เริง2520
|
|
« ตอบ #450 เมื่อ: 31 มกราคม 2558, 07:19:01 » |
|
กรมพระยาดำรงฯ พระนิพนธ์การไปตีเชียงตุง ตีกำแพงเมืองนี้ ในครั้งที่สองไว้ว่า
เรื่องราวที่กรมหลวงวงศาสฯ เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงตุงครั้งที่สอง เมื่อปีฉลู พ.ศ ๒๓๙๖ รายการจะอย่างไร ยังไม่พบสำเนาใบบอกและท้องตรา เหมือนเรื่องที่ยกไปคราวแรกในปีชวด แต่ได้ความในจดหมายเหตุเรื่องอื่น พอทราบเรื่องราวเป็นเค้าเงื่อนได้ว่าข้อที่กรมหลวงวงศาฯ ทรงขอผู้คนและเครื่องศัสตราวุธเพิ่มเติมไปจากกรุงเทพฯ นั้น ได้รี้พลคนหัวเมืองชั้นใน กับทั้งปืนใหญ่และปืนครกและกระสุนดินดำ ส่งเพิ่มเติมขึ้นไป แต่เห็นจะไม่ได้เท่าจำนวนที่ขอ ข้อที่จะขอเกณฑ์คนตั้งแต่เมืองอุบล จนถึงเมืองหลวงพระบางมาใช้นั้นไม่โปรดอนุญาต แต่เมืองเชียงรุ้งรับอาสาจะส่งเสบียงอาหารมาให้ถึงแดนเมืองเชียงตุงอีกทาง ๑ กำลังผู้คนและพาหนะต้องเกณฑ์ในมณฑลพายัพเป็นพื้นเหมือนเมื่อคราวก่อน
พอสิ้นฤดูฝนกรมหลวงวงศาฯ ก็เสด็จขึ้นไปจากเมืองอุตรดิตถ์ ไปจัดกองทัพที่เมืองน่าน เจ้าพระยายมราชก็กลับขึ้นไปจัดกองทัพที่เมืองเชียงใหม่ กำหนดจะขึ้นไปประชุมทัพพร้อมกันที่เมืองเชียงรายในต้นเดือน ๓ แต่การเกณฑ์ทัพคราวนี้เกิดขัดข้องมากไม่สะดวกเหมือนคราวก่อน ทำนองจะเป็นผู้คนเคยไปลำบากมาแล้ว ครั้นมาถูกเกณฑ์ซ้ำเป็นคราวที่สองก็เบื่อหน่ายพากันหลีกเลี่ยงมิใคร่จะได้ตัวคน กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ได้ยกจากเมืองน่านเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ เดินทาง ๒๑ วัน จึงไปถึงเมืองเชียงราย กองทัพหลวงไปถึงเมืองเชียงรายแล้ว เสบียงพาหนะและผู้คนซึ่งเกณฑ์ทางอื่นก็ยังไม่ได้พร้อมตามเกณฑ์ เจ้าพระยายมราชก็ยังเร่งรัดผู้คนอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ กรมหลวงศาฯ จึงต้องประทับรออยู่ที่เมืองเชียงราย เสียเวลาตอนนี้ถึงเดือนหนึ่ง เพราะฉะนั้นข้อที่หมายว่าจะได้เวลาทำการสงครามนานกว่าครั้งก่อน ก็เป็นอันไม่สำเร็จเสียแต่ต้น กว่ากองทัพจะพร้อมกันที่เมืองเชียงราย เวลาล่วงเข้าไปจนถึงเดือน ๔ จึงได้ยกออกจากเมืองเชียงราย เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #451 เมื่อ: 31 มกราคม 2558, 07:20:46 » |
|
ฝ่ายข้างเมืองเชียงตุงสืบสวน รู้ความแต่ในฤดูฝนว่า ไทยจะยกกองทัพขึ้นไปอีกในฤดูแล้งปลายปีฉลู และในปีฉลูนั้นพระเจ้ามินดงได้ราชสมบัติเมืองพม่า เลิกการสงครามกับอังกฤษ เจ้าเมืองเชียงตุงบอกไปขอกองทัพพม่ามาช่วย พระเจ้ามินดงจึงให้กองทัพพม่ามีจำนวน ๓,๐๐๐ แต่ผู้ใดจะเป็นนายทัพหาปรากฏชื่อไม่ มาเกณฑ์กองทัพพวกไทยใหญ่เข้าสมทบอีก ๖,๐๐๐ ยกมาช่วยเมืองเชียงตุง ส่วนเมืองเชียงตุงเองมีจำนวนพล ๗,๐๐๐ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนข้าศึก ที่คอยต่อสู้กองทัพไทยที่ยกขึ้นไปคราวนี้ประมาณ ๑๖,๐๐๐ จึงกล้าออกมาตั้งรักษาตามหัวเมืองหลายแห่ง
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปพอเข้าแดนเมืองเชียงตุงก็ได้รบกับข้าศึกขึ้นไปทุกระยะ คราวนี้ที่ได้รบกับพม่า แต่พวกพม่าสู้ไทยไม่ได้ ต้องถอยหนีไปโดยลำดับ ถึงกระนั้นก็พอเป็นเหตุหน่วงเวลากองทัพไทยจนเดือน ๖ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ จึงยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุง เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ กองทัพหน้าเข้าไปตั้งถึงชานเมืองเหมือนคราวก่อน ส่วนกองทัพหลวงตั้งอยู่ที่เมืองเหล็ก ห่างเมืองเชียงตุงออกมาประมาณ ๑๒๐ เส้น รอกองทัพพระยายมราชซึ่งยกขึ้นมาทางเมืองหัวโป่ง แต่ทางนั้นเป็นหนทางเป็นแต่ทางกันดารยิ่งกว่าทางที่กรมหลวงวงศาฯเสด็จไป หนทางเป็นแต่ภูเขา ทั้งผู้คนช้างม้าพาหนะต้องเดินเรียงตัวกันไป เสบียงอาหารยิ่งขนส่งยาก กองทัพเจ้าพระยายมราชยกไปไม่ได้เท่าใด ก็เกิดอัตคัดต้องหยุดคอยเสบียงเสียเวลาร่ำไป จึงไปไม่ถึงเมืองเชียงตุงทันกำหนด
