churaipatara
|
|
« ตอบ #12100 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 11:51:25 » |
|
กับกิจกรรมดีๆที่มอบให้แก่เด็กๆที่แม่สายค่ะ
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12101 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 12:00:35 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
การรับรู้เรื่องราวต่างๆ รวมถึงการตีความ ความคิด มุมมอง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ความเป็นจริง-
ตามความคิด ..การรับรู้และการตีความเกิดจากประสบการณ์ในอดีตที่สั่งสมมา สิ่งที่ได้เห็นได้ยินใน
ปัจจุบัน อิทธิพลจากความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ ความคาดหวังและความปรารถนาของบุคคลผู้
นั้น ..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12102 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 12:02:47 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12103 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 12:15:08 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
เช่น เด็กที่ถูกเลี้ยงดูอย่างตามใจ อาจคิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น เหนือกว่าคนอื่น มองตัวเองเหมือน-
เจ้าหญิงเจ้าชาย ..ในทางตรงข้ามหากถูกเลี้ยงดูอย่างละเลยห่างเหิน เด็กอาจตีความว่าตนเองไร้ค่่า
ไม่น่ารัก ไม่มีใครต้องการ.. การรับรู้และตีความความคิดที่ไม่ตรงตามความจริงหรือบิดเบือน มักก่อ -
ให้เกิดความทุกข์ต่างๆมากมาย บางครั้งการแก้ไขความคิดเหล่านี้ ทำให้ชั้นอื่นๆของภูเขาน้ำแข็ง
เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ที่รับรู้และพบเห็นบ่อยครั้งคือ การตัดพ้อต่อว่าว่าพ่อแม่ไม่รัก .. พิจารณาให้ดี ก็พบว่าเกิดจากความ
คิดของลูกเอง หรือ จากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ทำให้ลูกรู้สึกเช่นนั้นได้จริงๆ
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12104 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 12:16:57 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12105 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 12:29:27 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
มนุษย์มีความต้องการ ความคาดหวังมากมาย ซึ่งมาจากความปรารถนาในใจที่ลึกลงไป ..เป็นอาหาร
ใจ ร่างกายต้องการอาหารห้าหมู่ จิตใจก็ต้องการอาหารใจ คือ การเติมเต็มความปรารถนานั่นเอง ..
ความปรารถนามีเหมือนกันทุกคน แต่ความต้องการจะแตกต่างกันออกไปแต่ละคน เมื่อได้รับการตอบ
สนองแล้ว ตนจึงจะได้อาหารใจ เช่น ทุกคนอยากได้ความรัก บางคนต้องการให้กอดจะรู้สึกว่ารัก บาง
คนอยากให้ซื้อของให้จึงจะรู้สึกว่ารัก บางคนอยากให้อยู่ใกล้ๆใช้เวลาอยู่ด้วยกันจึงจะรู้สึกว่ารัก..
