Pete15
|
|
« ตอบ #950 เมื่อ: 26 กันยายน 2553, 10:49:25 » |
|
อีกภาพ sunset ที่บางละมุง ถ้าในชีวิตเราไม่เคยมองก็ จะไม่เห็นว่ามันสวย พวกอกหักเข้าจะเห็นบ่อยแต่ก็ปล่อย ให้ เวลาผ่านไป แสง-สี ก็เป็นไปตามธรรมชาติ ( พูดถึงตัวเองซะงั้น) เอ???.....ทำไมภาพ sunset 2ภาพที่เพิ่ง ผ่านมา แสง-สี จึงไม่เหมือนกัน....... ดวงอาทิตย์ดวงเดิม.......................
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #951 เมื่อ: 26 กันยายน 2553, 11:07:22 » |
|
อีกภาพ หนึ่ง sunset ที่ ภูดอยหลวง เชียงดาว สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ดู แสง-สี (เหมือนแสงตอนเช้า)
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #952 เมื่อ: 26 กันยายน 2553, 11:20:00 » |
|
อีกภาพหนึ่ง นึกออกไหมว่า ขณะที่เรานั่งมองตะวัน แสง-สี สามารถเปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้ เป็นสถานที่เดียวกัน แต่เวลาต่างกันไม่ถึง ชั่วโมง ให้สังเกตุที่ยอดเขา( เดียวกัน)
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #953 เมื่อ: 26 กันยายน 2553, 19:50:22 » |
|
ขึ้นต้นก็ต้อง กล่าวคำว่า ขอโทษด้วยครับ รูปวิวมันใหญ่.........ถูกทักโดยผู้รู้ จริงครับ ก็สงสัยอยู่เหมือนกัน คงจะทำอะไรผิดอีกละ ? เรื่องของ sunrise sunset แค่เป็นแสงที่ยกตัวอย่างขึ้นมา ให้เห็น เพราะเป็นแสงที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในความเป็นจริงทุกๆขณะ ของเวลา แสงจะเปลียนแนว(มุม) อยู่ตลอดและนั้นแหละคือตัวกำหนด สีในธรรมชาติ ให้เราได้เห็น ของเราประเทศไทย ตะวัน ขึ้นและ ตก ค่อนข้างจะอยู่ตำแหน่งเดิมตลอด ปี มีช่วงฤดูหนาวที่ตะวันอ้อมใต้นิดหน่อย แต่ที่ต่างประเทศที่อยู่เหนือกว่าเราหรือใต้ กว่าเราบางช่วงของเวลาดวงอาทิตย์จะทำมุมแค่ 20 องศา กับผิวโลก เวลากลางวันก็จะสั้น แสง-สี ก็จะไม่เหมือนกับของเรา ภาพ graphic การฉายแสงทำมุมระหว่าง ดวงอาทิตย์กับโลก มีฝรั่งเขาให้โทนแสง-สีของ sunlight ไว้ ลองพิจารณา
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #954 เมื่อ: 29 กันยายน 2553, 08:03:07 » |
|
สวัสดียามเช้า.......พี่ๆ น้องๆ.......เมื่อคืนพิมพ์ไปได้ยาวพอสมควร ไฟกระพริบปั๊บ.......เสียวหัวใจแว๊บ เหมือนอกหักเลย....หายหมด......อ้าวแล้วเราเขียนอะไรไปบ้างแล้ว....?(มาเริ่มใหม่ตอนเช้า) เรากลับมาที่เรื่อง แสง-สี ต่อข้อสงสัยที่ว่า/ เราเห็นอะไรได้อย่างไร ทำไม ด้วยองค์ประ กอบอะไร ? ก็คงจะเป็นคำถามมาตั้งแต่มีมนุษย์จนปัจจุบัน/... ที่พอจะเข้าเกณฑ์ความ จริงทางธรรมชาติและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกบันทึกไว้ ประมาณปลายปี ค.ศ. 1500 ,Newtonก็ประมาณ ปี 1660 ก็ยังไม่ work เลยทีเดียว เพราะยากต่อคนทั่วไป ที่จะเข้าใจจนกระทั้ง ประมาณปี ค.