23 พฤศจิกายน 2567, 09:59:38
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 100 101 [102] 103 104 ... 131   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยว  (อ่าน 923720 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 31 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2525 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 11:08:29 »

ผู้ว่าฯ จันทบุรี ชาวหอ 2515

ในงานเลี้ยงต้อนรับคณะของพี่ปรีดา โครงการรินน้ำใจฯ ที่จันทบุรี
คงเป็น ผวจ. ต่อไปก่อน ใช่ไหม??


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2526 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 19:23:33 »

มิล่วงรู้ได้   

 ๓๐ กันยายนนี้ท่านก็หยุดทำงานแล้ว..
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2527 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 20:11:19 »

น้องเริง


รับ PM แล้ว
อากาศช่วงนี้เย็นจับใจ ขณะนี้ 21 องศา C ช่วงดึก-เช้า จะลดลงเหลือ 18-19 เท่านั้น
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2528 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 21:07:13 »

ดีครับ




พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต  ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่ากากระทรวงคมนาคม นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผอ.รักษาการผอ. ขสมก. ชมการสาธิตการใช้อุปกรณ์ทางลาดสำหรับผู้พิการบนรถโดยสารประจำทาง เพื่อหาข้อมูลประกอบหลังครม.อนุมัติให้ขสมก.ดำเนินการจัดซื้อรถโดยสาร NGV จำนวน3,183คัน ซึ่งผู้พิการมีความต้องการให้มีทางลาดชันเพื่อให้รถวีลแชร์ สามารถใช้บริการ ทางขสมก.จึงได้จัดทดสอบเพื่อหาข้อบกพร่อง โดยเชิญผู้พิการมาทดลองใช้บริการ ก่อนจะมีการประชุมหารือเพื่อกำหนดสเป็ครถที่จะนำมาใช้ต่อไป

เหมือนกับที่ได้ห็นมา    





      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2529 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2556, 07:31:50 »



พระยาภิรมย์ภักดี หรือ บุญรอด เศรษฐบุตร เป็นบุตรของพระภิรมย์ภักดี (ชม เศรษฐบุตร) กับนางมา เศรษฐบุตร เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2415 ที่ย่านจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ให้กำเนิดเบียร์สิงห์และบริษัท บุญรอด บริวเวอรี จำกัด

พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2415 ณ บ้านปลายสะพานยาว วัดบพิตรพิมุข (เชิงเลน) ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลจักรวรรดิ์ อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เรียนหนังสือกับบิดาตอนยังเด็ก พออายุ 11 ปี เรียนกับพระอาจารย์เนียม วัดเชิงเลนได้ 1 ปีเศษก็เรียนฝึกหัดวาดเขียนที่บ้านหลวงฤทธิ์ฯ และเรียนหนังสืออังกฤษกับ ท่านอาจารย์ หมอ เอ.ยี.แมคฟาแลนด์ที่โรงเรียนหลวงสวนอนันต์ ได้ประมาณ 2 ปี โรงเรียนก็ย้ายมาสอนที่สุนันทาลัย สามารถสอบไล่ได้ที่ 1 ในทุกวิชาของโรงเรียน และในปี พ.ศ. พ.ศ. 2433 ได้เป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียนสุนันทาลัย ต่อมาก็ได้ไปเป็นครูสอนเด็กที่โรงเลี้ยงเด็กอนาถา

ในปี พ.ศ. 2435 เจ้าพระยาภาสวงศ์ เสนาบดีได้ทดลองให้ทำหน้าที่ตำแหน่งเลขานุการกระทรวงธรรมการ เมื่อจะลาออกแต่ครูใหญ่ไม่ให้ออก จึงตัดสินใจไม่เอาทั้ง 2 อย่าง จากนั้นทำงานเป็นเสมียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษที่โรงเลื่อยของห้างกิมเซ่ง หลี และห้างเด็นนิมอตแอนด์ดิกซัน จนเห็นลู่ทางธุรกิจจึงมาเริ่มมาเป็นเจ้าของกิจการค้าไม้ เดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา และก่อตั้งโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทยในปี 2476[1]

เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีนโยบายเรื่องการจัด ตั้งโรงงานผลิตเบียร์มาก่อน จึงยุติลงที่การอนุมัติโรงเบียร์แห่งแรกบนเนื้อที่ 9 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านบางกระบือ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 6 แสนบาท ในปี พ.ศ. 2477 พระยาภิรมย์ภักดีก็ได้นำเอาเบียร์สดใส่ถังไปเปิดให้ผู้คนดื่มฟรีในงานสโมสรคณะราษฎร ปรากฏว่าเป็นที่พอใจกันยิ่งนัก ข่าวได้แพร่สะพัดออกไป มีลูกค้าจับจองสินค้าออกสู่ตลาด จนได้จำหน่ายเบียร์รุ่นแรกเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 มีตรายี่ห้อต่าง ๆ กัน ทั้งตราว่าว ตราพระปรางค์ ตรากุญแจ ตรารถไฟ ตราหมี ปรากฏว่าเบียร์ตราสิงห์ได้รับความนิยมมากที่สุด ต่อมาจึงค่อยๆ หยุดผลิตยี่ห้ออื่นไป จนเหลือเพียงเบียร์สิงห์

ท่านมีความรู้ความสามารถ แต่งตำราการคิดคำนวณ หน้าไม้สำเร็จรูป แต่งตำราว่าวพนัน ได้โปรดเกล้าเป็นนายเรือตรี ร.น. เสือป่าและกัปตันเรือเดินทะเล ได้เป็นกรรมการสโมสร และสนาม และยังบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างเช่น ได้ถวายตัวเป็นสมาชิกเสือป่า สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างกระโจมแตรในสวนลุมพินี สร้างโรงเรียนอนาถา เป็นต้น ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นหลวงภิรมย์ภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย และได้เปลี่ยนเป็น พระภิรมย์ภักดี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2467 และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภิรมย์ภักดี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467[2]

