เริง2520
|
|
« ตอบ #2800 เมื่อ: 16 เมษายน 2557, 19:11:13 » |
|
สงกรานต์ที่พม่าสำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า เทศกาลสงกรานต์ในพม่า หรือที่ในภาษาพม่าเรียกว่า "ติงยาน" เริ่มต้นขึ้นแล้วในวันที่ 13 เม.ย. โดยบรรยากาศการเล่นสงกรานต์ในแดนอิระวดีเป็นไปด้วยความคึกคัก รายงานระบุว่า พิธีเปิดเทศกาลสงกรานต์มีขึ้นในช่วงเช้าในกรุงย่างกุ้ง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2801 เมื่อ: 16 เมษายน 2557, 20:05:11 » |
|
น้องเริง
ลูกน้องชาวพม่าขอลากลับไปบวชพระในช่วงปลายเดือนมีนาคม และขออยู่ต่อเพื่อฉลองสงกรานต์ บอกว่าจะกลับมา หลังสงกรานต์ที่พม่าเลิกแล้ว.....แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ??
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2803 เมื่อ: 16 เมษายน 2557, 21:05:30 » |
|
งานมหาสงกรานต์ อ.เชียงแสน เริ่มแล้ว มี 4 ชาติเข้าร่วม"เชียงแสน" เปิดงานมหาสงกรานต์ 4 ชาติ "ไทย-ลาว-พม่า-จีน" ร่วมงานท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนอบอ้าว เผยไฮไลต์เป็นขบวนแห่รถบุปผชาติที่สวยงาม อลังการ...
เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 16 เม.ย. 57 ที่อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย มีพิธีเปิดงานมหาสงกรานต์ 4 ชาติ คือ ไทย ลาว พม่า และจีน โดยมีตัวแทนจากประเทศจีน ลาว และพม่า เข้าร่วมเปิดงานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว อุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส แต่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย พม่า และลาว ก็ไม่หวั่น พากันเดินทางเข้ามาเที่ยวงานสงกรานต์เชียงแสน เพื่อชมขบวนแห่นางสงกรานต์ โดยเริ่มจากขบวนแห่กลองหลวง 12 ราศี ของแต่ละหัววัด ตีเสียงดังสนั่น ซึ่งเป็นไฮไลต์ของขบวน ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาก...ข่าวไทยรัฐ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2805 เมื่อ: 17 เมษายน 2557, 20:01:10 » |
|
ภาพวันนี้..บรื้อๆ
คนทะลักวันไหลบางแสน รถติดหนึบทั้งสองฝั่ง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2806 เมื่อ: 17 เมษายน 2557, 20:11:33 » |
|
ต้นไม้น่าปลูก...
ต้นนางกวัก ไม้มงคลนาม ปลูกไว้กวักเงินกวักทองขอขอบคุณภาพประกอบจาก บ้านสวนพอเพียง
ต้นนางกวัก ไม้มงคลที่โบราณเชื่อว่าจะช่วยนำเงินทองมาให้เจ้าของบ้าน และผู้อยู่อาศัยให้ร่ำรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะแค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าจะช่วยกวักเงิน กวักทอง และกวักโชคลาภให้เข้ามาในบ้าน ส่วนใหญ่หลายบ้านก็นิยมปลูกต้นนางกวักเป็นต้นไม้ติดสวน เพราะนอกจากจะทำให้มีโชคมีลาภตามความเชื่อแล้ว ยังช่วยเสริมให้บ้านดูสวยงามขึ้นอีกด้วย แต่สำหรับบ้านไหนที่กำลังมองหาต้นนางกวักมาปลูก หรือกำลังตัดสินใจเลือกต้นไม้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับต้นนางกวักมาแบ่งปันให้ได้รู้จักกัน
ลักษณะของต้นนางกวัก
