23 พฤศจิกายน 2567, 02:03:10
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 27  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยวอีก  (อ่าน 285348 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #225 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2557, 11:23:51 »

ชวนตามไปเที่ยวเชียงตุงอีกครั้งอีกครั้งนะ เข้มข้นกว่าเดิมแน่ และไปถึงเมืองลาด้วยครับครั้งนี้ เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #226 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2557, 18:34:49 »

ไปศรีราชา แวะสวนสาธารณะริมทะเล



ต้นคูนในหน้าฝน

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #227 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2557, 20:26:24 »

สวนแห่งนี้ไม่ได้ไปมาเกือบสิบปีแล้ว

มุ่งเน้นวันหยุดทางชะอำ หัวหิน เป็นส่วนใหญ่

เมื่อสงกรานต์ เพิ่งเข้าสวนผึ้งเป็นครั้งแรก ร้อนตับแตกเลย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #228 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2557, 10:46:04 »

ประเทศสยาม

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ดังนี้ (๑)

แต่ชาวนานาประเทศทั้งปวงเรียกนามประเทศที่เราอยู่ว่า "ประเทศสยาม" มาแต่โบราณ มีในจดหมายเหตุจีนแต่โบราณนี้ว่า เดิมทีเดียว ประเทศนี้มีสองอาณาจักรเป็นอิสระแก่กัน อาณาจักรข้างใต้เรียกว่า "หลอฮกก๊ก" (ละโว้) อาณาจักรข้างเหนือเรียกว่า "เสียมก๊ก" (สยาม) ต่อมา สองอาณาจักรนั้นรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน จีนจึงเรียกนามรวมกันว่า "เสียมหลอฮกก๊ก" ต่อมา ละคำ "ฮก" ออกเสีย คงเรียกแต่ว่า "เสียมหลอก๊ก" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ พิเคราะห์ความตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนซึ่งกล่าวมา สันนิษฐานว่า เดิมทีเดียว ชาวต่างประเทศเห็นจะเรียกประเทศนี้ว่าสยามทั้งหมด ครั้นพวกขอมขยายอาณาเขตเข้ามาถึงประเทศนี้ มาตั้งเมืองลพบุรีเป็นราชธานี จึงปรากฏนามอาณาเขตขอมที่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า อาณาเขตละโว้ ตามนามเดิมของเมืองลพบุรี ดินแดนอันมิได้อยู่ในอาณาเขตละโว้พวกชาวต่างประเทศก็ยังคงเรียกว่าสยามอยู่อย่างเดิม ครั้นพระร่วงตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ ชาวต่างประเทศจึงเรียกราชอาณาจักรสุโขทัยตามนามเดิมว่า "สยามประเทศ" ครั้นเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้วรวมราชอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นอาณาจักรอันเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้จีนเปลี่ยนนามเรียกว่า "เสียมหลอฮกก๊ก"

จิตร ภูมิศักดิ์อธิบายเพิ่มเติมว่า (๒)

ในจดหมายเหตุพงศาวดารแห่งราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์หยวนหรือหงวน (พ.ศ. ๑๗๔๙-๑๙๑๑), ซึ่งจดเรื่องราวของเสียมกับละโว้ไว้ว่า เป็นประเทศสองประเทศคู่กันในภูมิภาคแหลมทองนี้  เรื่องในจดหมายเหตุจีนที่จดไว้นั้นหลังจารึกนครวัดราว ๒๐๐ ปี  จารึกนครวัดจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า  เสียม  ได้มีมาก่อนที่จีนจะจดไว้มานานตั้งแต่ราวพ.ศ. ๑๖๕๐ ซึ่งสร้างนครวัดแล้ว

เรามาลองดูจดหมายเหตุจีนกันสักหน่อย :

จดหมายเหตุจีนเรียก เสียม (สฺยำ) ว่า เซียน และเรียกละโว้ว่า หลอหู   เรื่องของเซียนเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในจดหมายเหตุพงศาวดารจีนเมื่อพ.ศ. ๑๘๒๕



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #229 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2557, 10:47:34 »

ตามจดหมายเหตุจีนนั้นกล่าวว่า เมื่อกุบไลข่านได้ครองจีนแล้ว ก็ส่งทูตลงมาติดต่อกับประเทศทางทิศใต้, ในจำนวนนี้มีประเทศเซียน (อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า เซี้ยม หรือ เสี่ยม) และประเทศหลอหู (อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า หล่อฮก หรือ ล่อฮก), สองประเทศนี้โดยการเดินทางมาทางเรือ  ส่วนประเทศที่อยู่เหนือเซียนขึ้นไปนั้น, คณะทูตเดินทางมาโดยทางบก, ติดต่อกับประเทศ ปาไป่ซีฟู และประเทศเช่อหลี่

ประเทศ ปาไป่ซีฟู ที่อยู่เหนือเซียนนั้น เป็นชื่อที่จีนเรียก, แปลว่า "สนมแปดร้อย", มีคำอธิบายไว้ด้วยว่าที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะประมุขของรัฐมีสนมแปดร้อยคน, ประชาชนชาวเมืองเองเรียกชื่อประเทศของตนว่า จิ่งไม่, ประเเทศนี้คือ เชียงใหม่ ของกษัตริย์เมงราย  ส่วนประเทศเช่อหลี่นั้น ได้แก่อาณาจักรเชียงรุ้งในสิบสองปันนา, ซึ่งต่อมาเรียกว่า เชอหลี่ และยังคงเรียกเช่นนนั้นมาจนบัดนี้ (คำว่า เชอหลี่ มิใช่การถอดเสียงออกมาจาก เชียงรุ้ง  หลี่ นั้นคือ ลื้อ อันหมายถึงพวกไตลื้อ ซึ่งจีนเรียกว่า หลี่ มาแต่โบราณ ส่วน เชอ นั้นคือ เชียง)

เซียนกับหลอหูนั้น อยู่ใต้เชียงรุ้งและเชียงใหม่ลงมา ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หยวนใหม่ เล่มที่ ๒๕๒ ซึ่งเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์หมิง ได้เขียนเล่าเรื่องเซียนและหลอหูไว้มีใจความดังนี้ :

