เริง2520
|
|
« ตอบ #2825 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2557, 19:48:23 » |
|
หัวหิน ในวันที่ ๕ พค. ๒๕๕๗ นายณรงค์ฤทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายที่ประทับ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเครื่องประกอบในพระราชพิธีฉัตรมงคลประจำปี 2557 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักพระราชวัง เชิญพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พร้อมด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ไปประดิษฐาน ณ ท้องพระโรง ศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นวันที่ระลึกในโอกาสทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ตามโบราณขัตติยราชประเพณี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" โดยทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของราษฎร ดังพระราชกรณียกิจที่สะท้อนผ่านมาจวบจนปัจจุบัน -----------------------------------ประจวบคีรีขันธ์ - ผู้ว่าฯ ประจวบฯ เรียกประชุมด่วนเตรียมงานพระราชพิธี หลังสำนักพระราชวังแจ้งหมายกำหนดการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมหาสมาคมวันฉัตรมงคล ณ ท้องพระโรง ศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวลหัวหิน
วันนี้ (24 เม.ย.) ที่ห้องประชุมนเรศดำริห์ สำนักงานเทศบาลเมืองหัวหิน นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมเตรียมจัดงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2557 นี้ โดยมี น.ส.ณุวรรณา อนันตกิจไพศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, นายสิริวุฒิ เหมทัต รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.อ.ชมพล อามระดิษ รองผู้บัญชการมณฑลทหารราบที่ 15 พ.ต.อ.ดำรงศักดิ์ ทองงามตระกูล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรประจวบคีรีขันธ์ นางไพริน กองพันธุ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหัวหิน วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล สำนักงานโยธาและผังเมืองจังหวัด ฯลฯ เข้าร่วมประชุม
นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ล่าสุด นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ได้เชิญส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมหารือ พร้อมกับแจ้งให้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2557 โดยใช้ศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล เป็นสถานที่จัดงาน ซึ่งงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์จัดที่พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง
ส่วนงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2557 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯ ออกมหาสมาคม ณ ท้องพระโรง ศาลาราชประชาสมาคม โดยประทับรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักเปี่ยมสุข ทางประตูเสด็จฯ วังไกลกังวล เข้าสู่ถนนเพชรเกษม เลี้ยวขวาเข้าซอยหัวหิน 35 ด้านข้างสำนักงานวังไกลกังวล ไปยังท้องพระโรงศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล เพื่อให้พสกนิกรชาวไทย และชาวประจวบคีรีขันธ์ ได้เฝ้ารับเสด็จฯ และชื่นชมพระบารมีตามเส้นทางเสด็จดังกล่าว เหมือนเช่นที่ทรงเสด็จออกมหาสมาคม 5 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา
ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันฉัตรมงคลดังกล่าว เชื่อมั่นว่าพสกนิกรจากทั่วสารทิศจะเดินทางมาเฝ้ารับเสด็จ และชื่นชมพระบารมีจำนวนหลายหมื่นคนจนเต็มแน่นเส้นทางเสด็จ เหมือนกับวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับมอบหมายจากสำนักพระราชวัง ให้จัดเตรียมความพร้อมเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน ระบบไฟประดับหน้าวังไกลกังวล การปรับปรุงภูมิทัศน์ สถานที่จอดรถ อาหาร น้ำดื่ม จุดพยาบาล และการเตรียมการด้านการจราจร
“ในปีนี้จึงถือเป็นปีมหามงคลอีกวาระหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯ ออกมหาสมาคม ณ ท้องพระโรง ศาลาราชประชาสมาคม จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่าเฝ้ารับเสด็จโดยพร้อมเพรียงกัน”
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2826 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2557, 09:58:04 » |
|
กลุ่มผู้ขับขี่รถ จยย.จันทบุรี รวมกลุ่มทำความสะอาดโบราณสถานวัดพลับบางกะจะ สถานที่ที่ "สมเด็จพระเจ้าตากสิน" มาตั้งกองรวมไพร่พล ชี้เป็นจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนรุ่นใหม่...
เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 57 ที่วัดพลับบางกะจะ ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี ชมรมดีเจเยาวชนจังหวัดจันทบุรี และเครือข่ายเด็กจันท์พันธุ์ใหม่ ที่ประกอบด้วย กลุ่มรถจักรยานยนต์มินิไบค์และกลุ่มรถคลาสสิก ตลอดจนเครือข่ายอีกกว่า 10 กลุ่ม จำนวนกว่า 50 คัน ได้ร่วมกันออกทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดโบราณสถานเก่าแก่และสำคัญของ จ.จันทบุรี
นอกจากนี้ ยังมี พระสุธีปริยัตตาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอแหลมสิงห์และเจ้าอาวาสวัดพลับบางกะจะ นางเจตนา กีรติโภฌานันท์ ประธานสตรีอาสาพัฒนาอำเภอเมืองจันทบุรี และนายวีรภัทร กีรติโภฌานันท์ รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหว้ด (อบจ.) จันทบุรี ตลอดจนคณะกรรมการวัด ร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้
นายเอกภพ จันทร์ทิพย์ ปธ.ชมรมดีเจเยาวชน จ.จันทบุรี กล่าวว่า เยาวชนหลายกลุ่มได้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการทำความสะอาดโบราณสถานที่สำคัญ คือ วัดพลับบางกะจะ วัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงคู่กับจังหวัดจันทบุรี ทั้งยังเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จฯ มาทรงตั้งกองรวบรวมไพร่พล ก่อนที่จะกอบกู้เอกราชด้วย
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อฝึกให้เยาวชนมีใจที่เป็นจิตอาสา ใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ทำกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้วยการทำความสะอาดวัด สร้างประโยชน์แก่ชุมชนส่วนรวม เป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดี และยังเป็นแบบอย่างให้แก่พุทธศาสนิกชนคนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตาม และมีใจที่เป็นจิตอาสาต่อไปด้วย ข่าวไทยรัฐ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2828 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2557, 05:44:42 » |
|
บ้านบางกะจะ ชุมชนเก่า
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกเหตุการณ์หนึ่งของบางกะจะ คือ เมื่อ พ.ศ.2377 บางกะจะเคยเป็น "เมืองจันทบุรี"มาก่อน
เมื่อปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ซึงขณะนั้นดำรงยศเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่กองไปอำนวยการก่อสร้าง “เมืองจันทบุรี” ใหม่ที่บ้านเนินวง โดยสร้างป้อมปราการตามหลักยุทธศาสตร์ พื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้าง 14 เส้น ยาว 15 เส้น วัดโดยรอบได้ 65 เส้น 8 วา มีประตูเชิงเทินรอบหอรบด้านละ 2 ประตู มีชื่อเรียกทุกประตู อาทิ ประตูทำเนียบ ประตูบางกะจะ ประตูช้าง ประตูอุโมงค์ มีการขุดคูเมืองกว้าง 5-6 วา รอบกำแพงเมือง มาถมเป็นฐานบนกำแพงมีใบเสมา เรียงรายปืนใหม่ไว้เป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการโจมตีของญวน ภายในเมืองมีคลังอาวุธ ศาลหลักเมือง และวัดโยธานิมิต ซึ่งรื้อถอนแล้ว ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พาณิชย์นาวี และสำนักงานโบราณคดีใต้น้ำ เป็นที่รวบรวมและรักษาโบราณวัตถุที่นำขึ้นมาจากเรือสำเภาโบราณที่จมอยู่ใต้ทะเลอ่าวไทย ซึ่งมีมากกว่า 10,000 ชิ้น
ในปี พ.ศ. 2419 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสบางกะจะ พระองค์ได้มีพระราชนิพนธ์ถึงเมื่อครั้งเสด็จประพาสจันทบุรี โดยมีใจความบางตอนดังนี้
ณ วันอาทิตย์ แรม 1 ค่ำ เดือน 2 ปีชวด อัฐศก จุลศักราช 1238 ไว้ว่า “..เวลา 2 โมงครึ่ง เลี้ยวแหลมมาเห็นเขาพลอยแหวนสนัดทีเดียว.... 3 โมง 15 นิมิต มาเห็นเรือกระมุท ซึ่งท่านกรมเจ้าท่าจอดอยู่ที่ท่าเสาธง ที่ริมฝั่งมีเสาหงส์อยู่ข้างซ้ายมือ ต่อมานั้นมีโรงเรียน ประมาณ 20-30 หลัง เรือเราจอดที่ตระพานหน้าพลับพลา เห็นพระยาจันทบุรีมาคอยรับอยู่ เราขึ้นนั่งบนพลับพลา....เราขึ้นม้าพิรุณรัศมิออกเดินทาตามทาง หลานขึ้นม้าถือดาบเรามาด้วย เป็นเป็นโรงจีน เป็นร้านขายของทั้งสองข้าง มากหลายสิบโรง แต่เห็นเป็นฝาปูนอยู่โรงหนึ่ง ทางคดไปคดมา 3 ทบ 4 ทบ จึงหมดโรง แต่เราเห็นคนที่ยืนตามโรงนั้นเป็นจีนแทบทั้งนั้น ไม่ใคร่เห็นมีไทย เว้นแต่ผู้หญิง เมื่อต่อมานั้นเป็นเนิน ต้องขึ้นทางสูงเหมือนขึ้นเขาหน่อยหนึ่ง เมื่อถึงที่ราบเราเห็นตึกจริงๆ เป็นเก๋งจีน ศาลเจ้าอยู่ 2 หลัง มีโรงงิ้ว และโรงใกล้เคียงหลายโรง อยู่ข้างขวามือ...”
