24 พฤศจิกายน 2567, 04:37:51
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 1338 1339 [1340] 1341 1342 ... 1883   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ◄◄◄ << เมียงู >>►►► .. Life is Beautiful ..  (อ่าน 7670451 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 62 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #33475 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 07:28:12 »

สวัสดี ตอนเช้า พี่ๆ น้องๆ  เพื่อนตะวัน ขอบคุณที่เสนอแนะ รับทราบ จะพยายามทำความเข้าใจ

                    งง งง งง งง smoke
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #33476 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 07:48:24 »



สวัสดีตอนเช้าครับพี่ตะวัน พี่ปิ๊ด น้องหยี
และพี่น้องทุกท่านครับ


 รักนะ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
ตี้ถาปัด
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: สถาปัตยกรรมศาสตร์
กระทู้: 10,337

« ตอบ #33477 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 09:06:37 »

รอผู้รู้มาตอบอยู่เหมือนกันครับ
ที่จริงก็สงสัยแบบพี่ปิ๊ดครับ แต่ไม่เคยสังเกตุเหมือนกัน ก็เห็นมันขาวทั้งนั้น
      บันทึกการเข้า

2437041
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #33478 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 15:01:26 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 21:06:14
อ้างถึง
ข้อความของ wannee เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 14:33:09
สวัสดีค่ะ น้องหยี   

ขอกลับไปอ่านย้อนหลังนะคะ  ปิ๊งๆ

พี่เสียดคะ ..

เหตุเกิด ณ งาน dinner งานหนึ่ง
นำมาซึ่งข้อมูลเรื่องข้าวหอมมะลิไทยค่ะ



อ่านตอนหนึ่งของ dinner ที่ว่า ห้ามหลุด หรือรั่ว ในวงการนี้  .... น่ากัวอ่ะ

พี่เองก็ชอบแบบเราชาวหอ  เพราะคำว่าซีมะโด่ง ทำให้เราใกล้กัน หนักนิด เบาหน่อย พอไหว
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #33479 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 16:26:43 »


สายัณห์สวัสดิ์ครับ........น้องหยี..พี่ตะวัน..พี่ปี๊ด..พี่เสียด..พี่หนุน..น้องตี้ และพี่น้องทุกท่าน

คิดถึงสย.จัง.....เงียบหายไปนานเลย.
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #33480 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 16:33:50 »

อ้างถึง
ข้อความของ wannee เมื่อ 21 ธันวาคม 2553, 15:01:26
อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 21:06:14
อ้างถึง
ข้อความของ wannee เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 14:33:09
สวัสดีค่ะ น้องหยี   

ขอกลับไปอ่านย้อนหลังนะคะ  ปิ๊งๆ

พี่เสียดคะ ..

เหตุเกิด ณ งาน dinner งานหนึ่ง
นำมาซึ่งข้อมูลเรื่องข้าวหอมมะลิไทยค่ะ



อ่านตอนหนึ่งของ dinner ที่ว่า ห้ามหลุด หรือรั่ว ในวงการนี้  .... น่ากัวอ่ะ

พี่เองก็ชอบแบบเราชาวหอ  เพราะคำว่าซีมะโด่ง ทำให้เราใกล้กัน หนักนิด เบาหน่อย พอไหว

วงการนี้.... ถ้า หลุดหรือรั่ว ก็มีสิทธิ์ถูกนินทาข้ามประเทศอ่ะครับ.

กับพี่น้องเราชาวหอไม่เป็นไร.......ไม่ให้พูดเราก็ไม่พูด ให้ลบรูปทิ้งเราก็ลบ........5..5..5. 
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #33481 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 16:50:02 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 21:11:38
อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 12:31:11

ครั้งหนึ่ง......หลายเดือนมาแล้ว

มีโอกาสได้คุยกับหัวหน้าสถานีพันธุ์ข้าวขอนแก่น.......พี่เค้าจบด็อกเตอร์ทุนร็อกกี้เฟลเลอร์

พอจำได้ว่าสิ่งหนึ่งที่พี่ท่านนี้คับแค้นใจมากก็คือ ทุนสนับสนุนการวิจัยข้าว.

ประเทศไทยมีทุนสนับสนุนแค่หลักสิบล้าน ในขณะที่เวียดนามคู่แข่งสำคัญมีทุนสนับสนุนเป็นพันล้าน.

เศร้าไหมครับพี่น้อง?.........