เซียน  อยู่ติดกับประเทศปาไป่ซีฟู ซึ่งอยู่นอกมณฑลยุนนาน, ทิศตะวันออกของเซียนติดต่อกับอันหนาน (คืออันนัมหรือเวียตนามกลางบัดนี้) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศเหมี่ยน (คือม่าน,ได้แก่พม่า)  ประเทศเซียนนี้ที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวไม่ได้ผล ต้องอาศัยพิ่งพิงหลอหูในทางเศรษฐกิจ

หลอหู  อยู่ใต้ประเทศเซียนลงมา, อาณาเขตติดริมทะเลคือทางทิศใต้เป็นอ่าวใหญ่ มีแม่น้ำใหญ่สายหนึ่งไหลผ่านจากเซียนลงมาถึงหลอหู, แล้วไหลออกทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ  ประเทศนี้ในฤดูร้อนมีน้ำไหลท้นจากอ่าวขุ่นเป็นสีโคลน  น้ำจะไหลท้นเข้าคลองเล็กคลองน้อยทั่วพื้นที่จึงทำนาได้ผลดีมาก  ข้าวราคาถูก

ต่อมาเซียนได้เข้ารวมกับหลอหูเป็นประเทศเดียวในระหว่างพ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๐ ทางจีนจึงเรียกประเทศนี้โดยรวมนามเข้าด้วยกันเป็น เซียนหลอ, (ซึ่งเป็นชื่อเรียกประเทศไทยสืบมา)

ตามจดหมายเหตุจีนนี้  เซียน คืออาณาจักรสุโขทัย และ หลอหู ก็คือ อาณาจักรศรีอยุธยา แรกตั้ง ซึ่งจีนยังคงเรียกว่า หลอหู ตามชื่อของแคว้นละโว้ที่จีนเคยรู้จักดีมาแล้ว

(๑) อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม อธิบายเรื่องนามประเทศสยาม

(๒) "ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #230 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 10:31:00 »

ครับ พี่เหยง

ยิ่งเย็นมากในช่วงหนาว ช่วงร้อนก็ไม่เว้นครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #231 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 13:07:59 »

ประเทศสยาม(ต่อ)
อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ
ทรงพระนิพนธ์

 "สยาม" นั้นเป็นภาษาสันสกฤต แปลนัยหนึ่งว่า คล้ำ หรืออีกนัยหนึ่งแปลว่า ทอง เมื่อใช้เรียกเป็นนามประเทศว่า "สยามประเทศ" จึงหมายความว่า เป็นประเทศที่อยู่ของมนุษย์จำพวกผิวคล้ำ หรือมิฉะนั้น หมายความว่า เป็นประเทศที่เกิดทองคำ ความอย่างข้างหลังสมด้วยเรื่องประวัติพระพุทธศาสนาซึ่งแต่งในภาษามคธกล่าวว่า พระเจ้าอโศกมหาราชให้พระโสณะกับอุตตระเชิญพระศาสนามาประดิษฐานใน "สุวรรณภูมิ" ประเทศ คือ ประเทศ "อู่ทอง" คำที่เรียกว่า สยามประเทศจะหมายความว่ากระไรก็ตาม แต่เป็นคำภาษาสันสกฤต ข้อนี้เป็นหลักฐานว่า เป็นนามที่ชาวมัชฌิมประเทศเรียกก่อน จะเป็นพวกที่อยู่ในอินเดียหรือพวกที่มาได้เป็นใหญ่อยู่ในเมืองขอมเรียกก่อนก็ได้ทั้งสองสถาน พิเคราะห์ดูเห็นมีเค้าเงื่อนว่า พวกชาวมัชฌิมประเทศที่มาเป็นใหญ่ในเมืองขอมจะบัญญัติขึ้น ด้วยมีอักษรจารึกที่รูปภาพในพระนครวัดแห่งหนึ่งว่า "รูปชาวสยาม" ดังนี้

แต่ชาวนานาประเทศทั้งปวงเรียกนามประเทศที่เราอยู่ว่า "ประเทศสยาม" มาแต่โบราณ มีในจดหมายเหตุจีนแต่โบราณนี้ว่า เดิมทีเดียว ประเทศนี้มีสองอาณาจักรเป็นอิสระแก่กัน อาณาจักรข้างใต้เรียกว่า "หลอฮกก๊ก"[1] (ละโว้) อาณาจักรข้างเหนือเรียกว่า "เสียมก๊ก"[2] (สยาม) ต่อมา สองอาณาจักรนั้นรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน จีนจึงเรียกนามรวมกันว่า "เสียมหลอฮกก๊ก" ต่อมา ละคำ "ฮก" ออกเสีย คงเรียกแต่ว่า "เสียมหลอก๊ก" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ พิเคราะห์ความตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนซึ่งกล่าวมา สันนิษฐานว่า เดิมทีเดียว ชาวต่างประเทศเห็นจะเรียกประเทศนี้ว่าสยามทั้งหมด ครั้นพวกขอมขยายอาณาเขตเข้ามาถึงประเทศนี้ มาตั้งเมืองลพบุรีเป็นราชธานี จึงปรากฏนามอาณาเขตขอมที่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า อาณาเขตละโว้ ตามนามเดิมของเมืองลพบุรี ดินแดนอันมิได้อยู่ในอาณาเขตละโว้พวกชาวต่างประเทศก็ยังคงเรียกว่าสยามอยู่อย่างเดิม ครั้นพระร่วงตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ ชาวต่างประเทศจึงเรียกราชอาณาจักรสุโขทัยตามนามเดิมว่า "สยามประเทศ" ครั้นเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้วรวมราชอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นอาณาจักรอันเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้จีนเปลี่ยนนามเรียกว่า "เสียมหลอฮกก๊ก"