เป็นต้นที่มีก้านตั้งตรงจากลำต้นหนา 3-6เซนติเมตร ก้านใบยาวตั้งแต่ 20-85 เซนติเมตร ลักษณะใบคล้ายใบโพธิ์ มีก้านใบเชื่อมถึงกัน ใบมีสีเขียวแกมน้ำเงิน ใบด้านบนเป็นมัน เห็นเส้นใบโค้งตามรูปใบชัดเจน ต้นที่สมบูรณ์จะมีใบใหญ่เป็นมัน และมีก้านยาว เมื่อใบเก่าแห้งแล้วลองลอกทิ้งจะเห็นเป็นลักษณะคล้ายลำต้น ต้นนางกวักสามารถแตกหน่ออกเป็นต้นใหม่ไปเรื่อย ๆ แม้ปลูกเพียงต้นเดียวก็สามารถมีหน่อจนเต็มกระถาง
ประโยชน์ของต้นนางกวัก
ใช้ประดับตกแต่งให้อาคารบ้านเรือนสวยงาม และยังเป็นไม้มงคลที่จะช่วยทำให้เจ้าของบ้าน และผู้ที่อยู่อาศัยร่ำรวยขึ้นตามความเชื่อโบราณ อีกทั้งยังสามารถเป็นสมุนไพรแก้โรคได้หลายชนิด เช่น แก้พิษแมลงต่าง ๆ แก้พิษงู แก้ไข้ แก้เจ็บคอ และแก้โรคปวดหัว เป็นต้น
การดูแลรักษาต้นนางกวัก
แสง แสงรำไร หรือร่มไม้ที่ชอบแสงแดดจัด
ดิน อินทรียวัตถุ ผสมกาบมะพร้าวสับ หรือดินที่ค่อนข้างร่วยซุย และโปร่ง มีการระบายน้ำได้ดี
น้ำ ไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย แม้ต้นนางกวักจะชอบที่ชื้นแฉะ และควรตั้งไว้ในที่ร่มรำไร จะทำให้ใบสวยงาม
ปุ๋ย ให้ปุ๋ยยูเรียทุก ๆ 3-4 เดือน สลับกับปุ๋ยอินทรีย์
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2809 เมื่อ: 19 เมษายน 2557, 18:40:26 » |
|
เนื้อหาบางส่วนของหนังสือได้ถูกนำมาอ้างอิงในเอกสารประวัติศาสตร์ต่อๆมา
เช่น เมื่อพระประศาสน์ฯ ตัดสินใจกลับไปพระที่นั่งอนันตสมาคม ขบวนรถของท่านผ่านสนามหลวง ท่านได้เห็นกองทหารราบกองพันหนึ่งกำลังฝึกซ้อมกันอยู่ ก็เกรงว่าถ้าทิ้งเอาไว้ ฝ่ายต่อต้านมาเอาไปก็จะมีกำลังต้านจึงหยุดรถทักทาย พบผู้บังคับกองพันทหารราบรักษาพระองค์ พ.ต.หลวงวีระโยธา จึงบอกว่า
“เวลานี้เกิดกบฏขึ้นแล้วให้คุณหลวงนำทหารเหล่านี้ไปพระที่นั่งอนันต์เดี๋ยวนี้”
หลวงวีระโยธาเชื่อจึงนำทหารของท่านไปที่พระที่นั่งอนันต์ ด้วย
เมื่อพระประศาสน์ฯ ไม่ได้ไปบ้านพระยาเสนาสงครามที่ถนนนครไชยศรี ก็มีผู้ก่อการที่เป็นนายทหารระดับรอง คือ ร.ท.ขุนศรีศรากร กับคณะไป และในรายที่ไปคุมตัวพระยาเสนาสงครามนี้ได้เกิดการยิงกันขึ้นถึงเลือดตกยางออก พระยาเสนาสงครามถูกยิงบาดเจ็บ แต่ไม่สาหัสต้องส่งตัวไปที่โรงพยาบาล
ในพระนิพนธ์ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ของ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล มีข้อความที่กล่าวถึงกรณีพระยาเสนาสงครามในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไว้เพียงสั้น ๆ ว่า
“เข้าใจว่าเพราะเหตุนี้เอง พระยาเสนาฯ จึงถูกเรียกตัวทางโทรศัพท์ลงมายิงเสียอย่างเลือดเย็นในตอนเช้ามืดวันที่ 24 มิถุนายนนั้น”
เมื่อได้สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ พระยาสีหราชเดโชชัย มาคุมตัวไว้ และพระยาเสนาสงคราม บาดเจ็บถูกคุมตัวไว้ที่โรงพยาบาล นอกจากนั้นยังเชิญตัวพระบรมวงศานุวงศ์ และนายทหารสำคัญที่คุมกำลังในพระนครมาคุมตัวไว้ได้แล้ว ก็นับว่าคณะผู้ก่อการฯ ดำเนินการได้ลุล่วงทั้ง 2 แผน จะมีก็แต่กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงคมนาคมที่หลบรอดจากการถูกคุมตัว ไปสั่งรถจักรพาหนีไปถึงหัวหินได้ในตอนบ่ายของวันที่ 24 มิถุนายน
