เริง2520
|
|
« ตอบ #3225 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2557, 20:09:39 » |
|
ไม่อยากจะเชื่อ... เพราะสมัยเรียนไม่เคยรับรู้เรื่องราวเช่นนี้มาก่อนเลย ผมดีใจเหมือนจะยกมือขึ้นพนมไหว้ เมื่อรู้ว่า... ผมเป็นศิษย์เก่ารุ่นลูกของท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 12 เป็นศิษย์รุ่นลูกของพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 19 นอกจากนั้น ยังเป็นศิษย์รุ่นน้องของอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ คงจะร้อง อ๋อ... รู้แล้วว่าทำไม ผมจึงนำบทกวีที่อาจารย์เนาวรัตน์ เขียนให้กับโรงเรียน มาไว้ข้างบนนั่น...) ยังมีอีกครับ พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายอำนวย สุวรรณคีรี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอกเสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3226 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2557, 20:29:24 » |
|
ตอนที่ ๒
ในตอนที่แล้ว ผมนั่ง Time Machine (อิ อิ มันเป็นรถแท็กซี่น่ะ) ย้อนเวลากลับไปยังโรงเรียนทวีธาภิเศก ที่ไม่ได้ไปอีกเลยหลังจากเรียนจบมาร่วมๆ 36 ปี และยังบอกอีกว่า เพิ่งรู้ว่าเป็นศิษย์รุ่นน้องของคนดีๆ ในบ้านเมืองตั้งมากมาย... นอกจากนี้ ยังได้เอ่ยนามของบางท่านเหล่านั้นไว้ด้วย ด้วยความเร่งรีบในการเขียน จึงลืมทบทวนวันเวลาในอดีตของการเมืองไทยที่ยังผ่านไปไม่นานนัก จึงขอถอนความภาคภูมิใจในความเป็นศิษย์เก่ารุ่นน้า และรุ่นพี่ ที่เป็นนายทหารยศพลเอกออกสักคนสองคนนะครับ... อิ อิ ส่วนจะเป็นใคร รบกวนพลิกกลับไปดูเอาเองเถอะ... บ่ายวันนั้น ผมเดินออกจากโรงเรียนไปยังวัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวราราม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับแม่น้ำเจ้าพระยา เส้นทางเดินสายนี้ ก่อนนี้ตอนยังเรียนหนังสืออยู่ ผมและเพื่อนๆ มักจะใช้เดินกันเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ยังไม่อยากกลับบ้าน และต้องการข้ามฟากเจ้าพระยาไปเตร็ดเตร่ในฝั่งกรุงเทพฯ ตอนนั้น จำได้ว่า เราเดินกันไป คุยกัน เล่นกันไป อือ... สนุกดี ที่สำคัญ ไม่ไกล...
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3227 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2557, 20:31:44 » |
|
แต่ทำไมนะ... พอเวลาผ่านพ้นไปหลายๆ วัน หลายๆ ปี ผมกลับมาเดินย้อนรอยสายนี้อีกที เอ๊ะ... มันก็ไกลเหมือนกันนะนี่... สมัยโน้น ผมจำได้ว่า เราต้องเดินผ่านสถานที่ที่มีทหารเรืออยู่เยอะๆ (และจำได้อีกว่า มีภรรยาทหารเรือท่านหนึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนผมมาในโรงเรียนทวีธาภิเศกแห่งนี้ คือ อาจารย์จินตนีย์ สุขประดิษฐ์ ไม่ทราบว่า ทุกวันนี้ ท่านยังอยู่อีกหรือไม่) และมารู้เอาตอนหลังตอนเดินผ่านเที่ยวนี้ว่า ที่นี่ เป็นถึง กองบัญชาการทหารเรือ เชียวนะ ก่อนจะถึงทหารเรือ ผมแวะกินข้าวมันไก่ที่ร้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง อร่อยมากๆ จำชื่อได้เพียงว่า มีคำว่า มุ่ย อยู่ด้วย แต่ชื่อเต็มๆ จำไม่ได้เสียแล้ว บริเวณพระปรางค์วัดอรุณวันนี้ เปลี่ยนแปลงไปมาก ก่อนนี้ ทุกครั้งที่ผมกับเพื่อนๆ เดินมายืนแหงนมองชนิดคอตั้งบ่า ด้านหน้ายังเป็นลานโล่งๆ ไม่มีกำแพงล้อมรอบอย่างทุกวันนี้ แต่ความรู้สึกที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยก็คือ โห... สูงๆ ใหญ่ๆ อย่างนี้ คนรุ่นก่อนเขาก่อสร้างขึ้นไปได้อย่างไร แล้วอยู่มาได้แข็งแรงจนถึงทุกวันนี้ การก่อสร้างทุกวันนี้เสียอีก ที่ก่อสร้างแค่อาคารชั้นสองชั้น บางแห่งก็พังทลายลงมาง่ายๆ เสียแล้ว นี่... พระปรางค์แห่งนี้ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โน่น... ผมเดินเวียนรอบๆ พระปรางค์ และปีนบันไดขึ้นไปชั้นหนึ่ง ทึ่งครับ มิใช่แค่การก่อสร้าง แต่เห็นฝรั่งนักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปยังที่สูงๆ ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ผู้ชรา โอย... ขึ้นไปได้ยังไง ผม... คนกลัวความสูง แค่นี้ขาก็สั่นแล้ว... ผมเดินออกจากบริเวณวัด มองหาทางไปยังท่าเรือที่จะข้ามฟากไปยังท่าเตียน แต่มองหาอย่างไรก็ไม่เห็นทาง โชคดีครับ ที่น้องเจ้าหน้าที่ทหารเรือผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งน่าจะเดินกลับมาจากกินข้าวมื้อเที่ยงเดินผ่านมา พอถามทาง น้องทหารเรือก็ใจดีพาผมไปส่งถึงท่าเรือเลย ขอบคุณครับ...
