22 พฤศจิกายน 2567, 05:49:03
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมชาติ ธรรมดา แบบไทยๆ  (อ่าน 492923 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #275 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2557, 22:08:30 »

ทศชาติชาดก : ชาติที่ 6 พระภูริทัต (ศีลบารมี)



พระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า “พรหมทัต” ครอง ราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี พระโอรสทรงดำรง ตำแหน่งอุปราช อยู่ต่อมาพระราชาทรงระแวงว่า พระโอรสจะคิดขบถ แย่งราชสมบัติ จึงมีโองการให้ พระโอรสออกไปอยู่ให้ไกลเสียจากเมือง จนกว่าพระราชา จะสิ้นพระชนม์จึงให้กลับมารับราชสมบัติ พระโอรสก็ปฏิบัติ ตามบัญชา เสด็จไปบวชอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชื่อว่า “ยุมนา”

มีนางนาคตนหนึ่งสามีตาย ต้องอยู่แต่เพียงลำพัง เกิดความ ว้าเหว่จนไม่อาจทนอยู่ในนาคพิภพได้ จึงขึ้น มาจากน้ำ ท่องเที่ยวไปตามริมฝั่งมาจนถึงศาลาที่พักของพระราชบุตร นางนาคประสงค์จะลองใจดูว่า นักบวชผู้พำนักอยู่ในศาลานี้ จะเป็นผู้ที่บวชด้วยใจเลื่อมใสอย่างแท้จริงหรือไม่ จึงจัดประดับ ประดาที่นอนในศาลานั้นด้วยดอกไม้หอม และของทิพย์จาก เมืองนาค ครั้นพระราชบุตรกลับมา เห็นที่นอนจัดงดงาม น่าสบายก็ยินดีประทับนอนด้วยความสุขสบายตลอดคืน รุ่งเช้าก็ออกจากศาลาไป นางนาคก็แอบดู พบว่าที่นอน มีรอยคนนอน จึงรู้ว่านักบวชผู้นี้มิได้บวชด้วยความศรัธรา เต็มเปี่ยม ยังคงยินดีในของสวยงาม ตามวิสัยคนมีกิเลส จึงจัดเตรียมที่นอนไว้ดังเดิมอีก ในวันที่สาม พระราชบุตรมีความสงสัยว่า ใครเป็นผู้จัด ที่นอนอันสวยงามไว้ จึงไม่เสด็จออกไปป่า แต่แอบดูอยู่บริเวณ ศาลานั่นเอง เมื่อนางนาคเข้ามาตกแต่งที่นอน



พระราชบุตร จึงไต่ถามนางว่า นางเป็นใครมาจากไหน นางนาคตอบว่า นางเป็นนาคชื่อมาณวิกา นางว้าเหว่าที่สามีตาย จึงออกมา ท่องเที่ยวไป พระราชบุตรมีความยินดีจึงบอกแก่นางว่า หากนางพึงพอใจจะอยู่ที่นี่ พระราชบุตรก็จะอยู่ด้วยกับนาง นางนาคมาณวิกาก็ยินดี ทั้งสองจึงอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา จนนางนาคประสูติโอรสองค์หนึ่ง ชื่อว่า “สาครพรหมทัต” ต่อมาก็ประสูติพระธิดาชื่อว่า “สมุทรชา” ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต บรรดาเสนาอำมาตย์ ทั้งหลายไม่มีผู้ใดทราบว่าพระราชบุตรประทับ อยู่ ณ ที่ใด บังเอิญพรานป่าผู้หนึ่งเข้ามาแจ้งข่าวว่า ตนได้เคยเที่ยวไปแถบ แม่น้ำยมุนา และได้พบพระราชบุตรประทับอยู่บริเวณนั้นอำมาตย์ จึงได้จัดกระบวนไปเชิญเสด็จพระราชบุตรกลับมาครองเมือง พระราชบุตรทรงถามนางนาคมาณวิกาว่า จะไปอยู่ เมืองพาราณสีด้วยกันหรือไม่

นางนาคทูลว่า “วิสัยนาค นั้นโกรธง่ายและมีฤทธิ์ร้าย หากหม่อมฉันเข้าไปอยู่ในวัง แล้วมีผู้ใดทำให้โกรธ เพียงหม่อมฉัน ถลึงตามอง ผู้นั้นก็จะ มอดไหม้ไป พระองค์พาโอรสธิดากลับไปเถิด ส่วนหม่อมฉัน ขอทูลลากลับไปอยู่เมืองนาค ตามเดิม”

พระราชบุตรจึงพา โอรสธิดากลับไปพาราณสีอภิเษกเป็นพระราชา อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่โอรสธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ เกิดตกใจกลัวเต่า ตัวหนึ่ง พระบิดาจึงให้คนจับเต่านั้นไป ทิ้งที่วันน้ำวนในแม่น้ำ ยมุนา เต่าจมลงไปถึงเมืองนาค เมื่อถูกพวกนาคจับไว้



เต่าก็ออก อุบาย บอกแก่ นาคว่า “เราเป็นทูตของพระราชาพาราณสี พระองค์ ให้เรามาเฝ้าท้าวธตรฐ พระราชทานพระธิดาให้เป็นพระชายา ของท้าวธตรฐ เมืองพาราณสีกับนาคพิภพจะได้เป็นไมตรีกัน” ท้าวธตรฐทรงทราบก็ยินดี สั่งให้นาค 4 ตนเป็นทูตนำ บรรณาการไปถวายพระราชาพาราณสีและขอรับตัว พระธิดามาเมืองนาค พระราชาทรงแปลกพระทัย จึงตรัสกับ นาคว่า “มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่าพันธุ์กัน จะแต่งงานกัน นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้”

เหล่านาคได้ฟังดังนั้น จึงกลับไปกราบทูลท้าวธตรฐว่า พระราชาพาราณสีทรงดูหมิ่นว่านาคเป็นเผ่าพันธุ์งู ไม่คู่ควรกับพระธิดา ท้าวธตรฐทรงพิโรธ ตรัสสั่งให้ฝูงนาค ขึ้นไปเมืองมนุษย์ ไปเที่ยวแผ่พังพานแสดง อิทธิฤทธิ์อำนาจ ตามที่ต่างๆ แต่มิให้ทำอันตรายชาวเมือง ชาวเมืองพากันเกรงกบัวนาคจนไม่เป็นอันทำมาหากิน ในที่สุดพระราชาก็จำพระทัยส่ง นางสมุทรชา ให้ไปเป็นชายา ท้าวธตรฐ นางสมุทรชาไปอยู่เมืองนาคโดยไม่รู้ว่าเป็นเมืองนาค เพราะท้าวธตรฐให้เหล่า บริวารแปลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด นางอยู่นาคพิภพด้วยความสุขสบาย จนมีโอรส 4 องค์ ชื่อว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ และ อริฏฐะ



อยู่มาวันหนึ่ง อริฏฐะได้ฟังนาคเพื่อนเล่นบอกว่า พระมารดาของตนไม่ใช่นาค จึงทดลองดูโดยเนรมิต กายกลับเป็นงู ขณะที่กำลังกินนมแม่อยู่ นางสมุทรชาเห็นลูก กลายเป็นงูก็ตกพระทัย ปัดอริฏฐะตกจากตัก เล็บของนาง ไปข่วนเอานัยน์ตาอรฏฐะบอกไปข้างหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา นางจึงรู้ว่าได้ลงมาอยู่เมืองนาค ครั้นเมื่อพระโอรสทั้ง 4 เติบโตขึ้น ท้าวธตรฐก็ทรงแบ่งสมบัติ ให้ครอบครองคนละเขต

ทัตตะผู้เป็นโอรส องค์ที่สองนั้น มาเฝ้าพระบิดามารดาอยู่เป็นประจำ ทัตตะเป็นผู้มีปัญญา เฉลียวฉลาดได้ช่วยพระบิดาแก้ไข ปัญหาต่างๆอยู่เป็นนิตย์ แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเทวดา ทัตตะก็แก้ไขได้จึงได้รับการยกย่อง สรรเสริญว่า เป็นผู้ปรีชาสามารถ ได้รับขนานนามว่า ภูริทัตต์ คือ ทัตตะผู้เรืองปัญญา ภูริทัตต์ได้เคยไปเห็นเทวโลก ว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์จึงตั้งใจว่า จะรักษาอุโบสถศีลเพื่อจะได้ไปเกิดใน เทวโลก จึงทูล ขออนุญาตพระบิดา ก็ได้รับอนุญาต แต่ท้าวธตรฐสั่งว่า มิให้ออกไปรักษาอุโบสถนอก เขตเมืองนาค เพราะอาจ เป็นอันตราย

ครั้นเมื่อรักษาศีลอยู่ในเมืองนาค ภูริทัตต์ รำคาญว่าพวกฝูงนาคบริวาร ได้ห้อมล้อม ปรนนิบัติเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา ภูริทัตต์ก็ขึ้นไปรักษาอุโบสถศีลอยู่ที่จอมปลวก ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา ภูริทัตต์ตั้งจิต อธิษฐานว่า แม้ผู้ใดจะต้องการหนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้ได้ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ครั้งนั้นมีนายพรานชื่อ เนสาท ออกเที่ยวล่าสัตว์ เผอิญได้ พบภูริทัตต์เข้า สอบถามรู้ว่าเป็นโอรสของ ราชาแห่งนาค



ภูริทัตต์เห็นว่าเนสาทเป็นพรานมีใจบาปหยาบช้า อาจเป็น อันตรายแก่ตน จึงบอกแก่ พรานเนสาทว่า “เราจะพาท่าน กับลูกชาย ไปอยู่เมืองนาคของเรา ท่านทั้งสองจะมีความสุข สบายในเมือง นาคนั้น”

พรานเนสาทลงไปอยู่เมืองนาค ได้ไม่นาน เกิดคิดถึงเมืองมนุษย์จึงปรารภกับภูริทัตต์ว่า “ข้าพเจ้าอยากจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้อง แล้วจะออกบวช รักษาศีลอย่างท่านบ้าง” ภูริทัตต์รู้ด้วยปัญญาว่าพรานจะเป็นอันตรายแก่ตน แต่ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี จึงต้องพาพรานกลับไป เมืองมนุษย์ พรานพ่อลูกก็ออกล่าสัตว์ต่อไปตามเดิม

มีพญาครุฑตนหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ทางมหาสมุทรด้านใต้ วันหนึ่งขณะออกไปจับนาคมากิน นาคเอาหางพันกิ่งไทรที่อยู่ ท้ายศาลาพระฤาษี จนต้นไทรถอนรากติดมาด้วย ครั้นครุฑ ฉีกท้องนาคกินมันเหลว แล้วทิ้งร่างนาคลงไป จึงเห็นว่า มีต้นไทรติดมาด้วย ครุฑรู้สึกว่าได้ทำผิด คือถอนเอา ต้นไทรที่พระฤาษี เคยอาศัยร่มเงา จึงแปลงกายเป็นหนุ่ม น้อยไปถามพระฤาษีว่า เมื่อต้นไทรถูกถอนเช่นนี้ กรรมจะตก อยู่กับใคร