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปพอเข้าแดนเมืองเชียงตุงก็ได้รบกับข้าศึกขึ้นไปทุกระยะ คราวนี้ที่ได้รบกับพม่า แต่พวกพม่าสู้ไทยไม่ได้ ต้องถอยหนีไปโดยลำดับ ถึงกระนั้นก็พอเป็นเหตุหน่วงเวลากองทัพไทยจนเดือน ๖ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ จึงยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุง เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ กองทัพหน้าเข้าไปตั้งถึงชานเมืองเหมือนคราวก่อน ส่วนกองทัพหลวงตั้งอยู่ที่เมืองเหล็ก ห่างเมืองเชียงตุงออกมาประมาณ ๑๒๐ เส้น รอกองทัพพระยายมราชซึ่งยกขึ้นมาทางเมืองหัวโป่ง แต่ทางนั้นเป็นหนทางเป็นแต่ทางกันดารยิ่งกว่าทางที่กรมหลวงวงศาฯเสด็จไป หนทางเป็นแต่ภูเขา ทั้งผู้คนช้างม้าพาหนะต้องเดินเรียงตัวกันไป เสบียงอาหารยิ่งขนส่งยาก กองทัพเจ้าพระยายมราชยกไปไม่ได้เท่าใด ก็เกิดอัตคัดต้องหยุดคอยเสบียงเสียเวลาร่ำไป จึงไปไม่ถึงเมืองเชียงตุงทันกำหนด
ฝ่ายกองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุงในเดือน ๖ พอเข้าฤดูฝน กองทัพไปตั้งไม่ได้กี่วันฝนตกหนักลงมา พวกเมืองเชียงตุงยกออกมารบหลายครั้ง กองทัพไทยมีอาวุธดีกว่าก็ตีพม่าถอยกลับเข้าเมืองไปทุกที แต่ฝ่ายกองทัพไทยก็ไม่สามารถจะบุกรุกติดตามเข้าไปตีเมืองเชียงตุงได้ ด้วยตั้งแต่ฝนตกชุกลง ผู้คนในกองทัพก็พากันเจ็บป่วยชุกชุม เป็นไข้จับบ้าง เป็นบิดบ้าง ตายวันหลายๆคนไม่ขาด ที่เจ็บป่วยอยู่ก็มาก ซ้ำช้างและโคต่างพาหนะกองทัพก็เกิดโรคระบาดล้มตายลงด้วย การลำเลียงเสบียงอาหารก็เลยติดขัด
ส่วนกองทัพเจ้าพระยายมราช ก็ไปติดฝนอยู่กลางทาง ตามขึ้นไปยังไม่ถึง กรมหลวงวงศาฯ ตั้งล้อมเมืองเชียงตุงอยู่ได้ ๒๑ วัน ทรงพระดำริเห็นว่า ถ้ากองทัพตั้งรออยู่ที่เมืองเชียงตุง ต่อไปเห็นจะทีข้าศึก ด้วยกองทัพอ่อนกำลังทั้งขัดสนเสบียงและพาหนะ จะถอยกลับได้ด้วยยาก จึงมีรับสั่งให้ถอยกองทัพมาจากเมืองเชียงตุง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีขาล พ.ศ ๒๓๙๗
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ถอยลงมาคราวนี้ลำบากมาก ด้วยกำลังเป็นฤดูฝน ผู้คนและพาหนะก็เจ็บป่วยทรุดโทรม ต้องเสียทรัพย์สิ่งของแก่ข้าศึกหลายอย่าง ฝ่ายกองทัพเจ้าพระยายมราชยกขึ้นไปได้สักครึ่งทาง ทราบว่ากองทัพกรมหลวงวงศาฯ ถอยลงมาแล้ว เจ้าพระยายมราชก็ถอยกลับตามลงมา เป็นเสร็จเรื่องรบพม่าที่เมืองเชียงตุงเพียงเท่านี้
******สงครามคราวรบพม่าที่เมืองเชียงตุงที่กล่าวมานี้ เป็นครั้งที่สุดท้าย ที่ไทยกับพม่าได้ทำสงครามกัน แต่นั้นมาก็มิได้รบพุ่งกันอีกจนตราบเท่าที่พม่าเสียอิสระภาพแก่อังกฤษ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #452 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2558, 11:26:10 » |
|
อีกสอง สามวัน. จะมีภาพและเรื่องราวที่เชียงตุง ต่อครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #454 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2558, 19:14:16 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #455 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2558, 19:28:13 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #458 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2558, 19:49:23 » |
|
ยังมีอีกหลายตอนครับ
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #461 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2558, 10:13:48 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #465 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2558, 10:58:25 » |
|
และใกล้กันเห็นอาคารที่จอมพลผิน ใช้เป็นสำนักงานทีมาทำงานที่นี่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #466 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2558, 17:40:29 » |
|
พาไปชมวัด...และ.วัดครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #472 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2558, 21:14:12 » |
|
|
|
|
|
|
|
|