สำหรับทหารในกรุงเทพฯ ที่คิดจะต่อต้านการยึดอำนาจในวันนั้นที่จริงก็คงยังมีอยู่ เพราะขณะที่ชุมนุมทหารและประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ เวลา 06.05 น. ของวันที่ 24 มิถุนายนนั้น ได้มีทหารคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยได้กล้าหลบหนีออกมาจากที่ชุมนุม ดังปรากฏอยู่ในพระนิพนธ์ของ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล ว่า
“มีนายร้อยตรีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์คนหนึ่งชื่อ พุฒพยายามถอยหลังเข้าไปในสนามเสือป่า ในเวลาที่กำลังยุ่งตรวจและขนของกันอยู่ แล้วค่อยคลานไปลงสระว่ายน้ำข้ามไปขึ้นอีกทางหนึ่ง จึงออกถนนได้แล้วรีบไปยังกรมทหารของตน และรายงานเหตุการณ์นั้นแก่ผู้บังคับการคือ พระยาสุรเดชฯ (ชิต ยุวเตมีย์) นักเรียนเยอรมันเพื่อนพระยาพหลฯ เผอิญเวลาที่ร้อยตรีพุฒเดินไปถึงกรมเป็นเวลาที่เขาจับทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ไปเสียแล้ว พระยาสุรเดชฯ จึงไม่รู้จะทำอย่างไร นอกจากรวมกำลังคุมเชิงอยู่....”
ทั้งนี้ทางฝ่ายผู้ก่อการฯ เองนั้นตามคำให้การของพลโทประยูร ภมรมนตรี ที่เขียนเล่าได้ระบุถึงการสั่งเก็บอาวุธจากหน่วยทหารต่าง ๆ และมีบางหน่วยคิดต่อสู้ ดังนี้
“การปฏิบัติขั้นต่อไปของฝ่ายทหารคือ การสั่งเก็บอาวุธ กระสุน ตามหน่วยกรม กองต่าง ๆ และเข้าควบคุมคลังแสงฯ เกือบจะมีการสู้รบกันโดย พ.ต.หลวงไกรชิงฤทธิ์ (พุด วินิจฉัยกุล) ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ที่สะพานมัฆวาน ได้จัดทหารหนึ่งกองร้อยขยายแถวเตรียมทำการยิงสู้ เคราะห์ดีที่การเก็บอาวุธได้จัดทำจากหน่วยชั้นนอกเข้ามาก่อน กว่าจะมาถึงกองพันของตนก็เป็นเวลาบ่ายมากแล้ว เห็นหมดหนทางที่จะต่อสู้ต้านทานได้ก็ถอยกำลังกลับเข้ากองพันไป”
ถึงตอนนี้คณะราษฎรก็ได้ทั้งคณะผู้มีอำนาจปกครองประเทศของฝ่ายตนขึ้นเรียกว่า “ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร” มี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า มีนายทหารอีก 2 ท่านร่วมคณะคือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช และ พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ คณะนี้เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ
ต่อจากนั้นคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้มอบหมายให้ น.ต.หลวงศุภชลาศัย นำเรือรบหลวงสุโขทัยไปหัวหิน ไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขอให้เสด็จกลับพระนคร
ตอนบ่ายวันที่ 24 มิถุนายนนั่นเองก็มี คำประกาศของผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร สมเด็จกรมพระนครสวรรค์วรพินิต รับรองการยึดอำนาจของคณะราษฎรความว่า
“ด้วยตามที่คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้ โดยมีความประสงค์ข้อใหญ่ที่จะให้ประเทศสยามมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน
ข้าพเจ้าขอให้ทหาร ข้าราชการ และราษฎรทั้งหลาย จงช่วยกันรักษาความสงบ อย่าให้เสียเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกันโดยไม่จำเป็น”
คำประกาศนี้คณะราษฎรได้เร่งจัดทำเผยแพร่ออกไปโดยเร็ว มีการตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ในวันต่อมา หลังคำประกาศของผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครแล้ว ทางคณะราษฎรก็ได้ออกคำประกาศสั่งข้าราชการตามออกมาเรียกว่า “คำประกาศแก่บรรดาข้าราชการ” ของคณะราษฎร ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ความว่า
“ตามที่คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ โดยมีความประสงค์ข้อใหญ่ที่จะให้ประเทศสยามมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน และบัดนี้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ได้ลงพระนามรับรองคณะราษฎรแล้ว ผู้รักษาพระนครจึงสั่งข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้มาปฏิบัติราชการตามเคย ผู้ใดละทิ้งหน้าที่จะต้องมีความผิด”
ตกเย็นเวลาประมาณบ่ายสี่โมง คณะผู้รักษาพระนครฯ ก็ได้เชิญเสนาบดี และปลัดทูลฉลองของทุกกระทรวงมาประชุมที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อรับฟังคำชี้แจงและคำสั่งของคณะราษฎร มีเสนาบดีและปลัดทูลฉลองจำนวน 12 ท่าน จาก 8 กระทรวงมาประชุม โดยพระยาพหลฯ หัวหน้าคณะผู้รักษาพระนครฯ เป็นผู้เปิดประชุม และหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นผู้ชี้แจงเรื่องราวต่าง ๆ โดยสั่งให้ไปชี้แจงกับข้าราชการต่อไป ทั้งนี้เน้นให้เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงกับทูตและต่างประเทศ กับให้ปลัดฯ กระทรวงมหาดไทยสั่งการไปหัวเมือง
ดังนั้นก่อนตะวันตกดินในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรก็ควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ยังมีภารกิจของการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินอีกหลายภารกิจที่ต้องทำ และล้วนแต่ยากกว่าการยึดอำนาจที่เพิ่งจะทำสำเร็จมา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2810 เมื่อ: 19 เมษายน 2557, 20:10:28 » |
|
มจ.พูนพิสมัย ทรงชอบบันทึก มีบทพระนิพนธ์มากมายของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ทรงบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจหลายเรื่องทั้งบุคคล และเหตุการณ์ร่วมสมัย ดังเช่นเรื่องของหม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล ซึ่งเป็นธิดาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมลำดวน
หม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล เป็นอีกองค์หนึ่งที่มีชีวิตยืนยาวถึง 5 แผ่นดิน เริ่มแต่รัชกาลที่ 5 เป็นฝาแฝด หญิงซึ่งแฝดผู้เป็นพี่ได้เสียชีวิตเมื่ออยู่ได้เพียง 3 เดือน หม่อมเจ้าพัฒนายุ จึงได้ชื่อเรียกกันว่า "เหลือ"
