22 พฤศจิกายน 2567, 05:16:19
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"  (อ่าน 45903 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« เมื่อ: 11 ตุลาคม 2551, 09:22:38 »

ผมใคร่ขอให้ช่วยพิจารณาแนวคิด การใช้ระบบการเงินซึ่งผมจะเรียกว่า "ระบบเงินคู่"(เงินสองระบบ)

แนว คิดนี้เกิดจากการที่ผมมองว่า เมื่อสังคมโลกยอมรับวิธีการจัดสรรทรัพยากรระหว่างกันโดยใช้"เงิน" และด้วยการที่ปริมาณเงินของโลกในอดีต(ซึ่งยึดโยงกับทองคำ)มีไม่เพียงพอ จึงเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทั่วโลกเป็นช่วงๆ

แต่เมื่อสหรัฐ อเมริกาได้กล้าส่งออกดอลลาร์(โดยไม่ยึดกับทองคำ) ก็ทำให้โลกมี"ปริมาณเงิน"เพียงพอที่จะดึงทรัพยากรของโลกให้ขับเคลื่อนได้ อย่างลื่นไหล ซึ่งสอดรับกับกติกาสังคมโลก(ทุนนิยม)ที่ใช้เงินตัวกลาง

ทุกวันนี้ ค่าเงินและปริมาณของดอลลาร์กระทบกับค่าเงินและปริมาณของเงินประเทศต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆด้วย

ทำไม ในเมื่อเงินเป็นเพียงตัวกลางแลกเปลี่ยนทรัพยากร เราจึงควรวางกติกาของเรา ให้เงินบาทเป็นเงินหลักของประเทศใช้แลกเปลี่ยนกับเงินประเทศต่างๆได้และใช้ ทั่วประเทศ และมีเงินรองไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับเงินประเทศต่างๆและใช้เฉพาะพื้นที่ แต่ค่าเงินรองนี้ต้องสัมพันธ์กับค่าเงินบาท (บางครั้งอาจมีค่ามากกว่าเงินบาท บางครั้งอาจมีค่าน้อยกว่าเงินบาท..แล้วแต่เป้าหมายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ)

1.บ้านเราก็แปลกนะครับ ทรัพยากรที่มีของเราคือสินค้าเกษตร แต่พอสินค้าเกษตรแพงคนส่วนใหญ่(ซึ่งมีรายได้น้อย)ก็เดือดร้อน
ซึ่งความจริงเพราะสินค้าเกษตรราคาถูกจึงทำให้คนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย (ปัญหานี้ระบบการเงินภายใต้กติกาเดิมแก้ไม่ได้เพราะข้อ2)

2. แม้สินค้าเกษตรจะมีราคาถูก ค่าแรงงานคนไทยต่ำ แต่เพราะเป็นทรัพยากรที่แท้จริง เมื่ออดทนไประยะหนึ่งก็สามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งขึ้นได้ แต่เพราะความที่เงินดอลลาร์ไม่ได้รองรับด้วยทรัพยากรที่แท้จริง เมื่อมีการปรับสมดุลดอลลาร์ ย่อมกระทบเงินบาท ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความมั่งคั่งที่สะสมมา สินค้าเกษตรและแรงงานก็ต้องเข้ามาแบกรับอีก

หากใช้ ระบบเงินเดี่ยว แบบที่เป็นอยู่ วงจร 1และ2 จะต้องเกิดโดยที่เราไม่มีทางชนะได้ เพราะประเทศเราไม่ใหญ่โต

อันที่จริงผมเชื่อว่า ปัญหาของสหรัฐจะไม่เกิดเร็วเช่นนี้ ถ้าไม่มีเงินยูโร

ขอบคุณครับ
[/color]


4-5-2556 ได้แนวคิดหลักการระหว่างเงินหลักกับเงินรองว่า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหลักกับเงินรองนั้น ธนาคารจะไม่ซื้อเงินรองในราคาที่ต่ำลงกว่าราคาซื้อล่าสุด ทิศทางที่จะเกิดคือ เงินรองจะมีทิศทางแข็งค่าในทุกกรณีเมื่อเทียบกับเงินบาท(เงินหลัก) เงินบาท(เงินหลัก)จะมีทิศทางไปในทางอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์...
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #1 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2551, 08:37:17 »

เอาแนวคิดส่วนหนึ่งซึ่งน่าจะนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น "ระบบเงินคู่"
ในความเห็นของผมแล้ว "ระบบเงินคู่" น่าจะเหมือนกับเงินปกติ เพียงแต่วางระบบเป็นคู่สัมพันธ์ ที่แปรเปลี่ยนตามเป้าหมายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ(ซึ่งต้องสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลก) เพื่อให้เงินรับใช้คนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน


หัวข้อ : บุญกุดชุม” กับชีวิตที่ลิขิตเอง
ข้อความ : บุญกุดชุม” กับชีวิตที่ลิขิตเอง

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2547


สินค้าจากชุมชนในตลาดนัดบุญกุดชุมทุกเช้าวันอาทิตย์ ที่บ้านสันติสุข

29 มีนาคม 2543 ในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ยุคที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลทางเศรษฐกิจของ IMF

“เบี้ยกุดชุม” ได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากกลุ่มชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ภายใต้แนวคิดที่ต้องการจะสร้างระบบแลกเปลี่ยนขึ้นใช้เองใน 5 หมู่บ้านคือ บ้านสันติสุข บ้านโสกขุมปูน บ้านท่าลาด บ้านกุดหิน อ.กุดชุม และบ้านโคกกลาง อ.สันทรายมูล จ.ยโสธร ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการพึ่งพาตัวเอง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย ภายใต้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

นับจากวันนั้น “เบี้ยกุดชุม” ได้รับการกล่าวขานถึงในวงกว้าง

สื่อมวลชนหลายสำนักต่างก็ให้ความสนใจ ในขณะที่ภาครัฐก็เฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด(หนึ่งในนั้นคือธนาคารแห่งประเทศไทย : ธปท.)

14 เมษายน 2543 หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งได้ลงข่าวบิดเบือนออกไปว่า เบี้ยกุดชุมได้ขยายออกไปไกลถึง 5 อำเภอ(ทั้งที่ความจริงมีเพียง 5 หมู่บ้าน) รวมไปถึงการบอกว่าชาวบ้านกลุ่มที่ใช้เบี้ยกุดชุมพยายามที่จะตั้งตนเป็นรัฐอิสระ เนื่องจากมีการผลิตเงินขึ้นใช้เอง

21 เมษายน 2543 ธปท.หรือแบงก์ชาติได้วินิจฉัยว่าเบี้ยกุดชุมเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย

ใช้บุญคู่กับเงินบาท

13 สิงหาคม 2543 ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคำสั่ง 2543 ให้ระงับการใช้เบี้ยกุดชุมอย่างเป็นทางการ แต่ในความเป็นจริงชาวบ้านได้หยุดใช้เบี้ยกุดชุมหลังจากวันที่ 29 เมษายน 2543 เนื่องจากความไม่มั่นใจในภาครัฐ

แล้ว เรื่องราวของเบี้ยกุดชุมก็ค่อยๆเงียบหายไป...
..........................................