ท่านแต่งงานกับ คุณหญิงละม้าย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2441 ต่อมาภรรยาคลอดบุตรฝาแฝดในปี พ.ศ. 2443 แต่บุตรฝาแฝดตาย ในปีต่อมาคลอดลูกอีกคนอยู่ได้ราว 2 เดือนก็ตาย ต่อมารับบุตรของน้องชาย (พระประเวศวนขันธ์ - ปลื้ม เศรษฐบุตร) มาเป็นบุตรบุญธรรม ให้ชื่อว่าวิทย์ เศรษฐบุตร (วิทย์ ภิรมย์ภักดี) ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2455 ได้บุตรกับนางกิม ชื่อ ประจวบ เศรษฐบุตร (ประจวบ ภิรมย์ภักดี)  และเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 ได้บุตรอีกคนกับนางจิ้มลิ้มชื่อ ประจง เศรษฐบุตร (จำนงค์ ภิรมย์ภักดี)

พระยาภิรมย์ภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2493[3]


ที่มา วิกิพีเดีย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2530 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2556, 15:11:13 »

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗

                               "ดอกไม้ที่บ้าน"



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2531 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2556, 10:27:05 »

หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากรจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นโอรสของ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร กับ หม่อมหลวงแส กฤดากร (สกุลเดิม สนิทวงศ์ โดยมีศักดิ์เป็นพี่ของ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

โดยหม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร เป็นพระโอรสใน พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ต้นราชสกุลกฤดากร ผู้เป็น พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น

หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร สมรสกับ ท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา ซึ่งเป็น นางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เฮลิคอปเตอร์ผู้ตามเสด็จตก ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2540 มีบุตรธิดาคือ

หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี
หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร
ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี สมรสกับ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ทายาทของนายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี และคุณหญิงสุภัจฉรี ภิรมย์ภักดี มีบุตร 3 คนคือ จิตภัสร์ นันทญาและณัยณัพ

ม.ล.ปิยาภัสร์ เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปจากการรับบทเป็น "สมเด็จพระสุริโยทัย" ในภาพยนตร์ "สุริโยไท" ของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในชีวิตจริงหลังการเสียชีวิตของ ท่านผู้หญิงวิยะฎาผู้เป็นมารดา เธอได้เข้าถวายงานบางส่วนในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เช่น การตามเสด็จ และถวายงาน เกี่ยวกับฉลองพระองค์ และสิ่งของต่างๆ ที่ต้องประสงค์ รวมทั้งจะเป็นผู้หนึ่งที่เดินแบบถวาย เมื่อครั้ง สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ นำแฟชั่นโชว์ผ้าไหมไทย ไปแสดงในประเทศต่างๆ ด้วย

ม.ล.ชโยทิต กฤดากร สมรสกับ มนทกานติ์ กฤดากร (นามสกุลเดิม ปราโมช) บุตรสาวของ หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช และท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา มีบุตรชาย 1 คนคือ ปิยกร กฤดากร ณ อยุธยา

ม.ล.ชโยทิต กฤดากร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธนาคารเจพีมอร์แกน เชส (ประเทศไทย)และบริษัทหลักทรัพย์เจพีมอร์แกน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2532 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2556, 10:43:03 »

                                      

กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอโดยนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกกล่าวหาจากผู้เสียประโยชน์ว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" และชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช  กฤด่ากร อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดช  กฤดากร หัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา

อนุสาวรีย์บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพมหานคร ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัติ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" โดยออกเป็นสมุดปกขาว ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดีนี้มีเสนอแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก อาทิ เรื่องการถือครองและการเช่าที่ดิน การจัดรัฐสวัสดิการ การแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วยหวังเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่ชาวนาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลายแนวคิดที่คล้ายกับการปกครองในระบบสังคมนิยมอาจมีผลกระทบต่อพื้นฐานโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายของประเทศ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิจารณ์ข้อเสนอของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอย่างจริงจัง ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรเองก็แตกแยกทางความคิด กระทั่งนำไปสู่การเปิดอภิปรายวิจารณ์ในรัฐสภา ในที่สุดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางดังกล่าวจึงเสนอให้ยกเลิกข้อเสนอนั้น เป็นเหตุให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องถุกกดดันให้ไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว ซึ่งทำให้คณะราษฎรหลายท่านไม่พอใจพระเจ้าอยู่หัวและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยเฉพาะฝ่ายทหาร และนำไปสู่การก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดารัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลังจากการรัฐประหารพระยาพหลพลพยุหเสนาผู้นำคณะรัฐประหารได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม

 
รถถังวิคเกอร์ขนาด 6 ตัน จอดรักษาการณ์อยู่ในพระนครความวุ่นวายทางการเมืองทั้งหลายมีส่วนทำให้พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ไม่พอใจรัฐบาลเป็นอันมาก จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุดร (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพที่สนิทกับพันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงครามไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ทหารกรุงเทพหันไปร่วมมือกับรัฐบาลเนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพนับถือพันเอก พระยาศรีสิทธิ์สงครามมากกว่า พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของทางฝ่ายกบฏบวรเดชเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้นเป็นเพียงแค่การรัฐประหาร (Coup d'etat) เท่านั้น มิใช่การปฏิวัติ (Revolution) เพราะหลังจากนั้นแล้ว อำนาจที่ถูกผ่องถ่ายมาจากพระมหากษัตริย์ก็ตกอยู่ในมือของคนแค่ไม่กี่คน อีกทั้งหลัก 6 ประการที่ได้สัญญาว่าจะปฏิบัติ ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็มิได้มีการกระทำจริง เหตุการณ์ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่มิอาจยอมรับได้ จึงต้องดำเนินการดังกล่าว

ชนรถไฟ บทน. 4 ของรัฐบาล (ภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย)
สภาพความเสียหายของรถไฟทั้งสองฝ่ายชนกันการยิงกันครั้งแรกเริ่มที่ อำเภอปากช่อง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมืองและยึดพื้นที่เอาไว้ โดยเรียกชื่อคณะตัวเองว่า คณะกู้บ้านเมือง และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า แผนล้อมกวาง

โดยทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้รู้ล่วงหน้าถึงการกบฏครั้งนี้ถึง 2 วัน เมื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจเยี่ยมมณฑลทหารราชบุรี จู่ ๆ นักบินผู้หนึ่งชื่อ เรืออากาศโทขุนไสวมัณยากาศ ได้บังคับเครื่องบินลงจอดที่สนามและได้ยื่นจดหมายฉบับหนึ่งให้แก่ พลตรีพระยาสุรพันธเสนี สมุหเทศาภิบาลมณฑล แล้วแจ้งว่าเป็น สาสน์จากพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อหน้าก็เดาออกทันทีว่าเป็นสาสน์ที่ส่งมาเพื่อเชิญชวนให้ก่อการกบฏ จึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันรุ่งขึ้นเพื่อดำเนินการต่อต้านทันที

คณะรัฐบาลแต่งตั้ง พันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม - ยศขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม พร้อมรถปตอ. รุ่น 76 และรถถัง รุ่น 76 บรรทุกรถไฟยกออกไปปราบปรามได้สำเร็จ แต่ต้องเสียพันตรีหลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล) ผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 8 เพื่อนของหลวงพิบูลสงครามเพราะถูกยิงเข้ามาในรถจักรดีเซลไฟฟ้า

ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาลมาเจรจาให้ฝ่ายกบฏเลิกราไปเสีย และจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ทางฝ่ายกบฏได้จับตัวพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้เป็นตัวประกัน

และในเวลา 12.00 น. ฝ่ายกบฏได้ส่ง นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ นาวาอากาศโทพระยาเทเวศวร อำนวยฤทธิ์ และเรือเอกเสนาะ รักธรรม เป็นคนกลางถือหนังสือของพระองค์เจ้าบวรเดชมาเจรจากับรัฐบาล โดยยืนเงื่อนไขทั้งหมด 6 ข้อ คือ

1.ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน
2.ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก
3.ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
4.การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง
5.การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริง ๆ
6.การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง
สุดท้ายได้ขอประกาศนิรโทษกรรมแก่คณะตนเอง ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม จึงเกิดการต่อสู้กันของทั้งสองฝ่าย โดยคณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื้นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน

มีการวิเคราะห์กันว่า แท้ที่จริงแล้วแผนล้อมกวางนี้ เป็นเพียงแผนขู่ไม่ใช่แผนรบจริง ดั่งบันทึกของหม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน หนึ่งในคณะกบฏที่ได้บันทึกเรื่องราวตอนนี้ไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของตนเอง ซึ่งได้ตีพิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. 2482 ว่าแท้ที่จริงแล้วแผนการจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยจะลงมืออย่างรวดเร็ว แต่เมื่อปฏิบัติจริงกลับถูกเลื่อนออกไปหนึ่งวัน จึงเปิดโอกาสให้ทางฝ่ายรัฐบาลได้มีเวลาตั้งตัวได้ติดและโต้กลับอย่างรวดเร็ว

โดยทางฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งกองอำนวยการปราบกบฏขึ้นที่สถานีรถไฟบางซื่อข้างโรงงานปูนซีเมนต์ไทยในปัจจุบัน โดยกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์ ซึ่งขณะยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาลที่สถานีโคกกระเทียมตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับคืนไป ส่วนพระยาเสนาสงคราม แม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง

กองทหารเพชรบุรี ก็ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรีตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย) ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้

ส่วนทางกองทหารจากปราจีนบุรี ไม่มั่นใจว่าฝ่ายกบฏจะได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาล จึงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติสูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก

แต่ทางฝ่ายกบฏก็ยังคงปักหลักต่อสู้อย่างเหนียวแน่น จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ณ สถานีรถไฟหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5 กองร้อยของนครราชสีมาประจำแนวรบ แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5 กระบอกเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง

รุ่งขึ้น วันที่ 15 ตุลาคม ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลังพร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้าฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับสนุนและอาวุธต่าง ๆ จำเป็นต้องถอยกลับ

และเมื่อเพลี่ยงพล้ำ ฝ่ายกบฏได้ใช้หัวรถจักรฮาโนแม็กเปล่า ๆ เบอร์ 277 พุ่งชนรถไฟของกองทัพรัฐบาล จนมีทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมากก่อนล่าถอยไปโคราช เช่น พันตรีหลวงกาจสงคราม ก็หูขาดจากการครั้งนี้ โดยคนขับเป็นสารวัตรรถจักรภาคอีสาน กรมรถไฟหลวง ชื่อ อรุณ บุนนาค ซึ่งต่อมาถูกจับและนำส่งตัวไปเกาะตะรุเตา

เมื่อประเมินกำลังการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้วเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่า เพราะโดนฝ่ายรัฐบาลสั่งให้เอานัดดินออกจากลูกกระสุนปืนใหญ่หมดไปก่อนหน้าที่จะก่อกบฏ พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพานและทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาล

ฝ่ายปฏิวัติถูกกำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ-ทับกวาง และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พระองค์เจ้าบวรเดชขึ้นเครื่องบินหนีออกนอกประเทศ และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จในที่สุด

ณ สนามหลวง ของฝ่ายรัฐบาลเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้นายทหารฝ่ายกบฏ ได้แก่ นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา เมื่อ 23 ตุลาคม ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม และต่อไปยังประเทศกัมพูชาตามลำดับและกลับมายังประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2491 ขณะที่พระอนุชาของท่าน (หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร) ถูกทหารจับกุม

ภายหลังได้มีการตั้งศาลพิเศษ มีการคุมขังทหารและพลเรือนผู้เกี่ยวข้องกับการกบฏครั้งนี้นับร้อยคนที่เรือนจำบางขวาง แต่ที่ไม่มีการประหารชีวิต เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สละราชสมบัติ ทำให้รัฐบาลต้องอภัยโทษให้บรรดาผู้รับโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต และผู้ได้รับโทษจำคุกก็ได้รับการลดโทษตามลำดับขั้น

