|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1429 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2556, 20:45:28 » |
|
ถนนข้าวสาร ขอเดินตอนค่ำ..ไม่ร้อน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1430 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 07:13:12 » |
|
น้องเริง
ยังไม่เคยเดินถนนข้าวสารเลย แต่ช่วงวัดบวรฯ เดินมาเมื่อช่วงสงกรานต์นี้เอง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1431 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 07:13:19 » |
|
วันนี้เริ่มเริ่มลดลงในหลายภาคอาทิ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ กทม.และปริมณฑลมีฝนถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ ภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่งและภาคตะวันออก คลื่นในทะเลสูงถึง 2-3 เมตร ฟ้าคะนอง ชาวเรือและนักท่องเที่ยวต้องระมันระวังพยากรณ์อากาศ ประจำวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2556 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง" ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. ร่องมรสุมกำลังแรงได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 12-14 มิถุนายน 2556 ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เว้นแต่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ และชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฏร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1432 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 09:24:32 » |
|
ตอนสอง ที่ถนนข้าวสาร
ถนนข้าวสาร (อังกฤษ: Thanon Khao San หรือ Khao San Road) เป็นถนนในท้องที่แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนจักรพงษ์หน้าวัดชนะสงคราม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงถนนตะนาวใกล้สี่แยกคอกวัว ถนนข้าวสารเป็นถนนที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมโยธาธิการได้กราบบังคมทูลให้ตัดถนนตรอกข้าวสาร เริ่มตั้งแต่ถนนหน้าวัดชนะสงคราม (ซึ่งได้นามว่าถนนชนะสงคราม) ตัดมาทางตะวันออกตามตรอกข้าวสารแล้วสร้างสะพานข้ามคลองมาบรรจบกับถนนเฟื่องนครตอนหน้าสวนหลวงตึกดิน พระราชทานนามถนนตามเดิมว่า "ถนนข้าวสาร" ถนนข้าวสาร เดิมเป็นย่านเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นตรอกที่ขายข้าวสาร เป็นแหล่งค้าขายข้าวสารที่ใหญ่ที่สุดของเขตพระนคร ซึ่งข้าวสารจำนวนมากจะถูกขนส่งมาจากฉางข้าวหลวง สะพานช้างโรงสี ริมคลองคูเมืองเดิม หรือ ปัจจุบันก็คือ คลองหลอด เลียบมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นที่ท่าเรือบางลำพูเพื่อนำข้าวมาขายให้แก่ชาวบ้านในชุมชนต่างๆที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1433 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 12:04:27 » |
|
ต่อมาความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในช่วงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบรอบ 200 ปี ได้เข้ามาเช่าห้องพักอาศัยเพื่อเที่ยวชมเมืองหลวงของไทยในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ และเริ่มมีฝรั่งเข้ามามาถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด โดยมีทีมงานกองถ่ายมาอยู่กันจำนวนมาก ที่มาเช่าที่ เช่าเกสเฮาส์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี ก็ต้องเช่าจากบ้านที่อยู่แถวนั้นซึ่งใช้แบ่งเช่า จึงเป็นที่มาของเกสเฮาส์ เกสต์เฮ้าส์ของชาวต่างชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528-2529 ระยะหลังเริ่มมีคนเข้ามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นศูนย์รวมของพวกแบ็คแพ็กเกอร์ที่มาท่องเที่ยวประเทศไทย จนเป็นที่โด่งดังในที่สุด ก่อนที่จะมาปรับเปลี่ยนรูปแบบอีกทีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลายเป็นย่านบันเทิงยามราตรีที่สำคัญของกรุงเทพฯ สงกรานต์บนถนนข้าวสารถนนข้าวสารถือเป็นถนนที่ได้รับความนิยมในการเล่นน้ำในวันสงกรานต์ที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลก การเล่นสงกรานต์บนถนนข้าวสารเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2533 เนื่องจากที่ถนนข้าวสารนี้เป็นแหล่งที่พักอาศัยชั่วคราว หรือที่เรียกว่าเกสต์เฮ้าส์ ดังนั้นประเพณีการเล่นน้ำสงกรานต์ของคนไทยจึงถูกใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาพักในถนนข้าวสารเป็นอย่างมาก