ผู้ที่ทำให้ "เหลือ" เหลืออยู่ได้เป็นนายแพทย์ชาวเบลเยียมชื่อ หมอไรท์เตอร์ หรือพระยาประเสริฐ ฯ นำมาเลี้ยงในหีบแก้ว โดยมีแม่เต๋อซึ่งเล่าเรียนวิชาพยาบาลมาจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เลี้ยง หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ทรงถือว่าหม่อมเหลือเป็นคนไทยคนแรกที่รอดชีวิตได้เพราะวิธีทางตะวันตก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานนามเธอว่า "พัฒนายุ" ด้วยมีพระราชดำรัสแก่เสด็จพ่อ ฯ (กรมพระยาดำรง ฯ) ว่า
"ฉันจะให้มันอยู่และอายุยืน"
เมื่อหญิงเหลืออายุได้ 6 ขวบก็ตามหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ไปอยู่ด้วยในพระบรมมหาราชวัง อยู่กับพระธิดาของพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ผู้ทรงเลี้ยงหม่อมเจ้าพูนพิศมัย หญิงเหลืออยู่กับสมเด็จหญิงพระองค์กลางคือ เจ้าฟ้าหญิงมาลินีนพดารา ส่วนหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัยอยู่กับสมเด็จหญิงพระองค์น้อย เจ้าฟ้าหญิงนิภานพดล
"ทรงให้เราแต่งคู่กันอย่างเดียวกับพระองค์ท่าน เสด็จไหนเราก็ตามเสด็จด้วย โดยเฉพาะเสด็จขึ้นเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในเวลาเสวยบ่ายทุกวัน เมื่อเสด็จออกข้างหน้าแล้ว สมเด็จหญิงก็เสด็จกลับไปตำหนัก บางวันก็ทรงเล่นเกมต่างๆ"
ในเกมต่างๆ นั้นมี โกเกเล็กบนพรม/ชิงนางบนกระดาษ/ไพ่ยายแก่งไพ่ยายแก่ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ทรงเล่าถึงหญิงเหลือ ต่อไปอีกว่า
"ในเวลาอยู่ในพระที่นั่งวิมานเมฆ และอัมพรสถานเป็นเวลาที่เราสนุกเป็นที่สุด เพราะข้าพเจ้าอายุ 12 ปีแก่กว่าหญิงเหลือ 1 ปี 9 เดือน กำลังรู้ความ แต่ไม่ต้องถูกระวังตัวว่าเป็นสาว เข้าออกได้ทั้งข้างหน้า ข้างใน ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แทบทุกวัน เวลาเสด็จประพาสทอดพระเนตร ถนนหนทางที่ตัดใหม่เวลาเย็นๆ ถ้ามีสมเด็จหญิงตามเสด็จด้วย ข้าพเจ้า และหญิงเหลือก็ได้ถือพระสุพรรณศรี (กระโถน) ยืนเกาะหลังเก้าอี้คนขับไปด้วย
"สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงตบหัวว่า ไปบอกพ่อเจ้าซิ ว่าได้ขึ้นรถพระที่นั่ง"
ความสนุกสนานอยู่มาจนถึงปี 2453 พระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พวกเจ้านายข้างในก็ต้องกลับเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังทั้งหมด จนถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จึงกลับไปอยู่สวนดุสิตใหม่
ขึ้นรัชกาลที่ 6 วันหนึ่งกรมพระยาดำรง ฯ เสด็จกลับจากเฝ้าวันธรรมดาที่สวนดุสิต ได้ตรัสกับหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ว่า
"ลูกพูน วันนี้พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งกับพ่อว่า-เมื่อกรมพระดำรง ฯ เสด็จไม่อยู่ (เสด็จตรวจราชการภูเก็ต) หญิงพูน เจ็บมาก เขารายงานว่าต้องเรียกหมอเข้าวังกลางคืน แกก็โตแล้วจะทรงทิ้งไว้ในวังทำไม เอา ออกมาหัดเองไม่ดีหรือ หม่อมฉันทูลเด็จแม่แล้ว ท่านก็ทรงเห็นด้วย"
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย จึงขอประทานหญิงเหลือจากสมเด็จหญิง ให้ออกมาอยู่ด้วยกัน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยแยกจากกันอีก อยู่รับใช้สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ตลอดพระชนมชีพ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็ทรงพระเมตตาหญิงเหลือไม่น้อย
