04 กรกฎาคม 2567, 10:30:53
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 1646 1647 [1648] 1649 1650 ... 1883   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ◄◄◄ << เมียงู >>►►► .. Life is Beautiful ..  (อ่าน 7191289 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 60 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #41175 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 10:29:25 »


...เลื่อนเคอร์เซอร์ไปดูภาพข้างบน...

...แล้วต้องรีบเลื่อนลงมาค่ะ...

...ลายแบบนี้พี่ตู่กลั๊วกลัวค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #41176 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 19:26:11 »


สวัสดียามค่ำครับ... น้องหยี..พี่ตู่..พี่ปี๊ด..พี่หนุน..น้องน้ำอ้อย..น้องยา..น้อง'จารย์โอ และพี่น้องทุกท่าน
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #41177 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 19:30:59 »


เก็บสถิติไว้ให้...

เป็นหนึ่งในตัวชี้วัด PRODUCTIVE ครับ 

....HA ....HA ....HA



      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #41178 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 19:38:32 »


จะมีอะไร หลงหู ลอดตา เหยี่่ยวข่าวคนนี้ไปได้มั๊ยครับนี่
แต่ว่ายังไงห้องนี้ก็...PRODUCTIVE...ที่สุดของพวกเราอยู่แล้วครับ
น้องเสี่ยนี่ ไวต่อสถิติจริงๆ ฮ่า ฮ่า


 sing sorry รักนะ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #41179 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 19:45:07 »

อ้างถึง
ข้อความของ หนุน'21 เมื่อ 08 เมษายน 2555, 19:38:32

จะมีอะไร หลงหู ลอดตา เหยี่่ยวข่าวคนนี้ไปได้มั๊ยครับนี่
แต่ว่ายังไงห้องนี้ก็...PRODUCTIVE...ที่สุดของพวกเราอยู่แล้วครับ
น้องเสี่ยนี่ ไวต่อสถิติจริงๆ ฮ่า ฮ่า


 sing sorry รักนะ

สถิติระดับนี้...

ในเวลานี้.. มีแต่ห้องพี่หนุนกับห้องน้องหยีเท่านั้น ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #41180 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 19:55:36 »

500 ปี ไทย-โปรตุเกส
เดิมอ่านจาก "ศิลปวัฒนธรรม" ซึ่งยาวมาก เป็นของ อจ.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ และไม่คาดว่าจะมีในเว็ป
ขอนำมาลงไว้เป็นที่ระลึก อ่านสนุกครับ


นิธิ เอียวศรีวงศ์ : โปรตุเกส - การเดินเรือ, เครื่องเทศ, และศรัทธา (1)
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 21:00:00 น.


บทความเรื่อง “โปรตุเกส - การเดินเรือ, เครื่องเทศ, และศรัทธา”  ที่กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม นำมาลงพิมพ์นี้ เป็นเอกสารประกอบการปาฐกถาพิเศษที่ท่านผู้เขียน ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นำเสนอในการสัมมนานานาชาติ “๕๐๐ ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศกับโปรตุเกส และชาติตะวันตกในอุษาคเนย์ ๒๐๕๔-๒๕๕๔” ซึ่งจัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖-๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ณ หอประชุมใหญ่ อาคาร ๑๐๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                                                                                                                               

กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม

-----


โปรตุเกสเป็นประเทศเล็กนิดเดียวในยุโรป ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ประชากรโปรตุเกสมีไม่เกิน ๑ ล้าน ๕ แสนคน ในบางช่วงเช่นครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ จำนวนประชากรกลับลดลง ความเล็กของโปรตุเกสนี้เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะอธิบายการกระทำหรือไม่กระทำของโปรตุเกสในเอเชียได้ดี ทั้งโปรตุเกสไม่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจที่สำคัญในทวีป เมื่อเปรียบเทียบกับสเปน ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า โปรตุเกสเป็นหนึ่งในดินแดน “ชายขอบ” ของยุโรป แต่โปรตุเกสกระทำสิ่งที่น่าอัศจรรย์คือสามารถสร้างจักรวรรดิยิ่งใหญ่ ที่แผ่ปกคลุมไปทั่วโลก มีเมืองป้อมบนเส้นทางการค้าระหว่างเอเชียและยุโรป นับตั้งแต่หมู่เกาะชายฝั่งทวีปแอฟริกาด้านตะวันตก และบนทวีปตามแถบชายฝั่ง มาจนถึงชายฝั่งมะละบาร์ของอินเดีย มะละกา หมู่เกาะเครื่องเทศ และมาเก๊าในจีน โดยยึดเมืองท่าสำคัญบนเส้นทางเดินเรือไว้ได้ตลอดแนว ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โปรตุเกสยังมีอาณานิคมขนาดใหญ่ในอเมริกาใต้ จนโปรตุเกสได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิที่ลอยอยู่ในทะเล เพราะอำนาจที่สามารถควบคุมเมืองท่าและอาณานิคมเหล่านี้ไว้ในจักรวรรดิ ไม่ได้มาจากกองกำลังภาคพื้นดิน เนื่องจากโปรตุเกสเล็กเกินกว่าจะมีกำลังควบคุมอาณานิคมขนาดใหญ่บนภาคพื้นทวีปได้ แต่มาจากกำลังของกองเรือและป้อมปราการที่ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันตนเองในเมืองท่าเหล่านั้น อำนาจที่แท้จริงของโปรตุเกสจึงอยู่ในน้ำ มากกว่าอยู่บนบก
 

กล่าวกันว่าปัจจัยสำคัญ ๓ ประการที่ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการสร้างจักรวรรดิลอยน้ำนี้ได้ ก็คือการเดินเรือ เครื่องเทศ และศรัทธา อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการมองการผจญภัยครั้งใหญ่ของโปรตุเกสจากปัจจุบัน เพราะปัจจัยทั้งสามนั้น ไม่อาจแยกออกจากกันได้ในสมัยนั้น ส่วนหนึ่งของการเดินเรือไปต่างแดนก็เป็นจิตวิญญาณที่สืบทอดมาจากการต่อสู้ขับไล่มุสลิม การได้ประสบความมั่งคั่งจากการเผยแผ่ศาสนาก็เป็นรางวัลที่พระผู้เป็นเจ้ามอบให้แก่ผู้ศรัทธา
 

โปรตุเกสรับมรดกการเดินเรือทะเล - ทั้งความรู้และประสบการณ์ - จากอาหรับ นักเดินเรือในเมืองท่าของอิตาลีและรัฐในสเปน แต่โปรตุเกสก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ามากขึ้น เพราะทะเลที่โปรตุเกสต้องเผชิญไม่ใช่ทะเลกลางแผ่นดินอย่างเมดิเตอร์เรเนียน หากเป็นมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก อีกทั้งยังไม่ใช่การเดินเรือเลียบชายฝั่งเพียงอย่างเดียว โปรตุเกสได้พัฒนาเทคโนโลยีการเดินเรือให้ก้าวหน้าไปกว่าชาติอื่นในยุโรป เช่น สร้างเรือเดินสมุทรที่เพรียวขึ้นทำให้คล่องตัวกว่าเรือที่ใช้อยู่ ในขณะนั้นยุโรปสามารถคำนวณเส้นรุ้งได้แม่นยำแล้ว โปรตุเกสสร้างเครื่องมือที่ทำให้นักเดินเรือรู้ตำแหน่งของตนในเส้นรุ้งได้ ซ้ำเครื่องมือนั้นยังสามารถประเมินเส้นแวงได้อย่างคร่าวๆ นักเดินเรือโปรตุเกสเป็นหนึ่งในบรรดานักเดินเรือของยุโรปที่ทำให้สามารถรู้แผนที่ฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาได้ดีขึ้น จนในที่สุดนักเดินเรือโปรตุเกสจึงสามารถนำเรือผ่านปลายสุดของทวีปเพื่อเดินทางมาเอเชียได้
 

นับตั้งแต่สมัยที่ Albuquerque เป็นอุปราชประจำเอเชีย (ซึ่งเรียกว่าอินเดียในสมัยนั้น) โปรตุเกสก็วางนโยบายที่แน่ชัดแล้วว่า จะไม่ยึดครองดินแดนขนาดใหญ่ในเอเชีย แต่จะตั้งเมืองป้อมไว้ป้องกันตนเอง หรือในที่ซึ่งเป็นมิตรก็ตั้งโรงสินค้า (Feitorias - Factory) ไว้สำหรับการค้าขาย เมืองป้อมเหล่านี้มีหน้าที่หลักคือการรักษาเส้นทางเดินเรือและปิดกั้นเส้นทางผ่านของเครื่องเทศที่ไม่อยู่ในมือของโปรตุเกส เช่น การยึด Hormutz เมืองท่าปากอ่าวเปอร์เซีย ก็เพื่อปิดมิให้เรืออาหรับที่ลักลอบขนเครื่องเทศสามารถส่งเครื่องเทศผ่านตะวันออกกลางไปสู่ยุโรปได้สะดวก
 

ถึงอย่างไรโปรตุเกสก็ต้องหลีกเลี่ยงการสงครามกับรัฐขนาดใหญ่ เนื่องจากโปรตุเกสเล็กเกินกว่าที่จะทำสงครามกับราชอาณาจักรใหญ่ๆ ของเอเชียได้ อันที่จริงอำนาจทางทหารของโปรตุเกสที่มีเหนือรัฐต่างๆ ในเอเชียคืออำนาจทางเรือ ซึ่งโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่ติดปืนยิงไกลไว้ในกำปั่นของตน อีกทั้งกำปั่นโปรตุเกสยังมีความคล่องตัวกว่าสำเภาที่ใช้ในเอเชียขณะนั้นมาก ทำให้โปรตุเกสสามารถเอาชนะกองเรือทั้งเล็กและใหญ่ของชาวเอเชียได้ตลอดมา แม้แต่กองเรือขนาดใหญ่ของจักรวรรดิโมกุลซึ่งกำลังเรืองอำนาจ ก็ยังต้องพ่ายแพ้แก่กองเรือของโปรตุเกส ไม่สามารถยึดเมืองกัวได้ พันธมิตรของรัฐมลายูไม่สามารถชิงมะละกากลับคืน ทั้งเนื่องจากแพ้กองเรือโปรตุเกสแล้ว ก็ยังแตกร้าวกันเองในเวลาต่อมาด้วย ดังนั้นความเหนือกว่าของโปรตุเกสในเอเชียจึงอยู่ที่กำลังทางเรือโดยแท้


การค้าของโปรตุเกสในเอเชีย
 

สินค้าสำคัญ ๓ อย่างที่ดึงดูดโปรตุเกสมาสู่เอเชียคือเครื่องเทศ ผ้าไหม และหินมีค่า ซึ่งครั้งหนึ่งสินค้าจากเอเชียทั้ง ๓ อย่างนี้ ต้องผ่านมือคนกลางหลายทอด กว่าจะถึงเมืองท่าในตะวันออกกลาง และก็ยังต้องผ่านมือพ่อค้าอาหรับด้วยกันเองอีกหลายทอด กว่าจะถึงมือพ่อค้าไบแซนไทน์ และอิตาเลียนจากเมืองท่าในแหลมอิตาลี (โดยเฉพาะเวนิส) ซึ่งจะกระจายสินค้าไปทั่วยุโรป ฉะนั้นจึงมีราคาแพงมาก แหล่งทุนสำคัญในการสำรวจดินแดนของโปรตุเกสมาจากราชสำนัก ซึ่งก็วางนโยบายเหมือนประเทศอื่นคือสำรวจดินแดนเพื่อหาโภคทรัพย์ (นอกจากเผยแผ่ศาสนา)
 