การให้ทุนศึกษาหรือวิจัยเรื่องข้าวและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากต่างประเทศก็เป็นเรื่องอันตรายเช่นกันค่ะ
เราทำข้อมูลวิจัยอย่างละเอียดเพื่อให้จบการศึกษา 
และต้องนำสำเนาส่งเจ้าของเงินทุน

เจ้าของเงินทุน (ต่างประเทศ) ก็สบาย ..
ได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการปลูกพืชภัณฑ์สำคัญของประเทศเราไปมากมาย

เราถูกล่อซื้อภูมิความรู้ของประเทศชาติจากต่างประเทศ
ด้วยเงินที่มาในรูปของ "ทุนสนับสนุนการศึกษาหรืองานวิจัย"



ชอบ....ชอบมากที่น้องหยีมองข้ามช็อทแล้วเจาะเลย.

บอกก่อนว่า...ทุนสนับสนุนที่พี่ท่านนั้นพูดถึงคือทุนสนับสนุนจากรัฐบาล.

ส่วนทุนสนับสนุนการศึกษาหรืองานวิจัย จากองค์กรหรือรัฐบาลต่างประเทศ......ก็อย่างที่น้องหยีบอก

เรื่องนี้มีมานานไม่น้อยกว่าอายุพวกเราอยู่แล้ว...

      บันทึกการเข้า
ตุ๋ย 22
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2522
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 20,173

« ตอบ #33482 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 17:18:42 »

สวัสดีตอนค่ำครับ
      บันทึกการเข้า

น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #33483 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 17:43:38 »

สวัสดีครับ ชาวเมียงูทุกท่าน

ขอเสริมต่อนิดหนึ่ง วิทยานิพนธ์ วิจัยแต่ไม่เคยเอามาใช้ จึงถูกเขาคัดลอกหรือเก็บเอาไปอ้างอิงจนเราเสียสิทธิไปก็เยอะ
เราเห็นใน นสพ.อยูบ่อยๆ รัฐมนตรีประกาศโครงการต่างๆออกมาซึ่ง รมต.แสดงเหมือนมันเป็น idea ของเขาเลย ทั้งๆที่ไม่ใช่
เราใช้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค นึกว่าอดีตนายกฯทักษิณ และคุณสุดารัตน์ รมต.สธ.คิดขึ้นมาใช้ คนไทยเป็นปลื้ม
จนลืมไปว่า นพ.สงวน นิตยารัมภา คือตัวจริงที่คิดระบบนี้ขึ้นมา การเมืองไม่เคยเอ่ยถึงชื่อนี้เลย
ประดุจคำพูดหนึ่ง "เก่งได้ แต่ต้องเป็นลูกน้องกู" นั่นแหละจึงจะเจริญรุ่งเรืองในราชการต่อๆไปได้

โครงการประกันราคาผลผลิต และประกันภัยผลผลิต เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 253...แล้ว แต่ไม่มีการต่อยอดให้เกษตรกร
สหรัฐอเมริกาใช้โครงการนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 แล้ว, ย้ำ 2469 ปีแรกแห่งการครองราชย์ของรัชกาลที่ 7 ครับ
จนบัดนี้ เราไม่เคนได้ยินว่า เกษตรกรชาวสหรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตการเกษตรของเขาเลย
มีแต่ข่าวผลผลิตของสหรัฐรุกเข้าไปในประเทศต่างๆ อยู่ทุกวัน จนเกษตรกรในประเทศนั้นๆเดือดร้อนกันเป็นแถวๆ
อาทิเช่น เกาหลีใต้ ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบจากเนื้อวัวจากสหรัฐ
ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวนมของไทย เจอนมผงแห้งจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จนเทนมทิ้งมาหลายรอบแล้ว
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #33484 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 18:24:07 »

สวัสดี ตอนเย็น พี่ๆ น้องๆ พี่ปิ๊ดยังอยากฟังใครสามารถ อธิบาย เรื่อง คำว่า ข้าว" ขาว "ที่มี อัตราส่วนผสม
                                     อยู่ในข้าวขาย เปอร์เซ็นต่างๆ ดูเหมือน มีผลกับราคา ด้วย ใครช่วยตอบที.......
                                     น้องเหยง ช่วยเฉลย ด้วย

                                        งง งง งง งง gek gek
      บันทึกการเข้า
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« ตอบ #33485 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 19:49:29 »

ผม search มาให้ครับ น่าจะเป็นของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตร รวมกัน
รายละเอียดเยอะยาวมากทีเดียว


   มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย    
               
      ข้อ 1 คำนิยาม    
               
 (1) “ข้าวหอมมะลิไทย” (THAI HOM MALI RICE) หมายถึง ข้าวกล้องและข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกเจ้า พันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง    ซึ่งผลิตในประเทศไทยในฤดู นาปี และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศรับรองว่าเป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์
กข .15 ซึ่งมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นข้าวใหม่หรือข้าวเก่า เมื่อหุงเป็นข้าวสวยแล้ว เมล็ดข้าวสวยจะอ่อนนุ่ม
(2) “อมิโลส” (Amylose) หมายถึง แป้งชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเมล็ดข้าว เมื่อหุงแล้วทำให้ข้าวสวยมีความอ่อนนุ่มหรือกระด้าง          แตกต่างกันไปตามปริมาณอมิโลส
(3) ข้าว (Rice) หมายถึง ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ( Oryza Sativa L .) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด
(4) ข้าวเปลือก (Paddy) หมายถึง ข้าวที่ยังไม่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกออก
(5) ข้าวกล้อง (Cargo rice, Loonzain rice, Brown rice, Husked rice) หมายถึง ข้าวที่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกออกเท่านั้น
(6) ข้าวขาว (White rice) หมายถึง ข้าวที่ได้จากการนำข้าวกล้องเจ้าไปขัดเอารำออกแล้ว
(7) ข้าวเหนียวขาว (White glutinous rice) หมายถึง ข้าวที่ได้จากการนำข้าวกล้องเหนียวไปขัดเอารำออกแล้ว
(8 ) ส่วนของเมล็ดข้าว (Parts of rice kernels) หมายถึง ส่วนของข้าวเต็มเมล็ดแต่ละส่วนที่แบ่งตามความยาวของเมล็ดออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน
(9) ข้าวเต็มเมล็ด (Whole kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่อยู่ในสภาพเต็มเมล็ด ไม่มีส่วนใดหักและให้รวมถึงเมล็ดข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 9 ส่วนขึ้นไป
(10) ต้นข้าว (Head rice) หมายถึง เมล็ดข้าวหักที่มีความยาวมากกว่าข้าวหัก แต่ไม่ถึงความยาวของข้าวเต็มเมล็ด          และให้รวมถึงเมล็ดข้าวแตกเป็นซีกที่มีเนื้อที่เหลืออยู่ตั้งแต่ ร้อยละ 80 ของเมล็ด
(11) ข้าวหัก (Brokens) หมายถึง เมล็ดข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 2.5 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึงความยาวของต้นข้าว          และให้รวมถึงเมล็ดข้าวแตกเป็นซีกที่มีเนื้อที่เหลืออยู่ไม่ถึงร้อย ละ 80 ของเมล็ด
(12) ปลายข้าวซีวัน (Small brokens C1) หมายถึง เมล็ดข้าวหักขนาดเล็กที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 7
(13) ข้าวเมล็ดสีต่ำกว่ามาตรฐาน (Undermilled Kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่ผ่านการขัดสีต่ำกว่าระดับการสีที่กำหนดไว้สำหรับข้าวแต่ละชนิด
(14) ข้าวเมล็ดแดง (Red kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่มีรำสีแดงหุ้มอยู่ทั้งเมล็ดหรือติดอยู่เป็นบางส่วนของเมล็ด
(15) ข้าวเมล็ดเหลือง (Yellow kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่มีบางส่วนของเมล็ดกลายเป็นสีเหลืองอย่างชัดแจ้ง
(16) ข้าวเมล็ดท้องไข่ (Chalky kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวเจ้าที่เป็นสีขาวขุ่นเหมือนช็อล์คมีเนื้อที่ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของเนื้อที่เมล็ดข้าว
(17) ข้าวเมล็ดเสีย (Damaged kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่เสียอย่างเห็นได้ชัดแจ้งด้วยตาเปล่าซึ่งเกิดจากความชื้น ความร้อน เชื้อรา แมลง
         หรืออื่น ๆ
(18 ) ข้าวเมล็ดลีบ (Undeveloped kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่ไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรจะเป็น มีลักษณะแฟบ แบน
(19) ข้าวเมล็ดอ่อน (Immature kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่มีสีเขียวอ่อนได้จากข้าวเปลือกที่ยังไม่แก่
(20) เมล็ดพืชอื่น (Other seeds) หมายถึง เมล็ดพืชอื่น ๆ ที่มิใช่เมล็ดข้าว
(21) วัตถุอื่น (Foreign matter) หมายถึง สิ่งอื่น ๆ ที่มิใช่ข้าวรวมทั้งแกลบและรำที่หลุดจากเมล็ดข้าว
(22) ระดับการสี (Milling degree) หมายถึง ระดับของการขัดสีข้าว
(23) สีดีพิเศษ (Extra well milled) หมายถึง การขัดสีเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามเป็นพิเศษ
(24) สีดี (Well milled) หมายถึง การขัดสีเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามดี
(25) สีดีปานกลาง (Reasonably well milled) หมายถึง การขัดสีเอารำออกเป็นส่วนมากจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามพอสมควร
(26) สีธรรมดา (Ordinarily milled) หมายถึง การขัดสีเอารำออกแต่เพียง บางส่วน
(27) ตะแกรงเบอร์ 7 (Seive No.7) หมายถึง ตะแกรงโลหะรูกลม หนา 0.79 มิลลิเมตร (0.031 นิ้ว ) และเส้นผ่านศูนย์กลางรู 1.75 มิลลิเมตร
         (0.069 นิ้ว )
(28) ร้อยละ หมายถึง ร้อยละโดยน้ำหนัก
   