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #3228 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2557, 20:45:09 » |
|
น้องเริง คุณเหยง มาตามติดRiverfrontทั้งหลาย ป้ายAsiatique ยอดมาก กำลังหาแบบทำป้ายร.รอยู่ ที่หอหญิงมียามชื่อยามเฉื่อย เป็นบุคลากรระดับตำนานเชียวค่ะ หอชายรู้ดีว่า เป็นบุคคลแรก ก่อนจะเจอสาวหอหญิงได้
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3230 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2557, 11:25:08 » |
|
น้องเริงกลับ รร.ทวีธาภิเษก หลังจบไป 36 ปี
นี่พี่เหยงยังไม่เคยกลับไปที่ รร.พระปฐมวิทยาลัย ซึ่งจบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 (จบเดือน ก.พ. 2516) จนถึงปัจจุบันนี้เลย, 41 ปีมาแล้วล่ะ เห็นที ต้องหาโอกาสกลับไปเยี่ยมโรงเรียนเก่าซะบ้างแล้ว กลับนครปฐม ก็เป็นเพียวขับรถผ่านทุกครั้งเท่านั้น
|
|
|
|
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213
|
|
« ตอบ #3231 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2557, 15:22:17 » |
|
พี่เหยงอยู่นครปฐมรึคะ ก้อยอยู่ซอย 2 ค่ะ เรียนสาธิต
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3232 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2557, 15:46:06 » |
|
อ้าว เจอพี่นครปฐมแล้วก้อย
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3236 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2557, 18:05:41 » |
|
ตรงโรงเรียน ฝั่งตรงข้ามมีโรงหล่อพระพุทธรูป
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3238 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2557, 19:52:36 » |
|
ครับ สร้างมานานแล้ว ๑๐๖ ปี
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย (อังกฤษ: Phrapathom Witthayalai School; อักษรย่อ: พ.ป., P.T.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2452 มีเนื้อที่ 24 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 8 หลัง และอาคารอื่นๆอีกมากมาย อาทิ อาคารอเนกประสงค์, อาคารหอประชุม วานิช ไชยวรรณ, อาคารอุตสาหกรรมศิลป์
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย เริ่มเปิดดำเนินการสอนเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2452 มีนักเรียนตั้งแต่ ป. 1 ถึง ม. 4 โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนตัวอย่างมณฑลนครชัยศรี พระปฐมวิทยาลัย
พ.ศ. 2464 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนประจำมณฑลนครชัยศรี พระปฐมวิทยาลัย พ.ศ. 2475 ทางราชการสั่งยุบมณฑลนครชัยศรี โรงเรียนจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับการยุบมณฑลว่า โรงเรียนประจำจังหวัดนครปฐม พระปฐมวิทยาลัย พ.ศ. 2494 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศโรงเรียนจึงต้องเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งว่า โรงเรียนนครปฐม พระปฐมวิทยาลัย พ.ศ. 2499 โรงเรียนได้เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาเป็นปีแรก และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน อีกครั้งหนึ่งว่า โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย และใช้มาจนถึงทุกวันนี้ พ.ศ. 2506 โรงเรียนเปิดสอนชั้น ม.ศ. 4 - ม.ศ. 5 เต็มรูป พ.ศ. 2518 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ 5 ขึ้น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2518