การแสวงหาดินแดนและการค้าของโปรตุเกสเป็นการลงทุนของราชสำนักเกือบจะฝ่ายเดียวตลอด โดยเฉพาะในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ แตกต่างจากฮอลันดาและอังกฤษซึ่งใช้วิธีระดมทุนจากหลายฝ่ายมาแต่ต้น เหตุดังนั้นโปรตุเกสจึงมีทุนจำกัดกว่าชาติคู่แข่งทั้งหลายมาก นับตั้งแต่เริ่มสำรวจดินแดนในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ กษัตริย์โปรตุเกสกำหนดเป็นนโยบายแล้วว่า กองเรือที่ออกสำรวจดินแดนต้องหากำไรจากการสำรวจดินแดนด้วย เพื่อเป็นทุนสำหรับการสำรวจต่อๆ ไป ในขณะเดียวกันก็มีนโยบายชัดเจนตั้งแต่แรกเข้ามาสู่เอเชียว่า เพื่อไม่ให้กำไรที่ได้จากการค้าหดหายไป โปรตุเกสจะไม่ยึดครองดินแดนขนาดใหญ่ในเอเชีย (เพราะต้นทุนสูงตั้งแต่การยึดครอง การรักษาไว้ และการบริหารจัดการ)
 

อุปราชแห่งเอเชียคนที่ ๒ คือ Albuquerque วางนโยบายของโปรตุเกสในเอเชีย คือการตั้งศูนย์กลางของ “จักรวรรดิเอเชีย” (Estado da India) ไว้ที่เมืองกัว แล้วยกกองเรือมายึดเมืองมะละกาได้ในปี ค.ศ. ๑๕๑๑ (พ.ศ. ๒๐๕๔) มะละกาเป็นเมืองที่รวบรวมสินค้าสำคัญของเอเชียตะวันออกไว้มากมาย โดยเฉพาะเครื่องเทศ ฉะนั้นการยึดมะละกานอกจากทำให้โปรตุเกสเข้าถึงแหล่งเครื่องเทศแล้ว ยังเท่ากับกีดกันคนอื่นมิให้เข้ามาแข่งขันการค้าเครื่องเทศไปพร้อมกัน Albuquerque ทำตามนโยบายของราชสำนัก คือไม่ทำสงครามโดยไม่จำเป็น ฉะนั้นตั้งแต่ก่อนจะยึดมะละกาได้ ก็ได้ส่งทูตไปยังราชอาณาจักรใหญ่ๆ ในอุษาคเนย์ เช่น อยุธยา หงสาวดี ราชอาณาจักรบนเกาะชวา และรัฐมลายูบนเกาะสุมาตรา เปิดทางสำหรับการค้าโดยสันติ (ขอให้สังเกตด้วยว่าหลายรัฐเป็นรัฐสุลต่าน)
 

นอกจากนี้ Albuquerque ยังมองเห็นตั้งแต่ระยะแรกแล้วว่า กำไรที่จะได้จากการค้าในเอเชียนั้น แม้ว่าสินค้าเอเชียโดยเฉพาะเครื่องเทศจะทำเงินได้มากเพียงไร แต่ต้นทุนการเดินทางก็สูงมาก (ทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคมซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้า) ฉะนั้นการค้าของโปรตุเกสในเอเชียจะทำกำไรต่อไปได้ ก็ต้องให้ความสำคัญแก่การค้าระหว่างเอเชียด้วยกันเอง กล่าวคือนำสินค้าจากประเทศหนึ่งในเอเชียไปขายอีกประเทศหนึ่ง สินค้าเอเชียนี้เองที่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งโปรตุเกสใช้ในการแลกเปลี่ยนกับเครื่องเทศซึ่งจะนำไปยุโรป
 

ราชสำนักโปรตุเกสได้ตั้ง Casa da India (กรมอินเดีย) ขึ้นรับผิดชอบการค้าในเอเชีย กรมนี้จัดกองเรือติดอาวุธสำหรับทำการค้า (ซึ่งแยกไม่ออกจากการทหารและการเผยแผ่ศาสนา) เรียกว่า Carreira da India กองเรือดังกล่าวจะออกเดินทางจากลิสบอนประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน และมาถึงอินเดียประมาณกันยายน-ตุลาคม เมื่อขนสินค้าได้เต็มแล้ว ก็จะออกเดินทางกลับประมาณช่วงคริสต์มาส และมาถึงลิสบอนในฤดูร้อน กองเรือดังกล่าวนี้ทำผลกำไรให้มหาศาล โดยเฉพาะจากเครื่องเทศ หลักฐานบางแห่งกล่าวว่าเรือบรรทุกเครื่องเทศในระยะแรกๆ ทำกำไรได้ถึง ๕,๐๐๐% ถึงจะดูมากเกินจริงไปบ้าง แต่เฉพาะในปี ค.ศ. ๑๕๑๐ เพียงปีเดียว ราชสำนักก็ได้กำไรจากเครื่องเทศเพียงอย่างเดียวถึงปีละ ๑ ล้าน Cruzados (จนทำให้กษัตริย์ฝรั่งเศสเรียกกษัตริย์โปรตุเกสในช่วงนั้นว่า “ราชาโชห่วย”) เพียงเวลาไม่นานหลังจากนั้น เครื่องเทศที่โปรตุเกสขนไปยุโรป ก็เป็นผลให้ราคาเครื่องเทศในยุโรปตกต่ำลงและปริมาณของเครื่องเทศที่ผ่านเมืองเวนิสลดลงจนหมดความสำคัญ
 

Casa da India ผูกขาดเครื่องเทศ ๓ อย่าง คือ พริกไทย กานพลู และอบเชย ส่วนสินค้าอื่นนั้น แม้ไม่ได้ผูกขาด Casa da India ก็เรียกส่วนแบ่งกำไรจากพ่อค้า ๓๐% นอกจากนี้ Casa da India ยังถือว่าการเดินเรือค้าขายบนเส้นทางเดินเรือในทะเลจีนตอนใต้กับมหาสมุทรอินเดียซึ่งโปรตุเกสครอบงำอยู่นั้น ต้องกระทำภายใต้การอนุมัติของโปรตุเกส มิฉะนั้นหากกองเรือโปรตุเกสพบเห็นก็อาจเข้าปล้นสะดมได้ โปรตุเกสจึงขายใบอนุญาตให้แก่เรือพ่อค้าอื่นๆ ที่เดินเรืออยู่ในเขตนี้ เพื่อแสดงให้กองเรือโปรตุเกสซึ่งคอยตรวจตรายกเว้นการปล้นสะดมได้ ดังนั้นการทหาร การค้า และการเผยแผ่ศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันสำหรับโปรตุเกส และเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่เริ่มแรกการสำรวจดินแดน
 

นอกจากนี้นโยบายผูกขาดเครื่องเทศของ Casa da India ยังเป็นเหตุให้กองเรือโปรตุเกสต้องคอยควบคุมเส้นทางผ่านของเครื่องเทศที่ไม่อยู่ในมือของโปรตุเกสด้วย เช่น เรือของอาหรับ-อินเดีย หรือของชาวอุษาคเนย์ซึ่งค้าขายกับหมู่เกาะเครื่องเทศ และนำเครื่องเทศไปขายยังแหล่งอื่นนอกมะละกา ซึ่งเคยทำมานานแล้ว ก็ยังดำเนินไปเป็นปรกติ กองเรือโปรตุเกสต้องคอยปราบปรามอยู่เสมอ กลายเป็นต้นทุนทางการค้าในเอเชียของโปรตุเกสอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นภาระอย่างหนักแก่เศรษฐกิจและสังคมของโปรตุเกสเอง เพราะมีขนาดเล็กดังที่กล่าวแล้ว
 

ดังที่กล่าวแล้วว่า วิสาหกิจค้าแดนไกลของโปรตุเกสเป็นการลงทุนและการแสวงหากำไรของราชสำนัก แม้ว่านายทุนชาวยิวอาจให้เงินยืม แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะเข้าร่วมการค้าโดยตรงมากนัก นโยบายของราชสำนักโปรตุเกสไม่ดึงทุนและพ่อค้าต่างชาติเข้ามาร่วมในกิจการ ทำให้ทุนสำหรับการบุกเบิกค้าขายมีจำกัด


ผลกำไรมหาศาลที่ได้จากการค้าถูกนำไปใช้เพื่อบำรุงบำเรอราชสำนักอย่างฟูมฟาย ในขณะเดียวกันกษัตริย์โปรตุเกสก็ยังใช้เงินที่ได้มานี้ เพื่อ “ซื้อ” ความจงรักภักดีของเหล่าชนชั้นสูง เพื่อรวบอำนาจเข้าศูนย์กลางให้กระชับยิ่งขึ้น ฉะนั้นจำนวนของข้าราชการที่สังกัดกับราชสำนักจึงเพิ่มสูงขึ้นตลอดมา พร้อมกันไปกับการเพิ่มขึ้นของพระราชอำนาจ การใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อฟูมฟายจึงเป็นสมบัติของชนชั้นสูงที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักร่วมกัน กำไรที่ได้จึงไม่ได้ถูกนำมาลงทุนด้านเศรษฐกิจ ไม่กระจายไปสู่คนชั้นกลางที่จะขยายหรือพัฒนาการผลิตของตนเอง
 

แม้แต่การกระจายสินค้าเครื่องเทศที่ทำเงินมหาศาลให้โปรตุเกสเอง ตลอดสมัยสั้นๆ ที่เครื่องเทศทำกำไรให้ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ก็ไม่มีการสร้างเครือข่ายทางการค้าเพื่อกระจายสินค้าไปสู่ตลาดในยุโรป อันจะทำให้กำไรที่ได้จากการค้าเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงต้องขายเครื่องเทศที่นำมาจากเอเชียในลักษณะขายส่งให้แก่พ่อค้าจากอิตาลีและเยอรมนี ซึ่งนำเรือมาซื้อที่ลิสบอน และพ่อค้าเหล่านี้ทำกำไรจากเครื่องเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าโปรตุเกส โดยไม่ต้องลงทุนเดินทางมามาเลเซีย หรือรบราฆ่าฟันกับใครเลย
 

โปรตุเกสไม่มีสินค้าที่จะขายแก่เอเชีย นอกจากปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ (อันเป็นเทคโนโลยีที่ชาวเอเชียสามารถเรียนรู้ - แม้จากชาวโปรตุเกสเอง - ที่จะผลิตเองได้ไม่นาน) จึงต้องใช้เงินก้อนแลกกับเครื่องเทศหรือสินค้าอื่นๆ ในระยะแรกได้เงินก้อนเหล่านี้จากอาณานิคมของตนในแอฟริกา และในเวลาต่อมาก็ได้จากอาณานิคมของสเปนในละตินอเมริกา มิฉะนั้นก็ใช้สินค้าเอเชียที่ได้จากเมืองท่าต่างๆ แลก ดังที่ได้กล่าวแล้ว
 

ดังนั้นเรือที่ออกจากลิสบอนมาเอเชีย จึงไม่มีสินค้าอื่นใดบรรทุกนอกจากคนและอับเฉา ในทางตรงกันข้าม เรือที่เดินทางกลับจากกัวสู่ลิสบอน กลับบรรทุกสินค้าจนเพียบแปล้ ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ โปรตุเกสสร้างกำปั่นขนาดใหญ่ที่มีถึง ๔ ชั้น ปรากฏว่าบรรทุกสินค้าจนเต็ม รวมทั้งห้อยถุงสินค้าไว้ที่กราบเรือทั้ง ๒ ข้างจนเรือปริ่มน้ำตั้งแต่ยังไม่ออกจากท่า ผลก็คือสถิติเรือสินค้าโปรตุเกสอับปางมีสูงกว่าทุกประเทศในยุโรป ทั้งด้วยปัจจัยที่ได้กล่าวนี้และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้า
 

