เส้นทางครอบครัวไทยในยุคโลกาภิวัตน์
"ครอบครัว" เป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด สังคมจะเข้มแข็งได้ก็ต้องมีครอบครัวที่เข้มแข็ง
"ผมรักคุณนะ แต่งงานกับผมนะ"มักเป็นประโยคคุ้นหูที่ทุกคนคาดเดาได้เมื่อละครหลังข่าวใกล้อวสานพระเอกก็จะพูดกับนางเอกแบบนี้
เสมอแต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าชีวิตจริงนอกนวนิยายของผู้คนทั่วไปนั้นจบลงเช่นใด
**ปรากฏการณ์ความรุนแรงในครอบครัว**
"พ่อจ๋า อย่าทำแม่เลยนะ" ... "พ่อจ๋า-แม่จ๋า อย่าทำหนูเลย หนูกลัวแล้ว โอย โอย"
รายงานสถิติจากโรงพยาบาล 70 แห่งของสาธารณสุข ในปี 2547 มีผู้กระทำรุนแรงถึง 6,596 ราย มีสตรีที่ถูกทำร้ายถึง 3,335 ราย
เด็กถูกทำร้ายถึง 2,626 ราย เฉลี่ยทุก 2 ชั่วโมงจะถูกทำร้าย 1 คน ส่วนใหญ่ด้วยฝีมือของคนใกล้ชิด เช่น สามี และบุคคลในครอบครัว
และเกือบครึ่งหนึ่งเป็นความรุนแรงทางเพศ..ซึ่งในทุกๆ เด็ก 10 คนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ จะมีอย่างน้อย 1 รายที่ถูกกระทำโดยพ่อของ
ตนเอง นอกนั้นเป็นปู่ ตา น้า อา ลุง พ่อเลี้ยง ฯลฯ...ใครบ้างจะรู้ว่า เด็กๆที่ถูกกระทำเหล่านี้เมื่อเติบโตขึ้นในวันหน้า เขาจะกลายเป็นคน
เก็บกด ก้าวร้าวและกระทำความรุนแรงต่อผู้อื่นด้วยเช่นกันในเวลาต่อมา
**ครอบครัวสมรสน้อยลง หย่าร้างเพิ่มขึ้น**
ความไม่ลงรอยกันของสามีภรรยา การใช้อารมณ์ต่อกันในครอบครัวมีให้เห็นจนชินตา"เมื่ออยู่ด้วยกันไม่ได้ก็เลิกกันไปเลย"..."แน่จริงก็ไป
หย่ากันเดี๋ยวนี้เลย" ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีการสมรสน้อยลงและหย่าร้างเพิ่มขึ้นโดยภาคกลางมีอัตราหย่าร้างสูงสุด ส่วนภาคอีสาน
มีคนแต่งงานน้อยที่สุด
ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองระบุว่า... จากการสำรวจ 17,309,344 บ้าน เมื่อปี 2545 พบว่า การจดทะเบียนลดลง
เหลือ 291,734 คู่ จากช่วง 1 ปีที่มี 324,661 คู่..และจดทะเบียนหย่า 77,735 คู่ เพิ่มขึ้น 1 ปีที่มี 76,037 คู่
**เด็กและผู้สูงอายุยังคงถูกทอดทิ้ง**
ขณะเดียวกันก็พบว่า ปัจจุบันมีครอบครัวเดี่ยวถึง 55% และครอบครัวขยายลดลงเหลือ 32.1% คิดเป็นจำนวนครอบครัวเดี่ยวประมาณ 16
ล้านครอบครัว และมีพ่อหรือแม่ที่เลี้ยงลูกตามลำพังถึง 1.3 ล้านครอบครัว (กระทรวงวัฒนธรรมและสถาบันรามจิตติ ,2548) รวมทั้งมีผู้สูง
อายุถูกทอดทิ้งปีละ 2,804 คน และเด็กถูกทอดทิ้ง 8,013 คน (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ,2548)
**สัมพันธภาพในครอบครัวไม่อบอุ่น ขาดการให้เวลาแก่กันอย่างมีคุณภาพ**
ผลการสำรวจผู้ปกครอง 1,066 ครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานคร(มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวร่วมกับศูนย์ประชามติสถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ,2546) พบว่า...พ่อแม่ส่วนใหญ่ทำงานวันละ 7 - 9 ชั่วโมง โดยพ่อแม่ร้อยละ 43 รู้สึกห่างเหินกับลูก เนื่องจากใน
