25 มิถุนายน 2567, 11:58:17
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 118 119 [120] 121 122 ... 131   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยว  (อ่าน 880878 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2975 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 07:41:55 »

ผ่านมาแล้วสามชุมชน  

โบสถ์คริสต์ ศาลเจ้าจีน และวัดไทย

จะตามมาด้วยมัสยิดอิสลามและวัดมอญ ซึ่งอยู่ย่านคลองบางหลวงทั้งหมด
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #2976 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 09:46:45 »

            สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ค่ะ     น้องเริง คุณเหยง เที่ยวกันวันหยุด เมืองไทยมีทุกอย่างทั้งบกน้ำ
            อยู่ไม่ไกลกันด้วย เดินเที่ยวแล้วหิว ขนมก็น่ากิน ไม่แพงด้วย 
      บันทึกการเข้า

เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2977 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 11:02:58 »

ครับ งั้นเที่ยวกันต่อเลย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2978 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 11:07:44 »

ออกจากหลังวัดกัลยาณมิตรซึ่งติดถนน ตรงข้ามเป็นตรอกเล็กๆไปกุฎีขาว

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2979 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 11:09:13 »




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2980 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 11:13:16 »

ทั้งมัสยิดและอาคารอบรมคุณธรรมฯ เป็นแบบไทยชัดๆ




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2981 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 11:19:02 »

ไปต่อที่วัดมอญ ต้องผ่านสน.บุปผาราม ก่อนถึง



แล้วกลุ่มมอญย่านนี้มาจากไหน

ในสมัยอยุธยาคนมอญได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานชานพระนคร และเขตต่อแดนกับเมืองนนทบุรี ปทุมธานี
ในสมัยกรุงธนบุรีมีการอพยพเพิ่มเติมเข้ามาที่ปากเกร็ด นนทบุรี ที่สามโคก ปทุมธานี
และในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีคนมอญอพยพเข้ามาอีก โดยตั้งบ้านเรือนสมทบที่ปทุมธานี นนทบุรี และเคลื่อนย้ายไปยังนครเขื่อนขันธ์หรือสมุทรปราการในปัจจุบันด้วย

คนมอญที่อพยพเข้ามาอาจแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ “กลุ่มมอญเก่า” หมายถึงคนมอญที่เข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงก่อนรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มมอญเหล่านี้ถูกผสมกลมกลืนกลายเป็นคนไทยไปหมดแล้ว

อีกกลุ่มคือ “กลุ่มมอญใหม่” หมายถึงกลุ่มมอญที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๘) และรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗) มอญกลุ่มนี้ยังหลงเหลืออัตลักษณ์ความเป็นมอญอยู่บางพื้นที่ เช่น ชุมชนมอญในเขตนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ

สำหรับในเขตกรุงเทพฯ ยังคงมีชุมชนมอญที่รักษาอัตลักษณ์ความเป็นมอญเอาไว้ในปัจจุบันที่ชุมชนมอญย่านวัดประดิษฐาราม เขตธนบุรี ซึ่งในสมัยเดิมเริ่มแรกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยนั้น มักจะทำหน้าที่เป็นพวกฝีพายเรือหลวง เป็นชาวมอญที่เคยอยู่แถวเมืองทะวายและเมืองมะริด ซึ่งมีความชำนาญทางเรือ สาเหตุที่อพยพเข้ามา ในประเทศไทย เพราะในสมัยของพระเจาปดุง กษัตริย์พม่าที่ปกครองอยู่นั้น กล่าวหาว่า มอญเมืองทะวายและเมืองมะริดเป็นกบฏ ได้จับพวกมอญในเมือง ใส่เล้าเผาทิ้งไปเป็นจำนวนมาก พวกมอญจึงพากันอพยพหนีภัยเข้าสู่ประเทศไทย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2982 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 11:29:17 »



เสาหงส์..เอกลักษณ์มอญ




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2983 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 11:36:46 »

ครบแล้ว ห้าชุมชน หลากหลายทางวัฒนธรรมและอยู่รวมกันได้อย่างสันติ

 กลับนนทบุรี ด้วยความสนุกมากๆ


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2984 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557, 20:26:58 »

อาทิตย์หน้า..ได้สถานที่ที่จะตามไปเที่ยวแล้ว  
      บันทึกการเข้า
kumpolcomcai
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี อยู่ในสถานที่ดีดี
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2525
คณะ: สัตวแพทยศาสตร์
กระทู้: 10,307

เว็บไซต์
« ตอบ #2985 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2557, 06:06:24 »

ขอบคุณครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2986 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2557, 18:37:22 »

เปิดวัดนวมินทรราชูทิศ วัดไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถวายในหลวง



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก watnawaminusa.org


          วัดนวมินทรราชูทิศ วัดไทยในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการแล้ว โดยพุทธศาสนิกชนและรัฐบาล จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเมืองพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

          เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557 มีรายงานว่า ที่ย่านเรย์นแฮม เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร สุทธิพันธุ์) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) พร้อมด้วย พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา และพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส รวมถึงพระธรรมทูตทั่วโลก ได้ประกอบพิธีพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตอุโบสถ วัดนวมินทรราชูทิศ ซึ่งถือเป็นวัดไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้าร่วมพิธีนี้เป็นจำนวนมาก

          หลังจากนั้น สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้เป็นประธานเปิดวัดนวมินทรทราชูทิศ อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งมีการอัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ขึ้นประดิษฐานบนยอดเจดีย์อุโบสถทั้ง 4 ด้าน และมีพิธีเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานในมณฑปน้อยหน้าพระประธานอุโบสถ อีกทั้งสถานีโทรทัศน์ ซีบีเอส ก็ยังได้รายงานถึงเรื่องนี้อีกด้วย

          ทั้งนี้ พระพรหมวชิรญาณ กล่าวว่า การจัดสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ ก็เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเป็นอนุสรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชสมภพที่เมืองบอสตัน โดยได้มีการสร้างอุโบสถและตัววัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 บนเนื้อที่ 233 ไร่ ด้วยงบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท และได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทยกว่า 500 ล้านบาท ทำให้วัดนวมินทรราชูทิศ เป็นวัดไทยในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก

          นอกจากนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระบรมรูปของพระองค์ มาประดิษฐานที่โถงทางเข้า และภายในวัดยังมีการจัดนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ขณะที่พระองค์ทรงมีพระราชสมภพในเมืองบอสตัน อีกทั้งยังมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา  และศูนย์วิปัสนาขนาดใหญ่ด้วย

           บริเวณหน้าอุโบสถ ยังมีการอัญเชิญตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี มาประดับ และอัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประดิษฐานที่เจดีย์สูงสุดทั้ง 4 ทิศ อันถือว่าวัดนี้เป็นการเชื่อมโยง 3 สถาบันของชาติ คือ ประชาชน, ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ถือว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย และการสร้างวัดนี้ ก็ถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #2987 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2557, 10:48:13 »

               สมพระเกียรติ พระบารมีของท่าน เที่ยววัดวาอารามได้ไม่เบื่อ กลับไป มา รอวันว่างไปดูของจริงค่ะน้องเริง
      บันทึกการเข้า

เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2988 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2557, 13:06:36 »

ครับผม ..พี่ต้อย

สถานต่อไปที่ว่าจะไปก็เป็นวัดอีก ๕ ๕

วัดเก่าย่านเขตจอมทอง กทม. ครับ

ยังมีวัดเก่าอีกหลายวัดที่สร้างสมัยปลายอยุธยา และรุ่งเรืองผ่านธนบุรี มาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัย ร.3

ข้อสังเกตุ วัดเหล่านี้จะตั้งอยู่ริมคลองและแม่น้ำ

ต่อจากนั้นจะเป็นวัดที่สร้างใหม่ๆ และจะไม่ติดคลองและแม่น้ำ เนื่องจากมีการตัดถนนแล้ว
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2989 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2557, 18:20:49 »

เช่นวัดนี้

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ) ได้มีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์ คือ พระประธาน อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หุ้มกระเบื้องสีทอง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2990 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2557, 13:04:18 »

มีข่าวดีมาบอก  เชิญติดต่อไปได้เลยครับ  

"บางกอกใหญ่"ชวนล่องเรือไหว้พระ 5 วัด เสริมสิริมงคล

เขตบางกอกใหญ่ เชิญชวนประชาชนร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ล่องเรือไหว้พระ 5 วัด เสริมสิริมงคล
ข่าวเดลินิวส์ วันพุธ 18 มิถุนายน 2557 เวลา 10:54 น.