ความมั่งคั่งจากการค้าของโปรตุเกส จึงไม่ค่อยมีผลต่อสังคมโปรตุเกสเอง การค้าผูกขาดแบบทหารไม่ทำให้เกิดกระฎุมพีอิสระขึ้นในเศรษฐกิจและสังคมโปรตุเกส ได้แต่ทำให้เกิดชีวิตฟูมฟายในหมู่ชนชั้นสูงในสังคมซึ่งยังเป็นกึ่งสมัยกลางอยู่เท่านั้น
 

กำไรมหาศาลที่โปรตุเกสได้จากการค้าเครื่องเทศนั้นมีระยะเวลาอันสั้นเพียง ๓ ทศวรรษ (ประมาณปี ค.ศ.  ๑๕๑๐-๔๐) โปรตุเกสไม่สามารถปิดกั้นการค้าเครื่องเทศของชาวอุษาคเนย์และอาหรับ-อินเดียได้อย่างที่มุ่งหวัง เมื่อยึดมะละกาได้ แหล่งค้าเครื่องเทศ (และสินค้าเอเชียอื่นๆ) ก็กระจายไปตามเมืองท่าต่างๆ ในอุษาคเนย์เพิ่มมากขึ้น มะละกาไม่ใช่ปากขวดที่สำคัญของเครื่องเทศอย่างที่เคยเป็นมา การใช้กำลังทางเรือเที่ยวปราบและกีดกันการไหลของเครื่องเทศ ยิ่งทำให้โปรตุเกสมีศัตรูในหมู่พ่อค้าอินเดีย-อาหรับเพิ่มขึ้น และยิ่งทำให้ต้นทุนในการผูกขาดเครื่องเทศสูงขึ้นตลอดมา ดังนั้นจึงมีเครื่องเทศที่ไม่ได้ผ่านมือโปรตุเกสในตลาดยุโรปปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยไหลไปยังเมืองท่าอาหรับในตะวันออกกลางอย่างที่เคยเป็นมาก่อนโปรตุเกสจะเดินเรือถึงเอเชีย ส่วนพ่อค้าเครื่องเทศในอิตาลีซึ่งซบเซาลงในระยะแรก ก็สามารถกลับมารับสินค้าจากเมืองท่าในตะวันออกกลางได้อีก เครื่องเทศที่ไหลเข้ายุโรปผ่านตะวันออกกลางมีสูงขึ้นจนในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ก็มีปริมาณเท่ากับที่โปรตุเกสนำมาจากเอเชียโดยตรง ราคาของเครื่องเทศในยุโรปลดต่ำลงอย่างมาก ในขณะที่ต้นทุนในการผูกขาดเครื่องเทศซึ่งล้มเหลวของโปรตุเกสกลับเพิ่มสูงขึ้น และดังที่กล่าวแล้วว่าโปรตุเกสไม่มีเครือข่ายการค้าที่กว้างขวางเท่าพ่อค้าอิตาลีและเยอรมัน จึงต้องขายเหมาเครื่องเทศของตนในราคาที่บางครั้งก็ขาดทุนให้แก่พ่อค้าเครื่องเทศจากอิตาลีและเยอรมัน
 

ดังนั้น นับตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา การค้าระหว่างประเทศในเอเชียกลับมีความสำคัญแก่โปรตุเกสเสียยิ่งกว่าการผูกขาดเครื่องเทศ หรือการค้าระหว่างเอเชียและยุโรป ซึ่งแทบจะไม่ให้ผลกำไรสักเท่าไร แหล่งรายได้สำคัญของโปรตุเกสในเอเชียมาจากการค้าผ้าจากอินเดีย นำไปขายยังเมืองท่าต่างๆ ของเอเชีย โดยภาพรวมแล้ว ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ โปรตุเกสก็รู้แล้วว่า การค้ากับเอเชียไม่ให้ผลกำไร และไม่มีความสำคัญแก่ตนเอง ผลประโยชน์ที่แท้จริงอยู่ที่มหาสมุทรแอต¬แลนติกและบราซิลต่างหาก ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ Casa da India ประสบการขาดทุนเสียจนไม่มีเงินจ่ายหนี้ และในช่วงนี้เองที่โปรตุเกสยอมให้ทุนและพ่อค้าต่างชาติเข้ามาร่วมในการค้ากับเอเชีย แต่ก็มีปริมาณไม่เกิน ๑ ใน ๓ ของการค้ากับเอเชียทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการบริหารงานที่ดีกว่าทำให้พ่อค้าต่างชาติที่มาลงทุนเหล่านี้ทำกำไร และขนสินค้าเอเชียกลับยุโรปได้มากกว่าธุรกิจของอภิชนโปรตุเกสเองเสียอีก
 

การค้ากับเอเชียซึ่งให้ผลกำไรมหาศาลก็แต่ในช่วงเวลาสั้นๆ และลดน้อยถอยลงไปตลอดคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ นี้ โปรตุเกสต้องลงทุนสูงมาก ประมาณกันว่าตลอดช่วงปี ค.ศ. ๑๕๐๐-๔๙ โปรตุเกสไม่เคยมีกำปั่นมากไปกว่า ๓๐๐ ลำใน ๕๐ ปีนี้ แต่ปินโตประเมินว่า โปรตุเกสส่งเรือมาเอเชียในช่วงนี้ถึง ๔๗๒ เที่ยว (แต่ละลำเดินทางหลายเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ยังต้องมีกำปั่นอีกหลายลำใน ๓๐๐ ลำนี้ที่เดินทางไปค้าขาย ทำสงคราม และยึดครองในแอฟริกา หมู่เกาะในแอตแลนติก และละตินอเมริกา) ฉะนั้นกำปั่นที่เดินทางมาเอเชียจึงถูกใช้งานอย่างหนัก ในช่วงนี้ชนชั้นสูงโปรตุเกสมุ่งแต่จะตักตวงกำไรจากเอเชีย จึงได้สร้างกำปั่นขนาดใหญ่ ๔ ชั้นซึ่งสามารถบรรทุกคนได้ ๕๐๐-๖๐๐ คน จำนวนคนโปรตุเกสที่กำปั่นบรรทุกมาเอเชียในช่วงนี้จึงมีถึง ๑๘๐,๐๐๐ คน แต่เนื่องจากอนามัยบนเรือในสมัยนั้นอยู่ในสภาพย่ำแย่ ทุกเที่ยวที่มีการเดินทางไปกลับจะเสียลูกเรือไปประมาณครึ่งหนึ่ง นับเป็นภาระที่หนักมากแก่ประเทศเล็กๆ ซึ่งมีประชากรเพียงล้านเศษ ที่ต้องเสียทั้งกำลังแรงงานและชีวิตให้แก่การค้าซึ่งให้ผลกำไรน้อยลงตลอดมา
 

ในเรื่องนี้มีตัวเลขที่ชี้ให้เห็นความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจและสังคมของการค้ากับต่างแดนของโปรตุเกส ประมาณกันว่า ตลอดศตวรรษที่ ๑๖ โปรตุเกสส่งคนเดินทางออกทะเลไปปีละ ๒,๔๐๐ คน ฉะนั้นทั้งศตวรรษ โปรตุเกสต้องเสียกำลังแรงงานของคนหนุ่มไปถึงประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน หรือเกือบ ๑ ใน ๔ ของประชากร อีกทั้งเป็นประชากรในวัยทำงานที่มีสุขภาพอนามัยดีอีกด้วย เปรียบเทียบกับสเปนในช่วงเวลาเดียวกัน สเปนส่งคนไปยังอาณานิคมของตนปีหนึ่งประมาณ ๑,๕๐๐ คนเท่านั้น แต่สเปนมีประชากรมากกว่าโปรตุเกส ๔ เท่าตัว
 

ยิ่งไปกว่านี้ อาณานิคมของสเปนตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับเมืองแม่ ในขณะที่อาณานิคมของโปรตุเกสในเอเชียอยู่ในเขตร้อนชื้นซึ่งแตกต่างจากเมืองแม่อย่างยิ่ง จึงมีโรคภัยไข้เจ็บซึ่งชาวโปรตุเกสไม่มีภูมิต้านทาน การสูญเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยจนพิการของชาวโปรตุเกสในอาณานิคมจึงสูงกว่าสเปนอย่างเทียบไม่ได้ จำนวนมากของคนโปรตุเกสซึ่งมารับราชการในเอเชีย ถ้าไม่เสียชีวิต เมื่อกลับบ้านก็กลายเป็นคนทุพพลภาพที่ไม่สามารถเป็นกำลังด้านการผลิตของประเทศได้อีก
 

อุปราชอินเดียของโปรตุเกสทำงานไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เมื่อเทียบกับอุปราชสเปนในละตินอเมริกา โปรตุเกสเลือกคนจากชนชั้นสูงด้วยกันเองเท่านั้นให้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงได้ คนไม่ได้ถูกเลือกจากความสามารถ แต่เลือกจากสถานภาพ จึงเป็นธรรมดาที่จะหาผู้บริหารที่มีฝีมือได้ยาก เหล่าอภิชนโปรตุเกสเองก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์ด้านการบริหารอยู่แล้ว การทุจริตคดโกงในบรรดาพนักงานทุกระดับของโปรตุเกสจึงมีสูงกว่าสเปนในละตินอเมริกามาก ระยะทางระหว่างเมืองแม่และอาณานิคมในเอเชีย ก็ไกลกว่าระหว่างเมืองแม่กับอาณานิคมของสเปนในละตินอเมริกา ทำให้การควบคุมจากลิสบอนเป็นไปได้ยากกว่า นอกจากนี้โปรตุเกสยังพยายามรักษาเส้นทางเดินเรือมาเอเชีย และช่องทางการค้าในเอเชียของตนไว้เป็นความลับ จึงต้องกีดกันคนต่างชาติมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเดินเรือและการค้าของตน  ทำให้หากำลังคนสำหรับการค้าของตนได้ไม่มากนัก
 

แม้อภิชนโปรตุเกสให้ความสำคัญแก่การเดินเรือ แต่กลับปฏิบัติต่อกะลาสีเรือด้วยความดูหมิ่นถิ่นแคลน จึงกลายเป็นอาชีพที่ไม่ดึงดูดคนที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงาน แต่เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไม่พัฒนา ไม่มีงานให้ทำมากนัก คนหนุ่มที่แข็งแรงจำนวนมากก็พร้อมจะเข้ามาเสี่ยงโชคในงานนี้ ขาดทั้งประสบการณ์และแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ ผลก็คือทำให้กำปั่นของโปรตุเกสยิ่งประสบการอับปางมากขึ้น มีสถิติที่ระบุว่าระหว่างปี ค.ศ. ๑๕๐๐-๕๐ กำปั่นโปรตุเกสที่เดินทางมาเอเชียอับปางลง ๑๒% แต่ระหว่างปี ค.ศ. ๑๕๕๐-๑๖๕๐ สถิติกลับเพิ่มเป็น ๑๖-๑๘% ในขณะเดียวกัน เมื่อได้รายได้ค่อนข้างต่ำจากกรมอินเดียของราชสำนัก ลูกเรือที่มีกำลังและความสามารถย่อมพอใจจะออกหรือหนีมารับราชการกับกษัตริย์ในตะวันออกมากกว่า เพราะได้รางวัลตอบแทนสูงกว่ามาก ที่มีกำลังก็กลายเป็นพ่อค้าอิสระ หรือลักลอบทำการค้าส่วนตัวในกำปั่นของกรมอินเดียซึ่งทำการค้าขายภายในเอเชียเอง เพราะระบบบริหารของโปรตุเกสในจักรวรรดิเอเชียไร้ประสิทธิภาพดังที่กล่าวแล้ว
 

