วัดโพธิ์ศรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก อยู่ที่ บ้านโพธิ์ศรี ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2376 สมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สาเหตุที่นำมากราบไหว้พระวัดนี้ เพราะ วัดนี้เกี่ยวข้องกับคุรแม่ผม กล่าวคือ บ้านแม่อยู่ติดกับวัดด้านทิศใต้ แม่และพ่อ เรียนที่โรงเรียนนี้ จนจบ ป. 4 ครับ และวัดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จมาสองครั้ง ครั้งแรกสมัยเสด็จกลับจากการเปิดเขื่อนเจ้าพระยา ทางชลมาค ครั้งที่สองเสด็จฝังลูกนิมิตร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เสด็จมาเปิดหน้าบันพระอุโบสถ วัดนี้เป็นวัดที่สองในสิงห์บุรีที่ มีตรา ภปร. ที่หน้าบันโบสถ์ครับ
วัดนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ เสด็จมายกช่อฟ้าพระอุโบสถ ด้วย วัดโพธิ์ศรี เกี่ยวข้องกับวัดบวรฯ เป็นธรรมยุติ เจ้าอาวาสทุกรูปจะมาจากวัดบวรฯ และวัดนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากสมเด็จพระสังฆราช ทุกองค์ตลอดมา
วิหารนี้เป็นที่ประดิษฐ์หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ องค์หนึ่งของสิงห์บุรี ชุมชนบ้านโพธิ์ศรี เป็นชุมชนชาวลาวจากเวียงจันทร์ ที่ราชวงค์จักรี(รัชกาลที่ 1) นำมาครับ (คุณกรองอร กรุณา แปล ชื่อ ผู้สร้างวิหารนี้ให้ด้วยครับ ชื่อตามป้าย ครับ)
พ.ศ. 2447 พระครูวินิตศีลคุณ(ลา ปุณณชิ) สัทธิวิหาร รูปที่ 96 ในสมเด็จเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเจ้าอาวาส ได้ปฏิสังขรณ์วัดเป็นอันมาก โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา ได้จัดตั้งโรงเรียนชั้นประถม และชั้นมัธยม ขึ้นเป็นแห่งแรกในอำเภออินทร์บุรี ซึ่งเป็นเอกชน เพราะโรงเรียนรัฐบาลมีแต่ชั้นประถมอยู่ตามวัด (การจราจรในสมัยนั้น ไม่มีทางบก ที่จะไปสิงห์บุรี การเดินทางเป็นทางตามตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งนั้น ผมเองในสมัยเด็ก ยังไม่เคยไปวัดโพธิ์ศรี เลยเพราะบ้านอยู่คนละฝากแม่น้ำ จำได้ว่าเคยไปครั้งหนึ่งไปทอดกฐินกับแม่ เท่านั้น เพราะการข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใช่เรื่องง่ายในสมัยนั้น)
หลวงพ่อนาค เป็นพระเก่าแก่ มาก มีผู้เคารพจำนวนมาก อยู่คู่กับวัดมานานมาก หลวงพ่อลา ตอนที่ท่านบูรณะวัดและการศึกษา ได้จัดทำเหรียญ เพื่อหาทุน ได้อาศัยหลวงพ่อนาคนี่ละครับ และทำรุ่นเดียวเท่านั้น (ผมได้รับจากแม่มาหนึ่งองค์ ตอนที่ผมบวชให้ท่าน ซึ่งแม่รับมาจากหลวงพ่อลา ในงานทอดกฐินของวัด)
หลวงพ่อลา นอกจากจะตั้งโรงเรียนแล้ว ยังจัดตั้งโรงเรียนทางธรรม คือโรงเรียนพระปริยัติธรรม ให้โอกาสเด็กๆที่ไม่สามารถเรียนสามัญได้ ให้มาบวชเป็นเณรศึกษาทางธรรมแทน ดังนั้น ผมจึงตั้งใจสานต่อจากหลวงพ่อลา ขอจัดทอดผ้าป่าแบบนักท่องเที่ยวในครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในส่วนของโรงเรียนพระปริยุติธรรม จึงขอเชิญชาวซีมะโด่งช่วยเป็นเจ้าภาพร่วมในการทอดผ้าป่าครั้งนี้ครับ ผมขอบิจาคเริ่มต้นที่ 5000 บาท พร้อม เครื่องประกอบ ครับ
เราจะไปถึงวัดประมาณ 09:00 น. เข้าวิหารหลวงพ่อนาค กราบหลวงพ่อนาค กราบหลวงพ่อลา แล้วทำการทอดผ้าป่า รับศิลจากพระ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระภาวนาวิสุทธิเถร เป็นสัทธิวิหารริกในสใเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช อายุ 98 ปี วัดโพธิศรี มรพระจำนวน 13 รูป สามเรณ 95 รูป
วัดนี้เป็นวัดเคร่งทางธรรม บรรยากาศร่มรื่น เป็นวัดที่ควรไปเยี่ยม ครับ
ภายหลังจากรับประทานอาหารกลางวันที่ เนินมะกอก ผมจะพาทุกท่าน มากราบหลวงพ่อทองคำ ที่วัดท่าความย(วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์) เหตุที่เรียกหลวงพ่อทองคำ เพราะกำลังรอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพฯ ครับ
หลวงพ่อทองคำถูกเปิดเผยโดย ท.พ.ทวีศักดิ์ ซึ่งมาบวชที่วัดนี้ และทราบเรื่องพระพุทธรูปองค์นี้ ภายหลังจากสึก ได้ไปปรึกษากับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้น คือ ท่านพะนาย สุวรรณรัฐ ให้เป็นผู้ดำเนินการขอร้องทางวัดให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสกราบไหว้ และสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระองค์นี้
วัดนี้ มีอดีตเจ้าอาวาสท่านหนึ่ง คือ หลวงพ่อเชย ได้จัดทำวัตถุมงคล ขึ้นเป็นที่นิยมมาก จนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่หลวงพ่อเชย ปรุกเสกจะทำพิธี ที่วิหารของหลวงพ่อทองคำเสมอ แต่ในขณะนั้น อยู่ในรูปของปูนปั้นปิดไว้ ไม่มีใครทราบว่าเป็นพระทองคำ ครับ
พระทองคำ จากการสืบประวัติ เป็นพระที่จัดสร้างในสมัยสุโขทัย สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เป็นช่างตระกูลเดียวที่สร้างหลวงพ่อวัดไตรมิตร หลวงพ่อทองคำคงสภาพสวยงาม สง่างามคากหยิก ผมขอให้ทุกท่านไปเห็น ครั้งแรก จะมีความรู้สึกเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่ผมรู้สึกได้ เมื่อไปกราบครั้งแรก ทุกวันนี้มีผู้ทราบข่าวไปกราบไหว้เป็นจำนวนมาก ครับ
นี่คือวิหารที่พระพรหมสิงหบูราจารณื หลวงพ่อจรัญ เป็นเจ้าภาพจัดสร้างวิหารให้หลวงพ่อพระทองคำ ครับ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
รายละเอียดต่างๆ ผมได้ติดต่อมักถายก คอยบรรยายเมื่อเราไปกราบหลวงพ่อทองคำ ครับ
นี่คือ ต้นตะเคียนทอง ครับ ท่านใดจะขอหวย ขอเชิญครับ
ก่อนที่ทุกท่านจะไปกราบไหว้หลวงพ่อทองคำ เราจะทำบุญทอดผ้าป่า สมทบทุนกับหลวงพ่อจรัญ สร้างวิหารให้หลวงพ่อทองคำ ครับ ผมจะบริจาคเริ่มต้น 5000 บาท พร้อมเครื่องประกอบ จึงขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยทำบุญร่วมกันครับ จากนั้นทุกท่าน ทะยอยขึ้นไปกราบหลวงพ่อทองคำ ชมความงาม และขอพร จากท่านครับ
ในภาพตอนผมกลับ ผมได้ไปเห็นเด็กสองคนกำลังวาดภาพซุ้มประตูวัดอยู่ จึงไปขอถ่ายรูปและได้บอกกับเด็กๆให้รู้ไว้ว่า ถ้าเธอสนใจศิลปวัฒนธรรมไทยจริง พอโตขึ้นให้สนใจเรียนให้มากจบ ม.6 แล้วให้ไปสมัครขอทุน ทางสถาปัตยกรรมไทย จุฬาฯ เพื่อมีโอกาส ผมได้อธิบายให้เด็กทราบ เพื่อสร้างโอกาสให้กับเด็กครับ อย่างน้อยเด็กจะได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าโอกาสทางการศึกษาเขามีรออยู่ทางด้านนี้ จะได้ตั้งใจเรียนต่อไปครับ เพราะพวกเขาคือเด้กบ้านนอกครับ
นี่คือเจ้าของร้านหมูทุบ ที่ตลาดปากบางครับ กิโลกรัมละ 460 บาท แมีค้าจะนำไปขายให้ที่วัดหลวงพ่อทองคำครับ หรือจะสาธิตวิธีทำให้ดูครับ
หมูทุบมีสองย่าง คือ อย่างกรอบ กับ ไม่กรอบ ครับ ผมได้ให้ทดลองชิมกันแล้ว ครับ
นี่คือวิหารที่ตั้งอดีตเจ้าอาวาสวัดครับ ขอเชิญทุกท่านกราบไหว้ครับ