แต่ละวันมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกเพียง 1 - 3 ชั่วโมง ในแง่ของเด็กเองก็รู้สึกห่างเหินกับพ่อแม่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
**วัตถุนิยมและบริโภคนิยมเป็นใหญ่**
"ถ้าเลือกได้จะไม่มีผัวไทย เพราะจนแล้วยังงี่เง่าอีก" ประโยคนี้เป็นคำพูดของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งในภาคอีสานที่ต้องการทำงานหาเงินให้
พ่อแม่โดยไม่เลือกว่าจะเป็นวิธีไหนเธอตั้งใจมีสามีต่างชาติและเห็นว่าการมีเงินเพื่อมีหน้ามีตานั้นสำคัญมากเด็กผู้หญิงจำนวนไม่น้อยต้อง
กลายเป็นเครื่องมือทำเงินเพื่อหน้าตาของครอบครัว(งานวิจัยของพญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ ,2547)
"หนูภูมิใจมากที่ได้ผัวฝรั่งจนได้มาอยู่ด้วยกันที่เยอรมนี..หนูมีวันนี้ได้ก็เพราะหนูเคยทำงานที่พัฒน์พงษ์...เจอกันครั้งแรกเขาก็ชอบหนูเลย
เดินตามก้นหนูไม่ห่างเลย.. หนูไม่อายที่จะบอกใครๆว่าการเป็นผู้หญิงขายตัวที่พัฒน์พงษ์ ทำให้หนูพบความสุขในวันนี้" (ศุภลักษณ์ เก่งบัญชา ,
สัมภาษณ์หญิงไทยในเยอรมนี ,2545)
ทั้ง 2 เหตุการณ์ข้างต้น ยากที่จะตัดสินว่าเธอผิดหรือไม่ดี...เพราะเธอเลือกแล้วที่จะเดินไปบนเส้นทางแห่งอาชีพอิสระที่เธอเห็นว่ามีศักดิ์ศรี
เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้..และเป็นหนทางที่ไม่ลำบากเกินความรู้ความสามารถของเธอ...แน่นอนว่ามีผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยที่แต่งงาน
กับสามีต่างชาติเพราะเชื่อว่าเขาจะรักและดูแลเธอไปตลอดชีวิต แต่ทว่าความจริงที่ผู้เขียนพบนั้น กว่า 50% ของหญิงไทยในต่างแดนก็คือ
การตกอยู่ในสภาพเมียทาส...ต้องทำงานมืด(ผิดกฎหมาย) ที่มีรายได้น้อยเพื่อหาเลี้ยงสามีกรรมกรที่ตกงาน...ยิ่งกว่านั้นหญิงไทยบางคนต้อง
ทนทุกข์ทรมานกับสามีเจ้าชู้โดยถูกทอดทิ้งให้อยู่กับลูกเล็กๆ เชื้อสายไทย - เยอรมัน อีก 2 คน ตามลำพังเธอไม่เคยได้รับเงินค่าเลี้ยงดูลูก
เพราะสามีต่างชาติแกล้งเธอโดยการขอหย่าและทำตัวล้มละลายเพื่อมิให้ภรรยาคนไทยได้ทรัพย์สินส่วนแบ่งจากตนเองแม้แต่น้อย
สิ่งที่ผู้เขียนห่วงใยหญิงไทยและอยากฝากพ่อแม่ที่คิดจะขายลูกเพื่อหวังร่ำรวยมีหน้ามีตานั้นก็คือ ขอให้ตระหนักว่าไม่มีแผ่นดินไหนจะอบอุ่น
และน่าอยู่เท่ากับแผ่นดินไทย-แผ่นดินแม่ของเราอีกแล้ว หญิงไทยในต่างแดนหลายคนปรารภกับผู้เขียนว่า...ทุกข์ทรมานและลำบากมาก
ในต่างแดนแต่กลับบ้านที่เมืองไทยไม่ได้ แม้จะคิดถึงพ่อแม่พี่น้องเพียงใดก็ต้องทนเพราะหากกลับไปแบบไม่มีอะไรก็อายชาวบ้านเขา..ชีวิต
เธอเหล่านั้นช่างรันทดเพียงใดอยู่ก็ไม่ได้ - กลับก็ไม่ได้
จึงอยากฝากคำถามท่านผู้อ่านว่า..
การบูชาเงินและวัตถุเป็นที่ตั้งนั้น..แท้ที่จริงแล้วให้ความสุขในชีวิตได้จริงหรือ?