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2829 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2557, 04:07:49 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2830 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2557, 04:17:50 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2832 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2557, 04:10:03 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2833 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2557, 04:17:35 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2835 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2557, 04:37:25 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2840 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2557, 13:37:01 » |
|
วันพืชมงคล ๙ พค. ๒๕๕๗แรกนาขวัญ (อังกฤษ: Ploughing Ceremony; เขมร: បុណ្យច្រត់ព្រះនង្គ័ល; พม่า: Mingala Ledaw หรือ Lehtun Mingala) เป็นชื่อพิธีกรรมที่ทำขึ้นในหน้านาเพื่อประเดิมการทำนา
ในประเทศไทย การแรกนาขวัญซึ่งกระทำโดยราชสำนักนั้นประกอบด้วยพิธีสองอย่างตามลำดับ คือ ๑ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีพุทธซึ่งตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ
และ ๒ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย
ปัจจุบัน เรียกวันแรกนาขวัญว่า วันพืชมงคล ซึ่งจัดไม่ตรงกันทุกปีสุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด โดยประกอบพิธีทั้งสอง ณ ท้องสนามหลวง ทั้งยังกำหนดให้วันพืชมงคลเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย และให้เป็นวันหยุดราชการด้วย
๑ พระราชพิธีพืชมงคล
เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี
๒ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว
พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใด ๆ จึงว่างเว้นไป 10 ปี
ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. 2490 จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง 23 ปี)
และเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2841 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2557, 19:47:05 » |
|
ชาวนาปทุมฯ ถือฤกษ์วันพืชมงคล หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงแปลงนา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 9 พ.ค.57 ชาวนาจังหวัดปทุมธานี ถือฤกษ์วันพืชมงคลเป็นวันเริ่มต้นในการปลูกผลผลิต โดย นายสำเนียง บุญนะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบอน และนายเทียน คล้ายนุช กรรมการบริหารธรณีสงฆ์ และชาวบ้านในระแวงใกล้เคียง เข้าร่วมพิธีแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคล ณ ลานนาวัดอัยยิการาม หมู่ที่ 2 ต.บึงบอน อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี โดยงานในวันนี้ทำเหมือน พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่สนามหลวง มีพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เพื่อที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี เพื่อเป็นสิริมงคลต่อนาข้าวของเกษตรกร
ในงานนี้ ยังมีนางเล็ก พุ่มพวง คุณยาย อายุ 95 ปี มาเป็นผู้มอบพันธ์ข้าวปลูก หาบข้าว และทำการหว่านพันธ์ข้าวปลูกให้ลูกให้หลานเพื่อเป็นศิริมงคล ในวันวันพืชมงคลในวันนี้ด้วยสร้างความประทับใจให้ชาวบ้าน
ด้านนายนายสำเนียง เปิดเผยว่า หลังจากฝนตกเมื่อวันก่อนและชลประทานได้ปล่อยน้ำให้เกษตรกร จึงได้สูบน้ำขึ้นในแปลงข้าว พร้อมนำรถไถตีเทือกไถนารอการทำนาครั้งต่อไป และในวันนี้เป็นวันพืชมงคล ถือเป็นวันมหามงคลของเกษตรกรชาวไทย ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และยึดเอาเป็นฤกษ์ดีตามความเชื่อว่าเป็นวันดีของการเริ่มต้นเพาะปลูก หากเริ่มทำนาในวันพืชมงคลแล้ว ก็จะได้ผลผลิตดี มีกำไรตามที่ต้องการต่อไป
ส่วนประชาชนชาวบึงบอน ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่อยู่ในกระสอบขนลงจากรถ แล้วไปนำวางลายตามคันนาแล้วเติมลงในเครื่องสำหรับหว่านข้าว แล้วนำไปพ่นหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในแปลงนา กว่า 30 ไร่ ของตนเอง หลังเมื่อวานที่ผ่านมาไปปรับพื้นที่สำหรับเพราะปลูกไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเชื่อว่าวันพืชมงคล เป็นฤกษ์ดีในการเพาะปลูก จึงนำเมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงในแปลงนาในวันพืชมงคลนี้
