เริง2520
|
|
« ตอบ #175 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 15:43:14 » |
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #178 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 12:04:22 » |
|
ตัวตำหนักที่ทำด้วยไม้ ยังคงความสวยงามและมั่นคงแข็งแรง ไม่ผุพัง หรือกร่อนลงเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่ผ่านมานับร้อยปีเศษแล้วก็ตาม
|
|
|
|
ประทาน14
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: 2514
คณะ: เภสัชศาสตร์
กระทู้: 999
|
|
« ตอบ #179 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 20:04:07 » |
|
น้องเริงครับ.... ลูกปัดอู่ทองเสันนี้สวยมากครับ แต่ลูกปัดสุริยเทพพี่ไม่เคยเห็นมาก่อน คงหายากน่าดู
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #180 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2557, 10:37:37 » |
|
ครับ ลูกปัดบางเม็ดยังมีทรายที่รูร้อย ต้องเขี่ย แช่น้ำก่อนร้อยก็มี
คนแก่เล่าว่า เมื่อก่อนเวลาฝนตก ซะหน้าดิน มีมากนำมาเล่นปากัน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #182 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 07:19:29 » |
|
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #184 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 15:11:02 » |
|
อ่าวนาง ฝนตกทั้งวัน ที่สุด ในรอบปีเชียวค่ะเมื่อวานยังออกเลกันได้ สู้เที่ยวกับ ตามครูมาเที่ยว ไม่ได้ ไม่มีวันหยุด ตามเที่ยวได้ทุกวัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #185 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 18:00:49 » |
|
มีตามไปเที่ยวเรื่อยๆ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #186 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 18:20:44 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #188 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2557, 17:03:58 » |
|
ไประยอง อีกสองวันมีภาพครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #189 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2557, 15:13:19 » |
|
เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยแพร่หนังสือจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ถึงกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเหตุเพลิงไหม้โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ หลังจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนาฯ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย. อันเนื่องมาจากเหตุเพลิงไหม้โครงการเซ็นทรัลเวิลด์จาก บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เทเวศประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาฯ ระบุว่า เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทำให้เทเวศประกันภัยไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาภายใน 1 เดือน ทั้งนี้ บริษัทมีสิทธิขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #190 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2557, 14:12:39 » |
|
กลับมาแล้ว ไม่มีภาพทึ่ระยอง มีภาพทึ่อื่นแทน 555
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #191 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 08:18:36 » |
|
สวัสดีในเช้าวันจันทร์
ตามมาชม
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #195 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 18:45:15 » |
|
องค์ภาฯเคยเสด็จฯที่นี่ หลายครั้ง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #196 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 14:21:03 » |