ดังนั้น การเผชิญภัยและความยากลำบากในการเดินเรือมาเอเชียโดยตรง จึงให้ผลกำไรแก่โปรตุเกสในระยะสั้นมาก คืออยู่ในราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เท่านั้น ซ้ำผลกำไรที่ได้ก็ถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ช่วยให้โปรตุเกสเจริญรุดหน้าเหมือนประเทศในยุโรปเหนือซึ่งเป็นคู่แข่ง เพราะถูกใช้ไปในทางบำรุงบำเรอความหรูหราฟุ่มเฟือยของราชสำนักและอภิชนเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ต้นทุนที่ประชาชนโปรตุเกสต้องจ่ายให้แก่การแสวงหากำไรของอภิชนเหล่านี้ก็สูงมาก และสูงมากขึ้นทุกที ทั้งในแง่ทรัพย์ กำลังคน และกำลังทางเศรษฐกิจอื่นๆ  ชะตากรรมของโปรตุเกสจึงไม่ต่างจากระบอบ “อำมาตยาธิปไตย” ในทุกแห่งและทุกสมัย ถึงมีเงินไหลเข้ามากในช่วงใดช่วงหนึ่ง ก็มักเป็นแต่ฟองสบู่ที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาแก่ “ชาติ” หรือสังคมโดยรวม
 

เมื่อกรมอินเดียนำเครื่องเทศกลับยุโรปมาก ก็ทำให้ราคาของเครื่องเทศในยุโรปตกต่ำลง ซึ่งย่อมเป็นผลให้กำไรจากเครื่องเทศถดถอยลงไปพร้อมกัน (ต้องไม่ลืมด้วยว่า การส่งเรือมาค้าเครื่องเทศมีต้นทุนคงที่ หรือเมื่อถูกแข่งขันมากกลับยิ่งสูงขึ้นด้วย) ยิ่งกว่านี้ เมืองท่าในอิตาลีสามารถกลับไปรับซื้อเครื่องเทศจากพ่อค้าอาหรับได้ดังเดิม เพราะความพยายามจะผูกขาดเครื่องเทศของโปรตุเกสในเอเชียไม่ประสบความสำเร็จ เครื่องเทศก็ยังไหลสู่มือของพ่อค้าอาหรับ-อินเดียได้เท่าเดิม หลังจากซบเซาไปช่วงหนึ่งสั้นๆ ฉะนั้นนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา เครื่องเทศที่ผ่านเข้าสู่ยุโรปผ่านตะวันออกกลางและเมืองท่าอิตาลี ก็กลับมีปริมาณเท่ากับเมื่อก่อนที่โปรตุเกสจะเดินทางมาเอเชียโดยตรง และในเวลาต่อมาก็มีเท่ากับที่โปรตุเกสนำมาจากเอเชีย ราคาเครื่องเทศในยุโรปยิ่งตกต่ำลงจนไม่ให้ผลกำไรแก่ราชสำนักโปรตุเกสอย่างที่เคยเป็นมาอีก จนกรมอินเดียไม่มีเงินจ่ายหนี้ดังที่กล่าวแล้ว ในปลายศตวรรษที่ ๑๖ ราชสำนักก็รู้แล้วว่า การค้ากับเอเชียไม่ได้มีความสำคัญแก่ตนแต่อย่างไร และจากนั้นมาก็หันมาให้ความสนใจการค้าในมหาสมุทรแอตแลนติก (รวมถึงบราซิล)
 

นับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๖ เช่นกัน ที่โปรตุเกสประสบการแข่งขันมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ในเอเชียเท่านั้น แต่บนมหาสมุทรทั่วโลก ในแอฟริกาโปรตุเกสถูกโมร็อกโกซึ่งโปรตุเกสไม่เคยปราบได้สำเร็จแข่งขันอำนาจ ในภาคพื้นทะเล เรือโปรตุเกสถูกโจรสลัดฝรั่งเศสคุกคามหนักขึ้น เมื่อตกอยู่ใต้ราชบัลลังก์สเปนในปลายศตวรรษ ก็ทำให้โปรตุเกสต้องรบกับฮอลันดาและอังกฤษไปด้วย อีกทั้ง ๒ ชาติหลังนี้ยังส่งกำปั่นเข้ามาค้าขายแข่งกับโปรตุเกสในเอเชียด้วย
 

ในขณะที่โปรตุเกสต้องมีความเข้มแข็งด้านกำลังทางเรือมากขึ้น ฝีมือและวัสดุสำหรับต่อเรือในโปรตุเกสกลับหายากขึ้น ก่อนจะสิ้นศตวรรษที่ ๑๖ โปรตุเกสก็ไม่สามารถหาไม้ในประเทศตนเองมาต่อเรือได้แล้ว ต้องนำเข้าวัสดุเหล่านี้จากอังกฤษหรือฮอลันดา ทำให้กำปั่นของโปรตุเกส (และสเปน) มีราคาสูงกว่าของอังกฤษและฮอลันดา ๓ เท่า แม้โปรตุเกสมีอาณานิคมในอินเดียซึ่งอุดมด้วยไม้สักซึ่งใช้ต่อเรือได้ดี และแรงงานราคาถูก แต่โปรตุเกสในอินเดียไม่มีวัสดุอื่นและไม่มีวิศวกรฝีมือดี ฉะนั้นกำปั่นที่ต่อขึ้นในอินเดียของโปรตุเกสจึงด้อยคุณภาพกว่าคู่แข่งมาก (แต่ก็ยังต่อกำปั่นกันต่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ได้กำปั่นที่มีคุณภาพพอประมาณเท่านั้น)
 

(ที่มา นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2555)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331985117&grpid=03&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #41181 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 19:55:48 »

ตอนที่ 2

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : โปรตุเกส - การเดินเรือ, เครื่องเทศ, และศรัทธา (จบ)
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:30:00 น.
 

การค้ากับอยุธยา ควรเข้าใจการค้าของโปรตุเกสกับอยุธยาในบริบทของการค้าของโปรตุเกสในเอเชีย อยุธยาไม่ใช่แหล่งผลิตหรือศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศเหมือนมะละกา แต่อยุธยาก็เป็นเมืองท่าสำคัญที่มีสินค้าทั้งจากภายในภูมิภาคอุษาคเนย์ ประเทศในทะเลจีนเหนือ (จีน ญี่ปุ่น ริวกิว เกาหลี) กับประเทศในมหาสมุทรอินเดีย (รัฐต่างๆ ในอนุทวีปอินเดียจนถึงตะวันออกกลาง) และดังที่กล่าวแล้วว่าโปรตุเกสสำนึกได้ดีว่า แหล่งกำไรสำคัญในการค้าของตนคือการค้าระหว่างเมืองท่าต่างๆ ภายในเอเชียด้วยกันเอง ฉะนั้นเป้าหมายทางการค้าของโปรตุเกสในอยุธยาคือความสัมพันธ์ที่ราบรื่นต่อกัน เพื่อให้อยุธยาเป็นหนึ่งในเครือข่ายการค้าในเอเชียของโปรตุเกส
 

ก่อนที่จะยึดมะละกาได้ Albuquerque ก็ส่งผู้ถือสาส์นชื่อ Duarte Fernandes ซึ่งสามารถพูดภาษามลายูได้มายังราชสำนักอยุธยา Fernandes ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งได้จัดคณะทูตนำ (เข้าใจว่า) ศุภอักษรจากเสนาบดีกลับไปยังเมืองมะละกาพร้อมกับ Fernandes เพื่อยื่นแก่ Albluquerque ดังนั้น Albuquerque จึงส่งทูตคณะที่ ๒ มายังอยุธยาในปี ค.ศ. ๑๕๑๒ (หลังจากยึดมะละกาได้เพียงปีเดียว) มี Antonio de Miranda เป็นทูต อยุธยาตอบแทนด้วยการส่งพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสที่เมืองกัว อีก ๔ ปีต่อมา ข้าหลวงโปรตุเกสประจำมะละกาก็ส่งทูตชื่อ Duarte de Coelho มายังอยุธยาอีก และมีการลงนามในหนังสือสัญญากันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๕๑๖
 

ในหนังสือสัญญาฉบับนี้ ไทยอนุญาตให้โปรตุเกสตั้งสถานีการค้า (feitorias) ได้ที่อยุธยา นครศรีธรรมราช มะริด ตะนาวศรี และปัตตานี (ในขณะนั้นอยุธยายังสามารถอ้างได้ว่าปัตตานีจริงเป็นประเทศราช ในภายหลังปัตตานีก็แยกตัวออกจากอยุธยา โปรตุเกสจึงต้องส่งทูตชื่อ Manuel Falcau ไปเจรจาทำสัญญาการค้ากับรานีแห่งปัตตานีเองจนสำเร็จ) นอกจากนี้อยุธยายังอนุญาตให้ทำการเผยแผ่คริสต์ศาสนาได้โดยไม่ขัดขวาง (ในเวลานั้นที่อยุธยามีประชากรที่ปฏิบัติศาสนาอื่นซึ่งไม่ใช่พุทธแบบไทยอยู่แล้ว ที่สำคัญคือมุสลิมนิกายชิอะห์ซึ่งพวกเปอร์เซียนำเข้ามา และลัทธิพิธีแบบจีน เป็นอย่างน้อย การปฏิบัติศาสนาใหม่คือคริสต์เพิ่มขึ้นอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับผู้ปกครองไทย ตราบเท่าที่การปฏิบัติศาสนานั้นๆ ไม่ทำลายอำนาจเหนือไพร่ของระบอบปกครอง)
 

ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและโปรตุเกสเป็นไปอย่างราบรื่นตามความมุ่งหวังของโปรตุเกส ในระยะนั้น อยุธยาต้องทำสงครามกับหลายศูนย์อำนาจสืบกันมา (เชียงใหม่ เชียงกราน และกัมพูชา) จึงต้องการอาวุธ “ทันสมัย” จากโปรตุเกส พ่อค้าโปรตุเกสได้นำเอาปืนไฟ ดินปืนและกระสุนมาถวาย (คือแลกกับสินค้าในพระคลังหลวง) อยู่เนืองๆ จึงยิ่งเป็นที่พอใจแก่กษัตริย์อยุธยา ในขณะที่การ “เปิด” ประเทศของอยุธยาเองก็เป็นที่พอใจแก่ฝ่ายโปรตุเกส เพราะมีหลักฐานว่าสถานีการค้าต่างๆ ที่โปรตุเกสตั้งขึ้นตามเมืองที่ได้รับอนุญาตจากอยุธยา ต่างทำกำไรได้มาก ทั้งโปรตุเกสยังใช้เมืองเหล่านี้บางเมืองในการขยายเครือข่ายทางการค้าของตนออกไปถึงเอเชียตะวันออก เช่นเรือที่เริ่มติดต่อกับจีนในสมัยราชวงศ์หมิงครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๕๑๗ ก็ไปจากปัตตานี โปรตุเกสเองก็อนุญาตให้พ่อค้าและช่างจากอยุธยา (คงจะจีน) ไปตั้งชุมชนของตนในมะละกา
 