“ผักบุ้งขายกำละเท่าไหร่ป้า” -ลูกค้า

“กำละ 5 บาทจ๊ะ เอาบุญด้วยนะ” –แม่ค้า

“ซื้อ 1 กำ จ่าย 3 บาท กับ 2 บุญ ได้มั๊ย” –ลูกค้า

“ได้จ๊ะ” –แม่ค้า

นั่นคือหนึ่งในบทสนทนาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ในทุกๆเช้าวันอาทิตย์ ที่ตลาดนัดบุญกุดชุม แห่งบ้านสันติสุข ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร ซึ่งหากมองเผินๆก็จะเหมือนกับตลาดนัดทั่วไป แต่ว่าหากใครได้ลองลงเดินดูวิธีการซื้อ-ขาย ของชาวบ้านที่นี่ก็จะพบว่า ลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้าในตลาดนัดบุญกุดชุมนั้นมีบางส่วนต่างจากทั่วไป

ทั้งนี้ก็เพราะชาวบ้านที่มาร่วมในตลาดนัด ส่วนใหญ่จะซื้อขายกันด้วยเงินบาทผสมกับ “บุญกุดชุม” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่า “บุญ” ซึ่งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่พัฒนามาจาก “เบี้ยกุดชุม” ที่เคยเปิดใช้ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งในปี 2543 ก่อนที่จะถูกแบงก์ชาติระงับใช้ในไม่กี่เดือนต่อมา

บุญกุดชุมจะมีค่าก็ต่อเมื่อใช้ในกลุ่มสมาชิก

“แบงก์ชาติเขาตีความว่า‘เบี้ย’นั้นหมายถึง‘เงิน’ ซึ่งทางแบงก์ชาติกลัวว่าชาวบ้านในกลุ่มเบี้ยกุดชุมจะนำเบี้ยไปใช้แทนเงินบาท แต่ในความจริง‘เบี้ย’ที่พวกเราใช้นั้น หมายถึง‘กล้าไม้’ในภาษาอีสาน ซึ่งพวกเราในสมัยนั้นก็ต้องการสื่อความหมายออกมาว่า‘เบี้ยกุดชุม’เปรียบดังต้นกล้าที่ค่อยๆเติบโต รอวันเป็นต้นไม้ใหญ่ คล้ายดังกลุ่มของเรา”

ปราณี ศรีมันตะ หรือ “แม่ปราณี” หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มเบี้ยกุดชุม อธิบายเรื่องราวเมื่อครั้งหนหลัง ก่อนที่จะเล่าต่อว่า เมื่อแบงก์ชาติตีความหมายของเบี้ยผิด ก็สั่งไม่ให้พวกเราใช้เบี้ยกุดชุม ซึ่งพวกเราก็เลิกใช้ไปพักหนึ่ง

“หลังจากที่ทางกลุ่มมาทบทวนดู ก็เห็นว่าเบี้ยกุดชุมนั้นเป็นผลดีต่อชุมชนของเรา และไม่กระทบต่อชุมชนภายนอก เนื่องจากเบี้ยจะใช้แลกเปลี่ยนเฉพาะในชุมชนและไม่สามารถนำไปใช้นอกชุมชนได้ ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความ ซึ่งสภาทนายความก็แนะนำว่า เบี้ยกุดชุม ควรจะเป็นโครงการเพื่องานวิจัยและชื่อเบี้ยนั้นก็ต้องเปลี่ยนเนื่องจากผิดกฎหมายของแบงก์ชาติ ต้องเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นแทน พวกเราจึงตกลงเรียกเป็น ‘บุญกุดชุม’ เนื่องจากว่าชื่อเรียกง่าย และสื่อไปในทางที่ดี นอกจากนี้สภาทนายความยังแนะนำว่า เบี้ยกุดชุม ควรจะเป็นโครงการเพื่องานวิจัยมากกว่า”แม่ปราณี อธิบายที่มาของบุญกุดชุม

หลังจากนั้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2545 บุญกุดชุมก็ถือกำเนิดขึ้นมาแทนเบี้ยกุดชุม “ภายใต้โครงการวิจัยระบบแลกเปลี่ยนชุมชน” โดยวิธีการปฏิบัติสำหรับบุญกุดชุมก็ยังคงยึดเอาแนวทางจากเบี้ยกุดชุม ซึ่งสมาชิกได้นำธนบัตรเบี้ยกุดชุมไปประทับตราใหม่กลายเป็น “ธนบัตรบุญกุดชุม” ที่ชาวบ้านมักเรียกกันสั้นๆว่า“บุญ”

“พวกเราไม่เอาบุญเทียบกับบาท และจะไม่เอาบุญไปแลกกับบาท โดยจะกำหนดอัตราไว้เท่ากัน คือ 1 บาท เท่ากับ 1 บุญ เวลาใช้ก็จะใช้ร่วมกับเงินบาท แต่บุญจะใช้กันเพราะในสมาชิก แล้วก็ใช้กันเฉพาะในชุมชนสมาชิก ถ้าเอาบุญออกไปนอกชุมชนจะใช้ไม่ได้ และบุญก็จะไม่มีค่าเลย”

พ่อเลาะ หรือเลาะ ศรีมันตะ หนึ่งในแกนนำคนสำคัญโครงการบุญกุดชุม เล่าให้ฟัง พร้อมกับชูธนบัตรบุญกุดชุมให้ดู โดยมีใบละ 1 บุญ 5 บุญ 10 บุญ 20 บุญ และ 50 บุญ ส่วนรูปที่ประกอบในธนบัตรนั้นก็จะเป็นรูปที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณี ที่ดีงามของชาวอีสาน ซึ่งเป็นผลงานการวาดของเหล่าเด็กๆในชุมชน

หมอนใบนี้ขาย 30 บาทขอ 5 บุญ

จากนั้นพ่อเลาะก็อธิบายต่อว่า หลังจากเบี้ยกุดชุมถูกรัฐสั่งห้าม ทำให้ชาวบ้านกลัว จากสมาชิกกว่า 100 รายก็เลิกไปเกือบหมด แต่พอมามีบุญกุดชุม ก็เริ่มมีคนกลับมาใช้อีก ตอนนี้มีสมาชิกเกือบ 50 ราย ใน 5 หมู่บ้านเดิม