|
อากาศเริ่มเย็น น่าไปทางอิสาน คงเป็นสัปดาห์หน้า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #197 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 10:27:02 » |
|
ป้อมวิชัยประสิทธิ์...อ่านให้สนุกจนเบื่อไปเลย.....เลย
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงทราบ จึงส่งคณะทูตชุดที่ ๒ ซึ่งประกอบด้วยขุนพิชัยวาทิต และออกขุนพิชิตไมตรีไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ.๒๒๒๗ เพื่อสืบข่าวของคณะราชทูตชุดแรกและกระชับสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คณะทูตชุดนี้เดินทางกลับมาถึงอยุธยาในต้น พ.ศ. ๒๒๒๘ พร้อมกับคณะราชทูตชุดแรกของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ คือ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) และคณะ ”
การสร้างป้อมปราการที่เมืองธนบุรีทั้งสองฝั่งนั้น เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะ เดอ ลามาร์ (de Lamare) เป็นวิศวกร ฟอร์บัง (Claude de Forbin) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมดูแล โดยมีวิชเยนทร์เป็นแม่กอง (ธีระชัย และคณะ , 2532 : 40)
“… เป็นที่น่าสังเกตว่า แผนผังการสร้างป้อมใหม่ที่บางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งมีสำเนาตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้น ฝรั่งเศสได้ออกแบบสร้างอย่างมั่นคงและใหญ่โตมาก และเป็นแผนผังที่เขียนไว้ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช ๑๖๗๗ หรือพุทธศักราช ๒๒๒๐ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ราชทูตฝรั่งเศสชุดนายเชอวาลิเอร์ เดอโชมองต์จะเข้ามาเมืองไทยถึง ๘ ปี แผนผังนี้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Plan du project de la fortification de Bancocq ออกแบบเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม คริสต์ศักราช ๑๖๗๗ …” ( http://www.ekrungthep.com/Content/ShowContent.asp?ContentID=33, 30/11/47)
ธีระชัย และคณะ (2532 : 13-16) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ วิชเยนทร์และฟอร์บังได้วางผังวาดรูปป้อมปราการมีหอรบเป็นรูปห้าเหลี่ยม … และได้สร้างขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาคือ ตรงที่เป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบันป้อมหนึ่ง ส่วนอีกป้อมหนึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามคือบริเวณโรงเรียนราชินี โดยมีสายโซ่ขึงขวางแม่น้ำระหว่างป้อม
การก่อสร้างป้อมดำเนินไปอย่างล่าช้า เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกวันและไม่มีทางป้องกันได้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานล่าช้า เนื่องจากคนไทยเดินเท้าเปล่า คนงานที่ขุดดินจึงมักถูกงูกัด งูชนิดนี้ตัวเล็กสีเทายาวคืบเศษ พิษของมันร้ายแรงมาก คนที่ถูกกัดจะชักภายใน ๑ ชั่วโมง ถ้าแก้ไขไม่ทันจะตายภายใน ๒๔ ชั่วโมง ”
“สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้โดยนายเซเบเรต์ เมื่อคราวที่ เดอ ลาลูแบร์ได้ไปชมการก่อสร้างป้อม เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๒๓๐ เป็นป้อมบางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งกำลังสร้างใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ (ตั้งอยู่ระหว่างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และปากคลองตลาดในปัจจุบัน) คือ “ พื้นที่ดินในป้อมนี้เป็นเลนเป็นโคลน ถูกแดดหน้าก็แห้งแข็งเหมือนจะเป็นดินแข็งไปทั้งหมด แต่ครั้นขุดลงไปลึก ๖ ฟุตเท่านั้นก็เป็นเลนเป็นตมไปหมด เมื่อเอาท่อนเหล็กยาวตั้ง ๒๐ - ๒๕ ฟุตแทงลงไป ก็ไม่พบดินแข็งเลย ซึ่งพื้นที่ดินเป็นเช่นนี้ก็ต้องนับว่าเป็นพื้นที่เลวอย่างที่สุด ครั้นแล้วเราจึงได้กลับข้ามฟากไปที่ป้อมฝั่งตะวันตกที่ได้พักนอนเมื่อคืนนี้ …
… ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกนี้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๒๓๑” (http://www.ekrungthep.com/Content/ShowContent.asp?ContentID=33, 30/11/2547)
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #198 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 10:32:49 » |
|
บันทึกลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและ เหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง กับป้อม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนี้
พ.ศ.2229 กบฏมักกะสัน สาเหตุมาจากพวกกบฏ (แขกมักกะสัน ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ) อ้างว่า สมเด็จพระนารายณ์จะทรงเข้ารีต และศาสนาคริสต์มีทีท่าว่าจะครอบงำทัศนคติไทย เป็นเหตุให้ต้องก่อการกบฏป้องกันไว้ก่อน
พ.ศ.2230 ฝรั่งเศสสะสมกำลังคิดจะเอาสยามเป็นเมืองขึ้น (ปรากฏตามประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๗ เล่ม ๑๖ หน้า ๒๐๕ – ๒๐๗) โดยส่งกองกำลังทหารจำนวนหนึ่งเข้ามาประจำที่บางกอก (ที่ป้อมเมืองธนบุรี ) และมะริด
พ.ศ.2231 พระเทพราชาทำรัฐประหาร ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ และต้องการขับทหารฝรั่งเศสออกจากป้อมเมืองธนบุรีที่ประจำอยู่ที่ป้อมมาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ผลปรากฎว่าป้อมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทหารฝรั่งเศสถูกขับออกไป
ข้อมูลกรุงเทพมหานคร จากเว็บไซต์ อี กรุงเทพ ดอทคอม ได้กล่าวถึงเรื่องราวในช่วงนี้ว่า “… เกิดเหตุการณ์ยุ่งยากขึ้นเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใกล้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระเพทราชาทรงควบคุมพระราชอำนาจไว้ได้ ไม่โปรดให้มีกองทหารฝรั่งเศสมาตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย จึงได้ส่งทหารไปขับไล่ฝรั่งเศสออกจากป้อมบางกอก กองทหารฝรั่งเศสต้องถอนกำลังออกจากป้อมบางกอกฝั่งตะวันตก มารวมกันอยู่ที่ป้อมฟากตะวันออก ข้างทหารไทยก็เข้ายึดป้อมฝั่งตะวันตกไว้ เกิดต่อสู้กัน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งเพิ่งจะสร้างเสร็จได้ใช้ประโยชน์ในการสู้รบ จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๕ จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาครั้งสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้บันทึกไว้ว่า “ทหารฝรั่งเศส … ได้ระเบิดปืนใหญ่ในป้อมฝั่งตะวันตก ๑๓ กระบอก และปืนกระบอกใดที่ระเบิดไม่ได้ ก็เจาะรูเสียทุกกระบอก แล้วขนอาวุธลูกกระสุนดินดำซึ่งอยู่ในป้อมนี้ ย้ายไปอยู่ป้อมฝั่งโน้น (ฝั่งตะวันออก) พอพวกฝรั่งเศสออกจากป้อมแล้ว พวกไทยก็เข้าไปยึดป้อมไว้ พอนายพลเดฟาร์ชเห็นว่าไทยเข้าไปอยู่ในป้อมแล้ว ก็ได้สั่งกองทหารฝรั่งเศสให้ไปตีเอาป้อมคืนมาจากไทย กองทหารไทยและฝรั่งเศสได้สู้รบกันช้านาน ทหารฝรั่งเศสสู้ไม่ได้ จึงได้ถอยเข้าไปอยู่ในป้อมฝั่งตะวันออก และได้กระทำการร้ายต่าง ๆ เป็นอันมาก ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามทรงพระราชดำริว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคงจะไม่ทรงทราบว่านายพลกับกองทหารได้ทำการอย่างไร ทรงเห็นว่า ถ้าจะให้กองทหารไทยทำการสู้รบโดยเต็มฝีมือ ก็จะเกิดบาดหมางในพระราชไมตรี จึงเป็นแต่มีพระราชโองการสั่งให้ทำป้อมเล็ก ๆ และคูรอบป้อมใหญ่ และให้ทหารรักษาไว้ให้มั่นคง ทั้งทางบกและทางเรือ และให้คอยป้องกันอย่าให้พวกฝรั่งเศสออกจากป้อมได้ …
