ข้อ ๑๒ ในการปรึกษาคดี ผู้พิพากษาสมทบพึงแสดงความคิดเห็นและเหตุผล
ด้วยความเคารพในความคิดเห็นและเหตุผลของผู้พิพากษาองค์คณะ โดยละเว้น
อคติทั้งปวงเกี่ยวกับคู่ความหรือคดีความเรื่องนั้น
ผู้พิพากษาสมทบจักต้องลงลายมือชื่อในคำพิพากษาซึ่งพิพากษาตามมติขององค์
คณะตามกฎหมาย แม้ผลของคำพิพากษาจะไม่ตรงกับความเห็นของตนซึ่งเป็น
ความเห็นฝ่ายข้างน้อยหรือเป็นความเห็นที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่าในกรณี
ความเห็นเท่ากันในคดีอาญา
คำอธิบาย
แม้กฎหมายจะบัญญัติให้การพิพากษาคดีต้องบังคับตามคะแนนเสียงข้างมาก
ของผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีนั้น แต่ในการ
วินิจฉัยคดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องใช้การชั่งน้ำหนักคำพยาน และพยาน
หลักฐานในคดีว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และปัญหาข้อกฎหมายคือการนำข้อ
เท็จจริงมาปรับกับตัวบทกฎหมาย ซึ่งการวินิจฉัยปัญหาเหล่านี้จะต้องมีความรู้
ทางด้านกฎหมาย แต่ผู้พิพากษาสมทบส่วนใหญ่ไม่ใช่นักกฎหมาย ไม่มีความ
เชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายลักษณะพยาน ทั้งไม่ได้สะสมประสบการณ์ในการ
ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานมาเหมือนผู้พิพากษา ดังนั้นในการปรึกษาคดีเกี่ยวกับ
ปัญหาข้อกฎหมายก็ดี ปัญหาข้อเท็จจริงก็ดี ผู้พิพากษาสมทบต้องให้เกียรติและ
รับฟังความเห็นของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะ
หากไม่เห็นด้วยและจะแสดงความคิดเห็นคัดค้านต้องใช้ถ้อยคำสุภาพ และต้อง
มีเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งมีที่อ้างอิงได้ ไม่เอาความรู้สึกหรือความ
เชื่อส่วนตนมาใช้ในการวินิจฉัยคดี
ในส่วนการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนในคดีอาญา หรือวิธีการคุ้ม
ครองประโยชน์ของผู้เยาว์ในคดีแพ่ง ผู้พิพากษาสมทบควรศึกษาหาข้อมูลว่ามีวิ
ธีการอย่างไรบ้าง และใช้ประสบการณ์ประกอบการศึกษาหาความรู้ร่วมแสดง
ความเห็นในการปรึกษาคดีภายใต้หลักการในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
เยาวชนและครอบครัว ด้วยวิธีการที่สุภาพ
เมื่อได้ประชุมปรึกษาคดีกันแล้ว ผู้พิพากษาสมทบจักต้องเคารพมติและต้องลง
ลายมือชื่อในคำพิพากษาที่พิพากษาตามมตินั้นตามกฎหมาย แม้ผลของคำพิ
พากษาจะไม่ตรงกับความเห็นของตน
ภาพจาก deuil-don.exteen.com