อย่างไรก็ตาม บทบาททางการค้าของโปรตุเกสในอยุธยา ไม่มีผลกระทบให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจแก่อยุธยา ดังที่กล่าวแล้วว่าโปรตุเกสค้าขายกับอยุธยาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการค้าระหว่างเอเชียด้วยกัน เข้าใจว่า อยุธยาเองก็มองโปรตุเกสเหมือนเป็นพ่อค้าต่างชาติอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็เข้ามาค้าขายในอยุธยาหลายชาติหลายภาษาอยู่แล้ว สินค้าที่โปรตุเกสขนออกไปก็ไม่ได้ต่างไปจากที่พ่อค้าต่างชาติทั่วไปขน ได้แก่ของป่าและสินค้าส่งผ่าน การค้าของโปรตุเกสไม่ได้ทำให้เกิดการ “ผลิต” สินค้าใหม่ หรือขยายการ “ผลิต” เดิมที่มีอยู่ เพราะปริมาตรการค้าของกำปั่นโปรตุเกสเมื่อเทียบกับสำเภาจีนและอาหรับ-อินเดีย  (ทั้งที่เป็นของพ่อค้าภายในและต่างประเทศกับสำเภาหลวง) ก็เป็นสัดส่วนที่น้อย
 

สินค้านำเข้าของโปรตุเกสซึ่งอาจนับได้ว่ามีปริมาณมากสักหน่อย เห็นจะเป็นผ้าจากฝั่งมะละบาร์ของอินเดีย แต่คงไม่ใช่สินค้าใหม่ เพราะเรืออาหรับ-อินเดียก็คงเคยนำมาขายในอยุธยาอยู่แล้ว แม้ว่าในช่วงหนึ่งโปรตุเกสพยายามจะผูกขาดสินค้าประเภทนี้ เพราะมีความต้องการในเอเชียสูง แต่ก็เหมือนสินค้าอื่นๆ โปรตุเกสไม่สามารถทำได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามในช่วงหนึ่ง ผ้าจากอินเดียน่าจะเป็นสินค้าหลักของโปรตุเกสในอยุธยา แต่ทั้งพ่อค้าที่รับซื้อผ้าจากโปรตุเกสหรือกรมพระคลังเอง ก็หาได้มีเครือข่ายการค้าในประเทศที่กว้างขวาง ฉะนั้นตลาดภายในของอยุธยาจึงมีจำกัด ปริมาณนำเข้าจึงจะสูงมากนักไม่ได้อยู่เอง


การค้าภายในเอเชียของโปรตุเกสขยายตัวมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นรายได้สำคัญของกรมอินเดียดังที่กล่าวแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเครื่องเทศไม่ทำกำไรให้อย่างเคย (ก่อนจะถึงกลางศตวรรษที่ ๑๖) ดังนั้นจึงมีพ่อค้าโปรตุเกสตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามสถานีการค้าต่างๆ ในเอเชียจำนวนมาก ในปี ค.ศ. ๑๕๓๘ มีรายงานว่า มีพ่อค้าโปรตุเกสประจำอยู่ในปัตตานีถึง ๓๐๐ คน (อาจเป็นชุมชนโปรตุเกสในอุษาคเนย์ที่ใหญ่สุดนอกมะละกา) เข้าใจว่าจำนวนของพ่อค้าโปรตุเกสในเมืองท่าใหญ่อื่นๆ ก็คงมีใกล้เคียงกัน ในระยะเวลาเดียวกันนี้ ปินโตรายงานว่ามีทหารโปรตุเกสอยู่ในกองทัพของพระชัยราชาถึง ๑๒๐ คน แต่ผู้เขียนยังไม่สามารถหาตัวเลขของชาวโปรตุเกส (ผิวขาว) ทั้งหมดในอยุธยาช่วงนี้ได้ ในศตวรรษที่ ๑๗ หลักฐานของฝรั่งเศสกล่าวว่า ประชากรในชุมชนโปรตุเกสมีถึง ๖,๐๐๐ คน (แต่จะเป็นผิวขาวสักเท่าไรไม่ได้ระบุไว้ - เข้าใจว่ามีไม่สู้มากนัก ดังจะเห็นเหตุผลได้เองข้างหน้า)
 

นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา ชุมชนโปรตุเกสในเอเชียถูกปล่อยให้ดำเนินการไปเองมากขึ้น โดยที่กรมอินเดียไม่ได้เข้ามาควบคุม พอถึงศตวรรษที่ ๑๗ ชาวโปรตุเกสเหล่านี้เมื่อเดินทางออกจากยุโรปแล้ว ก็มักจะหลบออกไปจากราชการของกรมอินเดีย ไม่กลับยุโรป ไม่คิดจะไต่เต้าในสังคมโปรตุเกสอีก แต่คนเหล่านี้ก็มักเป็นนักเสี่ยงโชคผจญภัย เพื่อหาทางตั้งตัวในเอเชีย นับตั้งแต่รับจ้างรบ เป็นโจรสลัด ปล้นสะดมเมืองชายฝั่งหรือตั้งตัวเป็นผู้ปกครองเสียเอง (เช่น De Brito) ไปถึงค้าขายอิสระ และคนเหล่านี้ต่างหากที่เป็นสีสันของบทบาทโปรตุเกสในอุษาคเนย์ รวมทั้งในอยุธยาด้วย
 

ในปี ค.ศ. ๑๕๔๐ กษัตริย์โปรตุเกสส่งทูตพร้อมพระราชสาส์นเพื่อขอตัวชาวโปรตุเกส (ระบุชื่อ) ที่ถูกทางอยุธยาจับตัวไว้คืน แต่กลับปรากฏว่าชาวโปรตุเกสที่มีชื่อในพระราชสาส์นนั้น ที่แท้เป็นทหาร (รับจ้าง) ในกองทัพของพระชัยราชาซึ่งยกไปทำสงครามปราบ “พวกที่อยู่บนภูเขาในภาคเหนือ” (สงครามกับเชียงใหม่?) พระชัยราชาจึงส่งคืนบุคคลผู้นั้นพร้อมกับพรรคพวกอีก ๑๖ คนให้แก่ทางโปรตุเกส พร้อมทั้งพระราชทานรางวัลก้อนใหญ่ไปด้วย
 

ปินโตรายงานว่า ในครั้งทำสงครามกับเชียงใหม่ มีทหารโปรตุเกสในกองทัพของพระชัยราชา ๑๒๐ คน อีกทั้งทหารโปรตุเกสยังได้สอนทหารอยุธยาในการยิงปืนไฟ ทำปืนไฟเอง และหล่อปืนใหญ่ หมู่บ้านโปรตุเกสในอยุธยา ก็เกิดขึ้นจากการพระราชทานที่ดินให้แก่ทหารรับจ้าง ๑๒๐ คนนี้ตั้งบ้านเรือน
 

ในกองทัพของราชอาณาจักรใหญ่ๆ ของอุษาคเนย์ช่วงนั้นสืบมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ล้วนมีทหาร (รับจ้าง) ชาวโปรตุเกสอยู่ด้วยทั้งสิ้น ในอยุธยาเองถึงกับรวบรวมกันขึ้นเป็นกรมต่างหากคือ “กรมฝรั่งแม่นปืน” ซึ่งบอกให้รู้ถึงภารกิจหลักของทหารโปรตุเกสเหล่านี้
 

ในที่นี้ควรกล่าวถึงผลกระทบด้านการทหารแก่อยุธยาอันเกิดจากการค้ากับโปรตุเกสไว้ด้วย กล่าวโดยสรุปก็คือไม่เกิดผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญแต่อย่างไร
 

ดังได้กล่าวแล้วว่า ปืนใหญ่คงมีใช้กันอยู่แล้วในอุษาคเนย์ก่อนโปรตุเกสเข้ามา โปรตุเกสนำเอาปืนใหญ่ที่มีอานุภาพมากขึ้นมาขาย แม้กระนั้นปืนใหญ่ก็ไม่ได้เปลี่ยนยุทธวิธีของสงครามป้อมค่ายประชิดในอุษาคเนย์ไปมากนัก กำแพงก่ออิฐอาจเข้ามาแทนที่เพนียดไม้ซุงในเมืองหลักที่ต้องเผชิญการล้อมเมือง ปืนใหญ่ช่วยให้เมืองที่เข้าถึงปืนใหญ่ได้ - ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ การเมือง หรือเศรษฐกิจก็ตาม - มีอำนาจเหนือแว่นแคว้นภายในของตนได้มั่นคงขึ้น แต่เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ปืนใหญ่ไม่ได้ทำให้ยุทธวิธีของกองทัพในอุษาคเนย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญ เพราะการคมนาคมขนส่งที่ไม่สะดวก (และการจัดองค์กรทางสังคมไม่เอื้อ) จึงทำให้ปืนใหญ่ที่สามารถขนย้ายเข้าสู่สนามรบมีขนาดเล็ก และมีอานุภาพน้อย ยังไม่พูดถึงการจัดกำลังยิงให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันไปกับการตั้งรับหรือการเข้าตีของกำลังส่วนอื่น
 

อาวุธที่น่าจะเปลี่ยนกระบวนการรบและมีอานุภาพร้ายแรงกว่าคือปืนประจำกายทหาร หรือปืนคาบศิลา (ซึ่งพัฒนาให้ยิงสะดวกขึ้นในเวลาต่อมา เช่น เมื่อสับนกแล้วเกิดประกายไฟไปติดชุด) ซึ่งสามารถทำร้ายศัตรูได้ในระยะไกล แต่เพราะมีอานุภาพมากเช่นนี้ จึงอาจนำไปใช้ในการแย่งอำนาจการเมืองกันภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้นปืนเหล่านี้จึงมักเก็บไว้ในพระคลังแสง และไม่อนุญาตให้เบิกไปใช้ได้นอกเวลาสงคราม ยกเว้นแต่ทหารองครักษ์ซึ่งได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษ
 

แม้ในยามสงคราม ปืนเหล่านี้ก็มีหน้าที่หลักคือให้ความปลอดภัยแก่แม่ทัพที่เป็นกษัตริย์หรือเจ้านาย มิให้ข้าศึกบุกเข้ามาใกล้ได้ ดังนั้นหน้าที่หลักของอาวุธใหม่ที่มีอานุภาพร้ายแรงนี้ ในยุทธวิธีของหลายประเทศของอุษาคเนย์โบราณ คือให้ความปกป้องคุ้มครองแม่ทัพ โดยเฉพาะที่เป็นพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ จึงทำให้ปืนประจำกายทหารไม่เปลี่ยนยุทธวิธีของการรบในอุษาคเนย์ (อย่างน้อยก็ในอยุธยา) จนเมื่อมีการฝึกทหารในกองทัพประจำการในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ไปแล้ว ความสัมพันธ์กับโปรตุเกสจึงมีผลกระทบด้านการทหารน้อยมากกว่าที่เข้าใจกัน