สำหรับเอ๋ เลี้ยงลูกสามคน เน้นที่ อาหาร(บำรุง)กาย อาหาร(บำรุง)ใจ และอาหาร(บำรุง)สมองค่ะ อีก
ทั้งควรสังเกตความต้องการของลูกในแต่ละด้านด้วย เพราะลูกสามคนก็สามแบบ เรื่องละเอียดอ่อน
เช่น คำพูดที่ใช้ คำสอนที่ใช้ การสัมผัสให้อบอุ่น ฯ ลฯ บางกรณ๊ต้องใช้ต่างกัน..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12106 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 12:33:42 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12107 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 12:54:08 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
ไม่ว่าคนชนชาติใด เพศหญิงหรือเพศชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ก็ยังจำเป็นต้องได้รับอาหารใจ
จิตใจจึงจะมีความสุขสงบได้รัดับหนึ่ง ไม่เช่นนั้นเหมือนร่างกายหิวโหย ย่อมกระวนกระวาย ไม่เป็น-
สุข .. ความปรารถนาหลักๆที่คนต้องการ ได้แก่ ความรัก การยอมรับ ความเป็นอิสระ ความชื่นชม -
ความรู้สึกมีคุณค่า ความภาคภูมิใจความเคารพนับถือตนเอง ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันความปลอด
ภัย และความสงบสันติ..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12108 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 13:04:37 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12109 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 13:11:11 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
ความรักในที่นี้หมายถึง อยากได้รับความรัก และอยากเป็นผู้ให้ความรักด้วย ..ถึงแม้การยอมรับตัวเอง
จะสำคัญที่สุด แต่โดยทั่วไปคนเราก็ยังอยากได้การยอมรับจากผู้อื่นอยู่บ้าง โดยเฉพาะจากบุคคลที่-
เราให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น พ่อแม่หรือลูก สามีหรือภริยา แต่ถ้าไม่ได้จากผู้อื่น เราต้องอาศัยการ
ยอมรับจากตัวเองเป็นหลักและพอเพียงแต่เท่านั้น ..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12110 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 13:13:14 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12111 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 13:17:35 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
ตัวตนเป็นชั้นล่างสุดลึกสุดของภูเขาน้ำแข็ง เป็นส่วนสำคัญยิ่งเพราะหมายถึง ความเป็นตัวเรา ..
ถ้าเข้าถึงขั้นนี้ได้จะทำให้คนนั้นรู้สึกมีพลัง รู้สึกตนเองมีคุณค่า เพราะรู้ว่าจริงแล้วเราเป็นใคร มี
ความต้องการอะไรจริงๆ เป็นส่วนที่รวมเอาจิตวิญญาณของเราไว้ ..คนที่มีปัญหามักไม่สามารถ
เข้าถึงหรือไม่รู้จักส่วนนี้ของตัวเอง ..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12112 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 13:19:27 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12113 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 13:25:10 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
การมีความภาคภูมิใจตนเองสูง ไม่ได้หมายถึงรู้สึกดี หรืออารมณ์ดีตลอดเวลา แต่หมายถึงการที่คน
นั้น สามารถเรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเอง มองเห็นคุณค่าของตัวเองและสามารถรู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร..
คิดอย่างไร ต้องการอะไร อย่างสอดคล้องกลมกลืน ..คนมีความภาคภูมิใจในตนเองสูง จะเป็นแบบ
นี้คือ "..ฉันรู้สึกเศร้า ฉันพูดแบบเศร้า มองดูแล้วเศร้า ฉันรู้ว่าฉันเศร้า ฉันสามารถพูดถึงมันได้ และ
ฉันจะเลือกเองว่าจะขอความช่วยเหลือไหม.."
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12114 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 15:31:38 » |
|
พี่วุฒิเป็นประธานงานทอดกฐินค่ะ
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12115 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 15:49:05 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
ความสัมพันธ์ของผู้คน แบบยอมตาม แบบโทษผู้อื่น แบบเจ้าเหตุผล แบบเฉไฉ เป็นการสื่อสาร การ-
ปรับตัวหรือการรับมือที่ไม่สอดคล้องกลมกลืน จะเกิดขึ้นเมื่อคนนั้นอยู่ภายใต้เหตุการณ์ที่เครียด รู้สึก -
ถูกคุกคามทำให้ต้องปกป้องตัวเอง เพื่อเอาตัวรอด หลีกเลี่ยงการถูกปฏิเสธ และปกป้อง รักษาความ -
สัมพันธ์ไว้ ความสัมพันธ์รูปแบบเหล่านี้ยังเป็นตัวสร้างกำแพงระหว่างเรากับคนอื่นเพราะคนอื่นเขาไม่
รู้ว่าจริงๆแล้วเรารู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ต้องการอะไร..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12116 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 15:50:20 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12117 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 17:00:29 » |
|
ต้องไปเชียร์กีฬารอบที่สองอีกค่ะ สีขาวชนะเปตองและวอลเลย์บอลแล้ว เดวพบกันนะคะ บ๊ายยย..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12118 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 12:11:41 » |
|
สวัสดีค่ะ
ศรีสะเกษช่วง3-4วันนี้อากาศหนาวมากค่ะ ต้องรักษาสุขภาพกันให้ดีเลยทีเดียว.. วันนี้ก็ทำงานปกติ
พึ่งปฏิบัติหน้าที่เสร็จ ก็รีบเข้ามาทักทายเพื่อนพี่น้องในเวบซีมะโด่งนี้นะคะ..นอกจากนี้ พี่วุฒิบอกว่า
ช่วงว่างจากภารกิจ จะเข้ามาพูดคุยกับทุกคนในกระทู้นี้ด้วย ..ยินดีอย่างยิ่งค่ะ..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12119 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 12:18:12 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12120 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 12:39:27 » |
|
ยังติดค้างรูปหมู่คุณหมอตุ่นอยู่..รูปหมู่จะอยู่ในกล้องค่ะ รอให้หนูเจ้าหน้าที่เอาออกจากกล้องให้ก่อน..