“ทุกๆเช้าวันอาทิตย์สมาชิกจะนัดกันเอาของมาขายในตลาดนัดบุญกุดชุม ของที่นำมาขายส่วนมากก็จะเป็น ผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าจากชุมชน โดยสมาชิกบุญกุดชุมจะเป็นผู้ตกลงสัดส่วนกันเอง เช่น แม่ค้าขายกล้วยหวีละ 10 บาท ถ้าเราไม่มีบุญเราก็ซื้อกล้วย 1 หวีในราคา 10 บาทไปเลย แต่ถ้าเรามีบุญก็จะตกลงกับแม่ค้าว่า กล้วย 1 หวี จ่าย 7 บาท 3 บุญได้มั๊ย ถ้าได้ก็ซื้อกันเลย แต่ถ้าไม่ได้ก็ตกลงกันใหม่จนกว่าจะพอใจทั้งคู่ ส่วนวันที่ไม่มีตลาดนัด บุญก็ยังใช้ได้ตามปกติ แต่ต้องใช้บุญกับสมาชิกที่มีบุญเท่านั้น สำหรับวิธีการก็เหมือนเดิมคือใช้บุญคู่กับเงินบาท ” พ่อเลาะเล่า

ด้านแม่ปราณี คนเดิมได้อธิบายสมทบว่า การที่จะมีบุญได้นั้น ก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มพัฒนาชุมชนบุญกุดชุม(เดิมชื่อ ธนาคารเบี้ยกุดชุม) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ต้องผ่านกรรมการพิจารณาคุณสมบัติ และสิทธิของการใช้บุญ ทั้งนี้สมาชิกทุกคนจะได้รับกันคนละ 100 บุญ เพื่อเอาไปจับจ่ายใช้สอยคู่กับเงินบาท

“ทุกๆปีในวันที่ 27 ตุลาคม สมาชิกก็จะมาเช็คบุญหรือมาสรุปบุญกันว่าใครได้บุญมากขึ้น ใครได้น้อยลง คนได้ขึ้นเกินร้อยก็ให้พยายามรักษาไว้ ส่วนคนที่ได้น้อยกว่าร้อยหรือบุญติดลบก็ต้องทำการใช้บุญ ด้วยวิธีการนำพืช ผัก หมู ไก่ ปลา มาทำอาหารเลี้ยงสมาชิก แต่บุญก็ยังติดลบอยู่ ซึ่งวิธีการแบบนี้จะช่วยให้ผู้ที่ได้บุญขยันเพิ่มผลผลิตขึ้น ส่วนคนที่เก็บบุญไว้เยอะๆ นั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะว่าบุญไม่มีดอกเบี้ย ฉะนั้นทางที่ดีก็คือมีบุญอย่างพอดี ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”

ในความความพยายามพึ่งตนเองของชาวบุญกุดชมนั้น นักวิชาการอย่าง ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ได้มองว่า บุญกุดชุม นั้นเกิดจากการที่ชาวบ้านตระหนักในความสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการพึ่งพาตนเอง โดยมองว่าบุญกุดชุม ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างกัน และยังช่วยสกัดกั้นการไหลออกนอกชุมชนของเงินบาทโดยไม่จำเป็น

ธนบัตรบุญทั้ง 5 แบบ

“นอกจากนี้บุญกุดชุมยังมีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน ก่อให้เกิดการผลิตที่หลากหลาย เพราะชุมชนได้เรียนรู้ความต้องการและความสามารถในการผลิตของตน สามารถออมเงินบาทได้มากขึ้น สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคนั้นยังมองไม่เห็น เนื่องจากกลุ่มมีขนาดเล็กและใช้กันเฉพาะสมาชิก” ศ.ดร.อภิชัย ให้ความเห็น

ณ วันนี้ ต้นกล้าของเบี้ยกุดชุมได้เติบโตเป็นบุญกุดชุม และกลายเป็นแนวทางของระบบแลกเปลี่ยนชุมชน 45 กลุ่มทั่วประเทศ ซึ่งก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของชาวสมาชิกบุญกุดชุม ที่ยึดมั่นในแนวทางของการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และการพึ่งตนเองภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่ชาวบุญกุดชุมขอเลือกเดินในเส้นทางของตัวเอง โดยไม่ได้เอาชีวิตไปผูกไว้กับกลไกการตลาดของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ หรือ เอาชีวิตไปผูกไว้กับนโยบายขายฝันอันสวยหรูของรัฐบาลแต่อย่างใด

จาก : อีสาน จุฬาฯ - E-mail : isanclub@chula.com - 31/03/2004 15:23
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #2 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2551, 14:49:33 »

"ระบบเงินคู่" นี้ สหรัฐไม่จำเป็นต้องใช้ และไม่สมควรใช้ เพราะ ทุกวันนี้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นต้นทางของเงินโลก หากสหรัฐใช้ระบบเงินคู่ จะยิ่งสร้างปัญหาให้กับสหรัฐ

และมีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่จะใช้ "ระบบเงินคู่" ได้

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถใช้ระบบเงินคู่ เพื่อทำให้คนไทยมีความสุข มั่นคง และยั่งยืน
บันทึกการเข้า
veekung
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,361

« ตอบ #3 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2551, 20:54:35 »

อ่านแล้ว งง เล็กน้อยครับ ผมว่าในชุมชนเล็ก ๆ อย่่างที่เสนอมาก็น่าจะ OK ครับ แต่จะให้ขยายผลออกเป็นระดับที่ใหญ่ขึ้น ท่าทางปัญหาจะมากนะครับ ตัวผมเองก็ไม่มีความรู้เรื่องเศษฐกิจเท่าไหร่นะครับ อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า

quot;อยากทำได้ให้ถามหญิงต่ำหูก อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย คนหลายคนกินน้ำบ่อเดียว เดินทางเดียวไม่ซ้ำรอยกัน" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
<img src="[url]http://images.veejang.multiply.com/badge/U2FsdGVkX1.NpQZsTXem61w2P0GWCkA-bbo-041zLltmdDT.VkgnNuJu42GDLoxDzp2qkya
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #4 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2551, 08:29:27 »

ผมอ่านบทความและแนวคิดของ คุณเจ้าจอมแล้วชอบมาก
อยากให้ประเทศไทยมีคนแบบคุณเจ้าจอมมากๆ
 ทำให้รู้สึกว่าสังคมไทยยังมีความหวัง ยังเห็นแสงสว่างในอนาคต
มาแสดงความคิดเห็นบ่อยๆนะครับ จะตามอ่านทุก กระทู้ Cheesy
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #5 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2551, 10:33:49 »