ในเรื่องคำว่า "เมืองไทย" กับคำว่า "ประเทศสยาม" ที่อธิบายมานี้ มีความจริงที่ประหลาดอยู่อย่างหนึ่ง คือ คำว่า "เมืองไทย" เป็นคำพวกไทยเรียก แต่ชาวประเทศอื่นเขาไม่เรียก ส่วนคำว่า "สยาม" นั้นเป็นคำที่ชาวต่างประเทศเรียก แต่ไทยเองหาเรียกไม่ เป็นเช่นนี้มาแต่โบราณ ในศิลาจารึกครั้งราชวงศ์พระร่วงเป็นใหญ่ เมื่อจะกล่าวถึงนามประเทศนี้ ก็เรียกว่า "กรุงสุโขทัย" มาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระราชสารหรือทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ เมื่อจะกล่าวนามประเทศนี้ก็ใช้แต่ว่า "กรุงศรีอยุธยา" มีสำเนาตัวอย่างหนังสือครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแลทำหนังสือสัญญากับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กรุงฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสใช้คำว่า "สยาม" แต่ฝ่ายไทยก็ใช้คำว่า "กรุงศรีอยุธยา" ทุกแห่ง แม้จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ แลรัชกาลที่ ๓ ก็ยังคงใช้นามประเทศในภาษาไทยว่า "กรุงศรีอยุธยา" ต่อมา มีตัวอย่างอยู่ในหนังสือสัญญาซึ่งทำกับอังกฤษ (ครั้งเฮนรี เบอร์นี เป็นทูตเข้ามา) เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ ยังใช้คำว่า "กรุงศรีอยุธยา" เป็นนามประเทศ

ไทยเราพึ่งมาใช้คำ "สยาม" เป็นนามของประเทศในทางราชการต่อในรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ (ข้าพเจ้าไม่มีเวลาพอที่จะสอบให้รู้แน่ว่า เริ่มใช้มาแต่ปีใด) เข้าใจว่า ดูเหมือนจะใช้เมื่อทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นเดิมมา เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่ใช้คำว่า "กรุงศรีอยุธยา" เป็นแต่นามราชธานีเก่า ไม่ตรงกับนามประเทศ แลนานาประเทศเรียกนามอยู่ว่า "ประเทศสยาม" ทั่วกันแล้ว จะใช้นามอื่นหาเหมาะไม่ จึงได้ใช้นามว่า "ประเทศสยาม" ในทางราชการแต่นั้นมา

1.กระโดดขึ้น ↑ "หลอฮกก๊ก" สำเนียงกลางว่า "หลัวโวกั๋ว" (羅渦國, Luó Wō Guó)
2.กระโดดขึ้น ↑ "เสียมก๊ก" สำเนียงกลางว่า "เซียนกั๋ว" (暹國, Xiān Guó)[color]
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #232 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 18:57:38 »

หนังสือน่าสนใจอีกเล่ม  

ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์

ชีวิตและการผจญภัยของ หลุยส์ เลโอโนเวนส์ ที่สามารถนำพาเราทุกคนย้อนอดีตไปสู่มิติอื่นๆ ที่สำคัญในปูมประวัติศาสตร์แห่งสยามและล้านนา

ผู้เขียน จิระนันท์ พิตรปรีชา


                                  


"หลุยส์ เลโอโนเวนส์" บุตรชายของแหม่ม "แอนนา" ผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ในราชสำนักสยามในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถูกเล่าขานไปทั่วโลก แต่กลับส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนคนไทย เนื่องเพราะเรื่องราวเหล่านั้นได้บิดเบือนจากความเป็นจริง อักทั้งยังตกแต่งเพิ่มเติมจนกลายเป็นเรื่องราวที่สนุกสนานในสายตาของชาวต่างชาติ หลุยส์ได้เดินทางเข้ามาราชอาณาจักรสยามพร้อมมารดาเมื่อครั้งยังเด็ก และเขาได้ย้อนกลับมายังแผ่นดินสยามอีกครั้งด้วยสองมือเปล่า วิถีชีวิตที่พลิกผัน ทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีจากการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ทางภาคเหนือของบ้านเราในยุคนั้น

    นอกจากนี้ยังได้เจาะลึกเบื้องลึก ปูมหลังของชีวิตหลุยส์และแหม่มแอนนาไปพร้อมๆ กัน "ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์" หนังสือสารคดีชีวประวัติเล่มนี้นับว่าเป็นงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ายิ่งเพราะนอกจากอ่านสนุกแล้ว ยังได้ทราบการดำเนินชีวิตของคนไทยและความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ สมัยนั้นได้เป็นอย่างดี

สารบัญ
- นำร่อง
- "คิงมงกุฎ" กับฝรั่งมิชชันนารี
- ปอกเปลือก "แอนนา"
- ท่องโลกวัยเยาว์
- สยามผลัดแผ่นดิน
- ผจยภัยในแดนลาว
- เรื่องวุ่นๆ ที่เชียงใหม่
- ขุมทรัพย์เมืองเหนือ
- "หมอชิตกับมิตซ่าหลุย"
- มรสุมชีวิต
ฯลฯ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #233 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 19:11:01 »

“ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์”   เป็นหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งก็ได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี จนกระทั่งในปีนี้  สำนักพิมพ์ สยามบันทึก ได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ในวาระครบรอบ 155 ปีของ นายหลุยส์   เลโอโนเวนส์ และถือว่าเป็นการจัดพิมพ์โดยทิ้งเวลาห่างจากการพิมพ์ครั้งที่ 3 ยาวนานถึง 10 ปี จึงเห็นควรว่าน่าจะจัดพิมพ์ขึ้นมาอีกครั้ง  เขียนโดย จิระนันท์  พิตรปรีชา 

หนังสือสารคดีชีวประวัติเรื่อง “ ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์ ” เป็นบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยจากสายตาชาวต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในเขตภาคเหนือของไทยเมื่อครั้งอดีต นามว่า “ หลุยส์ เลโอโนเวนส์ ”   บุตรชายของ “แหม่มแอนนา” ผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆในราชสำนักสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                                 