ปรากฏการณ์ข้างต้น สะท้อนความไม่เท่ากันสื่อของเด็ก เยาวชน และครอบครัวควบคู่ไปกับความหลงใหลไปกับสิ่งเร้ารอบตัวทั้งทางวัตถุ
จิตใจและทางเพศอย่างไม่สามารถควบคุมได้ สะท้อนให้เห็นภูมิต้านทานที่อ่อนแอของเด็ก เยาวชนและครอบครัวไทยอย่างน่าวิตกยิ่ง...
พ่อแม่ผู้ปกครองน้อยคนที่จะรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับลูกของตนในขณะนี้...หรือเมื่อรู้ก็มักสายเกินแก้
**ครอบครัวไทยจะไปทางไหนดี**
ปรากฏการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ครอบครัวสมรสน้อยลง หย่าร้างเพิ่มขึ้น เด็กและผู้สูงอายุยังคงถูกทอดทิ้ง สัมพันธภาพในครอบครัว
ไม่อบอุ่น ขาดการให้เวลาแก่กันอย่างมีคุณภาพ วัตถุนิยมและบริโภคนิยมเป็นใหญ่....
ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า..เมื่อสังคมเป็นเช่นนี้แล้ว "ครอบครัวไทยจะไปทางไหนดี"
ประการที่ 1 ภาคีด้านครอบครัว ที่ประกอบด้วยองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการและประชาชน(โดยการประสานงานของโครงการครอบ
ครัวเข้มแข็ง สถาบันครอบครัวรักลูก) มีมติเห็นพ้องร่วมกันว่า...
1.1 ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรประกาศให้ "ครอบครัวเป็นวาระแห่งชาติ"โดยระดมทุกองค์กรและทุกระดับของสังคม ตั้งแต่ระดับระดับชาติไป
จนถึงรากหญ้าในชุมชนร่วมกันสำรวจทบทวนกลไกของรัฐและสังคม รวมทั้งร่วมกันปกป้องคุ้มครองครอบครัวอย่างจริงจัง เพื่อให้ครอบครัว
สามารถทำหน้าที่ของตนได้เต็มศักยภาพ
1.2 สร้างพื้นที่จัดการเรียนรู้ด้านครอบครัวทั่วประเทศ...ในทุกรูปแบบ ทุกกลไกทุกภาคส่วน และทุกระดับ...เพื่อให้เกิดเวทีครอบครัวเรียนรู้
- ครอบครัวศึกษาแก่บุคคลทุกเพศทุกวัยในทุกระบบและทุกชุมชน
1.3 ขยายพื้นที่สร้างสรรค์ และจำกัดพื้นที่ไม่สร้างสรรค์(จัดระบบโซนนิ่ง)โดยให้มีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัย - มีคุณภาพเป็นแหล่งเรียนรู้
และทำกิจกรรมร่วมกันสำหรับครอบครัวและชุมชน
1.4 พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ต่อครอบครัว..โดยจำกัดควบคุมสื่อที่ทำร้ายเด็กและครอบครัวอย่างจริงจัง รวมทั้งผลิตและเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ
..กำจัดสื่อลามก..สื่อรุนแรง..หนุนกลไกภาคประชาคมเพื่อเฝ้าระวังสื่อ
1.5ปรับปรุงกฎหมายและระบบสวัสดิการเพื่อการปกป้องและช่วยเหลือครอบครัวทุกกลุ่ม..ให้เกิดผลบังคับใช้กฎหมายลาคลอดอย่างจริงจัง
..มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กในที่ทำงาน..เพิ่มความช่วยเหลือพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ยากลำบาก รวมทั้งพ่อแม่ที่มีลูกพิการ พ่อแม่ที่ยากจน อย่างเหมาะสม
ประการที่ 2 ถึงเวลาแล้วที่ทุกครอบครัวต้องหันกลับมาให้เวลากับตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้มากขึ้น..ให้เวลาพูดคุยรับฟังปัญหา -
ความรู้สึกสุขทุกข์ของครอบครัว..มอบสัมผัสรักที่อบอุ่นใกล้ชิดแก่กันอันนำมาซึ่งความเชื่อมั่นไว้วางใจต่อกันในครอบครัว
ประการที่ 3 กลไกของรัฐต้องเร่งรณรงค์ส่งเสริมให้ "วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว"เพื่อให้ทุกครอบครัวมีโอกาสใช้เวลาว่างทำกิจกรรมสร้าง
สรรค์ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ..เป็นที่น่ายินดีว่าขณะนี้มี อบจ.หลายแห่งให้ความสนใจวางแผนจัดกิจกรรม Beautiful Sundayและค่ายสายสัม
พันธ์พ่อ-แม่-ลูกขึ้นในท้องถิ่นแล้ว