ขอบคุณคุณ veekungครับ แล้วจะขยายแนวคิดนี้เพื่อแลกเปลี่ยนในภายหลัง
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #6 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2551, 11:04:30 »

ขอบคุณพี่สมชาย17 สำหรับคำนิยมครับ

หากเปรียบประเทศเป็นแก้วน้ำ(ไม่เปรียบเป็นถังน้ำ เพราะถังน้ำอาจจะทึบ มองด้านข้างไม่เห็น โลกโลกาภิวัฒน์ สามารถมองเห็นกันได้ไม่ยาก  จึงเหมาะกับ แก้ว เพราะใส มองเห็นได้) ประเทศไทยก็เป็นแก้วใบย่อม ไม่ใหญ่โต

เปรียบเงินดอลลาร์เป็นน้ำ เขาใส่เข้ามาไม่ต้องมากเราก็สำลักแล้ว  เขาเอาออกไม่มากเราก็คอแห้ง

ประเทศที่ใหญ่กว่า  ปริมาณดอลลาร์ที่ใส่ลงมา อาจเหมือนเทแม่น้ำลงทะเล 

เราจำต้องสร้างเกราะให้ตัวเอง

โลกยุคนี้ ไม่ต้องใช้ช้างม้าใช้ปืนแย่งชิงดินแดนแย่งชิงทรัพยากรกันแล้ว  เขาใช้อาวุธทางการเงิน

หากไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักสร้างอาวุธ(ทางการเงิน)เองบ้าง รบอย่างไรก็แพ้

ประเทศไทยเรา เป็นแดนทองครับ แต่คนไทยเรายิ่งนับวันยิ่งมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง

ชาวซีมะโด่ง  คือ ช้างเผือกจากป่า ที่มีโอกาสสัมผัสความศิวิไลซ์ ต้องช่วยกันเท่าที่ช่วยได้ครับ
บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #7 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2551, 16:30:41 »

น้องเจ้าจอม
ผมไม่มีความรู้เรื่องการเงินมากนัก แต่ได้อ่านที่น้องยกตัวอย่างก็พอจะจับ
เค้าโครงได้บ้าง  ที่ว่าจับได้บ้าง แต่อาจตีความไปคนละทางก็ได้

ระบบเงินคู่  เช่น แก้วน้ำใส  ใส่กรวดให้เต็ม(กรวดถือว่าเป็นเงินหลักของชาติ)
ในแก้วนั้น ใส่ทรายหยาบ ทรายละเอียดเข้าไป แทรกตัวลงระหว่างกรวด
(ทรายหยาบทรายละเอียด เปรียบเหมือนเงินท้องถิ่น ทุกถิ่น เช่น้ดียวกับเบ้ยกุดชุม)

แล้วเงิน ดอลล์หรือเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นน้ำ ใส่ลงไปในแก้ว ที่มีกรวดและทรายเต็มแล้ว
น้ำก็ยังเข้าไปได้แต่ถูก จำกัดปริมาณ  ประเทศไทยจะไม่ถูกต่างชาติใช้เงินเป็นอาวุธมากระหน่ำ
ถ้าเรา กำหนดปริมาณเม็ดเงินต่างชาติทำนองเดียวกับแก้วนี้
น้ำเติมในแก้วที่ไม่ว่างเปล่า มีอะไรอยู่ในแก้วบ้าง ไว้เป็นยันต์กันผี
Shocked

ไม่รู้ว่าผมเข้าใจระบบเงินคู่ ของน้องเจ้าจอมถูกหรือเปล่า




บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #8 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2551, 08:42:38 »

 
อ้างถึง   
ระบบเงินคู่  เช่น แก้วน้ำใส  ใส่กรวดให้เต็ม(กรวดถือว่าเป็นเงินหลักของชาติ)
ในแก้วนั้น ใส่ทรายหยาบ ทรายละเอียดเข้าไป แทรกตัวลงระหว่างกรวด
(ทรายหยาบทรายละเอียด เปรียบเหมือนเงินท้องถิ่น ทุกถิ่น เช่น้ดียวกับเบ้ยกุดชุม)

แล้วเงิน ดอลล์หรือเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นน้ำ ใส่ลงไปในแก้ว ที่มีกรวดและทรายเต็มแล้ว
น้ำก็ยังเข้าไปได้แต่ถูก จำกัดปริมาณ  ประเทศไทยจะไม่ถูกต่างชาติใช้เงินเป็นอาวุธมากระหน่ำ
ถ้าเรา กำหนดปริมาณเม็ดเงินต่างชาติทำนองเดียวกับแก้วนี้
น้ำเติมในแก้วที่ไม่ว่างเปล่า มีอะไรอยู่ในแก้วบ้าง ไว้เป็นยันต์กันผี Shocked

สุดยอดเลยครับพี่สมชาย  คนคนเดียวคิดย่อมสู้หลายๆคนคิดไม่ได้  ตัวอย่างที่ยกมา เข้ากับหลักการเลยครับ แต่ระบบเงินคู่ไม่เหมือนเบี้ยกุดชุมนะครับ เพราะเบี้ยกุดชุม ไม่สัมพันธ์กับเงินบาท

รายละเอียดการจัดการ วิธีการใช้ระบบเงินคู่ ผมมีตุ๊กตาที่คิดไว้ แต่คงต้องช่วยกันคิดช่วยกันตบแต่ง

วันนี้มีข่าว ดร.สุชาติ(รมว.คลัง)เสนอให้ทำให้เงินบาทอ่อน แต่ผู้ว่าการแบงค์ชาติไม่เห็นด้วยบอกว่าต้องสอดคล้องกับค่าเงินของประเทศต่างๆ(แต่ก็เอาเงินบาทไปสู้ ทำให้ไทยเสียหายไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบแล้ว)

ที่ดร.สุชาติต้องการทำอาจเป็นผลดีโดยรวมก็ได้(สถานการณ์นี้ผมคิดว่าเป็นผลดี) และที่ดร.ธาริษาผู้ว่าแบงค์ชาติพูดก็ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะผู้ว่าแบงค์ชาติบอกว่าเดี๋ยวนี้เงินไหลถึงกันหมด......นี่แหละครับ ปัญหาของระบบเงินเดี่ยว

ความจริงหมดยุคที่แบงค์ชาติจะต้องเข้าไปยุ่งกับค่าเงินบาทแล้ว เพราะเรายังไม่แข็งแกร่งพอที่จะสู้เขา ต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทเป็นไปตามที่กลุ่มทุนนิยมโลกต้องการ(กำหนด) เรามาสู้กับเขาด้วยการจัดการภายในของเรา ปรับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินพื้นที่ (หลักการระบบเงินคู่คือ เงินบาทใช้ทั่วประเทศและแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศได้  เงินพื้นที่ใช้เฉพาะพื้นที่แลกเปลี่ยนกับเงินบาทได้แต่เปลี่ยนเป็นเงินต่างประเทศไม่ได้)

วันนี้แค่นี้ก่อนนะครับ พี่สมชาย(หรือคนอื่นๆด้วย)ช่วยแสดงความคิดเห็น มุมมองด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #9 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2551, 10:49:33 »

ก่อนอื่นเลย  ต้องเปิดความคิดก่อนนะครับว่า  เงิน เป็นเพียงเครื่องมือที่คนเราสร้างขึ้นเพื่อใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร(ทรัพยกรหมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่แต่ละคนต้องการ)

เงินภายในประเทศ(ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม)  ก็คือเครื่องมือทางเศรษฐกิจของรัฐที่สร้่างขึ้น เพื่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชาชน และประชาชนกับรัฐ

โดยที่ในปัจจุบัน ประเทศเราต้องสัมพันธ์กับต่างประเทศ เพราะต้องการทรัพยากรจากต่างประเทศ และโชคดีที่เรามีทรัพยากรที่ต่างประเทศต้องการ(ที่ว่าโชคดีนั้น...ผมประชดครับ เพราะความจริงผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรของเราเก่งและอดทนมาก ทั้งที่ไม่เคยได้รับการดูแลจากรัฐอย่างจริงใจ แต่พวกเขาก็ยังสร้างทรัพยากรที่ต่างประเทศต้องการให้กับเราได้...อย่างนี้ต้องเรียกว่าโชคดีของประเทศเราครับ)

ซึ่งเราก็แลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างประเทศด้วยเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ

จบเรื่องเงินเป็นเครื่องมือนะครับ...ต่อไปเรามาดูคุณสมบัติของเงิน

คุณสมบัติพื้นฐานของเ้งินคือ เงินจะแสดงค่าเมื่อมีการเปลี่ยนมือ  นั่นคือ ถ้าเงินหยุดนิ่งเมื่อไรเงินก็เหมือนไร้ค่า  ข้อนี้ถือเป็นหัวใจนะครับ ฝรั่งเรียกเงินว่า CURRENCY เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่เก่งต้องพยายามทำให้เงินเคลื่อนที่

เมื่อเราจุดตะเกียงน้ำมัน แสงสว่างก็ตามมา การเกิดแสงและความร้อนทำให้น้ำมันสูญหายไป  แต่เงิน กลับไม่เป็นเช่นนั้น  เงินนั้นเมื่อได้แสดงบทบาทแล้ว กลับไม่สูญหายไป เพียงแต่ย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง..คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญครับ..2ข้อแล้ว

คุณสมบัติข้อที่3 เงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ที่ใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร  ทำให้ตัวมันเองกลายเป็นทรัพย์สิน(ทรัพย์สินนะครับไม่ใช่ทรัพยากร)ที่มีค่า  และจัดเป็นสุดยอดของทรัพย์สิน  เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลน้อยหรือไม่มีเลย  มีมากเท่าไรก็ไม่เป็นภาระ  มีได้อย่างไม่รู้เบื่อ (ต่างกับทรัพย์สินอื่น ยังไงก็มีจุดอิ่ม)

ทั้ง3ข้อคือคุณสมบัติของเงิน ที่ไม่เปลี่ยนแปร  ใครมีข้ออื่น แนะนำเพิ่มด้วยนะครับ

ด้วย หน้าที่และคุณสมบัติของเงินดังกล่าว  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาส่วนควบทางการเงินซับซ้อนขึ้น  จนวันนี้ วันที่ดอลลาร์มีการปรับฐานขนานใหญ่ จึงเป็นช่วงที่เหมาะยิ่งที่จะใช้ "ระบบเงินคู่"  แล้วมาแลกเปลี่ยนกันต่อครับ.....






บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #10 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2551, 12:18:57 »

 
อ้างถึง   
    มาตรา 30* ให้สินทรัพย์ต่อไปนี้เป็นสิ่งอันชอบด้วยกฎหมายที่จะ ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา
    (1) ทองคำ
    (2) เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตรา ต่างประเทศอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ ต้องเป็นรูปเงินฝากใน ธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
    (3) หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ ที่ระบุไว้ใน (2)
    (4) ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ ที่นำส่งสมทบกองทุนการเงิน
    (5) ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
    (6) ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
    (7) หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ ที่ระบุไว้ใน (2) หรือเป็นบาท

    (Cool ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วง ซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้
    สินทรัพย์ตาม (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) นั้น ธนาคาร แห่งประเทศไทยจะต้องจัดดำรงไว้ให้มีค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ หกสิบของจำนวนธนบัตรออกใช้
    *[มาตรา 30 แก้ไขโดย พรก.แก้ไขเพิ่มเติม พรบ.เงินตรา พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2521]

เอา พรบ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มาตารา30 มาให้อ่านครับ

การมีส่วนควบทางการเงินหลากหลายและระบบดอลลาร์ภิวัฒน์ ได้ทำให้ เงินไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือแลกเปลี่ยนทรัพยกรพื้นฐานอีกต่อไป
แต่ได้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนทรัพย์สินเชิงซ้อนด้วย(ผม..เรียกตราสารทางการเงิน เป็นทรัพย์สินเชิงซ้อน...แล้วจะมาวิเคราะห์ว่า ทำไมผมจึงเรียกตราสารทางการเงินเป็นทรัพย์สินเชิงซ้อน และคุณสมบัติของทรัพย์สินเชิงซ้อน ที่เกิดจากส่วนควบทางการเงินด้วยแรงขับของระบบดอลลาร์ภิวัฒน์เป็นอย่างไร)






บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #11 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2551, 13:10:55 »

อ่านแล้วได้ความรู้เยอะขึ้น น่าติดตามมาก
กำลังรออ่านบทความต่อไป ของน้องเจ้าจอม ปิ๊งๆ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #12 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2551, 07:21:21 »

ว่าจะเริ่มเขียน ตุ๊กตาระบบเงินคู่เสียที แต่ก็อดไม่ไ่ด้ที่จะเขียนถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่ต้องมี "ระบบเงินคู่" 