               
        ข้อ 2 ให้แบ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้    
               
          (1) ข้าวขาว
(2) ข้าวกล้อง    
               
        ข้อ 3 ให้แบ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยประเภทข้าวขาว ออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้    
               
          (1) ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
(2) ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
(3) ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
(4) ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์
(5) ข้าวขาว 10 เปอร์เซ็นต์
(6) ข้าวขาว 15 เปอร์เซ็นต์
(7) ข้าวขาวหักเอวันเลิศพิเศษ
(8 ) ข้าวขาวหักเอวันเลิศ    
               
        ข้อ 4 ให้แบ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยประเภทข้าวกล้อง ออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้    
               
          (1) ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
(2) ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
(3) ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
(4) ข้าวกล้อง 5 เปอร์เซ็นต์
(5) ข้าวกล้อง 10 เปอร์เซ็นต์
(6) ข้าวกล้อง 15 เปอร์เซ็นต์    
               
        ข้อ 5 ให้สินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย ตามข้อ 2 ข้อ 3 และ ข้อ 4 ต้องมีมาตรฐาน ดังต่อไปนี้    
               
          (1) มีข้าวหอมมะลิไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92.0
(2) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 14.0
(3) มีลักษณะโดยทั่วไป เป็นข้าวเมล็ดยาว มีความขาว ท้องไข่น้อยโดยธรรมชาติ
(4) ไม่มีแมลงที่ยังมีชีวิตอยู่
(5) มีขนาดเมล็ด ดังนี้
         - ความยาวเฉลี่ยของข้าวเต็มเมล็ด ที่ไม่มีส่วนใดหักต้องไม่ต่ำกว่า 7.0 มิลลิเมตร
         - อัตราส่วนความยาวเฉลี่ยต่อความกว้างเฉลี่ยของข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่มีส่วนใดหัก ต้องไม่ต่ำกว่า 3.2 : 1
(6) มีคุณสมบัติทางเคมี ดังนี้
         - มีปริมาณอมิโลส ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 13.0 และไม่เกินร้อยละ 18.0 ที่ระดับความชื้นร้อยละ 14.0
         - มีค่าการสลายเมล็ดข้าวในด่าง ระดับ 6-7    
               
        ข้อ 6 ให้กำหนดมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย ประเภท และชนิดข้าวขาว ตามข้อ 3 ไว้ดังต่อไปนี้    
               
          

(1) ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว และระดับการสี ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน ไม่เกิน ร้อยละ 4.0
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป

ข้าวที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 3.0
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกิน 5 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม
ระดับการสี สีดีพิเศษ

(2) ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าวและระดับการสี ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 4.5 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 5.0 ส่วน
และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 0.5 และปลายข้าวขาวซีวัน
ไม่เกินร้อยละ 0.1
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป

ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.2
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 6.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.25
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกิน 7 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.2
ระดับการสี สีดีพิเศษ

(3) ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว และระดับการสี ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 5.0 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 5.0 ส่วน
และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 0.5 และปลายข้าวขาวซีวัน
ไม่เกินร้อยละ 0.1
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป
ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.2
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 6.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.25
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกิน 7 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.2
ระดับการสี สีดีพิเศษ

(4) ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว และระดับการสี ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 7.5 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 7.0 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 3.5 ส่วน
และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 0.5 และปลายข้าวขาวซีวัน
ไม่เกินร้อยละ 0.1
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 7.5 ส่วนขึ้นไป

ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดงและหรือข้าวเมล็ดสีต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.5
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 6.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.25
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกิน 10 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.3
ระดับการสี สีดี

