เหยง 16
|
|
« เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2556, 22:11:00 » |
|
สวัสดีครับ
ห้อง 2516 เงียบเหงามาก สมาชิกห้องนี้หายหน้าไปมากหลังจากงานคืนสู่เหย้าที่จัดขึ้นในปี 2554 เหมือนกับหมดเรี่ยว หมดแรง กับการเข้าเป็นประธานชมรมคนสุดท้ายก่อนตั้งเป็นสมาคมฯ
ผมจึงนำของเก่าที่มีเล็กน้อย ภาพ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร และอื่นๆ มาเล่าสู่กันฟัง แต่การเล่าอาจจะช้าสักนิด เนื่องจากต้องมีภาพประกอบ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสะแกน ถือเอาวันนี้ 25 พ.ย. วันมหาธีรราชเจ้าเป็นวันเริ่มครับ แต่ลงจริง ขอเวลา 1 เดือนเป็นอย่างเร็วในการเริ่มต้น คงไม่ว่ากัน เพื่อให้ห้อง 2516 ซึ่งมี อจ.ทราย 16, คุณติ๋ม จันทร์ฉาย ยืนพื้นอยู่ในขณะนี้เป็นผู้ร่วมเดินทาง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2556, 22:11:28 » |
|
ห้องนี้เป็นสารบัญ ครับ
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2556, 22:22:44 » |
|
ด้วยg8pเป็นสมาชิกหนังสือ คอลเล็คชั่น แอนด์ เฮ้าส์ Collection & House ในช่วงหลายปีก่อน ซึ่งหนังสือดังกล่าวมีข้อมูลที่ตรงใจ คือเรื่องราว ภาพที่เกี่ยวกับรัชกาลที่ 5 ของสะสมในยุดนั้น รวมทั้งอย่างอื่นๆ ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือที่อ้างไว้นี้
อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่นนี้ได้เลิกตีพิมพืไปหลายปีแล้วครับ เพราะต้นทุนสูง แต่ผมก็ยังเก็บไว้อยู่ แล้วจะค่อยๆ ทยอยนำลงให้ทราบไปเรื่อยๆ เพื่อให้ทุกท่านค้นหาว่า รอบตัว มีสิ้งของมีค่าเช่นที่นำลงหรือไม่ ?? เพื่อมิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหายไปกับกาลเวลาต้องขอขอบคุณเจ้าของ บรรณาธิการหนังสือเล่นนี้ไว้เป็นการล่วงหน้าครับ แม้จะเลิกตีพิมพืไปแล้วก็ตาม
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2556, 06:44:35 » |
|
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2556, 20:40:04 » |
|
ขอตามชมด้วยครับ...
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2556, 08:50:59 » |
|
นี่ ... ก็ได้จากเพื่อนเหยง เหรียญสลึงรูปรัชกาลที่ 5 ที่เหยงให้มานานแล้ว ขนาดเล็ก ... ถูกเก็บในกรอบทอง ...