ช่วงชีวิตต่างๆของนายหลุยส์ ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นเอาไว้อย่างเข้มข้น  เจาะลึกเบื้องลึก ปูมหลังของชีวิต “ หลุยส์ เลโอโนเวนส์ ” และ “ แหม่มแอนนา ” ไปพร้อมๆกัน  อีกทั้งสำนวนการเรียบเรียงของผู้เขียนยังสนุก ชวนให้อ่านอย่างถอนตัวไม่ขึ้น แม้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์แต่ก็มันส์ไม่แพ้นิยายขายดีเลยทีเดียว  นอกจากความสนุกแล้วยังเปี่ยมสาระ และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปในคราวเดียว คงไม่เกินเลยนักที่จะบอกว่าหนังสือเล่มนี้ นักอ่านไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #234 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 19:23:59 »

ผู้เขียนพูด

"เพราะตอนทำหนังสือเล่มนี้ยังไม่มีลิขสิทธิ์อะไรที่เข้มงวดมากมาย แต่เราหวังดีอยากจะให้ได้เผยแพร่ ก็คือว่าหลังจากเรียนประวัติศาสตร์จนช่ำชองมาในระดับหนึ่ง เรารู้สึกว่าสิ่งที่ประเทศไทยต้องการและมีคนทำน้อย คือ แนวประวัติศาสตร์สมัครเล่นที่ข้อมูลแน่น ส่วนใหญ่นักประวัติศาสตร์สมัครเล่นของเราจะพูดในประเด็นเล็กประเด็นน้อย เช่น สำรับกับข้าว ชื่อบ้านนามเมือง ชีวิตในวัง เป็นเรื่องจุกจิก ซึ่งก็ดี

แต่เรื่องที่เห็นภาพใหญ่โดยผ่านประสบการณ์เล็กๆแทบไม่มีเลย ซึ่ง "นายหลุยส์" เป็นตัวอย่างที่ดี ประสบการณ์ของคนคนหนึ่งที่สะท้อนยุคสมัย ความเปลี่ยนแปลงและปัญหาทางการเมืองของสยามในยุครัชกาลที่ 5 ที่สำคัญ นายหลุยส์คืออดีตพระสหายของรัชกาลที่ 5 สมัยเด็กๆ เพราะเป็นลูกของแหม่มแอนนาที่ย้ายเข้ามาอยู่ในวังด้วยกัน พอย้ายไปกับแม่ ก็ร่อนเร่ แสวงโชคไปเรื่อย แต่ความผูกพันกับสยามลึกๆ ในที่สุดก็กลับมารับราชการ ตั้งกรมทหารม้ารักษาพระองค์ และอาศัยบารมี เงินทุน ทรัพย์สิน เขาก็ตั้งบริษัท ค้าขายไปเรื่อย ระหว่างที่ขายก็ผจญภัยตั้งแต่กรุงเทพฯ มีเหตุการณ์ที่เขาเมามายชกต่อยหน้าโอเรียนเต็ล ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่า โอเรียนเต็ลคือสถานที่ไฮโซในยุคแรกๆเลย"

เธอยังเล่าย้อนไปถึงเรื่องในเล่มอีกว่า ชีวิตของนายหลุยส์นั้นน่าสนใจมาก เพราะหลังจากนั้นก็ขึ้นเหนือไปทำไม้ ซึ่งฝรั่งนักแสวงโชคตอนนั้นเขามองแต่เรื่องไม้สักพม่า ล้านนา เพราะว่ารวยเร็วและอาศัยความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายปกครองจากการไม่ทำ อย่างกรุงเทพฯ ก็บอกว่ามณฑลล้านนาเป็นหัวเมืองแต่ระบบการปกครองยังไม่ลงตัว รัฐบาลอังกฤษอยู่ในอินเดียมาบริหารพม่าซึ่งเป็นติ่งหนึ่งของบริติชอินเดีย คือจะเอา จะยึดดีหรือไม่ดี พวกพ่อค้าก็ลุยก่อนแล้ว รัฐบาลก็คิดว่าดีหรือไม่ดี คุ้มหรือไม่คุ้ม ต้องใช้กำลังรบอีก ต้องอะไรอีก ซึ่งนั่นเป็นแค่ติ่งหนึ่งของอินเดีย

"คิดดูว่าทรัพย์สินของอินเดียมันขนาดไหนแล้ว เพราะฉะนั้นช่องว่างอำนาจตรงนี้ทำให้คนอย่างแมร์หลุยส์ซึ่งมี back up จากกรุงเทพฯเข้าไปก็ไปตั้งตัวได้เลยแล้ว back up 3 ประเทศก็ไปเจรจากับเจ้าเมืองเหนือขอเช่าสัมปทาน ซึ่งเจ้าตอนนั้นก็ถูกปราบจนหงอแล้ว ถูกกำราบ ก็ต้องมาทำสัญญากับรัฐบาลสยามอยู่ดี สมัยก่อนเจ้ามีสิทธิ์ปล่อยเช่าเองแล้วเจ้าเชียงใหม่บางทีก็ติดการพนัน ปล่อยเช่า มันทับซ้อน ไม่มีรังวัด ก็เกิดเรื่อง ฝรั่งก็ตีกันเอง มาฟ้องกรุงเทพฯ แมร์หลุยส์ก็อาศัย back up ราชสำนักกรุงเทพฯไปทำธุรกิจของตัวเอง"

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #235 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2557, 20:23:36 »

และเมื่อหลุยส์จากไป  เขาได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์บางส่วนให้แผ่นดินสยามที่เขาได้มาใช้ชีวิตในวัยเด็กกับแหม่มแอนนา ผู้แม่และประกอบอาชีพในบางช่วงของชีวิต

เขาได้มอบอะไรบ้าง?