นางสาวพรทิพย์ วัชรินทร์ดิลกผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ กทม. แจ้งว่า เขตฯ กำหนดจัดโครงการ “ไหว้พระ 5 วัด เสริมสิริมงคล” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่เขตและใกล้เคียงส่งเสริมอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งกระจายรายได้สู่ชุมชนในพื้นที่เขตและบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆ ละ 120 คน คือ รุ่นที่ 1 วันที่ 28 มิ.ย. 57 และรุ่นที่ 2 วันที่ 29 มิ.ย. 57 ระหว่างเวลา 07.00-16.00 น. โดยมีกำหนดการและเส้นทางดังนี้ คือ เวลา 07.00น. ผู้ร่วมกิจกรรมลงทะเบียน ณ วัดอรุณราชวรารามฯ เวลา 08.00น. พิธีเปิดโครงการ 08.30 น.ฟังบรรยายประวัติและความสำคัญของวัดอรุณราชวรารามฯ ชมพระปรางค์และพระอรุณหรือพระแจ้งภายในพระวิหาร เวลา 10.00 น.เดินทางไปศึกษาโบราณสถาน สถาปัตยกรรมภายในวัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดประดู่ฉิมพลี วัดหงส์รัตนารามและวัดประยุรวงศ์ศาวาส ตามลำดับ

ทั้งนี้จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรมได้ฟรีโดยติดต่อสอบถามรายละเอียดและสมัครได้ที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ โทร. 0 24570069 ต่อ 5719-21 และ 0 2868 1253 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปในวัน เวลาราชการ  
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2991 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2557, 15:19:51 »

ติดต่อลงชื่อกันบ้างหรือยัง 5 5 5 สนุกนะครับ
      บันทึกการเข้า
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213

« ตอบ #2992 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2557, 15:23:02 »

สวัสดีพี่เริง  น้องก้อยเสดสาดค่ะ   สนใจโครงการไหว้พระ  โทรไปเลย เต็มค่ะ   เสียดายค่ะ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2993 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2557, 18:37:20 »

เสียดายแทนด้วยนะ

สองวัดนี้มีในรายการที่อยู่ใกล้กัน รู้ไว้ก่อนครั้งหน้ายังมีครับ

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วัดอรุณ วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอก ในเวลาต่อมาเพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2994 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2557, 18:50:11 »

อีกวัด วัดหงส์    

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคนั้นเป็นวัดราษฎร์เรียกว่า วัดเจ๊สัวหง หรือ แจ๊สัวหง หรือ เจ้าสัวหง หรือ วัดขรัวหง เพราะตั้งตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้าง คือ นายหง วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร วัดหลวงชั้นโท คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ตั้งตามทะเบียนเลขที่ ๑๐๒ ถนนวังเดิม ๒ หรือ ถนนอิสรภาพ ๒๘ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร และ กองทัพเรือ (พระราชวังธนบุรีเดิม) ตั้งอยู่บนเนื้อที่ขนาด ๔๖ ไร่ ๑ งาน ๒๓ ตารางวา

จากหลักฐานจดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๔ ได้บันทึกไว้ว่า วัดหงส์รัตนารามนี้ พื้นที่วัดเดิมเป็นของโบราณมีมานานสำหรับเมืองธนบุรี คำคนแก่เก่า ๆ เป็นอันมากเรียกว่า วัดเจ้าขรัวหง แลว่ากันว่าจีนเจ๊สัวมั่งมี บ้านอยู่กะดีจีน(กุฎีจีน) สร้างขึ้นไว้แต่ในครั้งโน้น จีนที่มั่งมี คนเรียกว่า เจ้าขรัว ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเรียกชื่อว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาศวรวิหาร รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาสวรวิหาร รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) จนถึงปัจจุบัน เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2995 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2557, 10:37:37 »

