น้องหนิงคะ
ก่อนจะตอบ ขอให้ข้อมูลจากงานวิจัยที่พี่ศึกษาก่อนน่ะคะ
จะพบขั้นตอนการจัดการระยะรับซื้อแมลงสดคือ ...
1. นักล่า หาเก็บในพื้นต้นทางซึ่งส่วนมากเป็นชาวชนบท
(บางรายเป็นคนจน) เค้ารู้ว่าแมลงเป็นสินค้าขายดี ราคาสูง
คนล่า หาเก็บจะระมัดระวังไม่ให้มันตาย
ดูแลให้มันมีชีวิตรอดจนถึงมือพ่อค้าคนกลาง
2. เส้นทางต่อมา ... คือพ่อค้าคนกลาง
พ่อค้าคนกลางจะกำหนดซื้อแมลงที่สด ถ้ายังมีชีวิตอยู่จะให้ราคาดี
พ่อค้าบางราย ไม่รับซื้อแมลงตาย เพราะหลังตายแล้วประมาณ 15 นาที
แมลงที่ตายจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ (น่าเกลียด) หรือบางชนิดจะส่งกลิ่น
ไม่พึงประสงค์เร็วมาก
ซึ่งปกติถ้าตัวหนึ่งตายในกระบุง จะทำให้ตัวที่เหลือตาย-เน่าได้
ดังนั้น ผู้ขาย-พ่อค้าคนกลางจะต้องระวัง
3. จากจุดรับซื้อ ... จะส่งเข้าห้องเย็นโดยด่วนเพื่อเก็บความสด
จุดที่รับซื้อที่สำคัญคือ 'ตลาดโรงเกลือ' อ. อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
เป็นแมลงนำเข้าจากลาว กัมพูชาและเวียดนาม
ส่วนแมลงจากพม่า ก็จะมีจุดรับซื้อแถบชายแดนแถบเชียงราย
เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน
หมายเหตุ: แมลงธรรมชาติในไทย ร่อยหลอ แพร่พันธุ์ไม่ทันตาม
ความต้องการของผู้บริโภค จึงต้องนำเข้าและเพาะเลี้ยง
4. แมลงจากชายแดนจะถูกส่งมาไห้ที่พ่อค้าคนกลาง (ที่มีห้องเย็น)
ในเขต กทม. (ตลาดคลองเตย) พิษณุโลก เชียงใหม่
และจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยว ฯลฯ...
5. จากนั้นพ่อค้ารายย่อยจัดหาซื้อแมลงดิบเพื่อนำไปปรุงขายตามจุดต่างๆ
6. ในฤดูที่มีแมลงมากๆ จะมีพ่อค้า-แม่ค้าอีกลักษณะหนึ่ง
คือตั้งกระทะทอดทันที ณ จุดรับซื้อแมลงสด ลักษณะเช่นนี้
จะพบได้ในตลาดใหญ่ เช่นคลองเตย จากนั้น พ่อค้า-แม่ค้ารายย่อย
ก็จะไปซื้อต่อ แล้วนำไปจำหน่ายให้ผู้บริโภคตามจุดต่างๆ
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเตือนว่า ... ระวังแมลงที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำๆจากจุดนี้หละ
โม้ซะยาว ... ตอบคำถามน้องหนิงว่าโอกาสที่จะพบยาฆ่าแมลง
อาจจะมี แต่น้อย ยกเว้นคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในห่วงโซ่นี้
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เป็นได้ค่ะ
พี่จินตนา