Leam
|
|
« ตอบ #1150 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 16:33:27 » |
|
บาหลี : เกาะหมื่นวิหาร,อัญมณีแห่งมหาสมุทรอินเดีย และสวรรค์ของนักเดินทาง
สารบัญ
เรื่องควรรู้ก่อนไปเที่ยวบาหลี วีซ่า,หน่วยเงิน,การแลกเงิน,บัตรเครดิต,การติดต่อสื่อสาร,ไฟฟ้า, การแต่งกาย,วัฒนธรรมและการทักทาย ข้อควรระวังเมื่อไปเที่ยวบาหลี การเดินทางสู่บาหลีและการเดินทางภายในบาหลี การเดินทางสู่บาหลี การเดินทางภายในบาหลี บาหลีในอดีต บาหลีวันนี้ ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ประชากร ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษา ชนชั้นวรรณะและการตั้งชื่อ การปกครองในบาหลี กิจกรรมซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เมื่อไปบาหลี ชมวัด,ชมการแสดงทางวัฒนธรรม,ชมทัศนียภาพและความเป็นอยู่ของชาวบาหลี, สปาร์,กอล์ฟ,ล่องเรือ,กระดานโต้คลื่น,ดำน้ำ แหล่งท่องเที่ยวบาหลี แบ่งตามเขต 1. แหล่งท่องเที่ยวเขตบาดุง(Badung) 2. แหล่งท่องเที่ยวเขตบูเลเล็ง(Buleleng) 3. แหล่งท่องเที่ยวเขตเกียนยาร์(Gianyar) 4. แหล่งท่องเที่ยวเขตทาบานัน(Tabanan) 5. แหล่งท่องเที่ยวเขตการังกาเสม(Karangasem) 6. แหล่งท่องเที่ยวเขตกลุงกุง(Klungkung) 7. แหล่งท่องเที่ยวเขตเจ็มบรานา(Jembrana) 8. แหล่งท่องเที่ยวเขตบังลี(Bangli) ที่พัก ประเภทและราคาที่พัก แหล่งที่พัก ศิลปะบาหลี ภาพวาด,งานหินแกะสลัก,งานไม้แกะสลัก,งานผ้า การช้อปปิ้งที่บาหลี สินค้าที่น่าสนใจและซื้อหา แหล่งช้อปปิ้งที่บาหลี
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1151 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 16:36:25 » |
|
เรื่องควรรู้ก่อนไปเที่ยวบาหลี
• วีซ่า สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยไม่ต้องขอวีซ่าเพื่อเข้าบาหลี ใช้เพียงแค่หนังสือเดินทางที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนก็สามารถเดินทางไปเที่ยวบาหลีได้ทันที • หน่วยเงิน หน่วยเงินของบาหลีและอินโดนีเซียเป็นรูเปียห์ (Rupiah) มีมูลค่าประมาณ 279.918 รูเปียห์ต่อ 1 บาท หรือ 1 เหรียญสหรัฐฯจะแลกได้ 9,045 รูเปียห์ (ณ.วันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2010) ธนบัตรมีมูลค่า 100, 500, 1,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000, และ 100,000 รูเปียห์ ส่วนเหรียญมีมูลค่า 5, 10, 25, 50, 100, 500, และ 1,000 รูเปียห์ แต่เหรียญ 5, 10 และ 25 มักไม่ค่อยใช้กัน ยกเว้นในซุปเปอร์มาเก็ต ซึ่งใช้ในการทอน ฉนั้นคุณควรติดเหรียญและธนบัตรย่อยไว้ โดยเฉพาะเวลาต้องเดินทางออกไปนอกเมือง • การแลกเงินในบาหลี ธนาคารและหน่วยบริการแลกเงินที่เป็นทางการ จะให้อัตราการแลกเงินตราต่างประเทศ (ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือเช็คเดินทาง) ในอัตราสูงสุด โรงแรมมักให้อัตราแลกเงินที่ต่ำกว่าธนาคารมาก การแลกเงินทุกครั้ง ควรตรวจดูจำนวนเงินว่าตรงกับอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ และอย่าลืมเก็บใบเสร็จไว้ด้วย ผู้รับแลกเงินตามสนามบินและหาดคูต้า ขึ้นชื่อในเรื่องโกงอัตราแลกเปลี่ยนกับนักท่องเที่ยวอยู่บ่อยๆ ซึ่งคุณควรระวังเรื่องนี้ให้มาก อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนเงินรูเปียห์นั้นผกผันได้อย่างมาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในประเทศอินโดนีเซีย ควรตรวจสอบอีกครั้งก่อนการเดินทาง • บัตรเครดิต เป็นที่ยอมรับทั่วไปของร้านค้า โรงแรม และภัตตาคารในย่านแหล่งท่องเที่ยว บัตรเครดิตที่รับคือ วีซ่า,มาสเตอร์การ์ด และอเมริกัน เอ็กเพรส แต่ก็มักมีการคิดค่าธรรมเนียมราว 3-5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้แล้วคุณยังสามารถเบิกเงินสดล่วงหน้าจากบัตรเครดิตได้ ในพื้นที่ท่องเที่ยวซึ่งมีตู้ATM ซึ่งมีอยู่ทั่วไป • การติดต่อสื่อสาร - ไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์เปิดทำการวันจันทร์-เสาร์ โดยวันจันทร์-พฤหัสบดี เปิดเวลา 8.00-14.00 น. วันศุกร์ 8.00-11.00 น. และวันเสาร์ 8.00-12.30 น. - โทรศัพท์ โทรศัพท์สาธารณะในบาหลีมีบริการในบริเวณที่เป็นแหล่งความเจริญและแหล่งท่องเที่ยว มีบริการทั้งแบบหยอดเหรียญและแบบใช้บัตรโทรศัพท์ ส่วนค่าโทรศัพท์กลับมาเมืองไทยจะตกอยู่ในราวนาทีละ 10,000 รูเปียร์ (หมุน 001+66+หมายเลขที่ต้องการ) การโทรจากประเทศไทยไปยังบาหลีต้องกดรหัสประเทศอินโดนีเซียคือ 62 ตามด้วยรหัสเมืองของบาหลีและหมายเลขที่ต้องการ รหัสเมืองภายในบาหลี กูต้า-เลเกียน-เซมันยิก, เดนปาซาร์, นูซาดูอาร์, ซานูร์, อูบุด, เกียนยาร์ คือ 361 โลวิน่า, สิงคราชา, คินตามณี คือ 362 ชานดิดาสา, เตียตาร์กังกา คือ 363 เนการา, เมเดวี, กิลิมานุก คือ 356 บาตู คือ 366 เบดูกัล คือ 368 • หมายเลขโทรศัพท์สำคัญที่ควรรู้ รถพยาบาล 118 ดับเพลิง 113 ตำรวจ 110 บรรเทาสาธารณภัย 51111 ธนาคาร/บัตรเครดิต -วีซ่า 226578 -มาสเตอร์การ์ด 222652 -อเมริกัน เอ็กเพรส 288511ต่อ111 หรือ 773334 • ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่บาหลีใช้คือ 220-240 โวลต์ ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำไปจากประเทศไทยสามารถนำไปใช้ได้และปลั๊กไฟเป็นแบบสองตา • เวลา เวลาของบาหลีเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง เวลาทำงานและประกอบกิจการ • เวลาเปิด-ปิดของสถานที่ต่างๆจะไม่ตรงกันหากเป็นสำนักงานทั่วไป เช่น สายการบินจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. และมีเวลาหยุดพักกลางวันต่างๆ กันไป ธนาคารจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-15.00 น.และวันเสาร์เปิดตั้งแต่ 8.00-13.00 น. • ร้านค้าทั่วไปเปิดประมาณ 10.00-20.00 น. หรืออาจเลยไปถึง 22.00 น. • ส่วนสถานที่ราชการจะเปิดทำการวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 8.00-15.00 น. วันศุกร์ 8.00-11.30 น. และวันเสาร์ 8.00-12.00 น. • การแต่งกาย ชาวบาหลีให้ความสำคัญกับการวางตัวในที่สาธารณะ การแต่งกายก็สำคัญ กิริยาท่าทางแบบฮิปปี้ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในหมู่คนท้องถิ่น การสวมใส่เสื้อผ้าเก่าๆซอมซ่อ อาจลดโอกาสของคุณที่จะได้รับบริการดีๆก็ได้ โดยเฉพาะในสถานที่ราชการ เสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น และกระโปรงสั้นไม่ใช่เครื่องแต่งกายที่เหมาะสม เครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชายที่ควรสวมใส่เมื่อเข้าสถานที่ราชการคือ กางเกงขายาวและเสื้อมีแขน กระโปรงชุดหรือเสื้อมีแขนและกระโปรงสำหรับผู้หญิง สำหรับวาระสำคัญหรือในงานที่เป็นทางการ ผู้ชายมักใส่เสื้อบาติก(Batik) หรือ อิกัต(Ikat) และกางเกงขายาว ส่วนผู้หญิงมักสวมกระโปรงชุด เสื้อแจ็กเก็ตชนิดบางหรือเสื้อสเว็ตเตอร์ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางในพื้นที่ภูเขา การเยี่ยมชมวัด ต้องแต่งกายอย่างสุภาพ หรือแต่งชุดปะคะเอียน อะดัต(Pakaian Adat หรือเครื่องแต่งกายท้องถิ่น) ซึ่งประกอบด้วย เคน(Kain) เคอบะยา(Kebaya) และผ้าคาดสำหรับผู้หญิง และอุเดง(Udeng หรือผ้าพันศรีษะ) เคน และ ซะปุต(Saput หรือ กระโปรง) เสื้อสุภาพ และผ้าคาดสำหรับผู้ชาย คุณควรมีผ้าโสร่ง ติดตัวไว้ด้วยในกรณีที่คุณใส่ขาสั้น หากคุณเห็นว่าในวัดกำลังมีพิธีกรรม คุณควรรออยู่ด้านนอกจนงานเสร็จ คุณไม่ควรลืมว่า งานประจำเทศกาลของวัด และพิธีกรรมอื่นๆ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชาวบาหลี และควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ • วัฒนธรรมและการทักทาย ชาวบาหลีเชื่อว่าโลกคือบ้านของพวกเขาและนักเดินทางคืออาคันตุกะของพวกเขา ถึงแม้ว่าการขยายตัวของการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาทำให้ท่าทีเชิงบวกนี้ได้เปลี่ยนไป แต่ชาวบาหลีในปัจจุบันก็ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มชนที่มีความเป็นมิตร และน้ำใจไมตรีสูงมากกลุ่มหนึ่ง และก็ยังคงเป็นผู้ที่มีประเพณี เป็นหัวใจของการดำรงชีวิต นักท่องเที่ยวควรให้ความเคารพต่อประเพณีและทัศนคติของชาวบาหลี ที่อาจแตกต่างจากทัศนคติของตน ชาวบาหลีมีความสุภาพเป็นอย่างมาก และรอยยิ้มเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเกาะ ในปัจจุบันการทักทายด้วยการจับมือแบบตะวันตกเป็นการทักทายที่ใช้อยู่ทั่วไปทั้งชายและหญิง