เงินบาทกำลังสูญเสียความมั่งคั่งที่สะสมมาให้กับระบบดอลลาร์ภิวัฒน์ โดยรัฐไม่มีเครื่องมือใดๆช่วยได้ มีแต่เครื่องมือที่ช่วยชลอเท่านั้น
บางทีใช้ผิด กลับยิ่งทำให้ความมั่งคั่งสูญเ้สียเร็วขึ้นด้วย

เข้าใจธรรมชาติของโลกนะครับ ธรรมชาติดำรงอยู่ได้ด้วยระบบคู่ทั้งสิ้น หยิน-หยาง(โบราณ) ร้อนคู่เย็น ดีคู่เลว หญิงคู่ชาย  แม้แต่ ระบบดิจิตอล(สมัยใหม่) ยังใช้ 0คู่1 การมีระบบคู่ช่วยขับเคลื่อนและดำรงไว้ซึ่งสาระของสิ่งนั้น หากมีแต่ร้อน ร้อนก็ไม่มีความหมาย  หากมีแต่ดีอะไรคือเลว และภายใต้ระบบแต่ละคู่ ก็ยังมีคู่ย่อยแฝงอยู่ในคู่ใหญ่ แม้แต่ หญิงคู่ชายนั้น เมื่อชายบางคนมีใจแบบชอบชายก็ยังเกิดชายที่มีใจแบบหญิง ขณะเดียวกันก็มีหญิงที่ใจแบบชายและมีหญิงที่มีใจชอบหญิง นี่คือส่วนหนึ่งของปรัชญาความขัดแย้งของเหมาเจอตุง 

ในเรื่องการเงิน เดิมที เราใช้ทองคำเ้ป็นตัวอิงค่าเงิน(เป็นตัวอิงค่าเดี่ยว) เมื่อเศรษฐกิจระหว่างกัน(ระหว่างคนในประเทศด้วยกัน,ระหว่างประเทศต่อประเทศ)ยังสมดุล ปัญหาก็ไม่เกิด เมื่อไม่สมดุลก็เกิดปัญหา จนในที่สุด สหรัฐตัดสินใจไม่อิงดอลลาร์กับทองคำ ทำใ้ห้ตัวอิงค่าเงินเกิดระบบคู่ คือ ทองคำคู่ดอลลาร์  (ก่อนหน้านี้ จะเ็ป็นระบบการเงิน  เงินบาทคู่ทองคำ  เงินดอลลาร์คู่ทองคำ....) ระบบการเงินจึงขับเคลื่อนอย่างมากมาย

จริงแล้วการไม่สมดุล การเกิดปัญหา นั้น เข้าหลักปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธีที่ว่า สรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง และจะเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ  การเกิดระบบดอลลาร์ไม่อิงทองคำ ก็คือคุณภาพใหม่ของระบบการเงิน

วันนี้ ดอลลาร์กระจายไปทั่วโลก และสร้างคุณูปการให้กับคนทั่วโลก แต่แล้วก็ถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนคุณภาพของระบบการเงิน เป็นการเปลี่ยนในส่วนย่อยบนโครงสร้างใหญ่ของตัวอิงค่าเงิน  "ทองคำคู่ดอลลาร์" ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคุณภาพใหม่นี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกยั่งยืนมากขึ้น

วันนี้ รัฐต้องมองให้ออกครับ  ต้องแยกเรื่องเศรษฐกิจให้แตก ต้องเข้าใจว่า เป้าหมายสูงสุดของการบริหารประเทศคือ ทำให้ประชาชนของตนมีความผาสุกยั่งยืน และความผาสุกยั่งยืนภายใต้ระบบทุนนิยมคือการมีเศรษฐกิจที่มั่นคง 

วันนี้ เงินบาทคือตัวเชื่อมความั่นคงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศอื่น  การที่รัฐมีนโยบายไม่ค้ำประกันเงินฝาก(เงินบาท)นั้น นับเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
เพราะหากค้ำประกัน อาจเกิดปัญหาแบบปี2540 (แต่ในขณะนี้ถ้าจะต้องค้ำเพื่อป้องกันการตื่นตระหนก..ก็ไม่ว่ากัน...แต่เสี่ยง...) หากมีการเงิน ระบบเงินคู่ รัฐไม่ค้ำประกันเงินฝากที่เป็นบาท แต่รัฐอาจค้ำประกันเงินฝากที่เป็นเงินพื้นที่ เพราะเงินพื้นที่ รัฐสามารถควบคุมเองได้เต็มที่

หวังว่า ผมจะเลิกบ่นได้แล้ว จะได้เริ่มเขียน รูปธรรมของระบบเงินคู่เสียที







บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #13 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2551, 09:18:36 »

ผมขอเสนอตุ๊กตา สำหรับ "ระบบเงินคู่" ในความคิดของผม
เอาเป็นว่า ทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้ปรับแก้เพื่อการสร้าง "ระบบเงินคู่" เรียบร้อยแล้ว

1. กำหนดพื้นที่ที่จะให้มีการใช้เงินรอง (เงินหลัก คือเงินบาท ใช้ทั่วประเทศอยู่แล้ว)

    -กรุงเทพมหานคร ไม่มีเงินรองใช้  ใช้เงินบาทอย่างเดียว

    -พื้นที่ที่จะมีการใช้เงินรอง กำหนดโดยขนาดพื้นที่  การผลิตทรัพยากร(ทรัพยากรหมายถึง การเกษตร วัฒนธรรม และสิ่งที่ก่อเกิดจากต้นทุนธรรมชาติพิ้นฐาน)
      สมมติผมแบ่งตามภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพ) ภาคอีสาน ภาคใต้
      ทุกภาคมีเงินรองสกุลเงินเดียวกัน แต่รูปแบบเงินที่แตกต่างกัน คือต่างมีคณะกรรมการดูแลเรื่องเงินรองแต่ละภาค ธนบัตรจะไม่เหมือนกัน
      (เหตุผลที่ต้อง แบ่ง เพื่อให้บทบาทของเงินรองมีจำกัดในระดับหนึ่ง  มิฉะนั้น จะกระทบกับค่าและความมั่นคงของเงินหลัก คือ เงินบาท  ต้องไม่ลืม คุณสมบัติ ที่สำคัญของเงิน คือ ต้องหมุนเวียนเปลี่ยนมือ)






บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #14 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2551, 10:05:48 »

2.กำหนดสกุลเงิน

สมมติว่า เรียกสกุลเงินนี้ว่า  "ด้วง" (ที่ชอบเพราะ 1. พดด้วง คือ เงินสมัยโบราณ 2.พระนามเดิมของรัชกาลที่1 คือ ทองด้วง)