เห็นที่ต้องวันที่ 3 พย.   จึงมีรายละเอียดครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #236 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2557, 19:01:27 »

หน้าท้ายๆของหนังสือ ผู้เขียนว่าไว้





      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #237 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557, 10:23:24 »

เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

หลุยส์ โทมัส กุนนิส เลียวโนเวนส์ เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 เมื่ออายุได้เพียง 7 ปี หลุยส์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากมารดาพร้อมกับพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายในพระบรมมหาราชวัง

จนกระทั่งได้เดินทางกลับไปศึกษาต่อในยุโรปจนจบการศึกษา และต่อมาในปี พ.ศ. 2424 หลุยส์ซึ่งขณะนั้นอายุ 27 ปี ได้เดินทางกลับมายังแผ่นดินสยามอีกครั้งและได้รับราชการเป็นหัวหน้ากองทหารม้า และได้เคยไปซื้อม้าถึงประเทศออสเตรเลีย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายหลังลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2427 หลุยส์ได้เข้าทำงานในบริษัทบอร์เนียว โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลการบุกเบิกกิจการป่าไม้สักในภาคเหนือของสยาม หลังจากลาออกจากบริษัทบอร์เนียวในปี พ.ศ. 2429 หลุยส์ ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับ บริษัทบอมเบย์เบอร์มา เทรดดิ้ง ในการจัดการสัมปทานไม้สัก ก่อนที่จะร่วมกับหุ้นส่วนชาวอเมริกันจัดตั้งบริษัทของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2432

หลุยส์ได้นำผลประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจในส่วนของตนเองทั้งหมดมาเปิดบริษัทหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2448


ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 บริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมกับบริษัท Denny, Mott & Dickson จากประเทศอังกฤษจัดตั้งโรงเลื่อย ท่าเรือ รถยก และ โกดังสินค้าริมน้ำที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อบริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์ จำกัด

แม้ว่าหลุยส์จะมีบทบาทในบริษัทของตนเองน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 เป็นต้นมา แต่หลุยส์ก็ยังคงมีบทบาทเป็นอย่างสูงในสังคมกรุงเทพฯ

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2456 เมื่อเขาเดินทางออกจากสยามและถึงแก่กรรมที่ประเทศอังกฤษในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2462

ปี พ.ศ. 2529 บริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รวมกิจการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Getz และได้ปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินธุรกิจมาเป็นดังเช่นในปัจจุบัน

"บริษัท หลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
เป็นตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์และเครื่องมือช่าง ประเภท กระดาษทราย ผ้าทราย เครื่องมือประเภทต่างๆ เครื่องเหล็กและปั๊มประเภทต่างๆ เคมีภัณฑ์ และเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ก่อตั้งในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนานกว่า 103 ปี "
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #238 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557, 10:28:30 »

อนุสรณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรม

เสาชิงช้าซึ่งใช้ในพระราชพิธีตรียัมปวาย เพื่อบวงสรวงพระอิศวร ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองของไทย

                 

บริษัทฯ ได้บริจาคไม้สักในการบูรณะเสาชิงช้าเมื่อปี พ.ศ. 2463 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ ที่ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2462 แม้ว่าพระราชพิธีดังกล่าวจะถูกยกเลิก ไปเมื่อปี พ.ศ. 2476 แต่เสาชิงช้าก็ยังคงเป็นอนุสรณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทยและเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทฯจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


                       
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #239 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557, 10:31:56 »

โรงแรม “137 Pillars House”



ย้อนอดีตไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ในสมัยที่เชียงใหม่ยังอุดมไปด้วยป่าไม้สัก และมี “บริษัทอีสบอร์เนียว จำกัด” ของต่างชาติมารับสัมปทานทำป่าไม้

ในเชิงพาณิชย์โดยถูกกฎหมาย บริษัทอีสบอร์เนียวฯ ได้มาสร้างออฟฟิศแห่งแรกในเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2432(ค.ศ. 1889)

ในปีเดียวกันนี้บ้าน 137 เสา(ดั้งเดิม) ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นบ้านพักของ “คุณหลุยส์ ลีโอโนเว่นส์”

เหตุที่บ้านหลังนี้ได้ชื่อว่า บ้าน 137 เสา ก็เพราะบ้านนี้มีเสามากถึง 137 ต้นด้วยกัน

   บ้าน 137 เสา ถูกใช้เป็นบ้านพักของผู้จัดการบริษัทอีสบอร์เนียวฯ มาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2470(ค.ศ. 1927)

กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาควบคุมเชียงใหม่ ทำให้ผู้จัดการบริษัทอีสบอร์เนียวฯในยุคนั้นต้องหลบหนีไปอยู่พม่า และปล่อยบ้านทิ้งไว้

                            

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณวิลเลี่ยม เบน(บิดาของลุงจรินทร์(แจ็ค) เบน ผู้เป็นหัวแรงสำคัญในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดเกด ได้เข้ามาซื้อบ้านหลังนี้ และสร้างครอบครัวอยู่ที่นี่

ผ่านมาในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ.2002) “คุณพนิดา วงศ์พันเลิศ” ได้เดินทางมาพักผ่อนในเชียงใหม่และได้พบกับบ้านหลังนี้  จึงทำการขอซื้อบ้านหลังนี้  ที่ขณะนั้นเป็นที่รู้จักกันในนาม“บ้านดำ” เพื่อปรับปรุง พร้อมสร้างอาคารเพิ่มเติมเพื่อเป็นที่พัก



และได้เปลี่ยนชื่อจาก "บ้าน 137 เสา" เป็น “137 Pillars House”




                  

                            
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #240 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557, 12:57:05 »

                            