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3239 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2557, 20:56:29 » |
|
น้องเริง
ขอบใจสำหรับประวัติของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
ในปีที่มีการซ้อมเสือป่า เสือป่าของ รร.พระปฐมวิทยาลัย สามารถจับตัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งบัญชาการกองเสือป่าฝั่งตรงข้ามที่เข้าซ้อมรบได้ พระองค์พระราชทานภู่ขนนกที่ปักไว้บนพระมาลาประดับให้เสือป่าของโรงเรียนที่จับพระองค์ได้ ซึ่งต่อมาพระราชานุญาตให้ประดับบนหมวกได้ทั้งกอง และตกทอดมายังกองลูกเสือสามัญของโรงเรียน หลังกองเสือป่ายกเลิกไป หลังเสด็จสวรรคต เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า "กองลูกเสือขนนก" มีอยู่เพียง 1 หมวด ไม่ใช่ทั้งโรงเรียน (ซึ่งต่อมากองลูกเสือ รร.วชิราวุธ ได้ขอพระราชทานขนนกประดับที่หมวกด้วยเช่นกัน ดังปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน)
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3240 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2557, 20:59:56 » |
|
บ้านอยู่ไม่ห่างกันมากครับ พี่อยู่ถนนทหารบก ใกล้ศาลเจ้าม้าดำ เยื้องสมาคมแซ่ลิ้ม เดินไปราวๆ 200 ม.ก็ถึงซอย 2 แล้ว ชอบไปทานข้าวหมูแดงที่ซอย 2 เวลากลับไปนครปฐม พี่เรียน"บำรุงวิทยา" แล้วไปต่อ"พระปฐม" จนจบ แล้วเอ็นเข้าจุฬาฯ 2516 ครับ
|
|
|
|
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213
|
|
« ตอบ #3241 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2557, 08:51:03 » |
|
ค่ะพี่เหยง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3242 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2557, 20:59:21 » |
|
สืบเนื่องจากกองเสือป่าของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จึงค้นคว้าต่อ
ยศของเสือป่าคล้ายยศทหาร แต่มีชื่อเรียกต่างกัน เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ ดังนี้ นายกองใหญ่ นายกองเอก นายกองโท นายกองตรี นายหมวดเอก นายหมวดโท นายหมวดตรี นายหมู่ใหญ่ นายหมู่เอก นายหมู่โท นายหมู่ตรี นายเสือป่า
ยศนายกองใหญ่ เป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งยศนายพลเสือป่าขึ้นแทน และได้พระราชทานยศนายพลเสือป่าแก่ นายเสือป่าชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน เช่น นายพลเสือป่า เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เกียกกายเสือป่า นายพลเสือป่า พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) ยกรบัตรเสือป่า
ยศนายเสือป่าตั้งแต่ชั้นยศนายหมู่ใหญ่ขึ้นไป จัดเป็นยศชั้นสัญญาบัตร ส่วนตั้งแต่นายหมู่เอกลงมาเป็นยศชั้นประทวน ที่ผู้บังคับบัญชาเสือป่าได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออกประทวนคั้งยศได้
ส่วนยศลูกเสือ แบ่งเป็น นายหมู่เอก นายหมู่โท นายหมู่ตรี
และนักเรียนเสือป่าหลวง ซึ่งเรียกกันว่า นักเรียนนายร้อยเสือป่า ก็โปรดพระราชทานยศเป็น นายหมู่นักเรียนเอก นายหมู่นักเรียนโท นายหมู่นักเรียนโท
ยศลูกเสือและนักเรียนเสือป่านี้มีลักษณะคล้ายกับยศนายสิบนักเรียนในโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์ส ของอังกฤษ และโรงเรียนนายร้อยดันทรูน ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตำแหน่งยศสำหรับนักเรียนผู้ทำหน้าที่ปกครองนักเรียนด้วยกัน
ข้อความของท่านอื่นเกี่ยวกับยศของเสือป่าครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3244 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2557, 06:48:49 » |
|
บางส่วนของบทความ และเป็นบางส่วนของหนังสือ"นายใน"
นิตยสาร/วารสาร รัฐศาสตร์สาร (ปีที่ 33, ฉบับ 1, มกราคม-เมษายน 2555)