3. กำหนดค่าเงิน

ขณะนี้เงินบาทเรายังพอแข็ง ให้ 1 ด้วง เท่ากับ 1บาท (ค่าเงินนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดตามเป้าหมายเศรษฐกิจของประเทศ)

4. กำหนดสิ่งค้ำประกันค่าเงินด้วง

     1.ทองคำ  2. เงินบาท
 
     โดยจะพิมพ์เงินด้วงออกใช้ ต้องมีทองคำหรือเงินบาท ค้ำประกันค่าเงิน

จะต้องจัดดำรงไว้ให้มีค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ หกสิบของจำนวนธนบัตรเงินด้วงที่ออกใช้
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #15 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2551, 21:54:11 »

  5.กำหนดการขับเคลื่อน

             หัวข้อนี้สำคัญอย่างยิ่ง  เพราะจะเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ เงิน เป็นเครื่องมือเพื่อความมั่นคงมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพื่อให้มีการขับเคลื่อนที่เหมาะสม
           
            ตุ๊กตาที่ผมขอนำเสนอคือ
            5.1 มีธนาคารเงินด้วงเป็นการเฉพาะ แยกจากธนาคารเงินบาท มีหน้าที่รับฝากเงินด้วง ให้กู้เงินด้วง  มีดอกเบี้ยฝากและดอกเบี้ยกู้
            5.2 ธุรกรรมของเงินด้วง มีเพียงฝากถอน  ให้กู้ แลกเปลี่ยนกับเงินบาท  ส่วนควบทางการเงินคืออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินด้วงกับเงินบาท  ดอกเบี้ยคิดเป็นเงินด้วง  ไม่ควรสร้างส่วนควบทางการเงินอื่นๆอีก
            5.3 ......................... 

อยากขอความคิดเห็นจากชาวซีมะโด่ง เพื่อกระตุ้นต่อมคิดของผมด้วยครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #16 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2551, 08:34:15 »

5.3 หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันเงินกู้ ควรเป็นหลักทรัพย์ที่ใช้หรือสามารถสร้างทรัพยากรพื้นฐาน เช่น ที่ดินเปล่า  จำนวนคน  พืชผลทางการเษตร  อุตสาหกรรมการเกษตรต่างๆ ฯลฯ และไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ไม่ใช่รถยนต์ (ทรัพย์สินประเภทนี้ก็ไปกู้เป็นเงินบาท อย่างที่ทำกันอย่างบ้่าคลั่งในขณะนี้ และเมื่อต้องการเงินด้วง ก็ค่อยมาแลกเปลี่ยนเอา) 

5.4.............................(ช่วยกันเติมหน่อยครับ)
บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #17 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2551, 14:13:59 »

น้องเจ้าจอม
อ่านแล้วชอบมาก จะรออ่านต่อไป win
ไม่มีความสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น
ประเทศไทย ถ้าจะปกป้องตัวเอง อนาคตผู้รับผิดชอบ เค้าไม่ยอม
น่าจะเอาแนวคิดของ น้องเจ้าจอม ไปประยุกต์ใช้ น่าจะดี


บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #18 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2551, 17:01:02 »

ขอบคุณพี่สมชายมากครับ ที่เข้ามาสะท้อนความเห็น

ผมจะว่าของผมไปเรื่อยๆ เอาสาระเป็นหลักนะครับ ลำดับหัวข้ออาจโยนไปโยนมา ใครมีมุมคิดอย่างไรขอเชิญครับ....


  5.4 ถึงที่สุดแล้ว รัฐต้องไม่ค้ำประกันเงินบาทที่ฝากไว้กับธนาคารหรือจำกัดการค้ำประกันแบบที่ได้ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว
         แต่รัฐต้องค้ำประกันเงินรอง(เงินด้วง)ที่ฝากอยู่กับธนาคารเงินรองเต็มจำนวน


                                  ประเด็น 5.4 นี้ น่าถกเถียงกันนะครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #19 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2551, 19:14:21 »

ขอพักเรื่อง  "กำหนดการขับเคลื่อน" ไว้ที่ข้อ 5.4 ก่อน

มาพูดถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบเงินคู่เพื่อความกินดีอยู่ดีมั่นคงของคนไทยกันอีกรอบ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในวันนี้ 16 พย. 2551 วันที่ราคาน้ำมันโลกราคาต่ำลงมาก แต่ราคาสินค้าทั่วไปยังไม่ปรับราคาลงตาม มีก็แต่สินค้าเกษตรที่ราคาเริ่มลดต่ำลง....ทำไมจึงเป็นเช่นนี้

ต้องตั้งคำถามกันก่อนสักหน่อย

1.ราคาน้ำมันจะต่ำเช่นนี้ไปนานเพียงใด
2.ราชการและธุรกิจ ได้มีการปรับเพิ่มค่าจ้างค่าแรงในช่วงน้ำมันแพงไปแล้วจะทำอย่างไร
3.อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์จะเป็นเช่นไรในอนาคต
4.อัตราดอกเบี้ยในอนาคตเป็นเช่นไร

เราไม่สามารถบอกได้เลย เพราะทั้งหมดถูกกำหนดโดยสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ซึ่งเราสัมพันธ์กับโลกโดยอาศัยเงินบาทผ่านทางเงินดอลลาร์

สินค้าทุติยภูมิ สินค้าตติยภูมิ มีองค์ประกอบในแง่ต้นทุนและการจัดการหลากหลาย  การปรับราคาไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นภายในเวลาสั้นๆ
ในขณะที่สินค้าปฐมภูมิ(สินค้าเกษตร สินค้าพื้นฐานอื่น) ราคาถูกกำหนดเป็นดอลลาร์โดยผู้ซื้อรายใหญ่  เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาจึงหนีไม่พ้น ที่ต้องเข้ามาเป็นยารักษาแผลเศรษฐกิจโลก

ระบบเงินคู่ จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้รัฐ ปรับสมดุลเศรษฐกิจ ไม่ให้หวือหวา  แต่จะเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

การที่เราจะทำมาค้าขายกับใคร เราดูอะไรเป็นหลักครับ เราดูว่า เขาจะให้สิ่งที่เราต้องการได้หรือเปล่าใช่ไหมครับ
เราจะให้เงินเขา เพราะเรามั่นใจว่าเงินของเราจะไม่สูญเปล่า

การใช้เงินหลักเงินรองเป็นเครื่องมือ เพื่อปรับแรงสะเทือนจากเศรษฐกิจโลก จะช่วยให้ ผู้ประกอบการไทย(ซึ่งรวมเกษตรกรด้วย)ทุกระดับ สามารถมีความมั่นคงในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่อไป โดยไม่ล้มหายตายจาก