วันนี้(3พ.ย.)ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กทม. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในงาน “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งที่ 26 และในวาระครบ 40 ปีบัณฑิตวิทยาลัย โดยมี ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว คณาจารย์ พร้อมพระสหายร่วมรุ่นขณะทรงศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ มศว เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายเรื่อง “อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ” ตอนหนึ่งว่า คนในอดีตที่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างดีคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่ปฏิรูปการศึกษา และจัดการศึกษาเพื่อมวลชน โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า ไม่ว่าใครจะเป็นลูกใคร หรือเป็นพระโอรสพระธิดาของพระองค์เอง หรือเป็นลูกใครที่ไหนในประเทศไทย ต้องจัดให้มีโอกาสด้านการศึกษาเท่าเทียมกันทุกคน เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ รู้หนังสือรู้วิชาชีพ และทำงานเพื่อประเทศชาติได้ ซึ่งคำพูดนี้ต่อไปในอนาคตอาจต้องขยายให้กว้างขึ้นมากกว่าเดิม โดยต้องไม่ใช่เฉพาะคนในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องเป็นทุกคนที่อยู่ในไทย และนอกประเทศ ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นหน้าที่ของทั้งรัฐบาลและเอกชน ที่ต้องร่วมจัดการศึกษาให้แก่ทุกคนทั้งที่อยู่ในประเทศและนอกประเทศ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายต่อไปว่า ในอนาคตประชากรวัยเด็กจะลดลง และจำนวนผู้สูงอายุจะมากขึ้น เพราะการคุมกำเนิดได้ผล ทำให้โรงเรียนที่เคยเปิดให้การศึกษาทุกชั้นปี กลายเป็นเปิดปีเว้นปี จนกระทั่งมีการปิดโรงเรียนไป เพราะเราเชื่อนักเศรษฐศาสตร์กันมากว่า การมีเด็กน้อยจะไม่คุ้มกับการจัดการเรียนการสอน ผลของปรากฎการณ์นี้ทำให้เห็นชัดเจนว่า มีเด็กจำนวนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน บางคนกว่าจะเดินทางไปถึงโรงเรียนก็เย็น ซึ่งเด็กเรียนมา 4 ปี ปรากฏว่า ไม่รู้หนังสือเลย โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่พบเจอด้วยตนเอง ที่ผ่านมาปัญหานี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้ระบบไอซีที การเรียนการสอนทางไกล และศูนย์การเรียนชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะได้ผลมากน้อยเพียงใดยังไม่ทราบ แต่เมื่อถามเด็กว่าทำไมถึงคะแนนไม่ดี เด็กก็ตอบว่าจะเอาอะไรกับหนู เพราะหนูเรียนกับทีวี ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า โรงเรียนในเมืองกลับมีนักเรียนห้องละ 50-60 คน นั่งเบียดเสียดกัน ต้องเสียแป๊ะเจี๊ยะเป็นแสนๆ ซึ่งไม่สมดุลกันระหว่างห้องเรียนในเมืองกับชนบท

ดังนั้นปัญหาเรื่องเด็กน้อยหรือมาก จึงเป็นเรื่องของประชากรศาสตร์ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องติดตามตัวเลขอัตราการเกิด เพื่อวางแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ จากการได้คุยกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่า ขณะนี้มีเด็กตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวนมาก และในอนาคตอาจมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ต้องมาคิดว่าจะจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้อย่างไร โดยต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจทั้งตัวเด็กและเด็กที่ถูกทิ้ง ซึ่งสภาพจิตใจจะแย่มาก ดังนั้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลว่าจะประคับประคองดูแลอย่างไรเพราะบางทีสิ่งที่เขาคิดเราก็คาดไม่ถึง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายอีกว่า อีกเรื่องสำคัญที่ต้องเน้นในอนาคตคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจสีเขียว โดยต้องสอนให้คนรุ่นใหม่รู้จักรักสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นปัญหาหนัก ซึ่งต้องสอนเด็กไม่ให้ตัดต้นไม้ทำลายป่า รู้จักประหยัดเชื้อเพลิง ประหยัดไฟ และพลังงานทางเลือก นอกจากนี้ ต้องเน้นย้ำให้ทุกคนรู้จักเศรษฐกิจพอเพียงทั้งระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ ไม่อยากให้คิดว่าเรื่องนี้ต้องใช้สื่อการเรียนการสอนที่แพงๆ เพราะสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ ทั้งนี้การเรียนรู้ในอนาคตจะเรียนรู้อย่างเดียวไม่พอ ควรต้องให้เด็กเรียนรู้หลายอย่างจึงจะอยู่รอดได้ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุที่ขณะนี้คนมีอายุยืนขึ้น ดังนั้นต้องให้ผู้สูงอายุสามารถเรียนได้ในทุกหลักสูตร และทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อ หรือเรียนเพื่อความเพลิดเพลินก็ได้


“เป็นการยากที่จะรู้ว่าอนาคตของการศึกษาจะเป็นอย่างไร แต่ก็การคาดเดาได้ ดังนั้นผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาควรต้องคำนึงถึงประเด็นโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะยุคโลกาภิวัตน์ เพราะขณะนี้เราพูดกันแต่ประชาคมอาเซียน แต่ขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่คำนึงถึงเรื่องนี้แล้ว เพราะเขาก้าวข้ามไปถึงโลกาภิวัตน์แล้ว ดังนั้นครู และนักเรียนต้องรู้ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อจะได้ใช้สื่อสารกับนานาชาติได้ นอกจากนี้ต้องให้เด็กเป็นสมาชิกชุมชนนานาชาติ เพราะต่อไปต้องทำมาหากินให้ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่รังเกียจงาน และที่สำคัญต้องเอื้อเฟื้อต่อกัน ไม่ใช่หวงวิชาความรู้ ไม่สนใจคนอื่น ต้องสนใจซึ่งกันและกัน สิ่งใดดีแล้วก็ไม่ควรเปลี่ยน แต่อาจเสริมเรื่องสื่อ และวิธีการสอนแทน”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยาย


ข่าวเดลินิวส์   วันจันทร์ 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา 17:49 น.