(5) ข้าวขาว 10 เปอร์เซ็นต์
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว และระดับการสี ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 55.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 7.0 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 12.0 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 3.5 ส่วน
และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 0.7 และปลายข้าวขาวซีวัน
ไม่เกินร้อยละ 0.3
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 7.0 ส่วนขึ้นไป

ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดงและหรือข้าวเมล็ดสีต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 7.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.5
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกิน 15 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.4
ระดับการสี สีดี

(6) ข้าวขาว 15 เปอร์เซ็นต์
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว และระดับการสี ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 55.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 3.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 6.5 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 17.0 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 3.0 ส่วน
และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 2.0 และปลายข้าวขาวซีวัน
ไม่เกินร้อยละ 0.5
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 6.5 ส่วนขึ้นไป
ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดงและหรือข้าวเมล็ดสีต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่เกินร้อยละ 5.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 7.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเปลือก ไม่เกิน 15 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.4
ระดับการสี สีดีปานกลาง

(7) ข้าวขาวหักเอวันเลิศพิเศษ
ต้องเป็นข้าวที่ได้จากการสีข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนผสมของ เมล็ดข้าวดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 5.0 ส่วน และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7
ไม่เกินร้อยละ 10.0 นอกนั้นเป็นข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป
ในจำนวนทั้งหมดนี้อาจมีข้าวเต็มเมล็ดได้ไม่เกินร้อยละ 15.0 และ
ปลายข้าวขาวซีวันไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเหนียวขาวไม่เกินร้อยละ 1.5 ในจำนวนนี้อาจมีปลายข้าวเหนียวขาว
ซีวันไม่เกินร้อยละ 0.5
วัตถุอื่นไม่เกินร้อยละ 0.5

(8 ) ข้าวขาวหักเอวันเลิศ
ต้องเป็นข้าวที่ได้จากการสีข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์
และข้าวขาว 10 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนผสมของเมล็ดข้าวดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 6.5 ส่วน และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ทั้งจำนวน
ในจำนวนทั้งหมดนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 6.5 ส่วนขึ้นไป
และข้าวเต็มเมล็ดรวมกันไม่เกินร้อยละ 15.0 และปลายข้าวขาวซีวัน
ไม่เกินร้อยละ 5.0
ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเหนียวขาวไม่เกินร้อยละ 1.5 ในจำนวนนี้อาจมีปลายข้าวเหนียวขาว
ซีวันไม่เกินร้อยละ 0.5
วัตถุอื่นไม่เกินร้อยละ 0.5    
               
        ข้อ 7 ให้กำหนดมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย ประเภท และชนิดข้าวกล้อง ตามข้อ 4 ไว้ดังต่อไปนี้    
          

(1) ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 4.0
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป
ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดง ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.5
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 3.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.5
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกินร้อยละ 0.5
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 3.0

(2) ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 4.5
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป
ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดง ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.75
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 6.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.75
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 5.0

(3) ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 5.0
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป

ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดง ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.75
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 6.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.75
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 5.0

(4) ข้าวกล้อง 5 เปอร์เซ็นต์
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 7.5 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 7.0
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 7.5 ส่วนขึ้นไป

ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดง ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 6.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 6.0

(5) ข้าวกล้อง 10 เปอร์เซ็นต์
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 7.0 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 12.0
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 7.0 ส่วนขึ้นไป

ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดง ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 7.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเปลือก ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 7.0

(6) ข้าวกล้อง 15 เปอร์เซ็นต์
ต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว ดังนี้
ส่วนผสม ประกอบด้วย
ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65.0
ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 3.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 6.5 ส่วน
ไม่เกินร้อยละ 17.0
นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 6.5 ส่วนขึ้นไป

ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้
ข้าวเมล็ดแดง ไม่เกินร้อยละ 5.0
ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 1.0
ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 7.0
ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 1.5
ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 2.5
ข้าวเปลือก ไม่เกินร้อยละ 2.0
ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 8.0
   
               
        ข้อ 8    
          ในกรณีที่มีการซื้อขายสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตามตัวอย่าง หรือมีเงื่อนไขคุณภาพไม่เป็นไปตามประเภท และหรือชนิดของสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยที่กำหนดไว้ในข้อ 6 และข้อ 7 สินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยนั้น จะ ต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าตัวอย่างหรือข้อกำหนดที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันไว้ และต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานมาตรฐานสินค้า

   
        ข้อ 9    
          การวินิจฉัยเกี่ยวกับมาตรฐานหรือคุณภาพของสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย ให้ถือผลการตรวจสอบและวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยของ หน่วยงานที่สำนักงานมาตรฐานสินค้ามอบหมาย หรือของผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้านั้น เป็นเกณฑ์

