เหยง 16
|
|
« ตอบ #250 เมื่อ: 03 มกราคม 2558, 20:51:55 » |
|
วันนี้มีการโอนเงิน 2 ราย 9800 บาทครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #251 เมื่อ: 05 มกราคม 2558, 11:23:06 » |
|
ข่าวย้อนหลัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ...แสดงถึงความใกล้ชิดระหว่างคนไทยและราชวงศ์เชียงตุง
"หม่อมธาดา ขุนศึกเม็งราย อดีตชายาเจ้าฟ้าเชียงตุง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 90 ปี ด้วยโรคชรา ที่บ้านพักจังหวัดเชียงใหม่ หม่อมธาดา ขุนศึกเม็งราย อายุ 90 ปีเศษ บ้านพักอยู่ ถ.ห้วยแก้ว อ.เมืองเชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา หลังจากถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ขณะนี้ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดธาตุคำ ถ.สุริวงษ์ ต.หายยา อ.เมืองเชียงใหม่
หม่อมธาดา เป็นชายาในเจ้าฟ้าขุนศึกเม็งราย ราชโอรส ในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง องค์ที่ 8 โดยที่เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายมีศักดิ์เป็นอนุชาในเจ้าฟ้าพรหมลือ เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง องค์ที่ 10 องค์สุดท้าย ซึ่งเป็นภัสดา(สามี) ในเจ้าหญิงทิพวรรณ (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง และมีศักดิ์เป็นเชษฐา(พี่ชาย) เจ้าหญิงสุคันธา (ณ เชียงตุง) ณ เชียงใหม่ ชายาในเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ นับว่าเป็นเจ้านายญาติสนิทระหว่างราชวงศ์ ณ เชียงตุงกับเจ้านายสายเชื้อเจ็ดตนตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ เป็นต้นมา
เจ้านายเมืองเชียงตุงอพยพเข้ามาอยู่นครเชียงใหม่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งไทยต้องส่งมอบนครเชียงตุงคืนอังกฤษ
หม่อมธาดาฯ เกิดในตระกูลพัฒนถาบุตร (นามสกุลพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) มีเชื้อสายพม่า เป็นธิดาคนที่ 4 ของหม่องพะอูกับแม่ยวงแก้ว มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน ( 1.นางจินดา พัฒนถาบุตร คนต่อมาไม่ทราบชื่อ (ชาย)เสียชีวิตแต่เยาว์ 3.นางจันดา โหละสุต ภริยา พ.อ. สุราษฎร์ฤทธิ์ โหละสุต คนที่ 4 หม่อมธาดา ขุนศึกเม็งราย คนที่ 5 พล.ต.กอบบุญ พัฒนถาบุตร 6. น.พ.อุดม พัฒนถาบุตร และคนสุดท้องคือนายปรีดา พัฒนถาบุตร"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #252 เมื่อ: 05 มกราคม 2558, 15:07:41 » |
|
ไทยรบพม่าครั้งที่ ๔๔ ตอนที่ ๕ พระนิพนธ์โดย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เมื่อกองทัพไทยถอยมาจากเมืองเชียงตุงแล้ว มีจดหมายเหตุปรากฏว่ามีท้องตราขึ้นไปจากกรุงเทพฯ ติเตียนแม่ทัพที่ไปกระทำการไม่สำเร็จ ให้เชิญเสด็จในกรมหลวงวงศาฯ กลับลงมากรุงเทพฯ มาปรึกษาการศึกที่จะทำต่อไป ทางโน้นให้เจ้าพระยายมราชบัญชาการแทน ให้ไปตั้งบัญชาการอยู่ที่เมืองอุตรดิตถ์ กรมหลวงวงศาฯ ตอบลงมาว่า ถ้าจะโปรดให้เสด็จกลับลงมากรุงเทพฯ ขอให้ผู้อื่นขึ้นไปเป็นเป็นแม่ทัพใหญ่เปลี่ยนพระองค์ให้ขาดเสียจากตำแหน่งทีเดียว ถ้าโปรดให้พระองค์ทำการสงครามต่อไป ขอพักค้างฤดูฝนข้างเหนือ จะจัดการตีเมืองเชียงตุงในฤดูแล้งปลายปีฉลูอีกครั้งหนึ่ง ข้อพระดำริของกรมหลวงวงศาฯ ที่จะทรงจัดการใหม่นั้น ปรากฏในจดหมายเหตุว่า
๑. ขอกำลังคนหัวเมืองชั้นในเพิ่มเติมขึ้นไปอีก ให้มากว่าเก่าอีกสักเท่า ๑ ๒. ขอปืนใใหญ่ขนาดเขื่องเพิ่มเติมขึ้นไป ทั้งกระสุนแตกและดินดำให้พอการ ๓. ขอให้เกณฑ์พวกลาวพุงขาว ตั้งแต่เมืองอุบลขึ้นไปจนเมืองหลวงพระบางเพิ่มเติมลงมา (ใช้เป็นพวกหาบหาม) ๔. จะเปลี่ยนที่ประชุมทัพ มาตั้งที่เมืองเชียงรายแล้วสะสมเสบียงอาหารไว้พอใช้ราชการทัพแล้วจึงจะยกขึ้นไป ๕. พอเดือน ๓ ปีฉลู จะยกกลับขึ้นไปตีเมืองเชียงตุง ให้ได้มีเวลารบพุ่งในฤดูแล้งนานกว่าคราวก่อน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรึกษากับเสนาบดีเห็นว่าควรให้กรมหลวงวงศาฯ ทรงบัญชาการต่อไป จึงโปรดให้เสด็จลงมาพักค้างอยู่ที่เมืองอุตรดิตถ์ แล้วโปรดให้เจ้าพระยาสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม ขึ้นไปปรึกษาหารือราชการทัพ กับกรมหลวงวงศาฯที่เมืองอุตรดิตถ์ ส่วนเจ้าพระยายมราชนั้นปรากฏว่ามารดาป่วยหนัก โปรดให้กลับลงมากรุงเทพฯ มารักษาพยาบาลมารดาคราวหนึ่ง พอฤดูแล้งจึงกลับขึ้นไปอีก
เรื่องราวที่กรมหลวงวงศาสฯ เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงตุงครั้งที่สอง เมื่อปีฉลู พ.ศ ๒๓๙๖ รายการจะอย่างไร ยังไม่พบสำเนาใบบอกและท้องตรา เหมือนเรื่องที่ยกไปคราวแรกในปีชวด แต่ได้ความในจดหมายเหตุเรื่องอื่น พอทราบเรื่องราวเป็นเค้าเงื่อนได้ว่าข้อที่กรมหลวงวงศาฯ ทรงขอผู้คนและเครื่องศัสตราวุธเพิ่มเติมไปจากกรุงเทพฯ นั้น ได้รี้พลคนหัวเมืองชั้นใน กับทั้งปืนใหญ่และปืนครกและกระสุนดินดำ ส่งเพิ่มเติมขึ้นไป แต่เห็นจะไม่ได้เท่าจำนวนที่ขอ ข้อที่จะขอเกณฑ์คนตั้งแต่เมืองอุบล จนถึงเมืองหลวงพระบางมาใช้นั้นไม่โปรดอนุญาต แต่เมืองเชียงรุ้งรับอาสาจะส่งเสบียงอาหารมาให้ถึงแดนเมืองเชียงตุงอีกทาง ๑ กำลังผู้คนและพาหนะต้องเกณฑ์ในมณฑลพายัพเป็นพื้นเหมือนเมื่อคราวก่อน
พอสิ้นฤดูฝนกรมหลวงวงศาฯ ก็เสด็จขึ้นไปจากเมืองอุตรดิตถ์ ไปจัดกองทัพที่เมืองน่าน เจ้าพระยายมราชก็กลับขึ้นไปจัดกองทัพที่เมืองเชียงใหม่ กำหนดจะขึ้นไปประชุมทัพพร้อมกันที่เมืองเชียงรายในต้นเดือน ๓ แต่การเกณฑ์ทัพคราวนี้เกิดขัดข้องมากไม่สะดวกเหมือนคราวก่อน ทำนองจะเป็นผู้คนเคยไปลำบากมาแล้ว ครั้นมาถูกเกณฑ์ซ้ำเป็นคราวที่สองก็เบื่อหน่ายพากันหลีกเลี่ยงมิใคร่จะได้ตัวคน กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ได้ยกจากเมืองน่านเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ เดินทาง ๒๑ วัน จึงไปถึงเมืองเชียงราย กองทัพหลวงไปถึงเมืองเชียงรายแล้ว เสบียงพาหนะและผู้คนซึ่งเกณฑ์ทางอื่นก็ยังไม่ได้พร้อมตามเกณฑ์ เจ้าพระยายมราชก็ยังเร่งรัดผู้คนอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ กรมหลวงศาฯ จึงต้องประทับรออยู่ที่เมืองเชียงราย เสียเวลาตอนนี้ถึงเดือนหนึ่ง เพราะฉะนั้นข้อที่หมายว่าจะได้เวลาทำการสงครามนานกว่าครั้งก่อน ก็เป็นอันไม่สำเร็จเสียแต่ต้น กว่ากองทัพจะพร้อมกันที่เมืองเชียงราย เวลาล่วงเข้าไปจนถึงเดือน ๔ จึงได้ยกออกจากเมืองเชียงราย เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #253 เมื่อ: 05 มกราคม 2558, 18:47:13 » |
|
ฝ่ายข้างเมืองเชียงตุงสืบสวน รู้ความแต่ในฤดูฝนว่า ไทยจะยกกองทัพขึ้นไปอีกในฤดูแล้งปลายปีฉลู และในปีฉลูนั้นพระเจ้ามินดงได้ราชสมบัติเมืองพม่า เลิกการสงครามกับอังกฤษ เจ้าเมืองเชียงตุงบอกไปขอกองทัพพม่ามาช่วย พระเจ้ามินดงจึงให้กองทัพพม่ามีจำนวน ๓,๐๐๐ แต่ผู้ใดจะเป็นนายทัพหาปรากฏชื่อไม่ มาเกณฑ์กองทัพพวกไทยใหญ่เข้าสมทบอีก ๖,๐๐๐ ยกมาช่วยเมืองเชียงตุง ส่วนเมืองเชียงตุงเองมีจำนวนพล ๗,๐๐๐ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนข้าศึก ที่คอยต่อสู้กองทัพไทยที่ยกขึ้นไปคราวนี้ประมาณ ๑๖,๐๐๐ จึงกล้าออกมาตั้งรักษาตามหัวเมืองหลายแห่ง
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปพอเข้าแดนเมืองเชียงตุงก็ได้รบกับข้าศึกขึ้นไปทุกระยะ คราวนี้ที่ได้รบกับพม่า แต่พวกพม่าสู้ไทยไม่ได้ ต้องถอยหนีไปโดยลำดับ ถึงกระนั้นก็พอเป็นเหตุหน่วงเวลากองทัพไทยจนเดือน ๖ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ จึงยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุง เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ กองทัพหน้าเข้าไปตั้งถึงชานเมืองเหมือนคราวก่อน ส่วนกองทัพหลวงตั้งอยู่ที่เมืองเหล็ก ห่างเมืองเชียงตุงออกมาประมาณ ๑๒๐ เส้น รอกองทัพพระยายมราชซึ่งยกขึ้นมาทางเมืองหัวโป่ง แต่ทางนั้นเป็นหนทางเป็นแต่ทางกันดารยิ่งกว่าทางที่กรมหลวงวงศาฯเสด็จไป หนทางเป็นแต่ภูเขา ทั้งผู้คนช้างม้าพาหนะต้องเดินเรียงตัวกันไป เสบียงอาหารยิ่งขนส่งยาก กองทัพเจ้าพระยายมราชยกไปไม่ได้เท่าใด ก็เกิดอัตคัดต้องหยุดคอยเสบียงเสียเวลาร่ำไป จึงไปไม่ถึงเมืองเชียงตุงทันกำหนด
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปพอเข้าแดนเมืองเชียงตุงก็ได้รบกับข้าศึกขึ้นไปทุกระยะ คราวนี้ที่ได้รบกับพม่า แต่พวกพม่าสู้ไทยไม่ได้ ต้องถอยหนีไปโดยลำดับ ถึงกระนั้นก็พอเป็นเหตุหน่วงเวลากองทัพไทยจนเดือน ๖ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ จึงยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุง เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ กองทัพหน้าเข้าไปตั้งถึงชานเมืองเหมือนคราวก่อน ส่วนกองทัพหลวงตั้งอยู่ที่เมืองเหล็ก ห่างเมืองเชียงตุงออกมาประมาณ ๑๒๐ เส้น รอกองทัพพระยายมราชซึ่งยกขึ้นมาทางเมืองหัวโป่ง แต่ทางนั้นเป็นหนทางเป็นแต่ทางกันดารยิ่งกว่าทางที่กรมหลวงวงศาฯเสด็จไป หนทางเป็นแต่ภูเขา ทั้งผู้คนช้างม้าพาหนะต้องเดินเรียงตัวกันไป เสบียงอาหารยิ่งขนส่งยาก กองทัพเจ้าพระยายมราชยกไปไม่ได้เท่าใด ก็เกิดอัตคัดต้องหยุดคอยเสบียงเสียเวลาร่ำไป จึงไปไม่ถึงเมืองเชียงตุงทันกำหนด
ฝ่ายกองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุงในเดือน ๖ พอเข้าฤดูฝน กองทัพไปตั้งไม่ได้กี่วันฝนตกหนักลงมา พวกเมืองเชียงตุงยกออกมารบหลายครั้ง กองทัพไทยมีอาวุธดีกว่าก็ตีพม่าถอยกลับเข้าเมืองไปทุกที แต่ฝ่ายกองทัพไทยก็ไม่สามารถจะบุกรุกติดตามเข้าไปตีเมืองเชียงตุงได้ ด้วยตั้งแต่ฝนตกชุกลง ผู้คนในกองทัพก็พากันเจ็บป่วยชุกชุม เป็นไข้จับบ้าง เป็นบิดบ้าง ตายวันหลายๆคนไม่ขาด ที่เจ็บป่วยอยู่ก็มาก ซ้ำช้างและโคต่างพาหนะกองทัพก็เกิดโรคระบาดล้มตายลงด้วย การลำเลียงเสบียงอาหารก็เลยติดขัด ส่วนกองทัพเจ้าพระยายมราช ก็ไปติดฝนอยู่กลางทาง ตามขึ้นไปยังไม่ถึง กรมหลวงวงศาฯ ตั้งล้อมเมืองเชียงตุงอยู่ได้ ๒๑ วัน ทรงพระดำริเห็นว่า ถ้ากองทัพตั้งรออยู่ที่เมืองเชียงตุง ต่อไปเห็นจะทีข้าศึก ด้วยกองทัพอ่อนกำลังทั้งขัดสนเสบียงและพาหนะ จะถอยกลับได้ด้วยยาก จึงมีรับสั่งให้ถอยกองทัพมาจากเมืองเชียงตุง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีขาล พ.ศ ๒๓๙๗ กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ถอยลงมาคราวนี้ลำบากมาก ด้วยกำลังเป็นฤดูฝน ผู้คนและพาหนะก็เจ็บป่วยทรุดโทรม ต้องเสียทรัพย์สิ่งของแก่ข้าศึกหลายอย่าง ฝ่ายกองทัพเจ้าพระยายมราชยกขึ้นไปได้สักครึ่งทาง ทราบว่ากองทัพกรมหลวงวงศาฯ ถอยลงมาแล้ว เจ้าพระยายมราชก็ถอยกลับตามลงมา เป็นเสร็จเรื่องรบพม่าที่เมืองเชียงตุงเพียงเท่านี้
******สงครามคราวรบพม่าที่เมืองเชียงตุงที่กล่าวมานี้ เป็นครั้งที่สุดท้าย ที่ไทยกับพม่าได้ทำสงครามกัน แต่นั้นมาก็มิได้รบพุ่งกันอีกจนตราบเท่าที่พม่าเสียอิสระภาพแก่อังกฤษ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ จำนวนสงครามที่ไทยรบกับพม่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีรบกัน ๒๔ ครั้ง
ถึงครั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีรบกัน ๑๐ ครั้ง
ต่อมาถึงครั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี รบกันอีก ๑๐ ครั้ง
รวมการสงครามที่ไทยได้รบกับพม่าเป็น ๔๔ ครั้ง
ดังได้พรรณนามาในหนังสือพงศาวดารเรื่องไทยรบพม่าจบเพียงเท่านี้******
“ การแต่งหนังสือพงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า ทั้งตอนต้นซึ่งว่า ด้วยรบกันครั้งกรุงศรีอยุธยา และตอนหลังซึ่งว่าด้วยรบกันครั้งกรุงธนฯและกรุงรัตนโกสินทร์ ข้าพเจ้าได้อาศัยความแนะนำอุดหนุนของท่านผู้อื่นหลายคน ที่ได้อาศัยมากคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงช่วยเป็นที่ปรึกษาหารือเนืองนิจพระองค์ ๑ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้ช่วยแนะนำสอบสวนในข้อความอันเกี่ยวด้วยกรุงศรีอยุธยาคน ๑ พระไพรสณฑ์สาลาลักษณ์ (อองเทียน สุพินทุ) ได้ช่วยชี้แจงที่เกี่ยวข้องด้วยพงศาวดารพม่าอีกคน ๑ ข้าพเจ้ารู้สึกขอบพระคุณและขอบคุณเป็นอันมาก ”
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #254 เมื่อ: 05 มกราคม 2558, 18:56:21 » |
|
คณะทัวร์เชียงตุงจะได้เห็นสมรภูมิรบ ครั้งที่ ๒ ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้พระนิพนธ์ขึ้น ..ยังมีฐานเชิงเทิน กำแพงและอิฐเก่า ให้ชมครับ ตามรายการทัวร์นี้
วันที่ 26 ม.ค 2558 7.00 น. รับประทานอาหารเช้า 8.00 น. ออกเดินทางจากเชียงตุง ใช้เส้นทางไปยังเมืองลา ชายแดนจีน-พม่า ผ่านด่านต้าปิง-แยกบ้านแง้ก บ้านแสน ระยะทาง 90 กม. เปลี่ยนขึ้นรถปิ๊กอัพท้องถิ่นขึ้นไปสู่หมู่บ้านชาวไตหลอยใช้เวลา 30 นาที ชมวิถีชีวิตชาวไตหลอยหรือลัวะเชียงตุง ชมวัดที่สวยงามอลังการ และบ้านยาวที่จุผู้อาศัยได้ถึงร้อยคน 12.00 น.ปิ๊กนิคอาหารกล่องที่บ้านแสน 13.00 น เดินทางกลับ พักผ่อนที่โรงแรมสมาชิกใช้เวลาตามอัธยาศัย 16.00 น.ชมต้นไม้หมายเมืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ที่จอมมน หนึ่งในสามจอมของเชียงตุง ชมกำแพงและคูเมืองเก่าที่กรมหลวงวงศาธิราชสนิทยกทัพมาตีและล่าถอยไปถึงสอง ครั้งในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในภาพ มองเห็นไกลๆที่เป็นป่าและต้นไม้ใหญ่ ๑ ต้น เป็นต้นไม้หมายเมือง อยู่ในบริเวณเมืองเชียงตุงโบราณ และรอบๆตรงนั้นเป็นสมรภูมิรบมาก่อน
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #256 เมื่อ: 07 มกราคม 2558, 11:45:40 » |
|
พี่หลั่น-รัตนาพร มีคำเตือนเบื้องต้นครับ
อย่าลืม"บัตรประชาชน" ติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยนะครับ "บัตรประชาชน"สำคัญมาก จะได้ไปเชียงตุงหรือไม่ ก็"บัตรประชาชน" นี่ล่ะ??
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #257 เมื่อ: 07 มกราคม 2558, 19:05:52 » |
|
อากาศที่เชียงตุง นับถอยหลังอีก ๒ สัปดาห์ ๘ -๑๔ มกราคม มีฝนและอากาศยังคงเย็น
วันพฤหัสบดี ที่ ๘ มกราคม ท้องฟ้าแจ่มใส. สูงสุด 27° C. วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 12° C. วันศุกร์ พายุฟ้าคะนอง. สูงสุด 23° C. วันศุกร์ตอนกลางคืน พายุฟ้าคะนอง. ต่ำสุด 12° C. วันเสาร์ มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. สูงสุด 22° C. วันเสาร์ตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. ต่ำสุด 13° C. วันอาทิตย์ มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 21° C. วันอาทิตย์ตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 9° C. วันจันทร์ หมอกคลุม. สูงสุด 16° C. วันจันทร์ตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 9° C. วันอังคาร มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 17° C. วันอังคารตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 9° C. วันพุธ ที่ ๑๔ มกราคม มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 15° C. วันพุธตอนกลางคืน หมอกคลุม. ต่ำสุด 9° C.
Copyright © 2015 The Weather Underground, Inc.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #258 เมื่อ: 10 มกราคม 2558, 16:11:40 » |
|
แล้วฝนก็ตกที่เชียงตุงตามคำพยากรณ์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #259 เมื่อ: 10 มกราคม 2558, 16:13:26 » |
|
. ประตูป่าแดง ๑ จาก ๑๒ ประตูเมืองเชียงตุงที่ยังมีอยู่
ภาพในวันก่อนและในวันนี้ คณะทัวร์ก็จะเยี่ยมชมที่นี้ด้วย
วันที่ 24 มค. 2558 7.00 น. อาหารเช้า 8.00 น. ออกเดินทางไปที่ด่านพรมแดนแม่สาย ศุลกากร ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ผ่านจังหวัดท่าขี้เหล็กสู่เมืองเชียงตุง ระยะทาง 168 กิโลเมตร เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่สวยงามสอง ข้างทางเลียบแม่น้ำเลน รื่นรมย์กับนักร้องRCU 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่เมืองท่าเดื่อ ระหว่างทางมีการหยุดตรวจเอกสารเป็นระยะๆตามธรรมเนียมพม่า คณะทัวร์สามารถเข้าห้องน้ำเป็นระยะๆเช่นกัน 15.00 น.ถึงเชียงตุง เข้าที่พักโรงแรม Golden View จากนั้นCity tour ชมบ้านเมืองของชาวไทเขินที่ยังคงลักษณะแบบเก่าเอาไว้ทั้งอาคารไม้และอาคารแบบโคโลเนียล เวียนรอบหนองตุงกลางเมือง แวะกู่เจ้าฟ้า และชมประตูป่าแดง ประตูเมืองเก่าที่ยังคงเหลืออยู่แห่งเดียวในจำนวน 12 ประตู
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #260 เมื่อ: 10 มกราคม 2558, 17:53:19 » |
|
เริง
คณะของเราจะได้เห็นดอกเหมย หรือ ??
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #261 เมื่อ: 10 มกราคม 2558, 19:14:54 » |
|
ดอยเหมย ไม้ได้อยู่ในรายการทัวร์ แต่หากมีเวลาก็น่าจะแวะได้มั้ง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #262 เมื่อ: 10 มกราคม 2558, 19:16:43 » |
|
แต่ที่เพิ่มเติมในรายการทัวร์ คือตอนเย็นในวันหนึ่งจะได้พบและพูดคุยกับเจ้าอู่เมือง
เจ้าอู่เมือง ณ เชียงตุง หรือเจ้าอู่เมิง บุตรในเจ้าจายหลวง ณ เชียงตุง เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงพระองค์สุดท้าย กับเจ้านางจันแก้วมหาเทวี เขาเป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครเชียงตุงคนปัจจุบัน ต่อจากบิดาของเขา ปัจจุบันเจ้าอู่เมือง พำนักที่เมืองเชียงตุง เป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉานของพม่า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #263 เมื่อ: 11 มกราคม 2558, 09:49:06 » |
|
ช่วงนี้อากาศที่เชียงตุงเย็นลง จะเย็นจนถึง ๒๔ - ๒๗ มค.ไหมหนอ
วันอาทิตย์ ที่ 11 มค. มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 22° C. วันอาทิตย์ตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 10° C. วันจันทร์ มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 22° C. วันจันทร์ตอนกลางคืน หมอกคลุม. ต่ำสุด 7° C. วันอังคาร มีเมฆคลุมเป็นส่วนๆ. สูงสุด 22° C. วันอังคารตอนกลางคืน ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 6° C. วันพุธ มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 21° C. วันพุธตอนกลางคืน หมอกคลุม. ต่ำสุด 9° C. วันพฤหัสบดี มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 19° C. วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 7° C. วันศุกร์ทึี 16 มค. หมอกคลุม. สูงสุด 23° C. วันศุกร์ตอนกลางคืน หมอกคลุม. ต่ำสุด 6° C.
Copyright © 2015 The Weather Underground, Inc.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #264 เมื่อ: 13 มกราคม 2558, 19:21:51 » |
|
เข้าใจว่า อากาศจะเย็นต่อเนื่องจนถึงวันที่คณะทัวร์ไปเชียงตุง
ขอตรวจสอบอากาศอีกครั้ง วันที่ ๑๘ มกราคม จะแจ้งให้ทราบถึงวันที่ ๒๖ มค.เลย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #265 เมื่อ: 13 มกราคม 2558, 19:41:21 » |
|
กำลังกลัวอยู่เรื่องคือ อากาศหนาวเย็นมาก บวกกับยังมีฝนจะเป็นอุปสรรคในการทัวร์เชียงตุง
ที่สำคัญคือ อากาศที่หนาวเย็น อาจทำให้คณะทัวร์ป่วยได้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #266 เมื่อ: 13 มกราคม 2558, 20:01:19 » |
|
เข้าใจว่าไม่มึฝนแล้วเย็นมากอย่างเดียว. ยังไงรอพยากรณ์อากาศครั้งล่าสุดครับ
แต่วันนี้ถึงวันอังคาร ที่ ๒๐ มกราคม ถอยหลัง ๑ สัปดาห์
หมายเหตุ ต่ำสุด ๓ องศา และมีฝน ตามที่พี่เหยงเข้าใจว่ามี
วันอังคาร ที่ ๑๓ มกราคม มีเมฆคลุมเป็นบางส่วน. สูงสุด 71° F. / 22° C. วันอังคารตอนกลางคืน ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 42° F. / 6° C.
วันพุธ ท้องฟ้าแจ่มใส. สูงสุด 69° F. / 21° C. วันพุธตอนกลางคืน ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 37° F. / 3° C.
วันพฤหัสบดี ท้องฟ้าแจ่มใส. สูงสุด 73° F. / 23° C. วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 39° F. / 4° C.
วันศุกร์ ท้องฟ้าแจ่มใส. สูงสุด 75° F. / 24° C. วันศุกร์ตอนกลางคืน ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 42° F. / 6° C.
วันเสาร์ มีเมฆคลุมเป็นบางส่วน. สูงสุด 75° F. / 24° C. วันเสาร์ตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 53° F. / 12° C.
วันอาทิตย์ มีเมฆคลุมไปทั่ว. สูงสุด 69° F. / 21° C. วันอาทิตย์ตอนกลางคืน มีเมฆคลุมเป็นส่วนๆ. ต่ำสุด 48° F. / 9° C.
วันจันทร์ มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. สูงสุด 68° F. / 20° C. วันจันทร์ตอนกลางคืน มีโอกาสเกิดฝนตก. ต่ำสุด 44° F. / 7° C.
วันอังคาร ที่ ๒๐ มกราคม มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 20° C. วันอังคารตอนกลางคืน มีเมฆคลุมเป็นบางส่วน. ต่ำสุด 9° C.
Copyright © 2015 The Weather Underground, Inc.
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #268 เมื่อ: 15 มกราคม 2558, 17:09:03 » |
|
ข่าวดี ..ดีมากๆ คราหน้าไปกันเองได้แล้ว
บขส.ขยายเส้นทาง ตปท. รับเออีซีปี 58 เพิ่มเที่ยวรถไปเมียนมาร์ วิ่งเชียงใหม่-เชียงตุง และแม่สอด-เมียวดี หลังนำร่องวิ่งไปกัมพูชา และลาว ล่าสุด เปิดเส้นใหม่กทม.-เวียงจันทน์ ส่วนผลประกอบการปี 57 รายได้หด หลังการเมืองวุ่น น้ำมันถูกคนแห่ขับรถใช้เอง...
เมื่อวันที่ 14 ม.ค. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ในปีนี้ บขส.มีแผนขยายเส้นทางเดินรถโดยสารไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปี 58 โดยจะเปิดเส้นทางไปประเทศเมียนมาร์เพิ่ม 2 เส้นทาง คือ เชียงใหม่-เชียงตุง และแม่สอด-เมียวดี ซึ่งจะทำให้ บขส.มีเส้นทางรถโดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิม 14 เส้นทาง เพิ่มเป็น 16 เส้นทาง
---------------------------------------------------------------------
เมียวดี หรือพม่าเรียก มยะวะดี เป็นเมืองชายแดนด้านตะวันออกของประเทศพม่า ติดกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ของประเทศไทย โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเขตกั้น เชื่อมด้วยสะพานมิตรภาพไทย-พม่า เป็นตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งพม่าจัดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
เมียวดีหรือที่ชาวพื้นเมืองเรียก บะล้ำบะตี๋ เป็นเมืองที่มีเขตติดต่อกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ของไทย ซึ่งเมืองเมียวดีอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่เป็นพม่า ต่อมาเริ่มมีการค่าขาย มีชาวจีน แขก กะเหรี่ยง มุสลิม เข้ามาอยู่ มาค้าขาย และเป็นเมืองเปิด ในตัวเมืองมีโรงพยาบาล วัด โรงเรียน สถานีตำรวจ ตลาด และมีสถานที่ท่องเทียวอีกมากมาย การปกครองเป็นแบบท้องถิ่นมีทหารพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยผสมร่วมด้วย การสัญจรทางรถยนต์ เมียวดีถือได้ว่าเป็นเส้นทางขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออก ทางรถยนต์ทางหลักจากประเทศไทย และอินโดจีน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #269 เมื่อ: 15 มกราคม 2558, 19:19:19 » |
|
พยากรณ์อากาศเชียงตุง ได้มาอีกสองวันแล้ว คือวันพุูธที่ ๒๑ มค. และวันพฤหัสที่ ๒๒ มกราคม ต่ำสุดอาจเป็นที่ยอดดอยครับ พื้นราบคงไม่น่าเย็นถึงขนาดต่ำสุด วันพุธที่ ๒๑ มค. มีเมฆคลุมเป็นบางส่วน. สูงสุด 23° C. วันพุธตอนกลางคืน ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 5° C. วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มค. มีเมฆคลุมเป็นส่วนๆ. สูงสุด 25° C. วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน มีเมฆคลุมเป็นบางส่วน. ต่ำสุด 5° C.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #270 เมื่อ: 16 มกราคม 2558, 21:29:27 » |
|
น้องเริง
เมื่อวานนี้เป็นไข้ อาการเริ่มดีขึ้นมากในวันนี้ เห็นอุณหภูมิต่ำสุดแล้วกลัวจริงๆ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #271 เมื่อ: 17 มกราคม 2558, 07:57:44 » |
|
ครับ. คงเย็นประมาณนี้ พื้นราบคงสัก. 12องศา สายคงดีขึ้น แต่บ่ายเย็นอีกต้องรีบอาบน้ำ ยังไงเสื้อกันหนาวหนาเผื่อไว้ครับ
ในวันทึี่23 มค.ครบสามเดือนกับยี่สิบสองวันทึ่เตรียมการและคุยเรื่องนี้กันครับ
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #274 เมื่อ: 17 มกราคม 2558, 20:11:52 » |
|
Updated รายชื่อจากไลน์เชียงตุงในวันนี้ครับ
รายชื่อนักท่องเที่ยวเชียงตุง วันที่ ๒๓-๒๗ มกราคม ๒๕๕๘ จัดตามห้อง ๑.คุณศิริวรรณ จันทราชโลธร-คุณณัฐิมาศ อักษรนิตย์ ๒.คุณนราพร รังสิมันตกุล-คุณจารุวรรณ ภู่สว่าง ๓.คุณพิเชษฐ์ เชื่อมวราศาสตร์-คุณศิริชัย ตั้งสุขสมบูรณ์ ๔.คุณประทาน ป้อมจักรศิลป์-คุณศิริวรรณ ป้อมจักรศิลป์ ๕.คุณฉัตรแก้ว เสสะเวช-น้องจิ๋ม ๖.คุณจิรศักดิ์ เอื้อสุนทรวัฒนา-คุณธิดา เอื้อสุนทรวัฒนา ๗.คุณวรเทพ สวัสดี-คุณชุติมา สวัสดี ๘.คุณสมลักษณ์-คุณบุญเพิ่ม เจียมธีระนาถ ๙.คุณญาณี แจวเจริญ-คุณน้ำทิพย์ ลีวิสุทธิกุล ๑๐.คุณดนัย ยังคง-คุณเพ็ญพรรณ ยังคง ๑๑.คุณจิระ ศรีแสงฟ้า-คุณพรพินิจ พัฒนสุวรรณา ๑๒.คุณดารณี โชติกันตะ-คุณพรรณพร โชติกันตะ ๒๕.คุณเริง กองแก้ว ๒๖.ดร.รัตนาพร เศรษฐกุลวิทยากร และมัคคุเทศก์
|
|
|
|
|