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #241 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2557, 13:43:31 »

วันนี้ 6 พย. เป็นวันลอยกระทง



งานลอยกระทงที่ “วัดอรุณราชวราราม” ซึ่งความพิเศษของที่นี่ อยู่ที่เป็น งานลอยกระทงปลอดเหล้า – บุหรี่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคร้ายและส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่ผู้มาร่วมงาน

นอกจากนี้เสน่ห์สำคัญที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวพากันมาร่วมงานที่นี่มาจาก บรรยากาศของวัดเก่าริมน้ำ ที่มีความงดงาม  ให้ความรู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในอดีต  ภาพบรรยากาศพระปรางค์วัดอรุณยามค่ำคืนริมฝั่งเจ้าพระยาที่มีความงดงาม  และสิ่งที่ขาดไมได้คือบรรดาร้านค้าต่างๆที่พากันมาออกร้านจำหน่ายสินค้า ทั้งอาหารคาว – หวาน , ของเล่น , เสื้อผ้า และอื่นๆ รับรองได้ว่า ไปงานนี้งานเดียว เที่ยว ชิม และช้อป
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #242 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2557, 09:03:46 »

แชร์เยอะ ! ภาพนักเรียนก้มกราบนักศึกษาฝึกสอนทั้งห้องเรียน



แชร์เยอะ ! ภาพน.ร.ก้มกราบ นศ.ฝึกสอนทั้งห้องเรียน  เมื่อ 6 พ.ย. 57 14:24:39 17,873views

ภาพประทับใจที่แชร์กันในโลกออนไลน์เยอะมาก ภาพนักเรียนทั้งห้องก้มลงกราบนักศึกษาฝึกสอน ที่กำลังจะเสร็จสิ้นภารกิจกับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนนี้ เป็นภาพที่ทำให้รู้ซึ้งถึงคำว่า ครู จริงๆ

ยินดีกับนักศึกษาฝึกสอนคนนี้ด้วย เค้ากำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นครู อย่างแท้จริง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #243 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2557, 14:11:02 »

ฝรั่งเศสเผยภาพหายาก "ทหารสยามในสงครามโลกครั้งที่1"
05 พฤศจิกายน 2557 เวลา 20:16 น....
.

สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยจะจัดงานรำลึก "1ศตวรรษการเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1"  ในวันที่ 11 พ.ย. นี้ ณ ทำเนียบสถานเอกอัครราชทูตฯ (ข้างโรงแรมโอเรียนเต็ล) โดยในงานจะมีการเปิดเผยภาพเก่าแก่และภาพยนตร์หายากของทหารสยามที่เข้าร่วมรบในที่ประเทศฝรั่งเศส  แม้กองกำลังที่ฝ่ายไทยส่งไปเป็นทหารฝ่ายสนับสนุนเช่น ทหารช่าง หมอ และพยาบาล แต่ก็มีบางส่วนเช่นกันที่ได้เข้ามีส่วนร่วมในการรบในแนวหน้า และเข้าไปเป็นกองกำลังประจำขณะฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองเยอรมนี

  บรรยายภาพประกอบ : ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ราชอาณาจักรสยามประกาศสงครามต่อเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 1917 และตัดสินใจส่งกองทหารอาสา ทั้งจากกองทหารบกรถยนต์และกองบินทหารบกจำนวน 1,284 นาย ไปประเทศฝรั่งเศส
  
กองกำลังสยามเดินทางมาถึงเมืองมาร์เซย์ และเมืองอิสต์รส์ (ราว ส.ค. 1918)....






คณะนายทหารสยามเยี่ยมชมโรงเรียนการรถยนต์ดูร์ดอง ในแคว้นเอสซอนน์ ทางใต้ของกรุงปารีส ซึ่งทหาร พยาบาลและแพทย์เข้าร่วมการฝึกอบรมกับคณะผู้สอนชาวฝรั่งเศสและอังกฤษ ....



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #244 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2557, 16:05:12 »



วัดนางชี เขตภาษีเจริญ จัดงาน'แห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี'  ๗ -๙ พย. นี้   



เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดนางชี เขตภาษีเจริญ ได้จัดงานสืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม งานประเพณี “ชักพระวัดนางชี ซึ่งในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นงาน 'แห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี' ซึ่งขบวนเรือเคลื่อนเวลาประมาณ 09.00น. จากวัดนางชีตามเส้นทางคลองด่าน เข้าคลองบางกอกใหญ่ เข้าคลองชักพระ แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นที่สำนักงานเขตตลิ่งชัน (ตลาดน้ำตลิ่งชัน ) เพื่อให้ประชาชนได้สักการะเพื่อเป็นสิริมงคล และเวลาประมาณ ๑๓ .๐๐ น.จะอัญเชิญกลับวัดนางชี ประชาชนร่วมสักการะบูชาได้ถึงวันที่ ๙ พย.
.



ข่าวเดลินิวส์
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #245 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2557, 12:33:41 »



สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่9 พ.ย.ว่าเยอรมนีเริ่มการเฉลิมฉลองครบรอบ25 ปีการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินโดยมีการจัดแสดงคอนเสิร์ตและนิทรรศการหลากหลายในเมืองซึ่งมีนางอังเกลา แมร์เคิลนายกรัฐมนตรีหญิงเมืองเบียร์เข้าร่วมฉลองในงานปาร์ตี้กลางแจ้งที่ยิ่งใหญ่ที่บริเวณประตูชัยบรันเดนเบิร์กลูกโป่งสีขาว 7,000ลูกที่เรียงไปตามความยาวของกำแพงจะถูกปล่อยเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์การสูญหายไปของกำแพงโดยกำแพงเบอร์ลิน ถูกสร้างขึ้นในปี2504เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้อพยพจากเยอรมันตะวันออกซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์เข้ามายังเยอรมันตะวันตกซึ่งเป็นฝั่งโลกเสรีแต่การทำลายกำแพงในปี 2532กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงอิทธิพลของการสิ้นสุดสงครามเย็น

 

นางแมร์เคิลจะเข้าร่วมงานฉลองนี้พร้อมกับนายเลชวาเลซา อดีตผู้นำสหภาพการค้าชาวโปแลนด์และมิคาอิล กอร์บาชอฟผู้นำโซเวียตคนสุดท้าย

กำแพงเบอร์ลินซึ่งมีความยาว 155กิโลเมตร ตั้งยาวผ่านกรุงเบอร์ลินแต่วันนี้ เหลือเป็นเพียงอนุสรณ์เตือนใจเพียง3 กิโลเมตรเท่านั้น

หลังการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน1 ปี เยอรมนีซึ่งถูกแบ่งแยกประเทศหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่2ก็กลับมารวมกันเป็นประเทศเดียวอีกครั้ง

จะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า1 ล้านคนทะลักเข้าสู่กรุงเบอร์ลินเพื่อเฉลิมฉลองในช่วงสุดสัปดาห์นี้ซึ่งจุดสำคัญที่สุดของงานนี้จะอยู่ที่ประตูชัยบรันเดนเบิร์ก ซึ่งหันหน้าไปทางเยอรมันตะวันออกเดิม ในช่วงบ่ายวันอาทิตย์....  ข่าวเดลินิวส์
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #246 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2557, 21:24:22 »

น้องเริง

วันนี้เห็นกูเกิ้ลออกรูปกำแพงเบอร์ลิน
ในขณะที่มีข่าวว่า จะมีคนนับล้านคน ออกมาร่วมงานในครั้งนี้
แต่ก็มีคอมเม้นต์ว่า สองฝั่งยังมีรายได้ไม่ทัดเทียมกัน
"ตะวันตก"ยังรุ่มรวยกว่า"ตะวันออก"
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #247 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 09:01:58 »

ยังมีข่าวตามมา"กอร์บาชอฟ" อดีตผู้นำโซเวียต เตือน! โลกกำลังเข้าสู่สงครามเย็นอีกครั้ง

นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ อดีตผู้นำของอดีตสหภาพโซเวียต     ซึ่งจะเข้าร่วมฉลองวันครบรอบ 25 ปีการทำลายกำแพงเบอร์ลินประเทศเยอรมนีในคืนวันนี้ (9 พฤศจิกายน)ได้ให้ปาฐกถาเมื่อเช้าวานนี้ โดยได้เตือนว่าโลกกำลังเข้าสู่สภาวะเสี่ยงที่เกิดสงครามเย็นรอบใหม่ และวิจารณ์ประเทศตะวันตกอย่างรุนแรงว่าเป็นผู้บ่มเพาะเชื้อแห่งความขัดแย้งอันก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ต่างๆในขณะนี้


"แทนที่เราจะสร้างกลไกหรือองค์กรอะไรขึ้นมาเพื่อสร้างความมั่นคงและนำไปสู่การลดการใช้กำลังทหารในการเมืองภาคพื้นยุโรป ตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ กลับประกาศชัยชนะในสงครามเย็น ความเบิกบานใจในชัยชนะพลุ่งพล่านในหัวเหล่าผู้นำตะวันตกอาศัยจังหวะที่รัสเซียกำลังอ่อนแอ อ้างความเป็นผู้นำผูกขาดทิศทางการเมืองโลก การขยายพื้นที่ของนาโต เหตุการณ์ในโคโซโว โครงการต่อต้านอาวุธนำวิถี และสงครามในตะวันออกกลาง นำไปสู่การสิ้นความไว้วางใจระหว่างกัน กล่าวโดยเปรียบเทียบแผลถลอกที่เคยมีกำลังกลายเป็นแผลใหญ่ที่เรื้อรัง" กอร์บาชอฟ ในวัย 83 ปี ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการกลาสนอสต์เปเรสตรอยก้าของอดีตสหภาพโซเวียตกล่าว
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #248 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 09:49:19 »

กอร์บาชอฟ  ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการกลาสนอสต์ เปเรสตรอยก้าของอดีตสหภาพโซเวียต ที่ทั่วโลกต่างชื่นชม

"กอร์บาชอฟประสบผลสำเร็จในการนำนโยบายทั้ง 2 มาใช้ปฏิรูปการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีการจัดตั้งสมัชชาผู้แทนประชาชนขึ้นในพ.ศ.2532 ประกอบด้วยสมาชิก 2,250 คน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกตั้งบุคคลที่ตนเชื่อมั่นและศรัทธา ให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อ มวลชน ให้เสรี ภาพในการชุมนุม และเลือกนับถือศาสนา ปล่อยนักโทษการเมือง ที่สุดสมัชชา ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้กอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหารอย่างกว้างขวาง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ

นโยบายกลาสนอสต์ได้นำผลกระทบมาสู่โซเวียตโดยปริยาย โดยประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ คือ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย เชโกสโลวะเกีย โรมาเนีย และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งได้ถือโอกาสนี้ทำลายกำแพงเบอร์ลิน โดยเปิดและปรับตนเองเช่นกัน ทำให้ระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในยุโรปล่มสลาย ทั้งยังเกิดปัญหาเชื้อชาติในโซเวียตติดตามมา เนื่องจาก 15 สาธารณรัฐอันประกอบเป็นสหภาพโซเวียตนั้นประกอบด้วยประชาชนที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ที่ตลอดเวลาสามารถอยู่ร่วมกันได้ก็ด้วยกลไกการ บริหารและควบคุมที่เคร่งครัดเฉียบขาดของพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้นเมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกได้ ความรู้สึกเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมจึงปะทุขึ้นอย่างเปิดเผย

นอกจากนี้ สาธารณรัฐต่างๆ บนชายฝั่งทะเลบอลติกยังพากันเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชและขอแยกตัวเป็นอิสระจากการปกครองของโซเวียต ได้แก่ ลิทัวเนีย เอสโตเนีย และลัตเวีย

ท้ายที่สุดในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียตให้กับประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์"
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #249 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 10:28:03 »

ครับ พี่เหยง

ยังคงไม่เท่าเทียมกัน หลังจากรวมชาติแล้ว ๒๕ ปี

๑๕ ปีก่อนที่ได้ไปเยอรมนี พักด้านตะวันออก ๑ เดือน ได้เห็นอย่างชัดเจน
คนด้านตะวันออกพูดภาอังกฤษไม่ได้ เพราะในวัยเด็กโรงเรียนไม่ได้สอนตามผู้ปกครองคือรัสเซียไม่ให้สอน
อาคาร วิถีชีวิตยังคงไม่ทันสมัยเท่าอีกด้านที่ปกครองโดยอีกกลุ่ม
เชื่อว่าผู้ที่ถูกแบ่งประเทศเป็นเวลา ๒๘ ปี ยังจำอะไรๆได้แน่นอน ยากที่จะลืม
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 27  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><