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1152 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 17:06:59 » |
|
ข้อควรระวังเมื่อไปเที่ยวบาหลี • ระวังรักษาสิ่งของมีค่าที่อยู่กับตัวเสมอเนื่องจากมีผู้ไม่หวังดีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่ คนเยอะ เอกสารสำคัญหรือของมีค่าควรเก็บไว้ในตู้เซฟของโรงแรม และกระเป๋าที่พกติดตัวก็ควรจะ มิดชิดเช่นกัน • ควรมีสำเนาพาสปอร์ตติดตัวไปด้วยเสมอ • เมื่อลงไปว่ายน้ำอย่าออกไปว่ายนอกเขตที่กำหนดไว้ เนื่องจากกระแสน้ำจะแรงมากให้ว่ายในบริเวณ ระหว่างธงแดงและธงเหลือง • อย่าพกพาหรือเสพยาเสพติดใดๆทั้งสิ้น หากถูกตรวจพบอาจถูกจำคุกไปจนกระทั้งประหารชีวิต • อย่าเดินเหยียบเครื่องบูชาที่วางไว้ตามพื้น • อย่าแตะศีรษะผู้อื่น เนื่องจากเป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับศาสนาฮินดู • การรับส่งของด้วยมือซ้ายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะชาวบาหลีถือว่ามือซ้ายเป็นมือสำหรับ ใช้ชำระล้างในห้องน้ำ • การใช้มือซ้ายชี้ก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการกระดิกนิ้วเรียกก็ถือว่าเป็นการไม่สุภาพอย่างมาก ด้วยเช่นกัน • สำหรับผู้หญิงห้ามเข้าวัดหากอยู่ในระหว่างมีประจำเดือน • ในการเข้าชมวัดต้องแต่งตัวเรียบร้อยใส่เสื้อมีแขน ไม่เปิดไหล่ ไม่ใส่กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสั้น ไม่เช่นนั้นจะต้องนุ่งโสร่ง ซึ่งวัดใหญ่ๆจะมีให้เช่า และทุกคนต้องใช้ผ้าคาดเอวซึ่งส่วนมากจะให้บริการฟรี แต่มักมีการเก็บเงิน ทางที่ดีถ้ามีโปรแกรมเข้าวัดเยอะๆ ก็ควรพกผ้าคาดเอวส่วนตัวไปเลย • หากเข้าไปในวัดขณะที่กำลังมีพิธีไหว้อยู่ควรนั่งชมอยู่ห่างๆ และไม่ยืนค้ำคนที่นั่งไหว้อยู่ หรือยืนค้ำเครื่องบูชา อีกทั้งไม่ควรถ่ายรูปโดยใช้แฟลช • ไม่ควรเดินตัดหน้าผู้ที่กำลังสวดมนต์ หรือกำลังกำลังทำพิธีไหว้อยู่ • ก่อนจะซื้อสินค้าให้ตรวจสอบราคาที่ตกลงกันไว้ให้ดีก่อนทางที่ดีควรพกเครื่องคิดเลขติดตัวไว้ด้วย จะช่วยได้มาก และอย่าลืมต่อรองราคาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ตรวจสอบเมื่อแลกเงินและแลกเงินเฉพาะกับธนาคารหรือร้านรับแลกเงินที่ได้รับอนุญาต อย่างเป็นทางการเท่านั้น เพราะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเจอปัญหาเรื่องโดนโกงโดยให้แลกเงินกลับมา ไม่ครบ • หากคนขายของตามร้านข้างทางเรียกให้ซื้อของ ถ้าไม่ต้องการซื้อก็อย่าไปต่อรองราคาเล่นๆ เพราะถ้าต่อแล้วไม่ซื้อ อาจเป็นเรื่องราวใหญ่โตได้ • การซื้อตั๋วโดยสารเรือ รถ หรือจองทัวร์ใดๆ ก็ตาม ควรทำกับสำนักงานในโรงแรมที่พัก หรือบริษัทที่เชื่อถือได้เท่านั้น ระวังพวกต้มตุ๋นริมถนนที่อ้างว่าขายตั๋วราคาถูกพิเศษให้ อาจเสียเงินไปฟรีๆก็ได้
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1153 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 17:36:49 » |
|
การเดินทางสู่บาหลีและการเดินทางภายในบาหลี
การเดินทางสู่บาหลี • ทางอากาศ มีเที่ยวบินที่บินตรงจากกรุงเทพฯ สู่สนามบินงูราห์ราย(Ngurah Rai International Airport) ซึ่งตั้งอยู่บนแหลมตุบัน(Tuban) ทางตอนใต้ของเกาะของบาหลี คือ สายการบินแอร์เอชีย(low coast airline), การบินไทย และนอกจากนั้นยังมีการูด้าแอร์ไลน์ ซึ่งราคาจะประหยัดกว่าการบินไทยพอสมควร (การูด้าแอร์ไลน์จะแวะเปลี่ยนเครื่องที่ จาการ์ต้า) และจากจาการ์ตาไปยังบาหลี หากคุณเดินทางถึงจาการ์ตาก่อนห้าโมงเย็น จะมีเที่ยวบินไปบาหลี (เที่ยวสุดท้าย) ซึ่งใช้เวลาเพียง 90 นาที เป็นเส้นทางผ่านภูเขาไฟที่มีทิวทัศน์งดงาม หากเลือกที่นั่งได้ คุณควรเลือกนั่งทางขวามือเนื่องจากจะสามารถเห็นทัศนียภาพอันตระการตาได้ดีที่สุด (หมายเหตุ : ค่าภาษีสนามบินที่บาหลี(ขาออก)ท่านละ 150,000 รูเปียห์ ต้องชำระเองโดยตรงที่สนามบินบาหลีเท่านั้น ไม่ได้รวมไว้ในราคาตั๋วเครื่องบิน)
การเดินทางภายในบาหลี • รถประจำทาง หรือรถบัสจะให้บริการระยะทางไกลๆ เป็นรถประจำทางขนาดใหญ่ • บีโม หรือ เบอโม (Bemos)คือรถประจำทางขนาดเล็กแบบรถตู้ขนาดที่นั่งประมาณ 10 คน จะให้บริการเส้นทางระหว่างเมืองใกล้ๆชาวบาหลีเดินทางไปไหนมาไหนโดยรถเบอโม ซึ่งเหมือนกับรถสองแถวบ้านเรา ผู้ที่เดินทางด้วยวิธีนี้ ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนอบอ้าว และฝุ่นควันจากเครื่องยนต์ดีเซล แต่ก็จะมีโอกาสได้พบเห็นและสัมผัสชีวิตของผู้คนชาวบาหลีได้มาก รถเมล์ในบาหลีส่วนใหญ่มีเส้นทางการเดินรถ ในระยะไกลกว่ารถเบอโม และมีไม่มากนัก ปัจจุบัน บาหลีมีรถเมล์เล็กจำนวนมาก และมีเส้นทางเดินรถเมล์เล็กทั่วเกาะ คุณไม่จำเป็นต้องขึ้นรถเบอโมที่ป้ายหากคุณเห็นรถวิ่งมาคุณสามารถโบกเรียกได้เลย เมื่อถึงจุดที่จะลง ก็ใช้วิธีตะโกนบอก • ชัตเติลบัส คือรสบัสที่วิ่งประจำเส้นทางสำคัญๆ โดยไม่จอดแวะรับระหว่างทาง เช่น กูต้าไปอูบุด หรือเดนบาซาร์ • แท็กซี่ ที่เดนปาซาร์หรือกูต้าจะมีรถแท็กซี่มิเตอร์สีฟ้าหรือสีขาวให้บริการไปยังจุดต่างๆ โดยเฉพาะโรงแรมที่พัก การเหมาแท็กซี่ส่วนบุคคลให้พาเที่ยวนั้นทำได้ แต่ต้องตกลงราคาและต่อรองราคาให้ดีก่อนเสมอ • รถเช่า นักท่องเที่ยวสามารถเช่าได้ตามบริษัทให้เช่ารถ เช่น AVIS และ HERTZ หรือ บริษัทรถเช่าท้องถิ่น ก่อนตกลงราคาควรแน่ใจว่ามีประกันคุ้มครองด้วย การขับขี่รถยนต์ในบาหลีกำหนดความเร็วไม่เกิน 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และต้องมีใบขับขี่สากล อย่างไรก็ดีการขับขี่รถในบาหลีต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะถนนค่อนข้างแคบและเล็ก โดยเฉพาะในเขตตอนกลางเกาะซึ่งเป็นภูเขาสูง นอกจากนั้นมักจะเจอขบวนแห่ต่างๆ บนถนนเสมอ ซึ่งต้องใจเย็น ไม่แซง และไม่บีบแตรไล่ • รถมอเตอร์ไซค์และจักรยาน ผู้เช่าต้องมีใบขับขี่สากลเช่นกัน ขณะขับขี่ ทั้งคนขับและคนซ้อนต้องสวมหมวกกันน็อก
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1154 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2553, 13:31:07 » |
|
บาหลีในอดีต
• เชื่อกันว่าคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบาหลีน่าจะอพยพมาจากประเทศจีนเมื่อสมัย 4,500 ปี แต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆหลงเหลืออยู่ ส่วนหลักฐานเก่าแก่ที่สุดยังปรากฏ เช่น ระบบของการทำเกษตรกรรม และการผลิตข้าว เช่นเดียวกับที่ยังพบเห็นได้ในปัจจุบันมาจากยุคสำริด คือประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล และมีการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นโบราณวัตถุทางศาสนาฮินดูจากศตวรรษที่ 3 และ 4 แต่ภายหลังปรากฏว่าศาสนาพุทธได้กลายเป็นศาสนาประจำของชาวบาหลีในยุคแรก เพราะคำว่าบาหลีถูกพบในบันทึกของนักปราชญ์ชาวจีนเมื่อปีคริสตศักราชที่ 670 ว่า ขณะเดินทางไปยังอินเดีย ได้แวะยังดินแดนชาวพุทธแห่งหนึ่งซึ่งก็คือบาหลีนั้นเอง • คริสต์ศตวรรษที่ 11บาหลีจึงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของฮินดูและชวา เจ้าชายแห่งบาหลีในขณะนั้นได้เผยแผ่อิทธิพลไปครอบครองทางฝั่งตะวันออกของชวาและสถาปนาน้องชายให้เป็นผู้ปกครองบาหลี จึงได้รับเอาศาสนาฮินดูจากชวาจึงเข้ามายังเกาะบาหลี • บาหลีเองยังคงเป็นเอกราช จนกระทั่งปีค.ศ.1284 กษัตริย์เกอร์ตาเนการาที่ปกครองชาวตะวันออกได้เข้าครอบครองบาหลี ถึงปีค.ศ.1292 จึงได้เป็นอิสระอีกครั้ง เนื่องจากกษัตริย์เกอร์ตาเนการาถูกลอบปลงพระชนม์ • ในปี ค.ศ. 1343 บาหลีก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชวาอีกครั้งในสมัยของมัชปาหิต (Majapahit) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่จนเมื่อมีการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามจากเกาะสุมาตราและชวาในช่วงคริศต์ศตวรรษที่ 16 ทำให้อาณาจักรมัชปาหิตล่มสลายลง ราชนิกูลและศิลปินแขนงต่างๆ รวมทั้งนักบวชพากันลี้ภัยเข้ามาอยู่ในบาหลี อันเป็นผลให้ศิลปะของชวาดั้งเดิมเจริญรุ่งเรืองต่อมา จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมบาหลี • บาหลีในยุครุ่งเรืองแบ่งการปกครองออกเป็นอาณาจักรต่างๆ แต่อาณาจักรมีเจ้าผู้ครองเมืองหรือรายาเป็นประมุข และแต่ละอาณาจักรก็แย่งชิงอำนาจกันบ้าง ปรองดองกันบ้าง • ปีค.ศ.1597 ชาวยุโรชาติแรกที่เดินเรือผ่านมาขึ้นบกยังบาหลีคือชาวดัตช์ แต่ชาวดัตช์ก็ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะครอบครองบาหลี ทั้งที่ได้ดินแดนอินโดนีเซียส่วนใหญ่ไว้เป็นอาณานิคมแล้ว ต่อมาปี ศ.ศ. 1846 ดัตช์จึงเริ่มส่งกองทหารสู่บาหลีและเข้ายึดครองอาณาจักรต่างๆทีละอาณาจักร โดยใช้กองกำลังทหารเข้าบีบบังคับให้รายายอมจำนน ซึ่งรายาและราชวงศ์ส่วนใหญ่ของบาหลีเลือกวิธีรักษาศักดิ์ศรี โดยไม่ยอมตกเป็นข้าเมืองขึ้น ด้วยวิธีการฆ่าตัวตายหมู่(Puputan)ทั้งราชสำนัก ในปีค.ศ.1908 จนปีค.ศ.1911 บาหลีทั้งหมดก็ตกเป็นของดัตช์โดยสิ้นเชิง • ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดัตช์ถูกญี่ปุ่นชิงการปกครองบาหลีไป เนื่องจากขณะนั้นญี่ปุ่นสามารถยึดครองอินโดนีเซียได้ในระหว่างปีค.ศ.1942-1945 อินโดนีเซียได้ประกาศให้เป็นประเทศอาณานิคมและมีประธานาธิบดีคนแรกคือซูการ์โน แต่ก็ต้องใช้เวลายาวนานกว่า 4 ปี เพื่อให้ได้เอกราชอย่างแท้จริง เพราะดัตช์ไม่ยอมวางมือ ขบวนการต่อต้านดัตช์ในบาหลีชื่อเต็นตรา เกอะอะมานัน รัคยัต (Tentra Keamanan Rakyat) หรือกองกำลังความมั่นคงแห่งประชาชน (People's Security Force) ลุกฮือขึ้นต่อต้านดัตช์ที่เมืองมาร์กา (Marga) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1946 นำโดย อิ กุสตี งูระห์ ไร (I Gusti Ngurah Rai) โดยเป็นการต่อสู้เพื่อพลีชีพของนักรบหรือปูปูตันอีกครั้ง กระทั่งรัฐบาลดัตช์ทนต่อการกดดันจากนานาชาติไม่ไหวจึงล้มเลิกความพยายามในปีค.ศ.1949 ทำให้อินโดนีเซียได้เป็นประเทศเอกราชอย่างเต็มภาคภูมิ โดยมีบาหลีเป็นส่วนหนึ่งของประเทศด้วยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1155 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2553, 13:35:39 » |
|
บาหลีวันนี้ บาหลีเป็นเกาะเกาะหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความสวยงามด้วยธรรมชาติที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวกับวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งได้สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานับพันปี มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก เช่น วัดและวัง ซึ่งมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชายหาดที่สวยงามและขาวสะอาด รวมทั้งผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการดำเนินชีวิตของคนบาหลีด้วยวิธีการกสิกรรมแบบดั้งเดิม ทำให้บาหลีกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทั่วโลกรู้จัก ต้นศตวรรษที่ 20 บรรดาเหล่าศิลปินจากยุโรปได้เดินทางเข้ามาเที่ยวบาหลี ต่างหลงใหลในความงามตามธรรมชาติกับวัฒนธรรมอันงดงามของบาหลี จึงได้ผลิตงานเขียนและภาพวาดไปเผยแพร่ในยุโรปทำให้ใครต่อใครอยากมาเยือนเกาะสวรรค์บนดินแห่งนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกกว่าหนึ่งล้านคนต่อปี เดินทางเข้ามาชมความงดงามทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของบาหลี กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีปริมาณสูงสุดคือออสเตรเลียและญี่ปุ่น
• ภูมิศาสตร์ บาหลีอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะชวา บาหลีเป็นเกาะเล็กๆ อยู่ติดกับเกาะชวา มีพื้นที่ 5,634.40 ตารางกิโลเมตร ระยะเหนือ - ใต้ ยาว 90 กม. ตะวันออก - ตก ยาว 150 กม., มี ชายหาดรวม 529 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง(Latitude) 8 องศา 03'40" - 8 องศา 50'48" ใต้ ระหว่างเส้นแวง(Longitude) 114 องศา 25'53" 115 องศา 42'40" ตะวันออก บาหลีคือหนึ่งในจำนวนเกาะกว่าหมื่นเกาะของอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีฐานะเป็นรัฐมีผู้ปกครองของตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นเกาะสุดท้ายทางฝั่งตะวันออกที่มีสภาพแวดล้อมเป็นแบบป่าฝนของเอเชีย แม้บาหลีเป็นเกาะเล็กๆ แต่ภูมิประเทศของบาหลี กลับมีความหลากหลายมาก พื้นที่ทางตอนกลางนั้นมีภูเขาไฟเป็นจุดสูงที่สุดของเกาะและยังคุกรุ่นอยู่คือ ภูเขาไฟกุหนุงอากุง(Gunung Agung) มีความสูงถึง 3,142 เมตร นอกจากภูเขาสูงแล้วยังมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ พร้อมกับหาดทรายขาวละเอียดทอดยาวไปตามชายฝั่ง ทางตอนใต้เป็นแหล่งปลูกข้าวบนนาบันได และทางตอนเหนือปลูกกาแฟ เครื่องเทศ และต้นสลัก(สละ)
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1156 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2553, 13:46:02 » |
|
• ภูมิอากาศ เนื่องจากบาหลีตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิจึงอยู่ในช่วง 21-32 องศาเซลเซียส (70-90 องศาฟาเรนไฮน์) โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 26 องศา เซลเซียส (78 องศา ฟาเรนไฮน์) บาหลีมีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูแล้งและฤดูมรสุม ฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน โดยมีเดือนกรกฎาเป็นเดือนที่มีอากาศเย็นที่สุดในช่วงปี ฤดูมรสุมเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เดือนมกราคม เป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุดของปี สภาพอากาศของบาหลีมีความชื้นราว 75 % ตลอดปี ลักษณะอากาศของบาหลีเป็นแบบป่าฝนร้อนชื้น ลมมรสุมประจำปี ทำให้เกิดลมและฝนในช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคมซึ่งอากาศบริเวณภูเขาจะเย็นกว่าอากาศบริเวณชายทะเลประมาณ 5 องศา เซลเซียส ช่วงเวลาที่ควรไปเที่ยว เวลาที่เหมาะสมในการไปเที่ยวคือระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายน แต่ควรระวังเรื่องที่พักเพราะเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวของชาวตะวันตก(โดยเฉพาะชาวออสเตรเลียที่นิยมมาเที่ยวบาหลีกันมาก) รวมทั้งช่วงวันหยุดคริสต์มาสและปีใหม่เนื่องจากที่พักจะมีราคาแพงกว่าปรกติและมักจะถูกจองล่วงหน้าจนเต็มหมดทุกแห่ง • ประชากร บาหลีมีประชากร 3,422,600 คน แบ่งออกเป็น ชาย 1,724,300 คน หญิง 1,698,300 คน ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันแบบครอบครัวใหญ่ มีความรักและความหวงแหนในวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ ดังจะเห็นได้จากการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังบาหลีปีละนับล้านคนแต่วัฒนธรรมเดิมๆ ก็ยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงทั้งการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายการทำกสิกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกแบบขั้นบันได หรืออาชีพหัตถกรรมต่างๆ คือวิถีชีวิตที่ยังพบเห็นได้ทั่วไปในดินแดนแห่งนี้
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1157 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2553, 13:55:30 » |
|
