แนะนำอย่ากินผักชนิดเดียวติดต่อเป็นเวลานาน ให้กินสลับเปลี่ยนกันหลายชนิดจะได้ผลกว่า
ผักที่กล่าวมา เป็นผักกินป้องกันมะเร็ง ไม่ใช่เป็นมะเร็งแล้วถึงมากิน
ขอขอบคุณ
http://www.muklearn.com/view.php?article_id=2654