หญิงเหลือได้รับพระราชทานเสมาเพชรชั้น 1 และนาฬิกาข้อมือเพชรรอบในงานฤดูหนาวปี 2456 งาน เฉลิมพระชนมพรรษาก็ได้รับเชิญแต่งแฟนซีทุกปี
ครั้งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จเดินป่าไปดอนพระเจดีย์ มีผู้หญิงไปในกระบวนเสด็จเพียง 4 คนคือ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย/หญิงเหลือ/นมแจ๋ว และเด็กเงิน (ชื่อตามที่หม่อมเจ้าพูนพิศมัยทรงเรียก) เวลามีโขนละครก็นั่งดูอยู่ข้างพระเก้าอี้แทบจะทุกครั้ง ได้มีโอกาสรับฟังพระราชดำริอยู่เสมอๆ
ทรงคุ้นเคยกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เคยเรียกทูล กระหม่อมจนติดปาก เมื่อเสด็จสวรรคตจึงร้องไห้กันมาก
ถึงรัชกาลที่ 7 ทั้งหม่อมเจ้าพูนพิศมัย และหญิงเหลือต่างก็คุ้นเคยกับพระองค์ท่านมาแต่ยังมีหัวจุก สมัยอยู่ในพระที่นั่งอัมพรสถาน แต่เมื่อโตแล้วก็ไม่มีโอกาสเฝ้าใกล้ชิด
บันทึกตอนหนึ่งของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย มีดังนี้
"พศ. 2474 พระบาทสมเด็จ ฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาประทานน้ำสรงสงกรานต์แก่เสด็จพ่อ แล้วเสวยพระสุธารสที่วังวรดิศ ได้ทรงทราบว่าหญิงเหลือกำลังพิมพ์บทเพลงแผ่นเสียงอยู่ มีพระราชดำรัสแก่เธอว่า"
"เสร็จแล้วขอเล่มหนึ่งนะ"
"เธอก็หมอบกราบทูลรับ ครั้นพอหนังสือเสร็จมาแล้วก็เผอิญเป็นเวลาเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ"
(24 มิถุนายน พศ. 2475 เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยาม)
"เสด็จพ่อ (กรมพระยาดำรง ฯ) "บันทึกของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย " จึงตรัสว่า "ทูลรับไว้แล้วต้องไปถวาย ลูกพูนไปเป็นเพื่อนน้องหน่อยก็แล้วกัน"
"พอถึงพระที่นั่งจิตรลดาฯ เรา (หม่อมเจ้าพูนพิศมัย และหม่อมเจ้าพัฒนายุ-หญิงเหลือ) ก็เข้าไปนั่งคอย เสด็จลงขึ้นรถอยู่ตามทางเสด็จ ในใจนึกว่าครู่เดียวคงไม่เป็นไร ทันใดมหาดเล็กคนหนึ่งลงอัฒจันทร์มา บอกว่า"
"รับสั่งให้เชิญเสด็จขึ้นไปข้างบน"
"ใจเราก็หายวาบเพราะตั้งแต่เกิดเรื่องแล้วยังไม่ได้เฝ้าเลย ทั้งต้องขึ้นไปในที่เคยเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 อยู่เสมอๆ ด้วย พอเข้าไปในเฉลียงก็เห็นทรงยืนทอดพระเนตรรูปที่ฝาผนังอยู่พระองค์เดียว"
"พอทอดพระเนตรเห็นเรา ก็เสด็จมาประทับพระเก้าอี้ ข้าพเจ้าก็หมอบกราบทูลว่า"
"หญิงเหลือจะนำหนังสือบทเพลงแผ่นเสียงมาทูลเกล้า ฯ ถวายตามที่ได้กราบทูลไว้"
"ท่านทรงรับไปทอดพระเนตร แล้วมีพระราชดำรัสว่า "เมื่อวันที่ 24 ฉันกำลังตีกอล์ฟอยู่หลุม 8 ทีเดียว ไปอยู่ข้างหลุมซึ่งไม่เคยทำ กำลังเดินก็พบหลวงประเสริฐฯ (ราชองครักษ์) เข้ามาบอกว่า-กรุงเทพ ฯ เกิดขบถ เชิญเสด็จกลับเดี๋ยวนี้- ฉันกำลังมุ่งอยู่ที่ลูกกอล์ฟ ตอบแกว่า "เดี๋ยว ขอเอาลูกลงหลุมก่อน" แก กลับเอ็ดเอาว่า-ไม่ได้ ต้องเสด็จกลับเดี๋ยวนี้-ฉันก็เลยต้องทิ้งไม้กลับ"