ในกรณีที่มีปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับผลการวินิจฉัย ให้ถือผลการตรวจสอบและวิเคราะห์ตัวอย่างของหน่วยงานที่สำนักงานมาตรฐาน สินค้ามอบหมายแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแต่กรณีเป็นที่สุด    
               
        ข้อ 10    
          ในกรณีส่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยออกโดยบรรจุกระสอบหรือภาชนะบรรจุอื่นใด ให้ผู้ทำการค้าขาออกแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุที่ใช้บรรจุหุ้มห่อ ตลอดจนการเย็บ ปิดผนึก ไว้ในคำร้องขอให้ออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าด้วย
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
ตุ๋ย 22
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2522
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 20,173

« ตอบ #33486 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 20:11:36 »

โอย   ตาลายเลยครับพี่เจียม
      บันทึกการเข้า

น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« ตอบ #33487 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 20:19:03 »

ผมก็เพิ่งจะรู้เหมือนกันว่า เรื่องข้าวมีรายละเอียดมากขนาดนี้
สงสัยแต่ว่า คนปลูกจะรู้มั้ยเนี่ย ว่าข้าวของเขาจะถูกจัดเป็นประเภทใด

งงจริงๆ เรื่องการแบ่งแบบนี้ ทำแล้วได้อะไรแก่ชาวนาบ้างนะ....
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
ตี้ถาปัด
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: สถาปัตยกรรมศาสตร์
กระทู้: 10,337

« ตอบ #33488 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 21:19:04 »

โอย..ไม่น่าถามตามพี่ปี๊ดเลย พี่เจียมให้มายาวเหยียด
แบบนี้ผมคงต้องตั้งสติและปรับสายตาสักสองวันนะครับ เข็ดเลยเรา งำ่ งำ่
      บันทึกการเข้า

2437041
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #33489 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 22:02:25 »

ขอบคุณครับ น้องเจียม สุดยอดโคตรข้าว จริงๆ อ่านแล้วก็ ยังไม่เข้าใจ ขอเวลา หาเหตุ ที่ทำให้เกิดคุณภาพหลัง
                   การหุงต้ม และคุณภาพที่ได้ ที่ไปสอดคล้องกับราคา ( ตูชักจะงง ) แล้วชาวนาจะรู้เรื่องไหมเนีย?
      บันทึกการเข้า
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #33490 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 22:13:58 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 21 ธันวาคม 2553, 16:33:50
อ้างถึง
ข้อความของ wannee เมื่อ 21 ธันวาคม 2553, 15:01:26
อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 21:06:14
อ้างถึง
ข้อความของ wannee เมื่อ 20 ธันวาคม 2553, 14:33:09
สวัสดีค่ะ น้องหยี   

ขอกลับไปอ่านย้อนหลังนะคะ  ปิ๊งๆ

พี่เสียดคะ ..

เหตุเกิด ณ งาน dinner งานหนึ่ง
นำมาซึ่งข้อมูลเรื่องข้าวหอมมะลิไทยค่ะ



อ่านตอนหนึ่งของ dinner ที่ว่า ห้ามหลุด หรือรั่ว ในวงการนี้  .... น่ากัวอ่ะ

พี่เองก็ชอบแบบเราชาวหอ  เพราะคำว่าซีมะโด่ง ทำให้เราใกล้กัน หนักนิด เบาหน่อย พอไหว

วงการนี้.... ถ้า หลุดหรือรั่ว ก็มีสิทธิ์ถูกนินทาข้ามประเทศอ่ะครับ.

กับพี่น้องเราชาวหอไม่เป็นไร.......ไม่ให้พูดเราก็ไม่พูด ให้ลบรูปทิ้งเราก็ลบ........5..5..5. 


น้องแหลมเป็น เด็กดี  5 5 5

      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #33491 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 22:17:02 »

อ้างถึง
ข้อความของ ตี้ถาปัด เมื่อ 21 ธันวาคม 2553, 21:19:04
โอย..ไม่น่าถามตามพี่ปี๊ดเลย พี่เจียมให้มายาวเหยียด
แบบนี้ผมคงต้องตั้งสติและปรับสายตาสักสองวันนะครับ เข็ดเลยเรา งำ่ งำ่


พี่ก็ว่าจะถามตามเป็นคนที่สามแล้ว  หงุ หงิ  หงุ หงิ
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #33492 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 22:23:56 »


นี่ยังดีนะครับที่มีข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์แค่ 3 ชั้น
ตอนเขาแบ่งประเภทข้าว..ตอนนั้นยังไม่นิยมคอนโดฯ