การเผยแผ่ศาสนาของโปรตุเกสในเอเชีย
 


เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปตะวันตกด้วยกัน โปรตุเกสได้รับอิทธิพลจากแนวคิดมนุษยนิยมในสมัยปุณภพน้อยมาก ในขณะที่มนุษยนิยมทำให้เกิดความพยายามปฏิรูปคณะสงฆ์ (และศาสนา) ในประเทศอื่น แต่คณะสงฆ์ของโปรตุเกสผ่านเข้าสู่ยุคนี้โดยไม่ค่อยมีความพยายามจะปฏิรูป พระคณะฟรันซิสกันของโปรตุเกส สร้างกระแสลัทธิ “พระจิต” ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ แต่ลัทธินี้ก็มีลักษณะจิตนิยม ที่เน้นไปด้านประสบการณ์ทางจิตภายในของผู้ศรัทธา ไม่ใช่การเสนอและโต้เถียงกันทางสติปัญญาและความรู้ ดังที่เป็นความเคลื่อนไหวของศาสนาคาทอลิกในยุโรปส่วนอื่น วัตรปฏิบัติของพระโปรตุเกสจึงยังคงเดิมเหมือนสมัยโบราณ (คือคล้ายกับพระในสมัยกลาง) และด้วยเหตุดังนั้นจึงไม่ค่อยมีบทบาทในสังคม นักประวัติศาสตร์โปรตุเกสยกตัวอย่างการโต้เถียงกันของสังคมโปรตุเกสในศตวรรษที่ ๑๕ เกี่ยวกับการรับลูก “นอกสมรส” และการยอมรับการแต่งงานที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะทำในหรือนอกศาสนาว่าเป็นความสัมพันธ์ฉันสามี-ภรรยา ปรากฏว่าทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ได้อ้างหลักศาสนามาโต้แย้งในการโต้เถียงเลย
 

อย่างไรก็ตาม ความกระตือรือร้นที่จะเผยแผ่ศาสนาในต่างแดนในปลายศตวรรษที่ ๑๕ ก็ทำให้เกิดการปรับปรุงการศึกษาของพระสงฆ์ขึ้นเหมือนกัน วัตรปฏิบัติของพระดีขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้ผลจริงจังและถาวรนัก เพราะในกลางศตวรรษที่ ๑๖ ก็ปรากฏคำฟ้องพระสงฆ์เกี่ยวกับการทุจริตคดโกง ประพฤติผิดศีลธรรม หรือเขลาเพราะขาดความรู้พื้นฐานทางศาสนา กลับขึ้นมาอีกจำนวนมาก ไม่ต่างจากที่เคยปรากฏมาก่อนการปรับปรุงการศึกษา
 

การปกครองของคณะสงฆ์ของโปรตุเกสมีลักษณะของช่วงชั้นยิ่งกว่าสเปนเสียอีก พระชั้นผู้ใหญ่มักตกอยู่ในความควบคุมหรือเป็นพันธมิตรของชนชั้นสูง (ทั้งที่เป็นข้าราชสำนักของส่วนกลางไปแล้ว หรือยังเป็นเจ้าศักดินาตามแว่นแคว้น) ศาสนจักรโปรตุเกสจึงไม่ใช่พลังทางสังคมที่จะถ่วงดุลอำนาจของชนชั้นสูง หรือนำความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสติปัญญาครั้งใหญ่เหมือนอีกหลายประเทศในยุโรปตะวันตก ในขณะเดียวกัน เมื่อเข้ามาในเอเชียพระโปรตุเกสก็ไม่ใช่ตัวการแห่งความเปลี่ยนแปลง (agent of change) ที่มีนัยะสำคัญแก่เอเชียเช่นเดียวกัน
 

พระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสบังคับว่า เรือที่จะมาทางตะวันออกทุกลำจะต้องนำพระเพื่อมาเผยแผ่ศาสนาด้วย เล่ากันว่าเรือจำนวนมากที่จะมาเอเชีย ไม่สามารถหาพระที่สมัครใจจะมาเผยแผ่ศาสนาได้ทันการออกเรือ ก็มักจับพระที่เดินอยู่ในถนนกรุงลิสบอนขึ้นเรือแล้วออกจากท่ามาเลย เรื่องเล่านี้ จะจริงหรือไม่ก็ตาม สะท้อนให้เห็นว่า โปรตุเกสไม่ได้มีแผนการเผยแผ่ศาสนาในตะวันออกอย่างเป็นระบบนัก อย่างไรก็ตามจากบันทึก (ที่ไม่น่าเชื่อถือนัก) ของพระเอง กล่าวว่าประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาในเอเชียมาก บางคนกล่าวว่าต้องทำพิธีศีลจุ่มแก่ศาสนิกใหม่ถึงวันละ ๑,๐๐๐ คน แต่การเผยแผ่ศาสนาทำควบคู่กันไปกับอำนาจทางทหารของโปรตุเกส ฉะนั้นผู้กลับใจเหล่านี้จึงขาดความเข้าใจและศรัทธา จะยังคงเป็นชาวคริสต์ต่อไปนานเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บังคับให้เขา “กลับใจ” ยังดำรงอยู่ต่อไปนานเท่าไรเหมือนกัน
 

ดังจะเห็นได้ว่า ชาวคริสต์ที่พระโปรตุเกสกลับใจจะกระจุกตัวอยู่ตามเมืองป้อม หรือเมืองท่าชายฝั่งที่อยู่ในการยึดครองของโปรตุเกส (ในปี ค.ศ. ๑๕๔๙ มีรายงานว่าในมะละกาและหมู่เกาะใกล้เคียง ซึ่งอยู่ใต้ปกครองของโปรตุเกสมีโบสถ์ของคณะโดมินิกันถึง ๑๘ โบสถ์) ในขณะที่นอกอาณาบริเวณเหล่านั้น จำนวนของชาวคริสต์ก็ไม่สู้จะมีมากสักเท่าไร
 

แม้ได้รับอาณัติจากสันตะปาปารวมทั้งมีสัญญา Tordesillas กับสเปนในปี ค.ศ. ๑๔๙๔ รับรองการแบ่งเขตเพื่อรับภาระการเผยแผ่ศาสนาที่เส้นซึ่งห่างจากหมู่เกาะ Cape Verde ไปทางตะวันตก ๓๗๐ ลี้ก หรือประมาณ ๒,๘๕๐ กิโลเมตร แต่ในช่วงสองสามทศวรรษแรกที่โปรตุเกสมาถึงเอเชีย ก็ไม่ได้ให้ความสนใจในการเผยแผ่ศาสนานัก มุ่งไปที่การตั้งสถานีการค้าและการทหารมากกว่า พระโดมินิกันเริ่มเข้าสู่อยุธยา กัมพูชา และจีน หลังกลางศตวรรษที่ ๑๖ ไปแล้ว
 

ในระยะแรกๆ พระคณะโดมินิกันมีบทบาทนำในการเผยแผ่ศาสนาในอินเดีย ประมุขสังฆมณฑลคนแรกประจำอินเดียเป็นโดมินิกัน แต่ก็ได้นำเอาพระฟรันซิสกันเข้ามาร่วมงานเผยแผ่อยู่ไม่น้อย ดังนั้นประมุขของศาสนจักร (ซึ่งขึ้นอยู่กับสังฆมณฑลอีกทีหนึ่ง) ในมะละกาและเมืองอื่นอีกหลายเมืองที่ขึ้นกับโปรตุเกสจึงเป็นพระจากคณะฟรันซิสกัน ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ พระส่วนใหญ่ในเอเชียคือพระจากคณะฟรันซิสกัน มีพระคณะนี้ทั้งจากโปรตุเกสและประเทศอื่นทำงานในเอเชียถึง ๕๐๐ คน แม้ว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาในเอเชียมาเริ่มต้นจริงจังมากขึ้น เมื่อตั้งคณะเยซูอิตแล้ว และมีพระคณะนี้เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในเอเชีย (ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ นักบุญฟรันซิส เซเวียร์) แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่ากันมาก
 

การเผยแผ่ศาสนาของโปรตุเกสในอยุธยา
 

ในสัญญาปี ค.ศ. ๑๕๑๖ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระราชทานอนุญาตให้นับถือและปฏิบัติศาสนาคริสต์ได้โดยไม่ขัดขวาง ทั้งยังอนุญาตให้โปรตุเกสตั้งโรงสอนและทำพิธีทางศาสนา (padrao)  ขึ้นในอยุธยา๒๒ มีสัญลักษณ์ไม้กางเขนตั้งอยู่เหนือจั่วหลังคา แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีพระเดินทางเข้ามาประจำในกรุงศรีอยุธยาหลังจากนั้นอีกนาน
 

จนถึงกลางศตวรรษที่ ๑๖ จึงเริ่มมีพระพยายามมาอยู่ประจำที่อยุธยา พระที่เข้ามาสู่อยุธยารุ่นแรกๆ เป็นพระจากคณะโดมินิกัน เช่นเดียวกับกัมพูชาและจีน จากหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือนัก กล่าวว่า บาทหลวง ๒ รูปแรกที่เข้ามาประจำอยุธยาเดินทางจากมะละกามาถึงและทำงานที่อยุธยาประมาณปี ค.ศ. ๑๕๕๕ (๓๙ ปีหลังสัญญาปี ค.ศ. ๑๕๑๖) ใช้เวลาในการเรียนภาษาไทยที่อยุธยาไม่นาน หลังจากนั้นก็สามารถเผยแพร่จนกลับใจคนได้มาก จึงทำให้พวกมุสลิมซึ่งมีอิทธิพลในอยุธยาอยู่สูง ไม่พอใจ และได้พุ่งหอกฆ่าบาทหลวงไปคนหนึ่งด้วย บาทหลวงโดมินิกันที่เดินทางเข้ามาสมทบรวมเป็น ๓ คนก็ถูกพวกมุสลิมฆ่าอย่างเดียวกัน โดยอาศัยความปั่นป่วนวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากการล้อมเมืองของกองทัพพระเจ้าบุเรงนองในระหว่างปี ค.ศ. ๑๕๖๙
 

ด้วยเหตุดังนั้นพระโดมินิกันจึงถอนตัวจากอยุธยาในปี ค.ศ. ๑๕๗๕ ระหว่างนั้นก็ว่างพระในอยุธยาไปช่วงหนึ่ง จนราวปี ค.ศ. ๑๕๘๒ พระฟรันซิสกันจากสเปนก็เข้ามาตั้งในอยุธยา แต่ก็ประสบการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวมุสลิมเช่นเคย จำเป็นต้องถอนตัวออกจากอยุธยาใน ๒ ปี จากนั้นอยุธยาก็ว่างพระคาทอลิกสืบมาจนถึงปี ค.ศ. ๑๕๙๓ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรตีกรุงละแวกได้ โปรดให้กวาดต้อนผู้คนกลับเข้ามาจำนวนมาก ในบรรดาคนเหล่านี้รวมพวกคริสเตียนและพระด้วย ทั้งพระราชทานอนุญาตให้พระสอนและทำพิธีกรรมทางศาสนาในอยุธยาได้
 