ศ. 1900 MUNSELLได้สร้างทฤษฎี โดยใช้ การ มองเห็นของคนปกติเป็นสำคัญ หลักเกณฑ์ มีอยู่ว่า แสงขาวเป็นแสงทำให้ คนเห็น สรรพสิ่งได้ สมบูรณ์ถูกต้องที่สุด (ในที่นี้จะละไว้ทางด้าน วิศวะเช่นเรื่องความเข้ม) ถ้า เราสามารถ ให้แสงขาวที่สว่างที่สุด (ขาว) และ ค่อยๆหรี่ (ลด) ความเข้มของความสว่าง ไปจน มืดสนิท ผล เมื่อไม่มีแสง เราก็จะไม่สามารถมองเห็นสรรพสิ่งใดๆ คือ มืด (ดำ) ซึ่งมีค่าเท่ากับการหรี่ แสงไฟทั้ง 3 แสง คือ แสงเขียว แสงแดง และ แสงนั้าเงิน (GRB) การหรี่แสงพร้อมๆกัน ทั้ง 3 แสง มีค่าไม่รู้จบ แล้วจะสรุปอย่างไร? ผู้้รู้เขาก็ประชุม ตกลง ว่าตาของคนทั้วไป สามารถที่จะแยกแยะ ค่าความแตกต่างได้ดี เห็นชัด ประมาณ 10 ขั้น ของการเปรียบเทียบ (หมาย ถึง สี) ดังนั้นจึงสร้าง(สมมุติ) ค่า Gray Scale เพื่อเป็นสือ กลางของการเปรียบเทียบ ค่า่ของความส่องสว่างของสีนั้น ภายใต้ข้อแม้ของสภาวะของ แสงในขณะนั้น อ้อลืมไปภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่า A Color Theory Based on Laws 0f Perception Xปิ๊ด15X
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #955 เมื่อ: 29 กันยายน 2553, 09:48:40 » |
|
นี้แหละ คือ ที่มา ของ Gray scale พี่พูดได้เต็มปากเลย ว่าเรียน จนจบมหาทลัย ออกไปสอนศิลปะทำมาหาเงินแล้ว ก็ยังไม่รู้จัก คำว่า Gray scale เลยสมัยเรา/ ตอนหลังมารู้ว่า ผู้ทีใช้อยู่ประจำคือพวกโรงพิมพ์ และส่วนมากผู้ที่ใช้คือ คนเทียบสี ที่แท่นพิมพ์ ไม่ต้องเรียน หนังสือ เออ...ทำไม?ไม่สอนหรือแนะนำให้รู้จักเลย ทั้งๆที่เป็นพื้นฐานแรกที่ควร ต้องทำความเข้าใจ เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่าหลักสูตรเป็นไง ? เมือเข้าใจแล้ว จะใช้ได้ตลอดไป Xปิ๊ด15X
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #956 เมื่อ: 29 กันยายน 2553, 16:33:33 » |
|
ต่อความจากช่วงเช้า...........เหมื่อนบ่นๆอยู่คนเดียวนะ ได้บรรยากาศอีกแบบหนึ่ง ไม่มีคำถาม ไม่มีมองตา ไม่มีพยักหน้า.......ความจริงครูโดดเดี่ยวนะเนีย....../.คำถาม แล้วเราใช้ Gray scale อย่างไร? คำตอบ คือเอาไว้เทียบสี ของทุกชิ้น สีทุกสี เมื่อนำมาเทียบเคียงกับ Gray scale จะตกเสมอพอดีที่ระดับใดระดับหนึ่ง ของ Gray scale ไม่สว่างไป หรือ มืดไป และนั้นก็หมายความว่าสีนั้นๆมีความเข้มของการส่องสว่างอยู่ที่..... สมมุติว่า เป็นสีเหลือง เมื่อเทียบแล้วจะอยู่ที่ลำดับ 9 / ระดับ 10 คือขาว ต.ย.เอาหินสี โอปอล ของน้องเล็กก็น่าจะอยู่ประมาณระดับ 4 ของ Gray scale (1คือดำอยู่ล่าง)สมมุติว่าเราต้อง การจะเปลียนสี Background ซึ่งต้องการจะหนี สีดำ เราก็ผสมสีออกอะไรก็ได้ แต่เมือเทียบ (Gray scale) แล้วให้หนี ขึ้นบนไปอีกสัก 3 ขั้น( สว่างกว่าหิน) ก็จะได้บรรยากาศของหินเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่ในภาพตอนนี้ น้องเล็กเขาใช้ Tone ดำ - เทา หนี ลงมา /2-3 ขั้นเช่นกัน(สีมืดกว่าหิน)
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #957 เมื่อ: 30 กันยายน 2553, 13:12:53 » |
|