เมื่อมั่นคง ไม่ล้มง่าย ความเชื่อมั่นก็เกิด และยังสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ คิดไปข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีจำนวนผู้ประกอบการที่จะมุ่งสู่ต่างประเทศมากขึ้นด้วย  ซึ่งจะส่งผลขับเคลื่อนกันระหว่างเงินบาทกับเงินรอง สร้างความมั่งคั่งอย่างมั่นคงให้กับประเทศไทยได้



บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #20 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2551, 23:21:33 »

มาว่ากันต่อเรื่องน้ำมันราคาต่ำลง แต่สินค้าไม่ยอมลดราคานะครับ

ในสถานการณ์เยี่ยงนี้ นับเป็นจังหวะที่ดียิ่งของประเทศไทยทีเดียว

การสร้างประโยชน์จากสถานการณ์นี้ ไม่ใช่การทำให้สินค้าลดราคาลง(เพราะความจริง ค่าเงินโลกต่ำลงทุกวัน สินค้าจึงต้องราคาสูงขึ้น และสถานการณ์น้ำมันราคาถูก ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นไปนานเพียงไร)
ทางที่ถูกคือ ปล่อยให้สินค้ามีราคาเป็นไปตามกลไกตลาด  รัฐบาลไม่ต้องไปยุ่งกับราคาสินค้า

แต่ควรเอาสมองและเวลาไปหาทางเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนแทน

วันนี้เป็นโอกาสดียิ่งที่จะนำหลักการ 2สูง ที่คุณธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าพ่อซีพีเคยแสดงวิสัยทัศน์ไว้มาใช้

ทรัพยากรพื้นฐาน เช่น น้ำมัน เหล็ก...ราคาต่ำลง ยิ่งเป็นโอกาสที่จะเร่งสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับคนไทย

การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจเวลานี้ ไม่ใช่ทำให้สินค้าราคาต่ำลง  แต่ต้องเพิ่มรายได้ให้กับคนไทย



และระบบเงินคู่ จะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งสำหรับการนี
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #21 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2551, 23:40:45 »

ขอต่ออีกนิดครับ ที่ว่า ทางที่ถูกคือ ปล่อยให้สินค้ามีราคาเป็นไปตามกลไกตลาด

คำว่า เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปตามบุญตามกรรมนะครับ  เพราะกลไกตลาดสามารถควบคุมได้ โดยกำหนดองค์ประกอบที่มีผลกระทบกับตลาด

ดังนั้น หากต้องการให้พืชผลทางการเกษตรราคาดี  ต้องกำหนดองค์ประกอบที่เหมาะสมขึ้น กลไกตลาดก็จะทำงานของมันเอง

แต่ไม่ใช่การเรียกร้องหรือบังคับต่อราคา

หากมีข้อคิดเห็นแย้งจากข้างต้น  รบกวนแลกเปลี่ยนด้วยครับ

ขอบคุณทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #22 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2551, 14:18:51 »

สิ่งที่ต้องคิดเกี่ยวกับ "ระบบเงินคู่" ยังมีอีกหลายส่วนครับ โดยเฉพาะ ส่วนเศรษฐกิจที่ต้องเชื่อมโยงกับรัฐซึ่งก็คือ ภาษี
เรื่อง ภาษี เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งครับ เพราะ คือความมั่งคั่งของรัฐบาล (แต่สัีมพัทธ์กับความมั่นคงของประชาชน)

เบี้ยกุดชุม เกิดในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์  และถูกรัฐบาลประชาธิปัตย์ห้ามใช้ แทนที่จะใช้เป็นกรณีศึกษา

วันนี้...วันที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหาด้วยระบบการเงินของดอลลาร์

พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง

ผมได้แต่ภาวนาให้ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ซึ่งเรียนวิชาเศรษฐศาษตร์มา  จะเข้าใจการเงินของโลก

ขอส่งกำลังใจให้ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่27ครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #23 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2551, 08:48:38 »

ผมยังไม่ได้เริ่ม ข้อ 5.5 ในหมวด "กำหนดการขับเคลื่อน" ซักที  หากใครจะช่วย ผมก็จะขอบพระคุณมากครับ

ระยะนี้มีกระแสแบงค์ปลอมระบาด เมื่อวานไปเดินคลองถมมา เครื่องตรวจแบงค์ปลอมขายดีมาก บางร้านของหมด

หากเอากระแสแบงค์ปลอมมาคิดผูกโยงกับระบบเงินคู่ จะมีแง่มุมหลายอย่างให้ต่อยอด

เงินในระบบเงินคู่ทุกชนิด ต้องยากแก่การปลอมแปลง

เงินจริงจึงเหมือนสินค้าของรัฐ ที่ต้องทำให้ประชาชนเชื่อถือ

จากกรณีเงินปลอม บางร้านค้าไม่กล้ารับแบงค์พัน เพราะกลัวเงินปลอม นั้่นหมายความว่า แม้จะเป็นเงินจริง ถ้าขาดความเชื่อมั่น เงินจริงก็ไร้ความหมาย

หากเปิิดใจให้กว้าง  เข้าใจเรื่องเงินอย่่างแท้จริง  เข้าใจการเปลี่ยนไปของระบบการเงินโลก  ผู้มีอำนาจควรถกเรื่อง "ระบบเงินคู่" อย่างจริงจัง

กำหนดเขตพื้นที่เพื่อทดลองเพื่อศึกษา  แทนที่จะปล่อยเวลาให้ผ่านเลยอย่างไร้ทางแก้ และปล่อยให้ประชาชนไทยที่ขยันขันแข็ง เผชิญกับทุนนิยมโลกครั้งแล้วครั้งเล่า จนแก่ตัวหมดแรง หรือบางคนอาจฆ่าตัวตายเพราะพ่ายแพ้กระแสทุนนิยมโลก
บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #24 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2551, 19:33:02 »

รัฐบาลใหม่ จะมองเห็นระบบเงินคู่ แบบที่ น้องเจ้าจอมเห็นหรือเปล่าก็ไม่รู้
ถ้ามีผู้มองเห็น จะเป็น นายกอภิสิทธิ์ หรือ รมต.กรณ์ ก็ได้ และศึกษา
อาจจะเห็นแนวทาง ภูมิคุ้มกัน ระบบเศรษฐกิจ บ้านเรา โดยใช้ ระบบเงินคู่ ปิ๊งๆ
อย่างที่น้องเจ้าจอม เสนอแนวคิดไว้(ไม่อยากให้แนวคิดดีๆอย่างนี้ หายไปกับสายลม)

บันทึกการเข้า
  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><