ทิศทางของครอบครัว
ครอบครัวที่มีเอกลักษณ์มั่นคงจะมีทิศทางในการพัฒนาที่ชัดเจน ผู้รู้บางท่านใช้คำว่า family theme ซึ่งหมายถึง รูปแบบ เป้าหมาย
หรือแนวทางว่าครอบครัวจะเป็นแบบใดและจะพัฒนาไปในทิศทางใด theme เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ปฏิบัติกันในครอบครัว รวม
ทั้งวิธีการใช้เวลาและทรัพยากรที่ครอบครัวมีอยู่ เช่น ครอบครัว ก. มีเป้าหมายว่าการเลี้ยงลูกเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ครอบครัวนี้ก็จะแบ่ง
เวลาโดยคำนึงถึงความต้องการของลูกเป็นหลัก พ่อแม่จะใช้เวลาอยู่กับลูกในวันหยุดมากกว่าจะไปทำงานล่วงเวลา และครอบครัวอาจ
ตัดสินใจให้แม่ลาออกจากงานมาดูแลลูกในระยะที่ลูกยังเล็ก แตกต่างจากครอบครัว ข. ซึ่งถือความสำเร็จในงานอาชีพเป็นเป้าหมาย
สำคัญ สามีภรรยาจะเลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยนำเงินที่สะสมไว้มาใช้ในการศึกษาต่อ และฝากลูกไว้ให้ปู่ยาตายายเป็นผู้เลี้ยง
ดูแทน เป็นต้น
เป้าหมายหรือทิศทางของครอบครัวอาจมีได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตแต่ละตอนว่าเป้าหมายใดจะเป็นเป้าหมายเด่น เช่น ในช่วง
ที่ยังไม่มีบุตร เป้าหมายเด่นอาจเป็นการสร้างความมั่งคงในอาชีพการงาน แต่เมื่อถึงเวลามีลูก คู่สมรสจะให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดู
ลูกมากกว่า ครอบครัวที่เลือกเป้าหมายหรือทิศทางได้เหมาะสมย่อมพัฒนาไปได้ราบรื่นกว่าครอบครัวที่มีเป้าหมายไม่เหมาะสม เช่นใน
กรณีของครอบครัว ข. การฝากลูกให้ผู้อื่นดูแลแม้จะเป็นญาติที่ใกล้ชิดก็ตาม อาจจะนำไปสู่ปัญหาสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกในอนาคต
ก็ได้ หรือในครอบครัวที่มีลูกพิการ ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญแก่ลูกที่พิการมากเกินไป และอุทิศทรัพยากรที่มีอยู่แทบทั้งหมด ไม่ว่า
จะเป็นเวลาหรือทรัพย์สินเงินทองเพื่อใช้ในการดูแลลูกพิการ ก็อาจทำให้ลูกปกติขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ควรได้รับ และเกิดปัญหาทาง
ด้านจิตใจขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ครอบครัวเกิดภาวะและความตึงเครียดเพิ่มขึ้นอีก
ในหลายครอบครัวไม่ได้มีการพูดคุยตกลงกันอย่างชัดเจนเป็นเรื่องเป็นราว ในระหว่างสมาชิกด้วยกันเกี่ยวกับเป้าหมายหรือทิศทางของ
ครอบครัว ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ถ้าเป้าหมายที่สมาชิกแต่ละคนต้องการนั้นแตกต่างกัน ในครอบครัวที่ทำหน้าที่ได้ดีจะมีการปรึก
ษาพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความต้องการของแต่ละคน และตั้งเป้าหมายของครอบครัวร่วมกัน โดยเฉพาะระหว่างพ่อกับ
แม่ซึ่งเป็นผู้นำครอบครัว ทั้งนี้เพื่อว่าครอบครัวจะได้เคลื่อนไปในทิศทางอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และสามารถตอบสนองความ
ต้องการของสมาชิกทุกคนได้อย่างเหมาะสม
ภาพจาก bloggang.com
วิวัฒนาการของครอบครัว
ครอบครัวเป็นหน่วยพื้นฐานของชีวิต หน่วยพื้นฐานนี้มีคุณสมบัติของ “ชีวิต” ด้วย นั่นคือไม่อยู่นิ่ง แต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
มีการเกิด การเติบโตและพัฒนาการไปข้างหน้า มียามวิกฤติและยามสงบ มีความทุกข์และความสุข มีการถดถอยและการสิ้นสุด
ครอบครัวหนึ่งจบสิ้นโดยอาจมีหรือไม่มีครอบครัวใหม่เกิดขึ้นแทนก็ได้ แม้ว่าแต่ละครอบครัวจะมีหลายสิ่งที่เหมือนกัน แต่ละครอบครัว
ต่างก็มีประวัติศาสตร์ของตนเองและมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย แต่ละบุคคลมิได้มีครอบครัวเดียวแต่มีหลายครอบครัว เช่น มี
ครอบครัวเมื่อเขาเป็นเด็ก เมื่อแต่งงาน เมื่อเป็นพ่อแม่หรือเป็นปู่ยาตายาย โครงสร้างและองค์ประกอบของครอบครัวแต่ละแบบนี้มี
ความแตกต่างกัน ในการเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่งนั้น บุคคลต้องปรับตัวทั้งในด้านบทบาทหน้าที่
ความรู้สึกนึกคิดและวิถีปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาวะใหม่ เพื่อที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นกับครอบครัวอันเนื่องมาจากวิวัฒนาการอันไม่สิ้นสุด
ของมนุษย์ แม้ในปัจจุบันครอบครัวก็กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติการณ์ต่างๆ ที่เกิด
ขึ้นในสังคม คุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆก็คือ ความสามารถในการปรับตัว
กับปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่มากระทบ ปัจจัยภายนอกได้แก่ สภาพเศรษฐกิจสังคม ขนมธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ ส่วนปัจจัย
ภายในได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ความต้องการของแต่ละคน ความขัดแย้งต่างๆ ฯลฯ ความสามารถในการ
ปรับตัวนี้ควรได้รับการเสริมสร้างให้แข็งแกร่งขึ้นในทุกครอบครัวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดมากเกินไป จนเกิดปัญหาสุขภาพ
จิตตามมา
ภาพจาก dailygizmo.tv
ครอบครัวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ
ครอบครัวมิได้มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นสถาบันที่จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคลให้เป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ โดยผ่านประสบการณ์แห่งการอยู่ร่วมกัน การแบ่งบันและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งภายในครอบครัวเองและกับสังคมภายนอก
เมื่อทารกเกิดมายังไม่มีบุคลิกภาพลักษณะเฉพาะตัว มีเพียงศักยภาพที่ได้มาจากพันธุกรรมเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปความเป็นบุคคล
ของทารกจะพัฒนาขึ้นตามลำดับจากกระบวนการที่ทารกมีปฏิสัมพันธ์กับแม่ ขยายวงไปสู่พ่อและสมาชิกวงอื่นๆ ในครอบครัวที่เด็ก
เติบโตขึ้นและมีความสัมพันธ์กับสังคมภายนอกมากขึ้น เขาจะเกิดการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มากขึ้นซึ่งนำไปสู่การหล่อหลอม
เอกลักษณ์เฉพาะตัวมากที่สุด
ครอบครัวเป็นหน่วยพื้นฐานแห่งการแลกเปลี่ยน สิ่งสำคัญที่แลกเปลี่ยนกันก็คือความรัก โดยเริ่มต้นจากพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ให้และลูกซึ่ง
เป็นผู้รับ ถ้าการแลกเปลี่ยนความรักเป็นไปในบรรยากาศที่พึ่งพอใจ มีทั้งการให้และการรับในสัดส่วนที่เหมาะสม พัฒนาการของบุค
คลก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น เกิดเป็นความรู้สึกไว้วางใจบุคคลในครอบครัว เอื้ออาทรต่อกันและพร้อมจะเสียสละให้แก่กัน แต่ถ้าสิ่ง
เหล่านี้ดำเนินไปอย่างไม่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ คับข้องใจ ความขมขื่นและความเกลียดชัง ความรู้สึกทางลบที่
เกิดขึ้นในครอบครัวจะมีความรุนแรงยิ่งกว่าจะเกิดขึ้นในสังคมหน่วยอื่น ประสบการณ์ในแต่ละวันที่ได้รับภายในครอบครัวนั้น มีผล
ต่อสุขภาพจิตใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ประสบการณ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดความสุขและความมั่งคง หรืออาจทำให้เกิดความทุกข์
และความเปราะบางในบุคคลก็ได้ ครอบครัวเป็นเวทีที่บุคคลจะเรียนรู้เกี่ยวกับความรัก คุณค่าของตนเอง ความนับถือและเชื่อมั่น
ในตนเอง รวมทั้งความหวังและพลังที่จะก้าวไปข้างหน้าโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ในทางกลับกัน ครอบครัวอาจเป็นเวทีที่บุคคล
จะเรียนรู้เกี่ยวกับความเกลียดชัง ความด้อยค่าของตน ความสงสัยในตนเอง การถอยหนีและไม่กล้าที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งใดๆเลย
รวมทั้งความสิ้นหวังในชีวิต
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ครอบครัวเป็นบันไดขั้นต้นแห่งการพัฒนาบุคคล และการสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข การรณรงค์แก้ปัญหา
สังคมที่กระทำอยู่ในปัจจุบันไม่อาจจะสำเร็จได้ ถ้าปราศจากการเสริมสร้างครอบครัวให้มีความเข้มแข็งและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง
เหมาะสม