พระฤาษีตอบว่า “ทั้งครุฑและนาคต่างก็ไม่มี เจตนาจะถอนต้นไทรนั้น กรรมจึงไม่มีแก่ผู้ใดทั้งสิ้น” ครุฑดีใจจึงบอกกับพระฤาษีว่าตนคือครุฑ เมื่อพระฤาษี ช่วยแก้ปัญหาให้ตนสบายใจขึ้นก็จะสอนมนต์ชื่อ อาลัมพายน์ อันเป็นมนต์สำหรับครุฑใช้จับนาค ให้แก่พระฤาษี อยู่มาวันหนึ่ง มีพราหมณ์ซึ่งเป็นหนี้ชาวเมืองมากมาย จนคิด ฆ่าตัวตาย จึงเข้าไปในป่า เผอิญได้พบพระฤาษี จึงเปลี่ยนใจ อยู่ปรนนิบัติพระฤาษีจนพระฤาษีพอใจ สอนมนต์อาลัมพายน์ ให้แก่พราหมณ์นั้น พราหมณ์เห็นทางจะเลี้ยงตนได้ จึงลา พระฤาษีไป เดินสาธยายมนต์ไปด้วย นาคที่ขึ้นมาเล่นน้ำ ได้ยินมนต์ก็ตกใจ นึกว่าครุฑมา ก็พากันหนีลงน้ำไปหมด ลืมดวงแก้วสารพักนึกเอาไว้บนฝั่ง พราหมณ์หยิบ ดวงแก้วนั้นไป

ฝ่ายพรานเนสาทก็เที่ยวล่าสัตว์อยู่ เห็นพราหมณ์เดินถือ ดวงแก้วมา จำได้ว่าเหมือนดวงแก้วที่ภูริทัตต์ เคยให้ดู จึงออกปากขอ และบอกแก่พราหมณ์ว่า หากพราหมณ์ ต้องการอะไรก็จะหามาแลกเปลี่ยน พราหมณ์บอกว่าต้องการ รู้ที่อยู่ของนาค เพราะตนมีมนต์จับนาค พรานเนสาทจึงพา ไปบริเวณที่รู้ว่า ภูริทัตต์เคยรักษาศีลอยู่ เพราะความโลภ อยากได้ดวงแก้ว โสมทัตผู้เป็นลูกชาย เกิดความละอายใจที่บิดาไม่ซื่อสัตย์ คิดทำร้ายมิตร คือภูริทัตต์ จึงหลบหนีไป ระหว่างทาง เมื่อไปถึงที่ภูริทัตต์รักษาศีลอยู่ ภูริทัตต์ลืมตาขึ้นดูก็รู้ว่า พราหมณ์คิดทำร้ายตน แต่หากจะตอบโต้ ถ้าพราหมณ์เป็น อันตรายไป ศีลของตนก็จะขาด ภูริทัตต์ปรารถนาจะรักษาศีล ให้บริสุทธิ์จึงหลับตาเสีย ขดกายแน่นิ่งไม่เคลื่อนไหว พราหมณ์ก็ร่ายมนต์อาลัมพายน์ เข้าไปจับภูริทัตต์ไว้กด ศีรษะอ้า ปากออก เขย่าให้สำรอกอาหารออกมา และทำร้าย จนภูริทัตต์เจ็บปวดแทบสิ้นชีวิต แต่ก็มิได้โต้ตอบ



พราหมณ์จับ ภูริทัตต์ใส่ย่ามตาข่าย แล้วนำไปออกแสดงให้ประชาชนดูเพื่อหาเงิน พราหมณ์บังคับให้ภูริทัตต์แสดงฤทธิ์ต่างๆ ให้เนรมิตตัวให้ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ให้ขด ให้คลาย แผ่พังพาน ให้ทำสีกายเป็น สีต่างๆ พ่นไฟ พ่นควัน พ่นน้ำ ภูริทัตต์ก็ยอมทุกอย่าง ชาวบ้าน ที่มาดูเวทนาสงสาร จึงให้ ข้าวของเงินทอง พราหมณ์ก็ยิ่งโลภ พาภูริทัตต์ไปเที่ยวแสดง จนมาถึงเมืองพาราณสี จึงกราบทูล พระ ราชาว่าจะให้นาคแสดงฤทธิ์ถวายให้ทอดพระเนตร ขณะนั้นสมุทรชา ผิดสังเกตที่ภูริทัตต์หายไป ไม่มาเฝ้า จึงถามหา ในที่สุดก็ทราบว่า ภูริทัตต์หายไป พี่น้องของภูริทัตต์ จึงทูลว่าจะออกติดตาม สุทัศนะจะไปโลกมนุษย์ สุโภคะไป ป่าหิมพานต์ อริฏฐะไป เทวโลกส่วนนางอัจจิมุข ผู้เป็นน้องสาว ต่างแม่ของภูริทัตต์ของตามไปกับสุทัศนะพี่ชายใหญ่ด้วย เมื่อติดตามมาถึงเมืองพาราณสี สุทัศนะก็ได้ข่าวว่ามีนาค ถูกจับมาแสดงให้คนดู จึงตามไปจนถึงบริเวณที่แสดง ภูริทัตต์เห็นพี่ชาย จึงเลื้อยไข้าไปหาซบหัวร้องไห้อยู่ที่เท้า ของสุทัศนะแล้วจึงเลื้อยกลับไปเข้าที่ขัง ของตนตามเดิม

พราหมณ์จึงบอกกับสุทัศนะว่า “ท่านไม่ต้องกลัว ถึงนาคจะ กัดท่านไม่ช้าก็จะหาย”

สุทัศนะตอบว่า “เราไม่กลัวดอก นาคนี้ไม่มีพิษ ถึงกัดก็ไม่มีอันตราย”

พราหมณ์หาว่าสุทัศนะ ดูหมิ่นว่าตน เอานาคไม่มีพิษมาแสดง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุทัศนะจึงท้าว่า “เขียดตัวน้อยของเรานั้นยังมีพิษมากกว่า นาคของท่านเสียอีก จะเอามาลองฤทธิ์กันดูก็ได้”



พราหมณ์ กล่าวว่าหากจะให้สู้กัน ก็ต้องมีเดิมพันจึงจะสมควร สุทัศนะจึง ทูลขอพระราชาพาราณสีให้เป็นผู้ประกันให้ตน โดยกล่าวว่า พระราชาจะได้ทอด พระเนตรการต่อสู้ระหว่างนาคกับเขียด เป็นการตอบแทน พระราชาก็ทรงยอมตกลงประกันให้แก่ สุทัศนะ สุทัศนะเรียก นางอัจจิมุข ออกมาจากมวยผมให้คายพิษ ลงบนฝ่ามือ 3 หยด แล้วทูลว่า “พิษของเขียดน้อยนี้แรงนัก เพราะนางเป็นธิดาท้าวธตรฐ ราชาแห่งนาค หากพิษนี้หยดลง บนพื้นดิน พืชพันธุ์ไม้จะตายหมด หากโยนขึ้นไปในอากาศ ฝนจะไม่ตกไป 7 ปี ถ้าหยดลงในน้ำสัตว์น้ำจะตายหมด”

พระราชาไม่ทราบจะทำอย่างไรดี สุทัศนะจึงทูลขอให้ ขุดบ่อ 3 บ่อบ่อแรกใส่ยาพิษ บ่อที่สองใส่โคมัย บ่อที่สามใส่ยาทิพย์ แล้วจึงหยดพิษลงในบ่อแรก ก็เกิดควันลุกจนเป็นเปลวไฟ ลามไปติดบ่อที่สองและสาม จนกระทั่งยาทิพย์ไหม้หมด ไฟจึงดับ พราหมณ์ตัวร้าย ซึ่งยืนอยู่ข้างบ่อ ถูกไอพิษจนผิวหนังลอก กลายเป็นขี้เรื้อน ด่างไปทั้งตัว จึงร้องขึ้นว่า “ข้าพเจ้ากลัวแล้ว ข้าพเจ้าจะ ปล่อยนาคนั้นให้เป็นอิสระ”

ภูริทัตต์ได้ยินดังนั้น ก็เลื้อยออกมาจากที่ขัง เนรมิตกาย เป็นมนุษย์ พระราชาจึงตรัสถามความเป็นมา ภูริทัตต์จึงตอบว่า “ข้าพเจ้าและพี่น้องเป็นโอรสธิดาของท้าวธตรฐราชาแห่งนาคกับ นางสมุทรชา ข้าพเจ้ายอมถูกจับมา ยอมให้พราหมณ์ทำร้ายจน บอบช้ำ เพราะปราถนาจะรักษาศีล บัดนี้ข้าพเจ้าเป็น อิสระแล้ว จึงขอลากลับไปเมืองนาคตามเดิม”

พระราชาทรงดีพระทัยเพราะทราบว่าภูริทัตต์เป็นโอรสของ นางสมุทรชา น้องสาวของพระองค์ที่บิดายกให้แก่ราชานาคไป จึงเล่าให้ภูริทัตต์และพี่น้องทราบว่า เมื่อนางสมุทรชาไปสู่ เมืองนาคแล้ว พระบิดาก็เสียพระทัย จึงสละราชสมบัติ ออกบวช พระองค์จึงได้ครองเมืองพาราณสีต่อมา พระราชาประสงค์จะให้ นางสมุทรชาและบรรดาโอรสได้ไป เฝ้าพระบิดา จะได้ทรงดีพระทัย สุทัศนะทูลพระราชาว่า “ข้าพเจ้าจะ กลับไปทูลให้พระมารดาทราบ ขอให้พระองค์ ไปรออยู่ที่อาศรมของพระอัยกาเถิด ข้าพเจ้าจะพา พระมารดาและพี่น้องตามไปภายหลัง”

ทางฝ่ายพรานเนสาท ผู้ทำร้ายภูริทัตต์เพราะหวังดวงแก้ว สารพัดนึก เมื่อตอนที่พราหมณ์โยนดวงแก้วให้ นั้น รับไม่ทัน ดวงแก้วจึงตกลงบนพื้นและแทรกธรณีกลับไปสู่เมืองนาค พรานเนสาทจึงสูญเสียดวงแก้ว สูญเสียลูกชาย และเสียไมตรี กับภูริทัตต์ เที่ยวซัดเซพเนจรไป ครั้นได้ข่าวว่าพราหมณ์ผู้จับ นาคกลายเป็น โรคเรื้อนเพราะพิษนาค ก็ตกใจกลัว ปราถนา จะล้างบาป จึงไปยังริมน้ำยมุนา ประกาศว่า “ข้าพเจ้าได้ ทำร้ายมิตร คือ ภูริทัตต์ ข้าพเจ้าปราถนาจะล้างบาป” พรานกล่าวประกาศอยู่ หลายครั้ง เผอิญขณะนั้น สุโภคะกำลังเที่ยวตามหาภูริทัตต์อยู่ ได้ยินเข้าจึงโกรธแค้น เอาหางพันขาพราน ลากลงน้ำให้จมแล้ว ลากขึ้นมาบนดินไม่ให้ถึงตาย ทำอยู่เช่นนั้นหลายครั้งพราน จึงร้องถามว่า “นี่ตัวอะไรกัน ทำไมมาทำร้าย เราอยู่เช่นนี้ ทรมาณเราเล่นทำไม”