รัฐบาลได้จัดให้มีรัฐพิธีให้แก่ผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คนคราวปราบกบฏบวรเดช โดยได้จัดสร้างเมรุชั่วคราว ณ ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ซึ่งเดิมรัชกาลที่ 7 ไม่ทรงยินยอมให้ใช้พื้นที่ทุ่งพระเมรุนี้ แต่ทางคณะราษฎรยืนยันที่จะสร้างเมรุชั่วคราวบนทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 7 จึงต้องทรงยินยอม แต่ระบุถ้อยคำด้วยท่วงทำนองว่า“ไม่ได้เป็นพระราชประสงค์”

ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏหรือ “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ที่บริเวณหลักสี่ บางเขน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อเพียงตามแหล่งที่ตั้งว่า “อนุสาวรีย์หลักสี
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #2533 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2556, 10:51:43 »


สวัสดีครับพี่เริง
ไม่ได้เข้ามาชมแป๊บเดียว สองหน้ากว่า
ชมเพลิน ภาพสวยงามครับ ดูไปก็คิดถึงอังกฤษไป
ต้องหยอดกระปุก หาทางไปอีกสักครั้ง เหอ เหอ.....



 หลั่นล้า เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2534 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2556, 19:30:21 »

หนุน

จะเปลียนใจได้ครับ  ถ้าได้ไปเยอรมันจะคิดไปอีก ที่นี่จะครั้งเดียว
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2535 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2556, 20:33:44 »

ทั้งนี้เพราะอาหาร ความเป็นอยู่ ที่พักของชาวเมือง  บรรยากาศต่างกัน

หรือเมื่อเที่ยบลอนดอนกับเบอร์ลิน..แห่งที่สองดีกว่า
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2536 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2556, 15:07:34 »

สวัสดีค่ะน้องเริง
มาห้องนี้ต้องใช้เวลาอ่านอย่างละเอียด ความรู้เพียบค่ะ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2537 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2556, 20:08:13 »

ครับผม

ส่วนใหญ่จะเป็นภาพ

มีเรื่องราวเน้นสาระบ้างตามสภาพเหตุการณ์ และบรรยากาศแวดล้อมที่ใกล้ตัว  
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2538 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 11:54:57 »

วรรรกรรมชุด " บ้านเล็กในป่าใหญ่ " แปลโดย สุคนธรส



เรื่อง "บ้านเล็กในป่าใหญ่" เล่าถึงวงจรชีวิตของชาวบ้านในแต่ละฤดูกาล  เริ่มต้นด้วยช่วงเวลาปลายฤดูใบไม้ร่วงต่อกับต้นฤดูหนาว   ที่พ่อแม่จะต้องสะสมอาหารไว้กินตลอดเวลาหลายเดือนที่หิมะตก  ปลูกพืชผลไม่ได้ ล่าสัตว์ก็ยาก      ลอร่าเล่าไว้ในชีวิตจริงว่าเธอยังจำได้ถึงกวางที่พ่อยิงได้ แขวนอยู่รอบบ้าน  รอเวลาถลกหนัง และหั่นเนื้อออกมารมควัน     เล่าถึงแม่ที่เก็บผักผลไม้มาไว้ในห้องใต้หลังคาซึ่งเย็นเฉียบในหน้าหนาว    เคี่ยวน้ำมันหมู   หั่นเนื้อหมูแช่เกลือ ปั่นเนย  มีลูกเล็กๆคอยช่วยเท่าที่จะช่วยได้  



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2539 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 12:02:21 »

ม.ล. รสคนธ์ อิศรเสนา หรือผู้ใช้นามปากกาว่า "สุคนธรส" เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน 2460 เป็นธิดาในเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา) และท่านผู้หญิง ม.ร.ว. อรุณ (นพวงศ์) อิศรเสนา  "สุคนธรส" เติบโตมาในบ้านที่ตั้งอยู่ ณ ถนนพระอาทิตย์ (ปัจจุบันคือ สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ)
      
       ในวัยเยาว์ "สุคนธรส" เป็นพระสหายผู้หนึ่งของ "ว.ณ ประมวลมารค" (พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) ซึ่งเคยศึกษาร่วมกันมาตั้งแต่ครั้งเรียนมัธยมศึกษาที่ ร.ร.มาแตร์เดอี และเป็นนิสิตแห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งสำเร็จเป็นบัณฑิต
      
       ในด้านการงาน "สุคนธรส" รับราชการโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2486 ที่หอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณารักษ์ และมีงานพิเศษทำหน้าที่เลขานุการของเลขาธิการมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2487 "สุคนธรส" ได้ลาออกจากจุฬาลงกรณ์ฯ เนื่องจากในตอนนั้น ประเทศไทยอยู่ในสภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 เหตุที่บ้านอยู่ไกลจากมหาวิทยาลัยมาก (ในตอนนั้นแถบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังเป็นไร่สวนเปล่าเปลี่ยว) ทำให้ผู้ใหญ่ทางบ้านเป็นห่วง
      
       พ.ศ.2488 "สุคนธรส" ย้ายไปทำงานที่หอสมุดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตำแหน่งผู้ช่วยบรรณารักษ์ สังกัดกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านที่ถนนพระอาทิตย์มากกว่า หลังจากสงครามสิ้นสุด จึงได้ลาออกเพื่อมาสอนที่ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ระหว่าง พ.ศ.2496-2498 ได้ลางานไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
      
       พ.ศ.2499 เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่วิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา จึงยังสอนให้แก่ ร.ร.เตรียมฯ อีกด้วย ในสายตาเพื่อนร่วมงาน "สุคนธรส" เป็นที่รักของเหล่าเพื่อนร่วมงานด้วยอุปนิสัยเรียบง่าย ไม่ถือยศศักดิ์ และเป็นที่นับถือในความเป็นคนซื่อตรง และละเอียดรอบคอบในการทำงาน
      
       ต่อมา พ.ศ. 2516 ได้ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ เนื่องจากทางครอบครัวได้ย้ายที่อยู่จากบ้านเดิมที่ถนนพระอาทิตย์ ไปอยู่ที่ตำบลสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีทำเลร่มรื่น สวยงาม และอากาศบริสุทธิ์มากกว่าในกรุงเทพฯ ณ ที่นี่ "สุคนธรส" ได้ใช้เวลาทำสวน ปลูกต้นไม้ สลับกับทำงานเขียน แปลหนังสือภาษาอังกฤษ ประเภทนวนิยายที่มีเค้าเรื่องจริงแบบอิงประวัติศาสตร์ โดยใช้นามปากกาว่า "สุคนธรส"