ชุมชนคริสเตียนในกัมพูชามีศาสนิกมาก เข้าใจว่ามากกว่าอยุธยาด้วย เพราะเหตุผลทางการเมืองและสังคมของกัมพูชาในช่วงนั้นเอง (ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้) ในบรรดาคนเหล่านี้รวมถึงญี่ปุ่นและเชื้อสายซึ่งเปลี่ยนศาสนา และต่อมาต้องออกจากประเทศโดยไม่สามารถกลับญี่ปุ่นได้อีก จึงต้องตั้งรกรากในอุษาคเนย์ แต่งงานผสมปนเปกับคริสเตียนหลายชาติหลายภาษาในภูมิภาคนี้ รวมทั้งโปรตุเกสด้วย อย่างไรก็ตาม การคุกคามของพวกมุสลิมก็ยังมีอยู่ หนึ่งในพระที่ถูกกวาดต้อนจากกัมพูชาถูกมุสลิมฆ่าตาย ส่วนอีกคนหนึ่งหลอกลวงสมเด็จพระนเรศวรเมื่อตอนที่มะละกาส่งทูตเข้ามา จึงถูกลงโทษอย่างหนัก และกลับออกไปตายที่มะละกา
 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรายังไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับพระโปรตุเกสในอยุธยาหลังจากนั้นมากนัก แต่เข้าใจว่าคงจะมีพระทำหน้าที่ทางศาสนาสืบต่อมา ถ้าจะมีขาดตอนบ้างก็น่าจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะเชื้อสายโปรตุเกสและคริสเตียนสามารถรักษาศาสนาไว้กับลูกหลานได้สืบมาจนเสียกรุง และอพยพมาตั้งชุมชนของตนขึ้นใหม่ในบางกอก ภาระหน้าที่หลักของพระคือการทำพิธีทางศาสนาให้แก่ชาวคาทอลิก ซึ่งก็คือชาวโปรตุเกส เชื้อสาย และชาวเอเชียที่เปลี่ยนศาสนาซึ่งส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและกัมพูชา แต่ไม่ปรากฏผลงานด้านการเผยแผ่ศาสนาให้แก่ชาวพื้นเมืองในอยุธยานัก
 

เหตุผลสำคัญที่การทำงานของพระคาทอลิกในอยุธยามีความสำคัญ ก็เพราะชุมชนคริสเตียนได้กลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น จากเดิมที่มีชาวโปรตุเกสผิวขาวไม่กี่ร้อยคน กลายเป็นชุมชนที่มีประชากรหนาแน่นมากขึ้น จากการที่ได้กวาดต้อนคริสเตียนจากกัมพูชาเข้ามา และเนื่องจากการไม่มีชุมชนคริสเตียนอื่นนอกจากโปรตุเกส คริสเตียนใหม่จึงกลายเป็นคนของชุมชนโปรตุเกสไปโดยอัตโนมัติ จำนวนของประชากรในชุมชนโปรตุเกสขยายตัวขึ้น หลักฐานชิ้นหนึ่งของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ ๑๗ กล่าวว่ามีจำนวนถึง ๖,๐๐๐ คน เข้าใจว่าในระยะนี้เองที่มีรายงานว่า ในหมู่บ้านโปรตุเกสมีทั้งโบสถ์และคอนแวนต์ ด้วยเหตุดังนั้น ชุมชนโปรตุเกสในอยุธยาจึงเป็นแหล่งของการแย่งอำนาจทางการเมือง ทั้งในด้านอาณาจักรและศาสนจักร
 

มีหลักฐานว่าสมเด็จพระนารายณ์ได้กำลังส่วนหนึ่งจากชุมชนโปรตุเกสในการชิงอำนาจจากพระศรีสุธรรมราชา ฟอลคอนพยายามเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่สุดของคริสเตียน อีกทั้งตัวเขาเองก็มีสายสัมพันธ์กับชุมชนโปรตุเกสเมื่อสมรสกับท้าวทองกีบม้า และแม้ว่าฟอลคอนเองถูกประหารในการชิงอำนาจกันปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ภรรยาของเขากลับได้ไว้ชีวิตและมีตำแหน่งหน้าที่ในฝ่ายวิเสทในราชวงศ์ใหม่ เข้าใจว่าราชวงศ์ใหม่ก็ไม่ต้องการเป็นศัตรูกับชุมชนโปรตุเกสเช่นกัน ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อบาทหลวงฝรั่งเศสเข้ามาสู่อยุธยา ก็มีการแย่งอำนาจและบทบาทกันระหว่างพระฝรั่งเศสและโปรตุเกส เพื่อจะได้กำกับควบคุมชุมชนคริสเตียนแห่งเดียวในอยุธยานี้ ดูเหมือนการแก่งแย่งกันนี้ดำรงสืบมาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา
 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดียวกัน (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖-๑๗) ชุมชนคนต่างศาสนาที่ใหญ่สุดในอยุธยาไม่ใช่โปรตุเกส แต่คือชาวเปอร์เซียมุสลิมนิกายชิอะห์ ซึ่งปินโตรายงานว่ามีจำนวนถึง ๓๐,๐๐๐ คน และมีสุเหร่าในอยุธยาถึง ๗ แห่ง


ชะตากรรมของโปรตุเกสในเอเชีย
 

ได้กล่าวแล้วว่า ต้นทุนทางการค้าของโปรตุเกสในเอเชียสูงเกินกว่าวิธีจัดการทางการค้า และกำลังของประเทศโปรตุเกสจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา ฮอลันดาและอังกฤษก็เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการค้าในเอเชียแทนโปรตุเกส และเช่นเดียวกับโปรตุเกส ผลกำไรสำคัญของพ่อค้า ๒ ชาตินี้ในการค้ากับเอเชีย คือการค้าระหว่างเอเชียด้วยกันเอง เพื่อจะทำให้เกิดรายได้คุ้มกับการเดินทางไกลมาถึงตะวันออก และเพราะให้ความสำคัญแก่การค้าภายในเอเชียด้วยกันเองยิ่งกว่าโปรตุเกส ทั้ง ๒ ชาตินี้จึงต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในของประเทศเอเชียมากเสียยิ่งกว่าโปรตุเกสด้วย เพื่อจะได้สิทธิผูกขาดสินค้าบางอย่างซึ่งเป็นที่ต้องการในตลาดเอเชียด้วยกันเอง เช่น หนังสัตว์จากอยุธยาเป็นที่ต้องการของตลาดญี่ปุ่น บริษัทฮอลันดาไม่ต้องการให้สำเภาจีนจากอยุธยาได้แย่งผลประโยชน์การค้าหนังสัตว์ในญี่ปุ่น เป็นต้น บริษัทฮอลันดาจึงต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในของอยุธยาอยู่บ่อยๆ รวมทั้งปิดอ่าวและทำสงครามกับอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย
 

ในส่วนโปรตุเกส อำนาจทั้งทางการเมืองและการค้าในเอเชียก็เสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว แต่ลิสบอนก็รู้มาก่อนแล้วว่าผลประโยชน์ที่แท้จริงของตนไม่ได้อยู่ที่เอเชีย หากอยู่ที่การค้าทาสและการหาแร่ทองคำในบราซิลต่างหาก โปรตุเกสเองจึงไม่ได้ทุ่มเทกำลังของตนลงไปในการแข่งขันกับฮอลันดาและอังกฤษอย่างเต็มที่ ลดบทบาทหรือสูญเสียเมืองป้อมของตนไปให้แก่ฮอลันดาและอังกฤษตามแรงกดดันที่ไม่มีทางต่อต้าน
 

ได้กล่าวแล้วเช่นกันว่า นับตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา ลูกเรือโปรตุเกสที่เดินทางมาถึงเอเชียจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะไม่กลับประเทศ เพราะอาชีพกะลาสีเรือได้รับการดูถูก ได้รายได้ค่อนข้างต่ำ จึงไม่มีอนาคตในประเทศของตนเอง พอใจที่จะตั้งรกรากในเอเชีย อยู่ร่วมและแต่งงานกับเชื้อสายชาวโปรตุเกสด้วยกัน หรือกับชาวเอเชียที่เป็นคริสต์
 

หลักฐานชิ้นหนึ่งกล่าวว่า ในศตวรรษที่ ๑๖ มีชาวโปรตุเกส (ผิวขาว) ตามเมืองท่าต่างๆ ของเอเชียรวมกันราว ๑๖,๐๐๐ คน ครึ่งหนึ่งเป็นทหาร และอีกครึ่งหนึ่งเป็นผู้ตั้งถิ่นฐาน (casados) ซึ่งรวมคนที่แต่งงานกับชาวเอเชียและพ่อค้า จำนวนหนึ่งของทหารที่มีอยู่นี้หลุดออกไป เพราะไปรับราชการกับกษัตริย์เอเชียซึ่งจ่ายเงินได้มากกว่ากรมอินเดียหลายเท่า หรือมิฉะนั้นก็หันไปทำการค้าขายเอง ในภายหลังจึงเหลือทหารอยู่ทั้งเอเชียไม่เกิน ๕,๐๐๐ คน แต่การป้องกันเมืองป้อมต่างๆ จากการถูกโจมตียังทำอยู่ได้โดยอาศัยกำลังของพลเรือนเข้าร่วมรบ ในเวลาต่อมา จำนวนของคนที่เป็นแต่ทหารอย่างเดียวเหลือน้อยลงจนแทบไม่มี เพราะทั้งหมดต่างหันไปทำการค้าขายเอง พอมาถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ โปรตุเกสในเอเชีย เหลือแต่กำลังทหารอาสาประมาณ ๔,๐๐๐ คน ซึ่งก็คือทหารรับจ้างชาวพื้นเมืองหรือเชื้อสายโปรตุเกส แต่มีชาวคริสต์อยู่อีก ๒๐,๐๐๐ คน ที่อาจช่วยรบได้บ้าง นอกจากนี้ชุมชนโปรตุเกสในหลายแห่งยังมีทาส ซึ่งสอนให้ใช้อาวุธและออกรบได้อีกประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน
 

ในศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อการค้าในเอเชียของโปรตุเกสเสื่อมโทรมลงอย่างมาก ก็มีชาวโปรตุเกสอาสาเดินทางมาอยู่เอเชียน้อยลง เพราะมองเห็นแล้วว่าจะได้ผลกำไรในการเสี่ยงโชคได้ยาก และส่วนใหญ่มาเพื่อทำการค้าเพียงอย่างเดียวมากกว่าเพื่อผดุงอำนาจของโปรตุเกสในเอเชียไว้อีก และอีกจำนวนมากก็เป็นพวกสิบแปดมงกุฎที่หวังจะมาเสี่ยงโชคในดินแดนที่ห่างไกลจากเมืองแม่
 

ฉะนั้น ในเวลาไม่ถึงร้อยปี ชุมชนโปรตุเกสในเอเชียก็กลายเป็นชุมชนชาวพื้นเมือง กลืนหายไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอันหลากหลายของเอเชีย ความสัมพันธ์กับเมืองแม่มีน้อยลงหรือถึงกับขาดหายไปในหมู่คนส่วนใหญ่ และดังที่กล่าวแล้วว่า ระบอบปกครองของอยุธยาไม่ได้มองโปรตุเกสแตกต่างไปจากพ่อค้าต่างชาติอื่นๆ  ซึ่งต้องตั้งสถานีการค้าหรือชุมชนของตนขึ้น อันเป็นปรากฏการณ์ปรกติธรรมดาที่เกิดในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทัศนะเช่นนี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะอยุธยา แต่คงเป็นทัศนะที่ผู้ปกครองเมืองท่าอื่นๆ ในอุษาคเนย์มีเหมือนๆ กัน (ยกเว้นแต่เมืองป้อมเพียงไม่กี่แห่งที่โปรตุเกสใช้กำลังเข้ายึดครอง)
 

ชาวโปรตุเกสและเชื้อสายในเอเชีย กลายเป็นชาวเอเชียมากเสียจนกระทั่ง ในศตวรรษที่ ๑๙ ชาวตะวันตกอื่นๆ ที่ได้พบเห็นชาวโปรตุเกสเหล่านี้ มักแสดงความแปลกใจที่ชาวโปรตุเกสเหล่านี้ ช่างไม่เหมือนกับคนผิวขาวเลย (แม้แต่โปรตุเกสที่เกิดในยุโรป เช่นทูตคนแรกของโปรตุเกสในสมัยรัตนโกสินทร์)
 