ขั้นตอนนี้ทำไม่เป็นค่ะ ให้หนูเค้าทำให้เป็นประจำ เลยต้องรอเค้าว่างก่อน..ช่วงนี้ก็เลยลงรูปกิจกรรม/
การบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆของเพื่อน24ไปพลางๆก่อนนะคะ
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12121 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 12:46:14 » |
|
จิ๋ม-ทัศนีย์ไปประชุมที่กทม. เพื่อนบอกว่าไม่ว่างทานข้าวด้วย..ไหนได้เซอร์ไพร์สกันซะจิ่๋มน้ำตาคลอ.. คนวางแผนหลักคือท่านรองฯกะชายค่ะ..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12122 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 13:33:47 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
รูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่สอดคล้องกลมกลืนเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้มาตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้ได้รับ
ความรัก การยอมรับ หรือ การยืนยันคุณค่าของตัวเรานั่นเอง ..แต่เป็นวิธีที่ต้องแลกด้วยการเสียสุขภาพ
กาย จิต และเสียความเคารพนับถือตนเอง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ทำให้เกิดความปวดร้าวในใจ ..ตย.ประ-
สบการณ์จากวัยเด็ก เช่น เด็กๆเรียนรู้ว่าถ้าร้องไห้ อาละวาด หรือแกล้งน้อง จะไม่ได้รับการยอมรับ จะ
โดนตำหนิ แต่ถ้าเชื่อฟังผู้ใหญ่ หัวเราะยิ้มแย้ม ผู้ใหญ่จะชอบและชม ทำให้รู้สึกมีคุณค่าได้รับการยอมรับ..
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12123 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 13:36:44 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #12124 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 14:15:26 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
ในวัยเด็ก เด็กจะเรียนรู้จากผู้ใหญ่ในบ้านที่สื่อสารกันอย่างไม่สอดคล้องกลมกลืน เช่น แม่หน้าเศร้า
ที่รู้ว่าพ่อตกงาน พอลูกถามว่าแม่เป็นอะไร แม่บอกว่า แม่ไม่เป็นอะไรแม่สบายดี ..แม้แต่ในสังคมวง-
กว้าง เวลาเรารู้สึกไม่ค่อยสบาย แต่พอใครทักว่าสบายดีไหม ก็ตอบว่าสบายดีและฝืนยิ้มให้เขา ..
เมื่อเป็นผู้ใหญ่ความคิดบิดเบือนที่ว่า เราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง เราต้องปกป้องตนเองไม่ให้ถูก
ทอดทิ้ง เราต้องทำให้ได้การยอมรับ ล้วนมีต้นตอมาจากตอนเราเป็นเด็ก เด็กจึงต้องทำทุกอย่างไม่-
ให้ถูกทิ้ง
|
|
|
|
|