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2540 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 12:09:41 »

      

 จากป่าใหญ่ถึงทุ่งหญ้า
       หากจะเอ่ยถึงวรรณกรรมเยาวชนในดวงใจของนักอ่านไทย โดยเฉพาะตั้งแต่วัย 30 ปีขึ้นไป ชื่อของหนังสือ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" หรือหนังสือชุด "บ้านเล็ก" นับเป็นวรรณกรรมอมตะที่ครองใจนักอ่านไทยทุกเพศ ทุกวัยมาเนิ่นนาน        
       จากยุคสมัยที่คำว่า "วรรณกรรมเยาวชน" ยังเป็นเรื่องใหม่ในเมืองไทย การปรากฏและดำรงอยู่ของหนังสือชุดนี้มายาวนานกว่า 4 ทศวรรษ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของหนังสือชุดดังกล่าวที่ได้รับการพิสูจน์ผ่านกาลเวลา โดยไม่อาจปฏิเสธได้ว่า หนังสือชุดบ้านเล็ก คือ วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิกของโลก และของนักอ่านชาวไทย
       หากวรรณกรรมคือ บันทึกที่สะท้อนภาพสังคมในแต่ละยุคสมัย หนังสือชุด "บ้านเล็ก" ของผู้เขียน "ลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์" ก็คงเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สะท้อนสภาพสังคมของคนอเมริกันในยุคบุกเบิก ซึ่งอาจเป็นบันทึกที่ดีไม่แพ้ประวัติศาสตร์เล่มอื่น ค่าที่หนังสือชุดนี้มีจิตวิญญาณของ "นักบุกเบิก" อยู่เข้มข้นเต็มเปี่ยม      
       จากป่าใหญ่ในมลรัฐวิสคอนซิน ถึงทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ไพศาลของดาโคตา การเดินทางรอนแรมไปกับเกวียนนักบุกเบิกของลอร่า จึงให้อะไรมากกว่าอรรถรสด้านวรรณศิลป์จากเนื้อเรื่องเท่านั้น      

       ลอร่า (อลิซาเบธ) อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์ (Laura Ingalls Wilder) เป็นบุตรคนที่สองของชาร์ลส์ ฟิลิปป์ และแคโรไลน์ เล้ก ควีเนอร์ อิงกัลล์ส ลอร่าเกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1867 ในกระท่อมไม้ซุงชายป่าใกล้เมืองเปปปิน มลรัฐวิสคอนซิน ลอร่าได้เล่าชีวิตในวัยเด็กของเธอไว้ในหนังสือชุดบ้านเล็ก ถึงการเดินทางอพยพบนเกวียนประทุนไปกับบิดามารดาและพี่น้อง ผ่านมลรัฐแคนซัส มินนิโซตา กระทั่งตั้งรกรากถาวรบนที่ดินที่บิดาของเธอได้จับจองไว้ ใกล้เมืองเดอสเม็ต ในดินแดนมลรัฐดาโคตา      
       เมื่ออายุ 15 ปี ลอร่าสอบเป็นครูได้ จึงเริ่มต้นสอนหนังสือในโรงเรียน สามปีหลังจากนั้น คือเมื่อ ค.ศ.1885 ลอร่าสมรสกับ แอลแมนโซ เจมส์ ไวล์เดอร์ และให้กำเนิดบุตรหญิงชื่อ โรส เมื่อเดือนธันวาคม 1886 ต่อมาบุตรสาวของเธอได้เติบโตเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่ง      
       ลอร่าได้เริ่มต้นชีวิตครอบครัวนักบุกเบิกของเธอเองอีกครั้ง เมื่อตัดสินใจอพยพหนีความแห้งแล้งกันดารของมลรัฐเซาท์ดาโคตา ไปตั้งต้นชีวิตใหม่ที่โอซาร์คส์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมลรัฐมิสซูรี ต่อจากนั้นราว 40 ปี ลอร่าได้เริ่มเขียนบันทึกเรื่องราวที่สนุกสนานเกี่ยวกับชีวิตในป่าและทุ่งกว้าง ซึ่งกลายเป็นวรรณกรรม "คลาสสิก" สำหรับเด็กในเวลาต่อมา โดยได้ตีพิมพ์ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ขึ้นก่อนเป็นเล่มแรกในปี ค.ศ. 1932 และมีหนังสือชุดเดียวกันอีก 8 ตอน ตามออกมาเป็นลำดับ      
       "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ได้รับรางวัลนิวเบอรี่อะวอร์ด เป็นที่สองในปี ค.ศ. 1932 ถัดมาในปี ค.ศ.1942 ลอร่าได้รับรางวัลวรรณกรรม แฮรี่ ฮาร์ตแมน จากห้องสมุดแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ค.ศ. 1943 เรื่อง "ปีทองอันแสนสุข" ได้รับรางวัลนิวยอร์กเฮรัลด์ตรีบูน ในงานแสดงหนังสือประจำฤดูใบไม้ผลิ และเมื่อ ค.ศ. 1954 สมาคมห้องสมุดสำหรับเด็กได้ตั้งรางวัลเรียกว่า "รางวัลลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์" ขึ้น สำหรับมอบให้แก่นักเขียนที่มีสาระและมีคุณประโยชน์ทางด้านหนังสือสำหรับเด็กทุกๆ 5 ปี และทุกวันนี้ รถห้องสมุดเคลื่อนที่ของเมืองเซนต์หลุยส์ และห้องสมุดหลายแห่งของเมืองดีทรอยต์ มิชิแกน และเมืองแมนส์ฟีลด์ มลรัฐมิสซูรี เมืองโปโมนา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ก็ตั้งชื่อห้องสมุดตามชื่อของเธอว่า "ห้องสมุดลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์"      
       นับได้ว่าลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์ คือ ตัวแทนนักเขียนที่เป็นความภาคภูมิใจของคนอเมริกัน ที่มีต่อการบุกเบิกดินแดนอย่างยากลำบากของบรรพบุรุษยุคก่อน      
       ครอบครัวไวล์เดอร์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่อย่างมีความสุขที่เมืองแมนส์ฟีลด์ แอลแมนโซถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1949 เมื่อเขาอายุได้ 92 ปี ลอร่าสิ้นชีวิตในปี ค.ศ. 1957 ขณะอายุได้ 90 ปี หนังสือชุด "บ้านเล็ก" ของลอร่าเป็นที่ชื่นชอบในหมู่เด็กๆ หลายล้านคนทั่วโลก และได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงาน "อมตะ" ที่อยู่ในดวงใจนักอ่านทุกชาติทุกภาษา
      