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1436 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 20:13:07 » |
|
น้องเริง
ขอเพิ่มเติม ตั้งแต่ปี 2521 ที่พี่เริ่มเข้าสู่วงการค้าพืชไร่และเดินรถบรรทุกขนส่งข้่าวสาร การค้าข้าวสาร-พืชไร่เปลี่ยนไปอยู่บนถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์มานานพอสมควรแล้ว เนื่องจากตำรวจไม่อนุญาตให้รถยนต์บรรทุกเข้าไปในเขตพระนคร ดุสิต เพราะมีพระราชวัง วัดโบราณ ตั้งอยู่มาก และการจราจรแออัดขึ้น
และปัจจุบัน การค้าสินค้าข้าวสาร-พืชไร่ ที่ถนนทรงวาดก็ยุติลงไปแล้ว ด้วยตำรวจจราจรไม่อนุญาตให้รถยนต์บรรทุกเข้าไปในเขตสัมพันธวงศ์ซึ่งเป็นใจกลางเมือง ปัจจุบันการค้าข้าวสารได้กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ไม่รวมตัวกันแบบเดิม อาทิ ที่ตลาดไท ก็มี ส่วนพืชไร่ ก็กระจายออกไปอยู่ตามขอบเมือง อาทิ ถนนกิ่งแก้ว, แถบแสมดำ ฝั่งธนบุรี
ข้อเปรียบเทียบคือ บนถนนข้าวสารไม่หลงเหลือบริษัท ร้านค้าข้าวสารให้เห็น ต่างจากที่ถนนทรงวาด บริษัท ร้านค้ายังอยู่ แต่ย้ายไปประกอบการที่อื่น เหลือเพียงตำนานให้เล่าลือกันในรุ่นหลังๆ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1437 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 20:15:09 » |
|
บ้านหลังนี้ เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์โคโลเนียล สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า บ้านหลังนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็น "บ้านแห่งความรัก" เพราะเคยเป็นเรือนหอของเจ้าของบ้านถึง 2 เจนเนอร์เรชั่น นับแต่ คุณหญิงเชย ไกรจิตติ สมรสกับพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์(สุดใจ ไกรจิตติ) จากนั้น เป็นเรือนหอของคนอีกรุ่นคือ ท่านศาสตราจารย์สรรเสริญ ไกรจิตติ บุตรชายคุณหญิงเชย ไกรจิตติ กับพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1438 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 20:20:22 » |
|
ปัจจุบันชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด
พิพิธภัณฑ์ ไกรจิตติ ตั้งอยู่เลขที่ 199 ถนนข้าวสาร บางลำภู เป็นบ้านเก่า ตั้งแต่สมัย ปลายรัชสมัยที่ 5 ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นสมัยที่สถาปัตยกรรมที่สำคัญต่างๆ ได้รับอิทธิพล จากตะวันตกโดยเฉพาะสกุล ช่างจาก Italy ซึ่งบ้านไกรจิตตินี้ก็ได้รับการออกแบบจากสถาปนิก ชาวอิตาเลียนชุดเดียวกันกับที่มาออกแบบพระที่นั่งองค์สำคัญๆ และวังเจ้านายต่างๆ เช่นพระที่นั่ง อนันตสมาคม เป็นต้น
โดยท่านเจ้าของบ้านท่านแรกคือ ท่านพระยาอาทรธุรศิลป์ (ม.ล. ช่วง กุญชร ณ อยุธยา) ซึ่งท่านเป็นอดีต อธิบดีกรมศิลปากรท่านแรก ได้รับจ้างสถาปนิกชาวอิตาเลียนมาทำการออกแบบ ก่อสร้าง เป็นเรือนก่ออิฐ 2 ชั้น มีห้องภายในหลายห้องแบ่งเป็นห้องรับแขกใหญ่ ภายในตกแต่ง แบบตะวันตกแต่เพดานและบัวรอบห้องตกแต่งด้วยไม้สักทั้งต้นเป็นลายไทยประยุกต์ ห้องรับแขก ห้องจีนมีภาพเขียนสีลายโป๊ยเซียนแบบจีน ห้องนั่งเล่นผนังและลายเพดานตกแต่งเป็นลายอียิปต์ ห้องรับประทานอาหารตกแต่งแบบฝรั่งลายเพดานเขียนลายฝรั่งซึ่งเขียนโดยคุณหญิง กฤตราชทรงสวัสดิ์ (เชย ไกรจิตติ) ซึ่งได้รับมรดกตกทอดบ้านหลังนี้ จากท่านเจ้าคุณอาทรธุรศิลป์ ผู้บิดา โดยได้รับมอบเป็นเรือนหอ เมื่อท่านทำการสมรสกับพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ (สุดใจ ไกรจิตติ)
ซึ่งคุณหญิง เชย กฤตราชทรงสวัสดิ์ เป็นนักเรียนราชินี เคยเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งท่านมีผลงานฝากไว้ที่บ้านหลังนี้ และคุณหญิงเชย กฤตราชทรงสวัสดิ์ ยังเคยเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนเขียนภาพแก่ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 อีกด้วย ท่านจึงนับเป็นศิลปินหญิงในยุค แรกของงานศิลปะเขียนภาพสมัยใหม่ใน ประเทศไทย ต่อมาท่านได้ยกบ้านหลังนี้ให้เป็นเรือนหอแก่บุตรชายคนโตของท่าน คือ ท่าน ศาสตราจารย์สรรเสริญ ไกรจิตติเป็นมรดกตกทอดมาจนปัจจุบัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1439 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 20:30:39 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1440 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 20:39:35 » |
|
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #1441 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 20:46:02 » |
|
รูปแจ่ม มุมสวยทุกรูป ชวนติดตามค่ะ ต้องตามไปเที่ยวมั่งล่ะ ขอบคุณน้องเริงที่มาช่วยกระตุุ้นต่อมเที่ยวค่ะ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1443 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 21:03:43 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1444 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 21:08:22 » |
|
และก่อนออกจากที่นี่...ขอสักภาพ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1445 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 21:14:15 » |
|
ครับผม
ขอบคุณมากๆ
อีกหนึ่งตอนก็น่าสนใจครับ
อาจงามน้อยกว่าตอนนี้เล็กน้อย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1446 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2556, 14:51:09 » |
|
พยากรณ์อากาศจะกลับไปอยู่ที่ห้อง"คุยกับเหยง 16"และ "บ้านอ้อย ปี 17" แล้วครับ ฝนเพิ่มขึ้นใน กทม.และปริมณฑล รวมทั้งภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งมีถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่ ฟ้าคะนอง ชายฝั่งทะเลทั้งอันดามัน อ่าวไทย และฝั่งทะเลตะวันออก คลื่นสูงเกิน 2 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
พยากรณ์อากาศ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2556 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง" ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 10:00 น. ร่องมรสุมกำลังแรงยังคงพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 13-15 มิถุนายน 2556 บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดนครนายก จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน มีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2556 ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฏร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1448 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2556, 19:37:48 » |
|
เอเชียทีค ริเวอร์ฟร้อนท์ อยู่"ย่านเจริญกรุง" ถนนเจริญกรุง NEW ROAD คือ ถนนสายแรกแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและช้อปปิ้งริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก ที่จะเป็นแลนด์มาร์กใหม่ล่าสุดของกรุงเทพฯ เนรมิตอดีตท่าเรือซึ่งเป็นศูนย์การค้าของสยามในรัชกาลที่ 5 ให้กลับมาเป็นทำเลทองอีกครั้งในนาม Asiatique The Riverfront
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประเทศในแถบทวีปเอเชียถูกรุกรานโดยชาติมหาอำนาจจากยุโรป และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงทรงตัดสินพระทัยเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรเดนมาร์ก พร้อมกับการก่อกำเนิดท่าเรือของบริษัท อีสท์ เอเชียติก ซึ่งมีนายฮันส์ นิลล์ แอนเดอร์เซน ชาวเดนมาร์กเป็นเจ้าของ เพื่อการค้าไม้สักไปต่างประเทศ จึงสร้างท่าเรือขนถ่ายสินค้าขึ้น ณ ท่าเรือแห่งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของประตูการค้าสากลระหว่างสยามประเทศและยุโรป เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้สยามดำรงความเป็นเอกราชมาจนปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|