สุโภคะตอบว่าตนเป็นลูกราชานาค พรานจึงรู้ว่าเป็นน้องภูริทัตต์ ก็อ้อนวอนขอให้ปล่อยและกล่าว แก่สุโภคะว่า “ท่านรู้หรือไม่ เราเป็นพราหมณ์ ท่านไม่ควร ฆ่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์เป็นผู้บูชาไฟ เป็นผู้ทรงเวทย์ และเลี้ยงชีพด้วยการขอ ท่านไม่ควรทำร้ายเรา”

สุโภคะไม่ทราบจะตัดสินใจอย่างไร จึงพาพรานเนสาทลงไป เมืองนาค คิดจะไปขอถามความเห็นจากพี่น้อง เมื่อไปถึงประตู เมืองนาค ก็พบอริฏฐะนั่งรออยู่ อริฏฐะนั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ ครั้นรู้ว่าพี่ชายจับพราหมณ์มา จึงกล่าวสรรเสริญคุณของพราหมณ์ สรรเสริญความยิ่งใหญ่แห่งพรหม และกล่าวว่าพราหมณ์เป็นบุคคล ที่ไม่สมควรจะถูกฆ่า ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ การฆ่าพราหมณ์ซึ่ง เป็นผู้บูชาไฟนั้นจะทำ ให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง สุโภคะกำลังลังเลใจ ไม่ทราบจะทำอย่างไร พอดีภูริทัตต์กลับมาถึง ได้ยินคำของอริฏฐะจึงคิดว่า อริฏฐะ นั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ และการบูชายัญของพราหมณ์ จำเป็นที่จะต้องกล่าววาจาหักล้าง มิให้ผู้ใด คล้อยตามในทางที่ผิด

ภูริทัตต์จึงกล่าวชี้แจงแสดง ความเป็นจริง และในที่สุดได้กล่าวว่า “การบูชาไฟนั้น หาได้เป็น การบูชาสูงสุดไม่ หากเป็นเช่นนั้น คนเผาถ่าน คนเผาศพ ก็สมควรจะได้รับยกย่องว่าเป็นผู้บูชา ไฟยิ่งกว่าพราหมณ์ หากการบูชาไฟเป็นสูงสุด การเผาบ้านเมืองก็คงได้บุญสูงสุด แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ หากการบูชายัญจะเป็นบุญสูงสุดจริง พราหมณ์ก็น่าจะเผาตนเองถวายเป็นเครื่องบูชา แต่พราหมณ์กลับ บูชาด้วยชีวิตของผู้อื่น เหตุใดจึงไม่เผาตนเองเล่า”

อริฏฐะกล่าวว่า “พรหมเป็นผู้ทรงคุณยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลก”

ภูริทัตต์ตอบว่า “หากพรหมสร้างโลกจริง ไฉนจึงสร้างให้โลก มีความทุกข์ ทำไมไม่สร้างให้โลกมีแต่ความสุข ทำไมพรหม ไม่สร้างให้ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน เหตุใดจึงแบ่งคนเป็น ชั้นวรรณะ คนที่อยู่ในวรรณะต่ำ เช่น ศูทร จะไม่มีโอกาสมี ความสุข เท่าเทียมผู้อื่นได้เลย พราหมณ์ต่างหากที่พยายาม ยกย่องวรรณะของตนขึ้นสูง และเหยียดหยามผู้อื่นให้ต่ำกว่า โดยอ้างว่าพราหมณ์เป็นผู้รับใช้พรหม เช่นนี้จะถือว่าพราหมณ์ ทรงคุณยิ่งใหญ่ได้อย่างไร”

ภูริทัตต์กล่าววาจาหักล้างอริฏฐะด้วยความเป็นจริง ซิ่งอริฏฐะ ไม่อาจโต้เถียงได้ ในที่สุดภูริทัตต์จึงสั่งให้ นำพรานเนสาทไปเสีย จากเมืองนาค แต่ไม่ให้ทำอันตรายอย่างใด จากนั้นภูริทัตต์ก็พา พี่น้องและนางสมุทรชาผู้เป็นมารดา กลับไปเมืองมนุษย์ เพื่อไป เฝ้าพระบิดา พระเชษฐาของนางที่รอคอยอยู่แล้ว เมื่อญาติพี่น้องทั้งหลายพากันแยกย้ายกลับบ้านเมือง ภูริทัตต์ขออยู่ที่ศาลากับพระอัยกา บำเพ็ญเพียร รักษาอุโบสถศีล ด้วยความสงบ ดังที่ได้เคยตั้งปณิธานไว้ว่า “ข้าพเจ้าจะมั่นคงในการ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ จะไม่ให้ศีลต้องมัวหมอง ไม่ว่าจะต้องเผชิญความ ทุกข์ยากอย่างไร ข้าพเจ้าจะอดทน อดกลั้น ตั้งมั่นอยู่ ในศีลตลอดไป”

คติธรรม : บำเพ็ญศีลบารมี
ความโลภนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเช่นเดียวกับการเนรคุณ แต่ความอดทนย่อมประเสริฐยิ่งนักแล้ว


http://www.dhammada.net/2011/05/19/9452/
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #276 เมื่อ: 03 มีนาคม 2557, 22:58:51 »

“ดิน น้ำ ไฟ ลม”
ไม่อาจหยั่งลงได้ในที่ไหน
เกวัฏฏะ ! เรื่องเคยมีมาแล้ว : ภิกษุรูปหนึ่ง
ในหมู่ภิกษุนี้เอง เกิดความสงสัยขึ้นในใจว่า “มหาภูตสี่ คือ
ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ
ในที่ไหนหนอ” ดังนี้.
(ความว่า ภิกษุรูปนั้นได้เข้าสมาธิอันอาจนำไปสู่เทวโลก
ได้นำเอาปัญหาข้อที่ตนสงสัยนั้นไปเที่ยวถามเทวดาพวกจาตุมมหาราชิกา,
เมื่อไม่มีใครตอบได้ ก็เลยไปถามเทวดาในชั้นดาวดึงส์, เทวดาชั้นนั้น
โยนให้ไปถามท้าวสักกะ, ท้าวสุยามะ, ท้าวสันตุสิตะ, ท้าวสุนิมมิตะ,
ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี, ถามเทพพวกพรหมกายิกา กระทั่งท้าวมหาพรหม
ในที่สุด, ท้าวมหาพรหมพยายามหลีกเลี่ยง เบี่ยงบ่ายที่จะไม่ตอบอยู่พักหนึ่ง
แล้วในที่สุดได้สารภาพว่าพวกเทวดาทั้งหลาย พากันคิดว่าท้าวมหาพรหมเอง
เป็นผู้รู้เห็นไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ที่จริงไม่รู้ ในปัญหาที่ว่า มหาภูตรูป
จักดับไปในที่ไหนนั้นเลย มันเป็นความผิดของภิกษุนั้นเอง ที่ไม่ไปทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ในที่สุดก็ต้องย้อนกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า)

เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้นได้กลับมาอภิวาทเรา นั่ง ณ
ที่ควร แล้วถามเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาภูตสี่ คือ ดิน
น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหน?” ดังนี้.
เกวัฏฏะ ! เมื่อเธอถามขึ้นอย่างนี้ เราได้กล่าวกะ
ภิกษุนั้นว่า แน่ะภิกษุ ! เรื่องเก่าแก่มีอยู่ว่า พวกค้าทางทะเล
ได้พานกสำหรับค้นหาฝั่งไปกับเรือค้าด้วย เมื่อเรือหลงทิศ
ในทะเล และแลไม่เห็นฝั่ง พวกเขาปล่อยนก สำหรับค้นหา
ฝั่งนั้นไป นกนั้นบินไปทางทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง
ทิศตะวันตกบ้าง ทิศเหนือบ้าง ทิศเบื้องบนบ้าง ทิศน้อย ๆ บ้าง
เมื่อมันเห็นฝั่งทางทิศใดแล้ว มันก็จะบินตรงไปยังทิศนั้น,
แต่ถ้าไม่เห็น ก็จักบินกลับมาสู่เรือตามเดิม. ภิกษุ !
เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ ได้เที่ยวหาคำตอบของปัญหานี้
มาจนจบทั่วกระทั่งถึงพรหมโลกแล้ว ในที่สุดก็ยังต้องย้อน
มาหาเราอีก.
ภิกษุ ! ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถาม
ขึ้นว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมเหล่านี้ ย่อมดับสนิท
ไม่มีเศษเหลือในที่ไหน?” ดังนี้เลย,

อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า :
“ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน?
ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม
ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ? นามรูป ย่อมดับสนิท
ไม่มีเศษเหลือในที่ไหน ? ดังนี้ ต่างหาก.
ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ :
“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มี
ปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้
โดยรอบนั้นมีอยู่ ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ไม่หยั่งลงได้ ใน “สิ่ง” นั้นแหละความยาว ความสั้น
ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ
นามรูปดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของ
วิญญาณ, ดังนี้”


สิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่;
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
ความงาม ความ ไม่งาม ไม่หยั่งลงได้;
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ;
นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้
เพราะการดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #277 เมื่อ: 11 มีนาคม 2557, 21:16:15 »

ที่ที่ควรไปของจิต

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=16XWurCrBU8" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=16XWurCrBU8</a>
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #278 เมื่อ: 21 มีนาคม 2557, 03:53:43 »


 
ทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
›››››

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร



คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

]

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ปัญญาในธรรมนั้นโดยตรงคือในสัจจธรรม ธรรมะที่เป็นตัวความจริง สัจจธรรมในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอนเป็นหลักใหญ่นั้น ก็คือหลักอริยสัจจ์ทั้ง ๔ จะได้แสดงสมุทัยอริยสัจจ์ หรือทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ อริยสัจจ์คือทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ สืบต่อจากทุกขอริยสัจจ์ อริยสัจจ์คือทุกข์ที่ได้แสดงแล้ว

ตัณหา ๓

ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ อริยสัจจ์ คือ ทุกขสมุทัยนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงยกตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากขึ้นตรัสแสดงชี้ ว่าเป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ โดยได้ตรัสอธิบายไว้แปลความว่า ตัณหานี้ใดที่เป็นไปเพื่อถือชาติภพใหม่ ไปกับนันทิคือความเพลิน ราคะคือความติดใจ

อภินันท์คือยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ อันได้แก่ กามตัณหา ตัณหาในกาม ภวตัณหา ตัณหาในภพ วิภวตัณหา ตัณหาในวิภพ