แม้กระนั้น โปรตุเกสก็ทิ้งมรดกไว้ในเอเชียได้กว้างขวางกว่าชาวยุโรปอื่นๆ ก่อนสมัยใหม่ เช่น ภาษาโปรตุเกสแบบพื้นเมือง (pidgin) ถูกใช้เป็นภาษากลางในการค้าของเอเชียใต้สืบมาอีก ๒ ศตวรรษ (ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ) คำโปรตุเกสถูกภาษาพื้นเมืองหลายภาษายืมมาใช้หลายคำ (กระดาษ สบู่ โกดัง ฯลฯ) ขนมนมเนยหลายอย่างของโปรตุเกสถูกทิ้งไว้ในอยุธยาและมะละกากับรัฐมลายูอื่นๆ (โดยเฉพาะในหมู่ลูกผสมจีน-มลายูหรือบ้าบ๋า) เครื่องสีของยุโรปคือไวโอลินถูกนำมาใช้ในเพลงพื้นเมืองของอีกหลายวัฒนธรรมของอุษาคเนย์ พร้อมกับท่วงทำนองเพลงที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส (รองเง็ง และเพลงทาง “ฝรั่ง”? ในเพลงไทย)
 

ในทางตรงกันข้าม เนื่องจากเอเชีย “ขาด” ออกไปจากโปรตุเกสในเวลาไม่นาน อีกทั้งการค้ากับเอเชียไม่มีผลกระทบต่อสังคมโปรตุเกส เพราะเป็นสมบัติและทางหารายได้ของชนชั้นสูงเท่านั้น จึงแทบไม่มีวัฒนธรรมเอเชียไปปรากฏในวัฒนธรรมโปรตุเกสเลย (เมื่อเทียบกับกะหรี่ปั๊บ, rijstafel, และคำในภาษาเอเชียที่ไปปรากฏในภาษาอังกฤษและดัตช์)
 

๕๐๐ ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างโปรตุเกสและอยุธยา (ไทย-?) น่าจดจำ ไม่ใช่เพราะความสัมพันธ์นั้นมีนัยะสำคัญแก่ ๒ ประเทศ ตรงกันข้ามกลับเป็นความสัมพันธ์ที่ราบรื่น ซึ่งหมายถึงราบเรียบด้วย ไม่มีสีสันน่าตื่นเต้นแต่อย่างใด อำนาจของโปรตุเกสในเอเชียหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ แทบไม่เหลืออยู่ และไม่ต่างจากประเทศเอเชียด้วยกัน โปรตุเกสจึงไม่สามารถใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ทางการค้าหรือการเมืองกับประเทศในอุษาคเนย์ได้อีก (เหลืออาณานิคมเล็กๆ ที่ครึ่งตะวันออกของเกาะติมอร์ - Timor L’Este - เท่านั้น) โปรตุเกสจึงพร้อมจะโอนอ่อนต่อนโยบายการค้าของรัฐบาลอยุธยา (และรัตนโกสินทร์) สร้างความสัมพันธ์ที่ราบรื่นต่อกัน โดยไม่มีฝ่ายใดใช้กำลังเข้าข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่ง ความไม่มีสีสันในความสัมพันธ์นี้ต่างหากที่น่าจดจำ เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน (แม้ด้วยความจำใจก็ตาม)


(อ่านบทความฉบับสมบูรณ์พร้อมเชิงอรรถได้ที่ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2555)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332589470&grpid=03&catid=&subcatid=

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #41182 เมื่อ: 08 เมษายน 2555, 21:28:28 »

แถมด้วย..ในเทศการอีสเตอร์(วันนี้)..หาไข่อีสเตอร์ให้เจอนะครับ ??
Happy Easter from Kate Upton


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=vBdWGD8F3Oo" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=vBdWGD8F3Oo</a>
      บันทึกการเข้า
ตุ๋ย 22
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2522
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 20,173

« ตอบ #41183 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 00:05:27 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 08 เมษายน 2555, 21:28:28
แถมด้วย..ในเทศการอีสเตอร์(วันนี้)..หาไข่อีสเตอร์ให้เจอนะครับ ??
Happy Easter from Kate Upton


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=vBdWGD8F3Oo" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=vBdWGD8F3Oo</a>
เบื่อไข่จังครับ
      บันทึกการเข้า

น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41184 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 00:07:24 »

ต่อไม่ถูกเลย พี่ตุ๋ย ..    เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #41185 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 00:17:05 »

อ้างถึง
ข้อความของ ตุ๋ย 22 เมื่อ 09 เมษายน 2555, 00:05:27
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 08 เมษายน 2555, 21:28:28
แถมด้วย..ในเทศการอีสเตอร์(วันนี้)..หาไข่อีสเตอร์ให้เจอนะครับ ??
Happy Easter from Kate Upton


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=vBdWGD8F3Oo" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=vBdWGD8F3Oo</a>
เบื่อไข่จังครับ

 เบื่อ อะไรก็เอามันออกไป อย่าให้อยู่ใกล้ ตัวซิ น้องตุ๋ย    เหอๆๆ เหอๆๆ เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41186 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 00:51:10 »

มีเป็ดอยู่แถวบ้านไหมคะ  พี่ตุ๋ย .. ถ้ามี จะช่วยให้ง่ายขึ้นเยอะเลย    สะใจจัง
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41187 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 01:50:16 »

แอบนินทาลูกดีกว่า .. ตอนนี้ประมาณ 1 ทุ่มที่ลิสบอน ตรงกับ 2 ทุ่มของสเปน
ซึ่งเป็นเวลาเริ่มแข่งขันฟุตบอล

คาดว่า ลูกและเพื่อน ๆ ซึ่งไปเที่ยวสเปน 
คงเข้าไปในสนามบอล Real Madrid เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เพราะได้กำชับว่า ให้ไปถึงสนามอย่างน้อย 2 ชม.
เนื่องจากคนเยอะมาก  ละลานตา
และอาจมีปัญหาเรื่องการเดินทาง นิดหน่อย

เด็กน้อยตั้งใจอย่างมาก  ที่จะไปชมการเตะระหว่าง Real Madrid vs Valencia คืนนี้
และคงได้เริ่มส่งเสียงเชียร์กันแล้ว

นี่ค่ะ .. พอไปถึงสเปน  และได้รับตั๋วซึ่งเพื่อนอาแปะช่วยซื้อตั๋วให้
ก็รีบส่งมาให้แม่ดูทันที ..

ขอให้สนุก นะลูกนะ ..





      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #41188 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 01:56:39 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 09 เมษายน 2555, 01:50:16
แอบนินทาลูกดีกว่า .. ตอนนี้ประมาณ 1 ทุ่มที่ลิสบอน ตรงกับ 2 ทุ่มของสเปน
ซึ่งเป็นเวลาเริ่มแข่งขันฟุตบอล

คาดว่า ลูกและเพื่อน ๆ ซึ่งไปเที่ยวสเปน 
คงเข้าไปในสนามบอล Real Madrid เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เพราะได้กำชับว่า ให้ไปถึงสนามอย่างน้อย 2 ชม.
เนื่องจากคนเยอะมาก  ละลานตา
และอาจมีปัญหาเรื่องการเดินทาง นิดหน่อย

เด็กน้อยตั้งใจอย่างมาก  ที่จะไปชมการเตะระหว่าง Real Madrid vs Valencia คืนนี้
และคงได้เริ่มส่งเสียงเชียร์กันแล้ว

นี่ค่ะ .. พอไปถึงสเปน  และได้รับตั๋วซึ่งเพื่อนอาแปะช่วยซื้อตั๋วให้
ก็รีบส่งมาให้แม่ดูทันที ..

ขอให้สนุก นะลูกนะ ..







โหหห ได้ไปดูแมชจริงเลยหรือครับพี่หยี
อิจฉามากกกกกกกก
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41189 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 01:58:48 »



ความตั้งใจของเขาล่ะ ..
   สะใจจัง
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41190 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 02:06:32 »

ห้องนอน .. เมื่อแขกคนแรกมาถึง สภาพแบบนี้    หลั่นล้า



      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41191 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 02:06:55 »

นอนไปได้สองคีน .. แขกคนที่สองมาถึง .. แปลงเป็นแบบนี้     บ่ฮู้บ่หัน



      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41192 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 02:09:05 »

เมื่อแขกคนที่สามมาถึง .. สมาชิกในห้อง  เพิ่มเป็น 4 .. หน้าตาจึงออกมาแบบนี้     แบร่่!!!

      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41193 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 02:10:52 »

4 สมาชิกใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเพียง 2 คืน .. ห้องนอน เป็นแบบนี้      ฮือๆ



      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41194 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 02:12:10 »

และแบบนี้ ..      sing



      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41195 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 02:43:39 »

ระหว่างลูกไปดูฟุตบอลที่สเปน ..

แอบนำผ้าเช็ดตัวเละ ๆ และเสื้อผ้าบางส่วนไปซัก-อบ ให้
ผ้าห่มตากแดด
และดูดฝุ่น ถูห้องให้ด้วย

หน้าตาพอดูได้หน่อยค่ะ  พี่น้อง
     sing







      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41196 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 02:44:39 »

คาดว่า .. คงอยู่ดูดีแบบนี้  ได้เพียงวันเดียว     เหนื่อย
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #41197 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 05:31:57 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 09 เมษายน 2555, 02:43:39
ระหว่างลูกไปดูฟุตบอลที่สเปน ..

แอบนำผ้าเช็ดตัวเละ ๆ และเสื้อผ้าบางส่วนไปซัก-อบ ให้
ผ้าห่มตากแดด
และดูดฝุ่น ถูห้องให้ด้วย

หน้าตาพอดูได้หน่อยค่ะ  พี่น้อง
     sing








สวัสดีวันใหม่ที่เมืองไทยค่ะแม่ยอดยาหยี......,มีคุณแม่ที่ดีและน่ารักเลยเป็นแบบนี้จ่ะ......
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #41198 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 07:35:05 »

อ้างถึง
ข้อความของ Kaimook เมื่อ 09 เมษายน 2555, 05:31:57
อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 09 เมษายน 2555, 02:43:39
ระหว่างลูกไปดูฟุตบอลที่สเปน ..

แอบนำผ้าเช็ดตัวเละ ๆ และเสื้อผ้าบางส่วนไปซัก-อบ ให้
ผ้าห่มตากแดด
และดูดฝุ่น ถูห้องให้ด้วย

หน้าตาพอดูได้หน่อยค่ะ  พี่น้อง
     sing








สวัสดีวันใหม่ที่เมืองไทยค่ะแม่ยอดยาหยี......,มีคุณแม่ที่ดีและน่ารักเลยเป็นแบบนี้จ่ะ......


 คุณแม่ ทั้งหลาย......( จากภาพ ภายในห้อง ) คุณพ่ออย่างพี่ปิ๊ด ก็จะหัวเราะ หึ  หึ แล้วก็ บอกคุณแม่(นางแจ๋ว) นั้นแหละ
            ลูกผู้ชายตัวจริง....ฮะ..ฮะ..ฮา.. บางที ของสูงไปอยู่ตํ่า ของตํ่าไปอยู่สูง ดูไม่จืด....ถ้าห้องเรียบร้อย คุณแม่โปรด
           ทราบ...ลูกเราอาจไม่ใช่ชายแท้ ครับ.....( พี่ปิ๊ดมี ลูกชาย เหมือนกัน)
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #41199 เมื่อ: 09 เมษายน 2555, 07:47:03 »

ห้องลูกชายพี่  ก็คล้าย ๆ กับตอนรก ๆ ด้วยหรือเปล่าคะ?     ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
  หน้า: 1 ... 1646 1647 [1648] 1649 1650 ... 1883   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><