            
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2541 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 17:30:21 »

มีรายละเอียดตามมาอยู่บ้าง..น่าติดตาม
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2542 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 18:42:41 »


จากเทาชมพู ในเรือนไทยดอตคอม



ก่อนอื่นขอฉายหนังตัวอย่างด้วยภาพครอบครัวอิงกัลส์ก่อน
คือพ่อ แม่ และลูกสาวทั้งสี่
เรียงลำดับแถวยืน  แครี่  ลอร่า   เกรซน้องสาวคนเล็ก
แถวนั่ง  แม่ พ่อ และแมรี่ ลูกสาวคนโต
 


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2543 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 18:47:47 »

ก่อนหน้านี้ ลอร่า อิงกัลส์ ไวลเดอร์ ไม่มีความคิดจะเป็นนักเขียน   เธอเป็นหญิงวัยหกสิบ  ดำเนินชีวิตเรียบง่ายในฐานะเจ้าของฟาร์มเล็กๆแห่งหนึ่งในเมืองแมนส์ฟิลด์ รัฐมิสซูรี่     อยู่กับสามีชื่อแอลแมนโซ เจมส์ ไวล์เดอร์ผู้มีอายุมากถึง ๗๐ เพียงลำพังสองคนตายาย

ลูกสาวคนเดียวชื่อโรสเป็นหญิงวัยกลางคนอายุ ๔๐    ทำงานเป็นนักเขียนบทความอยู่ในเมืองใหญ่   โรสแต่งงานแยกบ้านไปนานหลายสิบปีแล้ว   ต่อมาก็หย่าขาดจากสามีโดยไม่มีบุตร     ความที่สนิทกับแม่ โรสก็แวะเวียนไปเยี่ยมบ้านเดิมของพ่อแม่เป็นประจำ

ตั้งแต่เด็ก ในฐานะลูกคนเดียว  โรสสนิทกับแม่มาก     ลอร่าเป็นหญิงที่ช่างจดช่างจำ  เล่าเรื่องเก่ง     เรื่องที่เธอชอบเล่าให้ลูกสาวฟังคือชีวิตในวัยเด็กเมื่อหลายสิบปีก่อนจะย้ายมาอยู่รัฐมิสซูรี่      ในยุคนั้น   ตากับยายอพยพพาลูกๆ โยกย้ายไปหลายรัฐด้วยกัน ทำให้เด็กๆได้พบเห็นประสบการณ์ต่างๆ ที่หาไม่ได้ในฟาร์มแห่งนี้   
วันเวลาในวัยเด็กของแม่จะว่าลำบากก็ลำบาก  เพราะขาดความสะดวกสบายอย่างไฟฟ้า น้ำประปา  รถยนต์ หรือแม้แต่ถนนหนทาง    แต่จะว่าเป็นสุขก็สุขมาก เพราะอยู่อย่างอบอุ่นในครอบครัวพร้อมหน้าพ่อแม่พี่น้อง    ไม่เคยขาดเสียงเพลงจากไวโอลินของพ่อในยามค่ำคืน   ไม่ขาดอาหารรสโอชะจากฝีมือของแม่       

เรื่องราวทั้งหมด แม่ถ่ายทอดให้ลูกสาวฟังอย่างละเอียดถี่ถ้วน  เพราะเห็นว่าเป็นเรื่อง "ดีเกินกว่าจะปล่อยให้สูญหายไป"   โรสฟังอย่างเพลิดเพลินมาตั้งแต่เล็กจนโต     นิสัยรักการอ่านและเขียน เธอก็ได้จากแม่    แม่ทำงานเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับเล็กๆ เขียนบทความประจำลงในนั้น 
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2544 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 18:49:25 »

ในวัยสี่สิบ โรสประสบความสำเร็จในฐานะนักเขียนมีชื่อเสียงคนหนึ่งแล้ว   รายได้ของเธอมากพอจะอุดหนุนจุนเจือพ่อแม่ได้   ฟาร์มเล็กๆของแอลแมนโซและลอร่ามีผลิตผลพออยู่ได้อย่างไม่ลำบากยากแค้นจนเกินไป แต่ก็ห่างไกลจากร่ำรวย      โรสสร้างกระท่อมแบบอังกฤษให้พ่อแม่อยู่ใหม่ บนเนื้อที่ติดกับฟาร์มเดิมที่ลอร่าขนานนามว่า "ร็อคกี้ ริดจ์"
   ส่วนตัวโรสเองก็ตกแต่งบ้านเดิมของพ่อแม่เสียใหม่แล้วย้ายเข้าไปอยู่แทน


  วันหนึ่ง โรสก็นึกได้ว่าเรื่องชีวิตวัยเยาว์ที่แม่เล่าให้เธอฟังบ่อยๆ เป็นเรื่องสนุกสนานประทับใจ  ควรจะเขียนลงเป็นหนังสือสักเล่ม  เธอจะช่วยตรวจแก้ให้     ในตอนแรกลอร่าก็ไม่ได้คิดอะไรมาก   ลูกสาวคะยั้นคะยอหนักเข้าเธอก็นึกสนุก เขียนในทำนองอัตชีวประวัติขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Pioneer Girl (สาวน้อยนักบุกเบิก)  เอาชีวิตจริงในวัยเด็กและสาวเป็นพื้นฐานหลักในโครงเรื่อง
   โรสส่งต้นฉบับเรื่องนี้ไปตามสำนักพิมพ์ต่างๆ   แต่ผิดหวัง   ไม่มีผู้พิมพ์รายไหนสนใจจะพิมพ์จำหน่าย     เป็นเพราะเนื้อเรื่องหนักไปทางรายละเอียด แทบว่าจะเป็นหนังสือประวัติศาสตร์อยู่รอมร่อ     ไม่มีรสชาติสนุกสนานอย่างนิยาย      ในที่สุดก็ต้องเอาต้นฉบับกลับมาเก็บไว้ในบ้าน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2545 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 18:50:57 »