สวัสดีครับ พี่ๆ น้้องๆ พักกลางวันหันมาเล่นจํ่าจี้กับ Comp. ต่อ Gray scale ทำหน้าที่เป็น สื่อกลางเพื่อการ เปรียบเทียบ ค่าความเข้มของ แสง สี ของสรรพสิ่งต่างๆ เป็นประโยชน์อย่างมากใน การทำงาน ศิลปะ /มิติต่างที่เราเห็น/ ระยะ/ ความลึก ฯลฯ เป็นเพราะ เราเห็นค่า ของความเข้มของแสงที่ มันซ้อนๆๆๆกันและแตกต่างกันจึงเกิดระยะ ( ใกล้-ไกล)ในการเห็น
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #958 เมื่อ: 30 กันยายน 2553, 13:18:29 » |
|
พี่ปี๊ดคะ lecture ของพี่เริ่มเข้าสู่ประเด็นสำคัญ สำหรับนักเรียนมือใหม่ค่ะ ติดตามอย่างกระชั้นชิด กำลังฝึกมอง Grey scale รอบๆตัว รู้สึกว่ายากค่ะ! ทราย
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #959 เมื่อ: 30 กันยายน 2553, 22:22:30 » |
|
สวัสดีครับ น้องทราย พี่ๆ น้องๆ ........การที่เราจะสร้างภาพ หรือ การจัดองค์ประกอบถ้าเราจะทำส่วนไหน เด่น หรือ ส่วนไหนดับ ก็ใช้ วิธี เทียบ ความเข้มของการส่องสว่างกับ Gray scaleนี้แหละยิ่งห่างกัน ก็ยิ่งฮํ่าหันกัน ถ้าใกล้กันก็จะไม่ผลักกัน ทดลอง : สีแดง กับ เีขียว /หรือ เหลือง กับ ม่วง ....เป็นสีคู่ตรงข้าม กันในวงจรสี แดง เหลือง นํ้าเงิน ตามที่เราได้เรียนทฤษฎีว่า แต่ละคู่ จะผลักกันอย่างรุนแรง ระวังการเอาไปใช้ คู่กัน มันจะผลักกัน ฯลฯ แล้วก็ไม่ได้รู้เหตุผลว่าทำไม? ทดลองเอาสีเหล่านี้ไปเทียบ Gray scale ก็จะได้เหตุผล เพราะแต่ละคู่จะอยู่ห่างกันหลายระดับ มันจึง ผลักเข้า ผลักออก วูบๆวาบๆ (เพราะค่าของความเข้มของความส่องสว่างนี่เอง) ที่นี้ ถ้าเราจะเอาไปใช้คู่กันล่ะ อย่างเช่น ใส่เสื้อเขียว+กางเกงแดง โอ้ว้าว!! อีกาคาบพริก ทำได้ เราลดค่าความเข้มของความส่องสว่าง ให้มาอยู่ที่ระดับ เดียวกัน ใน Gray scale โดยการผสม Tone ของสีเทา เข้าไป (เทาอ่อนหรือแก่ก็แล้วแต่) ส่วนมากจะดึงสูงลงตํ่า ก็คือดึงเขียว ซึ่งอยู่ประมาณ 6-7 ลงมาเสมอแดงประมาณ 3-4 ของ Gray scale พอ ทําได้เช่นนั้น เขาก็จะไปกันได้ทันที่ ไม่ทะเลาะกันแล้ว จะเห็นได้จาก พวกดาราฝรั่ง หรือ แฟชั่นโชว์ ทำไมดูเก๋ ดูดี ซึงสีไม่น่าจะไปกันได้ ตอนนี้ รู้แล้วใช่ไหมล่ะ เขาเลือก และ Match สีกันอย่างไร (Top secrete ของ Fashion Designer) ระดับโลกเลยนะจะบอกให้ Xปิ๊ด15X พี่ปิ๊ดลืมแนะนำว่า .......วิธีเทียบสีให้ถอยห่างหรือ หรี่ตา ย้ายสีขึ้นลง จนมีความรู้สึกว่า สีไม่กระโดดและอยู่นิ่งกับระดับ Gray scale ใดก็ระดับนั้นแหละ การสร้า้ง Gray scale ไม่จำเป็นที่จะมี10 ระดับ มีมากกว่านั้นได้ จะ ละเอียดยิ่งขึ้น
|
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #961 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 12:14:17 » |
|
พี่ปี๊ดคะ เดาเอาไว้แล้วว่าพี่ต้องยุ่งกะงาน แต่ก็รู้สึกอุ่นใจที่พี่ยังแว๊บ! เข้ามาทักทาย แม้จะเป็นข้อความสั้นๆ ขอเป็นกำลังใจให้สะสางงาน ที่ยุ่งๆให้เสร็จเร็วๆ น้องๆคอยเรียนศิลปะอยู่ค่ะ ทราย16
|
|
|
|
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806
|
|
« ตอบ #962 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 21:22:36 » |
|
มาติดตามค่ะ
|
"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #963 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2553, 14:34:43 » |
|
ครูปี๊ด & ครูป๋อง หายไปไหนคะ? กลับบ้านได้แล้วเพ่! ทราย
|
|
|
|
อ้อย17
|
|
« ตอบ #964 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2553, 15:22:16 » |
|
นั่นดิ..พี่ทราย.. นี่กำลังตามอ่านอย่างเมามันเลยนะเนี่ย.. อ่านแรกๆมันยังไม่ซึมซับ พอบอกว่าเขียวแดงใส่อย่างไรไม่ให้สีโดด เลยกระชับพื้นที่เข้ามาหน่อย กลับมาต่อให้ไวเลย พี่ปิ๊ด.. เด๋วน้องลืมเลคเชอร์บทก่อนหมด...
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #965 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2553, 20:41:22 » |
|
สวัสดีครับน้องทราย+อ้อย+เล็ก+หนิง +พี่ๆ น้องๆ ที่หายไปเพราะ กำลังอยู่ในวัย อลเวง ชีวิตโหวเหวง เร่งงานตัวกลม ก็ยังไม่เสร็จ สมาธิไม่มี น่าจะคุยต่อใน 3 หัวข้อ คือ 1 . Additive mixing 2 . Subtractive mixing 3 . Partitive mixing
|
|
|
|
pusadee sitthiphong
|
|
« ตอบ #966 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2553, 21:07:03 » |
|
ทรายเอ๊ย ได้ฮับบะโอแล้ว แต่ยังบะได้กิ๋นเตื่อ ต้องหื้ออันที่ซื้อมาในตู้เย็นหมดก่อน แล้วจะรายงานผลเมื่อได้ปอกจิมแล้วเน้อเจ้า ขอบคุณเจ้า ว่าแต่ มาแล้วบะแวะหากันเลย เลยบะได้อู้กั๋นเนาะ เสียดายหลาย
|
pom shi 2516
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #967 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 09:51:51 » |
|
สวัสดีครับชาวเรา พี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน และน้องป้อม หายไปหลายวันชักจะต่อไม่ติด จาก 3 หัวข้อ คือ Additive , Subtractive and Partitive mixing พี่ปิ๊ด ได้ เปิดหัวข้อไว้แล้วน่าจะอยู่ที่หน้า 35 แต่ก็ไหลๆไปเรื่อย ไม่ได้สรุป ข้อสรุปละคราวนี้ Additive mixing (น้องทราย เคยถามว่า มีคำแปลไหม?) เป็นปัญหา เพราะมีท่าน ผู้รู้หลายท่านได้ให้ชื่อไว้หลากหลาย เช่น สีเชิงบวก ฯ ซึ่ง พี่ปิ๊ด ว่ายังไม่ถูก ดังนั้น พี่ปิ๊ดว่า เราเน้นความเข้าใจดีกว่า แล้วเราจะไปเรียกว่าอย่างไร? ก็ค่อยๆบอกกัน Additive น่าจะมาจากคำว่า Add+Active (คิดเอง) เป็นทฤษฏีที่ว่าด้วย เรื่องแสง/ แสงสว่างทำให้เรามองเห็น ถ้าเป็นแสงขาว การมองเห็นสี วัตถุสิ่งของ จะเห็นเป็น สี ที่ควรจะเป็น แต่ถ้าแสงไม่ใช่แสงขาว หมายถึง อื่นๆ เช่น เขียว แดง ฟ้า เหลือง ส้ม ฯลฯ ก็จะทำให้ การมองเห็นสี ของวัตถุสิ่งของต่างๆนั้น ไม่เป็นสีที่ควรจะเป็น ถ้า แสงสี นั้นๆแผ่รังษีไปถึง( แล้วเราเห็นสีอะไรละ ) ทฤษฏี Additive จะสามารถตอบได้ ดูเหมือนยากนะ แต่อย่าลืม เราใช้แค่ 3 แสงเท่านั้น มา +มา - /แสงแดง แสงเีขียว และ แสงนํ้าเงิน ( RGB)คิดแบบคณิตศาสตร์ เมื่อใดที่เราเล่นกับแสง/(ต้นกำเนิด แสง) เช่น แสงไฟเวทีการแสดง การถ่ายภาพยนต์ การถ่ายรูป แสงไฟตกแต่งภายใน ตู้โชว์สินค้า อื่นๆอีกมาก ตราบใดที่มีเรื่องแสงเ้ข้าไปเกี่ยว แม้กระทั้งแสงเทียน แสง ของแมลงต่างๆ ก็ควรใช้ ทฤษฏี RGB เป็น พื้นฐาน จะสามารถจัดแสงได้ถูก
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #968 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 12:10:19 » |
|
เมื่อไม่นานมานี้ ครูป๋องได้ความรู้ใหม่ (เล่าให้ปีเตอร์ฟังแล้ว) ว่า คอมพิวเตอร์โปรแกรม เช่น สำหรับสร้างภาพสามมิติ ทางวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม นั้น เดิมสมัยก่อน (เมื่อคนเรายังโง่อยู่) เขาก็จะเขียนเป็น --->x --->y --->z ในทิศทางที่ตั้งฉากกันที่ origin (ตาม right hand rule) ...แต่ปัจจุบัน เหลือแค่ลูกศร ---> ทั้งสามทิศทาง ในทิศทางที่ตั้งฉากกันที่ origin ไม่มีตัวหนังสือกำกับ แต่ให้สีของลูกศรทางแกน x เป็นสีแดง R สีของลูกศรทางแกน y เป็นสีเขียว G นักเรียนลองทายซิว่า ลูกศรที่ชี้ทางแกน z เขาใช้สีอะไรเขียน ?
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #969 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 13:01:03 » |
|
ครูปี๊ดคะ Lecture นี้ ชักยากแฮะ แต่จะตั้งใจค่ะ ทราย
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #970 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 13:03:30 » |
|
ครูป๋องค่ะ ลูกศรที่ชี้ทางแกน z เขาใช้สี 'น้ำเงิน' รึเปล่าค่ะ
|
|
|
|
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806
|
|
« ตอบ #971 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 16:04:35 » |
|
แล้วจะมาตามอ่านนะคะ
|
"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #972 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553, 00:17:38 » |
|
นักเรียน ดร.ทราย ดูเฉลยเองนะครับ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806
|
|
« ตอบ #973 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553, 12:53:48 » |
|
น.ร.ดร.ทราย บอกว่า ยากแฮะ เสียด สอบตกชัวร์ ขอลาออก ขอลาออก ก่อนถูกไล่ออก
|
"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #974 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553, 15:50:53 » |
|
สวัสดีครับ ทุกๆท่าน หมอเสียด น้องทราย ไม่ยากอย่างที่คิด เราอยู่กับมันตลอดเวลา เดี๋ยวมีอะไรไปสะกิด ตุ่มความเก่งก็ร้อง........ อ๋อ Additive เป็นเรื่องของแสง และ มีแค่ 3 แสง เท่านั้นบนโลกใบนี้ ด้วยตาของมนุษย์ ปกติ แดง - เขียว - นํ้าเงิน แสงสีอื่นๆเกิดจากการผสม ของ 3 แสงนี้ทั้งนั้นเพียงแต่ มีการแต่งความเข้มของแสง มาก - น้อย ทำให้เกิดแสง อื่นๆ เช่น ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง แสด แดง(สีรุ้ง) เป็นต้น เพราะแสงมัน เหลื่อมกันมาก น้อย จึงเกิดเป็นสีต่างๆ ความจริงมันเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เราไม่เห็น เพราะมันเหล่านั้นเป็น (e) ที่เคลื่อนที่อยู่ในอากาศ จนกระทั้งมีฉาก มารับด้านหลัง (ความหนาแน่นของละอองนํ้า)และอยู่ในทิศตรงข้ามกับตะวันเสมอ
|
|
|
|
|