อธิบายต่อไปได้ว่าตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก เป็นไปเพื่อถือชาติภพใหม่ คือนำไปให้เกิดอีกในชาติภพใหม่ เป็นไปกับนันทิคือความเพลิน ราคะคือความติดใจยินดี มีความอภินันท์ยินดียิ่งๆ ขึ้นไปในอารมณ์นั้นๆ

ภพชาติใหม่ในปัจจุบัน

คำแรกที่ว่าเป็นไปให้ถือเอาชาติภพใหม่นั้น คือให้เกิดอีกในชาติภพต่อไป แต่ก็อาจอธิบายเป็นปัจจุบันได้ว่า อันภพชาติหรือว่าชาติภพอย่างละเอียดนั้น คือความเป็นขึ้นใหม่ๆ ของจิตใจในปัจจุบันนี้เอง ซึ่งตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากนำให้เป็นไปใหม่ๆ นั้นๆ ได้ กล่าวคือตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากนั้นที่เป็นไปในสิ่งนั้น เป็นไปในสิ่งนี้ เมื่อเป็นไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ก็นำให้เป็นไปในสิ่งอื่นต่อไปอีก ทำให้เป็นเราเป็นของเราในสิ่งต่างๆ เรื่อยไปโดยไม่จบถ้วน

เช่นว่าตัณหาต้องการสิ่งนี้ เมื่อได้สิ่งนี้มาแล้วตัณหาก็ต้องการสิ่งใหม่ต่อไปอีก เมื่อได้มาก็ต้องการสิ่งใหม่ต่อไปอีก ซึ่งท่านเปรียบเหมือนอย่างว่า เหมือนอย่างไฟไม่อิ่มเชื้อ เมื่อก่อไฟขึ้นไฟก็ติดฟืนไม้หรือไม้ฟืนที่ก่อไฟนั้น และเมื่อนำไม้ฟืนมาใส่ไฟเข้าอีก ไฟก็ติดไม้ฟืนที่ใส่ใหม่นั้นเผาให้เป็นเถ้าถ่านไป แล้วก็ใส่ไฟเข้าอีกไฟก็ติดอีก เพราะฉะนั้นไฟจึงต้องการฟืนใหม่ๆ ที่จะต้องใส่ให้ไม่รู้จักจบถ้วน จะกำหนดว่าเพียงสิบท่อนก็พอหาได้ไม่ ไฟก็จะไหม้สิบท่อนหมดไป (เริ่ม ๑๘๓/๒) และต้องเอาฟืนมาใส่เข้าอีกสิบท่อน ก็ไหม้หมดไป เอาใส่อีกสิบท่อนก็ไหม้หมดไป

และยิ่งใส่มากไฟก็ยิ่งกองโตขึ้น และกินเชื้อมากขึ้น เหมือนอย่างไฟที่มีต้นไฟเพียงไฟฟ้าชอร์ต หรือไม้ขีดก้านเดียว ก็ลุกไหม้บ้านเรือนเป็นกองโตมากมายเป็นสิบๆ หลัง ก็ไม่พอแก่ไฟอยู่นั่นเอง ตัณหาก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้สิ่งหนึ่งก็เหมือนอย่างเป็นเชื้อไฟ ที่ถูกตัณหาคือไฟ ไฟคือตัณหาไหม้มอด ก็ต้องการเชื้อที่สองเป็นเชื้อใหม่ เกิดเป็นตัวเราของเราอยู่ในสิ่งเหล่านั้นเรื่อยๆ ไป ตัวเราของเรานี้ก็กองโตขึ้น กองโตขึ้น จนไม่มีที่สุด

อันนี้แหละเป็นลักษณะของคำว่า เป็นไปให้ถือชาติภพใหม่ คือชาติภพนั้นก็คือเป็นเกิดเป็นตัวเราของเรานั้นเองในสิ่งทั้งหลายในโลก เพราะฉะนั้น จึงได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ว่า แม้จะได้ภูเขาทองตั้งลูกหนึ่งสองลูก ก็คงไม่เพียงพอแก่ตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากนั้นเอง ศัพท์บาลีท่านว่า โปโนพฺภวิกา ที่แปลว่าเป็นไปให้ถือเอาภพใหม่ ก็คือเป็นตัวเราของเราใหม่ แล้วก็ใหม่ แล้วก็ใหม่ อยู่เรื่อยๆ ไปดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในการอธิบายนั้นได้ใช้คำว่าชาติภพซึ่งเป็นคำมักจะพูดคู่กัน หรือภพชาติ แต่ชาติกับภพนี้ก็เป็นสิ่งที่คู่กันเช่นเดียวกัน คือเกิดเป็น หรือเป็นเกิด เกิดเป็นเราของเรา เป็นเกิดเราของเราขึ้นมา นี้คือภพ หรือภพชาติ หรือชาติภพ ดังที่กล่าวมาแล้ว

นันทิ ราคะ

มาถึงอีกบทหนึ่งที่ว่าไปกับ นันทิ คือความเพลิดเพลิน ราคะ คือความติดใจยินดี ก็คือมีความเพลินและความติดใจยินดีไปด้วยกันกับความดิ้นรนทะยานอยาก คือว่าความดิ้นรนทะยานอยากนั้นเกิดในสิ่งใด ก็เพลินอยู่ในสิ่งนั้น ติดใจยินดีอยู่ในสิ่งนั้นด้วย หรือจะกล่าวว่าเพลินติดใจยินดีอยู่ในสิ่งใด ก็ดิ้นรนทะยานอยากอยู่ในสิ่งนั้นด้วย เพราะฉะนั้น ความเพลิน ความติดใจยินดี กับความดิ้นรนทะยานอยาก จึงไปด้วยกัน

เพราะฉะนั้น จึงละได้ยาก เพราะเหตุว่าผู้ที่มีตัณหานี้กำกับจิตใจอยู่ ไม่ต้องการที่จะละตัณหา เพราะยังมีความเพลินมีความติดใจยินดีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่อยากจะละ ยังอยากที่จะรักษาตัณหาเอาไว้ ยังอยากที่จะอยู่กับตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยาก ก็เพราะว่าตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากนี้ เป็นเหตุให้เกิดสุขเวทนา คือเวทนาที่เป็นสุขได้ด้วย ไม่ใช่ก่อให้เกิดทุกข์อย่างเดียว

และแม้เวทนาที่เป็นสุขนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นตัวทุกข์อยู่ด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ได้ทุกข์ปนสุข ได้สุขปนทุกข์ ไปอยู่ เหมือนอย่างหิวก็เป็นทุกข์ บริโภคอาหารอิ่มก็เป็นสุข แล้วหิวขึ้นใหม่ก็เป็นทุกข์ บริโภคอาหารใหม่ก็เป็นสุข เป็นสุขปนทุกข์อยู่ดั่งนี้

เหตุให้ละตัณหาได้ยาก

เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีจิตใจไม่ละเอียดพอด้วยสติและปัญญา จึงยากที่จะกำหนดรู้ และรับรองว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แม้ว่าทุกคนจะรู้จักตัวตัณหาอยู่ในใจของตัวเอง คือสำหรับที่เป็นตัณหาอนุสัย ตัณหาอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่นั้นอาจจะไม่รู้ แต่ว่าตัณหาที่ปรากฏขึ้นในใจเป็นความดิ้นรนทะยานอยากย่อมรู้ และความเพลินก็ย่อมรู้ ความติดใจยินดีก็ย่อมรู้ ฉะนั้นจึงยังไม่อยากที่จะละ การละจึงเป็นไปได้ด้วยยาก

แต่แม้เช่นนั้นเมื่อใช้ปัญญาพิจารณาแล้วก็ย่อมจะรู้ได้ เบื้องต้นก็ต้องรู้ตามที่ตรัสสอนไว้ตรงๆ นี้ว่า ตัณหาไปกับนันทิคือความเพลิน ราคะคือความติดใจยินดี จะได้รู้ว่าเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้ละได้ยาก แต่เมื่อตั้งใจจะละก็ย่อมละได้ แต่ก็ให้รู้ไว้ว่าความเป็นไปของตัณหาเป็นดั่งนี้ก่อน และเป็นลักษณะของตัณหา

อภินันท์ ความเพลิดเพลินยิ่งขึ้น

อีกประการหนึ่ง อภินันท์ยินดียิ่งขึ้น เพลิดเพลินยิ่งๆ ขึ้นไปในอารมณ์นั้นๆ ก็เป็นคำอธิบายให้ชัดขึ้นว่าข้อที่มีความดิ้นรนทะยานอยาก ไปพร้อมกับความเพลิน และความติดใจยินดีนั้น ก็เป็นไปในอารมณ์นั้นๆ นั้นเอง แล้วก็มากยิ่งขึ้น มากยิ่งขึ้น ยากที่จะถดถอย ยากที่จะลดน้อยลง มีแต่จะมากยิ่งขึ้น มากยิ่งขึ้น คือว่าเมื่อรับอารมณ์นั้นๆ ดังที่ทุกคนรับอารมณ์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำอยู่ทุกวันทุกเวลา ตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก พร้อมทั้งความเพลินและความติดใจยินดี ก็ยิ่งทวีมากขึ้นๆ จนยากที่จะยับยั้งได้

อันนี้ก็เป็นคำอธิบายในบทต้นๆ ๒ บท คือบทที่ว่า โปโนพฺภวิกา เป็นไปเพื่อถือชาติภพใหม่ และบทว่า นนฺทิราคสหคตา ไปกับนันทิคือความเพลิน และราคะคือความติดใจยินดี ก็มาทำให้มีความอภินันท์ยินดีเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ยิ่งขึ้นไป ยิ่งขึ้นไป จนทำให้เหมือนอย่างเป็นไฟกองเล็ก แล้วก็กลายเป็นกองโตขึ้น กองโตขึ้น ดังที่กล่าวอุปมามาแล้วในเบื้องต้น

นี้แหละเป็นลักษณะของตัณหาตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสั่งสอนไว้ อันทุกคนควรจะกำหนดดูให้รู้จักที่จิตใจของตัวเอง ว่านี่แหละเป็นทุกขสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์





      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #279 เมื่อ: 21 มีนาคม 2557, 04:05:16 »

ธัมมานุปัสสนา


สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต  ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ  พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ  ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง  เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม 
    การปฏิบัติพุทธศาสนาต้องปฏิบัติให้ถึงจิต  จึงจะประสบผลและก้าวหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ได้โดยลำดับ  การปฏิบัติให้ถึงจิตนั้นก็ต้องตั้งต้นตั้งแต่ขั้นฐานขั้นศีล สืบถึงขั้นสมาธิขั้นปัญญา  อันรวมความว่าให้เข้าทางแห่งอริยมรรคที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้  หรือว่าเข้าทางบารมีทั้งสิบที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญ  การปฏิบัติเข้าทางบารมีนั้นก็ตั้งต้นแต่ทาน การให้ การบริจาค  ต้องปฏิบัติให้ถึงจิต คือให้จิตสละ โลภะ มัจฉริยะ ให้จิตบริสุทธิ์  แม้จะให้น้อยก็ตาม เมื่อจิตบริสุทธิ์ก็ชื่อว่ามาก ให้มากถ้าจิตไม่บริสุทธิ์ก็ชื่อว่าน้อย 