• ศาสนาและวัฒนธรรม ศาสนาหลักของชาวบาหลีคือศาสนาฮินดู ชาวบาหลีถึง 93 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาฮินดูที่เรียกว่า ฮินดูธรรม(Hindu Dharma) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชวา เป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสนาฮินดูแบบที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่กับศาสนาพุทธ ซึ่งแพร่หลายเข้ามาก่อนหน้า โดยหลักปฎิบัตินั้นได้มาจากปรัชญาอินเดีย ร่วมกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อท้องถิ่น การผสมผสานกันนี้เองทำให้ศาสนาฮินดูที่บาหลีแตกต่างจากฮินดูที่อินเดียไปมาก ชาวบาหลีนั้นเชื่อในธรรมชาติว่ามีพลังและเชื่อในจิตวิญญาณว่า ทุกๆสิ่งจะมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีความนับถือในบรรพบุรุษและวิญญาณของผู้ล่วงลับอย่างเคร่งครัด จริงจัง เทศกาลและวันสำคัญ เทศกาลและงานประเพณีต่างๆ ถือเป็นส่วนสำคัญในชีวิตคนบาหลี ทุกวัดจะมีงานฉลองทำบุญประจำปี (Odalan) อย่างน้อยปีละครั้ง โดยชาวบาหลีจะแต่งตัวแบบพื้นเมืองดั้งเดิมสวยงามแล้วจัดเครื่องไหว้เครื่องบูชาไปวัดกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นคนทูลของไหว้ไว้บนศีรษะ กำหนดวันฉลองและเทศกาลต่างๆของบาหลีจะยึดปฎิทินตามจันทรคติ จึงทำให้วันสำคัญต่างๆ ไม่ตรงกับปฏิทินสากล เทศกาลสำคัญๆ ได้แก่ - วันขึ้นปีใหม่ฮินดู นีเยปิ (Nyepi) เป็นวันที่ชาวบาหลีจะ “เข้าเงียบ” ไม่มีการประกอบกิจกรรมใดๆทั้งสิ้น ไม่มีการเดินทางคมนาคม ไม่มีการก่อไฟหุงหาอาหาร และไม่มีการละเล่นบันเทิงสนุกสนานใดๆ โดยจะมีการทำบุญบูชาเทพต่างๆ กันตั้งแต่วันก่อนหน้า รวมทั้งมีการประกอบพิธีไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านที่อยู่อาศัย - วันกาลุงกัน (Galungam) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ธรรมะเอาชนะอธรรมได้ จะมีการตั้งเสาไม้ไผ่สูงตกแต่งด้วยทางมะพร้าวสานเป็นรูปต่างๆที่สวยงามไว้หน้าบ้าน ตั้งศาลเพียงตาวางเครื่องไหว้สักการะสีสดใส ทั้งขนม ดอกไม้และผลไม้ที่ประตูบ้าน ให้บรรพบุรุษที่จะลงมาเยี่ยมจากสวรรค์ ช่วงเวลากาลุงกันจะนาน 10 วัน มีงานฉลองและพิธีทุกวัน - วันคูนิงกัน(Kuninggan) วันที่สิบสองของเทศกาล เป็นวันส่งวิญญาณบรรพบุรุษกลับสวรรค์จะมีการทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับด้วย - วันสรัสวตี (Saraswati) เป็นวันฉลองเทวีแห่งความรู้และศิลปะ หรือพระสุรัสวดีที่เรารู้จักกันนั้นเองเป็นวันที่ทางวัดจะนำหนังสือธรรม,ใบลาน, จารึก และคัมภีร์พระเวทย์มาทำพิธีสักการบูชา ส่วนงานพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนบาหลีคือ งานเผาศพ จะเป็นงานที่ผู้ร่วมขบวนแห่งศพ แต่งกายงดงามมีสีสัน บริเวณที่จัดงานเผาศพจะทำเป็นรูปสัตว์แต่งสีปิดทองสวยงาม ถ้าผู้ตายมีตำแหน่งหน้าที่หรือยศศักดิ์สูง โลงรูปสัตว์ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและหรูหรามากขึ้น
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #1158 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553, 21:09:05 » |
|
บาหลียังโนบราอยู่ป่าววะ
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1159 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553, 21:19:09 » |
|
เมื่อสงกรานต์คนรู้จักไปมา........บอกว่าบางหาดยังมีอยู่นะ.........ครูตุ๋ย
|
|
|
|
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์
คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927
|
|
« ตอบ #1160 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 09:35:03 » |
|
จะไปเมื่อไรบอกล่วงหน้าด้วย สัก 2 ปี จะได้เตรียมตัวทัน
ไปมาเมือ 7-8 ปีที่แล้ว ไปอีกก็ได้...ชอบ อิ อิ
|
“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้ อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1161 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 10:18:44 » |
|
ลงล๊อควันที่ 28-30 เดือนนี้ครับ.........ไปรึเปล่าพี่?
สงสัยนิดหนึ่งด้วยว่า.....ที่ชอบน่ะชอบอะไรครับพี่?
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1162 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 11:11:00 » |
|
• ภาษา "ภินเนคา ตุงกัลป์ อิคา "(Bhinneka Tunggal Ika) หรือ เอกภาพในความหลากหลาย คือ คำขวัญประจำชาติอินโดนีเซีย ส่วนคำขวัญของบาหลีคือ" บาลี ดวีปา จายา "(Bali Dwipa Jaya) มีความหมายว่า เกียรติศักดิ์แห่งเกาะบาหลี ภาษาประจำชาติ หรือ บะหะซา อินโดนีเซีย เป็นภาษาที่ผู้คนตั้งแต่ทางเหนือสุดของคาบสมุทรสุมาตรา, เกาะชวา ไปจนถึง อิเรียนจายา(Irian Jaya) สามารถเข้าใจได้ทั้งสิ้น ในการฝึกภาษาอินโดนีเซีย คุณควรจำหลักภาษาที่สำคัญสองสามข้อให้ได้ โดยสังเกตได้จากคำคุณศัพท์ที่ตามหลังคำนามเหมือนในภาษาไทย เช่น บ้านใหญ่ คือ รุมาห์เบอซาร์ (Rumah แปลว่า บ้าน และ Besar แปลว่า ใหญ่) ภาษาอินโดนีเซียมีคำที่ใช้ในกาลเทศะต่างๆกัน เช่นเดียวกับภาษาไทย เช่น คำที่ใช้กับผู้ที่มีวัยวุฒิสูงกว่า การเรียกแทนชายที่มีอายุมากกว่าผู้พูด มักใช้คำว่า บะปัค(Bapak) หรือ ปัค(Pak)ซึ่งแปลว่าพ่อ ส่วนผู้หญิงใช้คำว่า อิบู(Ibu)ซึ่งแปลว่าแม่, คำว่า เนียวเนีย(Nyonya)ใช้เรียกผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และคำว่าโนนา(Nona) ใช้สำหรับเรียกผู้หญิงโสด แม้ภาษาทางการของบาหลีคือภาษาอินโดนีเซียเช่นเดียวกับเมืองอื่นๆในประเทศแต่ชาวบาหลีก็มีภาษาบาหลีเป็นของตัวเอง ซึ่งนอกจากจะพูดต่างกันแล้วยังมีตัวอักษรใช้เขียนของตนด้วย ภาษาบาหลีมี 3 ระดับ คือ แบบไม่เป็นทางการจะใช้พูดกับคนแปลกหน้า แบบเป็นทางการ และราชาศัพท์ใช้กับราชวงศ์ชั้นสูงและนักบวช
คำภาษาบาหลีที่ควรรู้
ภาษาไทย ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาบาหลี สวัสดีตอนเช้า (ถึง10.00 น.) Selamat pagi Om Swastyastu สวัสดีตอนกลางวัน (ถึง15.00 น.) Selamat siang Om Swastyastu สวัสดีตอนบ่าย (15.00-18.00 น.) Selamat sore Om Swastyastu ราตรีสวัสดิ์ Selamat malam Om Swastyastu สบายดีหรือ? Apa kabar? Sapunapigatrane? สบายดี Baik-baik saji Baik-becik manten ราคาเท่าไหร่? Berapa harganya? Aji kudi ajine? ขอบคุณ Terima kasih Matur suksma ขอโทษ Permisi Newagang น้ำ Air Yeh Toya อาหาร Makanan Ajengan
• ชนชั้นวรรณะและการตั้งชื่อ สังคมของบาหลีเป็นสังคมแบบฮินดู มี 4 วรรณะเช่นเดียวกับอินเดีย คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศ และศูทร แต่ไม่ถือแบ่งแยกวรรณะอย่างเคร่งครัด และไม่สงวนสิทธิ์ที่จะได้รับโอกาสในการทำงานเท่าเทียมกัน ยกเว้นในการแต่งงานกับผู้ชายในวรรณะศูทร และคนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์เท่านั้นจึงจะเป็นนักบวชผู้ประกอบพิธีทางศาสนาได้ ในการตั้งชื่อคน แต่ละวรรณะก็จะมีชื่อนำหน้าที่ใช้เฉพาะวรรณะของตนโดยไม่ปะปนกันเป็นตัวบ่งบอกชาติตระกูลไปโดยปริยาย แล้วจึงจะมีชื่อตัวตามอีกที ถ้าชื่อนำว่า อิดา บากุส หรือ อิดา อายุ จะอยู่ในวรรณะพราหมณ์ พวกวรรณกษัตริย์มักจะมีคำนำหน้าว่า อนัก อากุง หรือเทวะ อายุ หรือ จอกอร์ดา ส่วนวรรณะแพศย์นิยมใช้ชื่อ อิ กุสติ พวกวรรณะศูทรจึงเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุดของเกาะ จะมีวิธีตั้งชื่อโดยเฉพาะคือ ลูกคนแรกจะชื่อวายัน คนที่สองชื่อมาเด คนที่สามชื่อเนียวมัน และคนที่สี่ชื่อเกตุ้ด หากมีคนที่ห้า หก เจ็ด แปด ก็จะวนชื่อไปอีกรอบหนึ่ง ดังนั้นจึงมีคนชื่อซ้ำๆกันมาก ต้องถามชื่อสกุลหรือชื่อตัวประกอบด้วยเสมอ
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1163 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 11:25:28 » |
|
การปกครองในบาหลี
บาหลีเป็นหนึ่งในสามสิบสามจังหวัดของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง ผู้ว่าราชการของบาหลีพำนักอยู่ในเมืองเดนปาซาร์ บาหลีแบ่งออกได้เป็น 8 คะบูปะเตน (Kabupatan - Regency หรือเขต) แต่ละคะบูปะเตน มี บุปะตี(Bupati) เป็นผู้ปกครอง บุปะตียังแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น เคอชะมะตัน (Kecamatan หรือตำบล) บาหลีมี 51 เคอชะมะตัน แต่ละแแห่งอยู่ภายใต้การดูแลของชะมัต(Camat) บาหลีมีหมู่บ้านที่เป็นทางการอยู่ 564 แห่ง แต่ละแห่งมีเปอร์บะเคล(Perbekel) เป็นผู้นำหมู่บ้าน ส่วนหมู่บ้านที่มีอยู่ดั้งเดิมเรียกว่า เดซาอะดัต(Desa Adat) มี 1456 แห่ง และแบ่งย่อยออกเป็น 3627 บันจาร์ (Banjar คือชุมชนของหมู่บ้านเล็กๆ) ซึ่งมีเคลียน (Klian) หรือผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล
การแบ่งเขตการปกครองของบาหลี
บาหลีแบ่งเขตการปกครองเป็น 8 เขต (Regency) คือ 1.เขตบาดุง-Badung มีพื้นที่ 420.09 ตร.กม. เมืองหลักคือ เดนปาซาร์ (Denpasar) 2.เขตบูเลเล็ง-Buleleng มีพื้นที่ 1,365.88 ตร.กม. เมืองหลักคือ สิงคะราจา (Singaraja) 3.เขตเกียนยาร์-Gianyar มีพื้นที่ 368.00 ตร.กม. เมืองหลักคือ อูบุด (Udud) 4.เขตทาบานัน-Tabanan มีพื้นที่ 839.30 ตร.กม. เมืองหลักคือ ทาบานัน (Tabanan) 5.เขตการังกาเสม-Karanggasem มีพื้นที่ 839.54 ตร.กม. เมืองหลักคือ อัมลาปุระ (Amlapura) 6.เขตกลุงกุง-Klungkung มีพื้นที่ 315.00 ตร.กม. เมืองหลักคือ เสมาระปุระ (Semarapura) 7.เขตเจ็มบรานา-Jembrana มีพื้นที่ 841.80 ตร.กม. เมืองหลักคือ เนการา (Negara) 8.เขตบังลี-Bangli มีพื้นที่ 520.81 ตร.กม. เมืองหลักคือ บังลี (Bangli)
|
|
|
|
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์
รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520
|
|
« ตอบ #1164 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 11:28:05 » |
|
พี่หนุนน่าจะชอบเหมือนพี่ตุ๋ยครับ พี่แหลม
|
ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1165 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 11:47:04 » |
|
ตอนหาข้อมูลของบาหลี ได้ภาพที่ครูตุ๋ยพูดถึงมาเยอะเหมือนกัน.........
เป็นภาพ Vintage........คลาสสิคมาก.
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1166 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 13:38:33 » |
|
กิจกรรมซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เมื่อไปบาหลี
• ชมวัด บาหลีมีวัดทั้งสิ้นเกือบ 20,000 วัด ทุกวัดมีสถาปัตยกรรมที่งดงามน่าชม และจะยิ่งน่าชมขึ้นไปอีกหากเดินทางไปไหนช่วงที่มีเทศกาล ซึ่งคนบาหลีจะแต่งตัวแบบพื้นเมืองสวยงามทูนของบูชามาประกอบพิธีที่วัด หรือถ้าเป็นวัดในเมืองรอบนอก ก็อาจได้เห็นขบวนแห่ถือร่มทองเดินผ่านมาในนาข้าวซึ่งเป็นภาพที่สวยงามมาก ในการเข้าชมวัดส่วนใหญ่จะเสียค่าเข้าชมราว 1,000 รูเปียห์ หรือตามแต่ที่กำหนด วัดบางที่ซึ่งไม่ใช่วัดที่นักท่องเที่ยวไม่นิยมไปกัน ก็อาจบอกเพียงให้บริจาคตามศรัทธา ซึ่งก็ควรบริจาคให้ในอัตราเดียวกัน การเข้าวัดต้องแต่งกายสุภาพและมีผ้าคาดเอว ดังนั้นควรหาซื้อผ้าโสร่งและมีผ้าคาดเอวของตนเองไปด้วยจะได้ไม่ต้องเช่าหรือหยิบยืมให้ยุ่งยาก วัดของชาวบาหลีมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “ปุระ” (Pura) มีขนาดเล็กใหญ่ตามความสำคัญ โดยคำว่าปุระนี้มาจากภาษาสันสกฤตแปลว่า “ที่ว่างซึ่งห้อมล้อมด้วยกำแพง” ซึ่งก็เห็นได้จริงว่าปุระแต่ละแห่งล้วนมีรั้วรอบขอบชิด โดยเฉพาะปุระสำคัญๆและเก่าแก่ บางแห่งจะไม่อนุญาตให้คนต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวล่วงล้ำเข้าไปด้วยซ้ำ ด้านหน้าทางเข้าปุระนิยมสร้างเป็นซุ้มประตูสูงผ่าซีกสองด้าน มีนัยแสดงถึงความดีและความชั่วที่มีอยู่มากพอๆกันบนโลกนี้ ทุกหมู่บ้านจะต้องมีปุระของตนอย่างน้อย 3 แห่ง โดยมีปุระใจกลางหมู่บ้าน หรือ “ปุระ ปูเซห์”(Pura Puseh) เป็นวัดขนาดใหญ่สุด นอกจากนี้ยังจะมี “ปุระ เดซา” (Pura Desa) เป็นที่สถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครองหมู่บ้าน ส่วนที่ท้ายหมู่บ้านก็มี “ปุระ ดาเลม” (Pura Dalem) ใช้เป็นสุสานนั่นเอง แต่ละวัดล้วนมีพิธีฉลองประจำปีของตนเอง เรียกว่า “โอดาลัน” ชาวบ้านจะแต่งกายตามแบบพื้นเมืองโบราณอย่างสวยงาม แล้วจัดเครื่องบูชาไปวัดกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เทินของไหว้ไว้บนศีรษะ การกำหนดวันจัดเทศกาลหรือพิธีกรรมประจำของแต่ละปุระ จะยึดตามปฏิทินจันทรคติ จึงไม่ตรงกับปฏิทินสากล และการที่แต่ละหมู่บ้านมีวัดอยู่อย่างน้อย 3 แห่ง ชาวบ้านจึงแน่ใจได้เลยว่าปีหนึ่งจะมีงานเฉลิมฉลองกันไม่ต่ำกว่า 5-6 ครั้งเป็นอย่างน้อย นี่ยังไม่รวมเทศกาลใหญ่อีกหลายงาน อาทิ วันกาลุงกัน-คูนิงกัน (Galungan-Kaningan) ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 210 วัน ในระหว่างสิ้นเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคม พิธีนี้จัดยาวนานถึง 10 วัน เพื่อฉลองที่ธรรมะเอาชนะอธรรมได้ จะมีการตั้งเสาไม้ไผ่สูงเรียกว่า “บาเตน” (Baten) ตกแต่งด้วยทางมะพร้าวสานเป็นรูปต่างๆอย่างสวยงาม ประดับไว้หน้าบ้าน พร้อมตั้งศาลเพียงตาวางเครื่องไหว้สักการะสีสดใสที่หน้าประตูบ้าน ทั้งขนม ดอกไม้ และผลไม้ ให้บรรพบุรุษที่ลงมาจากสวรรค์ เมื่อถึงวันสุดท้ายของเทศกาล จะเรียกว่า “คูนิงกัน” เป็นวันส่งวิญญาณบรรพบุรุษกลับสวรรค์ โดยแต่ละครอบครัวจะร่วมกันทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1167 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2553, 13:41:33 » |
|
• ชมการแสดงทางวัฒนธรรม ในบาหลี นักท่องเที่ยวสามารถหาชมระบำพื้นเมืองแบบบาหลี หรือนาฏศิลป์จากเทพนิยายพื้นเมืองของบาหลีได้ไม่ยาก โดยเฉพาะที่เมืองอูบุด ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนต้นกำเนิดทางศิลปวัฒนธรรมทั้งมวลของบาหลี จะมีกลุ่มหรือคณะแสดงทางวัฒนธรรมอยู่มากมาย ระบำหรือนาฏศิลป์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Barong Dance, Kris Dance, Kecak Dance(ระบำลิง), Rejang Dance, Ramayana Dance,Yudapati Dance และ Topeng Dance (ระบำหน้ากาก ) เป็นต้น • ชมทัศนียภาพและความเป็นอยู่ของชาวบาหลี บาหลีมีทัศนียภาพที่หลากหลาย, สวยงาม มีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตน ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส และมีน้ำใจ เป็นเหตุให้บาหลีมีเสน่ห์ยิ่งนัก • สปาร์ อีกรูปแบบของการพักผ่อนซึ่งปัจจุบันได้รับการนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยกรรมวิธีดั้งเดิมของชาวบาหลีโดยการใช้สมุนไพรแบบบาหลีที่มีชื่อเรียกว่า ลูลูร์ (Lulur) เอามาส่วนประกอบที่นิยมในปัจจุบันเช่นน้ำมันหอมนานาชนิด สปาแบบบาหลีจึงมีชื่อเสียงก้องโลก • กอล์ฟ นักกอล์ฟชาวญี่ปุ่นมักมาพักผ่อนและเล่นกอล์ฟกันมาก บาหลีมีสนามกอล์ฟระดับมาตรฐาน 18 หลุมอยู่ 3 สนามคือ 1. Bali Handara Kosaido Country Club ที่เบดูกัล 2. Bali Golf Country Club ที่นูซาดูอาร์ 3. Nirwana Bali Golf Club ตั้งอยู่ริมทะเลใกล้วัดทานาลอต • ล่องเรือ (Sailing and Cruises) การล่องเรือชมความงามของทะเลบาหลี จะมีบริการประจำไปยัง นูซาเล็มบองกัน • กระดานโต้คลื่น (Surfing) ด้วยสภาพอากาศและความเหมาะสมของน้ำทะเลบาหลี ทำให้ที่นี่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับกิจกรรมทางน้ำต่างๆ ซึ่งการเล่นกระดานโต้คลื่นก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่หลงใหลการโต้คลื่นให้มาเยือนทะเล เนื่องจากมีตั้งแต่คลื่นลูกเล็กๆให้ผู้ที่ยังไม่เคยเล่นได้หัด ไปจนกระทั่งคลื่นลูกโตที่นักโต้คลื่นต่างใฝ่ฝันจะได้เข้าไปสัมผัสรวมทั้งชายฝั่งที่ทอดยาว นักโต้คลื่นจะสามารถไปทางใดก็ได้ตามต้องการ • ดำน้ำ เป็นกิจกรรมยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงบาหลี เนื่องจากมีปะการัง, ปลา, สาหร่าย และพืชทะเลหลากหลายชนิดที่มีสันสวยงามสะดุดตา
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1168 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 10:14:36 » |
|
แหล่งท่องเที่ยวบาหลี แบ่งตามเขต