ในค.ศ. 1929 ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่      เศรษฐกิจตกต่ำในยุคต้นรัชกาลที่ 7 ที่ส่งผลให้เกิด "ดุลยภาพ" ข้าราชการทั่วบ้านทั่วเมือง    เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475  วิกฤตเศรษฐกิจที่ว่านี้ก็ต้นเหตุอันเดียวกัน   ตลาดหุ้นล้มครืน  ธนาคารล้มละลาย พันธบัตรรัฐบาลกลายเป็นเศษกระดาษ  
เงินทองของโรสและพันธบัตรที่เธอแนะนำให้พ่อแม่ซื้อเป็นหลักประกันความมั่นคงของฐานะ  ก็ละลายหายสูญไปในวิกฤตครั้งนี้ด้วย   ลอรากับแอลแมนโซไม่เหลืออะไรจากเงินทองที่อดออมกันมาตลอดชีวิต

ในตอนนี้เอง ลอร่ากลับไปปัดฝุ่นต้นฉบับหนังสือเรื่อง Pioneer Girl ของเธออีกครั้ง    แม้ว่าสำนักพิมพ์ทั้งหลายพากันส่ายหน้า โยนลงตะกร้ากันหมดทุกแห่ง  เธอก็หอบมันขึ้นมาจากก้นตะกร้าอย่างไม่ย่อท้อ
นักเขียนที่ไม่ยอมแพ้ ก็จะมองจนเห็นแสงสว่างขึ้นมาที่ปลายอุโมงค์จนได้
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2546 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 18:55:38 »

คราวนี้ลอร่าวางแผนใหม่    เธอไม่เขียนหนังสือชีวิตหนักสมองอย่างคราวแรกอีก  แต่ว่าดัดแปลงใหม่  เป็นหนังสือสำหรับเด็ก    เจาะลงไปเฉพาะชีวิตในวัยเยาว์ของเธอ โดยเลือกช่วงชีวิตที่เธอมีความสุขที่สุด คือชีวิตวัยต้นอายุไม่เกิน 6 ขวบเมื่อครั้งอาศัยอยู่ในบ้านไม้ซุงในป่าใหญ่ของรัฐวิสคอนซิน พร้อมกับพ่อแม่และพี่สาว
  เธอย้อนรำลึกถึงการดำเนินชีวิตในสมัยนั้น  ยาวนานกว่า 50 ปีก่อน    เมื่ออาหารการกินและการดำรงชีวิตจะต้องพึ่งพาตัวเอง ไม่มีอะไรสะดวกอย่างสมัยเธอเข้าสู่วัยชรา      ชีวิตแบบนั้นหมดไปจากความรู้ความเข้าใจของเด็กๆในยุค 1930s หมดแล้ว เพราะบ้านเมืองพัฒนาอย่างรวดเร็ว   จากแสงเทียนมาเป็นไฟฟ้า  จากเกวียนประทุนมาเป็นรถยนต์   ฯลฯ  แต่มันยังชัดเจนอยู่ในความทรงจำของเธอ
   เธอก็ถ่ายทอดความทรงจำเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ไม่ยาวนักเล่มหนึ่ง  เล่าถึงวงจรชีวิต 4 ฤดูในรอบปีที่พ่อแม่และลูกๆอยู่กันอย่างเป็นสุขในป่าใหญ่      เธอเรียกพ่อและแม่กลับมามีชีวิตอีกหนหนึ่ง พร้อมด้วยพี่สาวที่ตัวจริงล่วงลับไปแล้ว    กลับมาเป็นเด็กน้อยเล่นกันอยู่ในบ้านไม้ซุงอีกครั้ง
   เรื่องใหม่นี้ตอนแรกตั้งชื่อว่า When Grandma was a Little Girl    โรสช่วยอ่านและตรวจให้  ในที่สุดก็เปลี่ยนชื่อเป็น   Little House in the Big Woods   เธอติดต่อสำนักพิมพ์ต่างๆให้แม่อีกครั้ง ด้วยความกว้างขวางและชื่อเสียงของเธอเป็นทุนเดิมอยู่  ในที่สุดสำนักพิมพ์ใหญ่คือ  Harper & Brothers ก็ตกลงพิมพ์เรื่องนี้


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2547 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 18:58:01 »

นิยายชุด "บ้านเล็ก" เล่มแรก  ตีพิมพ์วางจำหน่ายในค.ศ. 1932  (ตรงกับพ.ศ. 2475 ของไทย)  ในช่วงที่คนอเมริกันทั่วไปตกงาน อดอยาก ลำบากยากแค้น     หนังสือเล่มนี้กลายเป็นความชุ่มชื่นใจและจุดประกายความหวังให้คนอ่านจำนวนมาก ที่รู้สึกว่าชีวิตในอดีตก็ลำบากกว่าชีวิตพวกเขามากนัก   ตัวละครในเรื่องก็ยังอยู่มาได้อย่างเป็นสุขและอบอุ่น    เต็มไปด้วยความรักและความจริงใจต่อกัน       ทำให้คนอ่านค่อยกระปรี้กระเปร่าเกิดความหวังขึ้นมาอีกครั้ง
   หนังสือเรื่องนี้จึงประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามชั่วข้ามคืน   โดยไม่มีใครคาดฝันมาก่อน   แม้แต่ตัวลอร่าและโรสเอง

   ปัญหาเรื่องเงินทองของลอร่าก็หมดไปเพราะรายได้จากหนังสือที่ตีพิมพ์ใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า  แม้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม    เธอไม่ได้คิดว่าจะเขียนหนังสือมากกว่านี้   แค่เล่มแรกก็เล่าถึงชีวิตวัยเยาว์ที่ประทับอยู่ในความทรงจำหมดแล้ว

