From:
somporn@tint.or.th <
somporn@tint.or.th>
Subject: ชี้แจงเรื่องการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น
To: "wittawat boonyasampan"
<
wittawatbn@yahoo.com>
Date: Tuesday, March 15, 2011, 7:36 PM
เรียน พี่วัลลภ
เพื่อโปรดกระจายข่าวข้อเท็จจริงเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่
Fukushima/Japan (11/3/2011)
สาเหตุ
1. แผ่นดินไหว 9 Richter (ออกแบบไว้เพียง 8 Richter) ทำให้
เครื่องหยุดเดินทันทีอัตโนมัติ, ไฟดับทั้งเมือง
2. เกิด Tsunami ตามมา น้ำท่วม เครื่องปั่นไฟสำรองเสียหาย
สถานการณ์ในโรงไฟฟ้า
1. อุณหภูมิของเครื่องปฎิกรณ์นิวเคลียร์/แท่งยูเรเนียมจะอยู่ที่
ประมาณ 200 – 400 C ถึงแม้เครื่องดับแล้วก็ต้องมีน้ำมาหล่อ
เย็นตลอดเวลา
2. เจ้าหน้าที่จึงต้องใช้ไฟสำรองจากข้างนอกมาเดินปั้มน้ำ
เพื่อฉีดน้ำระบายความร้อน
3. ความร้อนของเครื่องสูงทำให้น้ำแตกตัวเป็นไฮโดรเจน และ
รวมตัวเป็นก๊าซไฮโดรเจนลอยไปสู่ด้านบนของโรงไฟฟ้า เมื่อ
สะสมตัวมากขึ้น ก็จะกลายเป็นลูกโป่งไฮโดรเจนความร้อนสูง
เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำก็จะระเบิด
สรุป โรงไฟฟ้าหมายเลข 1, 3 และ 4 ระเบิด เป็นการระเบิด
เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนที่ลอยอยู่บนเพดานของโรงไฟฟ้า ไม่
ใช่เกิดการระเบิดจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ (ยูเรเนียม) แบบ
เชอร์โนบิล ของรัสเซีย จึงทำให้มีสารกัมมันตรังสีที่เล็ดรอด
ออกมาน้อยมาก
1. ญี่ปุ่นจึงอพยพคนเพื่อความปลอดภัย ในรัศมี 30 กิโลเมตร
รอบโรงไฟฟ้า และให้กินเกลือไอโอดีนเพื่อป้องกันสารรังสีเข้า
สู่ร่างกาย
2. โอกาสที่ฝุ่นกัมมันตรังสีจะมาถึงเมืองไทยมีน้อยมาก ไม่ควร
เป็นกังวล เพราะทิศทางลมส่วนใหญ่จะวิ่งไปทางมหาสมุทร
แปซิฟิก สู่อเมริกา และระยะทางก็ไกลมาก
3. ประเทศไทยเรามีสถานีตรวจวัดรังสีในสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 8
แห่งรอบประเทศ (กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น, นครปฐม,
สงขลา, ฯลฯ) สามารถตรวจวัดระดับรังสีที่ผิดปกติได้ตลอด 24
ชั่วโมง โดยการส่งข้อมูล Online มายังศูนย์กลางที่สำนักงาน
ปรมาณูเพื่อสันติ ที่กรุงเทพฯ
4. ประเทศไทยเรามีมาตรการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินทาง
รังสี มาตรฐานเดียวกับญี่ปุ่น โดยใช้ของทบวงการพลังงาน
ปรมาณูเป็นต้นแบบ
จึงเรียนมาเพื่อให้พี่ๆ และทุกคนในครอบครัวได้คลายความ
วิตกกังวลจากกระแสข่าวลือที่ post ไปทาง facebook, twitter,
etc.
สมพร จองคำ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
หากพี่ๆ ต้องการติดตามข่าวแปลสถานการณ์ดังกล่าว ได้ที่
www.tint.or.th (สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ)
www.oaep.go.th (สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ)
www.nst.or.th (สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย)