22 พฤศจิกายน 2567, 22:09:01
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 27  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยวอีก  (อ่าน 285264 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #575 เมื่อ: 27 มีนาคม 2558, 15:55:11 »



เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

2. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่ามหาวิทยาลัย

3. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต

4. เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง

5. จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ บ่งบอกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระประสงค์อยากให้สถานที่แห่งนี้เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตกาล

6. เหตุที่ให้ชื่อมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณ์" เพราะว่า มีการสืบต่อเนื่องมาจากโรงเรียนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ชื่อแรกคือ " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " --> "โรงเรียนมหาดเล็ก" -->" โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " --> " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่าใช้ชื่อเกี่ยวกับพระราชบิดาของพระองค์มาโดยตลอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ University of Prince Chulalongkorn

7. เมื่อก่อนชื่อ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-"

8. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป (ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน 5 พระองค์)

9. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือ เงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า"

10. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาฯ นอกจากนี้ ได้พระราชทานเงินทุน เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน

11. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปีพ.ศ.2442 ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า "สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน" (ร้อยกว่าปีผ่านมา...)

12. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรก คือ รัฐศาสตร์,วิดวะ ,แพทย์ และ อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

13. คณะรัฐศาสตร์ มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2442 (ร.ศ.118) ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า "คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์” ในปี พ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์มาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย

14. เมื่อก่อน ศิริราช คือ คณะแพทย์ของจุฬาฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬา ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกตั้ง คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ดังนั้น คณะแพทย์ ที่สังกัดจุฬาจึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง(พ.ศ.2490) และนับเป็นรุ่นที่ 1(พ.ศ.2496) ตั้งแต่นั้นมา

15. จะเห็นได้ว่า ชาวคณะรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์/ทันตะ/เภสัช จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล

16. “พระเกี้ยว” พระพิจิตรเลขาประจำรัชกาลที่ 5 เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ทุกคน

17. เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน (ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา)

18. เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์

19. สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

20. จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาปลูกด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เอง และมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่า “ดอกสีชมพู” เป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"

21. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต นอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498
(เป็นเกียรติ เป็นศรี เป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่า “จุฬาลงกรณ์”)

22. จุฬาฯ แทบจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่บังคับให้นิสิตแต่งกายถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เพราะถือว่าที่นี่เป็น Original เอามาก ๆ ทำกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2459 จนถึงปัจจุบันนี้ พอน้อง ๆ ที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ พวกรุ่นพี่ก็จะต้องอบรมสั่งสอนเรื่องการแต่งกายแบบเข้มงวดมาก ๆ โดยเฉพาะน้องปี 1 หญิง-จะบังคับให้ใส่กระโปรงพลีตและรองเท้าหนังสีขาวล้วนเท่านั้น ชาย-ต้องผูกเน็คไทด์ ส่วนพวกรุ่นพี่ก็ต้องคอยดูแล ควบคุมการแต่งกายของทั้งน้องปี 1 และของตัวเอง ให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด พวกเราชาวจุฬาฯ ควรจะภาคภูมิใจในเครื่องแบบนิสิตซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานมาให้และรักษากฎระเบียบเพื่อความเรียบร้อย สวยงามและได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ว่าที่นี่นิสิตมีวินัย ให้เกียรติสถาบัน ดูงามตาน่ามอง (สมกับคำขวัญที่ว่า " แต่งกายสง่างาม สมพระนามจุฬาลงกรณ์ ")

23. จีบด้านหลังของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนสไบ (สะ-ไบ) แปลว่า ผ้าแถบ,ผ้าห่มผู้หญิง ส่วนที่ตลบกลับตรงท้องแขนของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนพาหุรัด แปลว่า เครื่องประดับ,กำไลแขน,ทองต้นแขน ซึ่งเป็นเครื่องประดับชั้นสูง

24. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดขึ้นที่จุฬาฯ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก

25. เป็นประเพณีในวันที่พี่บัณฑิตได้รับพระราชทานปริญญานั้น พี่ ๆ เขาจะให้สตางค์แก่น้องปี 1 ด้วย

26. ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อหลายสิบปีผ่านมาแล้ว ผู้ร่วมเหตุการณ์หลาย ๆ คนคงยังจำได้แม่นยำขึ้นใจ โดยเฉพาะนิสิตชายคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ปี 5 ที่โดนคัดชื่ออกจากจุฬาฯ ในปีการศึกษาสุดท้ายของตนคนนั้น ...ในขณะรถยนต์พระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคลื่อนที่ผ่านพิธีตั้งซองรับเสด็จฯ ของนิสิตปี 1 ... นิสิตชายคนนั้นได้วิ่งเข้ามาขวางรถยนต์พระที่นั่งและหมอบกราบลงกับพื้นถนน ... ท่ามกลางความตื่นตกใจของทุกคน ณ ตรงนั้น ... นิสิตชายคนนั้นได้ถวายฎีกาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเขาถูกคัดชื่อออกเพราะมีเรื่องวิวาทกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งโดนคัดชื่อออกจากจุฬาฯ เช่นกัน ... เขาขอศึกษาต่อ เพราะเป็นปีสุดท้ายแล้ว ในปีนี้เพื่อน ๆ ร่วมชั้นปีได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรกันหมด แต่เขาถูกเพิกถอนสิทธิ์ศึกษาต่อในจุฬาฯ ... ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำความนี้เข้าที่ประชุม และให้นิสิตชายคนนั้นได้ศึกษาต่อ ... ในปีการศึกษาถัดมา เขาได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... เขาได้เข้าถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถาปนิก ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดีตลอดอายุการทำงานของเขา ... เมื่อปลายปี 2547 เขาคนนี้เพิ่งเกษียณอายุงานจากการเป็นสถาปนิกในพระบรมมหาราชวังตลอดมา

27. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"

28.สมเด็จพระเทพฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

29. สมเด็จพระเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งพระยศเป็นเจ้าฟ้า ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 (สำหรับเรื่องนี้ก็ไปดูที่หอประวัติชั้นสองได้เช่นกัน มีพระฉายาลักษณ์ของท่านที่ติดอยู่กับบัตรห้องสมุดและบัตรประจำตัวนิสิตด้วย มีคำบรรยายประกอบพร้อมสรรพ)

30. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา 2548

31. จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวที่มีสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ 4 พระองค์ ได้แก่
- 4 ตุลาคม 2461 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เสด็จมารับราชการที่จุฬาฯ นับเป็นเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาฯ ในครั้งนั้นท่านทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์
- พ.ศ. 2467-2468 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสอนวิชา vertebrate anatomy แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทรงริเริ่มและสอนวิชาอารยธรรมและประวัติศาสตร์แก่นิสิตทุกคณะที่ลงทะเบียน ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สอง
- มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศส และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อพระองค์ท่านมีทรงงานเยอะขึ้น จึงต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย) พระองค์ท่านทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สาม
- พ.ศ. 2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอนวิชาอารยธรรมแก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามโครงการการศึกษาทั่วไป ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สี่

32. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอน-หลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่น ๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้

33. จุฬาฯ มี 5 ฝั่งนะ ฝั่งแรก คือ ฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ.....ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ...ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช...ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งหลังมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวช,จิตวิทยา,วิทย์ฯกีฬา และคณะพยาบาล ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่ง ร.พ. จุฬาฯ คือ ที่ตั้งของ คณะแพทยศาสตร์

34. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่ใช่ของจุฬาฯ แต่เป็นของสภากาชาดไทย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #576 เมื่อ: 28 มีนาคม 2558, 19:27:50 »

พระบรมราชานุสาวรีย์ที่ให้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน [ สวัสดิ์ จงกล ]

“...เมื่อได้กล่าวถึงโรงเรียนนี้ ว่าจะเปนการสงเคราะห์แต่ตระกูลเจ้านายดังนี้ ใช่ว่าจะลืมตระกูลข้าราชการและราษฎรเสียเมื่อไร โรงเรียนที่มีอยู่แล้วแลที่จะตั้งขึ้นต่อไปภายน่า โดยมากได้คิดจัดการโดยอุส่าห์เต็มกำลังที่จะให้เป็นการเรียบร้อย พร้อมเพรียง เหมือนอย่างโรงเรียนนี้ แลคิดจะให้แพร่หลายกว้างขวาง เปนคนที่ได้เรียนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งจะมีโรงเรียนวิชาอย่างสูงขึ้นไปอีกซึ่งกำลังคิดจัดอยู่บัดนี้ เจ้านายตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้าว่าขุนนางว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึ่งขอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุส่าห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้”

  พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่พระราชวงศ์ และข้าราชการซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานของโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ที่อัญเชิญมาข้างต้นนี้เป็นพระราชปณิธานซึ่งแสดงให้ว่าทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา (ทรงใช้คำโรงเรียนวิชาอย่างสูง) ให้มีขึ้นในกรุงสยามเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยทุกคนมีโอกาสเล่าเรียนเสมอกันพระราชปณิธานนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งดังปรากฏในพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ผู้ที่ชุมนุมงานพระราชพีธีวาง ศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตึกอักษรศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน) เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ดังนี้

  “วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้วในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีเหตุติดขัด ซึ่งการจะยังดำเนินไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์โดยรู้ว่าเมื่อทำได้สำเร็จแล้วจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเรา เป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์อันใหญ่และถาวรเช่นนี้ ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย”






  พระราชปณิธานและพระราชดำรัสที่อัญเชิญมานี้ชี้ให้เห็นพระราชปรารถนาที่จะให้พสกนิกรของพระองค์มีโอกาสศึกษาหาความรู้เท่าเทียมกันนับตั้งแต่การศึกษาขั้นต้นจนถึงระดับอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยพระราชทานพระราชดำริว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมี 2 แนวทางคือตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเลย กับค่อย ๆ พัฒนาสถาบันซึ่งทรงมีพระราชปณิธานจะให้เป็นมหาวิทยาลัยตามกำลังจะประมาณ การจัดตั้งอย่างแรกทรงเห็นว่าสิ้นเปลืองมากและจะไม่มีงบประมาณดำเนินงานกิจการอื่นเลย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งและเตรียมการให้สำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย

  ในขณะเดียวกันก็ทรงสนับสนุนให้เปิดโรงเรียนวิชาชีพชั้นสูงในหลายสาขาวิชาขึ้นเพื่อผลิตคนเข้าทำงาน เหตุที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะอนุมานจากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นองค์รัชทายาทผู้ทรงรับพระบรมราโชบายและทรงทราบพระราชปรารถนาในสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นอย่างดี จึงทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นมหาวิทยาลัยตามพระบรมราโชบายแลพระราชปรารถนาแห่งสมเด็จพระชนกธิราชของพระองค์ และในที่สุดก็ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  ที่นำเสนอเรื่องนี้เพื่อประสงค์จะให้นิสิตใหม่ทุกท่านได้ตระหนักถึงเกียรติประวัติของมหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักเคารพของเราว่าสถาบันนี้ไม่ใช่เป็นเพียงมหาวิทยาลัย แต่เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระปิยมหาราชให้เจริญก้าวหน้ายั่งยืนตลอดไป จุดประสงค์อันสำคัญและยิ่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยนี้ก็คือจะต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้ามาศึกษาหาความรู้ ขอให้นิสิตใหม่ทุกท่านแสวงหาความรู้ฝึกทัศนคติและทักษะในวิชาชีพของท่านให้เต็มตามศักยภาพของท่านแล้วทำงานรับใช้บ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

  หากท่านเข้าใจและทำสำเร็จท่านก็จะเป็นผู้ที่ถวายความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระบรม ราชูปถัมภกทั้งสองพระองค์ รวมทั้งจะเป็นการแสดงความรักจุฬาฯ ที่มีคุณค่าทั้งต่อตัวท่านเองและสถาบันแม่ของเรา
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #577 เมื่อ: 28 มีนาคม 2558, 19:39:46 »

พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงมีคุณานุปการต่อจุฬาฯ : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

    " ด้วยวันที่ 25 ตุลาคม ศกนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การพระราชทานปริญญาครั้งนี้เป็นครั้งแรกอันพึงบังเกิดขึ้นในประเทศสยาม
    สำนักท่านเป็นสำนักศึกษาแห่งหนึ่ง ถ้าท่านสนใจในเรื่องนี้จะแต่งผู้แทนไปประชุมในการนี้แล้ว มหาวิทยาลัยยินดีต้อนรับ และขอเชิญไป ณ ตึกมหาวิทยาลัยด้านถนนสนามม้า เวลา 16.30 นาฬิกา......"

จดหมายเชิญฉบับนี้มหาวิทยาลัยส่งไปยังหน่วยงาน 11 แห่ง อาทิ สยามโซไซเอตี อัลลิยะ อังซ์ ฟรังเซส์ โซซิเอตา อันเตลิเฆียรี กรมยุทธศึกษาทหารบก กรมยุทธศาสตร์ทหารเรือ สภากาชาดสยาม วชิรพยาบาล มหามงกุฎราชวิทยาลัย ราชบัณฑิตยสภา กรมร่างกฎหมายและโรงเรียนกฎหมาย ผู้ที่ได้รับเชิญครั้งนั้นมีหลายกลุ่ม ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม กระทรวงวัง กรมราชเลขาธิการ กรมพระคลังข้างที่ เอกอัครราชทูตของประเทศที่ส่งมาประจำในประเทศไทย อาจารย์พิเศษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์เก่า บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ และผู้เกื้อหนุนโรงพยาบาลศิริราช


      

    พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 นี้ จัดให้มีขึ้นที่ห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ในปัจจุบัน) พระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิตหรือแพทยศาสตรบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิธีเริ่มเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์และผู้ร่วมพิธีเข้าสู่ห้องประชุมแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม ทรงจุดเทียนชะนวนที่พระพุทธรูปและพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ (มหาอำมาตย์เอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรครั้งนั้นยังไม่ได้ทรงกรม) ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัยสองท่าน คือ บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชาผู้บัญชาการ (อธิการบดีในปัจจุบัน) และบัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ ศ.นพ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่าง พ.ศ.2478 - 2479)

ต่อจากนั้นผู้บัญชาการของมหาวิทยาลัยกล่าวกถาญัตติกรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานประกาศนียบัตร (ปริญญาบัตรในปัจจุบัน) บัณฑิตใหม่กล่าวคำปฏิญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรางวัลเหรียญทองคำและเหรียญเงินสำหรับผู้ได้คะแนนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตร 4 ปี เหรียญทองแดงสำหรับผู้ได้คะแนนเป็นที่ 1 ในแผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์ แผนกพยาธิวิทยา แผนกสรีรวิทยาและแผนกกายวิภาควิทยา ทั้งในปี พ.ศ. 2471 และ 2472 ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2471 จำนวน 18 คน ใน พ.ศ. 2472 จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้นเป็นเวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน) 34 คน

ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาท จากนั้นจึงถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ถวายอดิเรกและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินกลับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #578 เมื่อ: 29 มีนาคม 2558, 07:32:51 »



พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๔๙๒ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓

อธิการบดี และสมาชิกแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่มีโอกาสมางานแจกปริญญาบัตรในวันนี้ และขอบใจที่ทางมหาวิทยาลัยให้ปริญญากิตติมศักดิ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตอันเป็นปริญญาสูงสุดแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะรักษาเกียรติแห่งปริญญานี้ไว้ทุกประการ

ตามรายงานที่อธิการบดีได้อ่านมาแล้ว แสดงว่าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้เจริญขึ้นมากทั้งนี้เนื่องจากผลงานที่บรรดาศาสตราจารย์ อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทุกๆคนได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าสถานศึกษานี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบ้านเมือง เมื่อพิจารณาดูจาก "ทุนอุดหนุนการศึกษา" ก็เห็นได้ชัดว่า จำนวนผู้อุปการะให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยมีมากอย่างน่าปลื้มใจ

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาและอนุปริญญาในวันนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีด้วย เพราะการที่จะบรรลุถึงผลขั้นสุดท้ายของการศึกษา เช่นที่ได้ปฏิบัติมานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและน่าสรรเสริญ แต่ขอให้นึกอยู่เสมอว่า เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่เอาใจใส่เฝ้าดูการกระทำของท่านอยู่ต่อไป ใครทำดีก็ได้รับคำชมเชยและสรรเสริญ ใครทำไม่ดีเขาก็จะพากันติ และพลอยติชมถึงสถานศึกษาของท่านด้วย ชื่อมหาวิทยาลัยของท่านคือ "จุฬาลงกรณ์" จะติดตัวท่านไปด้วยเสมอไม่ว่าจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ฉะนั้น ทุกๆครั้งที่ท่านจะกระทำการสิ่งใดลงไปจงคิดแล้วคิดอีก ทบทวนดูทั้งทางได้ทางเสียให้แน่ชัดเสียก่อน

"จุฬาลงกรณ์" หาได้เป็นแต่เพียงชื่อของมหาวิทยาลัยนี้เท่านั้นไม่ ยังเป็นนามของผู้พระราชทานกำเนิดของสถานที่แห่งนี้ด้วยฉะนั้น จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนไปจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนี้

ข้าพเจ้าขออวยพร ให้ท่านทั้งหลายที่มาประชุมอยู่ ณ ที่นี้ จงมีความสุขความเจริญโดยทั่วกัน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #579 เมื่อ: 30 มีนาคม 2558, 07:55:44 »

ทรงพระเจริญ
















      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #580 เมื่อ: 30 มีนาคม 2558, 13:20:34 »



นักโบราณคดีจากประเทศสเปน ที่ศึกษาวิจัยโครงกระดูกที่ค้นพบที่เมืองอัสวาน ประเทศอียิปต์ พบว่าโครงกระดูกที่พบ เป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่มีอายุเก่าแก่ถึง 4,200 ปี และยังพบด้วยว่า หญิงรายนี้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งถือเป็นการค้นพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่าโรคมะเร็ง ไม่ใช่โรคสมัยใหม่แต่อย่างใด

โดยกระทรวงดูแลกิจการโบราณคดีของอียิปต์ ออกแถลงการณ์ถึงการค้นพบดังกล่าวว่า โครงกระดูกของผู้หญิงที่นักโบราณคดีขุดค้นพบว่าถูกตรวจพบว่า กระดูกมีส่วนที่ถูกทำลายอันเนื่องมาจากการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งเต้านม จากการตรวจสอบหลังกฐานเบื้องต้นพบว่าหญิงรายนี้น่าจะเป็นหญิงสูงศักดิ์ที่อาศัยอยู่บนเกาะเอเลฟานทีนี บริเวณริมแม่น้ำไนล์ ในช่วงราชวงศ์ที่ 6 ของอียิปต์ คือช่วง 2325-2150 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพบหลักฐานว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในยุคโบราณ เพราะเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา นักโบราณคดีได้ค้นพบโครงกระดูกเก่าแก่อายุถึง 3,000 ปี ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ที่สุสานแห่งหนึ่งในประเทศซูดานปัจจบัน และเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการทำเอ็มอาร์ไอมัมมี่ไซบีเรียตนหนึ่ง ที่มีอายุเก่าแก่ 2,500 ปี และพบว่ามัมมี่ตนนั้นเป็นโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเท่ากับว่าการค้นพบโครงกระดูกของผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมล่าสุดนี้ เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก เพราะมีอายุถึง 4,200 ปี...เดลินิวส์ 30. มีนาคม 2558
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #581 เมื่อ: 30 มีนาคม 2558, 17:36:57 »



พระราชทานอภัยโทษ 5 รอบ 'สมเด็จพระเทพฯ'
“อภัยโทษ” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ สมเด็จพระเทพฯ ปล่อยทันที นักโทษทุพลภาพ ป่วยโรคร้าย ชรา นักโทษหญิงจำคุกครั้งแรกอายุไม่ครบ 20 ปี ลดโทษประหารชีวิตเหลือจำคุกตลอดชีวิต จำคุกตลอดชีวิตเหลือ 50 ปี นักโทษยาเสพติดโทษไม่เกิน 8 ปี ให้ลดโทษตามลำดับชั้น

วันจันทร์ 30 มีนาคม 2558 เวลา 16:09 น.
เมื่อวันที่  30 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 30 มี.ค. พระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เม.ย. 58 ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยหลักเกณฑ์ผู้ต้องขังที่มีสิทธิได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวมีดังนี้ ต้องเป็นผู้ต้องขังที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ หรือเป็นผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ พิการ ทุพลภาพอย่างเห็นได้ชัด เจ็บป่วยด้วยโรคที่ได้รับการตรวจรับรองเอกฉันท์ว่าไม่สามารถรักษาในเรือนจำให้หายได้ เช่น โรงเรื้อน ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง เอดส์ โดยจะต้องเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนด

กรณีหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรกไม่ว่าความผิดเดียวหรือหลายคดีซึ่งต้องรับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนด เป็นคนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปี ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือคนที่มีอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป เป็นผู้ต้องโทษจำคุกครั้งแรกและมีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยต้องได้รับโทษาจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นดีเยี่ยม ซึ่งมีโทษจำคุกเหลือไม่เกิน 2 ปี

สำหรับผู้ต้องขังเด็ดขาดที่ไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษมีดังนี้ ผู้ต้องขังเด็ดขาดต้องโทษประหารชีวิต ให้เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เปลี่ยนเป็นจำคุก 50 ปี แล้วให้ลดโทษตามลำดับชั้น ประกอบด้วย ชั้นเยี่ยม 1 ใน 5 ชั้นดีมาก 1 ใน 5ชั้นดี 1 ใน 6 ชั้นกลาง 1 ใน 7 ส่วนผู้ต้องขังคดียาเสพติดโทษจำคุกไม่เกิน 8 ปี มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ชั้นเยี่ยมลดโทษ 1 ใน 7 ชั้นดีมาก 1 ใน 8 ชั้นดี 1 ใน 9 และชั้นกลาง 1 ใน10...... .มติชน 30 มีนาคม
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #582 เมื่อ: 30 มีนาคม 2558, 18:20:08 »

มาร่วมงานที่โรงเรียนลูกชายเรียน







      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #583 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558, 11:09:15 »

ตามไปเที่ยว รร.สวนกุหลาบ นนทบุรีแล้ว
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #584 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558, 13:42:20 »




โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี : Suankularb Wittayalai Nonthaburi School (อักษรย่อ: ส.ก.น., S.K.N.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษาในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิทยานนท์กองการมัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชื่อเดิม: กรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ
โดยกรมสามัญศึกษา ได้รับบริจาคที่ดิน จากนายผาสุก และนางเง็ก มณีจักร สองสามีภรรยา คหบดีชาวอำเภอปากเกร็ด ที่มีความประสงค์ให้สร้างโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย บนพื้นที่ดังกล่าว จึงเกิดการประสานงานจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคมพ.ศ. 2521 เดิมให้ชื่อไว้ว่า “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒ (ผาสุก มณีจักร)” และมอบหมายให้ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รักษาราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน จนถึงปลายปีถัดมา จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #585 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558, 20:08:07 »

40 ราชภัฏ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านการศึกษา “สมเด็จพระเทพฯ”
       
       ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เพชรบุรี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 ทปอ.มรภ. มีมติร่วมกันที่ มรภ. ทั้ง 40 แห่ง ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านการศึกษา แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ด้วยทรงสร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เพื่อช่วยนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เพื่อไปประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #586 เมื่อ: 01 เมษายน 2558, 08:12:35 »

ทรงพระเจริญ










      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #587 เมื่อ: 01 เมษายน 2558, 21:25:16 »

ทรงพระเจริญ





ที่มา..เดลินิวส์ออนไลน์
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #588 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 06:22:53 »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ

โดยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์แรก ที่ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์ที่ “สยามบรมราชกุมารี” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นานัปการในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์อันเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประเทศชาติ พระองค์ทรงเรียนรู้งานด้านการพัฒนาจากการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบทห่างไกลและท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร ทำให้ทรงทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของความยากจน การขาดแคลนอาหาร ปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัย บริการด้านสาธารณสุข ตลอดจน ปัญหาด้านการศึกษา จึงเกิดโครงการพัฒนาตามพระราชดำริขึ้น เพื่อช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนผู้ยากไร้ในชนบท

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มงานพัฒนาในปี พ.ศ. 2523 โดยทรงทดลองทำ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 3 โรง ประกอบด้วย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแจง ตำบลศรีมงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งศาลา ตำบลป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก ตำบลไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงพระราชดำริส่งเสริมให้นักเรียนปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แล้วนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันรับประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้

การระบาดของ โรคคอพอกเนื่องจากการขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงแก้ไขปัญหานี้โดยทรงริเริ่มโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนด้วยการรณรงค์ให้มีการใช้เกลือไอโอดีนหรือหยดไอโอดีนในการประกอบอาหาร และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขาดไอโอดีน พระองค์ยังให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพอนามัยของแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร ทรงตระหนักว่าคนเราจะมีภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่ดีนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา พระองค์จึงเริ่ม โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้แม่และเด็กได้รับบริการทางด้านอนามัยและการโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม

นอกจากการพัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการดีและสุขภาพแข็งแรงแล้ว ทรงพัฒนาศักยภาพของเด็กในด้านการศึกษาด้วย ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐ โดยใน พ.ศ. 2526 มีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ พร้อมที่จะไปศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

พระองค์ทรงสนพระทัยใน ด้านศาสนา เนื่องจากทรงได้รับการอบรมให้มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยพระองค์มักจะได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พิธีเวียนเทียนที่พุทธมณฑล เนื่องในวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา การถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น

ไม่เพียงงานพัฒนา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังสนพระทัย งานศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทย ซึ่งพระองค์ทรงสนับสนุนในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากด้านดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยทั้งในด้าน การช่างไทย นาฏศิลป์ไทย งานพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย

พระองค์มีพระราชดำริว่า ควรจะมีการถ่ายทอดงานด้านวัฒนธรรมไปสู่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ผ่านกระบวนการจัดการศึกษาอบรม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้เรียนรู้ ตระหนักความสำคัญ รักและผูกพันในศิลปวัฒนธรรมของชาติ สามารถสืบทอดเพื่อการอนุรักษ์และอาจพัฒนาเป็นอาชีพได้ ทรงสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” เมื่อ พ.ศ. 2531และ “วิศิษฏศิลปิน” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา รวมทั้ง ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ

ด้วยพระวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติกิจการอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและประชาชน อันเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทย และนานาอารยประเทศ จึงทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ พระเกียรติคุณ ตำแหน่งเกียรติยศ และปริญญากิตติมศักดิ์ จากสถาบัน หน่วยงานและองค์กร ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศจำนวนมาก


ทีมวาไรตี้    เดลินิวส์ 2 เมษายน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #589 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 08:47:05 »







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #590 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 14:10:47 »





เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 2 เม.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าวาสุกรี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งกรมประมงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2558 และทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา เป็นพันธุ์ปลาไทย 9 ชนิด ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลายี่สกไทย ปลาโพง ปลาหมอไทย ปลากราย ปลากระแห ปลาสร้อยขาว ปลาบึก รวมจำนวน 590,000 ตัว และปลากระเบนเจ้าพระยา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัว 1.5 เมตร จำนวน 1 ตัว ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา..

ข่าว. เดลินิวส๋ 2 เมษายน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #591 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 16:30:54 »



พระราชดำรัสสมเด็จพระเทพฯ ต่อผู้มาถวายพระพรเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้บุคคลและคณะบุคคลต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองพระบาท ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2558 ในโอกาสนี้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับผู้สูงอายุและพระราชทานพรให้แก่ผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และพสกนิกรชาวไทย


ตอนหนึ่งของพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพฯ ตรัสถึงสังคมผู้สูงอายุและการเป็นครูที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าว่า

“ตอนนี้ทั้งผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ทั้งหมอ นักกายภาพ หรือแม้แต่สถาปนิก วิศวกรก็มีบทบาทอย่างมากในการสร้างบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุให้อยู่ได้อย่างสบายและปลอดภัย ก็ต้องช่วยกัน มีเรื่องเล่าอยู่นิดว่า ก่อนจะสูงอายุก็ได้ทำงานที่อาจจะไม่ได้เห็นกันทั่วๆไป

คือทำงานเป็นครูเป็นอาจารย์มา 36 ปี แต่ทำอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยฯ 35 ปี พอมาถึงตอนนี้ อีก 6 เดือน เราเป็นข้าราชการเราก็จะต้องทำงานถึงสิ้นปีงบประมาณ เจ้าหน้าที่ทางทหารเขาก็เขียนในบัตรประจำตัวว่า ‘ถึง 30 กันยายน’ ก็ถามว่า อ้าว..แล้วหลังจากนั้นจะให้ฉันทำยังไงล่ะ เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวเขาออกให้อีกใบเป็นบัตรข้าราชการบำนาญ”

ในตอนท้าย สมเด็จพระเทพฯ ได้พระราชทานพรแก่ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทดังนี้

“สุดท้ายนี้ก็ขอออวยพรอีกครั้ง ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและคุณความดีของทุกๆท่าน ขอให้เป็นเครื่องคุ้มครองและทำให้ท่านมีความสุขพร้อมจตุรพิธพรชัยทุกๆ ประการและขอขอบคุณที่มาในวันนี้”

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #592 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 19:31:00 »




ธปท.ออกธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระเทพฯ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #593 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 19:58:14 »

                               
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #594 เมื่อ: 03 เมษายน 2558, 05:39:45 »



ภาครัฐ เอกชน และประชาชน พร้อมใจสวมใส่เสื้อสีม่วง ร่วมกิจกรรมจุดเทียนชัย เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ณ ท้องสนามหลวงกันอย่างเนืองแน่น

วันที่ 2 เมษายน 2558 ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมสวมใส่เสื้อสีม่วงที่มีตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เดินทางมาที่ท้องสนามหลวงเพื่อรอเข้าร่วมพิธีจุดเทียนชัยถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #595 เมื่อ: 03 เมษายน 2558, 08:18:46 »

ทรงพระเจริญ



วันนี้( 2 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “น้องน้อยของพี่ชาย” ซึ่งเป็นบทความที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชนิพนธ์ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 3 รอบ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2534
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #596 เมื่อ: 03 เมษายน 2558, 08:35:24 »










      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #597 เมื่อ: 04 เมษายน 2558, 17:19:05 »

พสกนิกรตื่นเต้น ตื่นตูม
ยืนแถวแลกแบงก์ แลกเหรียญ กับมาก
10 ล้านฉบับสำหรับคนไทย 60-70 ล้านคน ติดได้ไง??
ต้องพิมพ์รอบสองอีก 10 ล้านฉบับ จะพอรึเปล่าก็ไม่รู้
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #598 เมื่อ: 05 เมษายน 2558, 04:33:46 »




นางรัตติยา  ไชยวงศ์ นักโบราณคดีชำนาญการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย  เข้ามาตรวจสอบสิ่งที่พบที่จังหวัดสุโขทัย พบว่า วัตถุโบราณดังกล่าวเป็นชิ้นส่วนด้านหน้ากลองมโหระทึก เส้นผ่านศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย

ตรงกลางมีลายนูนต่ำพระอาทิตย์ 14 แฉก ที่ขอบมีประติมากรรมรูปกบหันทิศทวนเข็มนาฬิกา 2 ตัว ลายนูนต่ำนกกระเรียนบินทวนเข็มนาฬิกา 4 ตัว อายุไม่ต่ำกว่า 2,500 ปี

"เป็นการค้นพบที่สำคัญมาก และจากขนาดหน้ากลองที่ใหญ่ มีลวดลายสวยงาม ก็มีความหมายบ่งบอกถึงฐานะที่ไม่ธรรมดาให้กับท้องถิ่น เบื้องต้นทางคณะกรรมการชุมชนบ้านวังหาด มีมติร่วมกันว่าจะขอเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติชุมชน เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป". มติชน..๔. เมษายน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #599 เมื่อ: 05 เมษายน 2558, 22:32:46 »



นายชัยพจน์ เปิดเผยว่า แรงจูงใจที่ทำให้ตนต้องการประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา ตนได้ติดตามข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าของประเทศ บางครั้งได้ข่าวว่าประเทศพม่าหยุดการส่งแก๊สธรรมชาติให้กับประเทศไทยมาหลายครั้ง ตนจึงคิดว่าจะทดลองคิดค้นหาต้นทุนพลังงานที่ใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า พร้อมทั้งคิดหาทางแก้ไขว่าหากน้ำไม่ไหลจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร และหากกระแสไฟดับจะมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร ถึงแม้ตนจะเรียนจบแค่ชั้น ม.6 แต่ตนก็พอจะมีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าพอสมควร จึงได้ทดลองประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการลองผิดลองถูกมานานกว่า 6 ปี คิดค้นหาความรู้ทั้งเรื่องของถ่านหินหรือแม้กระทั่งนิวเคลียร์ แต่สุดท้ายก็มาคิดได้ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากแรงดันของน้ำ เหตุผลเพราะไม่ต้องใช้ทุนมากมาย จึงคิดค้นและศึกษาเกี่ยวกับการไหลของน้ำ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับการหมุนของกังหันลม จากการลองผิดลองถูกจนสุดท้ายตนก็สามารถประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จ ซึ่งต้นทุนที่นำมาผลิตประมาณ 4 แสนบาท

"สำหรับเครื่องประดิษฐ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ตนได้ไปยื่นเอกสารเพื่อจดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า “ระหัดรับน้ำแนวตั้งเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า“ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 20 กิโลวัตต์ ซึ่งเหมาะที่จะนำไปใช้กับภาคอุตสาหกรรม เช่นโรงงาน หรือโรงแรม นอกจากนี้เครื่องดังกล่าวยังสามารถปรับกระแสไฟฟ้าได้ตามที่ต้องการอีกด้วย แต่ถ้าหากต้องการกระแสไฟฟ้ามากกว่านี้ ก็จำเป็นจะต้องผลิตเครื่องประดิษฐ์ชนิดนี้ให้ใหญ่ขึ้น แต่ทางที่ดีควรจะผลิตเครื่องเท่าเดิมแต่เพิ่มจำนวนมากขึ้นตามที่ต้องการจะเหมาะกว่า สำหรับเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่ตนคิดค้นขึ้นมา สามารถนำไปใช้กับหมู่บ้านได้ทั้งตำบล โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าแรงสูง และสามารถนำไปติดตั้งที่ปลายทางตามที่ต้องการได้ด้วย" นายชัยพจน์ กล่าว

นายชัยพจน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐบาล เข้ามาให้การสนับสนุน ตนเชื่อว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าช่วยคนไทยทั้งประเทศได้อย่างแน่นอน ส่วนตัวแล้วเชื่อและมั่นใจว่าเครื่องประดิษฐ์ที่ตนคิดค้นขึ้นมาเป็นเครื่องแรกของประเทศและอาจเป็นเครื่องแรกของโลก.  ข่าวไทยรัฐ

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 27  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><