- ประชานิยม vs อมาตยาธิปไตย
- เสื้อแดง vs เสื้อเหลือง
- การทุจริตคอร์รัปชั่น
- ความน่าเชื่อถือของสถาบันยุติธรรม
- รัฐประหาร/ปฏิวัติ
- สงครามกลางเมือง
นี่คือภาพของสังคมไทยวันนี้
เฮ้อ......อยากเห็นคนไทยบินด้ายยยยยยย
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02pol02040353§ionid=0202&day=2010-03-04วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4189 ประชาชาติธุรกิจ
แดง-ร่วมยื้อเงิน 4.6 หมื่นล้าน ล้ม-ล้าง "รัฐ+ทหาร+อำมาตย์"
สมมติฐานของ "ฝ่ายทักษิณ" ยังไม่ยอมให้ทรัพย์สิน 4.6 หมื่นล้าน ถูกยึดเป็นของแผ่นดิน
ยังไม่ยอมรับ "คำพิพากษา" ว่ามี "มาตรฐาน"
26 กุมภาพันธ์ 2553 จึงเป็น"ทางแยก" ที่ยังไม่ทางยุติ
ในสมการการเมืองของฝ่าย "ทักษิณ+นปช.+เสื้อแดง" ยังต้องการล้มกระดานด้วยการ "ยุบสภา" และล้ม-ล้างระบบของฝ่าย "รัฐบาล+ทหาร+ อำมาตย์"
ดังนั้น กระบวนการในการคิดคำนวณ-หาคำตอบบรรทัดสุดท้ายของฝ่าย "ทักษิณ" จึงยังคงต้องใช้ "มวลชน" เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหว-กดดันรัฐบาล-กองทัพ- องคมนตรีต่อไปอย่างทั่วด้าน
แม้ว่า "หัวขบวน" จะอยู่นอกประเทศ แต่สามารถใช้เครือข่ายมัลติมีเดีย ส่งสัญญาณ-ปลุก-ปั่นให้ทุกองคาพยพ "สู้-อุทธรณ์"
ด้วยคีเวิร์ด-ใจความหลัก ที่ว่าด้วย"ถูกการเมืองกลั่นแกล้ง"
"แก้สัมปทานผิดตรงไหน...รัฐเสียหายตรงไหน...บริษัทไม่ได้ประโยชน์ แถมรัฐ ยังได้รายรับเท่าเดิม"
"ศาล...เป็นเครื่องมือในการจัดการทางการเมือง"
"หุ้นเป็นของผม ไม่ใช่ของลูก...ทำไม จะมาเรียกภาษีจากลูก" และ "...วางแผน ปล้นทรัพย์"
พร้อม ๆ กับกระบวนการ "อุทธรณ์" ทั้งทางกฎหมาย และแสดงพฤติกรรม
และแม้เงื่อนไขการ "อุทธรณ์" จะต้องมี "ข้อมูลใหม่" แต่ "ทักษิณ" ยังมีไพ่เล่นอีก 2 ใบ ที่รอจังหวะ "เปิด"
ไพ่ใบหนึ่ง คือ "ข้อมูลใหม่" ที่จะคิดค้นจาก "คำพิพากษา" ของฝ่ายเสียงข้างน้อย"
ไพ่อีกใบ เป็นอุทธรณ์กับผู้ตัดสิน "คนใหม่" ที่ "ทักษิณ" ยังไม่เปิดเผยยุทธวิธี
เพราะความเชื่อว่า การ "อุทธรณ์กับ คนเก่า แม้มีข้อมูล-หลักฐานใหม่ แต่ผลการตัดสินจะเหมือนเดิม"
แผนการของฝ่าย "ทักษิณ" จึงจะค่อย ๆ ทยอยเปิดยุทธวิธีการต่อสู้แบบวันต่อวัน
ระหว่างนี้จะใช้ "หมาก" ทุกตัวเป็นเครื่องมือส่งสัญญาณว่า "ไม่ถอย" และ "ไม่เลิก"
จึงมี "คำแถลง" ย้อนศร "คำพิพากษา" ทันที จากปาก "พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" ประธานพรรคเพื่อไทย ด้วยถ้อยคำที่เป็นวาทกรรม "สองมาตรฐาน"
"ผู้พิพากษายอมรับในอำนาจของกระบวนการรัฐประหาร ที่มีมาตั้งแต่ 19 ก.ย. 2549"
และ "มีคนบางคน หรือใครบางคนที่อยู่เบื้องหลัง และชักใยทำให้สถานการณ์ในบ้าน ในเมืองของเราเลวร้ายเหมือนอย่างทุกวันนี้ ซึ่งไม่มีใครตอบได้ว่าคือใคร และกำลังทำอะไรอยู่"
สอดรับกับ "ท่าที" ของทนายความ ส่วนตัว "นพดล ปัทมะ" ที่แสดงความ "คาใจ" ต่อศาลหลายประเด็น พร้อมแสดงเจตนารมณ์ผ่านแถลงการณ์ของ "ทักษิณ" ในแนวทาง "อุทธรณ์" ภายใน 30 วัน
"เห็นว่าตัดสินไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประเด็น เช่น การยอมรับคำสั่งของคณะผู้ยึดอำนาจ ที่จะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องให้สังคมไทย เรื่องการแปลงสัมปทานสรรพสามิต ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าดำเนินการโดยชอบแล้ว ดังนั้น จะต้องผูกพันไปทุกองค์กร ศาลฎีกาก็ต้องทำตามนั้น"
ช่องทางของกฎหมาย ที่ "ทนาย-นพดล" นำไปตีความในการหาหลักฐานใหม่มาต่อสู้ คือ
"มีตุลาการเสียงข้างน้อยเห็นเป็นอย่างนั้น เงินที่ได้มา ก็ไม่ใช่จากภาษีประชาชน ไม่มีการโกงใด ๆ เงินได้มาจากผู้ซื้อหุ้นชาวต่างชาติ มาจากกองทุนเทมาเส็ก"
พร้อมกับมีท่าที-ท้าทายต่ออำนาจ "ศาล" และพาดพิงไปถึงผู้อยู่เบื้องหลังใน "กองทัพ"
"ถ้าศาลไม่ทำตามกฎหมายของผู้ยึดอำนาจ เราจะได้ประชาธิปไตยเร็วขึ้น ถ้าศาลไม่เอาด้วย ก็จะตัดวงจรอุบาทว์ได้ แต่ถ้ายังตัดสินไปตามกฎหมายที่ผู้ยึดอำนาจเขียน ก็สุ่มเสี่ยงที่จะสนับสนุนให้มีการยึดอำนาจอยู่ร่ำไป ต่อไปไม่ต้องใช้เสียงของประชาชน แค่ไปรวบรวมรถถังให้มาก ๆ ก็พอ" นายนพดลกล่าว
แหล่งข่าวฝ่าย "ทักษิณ" ยังเชื่อว่า การยื้อเงิน 6.4 หมื่นล้าน ไม่ให้เข้า คลังแผ่นดิน ยังมีเวลาอีกไม่น้อยกว่า 90 วัน
อย่างน้อย เมื่อยื่นเรื่องอุทธรณ์ ก็ทอดยาวไปได้อีก 30 วัน
อย่างน้อย หากมีการใช้เครื่องมือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขอให้ "ถอดถอน" องค์คณะผู้พิพากษา ก็ยื้อเงินไว้ในธนาคารต่อไปได้อีกหลายชั่วยาม
หรือหากยื่นเรื่องอุทธรณ์ไปแล้วก็จะมีกระบวนการขอให้ "เปลี่ยนองค์คณะ" ในการพิจารณาคดี ก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน
ข้อแนะ-คำนำจากแกนนำ จากอดีตพรรคไทยรักไทย 111 คน และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนทั้ง 37 คนชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า
"แนวทางที่จะใช้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ถอดถอนออกจากตำแหน่ง โดยอาศัยความตามตามมาตรา 216 วรรคห้า มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 197 วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่า การปฏิบัติหน้าที่ของศาลต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย"
ระหว่างนี้ยังมีช่องทางที่ "ทักษิณ" ยังยืนยันจะ "ลาก" คดี "ส่วนตัว" ขึ้นสู่ระดับโลก โดยใช้ทีมทนายความที่เชี่ยวชาญคดีระหว่างประเทศเข้าร่วมทีมกับทนายภายในประเทศ
กระบวนการต่อสู้ทางกฎหมาย ทั้งใน-ต่างประเทศ
การขออุทธรณ์วิธีพิจารณาความทั้งใน-นอกศาล จะถูกขับเคลื่อนพร้อม ๆ กับเกมอันตราย ที่นำโดยแกนนำ นปช.ที่นัดชุมนุมใหญ่-ยืดเยื้ออย่างน้อย 7 วันต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป
เพื่อนำ "วาทกรรม" ของ "ทักษิณ" มาขยายความ ทำความเข้าใจกับมวลชนระดับรากหญ้าและชนชั้นกลางในเมืองหลวง
ความพยายามในการ "สร้างภาพ" ความเคลื่อนไหวที่ "ก้าวพ้น" ปัญหาของ "ทักษิณ" จึงไม่ชัดเจน-แต่คลุมเครือ
ทั้ง "จตุพร พรหมพันธุ์-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ-วีระ มุสิกพงศ์" ยังคงเวียนว่ายในวัฏจักร "ทักษิณ"
การเปิดฉากตรวจสอบ "องค์คณะผู้พิพากษา" จึงเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการตรวจสอบ "องคมนตรี"
"ผู้พิพากษาบางคนเป็นตุลาการสมัยพิจารณาคดียุบพรรคไทยรักไทย บางคนเป็นประธานตรวจสอบคดีทุจริตกล้ายาง บางคนเป็นองค์คณะพิจารณาหวยบนดิน จุดหมายปลายทางคือต้องการยึดทรัพย์ที่เหลืออีก 3.2 หมื่นล้านบาท"
ช่วงจากนี้ไป ขบวนการ "ทักษิณ+เสื้อแดง" ที่จะล้ม-ล้าง "รัฐบาล+ทหาร+ อำมาตย์" จึงคึกคักยิ่งกว่าช่วงใด ๆ
หน้า 35