… นายพลเดฟาร์ชกับกองทหารกลับสานตะกร้าขึ้นวางบนเชิงเทินรอบป้อม แล้วเอาดินใส่ตะกร้า และทำสนามเพลาะในป้อมอีกชั้นหนึ่ง สนามเพลาะนี้ทำด้วยต้นตาลต้นใหญ่ๆ และคล้ายกับป้อมอีกป้อมหนึ่งต่างหาก และกองทหารก็ได้เอาปืนใหญ่เข้าบรรจุตามที่ยกพื้นขึ้นสำหรับวางปืนได้สองชั้นซ้อนกัน แล้วได้ระดมยิงปืนใหญ่ทำลายธง ทำลายโรงไว้ดินปืนด้วย ฝ่ายข้างไทยก็ได้จัดทหารรักษาป้อมฝั่งตะวันตก สำหรับยิงปืนและโยนลูกแตกเข้าไปในป้อมฝรั่งเศส แต่เกรงว่าจะไปถูกคนไทยด้วยกัน ทั้งเป็นการไม่สมควรทางพระราชไมตรี จึงเป็นแต่คอยยิงตอบโต้กับพวกฝรั่งเศสเท่านั้น
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #199 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 10:37:19 » |
|
… ต่อมาเมื่อนายพลเดส์ฟาร์ชและสมเด็จพระเพทราชาสามารถเจรจาสงบศึกกันได้ กองทหารฝรั่งเศสก็ยินยอมถอนตัวออกไปจากเมืองไทยโดยสิ้นเชิง ครั้นแล้วสมเด็จพระเพทราชาโปรดให้รื้อป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกเสีย ด้วยทรงเห็นว่าสร้างใหญ่โตเกินกำลังทหารไทยจะรักษาไว้ได้ คงเหลือแต่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันตก ซึ่งต่อมาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ป้อมวิไชเยนทร์” (http://www.ekrungthep.com/Content/ShowContent.asp?ContentID=33, 30/11/2547) หรือ "ป้อมวิชเยนทร์" และได้ใช้นามนี้อยู่ตลอดเวลาจนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก (กรมยุทธศึกษาทหารเรือ, ม.ป.ป. : 32)
เหตุการณ์ในช่วงนี้ แคมเฟอร์ บรรยายสภาพของป้อมบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ป้อมวิไชเยนทร์) ภายหลังการต่อสู้ระหว่างทหารไทยกับฝรั่งเศสว่า “ เราแลเห็นป้อมใหญ่ ซึ่งฝรั่งเศสสร้างขึ้นบนฝั่งขวาของแม่น้ำ ป้อมนี้เสียหายมาก เหนือเมืองบางกอกมีผู้คนอาศัยหนาแน่นทั้งสองฝั่ง มีย่านเรือนตั้งอยู่เป็นหมู่บ้าน ” (ดร . แคมเฟอร์ เป็นนักวิชาการที่มีคุณวุฒิสูงกว่าฝรั่งทุกคนที่เข้ามาสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้โดยสารเรือของฮอลันดาเข้าเขตน่านน้ำสยาม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2233 และเดินทางกลับในวันที่ 23 กรกฎาคมปีเดียวกัน อยู่ในสยามเพียง 57 วัน) (ธีระชัย และคณะ , 2532 : 21)
จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสต้องหยุดชะงักลง จนเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.2310 (ปรีดี พิศภูมิวิถี , 2544 : 27) และป้อมแห่งนี้อยู่ในความสงบเป็นเวลาติดต่อกันเกือบ 80 ปี
พ.ศ.2309 พระเจ้ามังระกรีธาทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาแตก พม่าแต่งตั้งคนไทยชื่อ นายทองอินเป็นผู้รักษาเมืองธนบุรี คอยริบทรัพย์จับเชลยส่งไปให้สุกี้พระนายกองที่โพธิ์สามต้น
พ.ศ.2314 สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสถาปนาเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี และทรงดัดแปลงป้อมวิชเยนทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ใกล้เคียงพระราชวัง (โดยโปรดเกล้าให้เกณฑ์ไพร่พลมาปรับปรุงพระนคร (เมืองธนบุรี) โดยตั้งค่ายทำด้วยไม้ทองหลางทั้งต้น ล้อมพระนครทั้งสองฝั่ง โดยทำเพียงฝั่งละสามด้าน ปล่อยด้านที่อยู่ริมแม่น้ำว่างไว้ … เอาแม่น้ำไว้หว่างกลางเหมือนอย่างเมืองพิษณุโลก) และพระราชทานนามใหม่ว่า “ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ”
พ.ศ.2317 สมเด็จพระเจ้าตากสิน สั่งให้ตัดหัวพระเทพโยธาเสียบประจานไว้ที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์
พ.ศ.2324 พระยาสรรค์เป็นกบฏ เข้ากราบทูลให้สมเด็จพระเจ้าตากสินสละราชสมบัติและเสด็จออกผนวช
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 สมเด็จพระเจ้าตากสิน ถูกนำไปสำเร็จโทษที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์
|
|
|
|
|