ข้อ ๘ ในการนั่งพิจารณาคดี ผู้พิพากษาสมทบต้องวางตนเป็นกลางและปราศ
จากอคติ ทั้งพึงสำรวมตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ แต่งกายเรียบร้อย
ใช้กิริยาวาจาสุภาพ จักต้องให้ความเคารพผู้พิพากษาผู้ควบคุมการดำเนินกระ
บวนพิจารณา และให้เกียรติคู่ความทุกฝ่าย
คำอธิบาย
การวางตนเป็นกลาง หมายความว่า จักต้องแสดงออกซึ่งความเป็นกลางในการ
พิจารณาคดี ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติต่อคู่ความหรือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
เสมอกัน มิให้รู้สึกว่าตนได้รับการปฏิบัติซึ่งด้อยกว่าผู้อื่น
ส่วนคำว่า ปราศจากอคตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำ
รัสในโอกาสที่คณะผู้พิพากษาประจำกระทรวงเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อน
เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๕ ความตอนหนึ่งว่า “ ปราศจาก
อคติก็หมายถึงว่าพยายามจะดูสถานการณ์ ดูงาน ดูหน้าที่ ในแง่ที่เป็นกลางแท้
ๆ ที่ถูกต้องตามหลักวิชา และถูกต้องตามหลักศีลธรรม จึงจะทำให้หน้าที่ใน
งานการที่จะมีต่อไปสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นเกียรติเป็นศรีแก่ตัว และเป็นประ
โยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง”
คำว่า สำรวม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินา
ยก ให้คำอธิบายไว้ว่า “ สำรวม คือ ความระมัดระวังเหนี่ยวรั้งจิตใจมิให้ขาด
สติ ให้สติตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลาที่ต้องการ ตลอดเวลาที่จำเป็น และเมื่อใดใจจะ
ฟูฟุ้งไปในอารมณ์ทั้งหลาย สติที่ตั้งมั่นก็จะข่ม คือกดทับให้เป็นปกติอยู่ได้”
การสำรวมตนในการนั่งพิจารณาจึงหมายถึง การไม่ปล่อยตัวตามสบาย เช่น
ไม่นั่งสัปหงกหรือง่วงเหงาหาวนอน หรือพูดคุยกันในเรื่องอื่นที่มิใช่การปรึก
ษาหารือเกี่ยวกับคดี หรือพูดโทรศัพท์มือถือเป็นต้น
แต่งกายเรียบร้อย กล่าวคือ แต่งกายชุดปฏิบัติงานของศาลเยาวชนและครอบ
ครัวที่ตนสังกัด ไม่ควรใส่เครื่องประดับที่เกินกว่าความจำเป็นหรือมีมูลค่ามาก
เพราะอาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบในเรื่องความแตกต่างทางเศรษฐกิจกับคู่
ความ ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจนได้
ใช้กิริยาวาจาสุภาพ มิใช่หมายความเฉพาะแต่ใช้ถ้อยคำสุภาพเท่านั้น หากแต่
หมายรวมถึงการใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและไม่กระทบกระเทียบเปรียบเปรยรวม
ตลอดทั้งน้ำเสียงและทีท่าต้องสุภาพนุ่มนวลด้วย คำสรรพนามแทนตนเองให้
ใช้คำว่า ศาล คู่ความหรือพยานในคดีควรเรียกขานโดยใช้ถ้อยคำตามกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีพิจารณาความ เช่น โจทก์ จำเลย ผู้ร้อง ทนาย ที่ปรึกษากฏหมาย
ภาพจาก sport.teenee.com