ประการที่ 4 ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง ป้องกัน ช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวเพื่อนบ้านที่ประสบปัญหาเพื่อมิให้เกิดปัญ
หาความรุนแรงในเด็ก สตรี และครอบครัว โดยต้องถือว่า "ความรุนแรงในครอบครัวมิใช่เรื่องส่วนตัว..แต่เป็นเรื่องของทุกคน" อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้ได้มีกลไกโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ จัดตั้ง "ศูนย์พึ่งได้"ขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงในภาวะวิกฤต
(One Stop Crisis Center) ในระบบสหวิชาชีพแล้วโดยผู้ประสบปัญหาและผู้พบเห็นเหตุการณ์สามารถแจ้ง Hotline สายด่วนของศูนย์พึ่งได้
ตลอด 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกับ Happy Line 1507 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่พร้อมให้คำปรึกษาปัญหาเร่ง
ด่วน 24 ชั่วโมง
ประการที่ 5 สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายครู - พ่อแม่ ในแต่ละโรงเรียนให้มากที่สุดเพื่อเป็นกลไกในการดูแล เฝ้าระวัง สำรวจ ป้องกัน และแก้
ไขปัญหาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ได้อย่างเข้าถึงและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น
ประการที่ 6 สนับสนุนให้ทุกชุมชน ตำบล และจังหวัดทั่วประเทศ เกิด"ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน" ที่ริเริ่มโดยชุมชน บริหารจัดการโดย
ชุมชนเพื่อชุมชนให้มากที่สุด โดยศูนย์ดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นกลไกในการเฝ้าระวัง ดูแลป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาครอบครัวและชุม
ชนได้อย่างทันท่วงทีและประสิทธิภาพ..ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้ อบจ./ อบต./ เทศบาล จัดกิจกรรมสนับสนุนครอบครัวผาสุกเพื่อ
เตรียมความพร้อมคู่สมรสหรือครอบครัวใหม่..ให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการใช้ชีวิตคู่ และการเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสมต่อไปด้วย
ประการที่ 7 สนับสนุนให้เกิด "สมัชชาครอบครัวจังหวัด" และ "สมัชชาครอบครัวแห่งชาติ"เพื่อเป็นกลไกในการสำรวจ - ทำความเข้าใจ
สถานการณ์ครอบครัวของแต่ละจังหวัดและทำความเข้าใจภาพรวมระดับประเทศ..โดยสมัชชาครอบครัวแห่งชาติจะมีภารกิจรายงานสถาน
การณ์ครอบครัวไทยเป็นประจำทุกปีเพื่อเสนอให้รัฐสภาและรัฐบาลรับทราบและนำไปปรับปรุงแก้ไขนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อป้อง
กันและแก้ไขปัญหาครอบครัวและสังคมไทยในระยะยาว
ถึงเวลาแล้ว..ที่ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ทุกระดับของสังคม ต้องหันหน้าเข้าหากันโดยตระหนักร่วมกันถึงภารกิจการพัฒนาครอบครัวไทยให้
เข้มแข็ง มั่นคง มีคุณภาพร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาครอบครัวแบบองค์รวม บูรณาการ และยั่งยืน
ถึงเวลาแล้ว..ที่รัฐบาลจะต้องตระหนักและใส่ใจต่อประเด็นปัญหาครอบครัวไทยและผลักดันเรื่อง “ครอบครัว” ให้เป็น “วาระแห่งชาติ”
โดยเร็วก่อนที่”สุขภาวะ-วุฒิภาวะ” ของเด็ก เยาวชน และครอบครัวไทย จะสูญสิ้นพังทลายไปด้วยอำนาจของทุนนิยม สุขนิยม วัตถุนิยม
บริโภคนิยมสุดขั้ว – ไร้ขีดจำกัด ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป..จนมิอาจเรียกกลับคืนได้
“หากครอบครัวไทยไม่แข็งแรง..ก็ไม่มีวันที่ประเทศไทยจะแข็งแรงได้เช่นกัน”
จาก
www.Iove4home.comโดย: ศุภลักษณ์ เก่งบัญชา
สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์