1. แหล่งท่องเที่ยวเขตบาดุง(Badung) เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงคือเมืองเดนปาซาร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองในบาหลี รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ บริเวณนี้มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวมีหาดทรายสวยงาม จึงเต็มไปด้วยรีสอร์ตและที่พักจำนวนมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เดนปาซาร์ (Denpasar) บริเวณนี้มีประวัติศาสตร์มาช้านานตั้งแต่สมัยยุคทองของบาหลีที่มีการเดินเรือค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้บริเวณทางภาคใต้นี้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ.1958 เมืองเดนปาซาร์จึงได้กลายเป็นเมืองหลวงของเกาะมาจนทุกวันนี้ เดนปาซาร์เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย มีทั้งวัฒนธรรมเก่าแก่และความทันสมัยผสมผสานกัน อาทิ • ปูปูตันสแควร์ (Puputan Square) จุดศูนย์กลางของเมือง ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่จะไปหาความสงบร่มรื่นจากต้นไม้เขียวขจีและดอกไม้แสนสวย เพื่อหลบจากความวุ่นวายของชีวิตในเมือง และสาเหตุที่ได้ชื่อปูปูตันสแควร์เพราะเป็นจุดที่ราชวงศ์เดนปาซาร์ออกมาทำการฆ่าตัวตายหมู่เนื่องจากไม่ยอมตกอยู่ในอาณัติของพวกดัตช์ • พิพิธภัณฑ์บาหลี (Bali Museum) อยู่ไม่ห่างจากปูปูตันสแควร์เท่าไร เป็นสถานที่จัดแสดงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเกาะบาหลีตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เปิดให้เข้าชม วันอังคาร-พฤหัสบดี เวลา 8.00-14.00 น. วันศุกร์ 8.00-11.00 น. วันเสาร์ 8.00-12.30 น. ค่าเช้าชมสำหรับผู้ใหญ่คนละ 4,000 รูเปียห์ • ปุระจากัตนาตา (Pura Jagatnata) เป็นวัดที่อยู่ในตัวเมือง แต่มีความงดงามเต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิดสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ตกแต่งด้วยหินแกะสลักและกำแพงที่สลักเสลาเป็นเรื่องรามายณะและมหาภารตะ เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดประจำรัฐจึงเปิดให้เข้าชมได้ 2 ครั้งต่อเดือน คือวันขึ้น 15 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ • ตลาดบาดุง (Pasar Badung) ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของบาหลีทำการค้าตลอด 24 ชั่วโมง เป็นที่ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าและคนซื้อจากทั่วบาหลีมาจับจ่ายสินค้า นอกจากจะมีอาหารสดและอาหารแห้งแล้ว ยังมีเสื้อผ้าขายด้วย • ปุระมะอาปาหิต (Pura Maophahit) เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ค่อนข้างยาวนานตั้งแต่สมัยกษัตริย์ มัชปาหิต (majapahit) เชื่อกันว่าส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวัดนั้นถูกนำมาจากชาวชวาตะวันออก สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ส่วนมากทำด้วยอิฐ ปัจจุบันได้ชำรุดไปมากแล้ว • ศูนย์วัฒนธรรมทามันบูดายา (Taman Budaya Centre) เป็นที่จัดแสดง ศิลปะภาพวาดของบาหลี รวมถึงงานแกะสลักหินและไม้ หน้ากาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและทุกปีช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเป็นที่จัดงานบาหลีอาร์ตเฟสติวัล ที่มีการแสดงงานศิลปะของบาหลีทุกแขนง กูต้า เลเกียน เซมินยัก (Kuta Legian Seminyak) ห่างจากเดนปาซาร์ มาทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นชายฝั่งทะเลที่สวยงามเต็มไปด้วยร้านค้า ร้านอาหาร พร้อมด้วยรีสอร์ตจำนวนมากให้เลือกเข้าพักตามความพอใจ นักท่องเที่ยวที่มายังบริเวณนี้ก็เพื่อมาชมความงดงามของชายหาดสีทองที่มีความยาวกว่า 8 กิโลเมตร • หาดกูต้า เป็นชายหาดที่มีกิจกรรมต่างๆมากมาย เนื่องจากมีบาร์, ร้านอาหาร, คลับ และร้านค้าอยู่แทบทุกตารางนิ้ว มีชายหาดที่ขาวสะอาด ซึ่งจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว และมีการเล่นโต้คลื่น ( เหตุระเบิดครั้งใหญ่จาก การก่อการร้าย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม คศ.2002 ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 202 คน ก็เกิดขึ้นที่หาดกูต้านี้ มีการสร้างอนุสรณ์สถานไว้ ณ.จุดเกิดเหตุดังกล่าวด้วย) • หาดเลเกียนและหาดเซมิยัก ซึ่งเป็นชายหาดที่ต่อเนื่องกัน เป็นชายหาดที่สงบกว่า มีโรงแรมและรีสอร์ตที่ขึ้นชื่อมากมายเป็นชายหาดที่นักท่องเที่ยวมักจะนิยมมานอนอาบแดด • ซานูร์ (Sanur) ซานูร์เป็นเขตที่มีหาดทรายยาวที่เรียงรายไปด้วยต้นมะพร้าวและโรงแรมระดับหรู ทำให้มีชื่อเสียงในฐานะรีสอร์ตชายหาดแห่งแรกของบาหลี สิ่งที่ดึงดูดใจของซานูร์คือความสงบร่มรื่นและเป็นรีสอร์ตที่เหมาะสำหรับครอบครัว หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความงามของชายหาดและวิถีชีวิตของชาวบาหลี ชายหาดแห่งนี้ค่อนข้างสงบกว่าที่กูต้า • นูซาดูอา (Nusa Dua) เป็นชายหาดอีกแห่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่แห่งนี้มีโรงแรมระดับนานาชาติห้าดาวอยู่หลายแห่ง นอกจากหาดทรายขาวสะอาด น้ำใส และต้นปาล์มที่เรียงรายขนานกับชายหาดแล้วยังมีแนวปะการัง ที่เหมาะกับการดำน้ำและเล่นกีฬาทางน้ำเป็นอย่างดีด้วย ใกล้นูซาดูอามีวัดสำคัญคือ ปุระสาเกนัน (Pura Sakenan) ซึ่งเป็นวัดที่ชาวบาหลีจะมาไหว้สักการะกันในช่วงวันกุนิงกัน • ปุราอูลูวาตู (Pura Uluwatu) เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนผาเหนือฝั่งทะเล ไม่ไกลจากสนามบินเท่าไหร่นักเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก โดยเฉพาะในยามอาทิตย์อัสดง • เม็งวี (Mengwi) ใกล้หมู่บ้านเม็งวีมีวัดที่สวยงามมากอยู่แห่งหนึ่งคือ ปุระทามันอายุน (Pura Taman Ayun) ซึ่งเคยเป็นวังของรายาแห่งเม็งวีมาก่อน สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1634 ภายในบริเวณวัดจัดไว้สวยงามด้วยสวนและคูน้ำ มีศาลเล็กๆ ซึ่งมีหลังคาแบบเมรุหลายๆชั้นตั้งเรียงรายขึ้นไปให้ภาพที่งดงามยิ่งนัก
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1169 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 10:28:05 » |
|
2. แหล่งท่องเที่ยวเขตบูเลเล็ง(Buleleng)
บูเลเล็ง อยู่ทางเหนือสุดของบาหลี มีเมืองหลักคือสิงคราชา (Singaraja) ซึ่งเคยเป็นเมื่องหลวงของบาหลีสมัยที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของดัตช์ และเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอับดับ 2 รองจากเดนปาซาร์ ในปัจจุบันบริเวณภูมิภาคนี้จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผู้คนในเมืองนี้มีทั้งที่เป็นชาวพื้นเมืองบาหลี ชาวจีน และชาวมุสลิม มีธรรมชาติที่งดงามมากมาย เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเขตที่มีการปลูกองุ่นบาหลีสำหรับผลิตไวน์ด้วย สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ • หมู่บ้านเบระตัน (Beratan) เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในด้านการทำเครื่องเงินโดยเฉพาะของใช้ชิ้นใหญ่ๆ เช่น แจกัน ถาด และเครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ • น้ำตกกิตกิต (Gitgit waterfall) เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในประเทศบาหลี มีความสวยงามและเงียบสงบมาก เพราะชาวบาหลีชื่อว่าหากหนุ่มสาวคู่รักมาเที่ยวที่นี่ด้วยกันจะทำให้ต้องเลิกรากันไป จึงไม่มีหนุ่มสาวควงคู่กันมาเที่ยว • ปุระเบกิ (Pura Begi) วัดแห่งหมู่บ้านสังสิต (Sangsit) เป็นวัดที่ต่างจากวัดอื่นๆตรงที่สร้างจากหินทรายสีชมพู ในขณะที่วัดอื่นๆ จะสร้างจากหินภูเขาไฟสีเทา • ปุระดาเล็มจาการากา (Pura Dalem Jagaraga) เป็นวัดที่มีภาพเกาะสลักที่งดงามเกี่ยวกับพระศิวะอยู่ที่ประตูทางเข้าด้านหน้า • หาดโลวิน่า (lovina) เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของบาหลี หาดทรายเป็นสีดำแปลกตา มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร มีรีสอร์ท ตั้งอยู่ชายทะเลจำนวนมาก
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1170 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 10:42:34 » |
|
3. แหล่งท่องเที่ยวเขตเกียนยาร์(Gianyar)