ถ้าแบ่งประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์สมัยนี้ละก็
ประเภทของข้าวคงมีหลายชั้นนะครับ
ยิ่งถ้าข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ติดรถไฟฟ้า

 ก็จะเรียกว่า..ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นชั้น 38

เต็มจอละครับพี่น้อง

      บันทึกการเข้า
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #33493 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 23:08:24 »

สวัสดีค่ะแม่ยอดยาหยี....อากาศหนาวไหมจ๊ะ....
      บันทึกการเข้า
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #33494 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 07:23:53 »

คืนนี้ยามอาทิตย์อัสดง..Pola Pola นะครับพี่น้อง

พี่น้องท่านใด..ยังไม่ได้ตกลงใจ..ก็ขอให้ไป
พี่น้องท่านใด..ตกลงใจแล้ว..ก็ขอให้ไป
พี่น้องท่านใด..เพิ่งทราบ..ก็ขอให้ไป
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #33495 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 08:01:31 »

อ้างถึง
ข้อความของ YA เมื่อ 21 ธันวาคม 2553, 22:23:56

นี่ยังดีนะครับที่มีข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์แค่ 3 ชั้น
ตอนเขาแบ่งประเภทข้าว..ตอนนั้นยังไม่นิยมคอนโดฯ

ถ้าแบ่งประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์สมัยนี้ละก็
ประเภทของข้าวคงมีหลายชั้นนะครับ
ยิ่งถ้าข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ติดรถไฟฟ้า

 ก็จะเรียกว่า..ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นชั้น 38

เต็มจอละครับพี่น้อง



   อารมณ์ขันอันร้ายกาจ....555.....
   ก็ต้องขอบคุณที่พี่เจียมเสาะหามาให้อ่านทันใจ....ขนาดเราๆ ยังอ่านไม่รู้เรื่องเลยพี่...
   ชาวนาจะรู้เรื่องขนาดไหน คงพอเดากันได้.... เหอๆๆ เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #33496 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 09:32:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ jeam เมื่อ 21 ธันวาคม 2553, 20:19:03
ผมก็เพิ่งจะรู้เหมือนกันว่า เรื่องข้าวมีรายละเอียดมากขนาดนี้
สงสัยแต่ว่า คนปลูกจะรู้มั้ยเนี่ย ว่าข้าวของเขาจะถูกจัดเป็นประเภทใด

งงจริงๆ เรื่องการแบ่งแบบนี้ ทำแล้วได้อะไรแก่ชาวนาบ้างนะ....

เกษตรกรชาวนาไม่มีใครทราบหรอกครับว่า เพราะไม่เคยเรียนจากโรงเรียนที่ไหน ชาวนาเป็นชาวนาสืบต่อกันมา
สอนแต่วิธีปลูก วิธีเก็บเกี่ยว ซึ่งนับวันก็จพเปลี่ยนแปลงไป เพราะมีเครื่องจักรเข้ามาแทนที่
เขาไม่ทราบหรอกครับว่า ข้าวแต่ละพันธุ์เป็นอย่างไร ให้ผลผลิตต่อไร่เป็นจำนวนเท่าใด เขาปลูกตามคำร่ำลือว่าพันธุ์นั้นดี น่าปลูก
ข้าราชการกระทรวงเกษตร เช่นกรมส่งเสริมการเกษตร ก็ไม่เคยให้ความรู้เรื่องนี้กับชาวนา เพราะอาจไม่รู้จริง
ผู้รู้ที่สุดเรื่องข้าวคือ โรงสี ซึ่งเป็นผู้รับซื้อและแปรรูปข้าว จึงเป็นผู้ควบคุมการตลาดของข้าวไว้แต่เพียงผู้เดียว


ปัจจุบันมีโรงเรียนชาวนาเกิดขึ้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อรับชาวนากลับเข้มาเรียนรู้การเพาะปลูกแบบใหม่ๆ
แต่ก็รับได้จำนวนจำกัดมาก และมีจำนวนมากเชื่อว่าตัวเองเก่งแล้ว ไม่เข้าไปศึกษาเพิ่มเติม
โดยใช้พื้นความรู้เดิมๆ


สำหรับผู้ที่จบวิทยาลัยเกษตรกรรม ก็ไม่อยากกลับไปทำนา ทำไร่ ทำสวน เพราะตำแหน่งราชการในส่วนนี้ว่างพอสมควร จึงกลายเป็น ผู้รู้ไม่ได้นำไปใช้ ผู้ใช้กลับไม่ค่อยจะรู้จริง ซะอย่างนั้นไป
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #33497 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 09:34:39 »