   ในตอนที่ลอร่าเขียนเรื่องนี้  พ่อกับแม่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เช่นเดียวกับแมรี่พี่สาวคนโตของเธอ และเกรซน้องสาวคนเล็ก   เหลือแต่แครี่น้องสาวคนรองคนเดียว    อยู่ไกลกันคนละรัฐ  แต่แครี่ก็ตื่นเต้นกับเรื่องที่พี่สาวคิดจะเขียนนิยายบนพื้นฐานชีวิตครอบครัวในวัยเยาว์มาตั้งแต่แรก     เธอช่วยทบทวนจดจำข้อมูลต่างๆส่งให้พี่สาว 
   ความจริงเมื่อลอร่ากับแมรี่เกิดและอยู่ในบ้านไม้ซุงในป่าใหญ่นั้น  มีกันแค่สองคนพี่น้อง แครี่ยังไม่ทันเกิด      พ่อแม่อพยพไปแคนซัสอยู่พักหนึ่งก่อนจะอพยพกลับมาที่ป่าใหญ่ในรัฐวิสคอนซิน  แครี่เพิ่งมาเกิดเมื่อพ่อแม่กลับมาอยู่ที่นี่     แต่ลอร่าไม่อยากจะตัดน้องสาวออกไป   เมื่อเธอรวมชีวิต 2 ช่วงในป่าใหญ่เข้าเป็นช่วงเดียวกัน     เธอก็เลยให้แครี่เกิดเสียตั้งแต่ตอนนั้น กลายเป็นมีสามคนพี่น้องโตขึ้นมาด้วยกัน   
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2548 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 19:06:22 »



รูปที่เห็นคือกระท่อมจำลองตามที่บรรยายไว้ในตอน "บ้านเล็กในทุ่งกว้าง"  ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ในเมืองอินดีเพนเดนซ์    รัฐแคนซัส  เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ชม  
สร้างขึ้นตามคำบรรยายในหนังสือ ตรงกับบ้านช่องในสมัยนั้น     ชาร์ลส์โค่นต้นไม้ขนซุงมาเรียงกันเป็นผนัง  ก่อสร้างด้วยตัวเอง   ช่องโหว่ระหว่างไม้ซุงก็ยาด้วยโคลนหนาๆเพื่อกันลม
ภายในบ้านเป็นอย่างรูปทางขวามือ  ตามที่ลอร่าบรรยายไว้เช่นกัน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2549 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 20:14:22 »


สี่คนพ่อแม่ลูกมีชีวิตอย่างสบายในป่าใหญ่  เพราะมีเนื้อสัตว์ให้กินอุดมสมบูรณ์  ทั้งหมูป่า กวาง และหมี    ในฤดูร้อน พ่อปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี ไว้กินเอง     แต่อย่างหนึ่งที่ทำให้พ่อเหนื่อยมากคือป่าใหญ่ในวิสคอนซินนั้นเป็นป่า ไม่ใช่ทุ่ง  เมื่อคนมาหักร้างถางพงทำไร่   ก็ต้องสู้รบกับต้นไม้ที่แตกแขนงแตกกิ่งงอกงามขึ้นทุกหนทุกแห่ง  ไม่รู้จบรู้สิ้น   เป็นการสิ้นเปลืองแรงงานที่ทำให้พ่อเหน็ดเหนื่อยไม่รู้จบแต่ในแต่ละปี
พ่อคิดถึงทุ่งกว้างอย่างในรัฐอิลลินอยส์ที่พ่อเคยอยู่ตอนเด็ก    ทุ่งกว้างมีดินดีเหมาะจะเพาะปลูก   ไม่มีต้นไม้ให้ต้องถากถาง ไม่มีหินปนใต้ดินให้ต้องขุดทิ้ง     พ่อได้ยินมาว่าทุ่งกว้างในรัฐแคนซัสมีสัตว์ป่ามากมาย  จะยิงเท่าใดก็ได้ไม่มีใครมาแก่งแย่ง    ผิดกับป่าใหญ่ที่มีคนอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้สัตว์ป่าร่อยหรอลงอย่างรวดเร็ว   พ่อไม่สามารถจะล่าสัตว์ได้ง่ายๆอย่างเมื่อก่อน

แรงผลักดันอีกอย่างก็คือ พ่อกับแม่ซื้อที่ดินมาก็ทำงานผ่อนค่าที่ดินกันอย่างหนัก   แต่หลังสงครามกลางเมือง  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำระลอกแรกทำให้ธนาคารที่พ่อแม่ฝากเงินไว้ล้มละลาย   เงินฝากสูญไปหมดโดยไม่รู้จะเรียกร้องเอากับใคร   พ่อได้ข่าวมาว่ารัฐบาลจะให้ที่ดินฟรีแก่ผู้บุกเบิกไปตั้งถิ่นฐานทางตะวันตก   พ่อก็ดีอกดีใจอยากจะไปเริ่มต้นใหม่ที่นั่น
ตอนนั้นพ่อแม่มีลูกเพียง 2 คนคือแมรี่กับลอร่าซึ่งยังเล็กมาก  แครี่และเกรซยังไม่เกิด    แม่ไม่อยากจะทิ้งบ้านที่แสนสบาย พาลูกที่ยังอ่อนเยาว์มากไปอยู่ในแดนทุรกันดาร  แต่เมื่อพ่ออยากจะสร้างโอกาสใหม่  แม่ก็พร้อมจะติดตามพ่อไป  รัฐที่พ่อตั้งใจจะไปอยู่คือแคนซัส ซึ่งยังเป็นดินแดนของพวกอินเดียนแดงอยู่ 

ลอร่ายังเล็กมาก อายุเพียงสามขวบเมื่อพ่อแม่อพยพไปอยู่แคนซัส   เธอจำเหตุการณ์ไม่ได้เลย พ่อแม่และแมรี่เป็นคนเล่าให้ฟังในภายหลัง
 

 
 
 
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 100 101 [102] 103 104 ... 131   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><