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2556, 16:17:03 » |
|
ดีใจครับ ที่ อจ.ทรายยังเก็บรักษาไว้ ปกติเหรียญ"สลึงหนึ่ง" หรือ"เฟื้องหนึ่ง" เป็นเหรียญที่ถูกใช้มากที่สุด สึกหรอมากที่สุด จะหาเหรียญสวยๆ สักเหรียญหนึ่ง หากได้ยากเต็มที ในปัจจุบันนี้
ที่สำคัญ พระรูปที่พิมพ์หน้าเหรียญ ทันรัชสมัยของ ร.5 ถือว่ามีผลต่อจิตใจ ด้านหลังสวยมาก โหนกช้างเอราวัณยังโด่งออกมาชัดเจนมาก - สภาพนี้หาได้ยากมากแล้วครับ จำได้ว่า น่าจะมี อจ.ทราย, จิ๋ม ??, อจ.ด่อง (เพื่อนเภสัช) ได้ไป อ่าจมีบางคนได้เป็นเหรียญ "สลึงหนึ่ง"
|
|
|
|
lek_adisorn
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 08:15:20 » |
|
สวัสดีครับพี่เหยง ผมเคยไปถ่ายสไลด์เครื่องทองโบราณจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ อยุธยานานมากเกือบยี่สิบแล้วมั้ง เดี๋ยวว่างจะนำภาพมาลงครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556, 14:02:20 » |
|
น้องเล็ก
ยินดีเป็นอย่างยิ่ง นำสมบัติของชาติมาลงให้เห็นไว้เป็นประวัติศาสตร์ครับ
|
|
|
|
lek_adisorn
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 12:00:30 » |
|
สวัสดีครับพี่เหยง ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าผ่านมาถึงวันนี้จะเหลือสมบัติของชาติกี่ชิ้น ลองดูภาพ บางภาพก็เสื่อมคุณภาพของฟิล์มไปครับ รายละเอียดอาจจะไม่ดีพอ แต่พอจะดูได้ครับ
|
|
|
|
lek_adisorn
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 12:01:02 » |
|
|
|
|
|
lek_adisorn
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 12:01:56 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2556, 15:35:06 » |
|
ขอบคุณน้องเล็ก
วงนี้น่าจะเป็น "แหวนนพรัตน์" น่ะ ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2556, 10:52:08 » |
|
เหรียญรูปไข่นี้เป็นกำเนิดให้สร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเวลาต่อมาหมายเหตุ: เก่าตามสภาพการใช้ ซ้ายมือเป็นเหรียญเงินลงยาสีน้ำเงิน ด้านหลัง อ่านได้ว่า ที่รฤก ที่ได้ ฉลอง พระเดช พระคุณ ในงาน รัชมังคลากภิเศก รัตนโกสินทร์ศก๔๑ ๑๒๗ ขวามือเป็นเหรียญทองแดง ใช้คล้องคอจนห่วงขาดและด้านหลังสึกหรอไปกว่า 70% ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปทรงม้า ที่ประดิษฐานอยู่ที่ลานพระรูป หน้าพระที่นั่งอนัตสมาคม มีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" โค้งตามรูปเหรียญ รูปเหรียญที่สวย คมชัด จะโพสต์ตามหลังครับ
|
|
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2556, 14:07:25 » |
|
ตามชม อยู่ครับ น้องเหยง และ สมาชิก ของเก่า ของสะสม ยังหาช่องทางเข้ามา เล่นด้วย ไม่ได้ เพราะของเก็บของตัวเองไม่รู้ไปไหน หมด ช่วงที่ไปอยู่ ต่างประเทศซะ หลายปี.......ทรัพย์สมบัติที่พอมี อยู่ บ้างก็ กระจาย หายไปหมด ไม่ได้สนใจ เดี๋ยวนี้ก็คงเหลือ ตัว และ หัวใจเท่านั้น เดี๋ยวจะพยายามหา มาร่วมด้วย พยายามปลุก กระทู้ ให้ ตื่นหน่อยครับ พี่ น้อง เพราะ ได้ ความรู้ และผ่อนคลายดี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2556, 14:35:46 » |
|
พี่ปี๊ด
ขอบคุณสำหรับกำลังใจและคำแนะนำครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2556, 21:34:41 » |
|
ตราไปรษณียากร 150 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ในโอกาสวันประสูติครบ 150 ปี เป็นภาพพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ประกอบภาพพื้นหลังเป็นภาพวาดฝีพระหัตุพระอาทิตย์ทรงรถและแบบร่างพระอุโบสถ วัดราชาธิวาสวรวิหาร
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2556, 21:37:26 » |
|
ข้อมูลจากหนังสือ "แคตตาล็อกแสตมป์" STAMP CATALOGUE ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2556, 21:39:29 » |