ชาวนาประเทศญี่ปุ่น เป็นชาวนาที่ทันสมัยที่สุด
มีองค์ความรู้ มีการศึกษาต่อยอด
ขนาดเครื่องมือวัดความชื้น ยี่ห้อ Kett ซึ่งใช้วัดความชื้นของข้าวทั่วโลก ผลิดโดยญี่ปุ่น
ซึ่งวิจัยร่วมกับสมาคมชาวนาของญี่ปุ่น จนรัฐบาลญี่ปุ่นให้การรับรอง


 

เพิ่มเติมครับ

รวมถึงรถไถ Kubota ที่กำลังโฆษณากันเกรียวกราวในประเทศไทยขณะนี้
ซึ่งบริษัทผู้สร้างในญี่ปุ่น รวมพัฒนากับเกษตรกรชาวนาของญี่ปุ่น พัฒนารถไถนา 1 คัน ให้ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้จนเกือบทุกชนิด
ด้วยการใช้เครื่องยนต์ที่ซ่อมแซมง่ายที่สุด อะหลั่ยหาได้ง่าย ติดตั้งหรือถอดประกอบง่าย ไม่เหมือนรถไถของยุโรปและอเมริกา
Kubota แทบจะครองตลาดเพาะปลูกไปทั่วโลก











ด้วยเครื่องยนตืพื้นฐานแบบที่เห็น สามารถใช้ในเครื่องมือต่างๆได้เกือบทุกชนิดของ Kubota น่าเชื่อไหม ??

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #33498 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 09:43:55 »

รองจากประเทศญี่ปุ่นคือ ชาวนาไต้หวัน
ชาวนาที่รวมตัวกันซื้อรถปักดำข้าว, รถเกี่ยวข้าว รวมไปถึงมีโรงสีข้าวเอง เพื่อสีข้าวขายให้ชุมชนรอบข้าง

ปัญหาคือ เกษตรกรชาวนาต้องมีสติ คิดเองได้ รวมทั้งรัฐบาลเข้าไปส่งเสริมให้รวมตัวและพัฒนา
แต่ความเป็นจริง รัฐบาลไม่เคยส่งเสริมอย่างจริงจัง เช่นในครั้งนี้ตั้งงบกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงคิดถึงชาวนา
รัฐบาลมีงบไทยเข้มแข็ง สร้างโรงสีข้าวให้ชาวนาตำบลละ 1 เครื่อง ในขณะทีี่ชาวนาสีข้าวไม่เป็น ??
ดูเนื้อข้าวไม่ออก ไม่ทราบว่าข้าวเปลือกที่อยู่ต่อหน้าตัวเองเป็นข้าวพันธุ์อะไร !! ??
โรงสีที่สร้างให้จึงกลายเป็นเศษเหล็กกองไว้ ใช้งานไม่เป็นไป ณ บัดดล

คุณบุญชู เจ้าของ"เงินผัน" สมัยหม่อมคึกฤทธิ์ สร้างสาธารณูปการอย่างง่ายให้ชาวนาคือ ลานตากข้าว
ทุกคนได้ใช้ ด้วยการนำข้าวไปตากให้แห้ง เพื่อเก็บหรือขาย จะได้ราคาดีขึ้น
รัฐบาลนี้ให้โรงสี แต่ข้าวของชาวนาเปียกจากการเก็บเกี่ยว แถบไม่มีคนเป็นเรื่องการสีข้าว จบ.เอวังด้วยประการฉะนี้แล
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #33499 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 09:45:46 »

ประเทศที่ปลูกข้าวเพียงเพื่อให้พอบริโภคในประเทศ และส่งออกไปเฉพาะประเทศที่มีชาวญี่ปุ่นอยู่เท่านั้น
ชาวนาสามารถร่วมคิดค้นเครื่องมือเพื่อใช้ในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ควบคุมคุณภาพ ออกขายทั่วโลก
ในขณะที่ชาวนาไทยปลูกเพื่อกินและขายไปทั่วโลกเป็นลำดับที่ 1 กลับไม่มีศักยภาพใดๆ นอกจากเป็นหนี้
เพื่อให้นายทุนทั้งหลายยึดที่ดินไป ต้องขายแรงงานแทนการทำนา เป็นคนไม่มีบ้านเป็นของตัวเองสืบไป


อ่านจบ....กรวดน้ำให้ชาวนาไทยด้วยครับ

ให้ไปที่ชอบ..ที่ชอบ อย่ามาเกิดในประเทศไทยเลย ลำบากลำบนจริงๆ ??
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 1338 1339 [1340] 1341 1342 ... 1883   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><