เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า (โครงการช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้า) โดย พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ เรียบเรียง/ปรับเนื้อหา
โรคซึมเศร้ามีสาเหตุเกิดจากอะไร
โรคซึมเศร้าเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ จากการวิจัยพบว่ากรรมพันธุ์ทำให้คนบางคนมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้
เหตุการณ์ตึงเครียด เช่น ความสัมพันธ์ถูกตัดขาดหรือปัญหาด้านการเงินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะเมื่อมีแนว
โน้มที่จะเป็นโรคอยู่แล้ว (underlying vulnerability)
มีคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากน้อยแค่ไหน?
จากการศึกษาความชุกของโรคจิตเวชในในประเทศไทย ปี 2546 (กรมสุขภาพจิตร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น) พบผู้มีภาวะซึมเศร้า
ประมาณร้อยละ 5ของประชากรซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 คน ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้
ชาย วัยรุ่นและเด็กอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน แต่ในวัยรุ่นอาการจะยากแก่การแยกแยะว่าเป็นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามปกติของ
วัยรุ่น หรือความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการเรียนและความสัมพันธ์ต่างๆ ส่วนผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าเช่นกัน อาการของโรคอาจ
ไม่เป็นที่รู้จักและถูกสรุปว่าเป็นอาการของผู้ที่ “แก่ตัวลง” หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับอาการโรคซึมเศร้าของผู้ที่มีอายุน้อยหรือผู้สูงอายุ
ควรจะปรึกษาแพทย์ ซึ่งสามารถประเมินอาการและหากจำเป็นควรแนะนำให้ไปพบกับจิตแพทย์ที่มีความ เชี่ยวชาญในด้านนี้
ครอบครัวและเพื่อนๆ ได้รับผกระทบอย่างไร?
ไม่น่าแปลกใจเลยที่เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว จะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและเพื่อน ๆ ทำให้ชีวิตของบุคคล
เหล่านี้พลอยลำบากไปด้วย ครอบครัวและเพื่อน ๆ อาจจะสับสนและผิดหวังต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาอาจจะรู้สึกโกรธที่
ผู้ป่วยไม่ยอม “ลุกขึ้นและทำอะไรสักอย่าง”ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าอาการที่สำคัญของโรคซึมเศร้าคือการขาดแรงจูงใจ ญาติและเพื่อน ๆ อาจไม่
พอใจคนป่วย พวกเขาอาจรู้สึกเศร้าโศก กลัว รวมทั้งมีอารมณ์อื่นๆ นอกจากนี้พวกเขายังอาจรู้สึกผิดที่มีปฏิกิริยาเช่นนี้ และอาจมีความรู้
สึกว่าเขามีส่วนทำให้ผู้ป่วยป่วยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง รู้สึกว่าเขาไม่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเพียงพอหรืออาจคิดว่าการที่ผู้ป่วยเป็นโรค
ซึมเศร้าเป็นเพราะความผิดของผู้ป่วยเอง จำเป็นมากที่จะเข้าใจว่าไม่ใช่ความผิดของผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือคนอื่น และการเกิด
โรคที่ร้ายแรงเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดอารมณ์รุนแรงและวิธีที่ดีที่สุดคือ การพูดกันอย่างตรงไปตรงมาแทนที่จะ “เก็บกด” ไว้
ครอบครัวและเพื่อน ๆ อาจรู้สึกโดดเดี่ยวและรู้สึกว่าไม่สามารถทำอะไรได้ รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงด้วย จะเป็นการช่วยพวกเขา
ได้มากหากพวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคซึมเศร้า การรักษาและสิ่งอื่นที่อาจช่วย
ได้ รวมทั้งให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าจะให้การสนับสนุนผู้ป่วยได้อย่างไรบ้าง การที่ญาติหรือเพื่อนของผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน (Support
group) มักจะเป็นประโยชน์มาก เช่น กลุ่มสายใยครอบครัว กลุ่มพักพิงพระพร ซึ่งจะช่วยให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงและสามารถหนุน
ใจซึ่งกันและกัน กลุ่มสนับสนุนบางกลุ่มมีการให้การศึกษาและการอบรมแก่ผู้ที่ดูแลผู้ป่วย ให้สอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
ที่ให้การรักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มสนับสนุนหรือติดต่อกองบรรณาธิการเพื่อนรักษ์สุขภาพจิต โรงพยาบาลศรีธัญญา
02-5250981-5 ต่อ 1678
การที่บิดาหรือมารดาป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อาจทำให้เด็กสับสนและเศร้าใจ การให้การดูแลด้านอารมณ์มีความสำคัญมากต่อผู้ที่เยาว์วัย
และการป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้นมักจะมีผลต่อความสัมพันธ์และการสื่อความรู้สึกของเราต่อผู้อื่น อาจต้องมีคนทำให้เด็กๆ มั่นใจว่าบิดา
หรือมารดาของเขาที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้น ไม่ได้เปลี่ยนท่าทีที่เขารู้สึกต่อเด็กเลย หากเป็นไปได้แล้วทั้งบิดาและมารดาควรจะอธิบาย
เรื่องเกี่ยวกับโรคนี้ให้เด็กฟัง โดยใช้ถ้อยคำและแนวความคิดที่เด็กจะคุ้นเคยและเข้าใจได้ง่าย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก โครงการช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้า วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ภาพและสาระจาก icare.kapook.com