    จิตที่บริสุทธิ์นั้นก็หมายถึง มิใช่ให้เพื่อเพิ่มโลภะ แต่ว่าให้เพื่อที่จะชำระโลภะ ความโลภอยากได้  มัจฉริยะความหวงแหนตระหนี่เหนียวแน่น เป็นการสละจิต คือสละทางจิต  ให้จิตบริสุทธิ์ดังกล่าว เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ชื่อว่าจิตประณีต  จะให้เพียงนิดหน่อยเมื่อจิตประณีตวัตถุที่ให้นั้นก็ประณีต จึงได้ผลมาก  และผลมากที่ได้นั้นก็หมายถึงผลทางจิตใจ คือความบริสุทธิ์นั้นเอง 

    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอริยมรรคทางมีองค์ ๘  เป็นหลักแห่งการปฏิบัติในพุทธศาสนา สรุปเข้ามาก็เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา  ศีลสมาธิปัญญาทั้ง ๓ นี้ก็ตั้งขึ้นในจิตทั้งนั้น ต้องให้จิตเป็นศีล จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นปัญญา  จิตเป็นศีลนั้นก็คือว่าจิตเป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม  ประกอบด้วยความสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จากบรรดากิเลสอย่างหยาบ  อันจะเป็นเครื่องดึงจิตให้ก่อเจตนาก่อกรรมที่เป็นบาปอกุศลทุจริตทั้งหลาย  จิตเป็นสมาธินั้นก็คือจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในทางที่ชอบ เป็นจิตสงบจากนิวรณ์  คือกิเลสที่บังเกิดขึ้นในใจ ทำจิตใจให้ชอบให้ชังให้หลงไปต่างๆ ในอารมณ์ต่างๆที่บังเกิดขึ้น  จึงตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ของสมาธิ ถอนจิตจากอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของกิเลสเหล่านั้น  จึงเป็นการตั้งจิตไว้ในทางที่ชอบ และเป็นจิตที่สงบ เป็นจิตที่สว่าง เป็นจิตที่โปร่ง  มองเห็นเหตุผลที่เป็นจริง มองเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลาย  จึงส่งขึ้นไปสู่จิตที่เป็นปัญญา ซึ่งเป็นจิตรู้จิตเห็น 

    เมื่อกล่าวโดยสรุปในทางธรรมปฏิบัติ  ก็เป็นจิตที่รู้ที่เห็นบาปบุญคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ตามความเป็นจริง  เป็นจิตที่รู้ที่เห็นในทุกข์ ในสมุทัยเหตุเกิดทุกข์ ในนิโรธความดับทุกข์  ในมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเป็นอริยมรรคที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้เมื่อนำตนเข้าสู่ศีลสมาธิปัญญา ให้จิตเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ดังกล่าว  ก็ชื่อว่าเดินเข้าไปในทางอริยมรรคของพระพุทธเจ้า มิใช่ดำเนินไปในทางของมาร  ถ้าเดินออกนอกทางอริยมรรค ก็ย่อมชื่อว่าดำเนินไปในทางของมาร ก็คือกิเลสมาร  อันได้แก่เดินทางไปในทางของตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก  หรือว่าในทางของราคะ ของโลภะ ความโลภอยากได้  ในทางของโทสะความโกรธแค้นขัดเคือง ในทางของโมหะความหลง  เมื่อเดินทางไปในทางของมารดังกล่าวนี้ จิตก็จะเป็นตัณหา  จิตก็จะเป็นราคะหรือโลภะ จิตก็จะเป็นโทสะ จิตก็จะเป็นโมหะ  ดั่งนี้ก็เป็นอันว่าเดินไปในทางของมาร 

    เพราะว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่อ่อน  อันหมายถึงน้อมไปได้ง่าย ทั้งในทางดี ทั้งในทางชั่ว  เป็นธรรมชาติที่ควรแก่การงาน ก็ได้ทั้งสองทางเช่นเดียวกัน  แต่ว่าธรรมชาติของจิตที่แท้จริงนั้น เป็นธรรมชาติที่เป็นธาตุรู้  และเป็นธรรมชาติที่ปภัสสรคือผุดผ่อง  ดังจะพึงเห็นได้ว่าเมื่อปฏิบัติให้จิตเป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญา จะปรากฏความผุดผ่องของจิต  คือเดินในทางอริยมรรค และจิตก็ควรแก่การงานอันหมายความว่าปฏิบัติได้  เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญายิ่งๆขึ้นไป ปฏิบัติได้ไม่ยาก ปฏิบัติได้ง่าย  แต่ถ้าหากว่าจิตดำเนินไปในทางของมาร จิตก็จะเศร้าหมอง ไม่ผุดผ่อง  แม้ว่าจะได้ผลเป็นความพอใจจากผลต่างๆ จากอารมณ์ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจต่างๆ  เป็นนันทิคือความเพลิดเพลิน เป็นความติดใจยินดี อันทำให้รู้สึกว่าเป็นสุข เป็นความสำราญ  เป็นความชื่นบานสนุกสนาน แต่ว่าอันที่จริงนั้นความเพลิดเพลินยินดีพอใจ...  ซึ่งตั้งอยู่บนความผุดผ่องอันเป็นธรรมชาติของจิต  จึงจะรู้ได้ว่าอันความสุขที่ตั้งอยู่บนความผุดผ่องอันเป็นธรรมชาติของจิตนั้น  แตกต่างจากความสุขที่ตั้งอยู่บนความเศร้าหมอง  และจะมองเห็นว่าความเศร้าหมองนั้นเอง เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดความหลงเข้าใจผิด  ว่าเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดีพอใจ 

    เหมือนอย่างสีต่างๆที่เขียนลงไปบนแผ่นผ้าขาวที่สะอาด สีต่างๆนั้นอันที่จริงเป็นสิ่งที่เศร้าหมอง  เช่นเมื่อมีสีมาเปื้อนเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  บุคคลจะรู้สึกว่าเป็นความสกปรก ต้องซัก ฟอก ล้าง ให้สีต่างๆนั้นหมดไป  แต่ถ้าหากว่าเอาสีนั้นเองที่เห็นว่าสกปรกไปวาดเขียนบนแผ่นผ้าขาวเป็นทัศนียภาพ  ภาพที่น่าดู ก็จะกลับเห็นตรงกันข้ามว่าน่าดูน่าพอใจ น่าเพลิดเพลิน  ในจิตรกรรมที่เขียนขึ้นนั้น ไม่เห็นว่าเป็นของสกปรก ก็มีความสุขเพลิดเพลินอยู่ในภาพนั้น  แต่อันที่จริงก็คงเป็นสีที่เขียน ซึ่งเป็นความสกปรกนั้นเอง  แต่เพราะเหตุที่เป็นทัศนียภาพ จึงทำให้เกิดความยินดีพอใจเพลิดเพลิน  ทั้งนี้ก็เพราะว่า การที่เขียนลงไปเป็นภาพ ที่เป็นทัศนียภาพ เช่นภาพต้นไม้ ภาพภูเขา  ภาพบุคคล ภาพสัตว์ต่างๆ นี่แหละคือเป็นสังขาร ที่แปลว่าส่วนผสมปรุงแต่ง  หรือสิ่งผสมปรุงแต่ง และบุคคลก็เก็บเอาสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งนั้น  มาเป็นสังขารขึ้นในจิต คือเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้นในจิต  ภาพที่เขียนเป็นต้นไม้ เมื่อดูแล้วก็รู้สึกว่าเป็นต้นไม้ ก็มาตั้งเป็นสังขารคือเป็นต้นไม้ขึ้นในจิต  ภาพที่เขียนเป็นภูเขา ป่า เป็นต้น ก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งของสีต่างๆบนผืนผ้า  แล้วเข้ามาตั้งเป็นสังขารขึ้นในจิตก็เป็นภูเขา ต้นไม้ อยู่ในจิต  และแม้ว่าไม่ใช่ภาพเขียน เป็นต้นไม้ที่เห็นเป็นต้นไม้กันอยู่ เป็นภูเขาที่เห็นเป็นภูเขากันอยู่  เป็นแม่น้ำที่เห็นเป็นแม่น้ำกันอยู่ หรือว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลต่างๆที่เห็นด้วยตา  ที่เรียกกันว่าเป็นต้นไม้จริงๆ เป็นภูเขาจริงๆ เป็นแม่น้ำจริงๆ เป็นคนจริงๆ  เป็นสัตว์เดรัจฉานจริงๆ เหล่านี้เป็นต้น ก็ล้วนเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งเหมือนกัน  เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น เหมือนอย่างภาพที่เขียนขึ้นนั้น  และเมื่อบุคคลได้มองเห็นก็เก็บมาเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งในจิตใจ  ปรากฏเป็นต้นไม้ขึ้นจริงๆ เป็นภูเขาขึ้นจริงๆ เป็นแม่น้ำขึ้นจริงๆ  เป็นคนขึ้นจริงๆ เป็นสัตว์เดรัจฉานขึ้นจริงๆในจิตใจ 

    แม้สิ่งที่ประสบทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกาย และทางมนะคือใจ  คือผุดขึ้นในใจจากสิ่งที่ได้เคยเห็นมาแล้วเป็นต้น ก็ตาม  ก็ล้วนเป็นสังขารคือสิ่งที่ผสมปรุงแต่งทั้งนั้น  เพราะฉะนั้นแม้ว่ากายและใจของตนเองนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่ผสมปรุงแต่ง คือเป็นสังขาร  แม้กายใจของบุคคลทุกๆ คนก็เป็นสังขารคือเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งด้วยกันทั้งหมด  และก็จิตใจนี้เองก็รับเข้ามาเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้นในจิตใจ  แต่ว่าจิตใจนี้ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าเป็นธรรมชาติที่เป็นธาตุรู้ และเป็นธรรมชาติที่ผุดผ่อง  คือปภัสสรผุดผ่อง แต่ว่ายังมีอวิชชาคือความไม่รู้ อันหมายความว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง  ไม่ใช่หมายความว่าไม่รู้อะไรเลย ถ้าไม่รู้อะไรเลยก็จะไม่ต่างอะไรกับก้อนดินก้อนหินเป็นต้น  แต่ว่าทุกๆคนนี้ไม่ใช่ก้อนดินไม่ใช่ก้อนหิน เพราะว่ารู้อะไรๆได้ ดังจะพึงเห็นได้ว่า เห็นรูปก็รู้รูป  ได้ยินเสียงก็รู้เสียง ได้ทราบกลิ่น ทราบรส ทราบสิ่งถูกต้อง ก็รู้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งถูกต้อง  รู้อะไรทางมโนคือใจ ก็ทราบสิ่งที่รู้นั้น จึงไม่ใช่ก้อนดินไม่ใช่ก้อนหิน เพราะว่ารู้  แต่ว่ารู้ดังกล่าวนี้ยังมีอวิชชาประกอบอยู่ อันเป็นเหตุให้เกิดโมหะคือความหลงถือเอาผิดต่างๆ 