เนื่องจากความหมายของ “ทหาร” สำหรับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่อาชีพหรือองค์กร แต่เป็นเพศ ตามพระราชอรรถาธิบายที่ทหารไม่ได้หมายถึงพลรบแต่หมายถึงชายหนุ่มหรือชายฉกรรจ์ (มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ, 2506, 28-43) ดังนั้นจะต้องได้รับการปลุกเร้า ให้อยากจับอาวุธเรียนรู้ฝึกหัดซ้อมรบ ทำสงครามเพื่อปกป้องชาติบ้านเมืองตามหน้าที่ ในฐานะเป็นเพศที่มีพละกำลัง ความแข็งแกร่งตามธรรมชาติ ตามความเข้าใจขงพระองค์ (มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ, 2506, 12-27) การสถาปนาระบบการเรียนการสอนฝึกหัดวินัย การออกกำลังกาย วิชาทหารให้พลเรือนที่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปฝึกหัด ใน พ.ศ. 2454 หรือ “เสือป่า” จึงเกิดขึ้น
แต่ดูเหมือนว่าหลัง “เหตุการณ์ ร.ศ. 130” ที่ทหารชั้นผู้น้อยได้สร้างความโกรธแค้นให้กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างมากที่พยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองหรืออย่างน้อยที่สุดเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ภายหลังการครองราชย์ของพระองค์ได้เพียงปีเดียวใน พ.ศ. 2455 (หจช. ร.6 บ. 3.1/64 “พระราชหัตถเลขาถึงพระยายมราช” 4 มิถุนายน พ.ศ. 2455) จนทำให้เสือป่าถูกยกระดับให้เปรียบเสมือนกองทัพและนายทหารส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเดียวกันก็พยายามแข่งขันและลดทอนอำนาจบทบาทของทหารบก วิวัฒนาการของเสือป่าคล้ายคลึงกับทหารมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเครื่องแบบ วิชาการฝึกหัด ตำแหน่งการบังคับบัญชา นับตั้งแต่การฝึกเสือป่าขยายตัวด้วยการเปิดรับข้าราชการพลเรือนชั้นผู้น้อยตามกระทรวงต่างๆ ยิ่งทับซ้อนและลดบทบาทความสำคัญของกองทัพบก จนสังเกตได้ชัดว่ามีวาระแอบแฝงที่จะต่อต้านและแข่งขันกับทหารแห่งชาติ ตามที่เจ้าพระยายมราชเสนอความคิดให้ฝึกหัดเสือป่ารับพระราชทานพระบรมราโชวาทบ่อยครั้งให้จงรักภักดีต่อพระองค์ และรังเกียจการเป็นทหาร (หจช. ร. 6 บ. 16/3 “เสือป่าถือน้ำพิเศษครั้งที่สอง”, 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2455) เช่นเดียวกับที่พระราชนิพนธ์ “หัวใจนักรบ” และคอลัมน์ “โลกะสากัจจา” ในหนังสือพิมพ์ที่พระองค์ทรงเป็นเอดิเตอร์ ที่เสือป่ามี “หัวใจนักรบ” และ “ความเป็นลูกผู้ชาย” มากกว่า และเมื่อพระองค์ทรงสร้างแรงจูงใจในการเป็นเสือป่าด้วยการประกาศให้การเป็นสมาชิกเสือป่าได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์ทหาร เพราะถือว่าได้รับการฝึกหัดทหารแล้ว ทำให้ทหารเหมือนอยู่ในสถานะตรงกันข้ามกับเสือป่าอย่างสิ้นเชิง (หจช., ร. 6 บ. 16/35 “ขออนุญาตไม่เกณฑ์ทหาร” 6-17 มีนาคม พ.ศ. 2456) และเมื่อเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ที่ไม่ได้เข้ากลุ่มเป็นสมาชิกเสือป่าคือผู้ไม่จงรักภักดี (หจช., ร.6 บ. 17/12 “เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กราบบังคมทูล” 8 มีนาคม พ.ศ. 2455)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายร่วมกับคณะเสือป่า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3245 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2557, 15:54:24 » |
|
เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๓ ที่เกี่ยวข้องกับกองเสือป่าของ ร.๖
กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3246 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2557, 15:56:07 » |
|
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาดโยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #3247 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2557, 19:00:11 » |
|
น้องเริง ตามอ่าน ตามเที่ยวด้วยน่ะค่ะวันนี้ไฟดับทั้งวันเลยมาช้า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3248 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2557, 20:45:49 » |
|
มาช้าดีกว่าไม่มาครับ
|
|
|
|
|
|