เขตเกียนยาร์ มีเมืองหลักคือเกียนยาร์ เขตนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรมของบาหลี เป็นเขตที่มีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์และงานศิลปะต่างๆ อีกทั้งยังมีวังโบราณที่ยังคงสภาพดีที่สุด เกียนยาร์เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในการทอผ้า ที่โรงงานจะมีการสาธิตการทอผ้าให้ได้ชมกันด้วย ซึ่งจะมีขายทั้งที่เป็นเสื้อผ้าและของฝาก เช่น กระเป๋าสะพาย กระเป๋าสตางค์ หมู่บ้านสำคัญในเขตนี้ได้แก่ บาตูบุหลัน (Batubulan) เป็นหมู่บ้านที่ มีชื่อเสียงทางการแกะสลักหิน อาจกล่าวได้ว่างานแกะสลักหินที่พบในบาหลีส่วนมากมาจากหมู่บ้านนี้ทั้งนั้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงการเต้นรำระบำบารองทุกวันและหมู่บ้านบาตูบุหลันยังเป็นชุมทางรถโดยสารไปยังเมืองต่างๆทั้งเกาะบาหลีอีกด้วย เชลุก (Celuk) เป็นหมู่บ้านแห่งเครื่องทองและเครื่องเงินที่ทำเป็นเครื่องประดับหรือเครื่องใช้ เช่น พาน ขัน ซึ่งมีการออกแบบที่สวยงาม และเครื่องประดับของที่นี่นั้นส่งออกไปจำหน่ายยังทั่วโลก สุขะวาตี (Sukawati) เป็นตลาดที่ขายงานสินค้าหัตถกรรมต่างๆ มากมายในราคาที่ย่อมเยา และต่อรองได้อย่างสนุกสนาน ตอนกลางคืนก็มีไนท์มาร์เก็ตให้ช้อปปิ้งกันต่อ มาส (Mas) หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในเรื่องการแกะสลักไม้ ร้านค้าที่เรียงรายไปตามถนนของหมู่บ้านกว่า 5 กิโลเมตร มีสินค้ามากมายให้เลือกชื้อหา งานแกะสลักที่นี่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปิตมหา มีทั้งชิ้นงานที่แกะขึ้นตามความเชื่อทางศาสนา หน้ากากแบบดั้งเดิมหรือจะเพื่อตกแต่งอาคารบ้านเรือนตามแบบสมัยใหม่ อูบุด (Ubud) หมู่บ้านที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องเดินทางมาเนื่องจากเป็นศูนย์รวมศิลปะของบาหลี จนมีคำกล่าวขานว่าอูบุดนี่แหละคือบาหลีที่แท้จริง ตลาดที่เมืองอูบุดจะมีสินค้าพื้นเมืองฝีมือดีจำหน่าย ซึ่งอาจหาไม่ได้ในที่อื่น และบริเวณโดยรอบอูบุดก็ยังคงมีนาขั้นบันไดที่สวยงามให้ชมด้วย แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอูบุดได้แก่ • ปุริลูกิลาน (Puri Lukisan/Palace of Painting) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในสวนดอกไม้ที่จัดแสดงงานศิลปะ การวาดภาพหลากหลายรูปแบบ และงานแกะสลักของบาหลีตั้งแต่สมัยทศวรรษที่ 30 เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00-16.00 น. ค่าเข้าชมคนล่ะ 20,000 รูเปียห์ • ปุราสาระวาตี (Pura Sarawati) วัดซึ่งตั้งอยู่ในสวนน้ำพร้อมกับสระบัวขนาดใหญ่ สองข้างทางของทางเข้าจะเรียงรายไปด้วยดอกบัวจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความงดงามอย่างมากอีกแห่ง • ปุราซาเร็นอากุง (Pura Saren Angung or Ubud Palace) ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นวังที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและงดงาม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมบริเวณรอบๆวังได้ ในตอนกลางคืนที่สนามด้านนอกจะมีการแสดงระบำต่างๆ สลับกันไปในแต่ละคืน • บ้านเลมปัด บ้านของ I Gusti Nyoman Lempad ศิลปินชื่อดังของบาหลี ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีชื่อเสียงไว้มากมาย ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชมผลงานของเขาได้ทุกวัน เวลา 8.00-18.00 น. • พิพิธภัณฑ์เนคา (Neka Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์อีกแห่งที่เก็บรวบรวมภาพวาดทั้งแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1982 เป็นของ Wayan Suteje Naka บุตรชายของนักวาดภาพเลื่องชื่อของบาหลี เมื่อสมัยปิตามหา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 9.00-17.00 น. • พิพิธภัณฑ์ศิลปะอากุงไร (Agung Rai Museum of Art) พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผลงานของศิลปินชาวตะวันตกซึ่งหลงใหลในบาหลีอย่าง วอนเตอร์ สปีส์ ตั้งแสดงร่วมกับผลงานของศิลปินชาวบาหลี บริเวณพิพิธภัณฑ์นั้นตกแต่งสวยงามมาก เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 9.00-18.00 น. • Monkey Forest หากต้องการดูลิงที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติก็ให้แวะไปที่ Monkey Forest แต่ต้องระวังสิ่งของที่ถือไปให้ดี เพราะลิงบาหลีก็ซนไม่ต่างกับลิงเมืองไทยเลย อาจฉกฉวยของใช้ รวมทั้งหมวกและแว่นตา และเครื่องประดับที่แวววาวไปจากตัวคนได้เสมอ • เปเจ็ง (Pejeng) หมู่บ้านนี้มีสถานที่สำคัญคือ ปุระเปนาราตันศศิ (Pura Penaratan Sasih) มีกลองสำริดโบราณขนาดใหญ่รียกกันว่า จันทราแห่งเปเจ็ง เป็นหนึ่งในวัดสำคัญในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรบาหลี
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1171 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 13:47:36 » |
|
4. แหล่งท่องเที่ยวเขตทาบานัน(Tabanan) ทาบานัน เป็นเขตที่ถัดจากบาดุงมาทางตะวันตก และติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทางฝั่งตะวันออกเป็นภูเขาและมีที่ราบยาวลงมาจนถึงด้านตะวันตกเฉียงใต้ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากคือ ปุระทานาลอต (Tanah Lot) คำว่าทานาแปลว่าโลก ส่วนลอตแปลว่าทะเล เชื่อว่าวัดแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการบรรจบกันของธรรมชาติและจักรวาล นักท่องเที่ยวมักจะนิยมไปชมพระอาทิตย์ตกกัน และต้องมีภาพถ่ายเพื่อเป็นหลักฐานในการไปเยือนวัดที่ถือได้ว่าสวยที่สุดในบาหลีกลับมาทุกรายไป เขตทาบานัน ค่อนข้างเป็นเขตที่ทันสมัย เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวจีน เมื่อลงมาทางตอนใต้ของทาบานันคือ เมืองเคราบิตัน(Kerabitan เค-ราบิตัน) เป็นเมืองที่มีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมกับความทันสมัยของโลกปัจจุบัน มีชื่อเสียงเรื่องอาคารการสร้างด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่ซึ่งมีความสวยงามมาก ส่วนที่สูงที่สุดของทาบานันเป็นบริเวณที่มีภูเขาไฟสงบแล้วภูเขาสูงสุดคือ เมาต์บาตูเกา (Mount Batukau 2,275 เมตร) สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ • ปุราทานาห์ลอต (Pura Tanah Lot) เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนชายหาดริมทะเล 1 ใน 5 ของเกาะบาหลี เรียกได้ว่ายื่นลงไปในทะเลเลยทีเดียว สร้างโดยนักบวชฮินดู ชื่อว่า ดัง ฮยัง นิราร์ธา ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 11 เพื่ออุทิศแด่เทพเจ้าและปีศาจแห่งท้องทะเล ลักษณะการสร้างบนโขดหินคล้ายเกาะเล็กๆ เวลาน้ำขึ้น จึงดูเหมือนวัดอยู่กลางทะเล เวลาน้ำลง ผู้คนสามารถเดินข้ามทางเดินไปยังตัววัดได้ เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชาวบาหลีให้ความเคารพบูชาอย่างมาก มีทิวทัศน์และบรรยากาศที่สวยงาม และด้านนอกก็เป็นตลาดขายสินค้าพื้นเมืองราคาถูก เป็นที่ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมไปกันมาก • ปุราทามันอายุน (Pura Taman Ayun) เป็นวัดที่เคยเป็นวังเก่า สร้างตอนศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของกษัตริย์ราชวงศ์เม็งวี กำแพง ประตูวัด ก่อด้วยหินสูง แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง หลังคาปูด้วยหญ้าอลัง สิ่งก่อสร้างด้านใน ตกแต่งลวดลายงดงามตามแบบบาหลี มีสระน้ำล้อมรอบ • น้ำพุร้อน (Yey Panas) นักท่องเที่ยวที่ชมชอบการแช่ตัวเพื่อผ่อนคลายสามารถเดินทางมาที่น้ำพุร้อนแห่งนี้ มีรีสอร์ทที่สวยงามรายล้อมด้วยธรรมชาติ ไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน • สวนพฤกษศาสตร์ (Bali Botanical Gardens) มีพันธ์ไม้กว่า 650 สายพันธุ์ ซึ่งมีดอกกล้วยไม้หลากหลายสีสัน หรือจะเป็นเฟิร์นพันธ์แปลกไม่เหมือนที่ใด เป็นแหล่งที่นักดูนกไม่ควรพลาด เนื่องจากมีนกหลายชนิดอาศัยอยู่นอกจากนั้นยังมีบ้านพักแบบบาหลีดั้งเดิมให้พักด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 2,500 รูเปียห์ รถยนต์คันละ3,500 รูเปียห์ สวนไม่อนุญาตให้รถจักรยานยนต์เข้าไปภายใน • ทะเลสาบบราตัน (Lake Bratan) เป็นทะเลสาบที่มีมนต์ขลัง ฉากหลังคือทุ่งข้าวขั้นบันไดที่ค่อยๆลาดต่ำลง อยู่ที่เบดูกัลป์ (Bedugu) เป็นทะเลสาบที่มีชื่อเสียงซึ่งมีรีสอร์ทให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการธรรมชาติแบบทุ่งหญ้า ท้องนา และภูเขาได้เข้าพักด้วย ในตอนเช้าหากปราศจากหมอกจะได้เห็นวิวที่สวยงามของยอดเขาคินตามณี (Kintamani) เมาต์อากุง (Mount Angung) เรื่อยไปจนถึงทางทิศตะวันออกนอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางน้ำสร้างความตื่นเต้น เช่น สกีน้ำ การล่องเรือ และภายเรือในทะเลสาบ • ปุราอูลันดานูบราตัน (Pura Ulun Danu Bratan) ตั้งอยู่บริเวณกลางน้ำริมทะเลสาบบราตัน มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟสูงทะมึน บางช่วงถูกคั่นด้วยปุยเมฆสีขาว วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้ทำพิธีทางศาสนาพุทธและฮินดู รวมทั้งอุทิศแด่เทวี ดานู เทพธิดาแห่งสายน้ำ ไม่สามารถเดินข้ามไปยังวัดได้ มีลักษณะเด่นตรงศาลาซึ่งมีหลังคาทรงสูงที่รียกว่าเมรุ มุงด้วยฟางซ้อนกันถึง 11 ชั้น สวยงามมาก มักปรากฏอยู่ในภาพถ่ายโฆษณาการท่องเที่ยวของบาหลีเสมอ ที่นี้ต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 3,000 รูเปียห์ • ทุ่งนาขั้นบันไดที่จาตูวีห์ (Jatiluwith) บริเวณหมู่บ้านแถบนี้ยังมีการปลูกข้าวแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้บริเวณนี้มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของสังคมเกษตรกรรมแบบบาหลีได้อย่างดี
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1172 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 13:49:25 » |
|
5. แหล่งท่องเที่ยวเขตการังกาเสม(Karangasem) เขตทางชายฝั่งตะวันออกของบาหลีคือ การังกาเสม (Karangasem) เป็นเขตหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่อง ชายหาดที่สวยงาม คงความเป็นธรรมชาติและวิถีชีวิตแบบพื้นเมืองดั้งเดิมให้เห็นเป็นที่ตั้งของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กุหนุงอากุง (Gunung Agung) ภูเขาที่สูงที่สุดในบาหลี ด้วยความสูง 3,014 เมตร ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ระเบิดครั้งสุดท้ายเมื่อ 17 มีนาคม ค.ศ.1963 สร้างความเสียหายไปไม่น้อย ในปัจจุบันกุหนุงอากุงสงบลงแล้วและปุระเบซากีซึ่งตั้งอยู่ที่ความสูง 1,000 เมตร เป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าไปชมความงามอย่างไม่ขาดสาย สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ • ปุรา เบซากิห์ (Pura Besakih) เป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดบนเกาะบาหลี คนบาหลียกให้เป็นวัดหลวง (Mother Temple) เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดของบาหลี ยังถือเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเหนือวัดทั้งปวง มีบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วยวัดเล็กๆ อีก 23 แห่ง ที่เรียงรายอยู่เป็นขั้นๆ กว่า 7 ขั้นไปตามไหล่เขา มีฉากหลังคือภูเขาไฟกุนุง อากุง สูงที่สุดในบาหลี มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เลยที่เดียว วัดเล็กๆ ดังกล่าวก็จะมีความสำคัญต่างๆกันไปโดยวัดที่มีความสำคัญที่สุด คือ ปุราเปนาทารัน อากุง(Pura Penataraa Aguan) ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ทุกๆวันจะมีคนบาหลีเดินทางมาประกอบพิธีทางศาสนา ทำให้เป็นสถานที่ที่สามารถเห็นธรรมเนียมประเพณีและการแต่งกายแบบพื้นเมืองทั้งชายและหญิง รวมทั้งการแบกทูนของบูชาบนศีรษะตามแบบดั้งเดิมด้วย หากนักท่องเที่ยวต้องการปีนเขากุหนุงอากุง สามารถทำได้ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม โดยจะต้องขออนุญาตจากทางวัดก่อนเพราะทางวัดไม่อนุญาตให้ปีนขึ้นไปสูงกว่าวัดขณะที่มีการทำพิธีกรรมทางศาสนาอยู่ วัดเบซากิห์เปิดเข้าชมทุกวัน เวลา 8.00-17.00 น. • เทงกะนัน (Tenganan) เป็นเขตที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของบาหลี เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ต่อต้านการรุกรานและอิทธิพลของมัชปาหิตในค.ศ. 1343 ไม่ยอมรับวัฒนธรรมสมัยใหม่ในครั้งนั้น โดยยังยึดการนับถือผีและความเชื่อโบราณจนถูกเรียกขานว่าเป็น “บาหลีโบราณ” หรือ Bali Aga บริเวณส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโบราณปัจจุบันกลายเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีบ้านเรือนแบบยุคโบราณ เหมือนเกือบพันปีก่อนให้ชม และเป็นเพียงหมู่บ้านเดียวในอินโดนีเซียที่มีการทอผ้าเกริงซิงหรืออิกัตแบบทอ 2 ชั้นซึ่งมีราคาแพงมาก และมีการสานตะกร้าแบบเทงกะนัน • อัมลาปุระ (Amlapura) เมืองหลวงของเขตการังกาเสม อยู่ใกล้กับหมู่บ้านเทงกะนันเป็นที่ตั้งของ ปุระอากุงการังกาเสม (Puri Agung Karangasem) ซึ่งเป็นวังในสมัยที่รายาแห่งการังกาเสมปกครองบาหลี เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวันเวลา 8.00-18.00 น. • วังเตียร์ตากังกา (Tirta Gangga Water Palace) ถัดจากอัมลาปุระไปประมาณ 6 กิโลเมตร วังเตียร์ตากังกา สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1974 โดยรายาอัมลาปุระซึ่งทรงโปรดน้ำมากบริเวณถูกออกแบบอย่างสวยงามทั้งสระน้ำและสระว่ายน้ำที่เชื่อมกับน้ำพุตามธรรมชาติ รายล้อมด้วยทิวทัศน์ของนาขั้นบันไดสีเขียวขจี • แทมปักซิริงและเตียร์ตาอัมปึล (Tempak Siling-Tirta Ampul) เป็นเขตหมู่บ้านแหล่งผลิตไม้แกะสลัก มีสถานที่สำคัญคือ บ้านพักของอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน ซึ่งมีมารดาเป็นคนบาหลี ใกล้ๆกันนั้นมี • ปุราเตียร์ตาอัมปึล (Pura Tirta Empul) หรือวัดน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ มีบ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ใสสะอาดที่ผุดขึ้นจากใต้ดิน เป็นที่เคารพสักการะของชาวบาหลี เชื่อว่าพระอินทร์เป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดน้ำพุ ชาวบาหลีเชื่อว่าถ้าได้มาอาบน้ำ จะเป็นสิริมงคลและขับไล่สิ่งเลวร้าย ทั้งยังรักษาโรคต่างๆ ทุกปีผู้คนนิยมเดินทางมาเพื่อชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ ก่อนการอาบน้ำ จะมีการทำพิธีบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำพุที่แท่นบูชา จะมาอาบน้ำพุศักดิ์สิทธิ์กัน ที่อาบน้ำโบราณ สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 • กุหนุงกาวี (Gunung Gawi) ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพเหล่ามเหสีของรายาเมื่อ 800-900 ปีก่อน ทำขึ้นโดยการแกะสลักหินด้วยประติมากรรมแบบนูนสูง ให้เป็นรูปเจดีย์ขนาดสูง 7 เมตรถึง 10 องค์ • ท่าเรือปาดังไบบาหลี (Padang Bai Bali) เป็นท่าเรือเฟอรี่ที่บริการข้ามไปยังเกาะล็อมบ็อก (Lombok) ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ปัจจุบันเขตนี้เริ่มมีนักท่องเที่ยวสนใจเพิ่มขึ้นเพราะเป็นเขตที่ยังมีธรรมชาติแบบดั้งเดิม ทั้งสายน้ำ ป่าเขา และหมู่บ้านต่างๆ ข้างทางก็ยังบริสุทธิ์อยู่มากจึงเป็นที่นิยมสำหรับการจัดทัวร์ในลักษณะ off-road หรือทัวร์สัมผัสบาหลีแบบเจาะลึก
|
|
|
|
lek_adisorn
|
|
« ตอบ #1173 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 18:49:09 » |
|
สุดยอดเลยเสี่ยแหลมส่งพิมพ์ได้เลยข้อมูลละเอียดดีมาก ผมไม่เคยไป แต่มีพวกลูกค้าหลายรายต้องมาบาหลีเพื่อสร้างจินตนาการ ออกแบบเครื่องประดับ แล้วมาผลิตที่ไทยจากนั้นก็เอามาถ่ายรูป หลายรายมาก แสดงว่าต้องดีมากๆเลยกับพวกอาร์ตเนี่ย
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1174 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2553, 10:35:02 » |
|
สวัสดี....ท่านเล็ก แสงเสียง
ข้อมูลหลักๆต้องขอบคุณ...อาจารย์กุ๊ก,พี่วิ และโอเชียนสไมลส์............ผมแค่เอามายำตามสูตร
เรื่องงานศิลป์.....งานศิลป์ฃองบาหลีมีหลากหลายแขนงและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
ว่ากันว่า..... " บาหลีเป็นสถานแห่งหนึ่งบนโลก...ซึ่งจะนำพาผู้มาเยือนกลับสู่ธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์."
|
|
|
|
|