เรื่องที่19 ความรุนแรงในครอบครัว
domestic violence เป็นคำรวมของปรากฏการณ์การใช้กำลังประทุษร้ายต่ออนามัย จิตใจ ร่างกาย เพศ ชีวิต เสรีภาพหรือกระทำด้วยประ
การใดๆอันไม่เป็นธรรม ระหว่างคู่สมรสหรือเคยเป็นคู่สมรส หรือระหว่างบุคคลที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน จนเกิดอันตรายแก่อนามัย ร่าง
กาย เสรีภาพ เพศ จิตใจและชีวิตแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
สาเหตุสำคัญเกิดจากปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจในครอบครัวที่ฝ่ายหนึ่งต้องการอำนาจควบคุมหรือให้ได้รับการยอมรับจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น
การที่ฝ่ายหนึ่งกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจควบคุมหรือให้ได้รับการยอมรับจนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายได้รับอันตรายแก่ชีวิต
ร่างกายหรือจิตใจย่อมถือเป็นความรุนแรงในครอบครัวได้ทั้งสิ้น ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพแก่ผู้
ที่ได้รับผลร้ายโดยตรง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและสังคม โดยส่วนรวมผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
และเด็ก ผู้ชายมีเป็นส่วนน้อย
emo5:(ไม่มีสังคมใดที่ผู้หญิงปลอดจากความรุนแรงในครอบครัว
โดยเฉพาะผู้หญิงกลุ่มที่มีความอ่อนแอเป็นพิเศษ เช่น หญิงชนกลุ่มน้อย หญิงพื้นเมือง หญิงอพยพ หญิงในค่ายลี้ภัยจากการสู้รบ หญิงที่อยู่
ในที่คุมขัง หญิงพิการรวมถึงเด็กหญิงและหญิงผู้ที่สูงอายุ
emo5:(ไทย ผู้ชายร้อยละ20จากที่สำรวจ619คน ยอมรับว่าเคยทำร้ายภริยาอย่างน้อย1ครั้ง ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาระหว่างอยู่กับภริยา
emo5:(กัมพูชา ผู้หญิงร้อยละ35(สำรวจระดับชาติ)เคยถูกคู่สมรสทำร้ายร่างกายและร้อยละ8ได้รับอันตรายแก่กาย
emo5:(อินเดีย ผู้ชายร้อยละ45ยอมรับว่าเคยทำร้ายร่างกายภริยา
emo5:(เกาหลี ผู้หญิงร้อยละ38(สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง)เคยถูกคู่สมรสทำร้ายร่างกาย
emo5:(แคนาดา ผู้หญิงร้อยละ25(สำรวจระดับชาติจากผู้หญิง12300คนในปี1993)เคยถูกทำร้ายร่างกายจากคู่สมรส
emo5:(ญี่ปุ่น ผู้หญิงร้อยละ59จากผู้หญิงที่ทำการสำรวจ796คนในปี1993เคยถูกคู่สมรสทำร้ายร่างกาย
emo5:(นิวซีแลนด์ ผู้หญิงร้อยละ20จากผู้หญิงที่ทำการสำรวจ314คน เคยถูกคู่สมรสทุบตีหรือทำร้ายร่างกาย
emo5:(สวืสเซอร์แลนด์ ผู้หญิงร้อยละ20จากผู้หญิงที่ทำการสำรวจ1500คน เคยถูกคู่สมรสทำร้ายร่างกายทำนองเดียวกับการสำรวจในปี1997
emo5:(อังกฤษ ผู้หญิงร้อยละ25(โดยสุ่มตัวอย่างจากผู้หญิงเพียง1เขต)เคยถูกคู่สมรสหรือเคยเป็นคู่สมรสชกต่อยตบตีในช่วงชีวิต
emo5:(สหรัฐอเมริกา ผู้หญิงร้อยละ28(สำรวจระดับชาติ)เคยถูกคู่สมรสทำร้ายร่างกายอย่างน้อย1ครั้ง
ความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็ก
เด็กถูกกระทำทารุณหรือได้รับความรุนแรงจากบุคคลในครอบครัวเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบเช่น ถูกทำร้ายทุบตี ถุกล่วงเกินทางเพศ ถูกละ
เลยทอดทิ้งหรือเลี้ยงดูไม่เหมาะสม
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของประชากรไทยระหว่างพ.ศ 2539-2540 พบว่าเด็กอายุ6-12ปี เคยประสบเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบ
ครัวร้อยละ10.5 เด็กที่เคยถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงจากบุคคลในครอบครัวร้อยละ6.6 และถูกล่วงเกินทางเพศจากบุคคลในครอบครัว
ร้อยละ0.2 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทย ที่มีบทบาทหน้าที่สนองตอบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ประกอบด้วยตำรวจ อัย
การ ทนายความ ศาลและราชทัณฑ์
emo5:(จากการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะในวัยเด็ก เช่น เห็นบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูก่อเหตุ
รุนแรงทำร้ายทุบตีกันบ่อยๆมักจะกระทำรุนแรงต่อคู่ครองเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
emo5:(เด็ก ที่เห็นบิดามารดาทำร้ายทุบตีกัน มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงกับคู่ครอง เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็กที่ถูกบิดามารดาทำ
ร้ายทุบตีโดยตรง
emo5:(เด็ก ที่เห็นเหตุการณ์บิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูทำร้ายทุบตีกันบ่อยๆ จำต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองและบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจ มิ
ฉะนั้นเมื่อเติบโตขึ้นก็จะทำร้ายทุบตีคู่ครองเรียกว่า วัฏจักรความรุนแรง
emo5:(เด็ก ที่ถูกบิดามารดาทำโทษรุนแรงหรือถูกตัดผลประโยชน์ หรือสิ่งที่ตนชอบเสมอจะทำให้เด็กมีบุคลิกภาพก้าวร้าว
emo5:(เด็ก ที่อยู่ในครอบครัวที่มีความรุนแรงอาจได้รับผลกระทบถูกทำร้ายทุบตีไปด้วย หรือได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น เห็นเหตุการณ์
ความรุนแรง เด็กที่ได้รับความรุนแรงดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ นน ตัวลด มีปัญ
หาการกินการนอน การเรียน ปัญหาด้านการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ด้านความประพฤติ หนีออกจากบ้านรวมไปถึงมีแนวโน้มฆ่าตัว
ตาย
emo30:sorry:ผมไม่อยากเห็นพ่อแม่ทะเลาะและทำร้ายร่างกายกันเลยครับ
emo30:sorry:หนูอยากเห็นความรักความสุภาพอ่อนโยนในครอบครัวค่ะ
emo30:sorry:ถ้าผมเห็นพ่อทำร้ายทุบตีแม่ ผมก็จะเลียนแบบพ่อเมื่อผมมีครอบครัว
emo30:sorry:ถ้าหนูเห็นพ่อแม่ทำร้ายทุบตีกัน จิตใจหนูเศร้าหมอง หนูอาจพึ่งยาและติดยาเสพติดก็ได้
ด้วยความปรารถนาดีจากคณะผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัดศรีสะเกษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว