khesorn mueller
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2551, 21:13:56 » |
|
เพื่อน้องๆห้อง๓๒จัดห้ายยยค๊าาา... p.nn
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
wirat
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2551, 18:12:21 » |
|
ขอบคุณแทนเพื่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
piyawat
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
กระทู้: 57
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2551, 23:31:45 » |
|
โห...อะไรเนี่ย
Post ทิ้งไว้ตั้งนาน...ลูกค้าน้อยจัง
แถมโดนเบี่ยงประเด็นเป็นหนังสือขายหัวเราะกับอยากเป็นแมวแม่มดเฉยเลย...
เพื่อนป้อม...ช่วยปั่นหน่อยดิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2551, 03:38:33 » |
|
น้องป๊อกจะให้ปั่นออกมาแนวไหน....บอก.....หากเรารู้เราจะขยัน...มันเหลือแต่rate Rนั่นแล้ว p.nn
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pae
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2551, 09:24:01 » |
|
อ่านแต่ขายหัวเราะ เพิ่งซื้อหนังสือทางไปรษณีย์มา ยี่สิบกว่าเล่ม อ่านจบเล่มเดียว อ่านจบแล้วยืมอ่านต่อนะ จะได้เป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2551, 11:58:55 » |
|
เป็นชื่อหนังสือเล่มใหม่ของ Dr.Marshall Goldsmith ผู้เชี่ยวชาญด้าน Leadership Coaching ครับ ... What Got You Here Won't Get You There .
..ผมว่าความหมายของประโยคนี้...ดีจัง
...เผื่อเพื่อนป้อมและทุกคนจะมีไอเดียอะไรแลกเปลี่ยน ...555 คุณป๊อกเรียน พวก บริหาร อยู่หรือ ถึงมีแต่คำถามประมาณนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2551, 11:59:52 » |
|
Leadership Coaching
มีหลายแบบ
ทางตะวันตก มีการศึกษา เป็นระยะๆ
ในแนวพุทธก็มี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2551, 12:01:04 » |
|
อ่านแต่ขายหัวเราะ เพิ่งซื้อหนังสือทางไปรษณีย์มา ยี่สิบกว่าเล่ม อ่านจบเล่มเดียว อ่านจบแล้วยืมอ่านต่อนะ จะได้เป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า บริจาค ต่อนะ ป้าหมีรออยู่ อิ อิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
wirat
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2551, 21:14:57 » |
|
ถ้าผมขอน๊ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 13:33:26 » |
|
พระธรรมปิฎก (2540) กล่าวว่า
องค์ประกอบที่ผู้นำควรคำนึงถึงในการดำเนินงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่
(1) ตัวผู้นำต้องมีคุณสมบัติภายในตัวเองเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นแกนกลางได้
(2) ผู้ตามต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้ตามหรือเป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกันได้
(3) จุดมุ่งหมายจะต้องมีความชัดเจน เข้าใจถ่องแท้และแน่วแน่ในจุดมุ่งหมาย
(4) ต้องมีหลักการและวิธีการในการดำเนินงานที่จะทำให้งานสำเร็จบรรลุจุดมุ่งหมาย
ที่มา พระธรรมปิฎก. (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 13:35:27 » |
|
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ผู้นำควรยึดถือ
(1) พรหมวิหาร 4
(2) สัปปุริสธรรม 7
(3) อิทธิบาท 4
(4) สังคหวัตถุ 4
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 13:38:02 » |
|
พรหมวิหาร 4
เป็นธรรมประจำใจอันประเสริฐที่บุคคลต้องมีไว้เป็นหลักเพื่อคอยกำกับความประพฤติให้ดำเนินไปในทางที่เจริญก้าวหน้า
พรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
.. .. .เมตตา คือ ความรักใคร่ปรารถนาให้เป็นสุข มีจิตใจเป็นมิตรไมตรีต่อผู้ร่วมงานและบุคคลทั่วไปซึ่งสามารถใช้ได้ในสถานการณ์ปกติทั่วไป
........กรุณา คือ ความรู้สึกสงสารต่อความทุกข์ ความเดือดร้อนของผู้ร่วมงานและต้องการคิดช่วยเหลือเขาในยามที่เขาตกต่ำ
.........มุทิตา คือ มีความยินดีเมื่อผู้ร่วมงานเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ประสบความสำเร็จ ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้เขาก้าวหน้ายิ่งขึ้น ไม่อิจฉาริษยาเพื่อนร่วมงาน
......อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง มีจิตใจเที่ยงธรรม เมื่อสมาชิกทีมหรือผู้ร่วมงานมีการทำผิดกฎระเบียบ ผู้นำก็ต้องตั้งอยู่ในความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด เพื่อรักษาความสมดุลหรือควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ เพราะผู้นำที่ดีควรได้ทั้งคนทั้งงาน โดยไม่เสียหลักการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 13:41:11 » |
|
สัปปุริสธรรม 7
เป็นธรรมของสัตบุรุษหรือคนดี
ผู้นำควรมีคุณสมบัติในเรื่อง การรับรู้ รอบรู้ มีความเข้าใจและรอบคอบทั้ง 7 ด้าน
จึงจะทำให้ผู้นำพร้อมที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้
องค์ประกอบของสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ รู้หลักการ รู้จุดหมาย รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน และรู้บุคคล
1. รู้หลักการ กล่าวคือ ผู้นำจะต้องเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะต้องมีเหตุทำให้เกิด เมื่อบุคคลดำรงตำแหน่ง มีฐานะ หรือจะทำอะไรก็ตาม ต้องรู้หลักการ รู้งาน รู้หน้าที่ รู้กฎเกณฑ์กติกาที่เกี่ยวข้อง
2.รู้จุดหมาย กล่าวคือ ผู้นำจะต้องมีความชัดเจนในจุดหมาย มั่นใจในจุดหมาย แม้มีอะไรมากระทบก็ไม่หวั่นไหว ไม่เก็บเป็นอารมณ์
3.รู้ตน กล่าวคือ ผู้นำต้องรู้ว่าตนเองเป็นใคร มีภาวะเป็นอะไร ในสถานะใด มีคุณสมบัติ ความพร้อม ความสามารถเพียงใด จุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ต้องสำรวจและวิเคราะห์ตนเอง เตือนตนเองและพัฒนาตนเองอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง
4.รู้ประมาณ กล่าวคือ ผู้นำจะต้องรู้จักความพอดี รู้จักขอบเขต ต้องรู้องค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องและจัดให้ลงตัวพอเหมาะ
5. รู้กาล กล่าวคือ การรู้เวลาซึ่งผู้นำจะต้องตระหนักเกี่ยวกับภารกิจที่ทำ คำที่พูด ต้องคำนึงถึงเวลาว่าเหมาะว่าควรหรือไม่ เช่น รู้ลำดับ ระยะ จังหวะ ปริมาณ ความเหมาะสมของเวลา
6. รู้ชุมชน กล่าวคือ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ใดผู้นำจะต้องศึกษาให้เข้าใจ เรียนรู้ลักษณะของงาน สิ่งแวดล้อมในองค์กรให้เข้าใจ ตลอดจนควรรู้สังคมของประเทศชาติ สังคมโลกว่าอยู่ในสถานการณ์อย่างไรในสภาพปัจจุบัน
7. รู้บุคคล กล่าวคือ ผู้นำจะต้องรู้จักบุคคลที่เกี่ยวข้อง คนที่ร่วมงาน เพื่อประโยชน์ในการทำงาน เช่น สามารถพิจารณาว่าควรมอบหมายงานให้ใครที่จะปฎิบัติงานได้เหมาะสม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 13:47:45 » |
|
อิทธิบาท 4
เป็นคุณธรรมช่วยให้ประสบความสำเร็จหรือนำไปสู่ความสำเร็จ แห่งผลการกระทำ ตามที่มุ่งหมายไว้
ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
1. ฉันทะ คือ ความรักความพอใจในงานที่รับผิดชอบ ด้วยการเห็นคุณค่างาน รักที่จะเห็นผู้ร่วมงานมีความสุขกับการทำงาน มีความเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จและรักที่จะเป็นผู้สอน ผู้ชี้แนะแนวทาง ให้คำปรึกษาแก่ผู้ร่วมงาน
2. วิริยะ คือ การมีความเพียรพยายาม เข้มแข็งอดทน ขยันขันแข็งในการศึกษาหาความรู้ในงานเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ใช่ทำอย่างเสียไม่ได้
3. จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด ไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย ใช้ความคิดในเรื่องนั้นบ่อย ๆ เสมอ ๆ ทำกิจหรืองานนั้นอย่างอุทิศตัวอุทิศใจ ต้องมีความใส่ใจในงาน รับผิดชอบงาน มีความพร้อมที่จะทำงานด้วยความเต็มใจ
4. วิมังสา คือ รู้จักไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ตรวจหาโดยใช้เหตุผล ข้อมูล สติปัญญาอย่างรอบคอบเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากมีปัญหาอุปสรรคต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 13:49:07 » |
|
สังคหวัตถุ 4
ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา
1. ทาน คือ การให้ ผู้นำจะต้องเป็นผู้ให้ความรัก ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้อภัย ชี้แนวคิดที่ถูกต้องให้แก่ผู้ร่วมงาน ตลอดจนให้การตอบสนองความต้องการในทางที่เหมาะสม
2. ปิยวาจา คือ ผู้นำจะต้องใช้วาจาถ้อยคำที่ไพเราะ น่าฟัง พูดจามีเหตุผลและเหมาะแก่กาลเทศะ
3. อัตถจริยา คือ ผู้นำจะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ร่วมงาน กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งทางด้านวิชาการ การบริหาร และเรื่องส่วนตัว
4. สมานัตตา คือ ผู้นำจะต้องมีความเป็นกันเอง ไม่ถือตัววางตนสูงเกินไป เป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 13:54:29 » |
|
"อะไรที่ทำให้คุณมาอยู่ตรงนี้ อาจจะไม่สามารถพาคุณไปอยู่ในที่ที่คุณต้องการได้"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
yai
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 16:21:13 » |
|
สาระเน้น ๆ เลยป้าหมี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
akenui
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 16:48:00 » |
|
"อะไรที่ทำให้คุณมาอยู่ตรงนี้ อาจจะไม่สามารถพาคุณไปอยู่ในที่ที่คุณต้องการได้"
อาจจะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สุดจะทน ก็ต้องทน
|
|
|
wirat
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2551, 18:10:13 » |
|
May be
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|