    อันสิ่งที่ผสมปรุงแต่งเป็นสังขารนั้น  ดังที่ได้เปรียบเป็นภาพเขียนในทีแรกก็เขียนให้สวยสดงดงาม  และแม้ว่าสังขารจริงๆ คือที่เป็นต้นไม้จริงๆ ภูเขาจริงๆ คนจริงๆ เป็นต้น  ดังที่ได้กล่าวต่อมา ว่าเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งเช่นเดียวกันกับภาพเขียน  ซึ่งเมื่อเห็นเมื่อได้ยินเป็นต้น ก็มาปรากฏเป็นสังขารขึ้นในจิตใจ ซึ่งเป็นธาตุรู้  แต่ว่าจิตใจที่เป็นธาตุรู้นี้ยังประกอบด้วยอวิชชาด้วยโมหะ  ฉะนั้นจึงมีความหลงถือเอาผิด ตั้งต้นแต่มีสัญโญชน์คือความผูกพัน  และเกิดความยินดีเกิดความยินร้ายเพิ่มความหลงต่างๆ ขึ้นอีก  คือเกิดยินดีพอใจซึ่งเป็นราคะหรือโลภะขึ้นในสิ่งผสมปรุงแต่ง  คือสังขารที่สวยสดงดงาม ที่น่ายินดีพอใจต่างๆ  เหมือนอย่างภาพที่เขียนขึ้นให้วิจิตรงดงามต่างๆนั้น ก็เกิดความพอใจ  เป็นราคะบ้าง เป็นโลภะโลภอยากได้เอามาบ้าง  ถ้าสังขารคือส่วนผสมที่ปรุงแต่งนั้นไม่สวยสดงดงามเพราะร่วงโรยไป  โดยธรรมชาติก็ตาม ซึ่งเปรียบเหมือนอย่างภาพเขียนที่เขียนให้น่าเกลียดน่ากลัวต่างๆ  ให้ไม่สวยสดงดงามต่างๆ ดูแล้วก็ไม่พอใจ ก็เป็นชนวนของความไม่ชอบความชัง  ตลอดจนถึงความโกรธ ความพยาบาทมุ่งร้ายต่างๆ  ถ้าไม่เช่นนั้นก็เกิดความหลงยึดถือติดอยู่ ซึ่งมีเป็นพื้นฐาน  ประกอบกับอวิชชาคือความไม่รู้ อันนี้เองเป็นเครื่องปิดบังสัจจะที่เป็นตัวความจริง  ว่าสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น เหมือนอย่างเป็นภาพเขียนทั้งนั้น  ซึ่งภาพเขียนนั้นไม่มีความจริงอยู่ในนั้น เขียนเป็นต้นไม้ เขียนเป็นภูเขา  ก็ไม่เป็นต้นไม้จริง ไม่เป็นภูเขาจริง เพราะเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง  ซึ่งทุกคนก็เห็นว่าช่างเขียนเขาเขียนขึ้นมา 

    คราวนี้สิ่งที่เข้าใจว่าเป็นคนจริงๆ  เป็นต้นไม้จริงๆ เป็นภูเขาจริงๆ ซึ่งความเข้าใจนั้นก็ต้องพิจารณา  ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ก่อน ว่านั่นเป็นเป็นอวิชชา เป็นโมหะ  เพราะสิ่งที่คิดว่าจริงนั้น อันที่จริงก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งเช่นเดียวกัน  ไม่ต่างอะไรกับภาพเขียน ไม่มีต้นไม้จริงๆ ไม่มีภูเขาจริงๆ ไม่มีร่างกายใจที่เป็นอัตภาพนี้จริงๆ  ทั้งที่เป็นคน ทั้งที่เป็นสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ล้วนเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น  และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสั่งสอนให้บุคคลทราบถึง สังขตลักษณะ  ลักษณะคือเครื่องกำหนดหมายแห่งสังขารคือสิ่งที่ผสมปรุงแต่งทั้งหลายว่ามี ๓ ประการ  คือ ๑ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๒ ความเสื่อมสิ้นไปปรากฏ  และ ๓ เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นปรากฏ  นี้เป็นลักษณะของสังขารทั้งหลาย 

    ดูจากภาพเขียนก่อน เมื่อช่างมาเขียนขึ้น นั่นก็คือว่ามีความเกิดขึ้นปรากฏ  ปรากฏเป็นภาพของสิ่งต่างๆ และต่อจากนั้นก็เก่าเสื่อมไปโดยลำดับเป็นความเสื่อมสิ้นปรากฏ  จนถึงเสื่อมไปหมดสิ้น คือ ผุ หรือว่าเลือนหายไป  และเมื่อยังตั้งอยู่ก็มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับ ต้องเลอะเลือนไปโดยลำดับ  จะเห็นได้จากภาพเขียนในโบสถ์เก่าๆทั้งหลาย โบสถ์รั่วบ้าง อะไรบ้าง  ภาพเขียนนั้นก็เสื่อมสิ้นเก่าเสื่อมไปโดยลำดับ  และแม้สังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งที่เข้าใจกันว่าเป็นต้นไม้เป็นภูเขาจริงๆ  เป็นอัตภาพของบุคคล ของสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายจริงๆก็เช่นเดียวกัน  มีความเกิดขึ้นปรากฏ ตั้งแต่เป็น กลละ ขึ้นในครรภ์ของมารดา  คลอดออกมาก็เรียกกันว่าเกิดก็ปรากฏ แล้วก็มีวัยคือความเสื่อมสิ้นไปปรากฏโดยลำดับ  เรียกว่าแก่ขึ้น คือเป็นเด็กเล็ก เด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว แล้วก็แก่ลง  เพราะชำรุดทรุดโทรม เป็นคนแก่ ผมหงอกฟันหัก ความเสื่อมถอยต่างๆ  ของตาหูจมูกลิ้นกายและมนะคือใจ ไปจนถึงมรณะคือความตายในที่สุด  และเมื่อตั้งอยู่นั้นก็เปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับ ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆไม่เปลี่ยนแปลง  เปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับ เมื่อพิจารณาจึงจะมองเห็น  เพราะฉะนั้นจึงได้มีแสดงว่าทุกๆ คนนั้นที่เกิดมา เมื่อเกิดมาก็เดินบ่ายหน้าไปสู่ความดับในที่สุด  ด้วยกันทุกคน ไม่มีหยุดสักขณะเดียว

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้หมั่นพิจารณา  ในเมื่อได้ปฏิบัติทำสติปัฏฐานในกาย ในเวทนา ในจิต มาโดยลำดับแล้ว  ก็เป็นอันว่าได้อบรมจิตให้เป็นศีลเป็นสมาธิขึ้นมาโดยลำดับ ก็ให้ศีลสมาธิอบรมปัญญาต่อไป  จับพิจารณาให้มองเห็นว่าเป็นสังขารดังกล่าวมาแล้ว  และมีลักษณะของสังขารที่ปรากฏดังที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้  อันนี้แหละที่ตรัสสอนไว้ว่า อนิจจานุปัสสี  ตั้งสติพิจารณาให้เห็นตามอนิจจะคือความไม่เที่ยง  คือความที่มีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมสิ้นไปปรากฏ  เมื่อยังตั้งอยู่ ก็เริ่มแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับไม่มีหยุดยั้ง  อันนี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา 

    เมื่อได้อนิจจานุปัสสนาดั่งนี้แล้ว ก็จะได้วิราคะคือความสิ้นติดใจยินดี  ก็ให้ตั้งสติพิจารณาตามดูตัววิราคะคือความสิ้นติดใจยินดีที่บังเกิดขึ้น  ก็จะได้ความดับ ดับความติดใจยินดี ดับความเพลิดเพลิน  ก็ให้ตั้งสติพิจารณาตามดูตามรู้ตามเห็นตัวความดับดังกล่าวนี้ที่บังเกิดขึ้นในใจ  ก็จะได้ความปล่อยวาง สิ่งอะไรที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวเราของเราก็จะปล่อยวางลงได้  ก็ให้ตั้งสติพิจารณาตามดูตามรู้ตามเห็นตัวความปล่อยวางนี้ ที่ตามศัพท์เรียกว่าสละคืน  เหมือนอย่างว่าไปยึดเอาของเขามาก็คืนของเขาไป  เมื่อไปยึดเอาสังขารมาเป็นตัวเราของเรา ก็คืนความยึดถือ  ปล่อยสังขารที่ยึดเอามาว่าเป็นตัวเราของเราลงไป ออกไป คืนให้แก่เจ้าของเขาไป  ก็คืนให้แก่ธรรมดา เพราะที่จริงเป็นธรรมดาทั้งนั้น ซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นไปดังกล่าวนั้น  แต่เพราะยังมีอวิชชามีโมหะ จึงไปหลงยึดถือเอาธรรมดานั้นมาเป็นตัวเราของเรา  ซึ่งที่จริงไม่ใช่ ของเขาเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง เขาเป็นสังขาร เป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง  ที่จะต้องเป็นไปตามธรรมดาดั่งนั่น แต่บุคคลไปยึดเอามาเป็นตัวเราของเรา  จึงได้บังเกิดความทุกข์ต่างๆ  แต่เมื่อตั้งสติตามดูตามรู้ตามเห็น ให้รู้เห็นตามเป็นจริงได้แล้ว  ก็จะปล่อยวางได้ คืนเขาไป คืนเขาไปแก่ธรรมดา ไม่ฝืนไม่ยึด  เมื่อเป็นดั่งนี้ก็เป็นอันวางทุกข์ลงไปได้โดยลำดับ จะเป็นความสิ้นทุกข์ไปโดยลำดับ  ดั่งนี้เป็นการปฏิบัติในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้  ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป 
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #280 เมื่อ: 26 มีนาคม 2557, 21:44:32 »

พุทธวจน

สังโยชน์สิบ
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
 
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะ, พยาบาท
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
 
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจ, อวิชชา
เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
 
ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗ 
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #281 เมื่อ: 27 มีนาคม 2557, 22:20:05 »

  สาธุ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #282 เมื่อ: 28 มีนาคม 2557, 22:34:18 »

พุทธวจน

ความไม่เพลินในอายตนะ
คือความหลุดพ้นจากทุกข์
ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใด ย่อมไม่เพลินกะตา, ไม่เพลินกะหู, ไม่
เพลินกะจมูก, ไม่เพลินกะลิ้น, ไม่เพลินกะกาย, ไม่เพลินกะใจ แล้วไซร้;
ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่เพลิดเพลิน
กะสิ่งอันเป็นทุกข์; เรากล่าวว่า ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙.
ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใดแล ย่อมไม่เพลิดเพลินกะรูป, ไม่เพลิดเพลิน
กะเสียง, ไม่เพลิดเพลินกะกลิ่น, ไม่เพลิดเพลินกะรส, ไม่เพลิดเพลิน
กะโผฏฐัพพะ, ไม่เพลิดเพลินกะธรรมารมณ์ แล้วไซร้; ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อม
ไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์;
เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้แล.
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #283 เมื่อ: 29 มีนาคม 2557, 07:39:24 »

สวัสดีครับ พี่ติ๋ม

พุทธวัจนะ  ข้อนี้ ไม่หลงเพลินในอายตนะ
ผมว่ายากที่สุดแล้ว และสำคัญที่สุดด้วย

อ่านแล้วเข้าใจ คิดตามก็เข้าใจ  แต่ปฏิบัติไม่ได้เลย จ๊าากกก

แค่ตามองเห็น  สติตามไปรู้ว่า เห็น หนอ  วินาทีเดียว
จิตคิดต่อไปไกลมาก ทั้งกุศล และ อกุศล เต็มไปหมด นี่แค่ วินาทีเดียว

นี่แค่เรื่องตา การมองเห็น  ยังเหลือ อีกตั้ง 5 ทาง
ผมจึงว่ายากมาเลย การปฏิบัติ ให้ดี ในข้อนี้ ไม่หลงเพลินใน อายตนะ

แต่ต้องขอบคุณมาก ที่ พี่ติ๋ม มาช่วย เสนอแนวทาง ดีๆ เช่นนี้

จะตามต่อไปครับ พี่ติ๋ม
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #284 เมื่อ: 31 มีนาคม 2557, 21:40:35 »

ดีใจที่น้องสมชายได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย พี่จะนำสิ่งที่พี่อ่านและฟังแล้วน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านเพื่อนพี่น้องมาลงไว้ให้ติดตามกันตามอัธยาศัยนะคะ

อ้างถึง
ข้อความของ สมชาย17 เมื่อ 29 มีนาคม 2557, 07:39:24
สวัสดีครับ พี่ติ๋ม

พุทธวัจนะ  ข้อนี้ ไม่หลงเพลินในอายตนะ
ผมว่ายากที่สุดแล้ว และสำคัญที่สุดด้วย

อ่านแล้วเข้าใจ คิดตามก็เข้าใจ  แต่ปฏิบัติไม่ได้เลย จ๊าากกก

แค่ตามองเห็น  สติตามไปรู้ว่า เห็น หนอ  วินาทีเดียว
จิตคิดต่อไปไกลมาก ทั้งกุศล และ อกุศล เต็มไปหมด นี่แค่ วินาทีเดียว

นี่แค่เรื่องตา การมองเห็น  ยังเหลือ อีกตั้ง 5 ทาง
ผมจึงว่ายากมาเลย การปฏิบัติ ให้ดี ในข้อนี้ ไม่หลงเพลินใน อายตนะ

แต่ต้องขอบคุณมาก ที่ พี่ติ๋ม มาช่วย เสนอแนวทาง ดีๆ เช่นนี้

จะตามต่อไปครับ พี่ติ๋ม

      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #285 เมื่อ: 31 มีนาคม 2557, 21:45:45 »

หลังจากฟังแล้ว คิดว่าถ้าเราเป็นกัลยาณมิตรของชาวซีมะโด่ง เราต้องนำมาฝากไว้ให้ทุกท่านที่สนใจค่ะ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=xB4z6SONcyU" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=xB4z6SONcyU</a>

https://www.youtube.com/watch?v=xB4z6SONcyU
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #286 เมื่อ: 01 เมษายน 2557, 21:05:13 »

วันนี้เอาธรรมชาติของชีวิตมาฝาก เผื่อมีประโยชน์กับรุ่นใกล้ชราภาพบ้างค่ะ

วิธีป้องกันหรือชลอความเสื่อมของสมอง




http://www.helpguide.org/elder/alzheimers_prevention_slowing_down_treatment.htm
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #287 เมื่อ: 09 เมษายน 2557, 21:45:49 »

ตัวเราคือธรรมชาติ ธรรมชาติคือธรรมะ

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๒๗/๕๑๘ ข้อที่ ๑๕๘
ลิงก์สำหรับแบ่งปันหน้านี้
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ  จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร
อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.
     ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
     ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.
     ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ
เพื่อละสังโยชน์

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=cviLxTMuLHg" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=cviLxTMuLHg</a>
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #288 เมื่อ: 11 เมษายน 2557, 10:51:24 »

สวัสดีครับ พี่ติ๋ม
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับผม

พี่สิงห์ ท่านน่าจะไปถึง จตุตถณาน แล้วครับ ผมสังเกตุจากการอ่าน บทความของ พี่สิงห์ ครับ
ผมเอง ปฐมณาน ยังไม่รู้จักเลยครับ  แต่จะพยายาม เพียร ปฏิบัติ ต่อไป  ผมเลือกทางสายนี้แน่นอนแล้ว ครับ

สวัสดี ปีใหม่ไทย ครับ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #289 เมื่อ: 14 เมษายน 2557, 21:48:45 »

ยินดีมากครับที่น้องสมชายมาเป็นกัลยณมิตรร่วมเดินทางด้วยค่ะด้วย

อ้างถึง
ข้อความของ สมชาย17 เมื่อ 11 เมษายน 2557, 10:51:24
สวัสดีครับ พี่ติ๋ม
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับผม

พี่สิงห์ ท่านน่าจะไปถึง จตุตถณาน แล้วครับ ผมสังเกตุจากการอ่าน บทความของ พี่สิงห์ ครับ
ผมเอง ปฐมณาน ยังไม่รู้จักเลยครับ  แต่จะพยายาม เพียร ปฏิบัติ ต่อไป  ผมเลือกทางสายนี้แน่นอนแล้ว ครับ

สวัสดี ปีใหม่ไทย ครับ
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #290 เมื่อ: 14 เมษายน 2557, 21:53:20 »

ถาม-ตอบพุทธวจนอันนี้สำหรับผู้ใฝ่ปฏิบัติธรรม ดีมากค่ะ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=GRtpNXSYFZM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=GRtpNXSYFZM</a>
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #291 เมื่อ: 16 เมษายน 2557, 01:22:41 »

 บุคคล ท่านใด สามารถ เห็น การเกิด-ดับ ของจิตได้อย่างสมํ่าเสมอ......ให้พากเพียร รักษาการภาวนาปฏิบัติ ไว้อย่าง
   สมํ่าเสมอ โดยเดินตามแนวทางสติปัฏฐาน 4  ระวัง นิวรณ์5 กิเลส10 และ การหลงตน....จน แยกกาย-ใจ ได้เด่นชัด
   แสดงว่าท่านอยู่ในกระเเสทางของโสดาบัน...... (โสดาปัดติมรรค/ โสดาปัดติผล).....ถึงสภาวะนั้นได้ ก็จะไม่ย้อนกลับ
   มาภพชาติที่ตํ่าอีกต่อไป  แล้ว .......สาธุ   ครับ น้องติ๋ม   
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #292 เมื่อ: 16 เมษายน 2557, 09:26:08 »

สาธุ ครับ พี่ปี๊ด

ละ นิวรณ์ ก็ยากแล้ว   ละกิเลส ยิ่งยากขึ้นไปใหญ่ (เพราะเสพสุข จากการสนองความต้องการ ของกิเลส มานาน)

แต่ไม่อยากลงต่ำ กว่ามนุษย์  เค้าไม่ยอม  ขณะเดียวกัน ความเพียร พยายาม ต่ำไปหน่อย ครับ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #293 เมื่อ: 17 เมษายน 2557, 03:01:07 »

ความสิ้นกรรม --- >

ไม่มีกรรม กรรมดับสนิท หมดไป พอสิ้นกรรมก็สิ้นทุกข์ เพราะกรรมนั้นมันเกิดจากกิเลส มีความไม่รู้อริยสัจ ก็เกิดความอยากได้เพื่อตนเอง อยากให้ตัวเองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ไปทำกรรมตามความยึดถือ ทำกรรมแล้วก็ได้รับผลวิบากเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง พอได้รับผลสุขบ้างทุกข์บ้างก็ยังไม่หมดอวิชชา ก็ไม่หมดตัณหา มันไม่อิ่มก็ทำวนเวียนไปเรื่อย ๆ

แต่เมื่อใด เราฝึกฝนจนรู้ความจริง ตัณหาก็ถูกละได้ ละความอยาก ละความต้องการ ละความคาดหวังได้ นั่นแหละจึงจะสิ้นกรรม กรรมสิ้นไป ทุกข์ก็สิ้นไป

ที่เรียนเรื่องกรรมนี่นะ ไม่ใช่เพื่อให้ท่านทั้งหลายไปทำกรรมให้เยอะๆ หรอก แต่เรียนเพื่อที่จะฝึกฝนตนเองให้ถูกวิธี ถ้ายังทำผิดอยู่ จะได้แก้ไขให้ถูกต้อง หยุดแล้วก็สำรวมระวัง แล้วก็ชำระล้าง ลดโอกาสที่สิ่งไม่ดีจะมาให้ผล จนกระทั่งปิดไปได้ แล้วก็ถึงที่สุด คือให้สิ้นกรรมหมดกรรมไป เริ่มต้นก็สิ้นกรรมไม่ดีก่อน ท้ายสุดแม้แต่ดีก็ไม่เอาด้วย หนทางฝึกฝนก็ตามหลักโพธิปักขิยธรรมมีอริยรรคมีองค์ ๘ ประการเป็นกลุ่มสุดท้าย

ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ตัณหักขยสูตร พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ ข้อ ๒๐๗ พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“เพราะละตัณหาได้ กรรมย่อมถูกละได้”

เมื่อเกิดปัญญา รู้ความจริงว่า สังขารทั้งปวงมันเป็นอย่างนั้น เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนได้รู้อริยสัจ ก็ละตัณหาได้กรรมก็ถูกละได้ เจตนาจะทำเพื่อตนเอง จะเอานั่นจะเอานี่เพื่อตนเองก็ไม่มี การกระทำก็เป็นเพียงสักว่าการกระทำ เป็นเพียงกิริยาเท่านั้น

“เพราะละกรรมได้ ทุกข์ย่อมถูกละได้”

ถ้ายังไปทำกรรมเพื่อตัวเอง ตามกำลังของตัณหา อุปาทาน ก็เป็นการก่อภพต่อชาติ ความเกิดขึ้นของกองทุกข์ก็มีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะละกรรมได้นั่นแหละ ทุกข์จึงจะถูกละได้ พระองค์สรุปว่า

อิติ โข อุทายิ ตณฺหกฺขยา กมฺมกฺขโย, กมฺมกฺขยา ทุกขกฺขโย

ดูก่อนอุทายี ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เพราะความสิ้นไปของตัณหา ความสิ้นไปของกรรมจึงมีได้ เพราะความสิ้นไปของกรรม ความสิ้นไปของทุกข์จึงมีได้

ถ้าเราเรียนเรื่องกรรมแล้ว มัวแต่ไปหลงทำกรรมวนเวียนอยู่ ก็ย่อมไม่อาจจะพ้นไปจากทุกข์ได้ เพราะ
ความสิ้นกรรมเท่านั้น ความสิ้นทุกข์จึงมีได้ กรรมจะถูกละได้ก็ต่อเมื่อละตัณหาได้ ตัณหาจะถูกละได้ก็ต่อเมื่อรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง รู้จนเลิกอยากได้ อยากเอา อยากมี อยากเป็น พอเลิกอยาก เลิกคาดหวัง ตัณหาก็ไม่มี ที่จะทำเพื่อตัวเอง ให้ตัวเองได้นั่นได้นี่ก็ไม่มี กรรมไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี ก็จบเรื่องกันไป

พระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ที่ถึงความสิ้นไปของกรรมทั้งปวงแล้ว พระองค์ได้ทำก่อน แล้วก็บอกทางให้เราทั้งหลายแล้ว ในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ โลกสูตร พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ ข้อ ๑๑๒ มีคาถาแสดงคุณของพระพุทธเจ้าเอาไว้ว่า

เอส ขีณาสโว พุทฺโธ อนีโฆ ฉินฺนสํสโย
สพฺพกมฺมกฺขยํ ปตฺโต วิมุตฺโต อุปธิสงฺขเย
เอส โส ภควา พุทฺโธ เอส สีโห อนุตฺตโร
สเทวกสฺส โลกสฺส พรฺหมฺจกฺกํ ปวตฺตยิ

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระขีณาสพ เป็นผู้ไม่เบียดเบียน เป็นผู้มีความสงสัยสิ้นไปแล้ว เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไปของอุปธิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นประดุจสีหะ เป็นผู้ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า ทรงประกาศพรหมจักร แก่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก

ในคาถานี้มีคำว่า สพฺพกมฺมกฺขยํ ปตฺโต เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง นี้เป็นคุณของพระพุทธเจ้า พระองค์ถึงความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง ทรงทำก่อนแล้ว ตอนออกบวช พญามารก็มาหลอกล่อบอกว่าพระองค์จงไปครองราชย์เถิด จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีทรัพย์เงินทองมากมาย ได้ทำบุญเยอะๆ จะได้เสวยผลที่ดีๆ พระพุทธเจ้าก็บอกกับมารว่า ดูก่อนมารผู้มีบาปท่านจงไปพูดเรื่องบุญกับคนที่ต้องการบุญเถอะ

เราทั้งหลายผู้เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เป็นยังไงกันบ้าง อยากได้บุญ ตกอยู่ภายใต้บ่วงมารกัน แต่ที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมนั้น ก็เพื่อให้เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ


อ้างอิง
http://www.namjaidham.net/forum/index.php?topic=712.0
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #294 เมื่อ: 17 เมษายน 2557, 08:45:04 »

สวัสดี พี่ติ๋ม พี่ปี๊ด  ขอขอบคุณก่อนเป็นประการแรก

เพราะ วันนี้ได้อ่าน ธรรมะ ดีๆ ถึง สองกระทู้  ห้องพี่สิงห์ และห้องนี้

วันนี้คงเป็นวันดีเป็นแน่แท้ ครับ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #295 เมื่อ: 17 เมษายน 2557, 15:11:47 »

สวัสดี ครับ น้องสมชาย
           การปฏิบัติธรรม นะไม่ยาก.....มันจะยากก็เฉพาะ ผู้ไม่ปฏิบัติ  เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ที่(มี)      
 เป็นอยู่ เพียงแต่ มนุษย์ไปใช้สมองปรุงแต่ง และสมมุติว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ จนไม่รู้ความเดิมว่า " ทุกสิ่งมันเป็นเช่นนั้นแล"
 เมื่อมีไอ้นี้ มันจึงมีไอ้นั้น ทุกอย่างเป็นเหตุ เป็นผล ซึ่งกันและกัน เสมอ ค่อยๆฝึก ค่อยๆทำ ครับน้องสมชาย หยุดใช้สมอง
 ใช้ความรู้สึกแทน ไม่ต้องท่องไม่ต้องจำ เพราะเราไม่ต้องการที่จะไปสอนใคร แต่ให้เอาจิตไปจับที่อิริยาบถของตัวเอง รู้
 ปัจจุบัน ไปเรื่อยๆ ความ โลภ โกรธ หลง จะเกิดขึ้นกับตัวเองทุกขณะ speed การเข้าไปจับของจิต จะดีขึ้น แล้วไปดูที่
 เหตุของการเกิด เราก็จะปล่อยว่างได้ สนิท ทำเช่นนี้/ รู้ตัว รู้ตัว ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวธรรมะก็จะเกิดขึ้นเองในจิต ตามคำสอน
 ของพระพุทธองค์ ....ง่ายๆ ครับ น้องสมชาย  ลาภ ยศ สรรเสริญ ที่เป็นผลตามมาจากการกระทำใดๆ ก็จะไม่ใช่เรื่องใหญ่
 ที่จะทำให้เราหลง.....เพราะมันเป็น ธรรมดา เป็นธรรมชาติ ทั้งสิ้น ครับ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #296 เมื่อ: 17 เมษายน 2557, 20:51:43 »


พี่ปี๊ดคะ วิธีปฏิบัติที่พี่ปี๊ดอธิบายนี่ ท่านทั้งหลายที่มีประสบการณ์ ท่านเรียกว่าทางสายเอก
สาธุค่ะ


 ชอบนะ ชอบนะ ชอบนะ ชอบนะ ชอบนะ ชอบนะ ชอบนะ ชอบนะ ชอบนะ


อ้างถึง
ข้อความของ Pete15 เมื่อ 17 เมษายน 2557, 15:11:47
สวัสดี ครับ น้องสมชาย
           การปฏิบัติธรรม นะไม่ยาก.....มันจะยากก็เฉพาะ ผู้ไม่ปฏิบัติ  เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ที่(มี)      
 เป็นอยู่ เพียงแต่ มนุษย์ไปใช้สมองปรุงแต่ง และสมมุติว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ จนไม่รู้ความเดิมว่า " ทุกสิ่งมันเป็นเช่นนั้นแล"
 เมื่อมีไอ้นี้ มันจึงมีไอ้นั้น ทุกอย่างเป็นเหตุ เป็นผล ซึ่งกันและกัน เสมอ ค่อยๆฝึก ค่อยๆทำ ครับน้องสมชาย หยุดใช้สมอง
 ใช้ความรู้แทน ไม่ต้องท่องไม่ต้องจำ เพราะเราไม่ต้องการที่จะไปสอนใคร แต่ให้เอาจิตไปจับที่อิริยาบถของตัวเอง รู้
 ปัจจุบัน ไปเรื่อยๆ ความ โลภ โกรธ หลง จะเกิดขึ้นกับตัวเองทุกขณะ speed การเข้าไปจับของจิต จะดีขึ้น แล้วไปดูที่
 เหตุของการเกิด เราก็จะปล่อยว่างได้ สนิท ทำเช่นนี้/ รู้ตัว รู้ตัว ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวธรรมะก็จะเกิดขึ้นเองในจิต ตามคำสอน
 ของพระพุทธองค์ ....ง่ายๆ ครับ น้องสมชาย  ลาภ ยศ สรรเสริญ ที่เป็นผลตามมาจากการกระทำใดๆ ก็จะไม่ใช่เรื่องใหญ่
 ที่จะทำให้เราหลง.....เพราะมันเป็น ธรรมดา เป็นธรรมชาติ ทั้งสิ้น ครับ

      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #297 เมื่อ: 18 เมษายน 2557, 08:24:36 »

ขอขอบคุณพี่ปี๊ด มากครับ

นำเสนอวิธี ปฏิบัติ  ที่เป็นแก่นจริงๆ 

ที่พี่ปี๊ดให้วิธีการมา  จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก

ขึ้นอยู่กับ พื้นฐานดั้งเดิมของ เราเอง ถ้าฐานเดิมดีก็อาจจะง่าย

ฐานผม เป็นลิง  ก็ต้องบีบ บังคับก่อน ให้เชื่อง   แล้วทำตามแบบที่พี่ปี๊ดว่าไว้ ต่อไป

เรียกว่า สติ อยู่  จิต อยู่ กับตัว รู้ตัวตลอดเวลา  ปิ๊งๆ  ตอนนี้ยังไม่อยู่ จิตมันท่องเทียวไปเรื่อย หาตัวไม่ค่อยจะเจอครับ เค้าไม่ยอม

กำลังพยายามอยู่ สะสม ที่ละเล็ก ที่ละน้อย ครับ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #298 เมื่อ: 22 เมษายน 2557, 21:29:58 »

น้องสมชายคะ
ที่น้องรู้และบอกได้ว่าเขาหายไป เป็นลิง ก็แสดงว่าจิตเขากลับมาแล้วล่ะค่ะ ถ้าไม่กลับน้องจะไม่รู้และบอกไม่ได้ว่าเขาไป และมันก็ไป มา เกิด ดับให้เห็นไปเรื่อยๆตราบใดที่ยังติดอยู่กับขันธ์ห้า นี่แหละค่ะคือ อิทัปปจยตา ปฏิจสมุปบาท


 [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่
ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข
ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็น
อนุโลมและปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
(การเกิดขึ้นของทุกข์)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
(การดับไปแห่งทุกข์)
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ

อ้างอิงจาก
http://www.nkgen.com/28.htm


อ้างถึง
ข้อความของ สมชาย17 เมื่อ 18 เมษายน 2557, 08:24:36
ขอขอบคุณพี่ปี๊ด มากครับ

นำเสนอวิธี ปฏิบัติ  ที่เป็นแก่นจริงๆ  

ที่พี่ปี๊ดให้วิธีการมา  จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก

ขึ้นอยู่กับ พื้นฐานดั้งเดิมของ เราเอง ถ้าฐานเดิมดีก็อาจจะง่าย

ฐานผม เป็นลิง  ก็ต้องบีบ บังคับก่อน ให้เชื่อง   แล้วทำตามแบบที่พี่ปี๊ดว่าไว้ ต่อไป

เรียกว่า สติ อยู่  จิต อยู่ กับตัว รู้ตัวตลอดเวลา  ปิ๊งๆ  ตอนนี้ยังไม่อยู่ จิตมันท่องเทียวไปเรื่อย หาตัวไม่ค่อยจะเจอครับ เค้าไม่ยอม

กำลังพยายามอยู่ สะสม ที่ละเล็ก ที่ละน้อย ครับ

      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #299 เมื่อ: 22 เมษายน 2557, 21:34:06 »

กฏธรรมชาติ ปฏิจสมุปบาท

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=5gvg114X3Yw" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=5gvg114X3Yw</a>
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
  หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><