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #2842 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2557, 20:38:27 » |
|
สวัสดีค่ะน้องเริง มาสมัครเป็นแฟนกระทู้ด้วยคน เชื่อมโยงเรื่องปัจจุบันอดีตดีจัง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2843 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2557, 06:17:52 » |
|
สวัสดี พี่ต้อย
ครับผม ขอบคุณมากๆ
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2846 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2557, 10:38:46 » |
|
เนื่องจากพระะองค์ท่านมี "แม่" เป็นหญิงต่างชาติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสพระองค์เดียวในจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถกับหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก (นามเดิมคือ Cathrine Desniksky) ชาวรัสเซีย (ยูเครนในปัจจุบัน) ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2450 เมื่อเวลา 23.58 น. ที่ห้องแดงภายในวังปารุสกวัน ถือเป็นบุคคลเดียวที่ถือกำเนิดบนตำหนักวังปารุสก
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2847 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2557, 10:51:56 » |
|
เมื่อรู้ข่าวว่าพระนัดดาประสูติ สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ที่แต่เดิมเคยกริ้วในพระโอรสมาก่อน ก็ทรงตื่นเต้นและหายกริ้ว รีบเสด็จมาทอดพระเนตร เอาพระทัยใส่ทั้งการจัดห้องหับ การดูแลเรื่องต่าง ๆ มีพิธีการทำขวัญเดือนตามธรรมเนียมโบราณ โดยคุณยายของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ คือ ท้าววนิดาพิจาริณี (เหม สุจริตกุล)
เมื่อแรกประสูติทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ พระราชทานพระนามว่า "พงษ์จักร"[3] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามใหม่ว่า "จุลจักรพงษ์" โดยเป็นการเอาอย่างพระนามของทูลหม่อมปู่ คือ จุลจอมเกล้า ทั้งยังเป็นการล้อพระนามพระบิดา คือ เล็ก ไปในขณะเดียวกั
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2848 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2557, 10:59:33 » |
|
พระองค์นี้ได้นำความปลาบปลื้มปีติยินดีให้กับสมเด็จพระบรมราชินีนารถยิ่งนัก อันเนื่องมาแต่ ทรงพระเมตตาที่มิได้ทรงได้รับพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าดังที่ควรจะเป็น จึงใคร่จะพระราชทาน ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ทรงจัดพระราชทานให้เป็นพิเศษเทียบเท่ากับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแทบทุกประการ ด้วยทรงห่วงใยที่หม่อมคัทรินที่มีเชื้อชาติยุโรป จะไม่สามารถอบรมฝึกฝนจริตมารยาทของพระโอรส ให้เข้ากับระเบียบแบบแผนเจ้านายตามพระราชประเพณีไทยได้ด
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2849 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2557, 11:01:26 » |
|
ถึงแม้ว่าทูลกระหม่อมปู่ (รัชกาลที่ 5) แม้จะไม่ทรงรับพระนัดดาองค์ใหม่เป็นหลานอย่างเปิดเผย แต่ในที่สุดก็ได้โปรดให้พระนัดดาเข้าเฝ้าในปี พ.ศ. 2453 ที่พระราชวังพญาไท เมื่อพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์อายุครบ 2 ขวบ พระองค์ก็ทรงเล่าให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ถึงพระนัดดาไว้ว่า "วันนี้ฉันได้พบกับหลานชายของเธอ ดูน่ารักน่าเอ็นดูเหมือนพ่อ ฉันรู้สึกรักและหลงใหลคนนี้ตั้งแต่แรกเห็น เพราะถึงอย่างไรนี่ก็เป็นสายเลือดเชื้อไขของฉันเอง" และรับสั่งต่อด้วยถ้อยคำที่แฝงความรู้สึกโล่งพระทัยว่า "และไม่มีเค้าว่า มีเชื้อสายฝรั่งติดมาด้วยเลย"[6] ภายหลังรัชกาลที่ 5 ได้สวรรคตในปี 2453 ได้ค้นพบหลักฐานจากการบันทึกของหม่อมเจ้าทิพย์รัตน์ประภา เทวกุล ที่ท่านหญิงเคยรับใช้ฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีรับสั่งกับท่านหญิงว่า "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงกำลังโปรดตาหนู เสียดายที่มาด่วนสวรรคตไปเร็ว"[7] ส่วนรัชกาลที่ 6 ทรงพระเมตตารักท่านหนู ถ้าจะใคร่สันนิษฐาน โปรดเพียงใดจะเห็นได้ในประกาศเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ
|
|
|
|
|