"เท่านั้น หญิงเหลือและข้าพเจ้าก็ปล่อยโฮออกไปพร้อมกัน และหยุดไม่ได้อยู่นาน"
และทรงบันทึกว่าครั้งหลังสุดที่ได้เฝ้าคือ ไปส่งเสด็จยุโรปที่เกาะสุมาตรา พระราชทานพระหัตถ์ให้จับ ทูลลาเป็นที่สุดแห่งรัชกาลที่ 7
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 เสด็จขึ้นเสวยราชย์แล้ว เสด็จกลับเมืองไทยเป็นครั้งแรกจาก สวิทเซอร์แลนด์ ทางเรือพระที่นั่ง แวะที่เกาะปีนัง ได้มีพิธีถวายตัวที่นี่
ขึ้นรัชกาลปัจจุบัน ทรงบันทึกว่า "พวกเรา (ทั้งหม่อมเจ้าพูนพิศมัยและหม่อมเจ้าพัฒนายุ) ตกอยู่ในวัยชรา ซ้ำตัวหญิงเหลือเองก็ทุพพลภาพภายหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี แล้วเธอก็ไม่แข็งแรงมาแต่นั้น ทรงบันทึกเรื่องราวตอนนี้ว่า
"ตามที่เล่ามานี้ จะเห็นได้ว่าหญิงพัฒนายุ (เหลือ) เป็นผู้มีบุญ ได้เฝ้าใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินมาถึง 5 รัชกาล และได้รับพระมหากรุณาคุณพระเมตตาคุณมาทุกพระองค์ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาในพระราชวงศ์ แม้จะเป็นชั้นผู้น้อย"
30 ธันวาคม 2516 วันอวสานชีวิตแห่งหม่อมเจ้าพัฒนายุ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ทรงบันทึกว่า
"เริ่มเจ็บอกเวลา 12.30 น. หมอบอกหมดลมเวลา 13.20 น. เป็นเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง หมอเขียนใบมรณบัตรว่า "สิ้นชีพตักษัยโดยโรคเส้นโลหิตตัน" ผู้ตายเป็นสุข สมประสงค์ของเธอ"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2811 เมื่อ: 20 เมษายน 2557, 19:21:10 » |
|
เหตุการณ์การเชิญพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ จากพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง
บันทึกของมจ.พูนพิสมัย ดิศกุล
"...ข้าพเจ้าก็ไปคอยเฝ้าพระบรมศพที่ริมถนนราชดำเนินแถวโรงเรียนนายร้อนทหารบก พวกราษฎรเอาเสื่อไปปูนั่งกันเป็นแถวตลอดสองข้างทาง จะหาหน้าใครที่จะยิ้มก็ไม่มีสักผู้เดียว ทุกคนแต่งดำน้ำตาไหลอย่างตกอกตกใจด้วยไม่รู้รส อาการมืดครึ้มมีหมอกขาวลงจัดเกือบถึงหัวคนเดือนทั่วไปผู้ใหญ่เขาบอกว่านี่แหละคือ "หมอกธุมเกตุ" ที่ในตำราเขากล่าวถึง ว่ามักจะมีในเวลาที่มีเหตุใหญ่ๆ เกิดขึ้น
ไม่ช้าก็ได้ยินเสียงปี่ในกระบวนเสียงเย็นใสจับใจมาแต่ไกลๆ แล้วได้ยินเสียงกลองรับเป็นจังหวะใกล้เข้ามาในความมืดเงียบสงัด ที่มืดเพราะต้องตัดสายไฟฟ้าบางตอนให้กระบวนผ่านไปได้ และที่เงียบก็เพราะไม่มีใครพูดจากันว่ากระไร ข้าพเจ้าเคยได้ยินเสียงปี่เสียงกลองมาแล้ว เคยได้เห็นแห่พระศพเจ้านายมาแล้วหลายองค์ แต่คราวนี้ตกใจสะดุ้งทั้งตัว เมื่อเห็นพระมหาเศวตฉัตรกั้นมาบนพระบรมโกศสีขาวกับสีทองเป็นสง่า ทำให้รู้ทันทีว่า พระบรมศพ แล้วร้องไห้ออกมาโดยไม่ทันรู้ตัว เหลียวไปดูทางอื่น เห็นแต่แสงไฟจากเทียนที่จุดถวายสักการะอยู่ข้างถนนแวมๆไปตลอด ในแสงเทียนนั้นมีแต่หน้าเศร้าๆ หรือบิดหน้าอยู่ เราหมอบลงกราบกับพื้นปฐพี
พอเงยหน้าก็เห็นทหารยืนถือปืนเอาปลายลงดิน ก้มหน้าลงบนปืนอยู่ข้างหน้าเราเป็นระยะไปตลอด ๒ ข้างถนนนั้น น้ำตาของเขากำลังหยดลงแปะๆ อยู่บนหลังมือของเขาเอง ........