|
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2556, 01:20:59 » |
|
มาชม ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2556, 21:48:17 » |
|
พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าวรวรรณากร" เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 56 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
พระองค์เจ้าวรวรรณากร ทรงเริ่มรับราชการที่หอรัษฏากรพิพัฒ เป็นพนักงานการเงินที่ฝากแบงค์ต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2432 ดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มกุฏวงศ์นฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิ์อดุลพหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนไตรย์คุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร"
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประชวรพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชันษา 70 ปี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2556, 21:53:44 » |
|
พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงมีชื่อเสียงจากงานพระนิพนธ์หลายชิ้นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บทละครพูดเรื่อง " สร้อยคอที่หาย" ซึ่งเคยบรรจุในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง "สาวเครือฟ้า" ซึ่งได้สร้างตัวละครให้กลายเป็นคนที่เหมือนกับมีตัวจริงขึ้นมา 2 คน คือ ร้อยตรีพร้อม และสาวเครือฟ้า ทรงก่อตั้งโรงละครร้องขึ้นในบริเวณตำหนักที่ประทับ ชื่อว่า "โรงละครปรีดาลัย" เป็นโรงละครร้องแห่งแรกในสยาม
นอกจากนี้ยังทรงมีงานที่สำคัญ คือ พระนิพนธ์แปล จดหมายเหตุลาลูแบร์ โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ "ตำนานพระแท่นมนังคศิลาอาสน์" รุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม และ "นวางกุโรวาท" เป็นต้น และพระองค์ยังทรงใช้นามปากกาว่า "ประเสริฐอักษร" เพื่อทรงพระ นิพนธ์เรื่องสั้นไว้จำนวนหนึ่งอีกด้วย
บทละครเรื่อง สาวเครือฟ้า
ประวัติ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงได้เค้าเรื่องนี้จากละครอุปรากร (โอเปรา) เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madam Butterfly) ของเกียโคโม บุชชินี อุปรากรเรื่องนี้ได้ต้นเค้ามาจากนวนิยายของจอห์น ลูเธอร์ ลอง อีกต่อหนึ่งในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่2 เมื่อพ.ศ. 2450 ได้ทอดพระเนตรการแสดงละครอุปรากรที่ฝรั่งเศส เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายซึ่งเป็นเรื่องความรักและความผิดหวังระหว่างสาวญี่ปุ่นชื่อโจโจ้ซังกับทหารหนุ่มฝรั่ง เมื่อเสด็จนิวัติพระนครได้ทรงเล่าให้กรมนราธิปประพันธ์พงศ์ฟัง กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงดัดแปลงเรื่องนี้มาเป็นละครร้องแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง เป็นที่พอพระหฤทัยมาก นับเป็นการเริ่มต้นกำเนิดละครร้องที่ทรงดัดแปลงมาจากละครอุปรากรของยุโรป
ทำนองแต่ง เป็นบทละครร้องสลับพูด คำประพันธ์ที่ใช้เป็นประเภทกลอนเพลงไทย
ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เป็นบทสำหรับเล่นละครร้อง
เรื่องย่อ ร้อยตรีพร้อม ย้ายไปรับราชการที่เชียงใหม่ เกิดรักใคร่กับ สาวเครือฟ้า หญิงชาวเชียงใหม่ ภายหลังได้เป็นสามีภรรยากันจนสาวเครือฟ้าให้กำเนิดบุตร ร้อยตรีพร้อมได้คำสั่งย้ายกลับกรุงเทพฯ ถูกผู้ใหญ่บังคับให้แต่งงานกับหญิงสาวชาวกรุงเทพฯ สาวเครือฟ้าเฝ้ารอสามี เมื่อได้ข่าวว่าสามีกลับเชียงใหม่ก็ดีใจไปคอยต้อนรับ ครั้นปรากฏว่าร้อยตรีพร้อมพาภรรยาชาวกรุงเทพฯมาด้วย สาวเครือฟ้าเสียใจใช้มีดแทงตัวตาย ร้อยตรีพร้อมรับบุตรไปอุปการะ
|
|
|
|
|