ครับ ยังคงวนเวียนอยู่แถว วัดอรุณฯ บางกอกใหญ่ คลองบางหลวงแถวนี้แหละ

อาจเป็นเพราะคุ้นเคยก็ได้ เคยเรียนที่โรงเรียนทวีธาภิเศก นี้สองปี เคยเดินชมวัด และพื้นที่ใกล้เคียง จึงได้เหมือนเยี่ยมถิ่นเก่าครับ

โรงเรียนทวีธาภิเศก  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา

     อาคารโรงเรียนหลังแรก
              
อาคารโรงเรียนหลังแรกโดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการบริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวราราม เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเษก ถวายพระอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441

ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือ โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิม มาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ทวีธาภิเศก เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ เช่น

สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เป็นเงิน 2,560 บาท (32 ชั่ง)
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นเงิน 2,560
มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย เป็นเงินจำนวน 24,000 บาท

เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 19 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันทวีธาภิเศก" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน

                                       

ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวรารามฯ กรมสามัญศึกษา ได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษา ชื่อว่า โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก ...โรงเรียนทวีธาภิเศกจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2996 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2557, 10:59:32 »

เหรียญทวีธาภิเศก
The Dvidhabhisek Medal

               ใช้อักษรย่อ ท.ศ. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่พระราชทานเป็นที่ระลึก สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนมหาดเล็กทั่วไป ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน แล้วแต่จะทรงพระราชดำริเห็นสมควร ความปรากฏในพระราชบัญญัติเหรียญทวีธาภิเศก รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๖) ตอนหนึ่งว่า ... (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) "ทรงพระราชดำริว่า ในการสมภาคาภิเศก แลทวีธาภิเศก แต่ก่อน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่รฦกสำหรับสมัยมงคลพิเศษเช่นนั้นทุกครั้งมา"

               ... แต่เหรียญที่ระลึกดังกล่าว หาได้เป็นเครื่องประดับสำหรับเกียรติยศไม่ ครั้งนี้เปนสมัยที่ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติยืนนานกว่าพระเจ้าแผ่นดินในพระบรมราชวงษ์ ซึ่งได้ดำรง กรุงรัตนโกสินทรทุกพระองค์ และประจวบ ๒ เท่ารัชกาลซึ่งติดต่อกับประจุบันนี้ ควรที่จะให้เหรียญที่รฦกนี้เปนเครื่องประดับด้วยพิเศษกว่าเหรียญที่รฦกซึ่งได้สร้างมาแต่ครั้งก่อนๆ ...

               เหรียญนี้มี ๒ ชนิด คือ เหรียญทองและเหรียญเงิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ สำหรับพระราชทานทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาส ที่ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติสืบบรมสันตติวงศ์ นับตั้งแต่วัน พฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ (พ.ศ.๒๔๑๑) จนถึงวันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๖) อันเป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาล และนับได้ ๑๒๒๔๔ วัน ซึ่งเป็นเวลายืนนานกว่ารัชกาลของบูรพกษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี และครบถ้วน ๒ เท่า จำนวนวันในรัชกาลของสมเด็จพระบรมชนกาธิราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเหรียญทวีธาภิเศกศก ๑๒๒ ขึ้นประกาศใช้ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม ศกเดียวกัน ซึ่งเป็นวันทวีธาภิเศกดังกล่าว

               เหรียญนี้มีลักษณะเป็นรูปไข่สองเหรียญซ้อนกัน ลักษณะรูปทรงเหรียญแบบดาวห้าแฉกยกขอเส้นลวดสองชั้นหูเชื่อม แบบขวางภายใน มีลักษณะดังนี้
  
ด้านหน้า
1.พระอุนาโลม ภายใต้พระอุณหิศ มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ พระอุณหิศก็คือพระมงกุฎ

2.พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

3.ครุฑยุดนาค มีความหมายถึงพระบรมราชสัญลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ผู้เป็นพระบรมราชอัยกา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

4.พระแสงขรรค์ไชยศรีและธารพระกรไขว้ มีความหมายถึง เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติราชาภิเศก เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 การเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งสองนี้ เพื่อแสดงว่าเป็นของสำหรับพระราชาธิบดี

5.สายสร้อย เป็นรูปดอกประจำยามอยู่เบื้องใต้โล่ คือสังวาลย์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลอันสำคัญอย่างยิ่ง

ด้านหลัง
จารึกว่า "ที่รฤก รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาล ที่ ๒ ทวีคูณ รัตนโกสินทร์ ๓๑ ศก ๑๑๗"      
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2997 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2557, 11:01:54 »

ฝ่ายใน  ฝ่ายหน้า

ห้อยกับแพรสีเดียวกับสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย และประถมาภรณ์ช้างเผือก ติดต่อกันอย่างละกึ่งแถบ กว้าง ๓ เซนติเมตร สำหรับรูปลักษณ์ของเหรียญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริว่า ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกสยามขึ้น และในรัชกาลของพระองค์ ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามขึ้น เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์คู่กัน จึงควรจะใช้สายแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสองผสมกันเป็นแถบเดียว แต่ดวงตราในเหรียญให้คงตามแบบเหรียญสมภาคาภิเศก และเหรียญทวีธาภิเศก ซึ่งได้เคยเป็นแบบมาแต่ก่อน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ระลึกในมงคลสมัยทวีธาภิเศกของพระองค์สืบไป

               สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

               สำหรับพระราชทานฝ่ายใน แพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

               ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

การพระราชทาน

1.เหรียญทวีธาภิเศกนี้เป็นของสำหรับพระราชทาน พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานในรัตนโกสินทรศก ๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๖) ซึ่งเป็นปีทวีธาภิเศกคราวเดียวเท่านั้น

2.ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ติดเหรียญปลอมดังผู้ที่ได้รับพระราชทาน และห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานอย่างต่ำ แก้ไขทำเหรียญอย่างสูงติด เช่น ได้รับพระราชทานชนิดเงิน เอาไปกะไหล่ทองเช่นนี้ไม่ได้เป็นอันขาด ถึงแม้ว่าเวลาที่ได้รับพระราชทานนั้นยศบรรดาศักดิ์ยังต่ำอยู่ จึงได้รับพระราชทานอย่างเงิน ต่อไปถึงจะได้เลื่อนยศขึ้นอย่างไรก็ดี ก็ให้คงใช้เพียงเท่าที่ได้รับพระราชทานนั้น เพราะเป็นเหรียญที่ระลึก เฉพาะคราวทวีธาภิเศกอย่างเดียว ไม่ใช่สำหรับพระราชทานต่อไปอีก

3.เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญนี้แก่ผู้ใด ถ้าเป็นฝ่ายหน้าให้ไปลงนามยศ นามเดิม และ ตำแหน่งราชการในสมุดสารบบที่กระทรวงวัง ถ้าเป็นฝ่ายใน ให้ไปลงนามและตำแหน่งในสมุดสารบบที่เจ้าพนักงานฝ่ายใน
 
4.ประกาศนียบัตรกำกับ เหรียญทวีธาภิเศกนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงวัง ออกประกาศนียบัตรให้เป็นสำคัญ จึงจะเป็นอันนับว่า ได้รับพระราชทานแท้บริบูรณ์ จึงจะประดับเหรียญนี้ได้สืบไปในการทั้งปวง แต่ถ้ามิได้ไปลงนาม และรับประกาศนียบัตรก่อนแล้ว ให้ประดับได้เพียงในเวลางานทวีธาภิเศกเท่านั้น

5.เมื่อผู้ใดได้รับพระราชทานเหรียญทวีธาภิเศกไปแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นสิทธิ์แก่ผู้นั้นๆ ล่วงลับไปแล้ว ไม่ต้องคืน แต่ผู้อื่นที่ได้รับต่อไป นอกจากผู้ที่ได้รับพระราชทาน จะใช้ประดับไม่ได้ คงให้เก็บไว้เป็นที่ระลึกสืบไปเท่านั้น
      บันทึกการเข้า
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213

« ตอบ #2998 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2557, 15:25:42 »

ข้อมูลเยอะจังนะค่ะ 
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2999 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2557, 19:26:54 »

ครับ ก้อย

เรียกว่าจัดเต็ม ๕ ๕ ๕
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 118 119 [120] 121 122 ... 131   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><