กระบวนเกียรติยศอัญเชิญพระบรมโกศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอัมพรสถาน อัญเชิญเสด็จกลับสู่ พระบรมมหาราชวัง โดยผ่านถนนราชดำเนินไปอย่างช้าช้านั้น แตรวงทำเพลงพญาโศกนำขบวนพระบรมศพ ราษฎรทั้งสองข้างถนนที่มารอเฝ้ากราบพระบรมศพอยู่แน่นขนัด แสงเทียนในมือส่องสว่างเป็นแถวยาวเหยียด เมื่อพระโกศทรงพระบรมศพผ่านมาถึงตอนใด เสียงร้องไห้กระซิกสะอื้นไห้อยู่นั้น ก็พลันเปลี่ยนเป็นเสียงโฮอย่างสุดเสียง เป็นเช่นนี้ไปตลอดทาง แม้แต่ทหารที่ยืนนิ่งระวังเหตุอยู่สองข้างถนนก็อดไม่ได้ที่ร้องไห้ และเมื่อขบวนพระบรมศพผ่านมา เหล่าทหารได้ถวายความเคารพ น้ำตาก็หลั่งไหลอาบแก้ม ทั้งๆ ที่พยายามอดกลั้นมิให้เสียงสะอื้นออกมาจากปาก
เมื่อพระโกศพระบรมศพ อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทันทีนั้นได้เกิดพายุอื้ออึง ฝนตกอย่างหนัก สายฟ้าฟาดเปรี้ยงๆ แปลบปลาบอย่างน่ากลัว...."
|
|
|
|
Virtusone
Newbie
ออฟไลน์
กระทู้: 2
|
|
« ตอบ #2812 เมื่อ: 21 เมษายน 2557, 14:04:55 » |
|
น่าไปมากเลยค่ะบรรยากาศท่าจะดีมากเลยอ่ะ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2813 เมื่อ: 21 เมษายน 2557, 14:23:41 » |
|
ไปไหนครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2814 เมื่อ: 21 เมษายน 2557, 17:53:13 » |
|
เห็นว่า หนังสือสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น จะรวมเป็นเล่มเดียว
รอดูจังหวัดก่อน เผื่อจะซื้อหาฉบับรวมเล่มไปอ่าน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2815 เมื่อ: 22 เมษายน 2557, 17:49:01 » |
|
ปกเป็นแบบนี้ครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2816 เมื่อ: 22 เมษายน 2557, 18:43:12 » |
|
เล่มที่สอง
เนื้อหาบางตอนกล่าวถึงครอบครัวกรมพระยาดำรงฯประทับที่ปีนัง ๑๐ ปี เงินขาดมือต้องขายมรดกเพื่อดำรงพระชนม์ชีพ ของเก่าทั้งนั้น
พระญาติส่งปลาทูไปทางรถไฟ ดำรงพระชนม์ชีพอย่างสมถะ เสด็จกลับกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ น้ำท่วมกรุงเทพฯในปีนั้น
และเมื่อสิ้นพระชมน์ลูกชายต้องจำนองบ้านเพื่อนำเงินมาจัดการศพให้สมพระเกียรติ เมื่องานเสร็จต้องขายรถเพื่อนำเงินไปไถ่ถอนตึกนั้น
นอกจากนั้นมีบันทึกอื่นๆของมจ.พูนพิสมัย ที่น่าสนใจยิ่ง
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2818 เมื่อ: 23 เมษายน 2557, 12:20:49 » |
|
หนุน
ภาพ เอกสารและบทความที่ลงในห้องนี้ มีคุณค่าทั้งนั้น
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2819 เมื่อ: 24 เมษายน 2557, 16:02:42 » |
|
ครับผม..พี่เหยง
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2822 เมื่อ: 26 เมษายน 2557, 19:15:53 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2823 เมื่อ: 26 เมษายน 2557, 19:29:32 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2824 เมื่อ: 28 เมษายน 2557, 19:36:28 » |
|
ฝนลงมาบ้าง พอหายร้อนเนาะ
|
|
|
|
|